ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




08-06-2551 (1580)

พลเมืองยืดหยุ่น: Flexible Citizenship for a Global Society
ความเป็นพลเมืองแบบลื่นไหลในยุคโลกาภิวัตน์
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
๑. รัฐที่ไม่เพียงพอและแนวความคิดใหม่ (Inadequate nation-states and new concepts)
๒. ความเป็นพลเมืองแบบจารีต (Traditional Citizenship)
๓. ความเป็นพลเมืองที่ขยายกว้างขึ้น (Generalized Citizenship)
๔. การทำงานของระบบความเป็นพลเมืองรูปแบบใหม่ (The Functioning of the New Citizenship System)
๕. ผลอันเนื่องมาจากความเป็นพลเมืองตามแนวคิดใหม่ (Consequences of the New Concept of Citizenship)
๖. ข้ออ้างเรื่องผลกระทบด้านลบ (Claimed Disadvantages)
midnightuniv(at)gmail.com


บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๘๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


พลเมืองยืดหยุ่น: Flexible Citizenship for a Global Society
ความเป็นพลเมืองแบบลื่นไหลในยุคโลกาภิวัตน์
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้แปลมาจาก Flexible Citizenship for a Global Society
เขียนโดย Bruno S. Frey, University of Zurich, Switzerland
จากวารสาร Politics, Philosophy and Economics 2003; 2; 93
The online version of this article can be found at
http://ppe.sagepub.com/cgi/content/abstract/2/1/93


ความเป็นพลเมืองแบบลื่นไหลในยุคโลกาภิวัตน์
(Flexible Citizenship for a Global Society)

บทคัดย่อ
ประเทศต่างๆ นั้นขาดความพร้อมที่จะเผชิญกับการท้าทายของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ แนวคิดในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองที่มีทั้งสิทธิและหน้าที่รวมถึงความจงรักภักดี เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้จำกัดอยู่เฉพาะระหว่างบุคคลกับรัฐเท่านั้นอันเป็นขอบเขตที่คับแคบมาก ในห้วงเวลาปัจจุบัน แต่ละคนมีความเป็นตัวตนซึ่งเชื่อมโยงและขึ้นกับสถาบันต่างๆ หลายสถาบันนอกเหนือจากรัฐ บทความนี้ต้องการเสนอแนวความคิดที่ว่า ความเป็นพลเมืองควรจะต้องมีการขยายขอบเขต และความเป็นพลเมืองควรเชื่อมโยงกับสถาบันกึ่งรัฐ (quasi-governmental organizations), รวมทั้งองค์กรสาธารณะ (NGOs) เช่น โบสถ์, กลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน, องค์กรสาธารณะประโยชน์ และสถาบันทางธุรกิจ เมื่อประเภทของความเป็นพลเมืองมีรูปแบบที่หลากหลาย บุคคลก็ควรมีสิทธิเลือกมากขึ้นเช่นเดียวกัน

1.รัฐที่ไม่เพียงพอและแนวความคิดใหม่ (Inadequate nation-states and new concepts)
เรากำลังอยู่ในยุคของระบบตลาด เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาสังคมหรือปัญหาเศรษฐกิจ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติคือ การเรียกร้องให้มีการขยายระบบตลาด ด้วยการแปรรูปและการยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยมีรัฐเป็นฝ่ายตั้งรับ สำหรับการเรียกร้องที่เป็นมาตรฐานคือความต้องการให้รัฐมีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในแบบเดียวกับองค์กรเอกชน นอกจากนี้โลกาภิวัตน์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก็ยังเป็นการบั่นทอนบทบาทเดิมของรัฐในหลายเรื่อง มีการแข่งกันลดอัตราภาษีและรายได้จากเงินภาษีลง เนื่องจากการแข่งขันกันระหว่างประเทศ ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างแท้จริงเพราะเป็น "การแข่งกันลงสู่ระดับต่ำ" (A race to the bottom)

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีความสำคัญเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมาตลอดคริสตศตวรรษที่ 20 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ซึ่งมีสัดส่วนขนาดใหญ่และกำลังมีขนาดเพิ่มขึ้น ถูกแบ่งสรรโดยทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการที่รัฐนำมาจัดสรรปันส่วนใหม่ มีการพบว่าการแปรรูปจำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ใหม่ (re-regulation), การเข้าสู่กระบวนการโลกาภิวัตน์ต้องอาศัยกฎที่รัฐนำมาบังคับใช้ และการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจนั้นต้องมีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน

โดยทั่วไป รัฐบาลและกิจการสาธารณะยังคงมีความสำคัญที่สุด แต่ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ซึ่งถูกกำหนดไว้ตายตัวในระดับสถาบัน (institutionalized relationship) ระหว่างบุคคลกับรัฐไม่เหมาะกับสำหรับการรับมือกับปัญหาต่างๆ ของโลกทั้งหมด โดยเฉพาะกับการจำกัดความเป็นพลเมืองให้เป็นได้เพียงคนของรัฐใดรัฐหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะกับบุคคลซึ่งต้องเดินทางทั่วโลกอยู่เสมอ เช่น กรณีของผู้บริหารระดับสูง ศิลปิน นักวิชาการ และนักกีฬา. นอกจากนี้ อัตตลักษณ์ของบุคคลที่เชื่อมโยงกับสถาบันในระดับที่เหนือหรือเกินกว่าระดับชาติ ก็กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่ระบบความเป็นพลเมืองในปัจจุบันนี้ไม่มีความสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลทั่วไป ซึ่งมักจะแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองในขอบเขตที่กว้างขึ้นทั้งในระดับที่ต่ำกว่ารัฐ (เช่น การแสดงอัตตลักษณ์ของตนเองที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นของตนเอง) หรือสูงกว่าระดับรัฐ (เช่น ในระดับยุโรป) แทนที่จะเป็นระดับประเทศ ยิ่งกว่านั้นบางครั้งบุคคลก็จะเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับสถาบันอื่นเพิ่มขึ้น เช่น สถาบันที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ (NGOs) หรือแม้แต่กับสถาบันธุรกิจใดเป็นการเฉพาะ แทนที่จะเป็นเฉพาะกับประเทศที่ตนเองเป็นพลเมืองอยู่

สังคมต้องหาแนวทางใหม่ในการจัดการกับปัญหาที่รออยู่ข้างหน้าในยุคโลกาภิวัตน์ โดยจะต้องมีการหารูปแบบใหม่ๆ ในการควบคุมโลกที่เป็นส่วนรวม แนวคิดที่มีอยู่เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 19 อันเป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) (*) และจนถึงคริสตศตวรรษที่ 20 แนวคิดนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ความเป็นพลเมืองคือการมีสถานะเป็นราษฎรของประเทศใดประเทศหนึ่ง

(*)The French Revolution (1789-1799) was a period of political and social upheaval in the political history of France and Europe as a whole, during which the French governmental structure, previously an absolute monarchy with feudal privileges for the aristocracy and Catholic clergy, underwent radical change to forms based on Enlightenment principles of nationalism, citizenship, and inalienable rights.

Changes were accompanied by violent turmoil, including executions and repression during the Reign of Terror, and warfare involving every other major European power. Subsequent events that can be traced to the Revolution include the Napoleonic Wars, the restoration of the monarchy, and two additional revolutions as modern France took shape. In the following century, France would be governed variously as a republic, dictatorship, constitutional monarchy, and two different empires.

บทความนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองที่ออกแบบให้เข้ากับโลกโดยส่วนรวมมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก แนวคิดใหม่นี้จะเรียกว่าความเป็นพลเมืองแบบองค์กรและชายขอบ (Citizenship : Organizational and Marginal: COM) ในครั้งแรกอาจจะดูเหมือนเป็นความคิดที่ค่อนข้างผิดธรรมดา เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดของความเป็นพลเมืองที่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าแนวคิดนี้จะต้องพบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากนักการเมืองที่กำลังอยู่ในอำนาจ (ผู้ซึ่งหวั่นเกรงกับการสูญเสียอำนาจผูกขาดกับสิ่งที่พวกเขามักจะมองว่าคือ "ราษฎร" ของตน) รวมถึงนักการตลาดหัวเก่า (ผู้ซึ่งไม่เข้าใจว่าจะปรับปรุงการบริหารจัดการโลกส่วนรวมไปเพื่ออะไร ในเมื่อทุกอย่างสามารถจัดการได้ด้วยระบบตลาด แต่ว่าความเป็นพลเมืองตามแนวคิดใหม่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง

แนวคิดนี้ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดซึ่งเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นการเสนอความคิดให้มีการขยายระบบตลาดให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้มีการเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับขอบเขตของรัฐ โดยที่ความเป็นพลเมืองเกี่ยวโยงกับเรื่องของอัตลักษณ์บุคคล (identification) และหน้าที่หรือแรงกระตุ้นภายใน เพื่อนำไปสู่สภาพสังคมที่มีความเป็นสาธารณะมากขึ้น

