ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




22-05-2551 (1568)

สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย (Nonviolence, Violence and Thai Society)
สารพัดโรคความรุนแรงในสังคม จากเรื่องเพศถึงมายาคติเรื่องยาเสพติด
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวมและเชิงอรรถ
เพื่อบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการเรื่องความรุนแรง

บทความวิชาการเรื่องความรุนแรงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

รายงานการสัมนาเรื่องความรุนแรงนี้ เคยเผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์ประชาไทออนไลน์
เป็นโครงการที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดสัมมนาเรื่อง "สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย"
(Nonviolence, Violence and Thai Society) โครงการปีที่ ๒ ในหัวข้อ
ความรุนแรง : "ซ่อน-หา" สังคมไทย ณ ห้อง ร.๑๐๓ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ วันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
ประกอบด้วย
๑. เพศสภาพของความรุนแรง (ซ่อน - หา)
๒. สิทธิที่ก่อให้เกิดความรุนแรง หรือเหตุผลของรัฐต่อความชอบธรรมทางการเมือง
๓. ปฏิบัติการสงคราม ของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย
๔. บทสะท้อน "ความรุนแรง" จากวรรณกรรมของขบวนการท้องถิ่น
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๖๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย (Nonviolence, Violence and Thai Society)
สารพัดโรคความรุนแรงในสังคม จากเรื่องเพศถึงมายาคติเรื่องยาเสพติด
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวมและเชิงอรรถ
เพื่อบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการเรื่องความรุนแรง

สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย (Nonviolence, Violence and Thai Society)
รายงานสัมนาโดยสังเขปต่อไปนี้ เคยเผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์ประชาไท
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม, ประกอบด้วย ๔ เรื่องคือ

๑. เพศสภาพของความรุนแรง (ซ่อน - หา)
๒. สิทธิที่ก่อให้เกิดความรุนแรง หรือเหตุผลของรัฐต่อความชอบธรรมทางการเมือง
๓. ปฏิบัติการสงคราม ของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย
๔. บทสะท้อน "ความรุนแรง" จากวรรณกรรมของขบวนการท้องถิ่น ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ : เพศสภาพของความรุนแรง (ซ่อน - หา)
หมายเหตุ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จัดสัมมนาเรื่อง "สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย"(Nonviolence, Violence and Thai Society) โครงการปีที่ 2 ความรุนแรง : "ซ่อน-หา" สังคมไทย ณ ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2550.
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งของการเสวนา รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ ได้พูดถึงงานวิจัยเรื่อง 'เพศสภาพของความรุนแรง' โดยกล่าวว่า ประเด็นหลักใจกลางของงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ที่เรื่อง "การข่มขืน" ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรง และแบ่งเนื้อหา ออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกพูดถึง

- แนวคิดว่าด้วยการข่มขืนหรือข้อเสนอว่าด้วยการตีความการข่มขืนของนักคิดสตรีนิยม (Feminism) และ
- ส่วนที่สองพูดถึงการทำงานหาความรู้เรื่องการข่มขืนในสังคมไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2539-2549 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

(1) แนวคิดว่าด้วยการข่มขืน
นักคิดสตรีนิยม ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องการข่มขืนว่า การข่มขืนสามารถมองได้ 3 ลักษณะหรือ 3 แนวทาง กล่าวคือ

- พวกแรกเสนอว่าการข่มขืน (rape) คือการการกระทำความรุนแรง (violence act)
- พวกที่สองเสนอว่าการข่มขืนคือเรื่อง Sex และ Sex คือการข่มขืน และ
- พวกที่สามเสนอว่า การข่มขืนเป็นทั้งการกระทำความรุนแรงและเรื่องเพศและการผสมผสานของความรุนแรง
และเรื่องเพศนี้เองที่ทำให้การข่มขืนมีความหมายเฉพาะ