เนื้อหาในส่วนที่สอง จะเป็นการทบทวนแนวคิดความเป็นพลเมืองในแบบเดิม. เนื้อหาในส่วนที่สาม เป็นการขยายแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองในรูปแบบที่มีความหมายกว้างออกไป ซึ่งเหมาะที่จะใช้กับขอบเขตนอกเหนือรัฐชาติ ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดใหม่คือ ความเป็นพลเมืองในรูปแบบองค์กร (organizational) ในแง่ที่ว่า บุคคลย่อมเป็นพลเมืองที่ไม่ใช่เฉพาะของรัฐ แต่ยังเป็นพลเมืองของสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ (NGOs), องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือแม้แต่ธุรกิจที่มุ่งผลกำไร ยิ่งกว่านั้น พลเมืองในลักษณะนี้ยังเป็นแบบชายขอบ (marginal) เนื่องจากความเป็นพลเมืองในลักษณะดังกล่าวสามารถเป็นแบบชั่วคราวและอาจเป็นเพียงบางส่วนหรือเป็นบางส่วนของหลายองค์กร คือการที่บุคคลนั้นจำกัดอยู่กับหน้าที่บางอย่าง

เนื้อหาในส่วนที่สี่ เป็นการพิจารณาการทำงานของแนวคิด COM (Citizenship : Organizational and Marginal) ในแง่ที่บุคคลทำสัญญาเป็นอาสาสมัครขององค์กรต่างๆ. ส่วนที่ห้า เป็นเรื่องที่ว่าด้วยข้อดีของแนวคิด COM เปรียบเทียบกับความเป็นพลเมืองในรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำอัตลักษณ์ของบุคคลและความเป็นพลเมืองเข้ามาประสานกันให้เกิดความลงตัวรวมทั้งประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันที่เข้มแข็งขึ้น

สำหรับเนื้อหาส่วนที่หก กล่าวถึงปัญหาของแนวคิดความเป็นพลเมืองในรูปแบบใหม่ตามที่มีผู้กล่าวอ้าง และความเป็นไปไม่ได้ของแนวคิดนี้ในทางหลักการ รวมถึงเรื่องที่มีการยกเรื่องความซับซ้อนของแนวคิดนี้มาขยายจนเกินจริง และสุดท้ายสำหรับส่วนที่เจ็ด จะเป็นบทสรุป

2. ความเป็นพลเมืองแบบจารีต (Traditional Citizenship)
แนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองต้องย้อนกลับไปที่นครรัฐของกรีกโบราณ (Ancient Greece) คำจำกัดความในแบบสมัยใหม่ของคำว่าความเป็นพลเมืองตาม Encyclopedia Britannica ความเป็นพลเมืองคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ ซึ่งบุคคลจะต้องจงรักภักดีต่อรัฐของตนและในทางกลับกันบุคคลก็มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ

คำนิยามนี้มีแง่มุมสำคัญ 3 ประการ

2.1. สิ่งที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมือง คือ พลเมืองกับประเทศ ความเป็นพลเมืองเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะระหว่างบุคคลกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังเช่นที่ Scott Gordon ได้สรุปไว้ในหนังสือเรื่อง Controlling the State : Constitutionalism from Ancient Athens to Today (*) ว่า "ความเป็นพลเมืองถูกนิยามในแง่ของประเทศและความเป็นชาตินิยมคือ ความรู้สึกที่มีอิทธิพลทางการเมืองในยุคของเรา… อำนาจสูงสุดของประเทศที่ไม่ถูกท้าทาย"

(*) รายละเอียดของหนังสือ: This book examines the development of the theory and practice of constitutionalism, defined as a political system in which the coercive power of the state is controlled through a pluralistic distribution of political power. It explores the main venues of constitutional practice in ancient Athens, Republican Rome, Renaissance Venice, the Dutch Republic, seventeenth-century England, and eighteenth-century America. From its beginning in Polybius' interpretation of the classical concept of "mixed government," the author traces the theory of constitutionalism through its late medieval appearance in the Conciliar Movement of church reform and in the Huguenot defense of minority rights. After noting its suppression with the emergence of the nation-state and the Bodinian doctrine of "sovereignty," the author describes how constitutionalism was revived in the English conflict between king and Parliament in the early Stuart era, and how it has developed since then into the modern concept of constitutional democracy.

2.2. พลเมืองมีทั้งสิทธิและหน้าที่ โดยที่สิทธิ หมายถึง

- ในแง่พลเมือง หมายถึงการที่คนในบังคับจะได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากอำนาจรัฐตามหลักกฎหมาย และได้รับความคุ้มครอง
เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ และสามารถกลับไปอยู่ภายในอาณาเขตประเทศตนได้เหมือนเดิม

- ในแง่การเมือง หมายถึงพลเมืองมีสิทธิออกเสียงและรับตำแหน่งสาธารณะ
- ในแง่สังคม หมายถึงพลเมืองได้รับความคุ้มครองจากปัญหาเศรษฐกิจด้วยระบบสวัสดิการจากรัฐ

สำหรับหน้าที่ของพลเมืองประกอบด้วยการเป็นทหาร, การจ่ายภาษี และการปฏิบัติตามกฎหมาย หน้าที่การจ่ายภาษีและการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติแม้ในขณะที่พลเมืองอยู่นอกอาณาเขตประเทศของตนก็ตาม. การให้สินบนหรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ยังเป็นผู้เยาว์ (ถึงแม้จะยินยอม) เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แม้ว่าเรื่องเหล่านี้จะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในประเทศที่พลเมืองคนหนึ่งได้เข้าไปอาศัยอยู่ และพลเมืองจะต้องยอมรับการตัดสินปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหลักประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าจะทำให้ไม่อยู่ในฐานะที่ได้ประโยชน์ส่วนตัวสูงสุดก็ตาม

2.3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ เป็นเรื่องที่มากกว่าการเสียภาษีเพื่อแลกกับบริการจากรัฐ แต่พลเมืองต้อง"จงรักภักดี" ต่อประเทศ มีจิตสาธารณะและแสดงออกทางคุณธรรมตามหน้าที่พลเมือง ความสัมพันธ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องของหน้าที่เพียงบางส่วน แต่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากภายในของพลเมือง และต้องอาศัยกลุ่มชุมชนที่มีความจงรักภักดีและมีอัตตลักษณ์เฉพาะร่วมกัน. ความสัมพันธ์ในแง่มุมนี้ มีความสำคัญเพราะ ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างความเป็นพลเมืองรูปแบบใหม่ กับการเป็นลูกค้าหรือสมาชิกขององค์กรหนึ่งองค์กรใดเพียงอย่างเดียว

ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดเดิม
ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดดั้งเดิมวางอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ให้ความหมายของการเป็นเจ้าของ, การแสดงตน และการให้พลเมืองมีบทบาทกับแนวทางการทำงานของที่มีหน้าที่ปกครองประเทศ. ความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับประเทศของตนเองถือว่ามีลักษณะเฉพาะ และมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมีความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ ในแง่หลักการและคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องสงวนความเป็นพลเมืองจำเพาะสำหรับสมาชิกของรัฐชาติไว้เป็นพิเศษ ไม่มีสถาบันใดที่คิดว่าจะสามารถให้ได้ในลักษณะเดียวกันเหมือนกับที่รัฐชาติให้ ความเป็นพลเมืองจึงขึ้นอยู่กับการปิดกั้นทางสังคม ดังนั้น ความเป็นสมาชิกก็จะมีความหมายเล็กน้อยถ้าไม่มีขอบเขตให้พลเมืองเข้าอยู่ในสังกัด ตามทฤษฎีเดิมที่ว่าด้วยความเป็นพลเมืองนั้น คุณธรรมของพลเมืองจะมีความรุ่งเรืองในรัฐชาติ ไม่ใช่ในสังคมของคนแปลกถิ่น

ความเป็นพลเมืองโลก
บุคคลส่วนมากเป็นพลเมืองของรัฐชาติแห่งใดแห่งหนึ่ง และจะเป็นเรื่องที่ผิดปกติถ้าบุคคลเป็นพลเมืองของประเทศมากกว่าหนึ่งแห่ง อันเป็นสิ่งที่รัฐบาลส่วนมากไม่ยอมรับหรือถึงขนาดสั่งห้าม บุคคลบางคนรู้สึกว่าตัวเองเป็น "พลเมืองของโลก" แต่จนถึงปัจจุบัน เรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าความรู้สึกที่เลื่อนลอยและไม่มีผลทางกฎหมายรองรับ แนวคิดที่ว่าด้วยการเป็น "พลเมืองโลก" หมายถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นสถาบันที่เหนือกว่าแทนที่จะเป็นรัฐชาติ

สหภาพยุโรป (European Union) ไม่มีอาณาเขตที่แน่นอนและก็ไม่มีโครงสร้างทางการเมืองที่โยงเข้าสู่ส่วนกลาง แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่มีหลายระดับชั้น มีแกนหลักที่ขาดความเข้มแข็ง ความเป็นพลเมืองแห่งสหภาพยุโรปแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับรัฐในหลายรูปแบบ เนื่องจากความเป็นพลเมืองแห่งสหภาพยุโรปเพิ่งเกิดขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยปรากฏขึ้นอย่างช้าๆ และยังมีความอ่อนแอ ความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับสหภาพยุโรปเป็นเรื่องที่สามารถจัดเข้าไว้ในบริบทที่ว่าด้วย "วิธีการปกครองแบบใหม่ที่เหนือกว่าขอบเขตของประเทศหรือรัฐชาติ"

3.ความเป็นพลเมืองที่ขยายกว้างขึ้น (Generalized Citizenship)
ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดที่มีอยู่เดิมซึ่งมีลักษณะที่ขาดความยืดหยุ่น แต่สามารถขยายให้มีขอบเขตที่กว้างขึ้น และครอบคลุมใน 4 ประเด็นสำคัญ

3.1. ความเป็นพลเมืองแบบชั่วคราว (Temporary citizenship)
เช่น บุคคลสามารถเลือกช่วงเวลาที่จะเป็นพลเมืองของประเทศใดเป็นการเฉพาะได้ก่อนล่วงหน้า ถ้าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศดังกล่าวในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งในช่วงเวลานั้นบุคคลก็จะคำนึงถึงประเทศใหม่เป็นหลัก แต่หลังจากนั้นก็จะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องน้อยลง จึงไม่มีเหตุผลที่จะคงใช้ความเป็นพลเมืองของประเทศใหม่ตลอดไป แต่ความเป็นพลเมืองชั่วคราวในรูปแบบดังกล่าวยังคงเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้

3.2. ความเป็นพลเมืองแบบเชิงซ้อน (Multiple citizenship)
สำหรับบุคคลที่ทำงานและอาศัยอยู่ในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน วิธีแก้ปัญหาที่ดีควรมีการแบ่งความเป็นความพลเมืองของบุคคลเหล่านั้นเป็นหลายส่วน ถ้าช่วงเวลาและความถี่ในการอยู่ในประเทศหนึ่งมีระยะเวลาพอกับการอยู่อีกประเทศหนึ่ง ก็อาจจะมีการแบ่งความเป็นพลเมืองออกเป็น 50-50 แต่ถ้าบุคคลอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศหนึ่งประเทศใดเป็นส่วนมาก และไปอยู่อีกประเทศหนึ่งเป็นครั้งคราว ก็ควรแบ่งความเป็นพลเมืองระหว่างสองประเทศเช่นการแบ่งเป็น 80-20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ดังนั้น สิทธิที่เกิดขึ้นพร้อมกับความพลเมืองก็ควรได้มีการจัดสรรตามสัดส่วน โดยเฉพาะสิทธิในการออกเสียงก็ควรให้สะท้อนถึงการที่บุคคลนั้นได้เลือกที่จะแบ่งความเป็นพลเมืองออกเป็นหลายประเทศ ถ้าความเป็นพลเมืองถูกแบ่งเป็น 50-50 ระหว่างสองประเทศแล้ว คะแนนเสียงก็ควรนับเป็น 0.5 ในแต่และประเทศ และถ้าแบ่งเป็น 80-20 คะแนนเสียงก็ควรนับเป็น 0.8 สำหรับประเทศแรกและ 0.2 สำหรับประเทศที่สอง ซึ่งแน่นอนว่ากฎเกณฑ์นี้เป็นการขัดกับหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man, one vote) อันเป็นที่ยอมรับกันมานาน แต่ถ้ายอมรับความเป็นไปได้ของความเป็นพลเมืองแบบเชิงซ้อน การออกเสียงจะมีการชั่งน้ำหนักและไม่นับเป็นคะแนนเสียงเต็มในแต่ละประเทศที่บุคคลมีความเป็นพลเมืองอยู่

3.3. ความเป็นพลเมืองเฉพาะบางส่วน (Partial citizenship)
บุคคลอาจเป็นพลเมืองของประเทศหนึ่งเพราะเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ก็เป็นพลเมืองของอีกประเทศหนึ่งตามหน้าที่อื่น

3.4. ความเป็นพลเมืองในองค์กรประเภทต่างๆ (Citizenship in various type of organization)
บุคคลอาจเป็นพลเมืองขององค์กรหนึ่ง นอกเหนือจากการเป็นพลเมืองของชาติรัฐ และต่อไปนี้ก็คือตัวอย่างความเป็นพลเมืองในระดับองค์กรเท่าที่พอจะเป็นไปได้

(a) ความเป็นพลเมืองของการปกครองในระดับต่างๆ (levels of government)
ความเป็นพลเมืองอาจไม่ได้เชื่อมโยงเฉพาะกับระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับระดับล่างลงมา อย่างเช่น ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด หรือระดับประชาคม (ซึ่งมีอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หรือในระดับที่สูงกว่าประเทศ เช่น สหภาพยุโรป (EU) แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะสามารถเลือกที่จะหยุดและฉวยโอกาสไม่ยอมจ่ายภาษีในขณะที่ยังคงรับสิ่งของอุปโภคบริโภคที่รัฐจัดหาให้ แต่หมายความว่า บุคคลไม่จำต้องจงรักภักดีเป็นการเฉพาะกับสถาบันระดับการปกครองที่ตนเองไม่ได้ต้องการเป็นสมาชิก เช่น ชาวคาตาโลเนีย (Catalan) (*) ที่ไม่ต้องการเป็นพลเมืองของประเทศสเปน แต่ยังต้องถูกเรียกเก็บภาษีสำหรับสิ่งของอุปโภคบริโภคที่รัฐบาลกลางสเปนจัดหาให้ แต่จะไม่ถูกบังคับให้ต้องจ่ายเงินสำหรับงบประมาณที่รัฐบาลกลางสเปนทุ่มเทไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ อย่างเช่น การสร้างถนนในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศสเปน

(*)The Catalans are the people from Catalonia, an autonomous community of Spain, or, additionally, people originating in that region living elsewhere. The inhabitants of the adjacent portion of southern France- known in Catalonia proper as Northern Catalonia, and in France as Pays Catalan- are often included in this definition.

(b) ความเป็นพลเมืององค์กรย่อยของรัฐ (Governmental sub-organizations)
บุคคลอาจเลือกเป็นพลเมืองของเฉพาะบางส่วนของรัฐ เช่น ด้านการต่างประเทศ, ด้านการทหาร หรือสำนักงานประกันสังคม (social security administration) เช่น บุคคลสัญชาติ X อาจทำงานและเป็นพลเมืองด้านการทูตของประเทศ Y สิทธิพิเศษและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะกับส่วนนี้โดยไม่ขยายเกินไปกว่านี้ บุคคลดังกล่าวจะมิสิทธิออกเสียงได้เต็มในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการต่างประเทศ (โดยที่บุคคลนั้นจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับพลเมืองทั่วไปของประเทศ Y) ในขณะที่ยังเป็นชาวต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นอื่นๆ

มีชาวต่างประเทศจำนวนมากในอดีตซึ่งในความเป็นจริงเคยเป็นพลเมือง (ถึงแม้จะขัดกับกฎหมาย) ขององค์กรย่อยของรัฐของประเทศอื่นและมักจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ตัวอย่างหนึ่งคือกรณีของ Furst Metternich ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลีย ในช่วงเวลาเดียวกับยุคของ Congress of Vienna อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Prince 'Eugenio von Savoie' ผู้นำทางการทหาร (ค.ศ. 1663-1736) ผู้ซึ่งสามารถทำสงครามได้ชัยชนะในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้งให้กับประเทศออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าจะเป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลีก็ตาม

(c) ความเป็นพลเมืององค์กรกึ่งรัฐ (Quasi-governmental organizations)
มีองค์กรจำนวนมากที่มีความใกล้เคียงกับภาครัฐ ซึ่งบุคคลอาจเป็นพลเมืองขององค์กรนั้น เช่น มหาวิทยาลัย ที่จริงแล้วความเป็นพลเมืองแห่งมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องปกติในระบบการศึกษาที่พูดภาษาเยอรมัน โดยมีความหมายว่าเป็นมากกว่าแค่การเป็น "ลูกจ้าง" คนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่พลเมืองของมหาวิทยาลัยเต็มใจที่จะให้คำมั่นกับสถาบันการศึกษานั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ส่วนตัวล้วนๆ ที่มีให้ในระยะสั้น

(d) ความเป็นพลเมืององค์กรที่ไม่เป็นของรัฐ (Non-governmental organizations)
ตัวอย่างต่อไปนี้คือความเป็นพลเมืองขององค์กรต่างๆ ในรูปแบบขององค์กรพัฒนาเอกชน เท่าที่จะยกมาเป็นตัวอย่างได้

- เช่น โบสถ์ต่างๆ อย่างโบสถ์คาธอลิก (เจ้าหน้าที่ของโบสถ์มีสิทธิแห่งความเป็นพลเมืองที่ตนเองได้รับจากนครรัฐวาติกัน) หรือศาสนานิกายต่างๆ
- สโมสรต่างๆ เช่น Royal Club, the Boy Scouts หรือแม้แต่สโมสรกีฬา อย่าง Manchester United หรือ Bayern Munchen

- กลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน อย่างเช่น สหภาพการค้า และหอการค้าต่างประเทศ, กลุ่มปฏิบัติการต่างๆ เช่น กองทุนสัตว์ป่าโลก
(World Wildlife Fund) และองค์กรการกุศล เช่น Medecins sans Frontiere และ the Red Cross (สภากาชาด)