พวกแรก การข่มขืนคือการกระทำความรุนแรง
Susan Brownmiller (*) พยายามจะชี้ว่าการข่มขืนไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะความเข้าใจในหลายๆ สังคมมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องเพศที่เบี่ยงเบน ซึ่งก็มีมายาคติรองรับอยู่ เช่นว่า ผู้ชายมีความต้องการทางเพศอยู่มากที่ต้องระบายออก และการระบายออกของผู้ชายนี้กระทผ่านการข่มขืน และการซื้อบริการทางเพศ ดังนั้น มายาคติแบบนี้จึงนำไปสู่ความคิดที่ว่า ผู้หญิงจะต้องระมัดระวังตัว ผู้หญิงต้องไม่ไปเร้าอารมณ์ผู้ชาย เป็นต้น. Brownmiller เสนอว่า สิ่งเหล่านี้เป็นมายาคติที่โยนความผิดไปให้กับผู้หญิง. การข่มขืนเป็น violence act ที่เกิดขึ้นในโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เชิดชูความเป็นชาย การข่มขืนจึงเป็นการสื่อสารความเหนือกว่าที่ผู้ชายกระทำกับร่างกายของผู้หญิง

(*)Susan Brownmiller (b. February 15, 1935) is a radical feminist, journalist, and activist. She is best known for her pioneering work on the politics of rape in her 1975 book Against Our Will: Men, Women, and Rape

Brownmiller argues that rape had been hitherto defined by men rather than women; and that men use, and all men benefit from the use of, rape as a means of perpetuating male dominance by keeping all women in a state of fear. Brownmiller also participated in civil rights activism, joining CORE during the sit-in movement and volunteering for Freedom Summer in 1964. She first became involved in the Women's Liberation Movement in New York City in 1968, by joining a consciousness-raising group in the newly-formed New York Radical Women organization. Brownmiller went on to co-ordinate a sit-in against Ladies' Home Journal in 1970, began work on Against Our Will after a New York Radical Feminists speak-out on rape in 1971, and co-founded Women Against Pornography in 1979. She continues to write and speak on feminist issues, including a recent memoir and history of Second Wave radical feminism. In Our Time: Memoir of a Revolution (1999).

As of 2005, she is an Adjunct Professor of Women's & Gender Studies at Pace University in New York City.

พวกที่สอง การข่มขืนคือเรื่อง Sex และ Sex คือการข่มขืน
การข่มขืนคือ Sexual act และ Sex ทั้งหมดในระบบสองเพศสภาพคือการข่มขืน แนวคิดแบบนี้พบได้ในนักคิด เช่น Catherine MacKinnon (*) ซึ่งให้คำอธิบายว่าในระบบเพศสภาพแบบแยกขาดอย่างเคร่งครัด และเชิดชูความเป็นชายมากกว่านั้น บังคับให้คนต้องมีวิถีปฏิบัติทางเพศในแบบรักต่างเพศ (Compulsory heterosexuality) ดังนั้นการบังคับให้เป็น heterosexual ก็ไม่ต่างกับการข่มขืน เพราะการข่มขืนก็คือการถูกบังคับเช่นกัน นอกจากนี้ MacKinnon ยังบอกว่า Sex ที่เป็นกระแสหลักนั้น ทำให้การครอบงำของผู้ชายและการสยบยอมของผู้หญิงเป็นเรื่องเชิงสังวาส เป็นเรื่อง Sexy เพราะฉะนั้น Normal Sex จึงเป็นการสื่อสารอำนาจที่ไม่ต่างกับการข่มขืน.

(*)Catharine Alice MacKinnon (born October 7, 1946) is an American feminist, scholar, lawyer, teacher, and activist. MacKinnon's ideas may be divided into three central -- though overlapping and ongoing -- areas of focus: (1) sexual harassment, (2) pornography, and (3) international law. She has also devoted attention to social and political theory and methodology.

พวกที่สาม การข่มขืนเป็นทั้งการกระทำความรุนแรงและเรื่องเพศ
การข่มขืนเป็นทั้งสองอย่างคือ เป็นความรุนแรงที่มีองค์ประกอบของ Sex เราจะไม่สามารถทำความเข้าใจการข่มขืนได้ ถ้าไม่ลงไปสำรวจถึงความเชื่อ ความหมายเฉพาะของสังคมนั้นๆ ว่านิยามร่างกายมนุษย์อย่างไร นิยามเรื่องเพศอย่างไร? ดังนั้น ถ้าเราไม่เข้าไปตรวจดูความเชื่อความหมายเหล่านี้ ก็จะไม่เข้าใจเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราได้. ข้อถกเถียงต่างๆ ได้น้อมนำไปสู่ความคิดที่ว่า การข่มขืนเป็นเรื่องที่หาแบบแผนไม่ได้ เป็นเรื่องของประสบการณ์เฉพาะ ตามความเชื่อความหมายเฉพาะของแต่ละสังคม เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่สลับซับซ้อน ซึ่งจะเข้าใจได้ก็แต่ในบริบทและความเฉพาะเจาะจงในแต่ละสังคม