- องค์กรที่มีหน้าที่ต่างๆ เช่น Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers (ICANN)
ซึ่งเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ให้บริการเกี่ยวกับที่อยู่ของเว็บไซต์ และเป็นเซิฟเวอร์หลักในการกำหนดการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ ICANN มีพลเมืองเสมือนจริง ซึ่งในปี ค.ศ. 2000 พลเมืองเหล่านี้สามารถออกเสียงเลือกตั้งคณะทำงานของกลุ่มได้เป็นครั้งแรก

- องค์กรที่มุ่งหาผลกำไร พลเมืองขององค์กรธุรกิจมีความสัมพันธ์แบบพิเศษกับองค์กร ในลักษณะที่มากกว่าแค่การเป็นลูกค้าหรือลูกจ้าง การเป็นพลเมืองขององค์กรธุรกิจ ก็ไม่เหมือนกับการเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงอย่างเป็นทางการได้เลย แต่อาจใช้วิธีกดดันภายนอก ซึ่งส่วนมากแล้วจะทำผ่านสื่อหรือด้วยการประท้วง ตรงกันข้ามพลเมืองแต่ละคนขององค์กรธุรกิจจะมีสิทธิออกเสียงตามหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป สิทธิในการออกเสียงดังกล่าวไม่จำเป็นต้องขัดกับสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ความเป็นพลเมืองขององค์กรธุรกิจสามารถจะไปกันได้ด้วยดีกับการถือหุ้นขององค์กร

ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การจัดการ คำว่า "Corporate citizenship" หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างที่มีแรงกระตุ้นจากภายในกับองค์กรธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สรุปอย่างกว้างว่าคือ "ความเป็นพลเมืองเชิงองค์กร" (organizational citizenship) ที่หมายถึงพฤติกรรมต่างๆ อย่างเช่น การให้ความร่วมมือและการให้การสนับสนุนผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ช่วยสร้างชื่อเสียงให้องค์กร เสนอแนะการพัฒนาปรับปรุงองค์กร รวมทั้งไม่ทำให้องค์กรเสียหาย เช่น การมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม, พฤติกรรมเป็นอุปสรรคต่อการทำงานตามเป้าหมาย, พฤติกรรมผิดปกติ และขาดความสามารถในการปรับตัว ที่จริงแล้วระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีสัญญา "ทางใจ" ซึ่งเป็นมากกว่าแรงจูงใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในระยะสั้น

บุคคลอาจเลือกยืนยันความเป็นพลเมืองโดยเชื่อมโยงกับธุรกิจในประเทศ (โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ตนเองทำงานด้วย) หรือกับธุรกิจระหว่างประเทศ ตัวอย่างของธุรกิจระหว่างประเทศคือ การเป็นพลเมืองของธุรกิจบัตรเครดิต หรือธุรกิจสายการบิน องค์กรต่างๆ ดังกล่าวมีความพร้อมในการให้การสนับสนุนพลเมืองขององค์กรในเรื่องของการเดินทางระหว่างประเทศ องค์กรเหล่านี้ไม่เพียงช่วยรับประกันการแสดงตัวตนของบุคคลขององค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยรับรองสถานะทางการเงินด้วยเอกสารการเดินทางหรือด้วยระบบคอมพิวเตอร์ องค์กรเหล่านี้ยังสามารถจัดเตรียมที่พักและใบอนุญาตการทำงาน (work permits) สำหรับพลเมืองขององค์กรเมื่อต้องเดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ. มีอยู่ครั้งหนึ่งที่บริษัทอเมริกันเอ็กเพรส (American Express) เคยให้บริการเหล่านี้กับพลเมืองชาวอเมริกันที่อยู่ต่างประเทศ รวมทั้งกับสายการบินอย่าง Lufthansa และ Swissair องค์กรธุรกิจเช่นนี้มักจะมีความพร้อมในเรื่องทรัพยากร และมีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นมากกว่าบริการจากทางการทูตแบบเดิมๆ

4. การทำงานของระบบความเป็นพลเมืองรูปแบบใหม่ (The Functioning of the New Citizenship System)
ความเป็นพลเมืองแบบองค์กรและชายขอบ (COM) ตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้สัญญาที่เป็นไปด้วยความสมัครใจ (voluntary contract) ระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะเป็นพลเมืองขององค์กรใดเป็นการเฉพาะ และองค์กรนั้นก็เป็นองค์กรที่เสนอโอกาสในการเป็นพลเมืองให้ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สัญญาเหล่านี้จะไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของความเป็นพลเมืองคือ สถาบันสามารถคาดหวังความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์จากสมาชิกของสถาบันได้ในระดับหนึ่ง โดยที่พลเมืองพร้อมที่จะไม่ตักตวงผลประโยชน์ระยะสั้นที่องค์กรมีให้ ความเป็นพลเมืองหมายถึงการที่สมาชิกแสดงออกถึงการสนับสนุนสถาบันของตนเอง ด้วยแรงกระตุ้นภายในแบบที่ไม่ใช่จากการคิดคำนวณเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเพียงอย่างเดียว

การสมมติพฤติกรรมในแบบที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวดังกล่าว ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานในเรื่องของวิธีการเลือกโดยใช้หลักเหตุผล รวมทั้งขัดแย้งกับกฎหมายและหลักเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) ในแบบที่เชื่อกันแต่เดิม ตลอดสองสามปีที่ผ่านมา การวิจัยทั้งในทางทฤษฎีและในเชิงประจักษ์มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก ขณะนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงว่าภายใต้เงื่อนไขต่างๆ บุคคลพร้อมที่จะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนรวม แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่อยู่ในผลประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะบุคคลก็ตาม การฉวยโอกาสเอาประโยชน์ (free-riding - การขี่หรือโดยสารฟรี) จากบริการสาธารณะที่ภาครัฐจัดหาให้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะความรู้สึกว่าคนส่วนมากไม่มีส่วนร่วมอย่างยุติธรรม หรือเมื่อสถานการณ์ไม่มีความชัดเจนและประโยชน์นั้นมีขนาดใหญ่เกินไป

จากการศึกษาอย่างครอบคลุมในภาคสนาม ได้มีการยืนยันว่าแรงจูงใจให้อยากฉวยโอกาสนั้น ไม่จำเป็นว่าจะเป็นสิ่งที่สามารถบงการพฤติกรรมได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการรู้จักกันและพูดคุยสื่อสารกัน มีหลักฐานจากการทดลองจำนวนมากในสถานการณ์ที่ต้องการการมีส่วนร่วมในบริการสาธารณะ ในกรณีหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 40 - 60 % ให้ความร่วมมือ โดยที่ระดับของการให้ความร่วมมือยังคงอยู่ระหว่าง 30 - 50% ในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ซ้ำขึ้นอีกหลายครั้งก็ตาม แต่การให้ความร่วมมือดังกล่าวอาจไม่ได้ตรงไปตรงมา เพราะในหลายกรณีผู้คนจะเข้ามีส่วนร่วมในผลประโยชน์สาธารณะก็ต่อเมื่อผู้คนในกลุ่มอ้างอิง (Reference groups) ก็ทำด้วยเหมือนกัน สิ่งที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือแบบมีเงื่อนไขนี้คือ ระบบความเป็นพลเมืองในแบบขยายกว้าง (generalized citizenship) โดยที่สัญญาความเป็นพลเมืองแบบสมัครใจ จะช่วยกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการที่ใช้กับพลเมืองทุกคน โดยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรม

ทุนทางสังคม จำเป็นสำหรับสังคมที่มีประสิทธิภาพ
ความเข้าใจเช่นนี้เชื่อมโยงกับงานวิจัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทุนทางสังคม สำหรับพฤติกรรมของบุคคลในสภาพแวดล้อมทางการเมืองและทางสังคมทั่วไป. ในแวดวงนักสังคมศาสตร์มีความเห็นตรงกันโดยทั่วไปว่าแรงกระตุ้นภายใน, ความจงรักภักดี, หรือทุนทางสังคมเป็นทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับสังคมที่มีประสิทธิภาพ (well-functioning society) เมื่อใดที่ทุนทางสังคมเหล่านี้ยังมีระดับการพัฒนาที่ไม่พอหรือแทบไม่มีเลย สังคมก็จะอยู่ในสภาพป่วยหนัก หรือไม่ก็เป็นสังคมที่มีประสิทธิภาพต่ำ จึงต้องมีการป้องกันซึ่งทั้งจากการทดสอบและการทำวิจัยภาคสนาม ได้แสดงให้เห็นว่า การแทรกแซงจากภายนอกอาจเบียดแรงกระตุ้นภายในออกไปได้

ความเป็นพลเมืองไม่เพียงเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยคุณธรรมของพลเมือง แต่ยังทำหน้าที่เสริมให้แรงกระตุ้นภายในดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น สัญญาของความเป็นพลเมือง (citizenship contract) วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในเจตนาที่ดีระหว่างกัน ผู้นำองค์กรคาดหวังให้พลเมืองของตนแสดงความซื่อสัตย์และจงรักภักดี ในทางกลับกันพลเมืองก็คาดหวังให้องค์กรมีความไว้วางใจตนเอง ดังนั้นคุณธรรมของพลเมืองคือสิ่งที่ต้องรักษาไว้ สัญญาความเป็นพลเมืองโดยสมัครใจ (voluntary citizenship contract) เป็นเรื่องของการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า มีความสัมพันธ์พิเศษระหว่างบุคคลกับองค์กร โดยไม่เกี่ยวกับการคิดคำนวณในเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว หากมีเรื่องของคุณค่าภายในตัวบุคคลอันเป็นพื้นฐานภายในที่ลึกกว่า รวมทั้งเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ปัจจัยเหล่านี้จึงมีผลทำให้ความเป็นพลเมืองแตกต่างจากความสัมพันธ์ในแบบผู้ผลิตกับลูกค้า

พันธะสัญญาความเป็นพลเมือง เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมความสัมพันธ์และหน้าที่ที่มีต่อกัน ซึ่งก็รวมถึงการที่พลเมืองต้องจ่ายภาษีเพื่อแลกกับบริการสาธารณะที่ได้รับ รวมทั้งสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังเช่นสิทธิในการเลือกผู้อำนวยการขององค์กร สิทธิในการแสดงความคิดเห็นในฐานะพลเมือง และสิทธิในการแสดงประชามติ ยิ่งบริการสาธารณะที่รัฐจัดหาให้มีสัดส่วนของกิจกรรมสาธารณะมากเท่าใด พลเมืองก็จะยิ่งต้องการสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นเท่านั้น คาดกันว่า การมีส่วนร่วมจะมากที่สุดในกรณีที่เกี่ยวกับองค์กรรัฐ เนื่องจากเหตุผลหลักที่ประเทศดำรงอยู่ได้ อยู่ที่บริการสาธารณะซึ่งรัฐจัดหาให้ แต่ในขณะเดียวกันไม่ใช่มีเพียงรัฐเท่านั้นที่จัดหาสินค้าและบริการต่างๆ ที่มีลักษณะของบริการสาธารณะ แต่ยังมีองค์กรอื่นอีกจำนวนมากรวมถึงองค์กรที่มุ่งหาผลกำไรทำหน้าที่เหล่านี้ด้วย

การอธิบายว่าสัญญาของความเป็นพลเมืองเป็นสัญญา "ส่วนรวม" มีความหมายว่าพลเมืองไม่อาจทำสัญญาสำหรับบริการส่วนบุคคลใดๆ ได้เหมือนอย่างที่กระทำได้ในระบบตลาด พลเมืองอาจมีส่วนร่วมในการใช้บริการสาธารณะขององค์กรที่ตนเองเป็นสมาชิก ดังนั้น แนวคิด COM จึงพูดถึง 'club'-goods (*) ตามความหมายของ Jame Buchanan ซึ่งผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่มีสิทธิ แต่การบริโภคสินค้าของพลเมืองในองค์กรที่มีลักษณะเป็นบริการสาธารณะ การวิเคราะห์ของ Buchanan เป็นการพิจารณาแค่เรื่องของผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเพิ่มสมาชิกหนึ่งคน ในขณะที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือ ความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสมาชิกกับสมาคมบนพื้นฐานของแรงจูงใจภายใน ดังเรื่องของความเชื่อใจและความจงรักภักดี

(*)Club goods (also known as collective goods) are a type of good in economics, sometimes classified as a subtype of public goods that are excludable but non-rivalrous, at least until reaching a point where congestion occurs. Examples of club goods would include private golf courses, cinemas, cable television, access to copyrighted works, and the services provided by social or religious clubs to their members. (ภาพประกอบ)


(หมายเหตุ : สำหรับนักศึกษา สมาชิกที่ download บทแปลนี้ในรูป word จะไม่มีภาพตารางนี้)

สัญญาความเป็นพลเมืองมีองค์ประกอบที่มีความเป็นส่วนรวม เพราะในเรื่องของการเข้าและออกจากองค์กรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เป็นทางการ กฎเกณฑ์เหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรม ซึ่งเกิดจากกรณีที่ต้องมีการเลือกระหว่างบุคคลกับต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำลง บุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะสามารถเป็นพลเมืองขององค์กรหนึ่งๆ ต้องมีสิทธิเข้าองค์กรนั้น และสามารถออกจากองค์กรเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทั่วไปที่ใช้กับพลเมืองทุกคน องค์กรหนึ่งสามารถใช้เงื่อนไขเฉพาะสำหรับความเป็นพลเมืองในแบบเดียวกับที่บรรดาประเทศต่างๆ พิจารณา แต่ก็สามารถใช้แนวคิดใหม่ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่ต้องการทำงานในภูมิภาคใดเป็นการเฉพาะก็อาจสามารถที่จะจ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิ์นี้ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามบุญตามกรรมจากการใช้วิธีสุ่มเลือกหรือตามระเบียบราชการ การออกจากงานก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับว่าบุคคลนั้นได้มีการใช้ทุนที่มีการจัดหาให้โดยส่วนร่วมหรือไม่ บุคคลใดที่ได้รับทุนอุดหนุนจำนวนมากหรือได้รับการศึกษาพื้นฐานฟรีก็สามารถถูกทวงคืนในจำนวนที่สอดคล้องกัน หากบุคคลนั้นต้องการลาออกจากองค์กร

5. ผลอันเนื่องมาจากความเป็นพลเมืองตามแนวคิดใหม่ (Consequences of the New Concept of Citizenship)

A. เปิดทางในการแก้ปัญหาที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น (Opening up more flexible solution)
แนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีหลักการที่ผูกติดกับหนึ่งประเทศตลอดชีวิต โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเป็นแบบผูกขาด เป็นแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทอยู่ในสังคมโลก โดยเฉพาะกับบุคคลที่ต้องเดินทางระหว่างประเทศอยู่เสมอ เช่น ผู้บริหารของธุรกิจระดับโลก (อย่างบริษัท IBM), นักกีฬา (อย่างนักแข่งรถฟอร์มูล่าวัน หรือนักเทนนิสระดับแนวหน้า), ศิลปิน (อย่างนักร้องโอเปร่าหรือวาทยากร) หรือนักวิทยาศาสตร์ที่สอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก เป็นต้น แนวคิดความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงกับความเป็นประเทศ ยังไม่เหมาะที่จะใช้กับกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม หรือบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตเร่ร่อน ซึ่งไม่เหมาะที่จะถูกกำหนดให้เป็นพลเมืองเฉพาะของประเทศใดประเทศหนึ่ง

B. ยอมรับอัตลักษณ์แบบเชิงซ้อน (Allowing multiple identifications)
ในคริสตศตวรรษที่ 19 และช่วงแรกของคริสตศตวรรษที่ 20 การแสดงตัวของบุคคลจะเน้นไปที่ความเป็นชาติเป็นหลัก แม้กระทั่งปัจจุบันความคิดเรื่องการแสดงตัวตามสัญชาติอย่างเดียวยังคงเป็นแนวคิดที่ฝังรากลึก ตามแนวคิด COM บุคคลจะไม่ถูกจำกัดให้เป็นพลเมืองของชาติใดเพียงชาติเดียว หรือศาสนาใดหรือชาติพันธุ์ใดๆ เพียงอย่างเดียว โลกทุกวันนี้มีลักษณะที่เชื่อมโยงกับสรรพสิ่งต่างๆ คือบุคคลคนหนึ่งอาจเป็นได้ทั้งชาวสวิส, ชาวคาธอลิค, นักวิชาการ, สมาชิกสโมสรกีฬา รวมทั้งเป็นสมาชิกขององค์กรการกุศล

จนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนความเป็นพลเมืองจากที่เชื่อมโยงกับประเทศไปเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงกับหลายภาคส่วนก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการยอมรับ แนวคิดความเป็นพลเมืองยังคงไม่เปลี่ยนแปลงตลอดคริสตศตวรรษที่ 19 และ 20 แต่ทุกวันนี้มีผู้คนจำนวนมากที่รู้สึกว่าตนเองมีความใกล้ชิดกับหลายประเทศและกับองค์กรประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่กับประเทศเพียงอย่างเดียว การแสดงตัวที่เชื่อมโยงกับเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง มีความหมายลดลงจนเป็นที่สังเกตได้โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

แนวคิดความเป็นพลเมืองตามหลัก COM เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเป็นพลเมืองขององค์กรที่บุคคลมีความเกี่ยวข้องอย่างมาก บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่แค่มีสิทธิแต่ยังมีหน้าที่ (มากกว่าเรื่องหน้าที่ในการจ่ายภาษี) และต่อไปนี้คือตัวอย่างของความเป็นพลเมืองในแบบที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับประเทศ

(a) บุคคลอาจแสดงตัวโดยเชื่อมโยงกับสถาบันในระดับที่ต่ำกว่ารัฐ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาค ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ กรณีชาว Catalunya (catalan) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสเปน แต่มีความผูกพันกับวัฒนธรรมและภาษาของตนเองอย่างเหนียวแน่น และไม่ต้องการเป็นชาวสเปน บุคคลบางคนอาจแสดงตัวเชื่อมโยงกับเมืองหรือประชาคม (commune) มากกว่าจะเป็นระดับรัฐ จึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลที่บุคคลเหล่านี้จะสามารถทำตามความต้องการ ด้วยการเลือกเป็นพลเมืองของเขตปกครองท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตัวเอง

(b) การแสดงตัวของบุคคลอาจจะเชื่อมโยงกับสถาบันที่สูงกว่ารัฐ มีกลุ่มคนบางส่วนที่รู้สึกว่าตนเองไม่ใช่พลเมืองของประเทศตนอีกต่อไป แต่เป็นพลเมืองของยุโรปหรือของนาโต้ (NATO) แนวคิดแบบ COM จะทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถเลือกเป็นพลเมืองในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องรอให้ "รัฐยุโรป" (State of Europe) พัฒนาเป็นประเทศอย่างสมบูรณ์

(c) ในปัจจุบันมีนักวิชาการที่อยู่ต่างมหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศ อาจมีความใกล้ชิดกัน มากกว่านักวิชาการที่อยู่หรือทำงานในประเทศเดียวกัน คนกลุ่มนี้อาจเป็นพลเมืองของมหาวิทยาลัยของตนเอง หรือของมหาวิทยาลัยที่ขยายระบบการศึกษาไปในประเทศอื่น

(d) หลายคนแสดงตัวโดยการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับศาสนานิกายต่างๆ ที่ตนเองนับถือ ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวถึงเช่น กลุ่มคริสต์ศาสนา บุคคลเหล่านี้ควรจะได้เป็นพลเมืองของศาสนาจักร เพราะพวกเขาพร้อมที่จะยอมรับสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกัน และควรมองว่าความเป็นพลเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาจักร เช่น ในนิกายคาธอลิค. นักบวชนิกาย Cistercian (*) ซึ่งเป็นผู้ที่อุทิศชีวิตให้กับพระเยซูคริสต์โดยการเป็นตัวแทนของพระองค์บนโลกมนุษย์ตามคำบัญชาของพระศาสดา แต่ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดแบบจารีต กำหนดให้นักบวชต้องเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทั้งในด้านจิตวิญญาณหรือในทางปฏิบัติ

(*)The Order of Cistercians , sometimes called the White Monks is a Roman Catholic religious order of enclosed monks. The first Cistercian abbey was founded by Robert of Molesme in 1098, at C?teaux Abbey. The keynote of Cistercian life was a return to a literal observance of the Rule of St Benedict, rejecting the developments the Benedictines had undergone, and tried to reproduce the life exactly as it had been in Saint Benedict's time, indeed in various points they went beyond it in austerity. The most striking feature in the reform was the return to manual labour, and especially to field-work, which became a special characteristic of Cistercian life. The Cistercians became the main force of technological diffusion in medieval Europe.

(e) ผู้ที่ชื่นชอบกีฬามักจะแสดงตัวด้วยการเชื่อมโยงกับสโมสร "ของตัวเอง" ดังแฟนของสโมสรฟุตบอลในยุโรป บุคคลเหล่านี้ควรจะมีโอกาสได้เป็นพลเมืองของสโมสรอย่าง Manchester United, FC Barcelona หรือ Bayern Muchen สโมสรเหล่านี้ ยืนยันความมีอยู่ของตนเองที่ค่อนข้างแยกจากประเทศ. ในกรณีของสโมสร FC Barcelona ไม่นานมานี้สโมสรมีผู้เล่นระดับสำคัญ จำนวน 8 -11 คน รวมทั้งโค้ชด้วย ในจำนวนนี้ล้วนมีสัญชาติเป็นชาวดัชท์ กระนั้นก็ตาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทีมฟุตบอลเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากแฟนฟุตบอลของตนเอง ถ้าสามารถกำหนดความเป็นพลเมือง บุคคลรวมทั้งสโมสรต่างก็มีทั้งสิทธิและหน้าที่ การกำหนดความเป็นพลเมืองจะช่วยจัดการปัญหาเกี่ยวกับพวกก่อกวน (hooliganism) ที่ออกอาละวาดก่อความไม่สงบ

ทุกวันนี้ถือว่าสโมสรต่างๆ ต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่แฟนบอลของสโมสรเป็นผู้ก่อขึ้น แม้เหตุการณ์จะเกิดนอกสนามแข่งขันก็ตาม เรื่องความรับผิดชอบของสโมสรนั้นยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยึดอะไรเป็นหลัก เนื่องจากสโมสรต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์ใดอย่างเป็นทางการกับแฟนบอลมากไปกว่าการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขัน แต่ตามแนวคิดแบบ COM แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างแฟนบอลกับสโมสรจะเพิ่มขึ้น และมีความเป็นทางการมากขึ้น เพราะสโมสรเองก็อาจต้องการให้พลเมืองของตนได้ประพฤติตัวอย่างเหมาะสม

(f) มีอีกหลายคนที่มีความรู้สึกใกล้ชิดกับกลุ่มทำงานรณรงค์ต่างๆ (action groups) ซึ่งตนเองทำงานด้วยหรือที่ตนเองได้ร่วมบริจาคเงิน บุคคลที่ทำงานใน Medecins sans Frontieres (*) และในสภากาชาด พยายามที่จะแยกตัวเองออกจากความเป็นชาติใดชาติหนึ่งเพื่อที่จะได้สามารถทำงานซึ่งเป็นที่น่ายกย่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเป็นพลเมืองที่ขึ้นต่อองค์กรของบุคคลเหล่านี้ จะมีผลดีมากกว่าการที่ต้องปิดบังสัญชาติของตนเอง

(*)Doctors Without Borders, (Medecins Sans Frontieres) is a secular humanitarian-aid non-governmental organization best known for its projects in war-torn regions and developing countries facing endemic disease. Medecins Sans Frontieres was created in 1971 by a small group of French doctors (including Bernard Kouchner), in the aftermath of the Biafra secession. The organization is known in most of the world by its French name or simply as MSF, but in the United States the name Doctors Without Borders is often used instead.

MSF is governed by an international board of directors located in Geneva, Switzerland, and organized into 20 sections. Annually, about 3,000 doctors, nurses, midwives and logisticians are recruited to run projects, but 1,000 permanently employed staff work to recruit volunteers and handle finances and media relations. Private donors provide about 80% of the organization's funding, while governmental and corporate donations provide the rest, giving MSF an annual budget of approximately USD 400 million.

สภากาชาดก็ได้ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้สมาคมสันติบาติกาชาด (The League of Red Cross Association) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่มุ่งเน้นเรื่องของประเทศ ซึ่งมักจะให้ความสนใจกับภารกิจของชาติ และส่วนใหญ่เน้นดูแลผู้บาดเจ็บและเชลยสงครามของประเทศตนเอง อันแทบจะไม่มีความสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของ Dunant (*) ผู้ก่อตั้งสภากาชาด ทั้งนี้คณะกรรมสภากาชาดสากล (The International Committee of the Red Cross) ได้พยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องนี้ด้วยการเชื่อมทุกประเทศเข้าด้วยกัน และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ของประเทศ จึงมีการกำหนดเป็นกฎไว้ว่า สมาชิกของคณะทำงานสภากาชาดหรือคณะกรรมการประกอบด้วยพลเมืองของประเทศหนึ่งเดียวเท่านั้น คือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นกลาง โครงสร้างนี้อาจเหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ แต่เป็นประเทศเดียวที่มีอภิสิทธิ์พิเศษเฉพาะ ถึงแม้วิธีนี้อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ดีกว่าที่จะต้องให้ทุกประเทศทำการล็อบบี้หรือใช้กลวิธีกดดันเพื่อให้ได้ที่นั่งในคณะกรรมสภากาชาดก็ตาม แต่แนวคิดตามหลัก COM มีทางเลือกที่ดีกว่าด้วยการเสนอให้สมาชิกในคณะกรรมการสภากาชาดสากล ควรมีฐานะเป็นพลเมืองของสภากาชาด

(*)Jean Henri Dunant (May 8, 1828 - October 30, 1910), was a Swiss businessman and social activist. During a business trip in 1859, he was witness to the aftermath of the Battle of Solferino in modern day Italy. He recorded his memories and experiences in the book "A Memory of Solferino" which became the inspiration for the creation of the International Committee of the Red Cross (ICRC) in 1863. The 1864 Geneva Convention was based on Dunant's ideas and in 1901 he received the first Nobel Peace Prize together with Frederic Passy.