ข้อค้นพบจากการศึกษางานวิจัยเรื่องการข่มขืนในสังคมไทย
รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ พบว่างานศึกษาวิจัยเรื่องการข่มขืนของสังคมไทย มีลักษณะต่อไปนี้

ประการแรก การศึกษาการข่มขืนกระทำชำเราในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาตัวผู้ข่มขืน (rapist) โดยมีความเชื่อว่าคนกลุ่มนี้เป็น "พวกเบี่ยงเบน" หรือ "ผิดปกติ" ซึ่งในที่นี้มีการศึกษาจากผู้ต้องขัง. ต่อประเด็นนี้ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ มีข้อสังเกตว่า ผู้ข่มขืนที่ถูกจับได้กับผู้ข่มขืนที่ไม่ถูกจับได้ น่าจะได้ผลที่ต่างกัน แต่ในงานวิจัยแต่ละชิ้นไม่ได้หยิบยกข้อสังเกตตรงนี้ขึ้นมาแต่อย่างใด

ประการที่สอง แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัยนั้น ไม่พบข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการข่มขืนที่ได้เสนอไว้ในส่วนก่อนหน้านี้เลย ซึ่ง รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ มีข้อสังเกตว่า ทุกคนอ่านหนังสือเหมือนกัน คืออ่านหนังสือที่ผลิตในช่วงเวลาเดียวกัน และไม่ได้อ่านวารสาร

ประการที่สาม งานวิจัยมีทั้งที่ผลการวิจัยสนับสนุนมายาคติเรื่องการข่มขืน และมีทั้งที่ไม่สนับสนุนมายาคติดังกล่าว โดยเหตุนี้จึงพบว่าเรื่องการข่มขืนนั้นไม่มีแบบแผน(pattern) บอกไม่ได้ว่าผู้กระทำคือใคร เหยื่อคือใคร รูปแบบเป็นอย่างไร? อย่างไรก็ตาม งานหลายๆ ชิ้นก็ไม่ได้พยายามจะตั้งคำถามกับมายาคติว่าด้วยการข่มขืน แต่กลับรับเอามายาคตินั้นมา

ประการที่สี่ เมื่ออ่านงานวิจัยเรียงๆ กันจะพบ plot ที่ว่าผู้ข่มขืน เมา, ใช้สารเสพติด, และผู้หญิงยั่วยวน, ซึ่งเป็นเช่นนี้เกือบทั้งหมด

ประการที่ห้า คือเรื่อง "ข้อเสนอแนะ" ของงานวิจัยต่างๆ เช่นว่า ผู้หญิงต้องระวังตัว, อย่าเชื่อผู้ชายง่าย, ผู้หญิงต้องเรียนรู้ศิลปะป้องกันตัว ฯลฯ ซึ่งก็มักจะพบว่าผลวิจัยมาอย่างหนึ่ง และข้อเสนอแนะมาอีกทางหนึ่ง

ประการสุดท้าย คือมีหนังสือสองเล่มที่ทำให้สังคมไทยได้มองเห็น "การข่มขืน" ในฐานะที่เป็นอาวุธสงคราม คือ ในงานแปลโดยคุณสุพัตรา ภูมิประภาส แต่ประเด็นแบบนี้คนไทยก็มักจะคิดว่า "ไม่เกี่ยวกับเรา" หรือ "ไม่ใช่เรื่องของเรา" ทำให้เรามองไม่เห็นเรื่องราวเหล่านี้

นอกจากนี้ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ เสนอเพิ่มเติมในสิ่งที่มองไม่เห็นในสังคมไทยอีกประการหนึ่งคือ male rape (*) หรือการข่มขืนที่ผู้ชายเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้หญิงข่มขืนผู้ชายแต่เป็นการข่มขืนที่ผู้ชายกระทำกับผู้ชาย ซึ่งกรณีนี้ในสังคมไทยไม่ปรากฏทั้งในส่วนของข้อมูลและการวิจัย

(*)Male on male rape is common in incestuous rape, and other situations, (such as prison or other similar settings) where men and boys are dependent on elder males and/or are unable to escape stronger males. Since the United States Uniform Crime Report statistics are considered unreliable regarding rape in general, regarding the sex of the victims (in some states rape of males is considered impossible by the law), and regarding the sex of the victimizer, no reliable statistics on male-male rape can be taken from these crime statistics, despite their official nature.

"การข่มขืนหรือการกระทำความรุนแรงมันไม่มี pattern ความหมายก็เฉพาะเจาะจง ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดเฉพาะของแต่ละกรณี แต่ทั้งหมดนี้จะทำความเข้าใจได้เมื่อเชื่อมโยงการกระทำเหล่านั้นเข้ากับโครงสร้างของสังคม และโครงสร้างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือคือ gender" รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าว

๒. เกษม เพ็ญภินันท์ : สิทธิที่ก่อให้เกิดความรุนแรง หรือเหตุผลของรัฐต่อความชอบธรรมทางการเมือง
หมายเหตุ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จัดสัมมนาเรื่อง "สันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย"(Nonviolence, Violence and Thai Society) โครงการปีที่ 2 "ความรุนแรง : "ซ่อน-หา" สังคมไทย" ณ ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2550

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 มีการนำเสนอบทความหนึ่งในโครงการวิจัยนี้คือ "สิทธิที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหรือเหตุผลของรัฐต่อความชอบธรรมทางการเมือง" โดย ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ดร.เกษม เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประสบการณ์สองชุด

- ชุดแรกคือประสบการณ์ส่วนตัวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ 9/11 ประกอบกับช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับอิรัก
- ประสบการณ์ชุดที่สองคือ ประสบการณ์การค้นคว้าวิจัย หลังจากได้รับหัวข้อเกี่ยวกับความรุนแรง ซึ่งประสบการณ์ทั้งสองชุดนี้นำไปสู่คำถามที่ว่า "รัฐ" มีเหตุผลอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหรือสร้างความรุนแรงขึ้นมา โดยแบ่งรายงานการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนแรก : การเข้าไปสืบค้นว่า รัฐอ้างสิทธิอำนาจของตนเองอย่างไร เพื่อบอกว่าการกระทำนั้นชอบธรรม? ซึ่งพบว่าเรื่องเหตุผลของรัฐอยู่คู่กับเรื่ององค์อธิปัตย์. ดร.เกษม กล่าวว่า รัฐทำงานควบคู่กับองค์อธิปัตย์ในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงสิทธิอำนาจในการอ้างความชอบธรรมต่อเรื่องต่างๆ ในกรณีสังคมไทยความชอบธรรมนี้มีอยู่สองชุด

- ชุดแรกคือ การพยายามทำงานผ่านกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายมหาชน ซึ่งรัฐคิดจากมุมมองของรัฐโดยตลอด กล่าวคือ คิดในเรื่องการดำรงอยู่และการจัดการเพื่อจะควบคุมคนและผลบังคับใช้ กฎหมายไทยจึงเต็มไปด้วยข้อห้ามและข้อบังคับ และพูดถึงแนวทางการปฏิบัติน้อยมาก

- ชุดที่สองคือ องค์อธิปัตย์ในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงสิทธิอำนาจนั้น มักพูดถึงองค์อธิปัตย์ที่ผูกติดกับสภาพความเป็นตัวแทนของประชาชนโดยผ่านรัฐสภา แต่ในความเป็นจริงเป็นการพยายามที่จะผูกโยงกลับไปสู่สถาบันกษัตริย์ในฐานะที่เป็นตัว finalized ของอำนาจ. "อำนาจและความชอบธรรมในสังคมไทยและเหตุผลของรัฐ ถูกโยงว่าใครคือองค์อธิปัตย์ และองค์อธิปัตย์นั้นมีสิทธิที่จะบอกว่าชอบธรรมอย่างไรเมื่อตัวเองผ่านมติ"

ส่วนที่สอง : การพยายามจะมองว่าถ้าปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นจากกฎหมาย ขณะเดียวกันโดยสามัญสำนึกของเรา กฎหมายเป็นสิ่งที่รักษาความยุติธรรมหรือความเที่ยงธรรมในสังคม แล้วมันขัดแย้งหรือย้อนแย้งกันอย่างไร? ส่วนนี้ ดร.เกษม ทำการศึกษาผ่านขนบและจารีตของการศึกษาทางนิติปรัชญาและกระบวนการ professional training ในประเทศไทย