(g) สำหรับองค์กรธุรกิจข้ามชาติ สัญชาติของผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งลูกจ้างอีกหลายคน ก็ล้วนมีสัญชาติที่แตกต่างกัน. บริษัท Roche ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเคมี ในบริษัทมีคณะกรรมการบริหารจำนวน 8 คน รวมแล้ว 6 สัญชาติ และในจำนวนนี้ 5 คนเป็นชาวสวิส ด้วยเหตุที่มีสัญชาติแตกต่างกันและผู้บริหารก็ต้องทำงานในหลายประเทศ ดังนั้นความเป็นพลเมืองขององค์กรก็จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

C. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในบริการสาธารณะด้วยความเต็มใจ (Fostering willingness to contribute to public goods)
การกำหนดความสัมพันธ์ของการเป็นพลเมือง ซึ่งทำให้เกิดความจงรักภักดี ความผูกพันและความรับผิดชอบ อันจะช่วยทำให้บุคคลมีความเต็มใจที่จะร่วมสมทบเงินสำหรับสินค้าและบริการที่จัดหาให้เป็นสาธารณะ แม้การคิดว่าการจ่ายภาษีจะเป็นไปด้วยความสมัครใจนั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายเกินไป แต่ในอีกทางหนึ่งมีงานวิจัยโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างไม่มีข้อสงสัยว่า พฤติกรรมการจ่ายภาษีไม่สามารถจะอธิบายว่าเป็นการใช้อำนาจบังคับของรัฐ งานวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องของการเลี่ยงภาษี ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าบุคคลส่วนมากจะเลี่ยงภาษีถ้าสามารถยก "เหตุผล" มาอ้างได้ เพราะคนที่โกงภาษีไม่น่าจะถูกจับได้และต้องรับโทษ แต่ในความเป็นจริงคนมากกว่า 95% จะจ่ายภาษีเมื่อถึงกำหนด"

วิธีการมองสิ่งต่างๆ อย่างสุดขั้วไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องว่าประชาชนจะไม่จ่ายภาษีด้วยความสมัครใจ หรือประชาชนจะจ่ายภาษีก็ต่อเมื่อถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติ สิ่งสำคัญคือว่า คุณธรรมของพลเมืองที่เพิ่มขึ้น จากหลักของการเป็นพลเมืองจะทำให้ผู้คนมีความเต็มใจในการที่จะมีส่วนร่วมในการสมทบเงินให้กับกิจการสาธารณะ การได้รับการจัดกลุ่มให้เป็นพลเมืองจะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกถึงการมีอัตลักษณ์ ซึ่งจะเป็นเหมือนการจำกัดพฤติกรรมของบุคคล และด้วยการมีอัตลักษณ์นี้ผู้เป็นพลเมือง ก็มักจะมีแนวโน้มที่จะเอาเปรียบคนอื่นน้อยลงในการใช้บริการสาธารณะแบบไม่จ่ายค่าตอบแทน (free-riding). การมีอัตลักษณ์ ไม่เพียงทำหน้าที่เป็นตัวจำกัดทางเลือก แต่ยังเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้คิดคำนวณทางเลือกเพื่อตัวเอง ดังนั้นการจัดสรรสินค้าและบริการทั่วโลกก็จะง่ายขึ้น เนื่องจากองค์กรและรัฐบาลต่างๆ มีขอบเขตการใช้อำนาจที่จำกัดมากเนื่องจากไม่มีรัฐบาลระดับโลกที่จะมีอำนาจผูกขาด

D. ตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า (Better preference fulfillment)
แนวคิดแบบ COM จะทำให้บุคคลมีทางเลือกที่กว้างขึ้น ทั้งนี้ความเป็นพลเมืองจะไม่จำกัดอยู่กับประเทศอีกต่อไป และจะไม่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เกิด บุคคลมีโอกาสเลือกความเป็นพลเมืองรูปแบบใดก็ได้ ที่เห็นว่ามีผลดีกับชีวิตของตัวเองมากที่สุด และก็ไม่ใช่การเลือกเพียงฝ่ายเดียว องค์กรที่ให้ความเป็นพลเมืองก็จะกำหนดเงื่อนไขการเป็นสมาชิกด้วย โดยเฉพาะองค์กรจะมีการกำหนดหน้าที่อย่างเช่น ระดับของหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องใดเป็นการเฉพาะ

จะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าบุคคลสามารถเลือกเป็นพลเมืองตามแบบที่เหมาะกับตัวเอง บุคคลเหล่านี้สามารถเข้าสู่ข้อตกลงในสัญญาร่วมกันที่มีการพิจารณาถึงสิ่งที่พลเมืองชอบหรือไม่ชอบ ดังตัวอย่างที่กล่าวไว้แล้วคือ ผู้ที่สนับสนุนการรวมยุโรป ซึ่งเป็นผู้ที่โดยส่วนตัวแล้วสามารถเลือกเป็นพลเมืองของยุโรปหรือเป็นสมาชิกของชาติพันธุ์ใดๆ ก็ได้ เป็นผู้ที่ต้องการเชื่อมโยงตัวเองกับภูมิภาคของตนเองและเลิกเป็นสมาชิกของประเทศตัวเอง นอกจากนี้บุคคลผู้ซึ่งไม่ต้องการประเทศในฐานะสถาบันก็อาจเป็นพลเมืองของสถาบันที่ไม่มีความเป็นประเทศชาติ ดังเช่นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) หรือองค์กรธุรกิจระดับโลก

E. กิจกรรมสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Greater efficiency of public activities)
ตามแนวคิดแบบ COM จะทำให้รัฐสูญเสียอำนาจผูกขาดในกิจกรรมจำนวนมากที่ถือเป็นธรรมเนียมว่าอยู่ในขอบเขตของรัฐ รัฐจะต้องพบกับการแข่งขันจากหน่วยงานในระดับที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่ารัฐบาล, ทั้งจากต่างชาติ รวมทั้ง NGOs และธุรกิจที่มุ่งผลกำไร ด้วยขนาดของโอกาสที่มากขึ้นจึงทำให้การลาออกจากองค์กรเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทุกองค์กรที่ให้ความเป็นพลเมืองกับสมาชิกก็จะเกิดแรงจูงใจที่จะเสนอเงื่อนไขที่น่าสนใจ อันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับแนวคิดการผูกขาดของรัฐ ซึ่งบุคคลจะต้องจ่ายเงินจำนวนมากเมื่อตัดสินใจลาออก แนวคิดใหม่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นก็เพราะว่า ความเป็นพลเมืองมีความยืดหยุ่นทำให้ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการสินค้าและบริการที่จัดให้ในทางสาธารณะ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ไม่ทราบล่วงหน้า

6. ข้ออ้างเรื่องผลกระทบด้านลบ (Claimed Disadvantages)
แนวคิดที่ผิดจากรูปแบบเดิมมักจะเป็นสิ่งที่ถูกโต้แย้งเสมอ แนวคิดความเป็นพลเมืองในรูปแบบใหม่ มีการยกเหตุผลมากมายมาโต้แย้ง เหตุผลที่สำคัญมีอยู่ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

6.1. ความเป็นพลเมืองไม่ใช่สิ่งจำเป็น (Citizenship is not needed)
แนวคิดความเป็นพลเมืองในรูปแบบใหม่อาจจะถูกคัดค้านว่าไม่มีความจำเป็น ด้วยเหตุผลที่ว่า บุคคลสามารถจะรับบริการที่มีอยู่ในตลาดด้วยข้อตกลงส่วนตัว ข้อโต้แย้งนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากสินค้าหลายอย่างที่รัฐและ NGOs จัดหาให้ บางส่วนมีลักษณะเฉพาะของบริการสาธารณะซึ่งการจัดหาโดยภาคเอกชนไม่มีประสิทธิภาพพอ (เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีแรงจูงใจให้อยากใช้ฟรี) ยิ่งกว่านั้นความเป็นพลเมืองยังมีความหมายมากกว่าแค่การซื้อสินค้าหรือบริการ แต่พลเมืองต้องพร้อมที่จะผูกมัดตัวเองกับองค์กร โดยไม่อาจกระทำสิ่งที่เป็นการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน หากต้องพร้อมที่จะไม่ทำพฤติกรรมที่เป็นการฉวยโอกาสในบางช่วงเวลา ในระดับหนึ่งบุคคลต้องมีความกระตือรือร้นจากภายใน จากนั้นกิจกรรมสาธารณะที่มีความพอเพียงทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพก็จะเกิดขึ้น จากประสบการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่จำเป็นคือ ศีลธรรมของพลเมืองและการตลาดก็ไม่สามารถแทนทุกสิ่งทุกอย่างได้

6.2. ความเป็นพลเมืองตามแนวคิดใหม่มีต้นทุนดำเนินการสูง (The new concept of citizenship has high transaction costs)
อาจมีข้อโต้แย้งว่าต้นทุนในการดำเนินการสำหรับบุคคลจะเพิ่มสูงเกินไปในกรณีที่บุคคลสามารถเลือกความเป็นพลเมืองได้จากสถาบันต่างๆ เป็นความจริงว่าแนวคิดแบบ COM เป็นการขยายความเป็นไปได้ให้กว้างขึ้น และทำให้โลกมีความยุ่งยากซับซ้อน แต่การขยายทางเลือกให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นเป็นเพียงแค่การสะท้อนถึงโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าแนวคิดแบบ COM จะมีต้นทุนในการทำการประเมินและในการตัดสินใจ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามไปว่าการกำหนดความเป็นพลเมืองแบบผูกขาดอย่างในทุกวันนี้ก็มีต้นทุนเช่นกัน เพราะทางเลือกของบุคคลถูกจำกัดด้วยการกำหนดความเป็นพลเมืองไว้กับชาติใดชาติหนึ่ง ด้วยการขยายตัวของความเป็นโลกาภิวัตน์และโอกาสต่างๆ ที่ขยายกว้างมักจะทำให้ต้นทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

6.3. ระบบความเป็นพลเมืองรูปแบบใหม่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (The new system of citizenship is unfeasible)
อาจจะมีการโต้แย้งว่าการทำให้ความเป็นพลเมืองมีความยืดหยุ่นขึ้น "เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง" แต่ในหลายกรณี แนวคิดแบบ COM ในแง่มุมบางด้าน (ไม่ใช่ทั้งหมดของแนวคิดนี้) ก็ปรากฏว่ามีการใช้กันอยู่แล้วและต่อไปนี้คือตัวอย่าง

(a) การถือสัญชาติความเป็นพลเมืองหลายสัญชาติมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่มีการใช้อยู่ในขอบเขตที่จำกัด มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่อนุญาตให้พลเมืองถือสัญชาติได้หลายสัญชาติพร้อมกัน แต่ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่อนุญาตให้ทำเช่นนี้ได้

(b) ในหลายประเทศ ชาวต่างประเทศมีสิทธิออกเสียงในระดับท้องถิ่น พลเมืองของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มีสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นที่พลเมืองเหล่านี้พักอาศัยอยู่ (ตามมาตรา 19 (8b)ECT) ความเป็นพลเมืองหลายชาติและแบบเป็นบางส่วนจึงมีการใช้กันอยู่แล้วในแง่นี้

(c) นักการทูตมีสถานภาพระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถเรียกว่าเป็น "ความเป็นพลเมืองทางการทูต" ทำให้บุคคลเหล่านี้แตกต่างจากบุคคลอื่นๆ โดยมีสิทธิพิเศษบางประการ และธนาคารโลกก็ออกพาสปอร์ตให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อให้สามารถเดินทางได้ทั่วโลก ถึงแม้จะยังเป็นพลเมืองของชาติรัฐที่เป็นถิ่นกำเนิด

(d) บุคคลระดับสูงในนิกายคาธอลิค (Catholic Church) เช่น พระสันตะปาปา, พระคาดินัล และบาทหลวงที่อยู่ในตำแหน่งบริหารส่วนกลาง ก็มีความเป็นพลเมืองของตัวเองขึ้นอยู่กับนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นรัฐขนาดเล็ก

(e) ผู้คนทั่วไปเป็น "พลเมือง" ของคอนโดมิเนียมในตัวเมืองหลายแห่ง เช่น ในกรุงโซลมีผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก โดยแต่ละคนจะเป็นผู้พักอาศัยที่แบ่งเป็นระบบชั้น, เป็นกลุ่มอาคารและเป็นกลุ่มคอนโดทั้งหมด ระบบการจัดแบ่งเช่นนี้อาจมีผู้อาศัยมากถึง 10,000 - 20,000 คน ที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนให้กับส่วนกลาง คอนโดมิเนียมบางแห่งจ้างพนักงานมากถึง 200 -500 คนให้ทำหน้าที่บริการสังคม เช่น การดูแลเด็กและคนแก่ หรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ "พลเมือง" แต่ละคนต้องจ่ายเงินที่ถือว่าเป็นภาษีสำหรับเป็นค่าจัดหาบริการสาธารณะภายในอาคาร ดังนั้น จึงเกือบจะบอกให้เห็นความแตกต่างไม่ได้ ระหว่างระบบของคอนโดมิเนียมบางแห่งกับสถาบันที่เรียกว่ารัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ความเป็นพลเมืองในแบบที่มีความยืดหยุ่นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างสุดท้ายที่เกี่ยวกับ "ความเป็นพลเมืองของคอนโดมิเนียม" ไม่ได้ต้องการเสนอว่าผู้ที่พักอาศัยจะไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของเขตปกครองซึ่งเป็นที่ตั้งของคอนโดมิเนียม แต่กรณีของคอนโดมิเนียมก็เป็นเหมือนคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ปกครอง (จัดหาบริการสาธารณะและเก็บ "ภาษี") ที่นอกเหนือจากรัฐ โดยที่พลเมืองในคอนโดมิเนียมมีทั้งสิทธิและหน้าที่เหมือนกับพลเมืองในแบบดั้งเดิม

การนำระบบความเป็นพลเมืองแบบ COM มาใช้อาจไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงไปทีละขั้น บุคคลกลุ่มแรกที่จะได้ประโยชน์จากความเป็นพลเมืองในรูปแบบใหม่ก็คือ กลุ่มผู้บริหารที่เดินทางทั่วโลกเป็นประจำ, นักกีฬา, ศิลปินและนักวิชาการ สำหรับบุคคลที่ยังพอใจกับความเป็นพลเมืองตามสัญชาติที่เป็นอยู่ ก็ยังคงความเป็นพลเมืองแบบเดิมต่อไปได้

6.4. ความเป็นพลเมืองในระบบใหม่จะถูกคัดค้านทางการเมือง (The new system of citizenship will be politically opposed)
ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า นักการเมืองที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ จะพยายามอย่างหนักที่จะคัดค้านความเป็นพลเมืองแบบที่มีความยืดหยุ่น เพราะแนวคิดนี้จะทำให้อำนาจผูกขาดของนักการเมืองถูกแย่งชิงหรือถูกลิดรอน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ซึ่งได้ประโยชน์จากการที่พลเมืองไม่มีทางเลือกอื่น ดังกรณีที่พลเมืองของประเทศจะไม่สามารถดำเนินการได้มากนัก ถ้ารัฐไม่ยอมออกพาสปอร์ตให้ และการพึ่งศาลเป็นเรื่องที่ชักช้าในหลายประเทศ หรืออาจไม่ได้ผลทำให้เสียเงินเสียเวลา

ตามหลักการแล้ว แนวคิดความเป็นพลเมืองแบบ COM เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องการจำกัดกับคำว่า "พลเมือง" ให้มีความหมายในรูปแบบเดิม จึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนจำนวนมากที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาอย่างยาวนาน

7.สรุป
ความเป็นพลเมืองต้องมีเรื่องของความสัมพันธ์แบบพิเศษ ที่มีทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระยะสั้น หรือเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างบุคคลกับประเทศ แนวคิดความเป็นพลเมืองในรูปแบบนี้ ตามปกติจำกัดไว้เฉพาะกับรัฐเท่านั้น แต่ประเทศต่างๆ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถเผชิญกับการท้าทายของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การผูกขาดความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงกับประเทศในรูปแบบที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มีขอบเขตคับแคบเกินไป และไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการขัดแย้งกับภารกิจในการแก้ปัญหาว่าด้วยกิจการสาธารณะ

ความเป็นพลเมืองซึ่งมีทั้งสิทธิและหน้าที่สามารถขยายให้มีขอบเขตที่กว้าง และทำให้มีความยืดหยุ่นขึ้น ความเป็นพลเมืองในรูปแบบที่หลากหลาย, แบบเป็นบางส่วนและแบบชั่วคราวอาจขยายให้ครอบคลุมถึงองค์กรกึ่งรัฐหรือองค์กรสาธารณะ (NGOs) รวมถึงโบสถ์, สโมสร, กลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน, องค์กรซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ (functional organizations) และองค์กรทางธุรกิจ แนวคิดความเป็นพลเมืองในรูปแบบสถาบันวิชาการ, ธุรกิจ, องค์กร, อุตสาหกรรมและองค์กรซึ่งมีหน้าที่เฉพาะนั้นสามารถสังเกตเห็นได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในความเป็นจริง

การขยายความเป็นพลเมืองไปสู่องค์กรที่นอกเหนือจากรัฐ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับบุคคล ทำให้บุคคลเต็มใจที่จะส่งจ่ายเงินสมทบให้สำหรับสินค้าและบริการที่จัดหาให้เพื่อสาธารณะในเศรษฐกิจโลก, เป็นการนำไปสู่การตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า, ทำให้มีการแข่งขันมากขึ้นระหว่างองค์กรจำนวนมาก ในการดำเนินกิจการบริการสาธารณะ ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นตามมา

บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงโดยสมชาย ปรีชาศิลปกุล ชุด โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน

1442. การศึกษาแนวคิดด้านเพศสภาพในกระบวนการยุติธรรมอาญาของญี่ปุ่น (รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล, มช.)
1464. Same-Gender Marriage: การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน (มุมมองจากยุโรป) (รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล: แปล)
1538. หลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญว่าด้วย พหุนิยมทางศาสนาในสหรัฐอเมริกา (รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 8th May 2008 : Copyleft by MNU.

ประเทศต่างๆ นั้นขาดความพร้อมที่จะเผชิญกับการท้าทายของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ แนวคิดในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง ซึ่งมีทั้งสิทธิและหน้าที่รวมถึงความจงรักภักดี เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้จำกัดอยู่เฉพาะระหว่างบุคคลกับรัฐเท่านั้นอันเป็นขอบเขตที่คับแคบมาก ในห้วงเวลาปัจจุบัน แต่ละคนมีความเป็นตัวตนซึ่งเชื่อมโยง และขึ้นกับสถาบันต่างๆ หลายสถาบันนอกเหนือจากรัฐ บทความนี้ต้องการเสนอแนวความคิดที่ว่า ความเป็นพลเมืองควรจะต้องมีการขยายขอบเขต และความเป็นพลเมืองควรเชื่อมโยงกับสถาบันกึ่งรัฐ, รวมทั้งองค์กรสาธารณะ (NGOs) เช่น โบสถ์, กลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน, องค์กรสาธารณะประโยชน์ และสถาบันทางธุรกิจ เมื่อประเภทของความเป็นพลเมืองมีรูปแบบที่หลากหลาย บุคคลก็ควรมีสิทธิเลือกมากขึ้นเช่นกัน

H