ดร.เกษม กล่าวว่า สิ่งที่น่าสนใจและน่าตกใจคือตลอดเวลาที่มีการเรียนการสอนวิชานิติปรัชญา (*) พบว่ามีตำราเพียง 5 เล่ม โดยเล่มที่สำคัญที่สุดคือ ตำราของ อ.ปรีดี เกษมทรัพย์ ซึ่งมีความน่าสนใจตรงที่ไม่ได้มีการตั้งคำถามกับความยุติธรรมที่มีต่อตัวกฎหมาย แต่ยืนยันว่ากฎหมายยุติธรรมและเที่ยงธรรม ส่วนงานของ อ.สมยศ เชื้อไทย ก็มีลักษณะคล้ายกับ อ.ปรีดี เกษมทรัพย์ คือบอกว่ากฎหมายคือการคลี่คลายตัวของความยุติธรรมและมีความชอบธรรมในการบังคับใช้

(*)Jurisprudence is the theory and philosophy of law. Scholars of jurisprudence, or legal philosophers, hope to obtain a deeper understanding of the nature of law, of legal reasoning, legal systems and of legal institutions. As jurisprudence has developed, there are three main aspects with which scholarly writing engages:

Natural law
The idea that there are unchangeable laws of nature which govern us, and that our institutions should try to match this natural law.

Analytic jurisprudence
Asking questions like, "What is law?" "What are the criteria for legal validity?" or "What is the relationship between law and morality?" and other such questions that legal philosophers may engage.

Normative jurisprudence
Asking what law ought to be. It overlaps with moral and political philosophy, and includes questions of whether one ought to obey the law, on what grounds law-breakers might properly be punished, the proper uses and limits of regulation, how judges ought to decide cases.

Modern jurisprudence and philosophy of law is dominated today primarily by Western academics. The ideas of the Western legal tradition have become so pervasive throughout the world that it is tempting to see them as universal. Historically, however, many philosophers from other traditions have discussed the same questions, from Islamic scholars to the ancient Greeks.

แต่มีงานอีก 3 เล่ม ซึ่ง ดร.เกษม ให้ความสำคัญคืองานของ อ.รองพล (เจริญพันธ์), อ.พิธินัย (ไชยแสงสุขกุล) และ อ.จรัญ (โฆษณานันท์) เพราะได้นำปมปัญหาสำคัญของนิติปรัชญาขึ้นมา โดยเฉพาะการกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องความยุติธรรม. "ที่ผมให้ความสนใจกับความยุติธรรมเป็นพิเศษ เพราะความยุติธรรมเป็นสิ่งที่นิยามไม่ได้ แต่นักกฎหมายเองพยายามจับให้มั่นคั้นให้ตายว่า ความยุติธรรมคือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในกฎหมาย" ดร.เกษม ขยายความ

ทั้งนี้ ดร.เกษม เห็นว่า นักกฎหมายไทยหยิบยกเอาส่วนที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตน ในการที่จะยืนยันหรืออ้างอิงสิ่งที่เรียกว่า "ยุติธรรม" ผ่านการตีความ ผ่านบทบัญญัติ มากกว่าที่จะตรวจสอบตัวกฎหมายในฐานะที่เป็นความเป็นไปได้ของความยุติธรรม. "กฎหมายสำหรับผมคือความเป็นไปได้ของความยุติธรรม ขณะที่นักกฎหมายมองกฎหมายในฐานะการคลี่คลายตัวของความยุติธรรม ซึ่งสามารถนำมาใช้และปฏิบัติการได้จริง"
ดร.เกษม กล่าวต่อมาว่า "เราเชื่อฟังกฎหมายหรือปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่เพราะว่ากฎหมายเป็นเรื่องของความยุติธรรม แต่เราเชื่อฟังกฎหมายเพราะกฎหมายมีผลบังคับใช้ และการบังคับใช้ของกฎหมายมาพร้อมกับบทลงโทษ และนี่คือธรรมชาติของกฎหมายซึ่งแปลกแยกกับความยุติธรรมโดยสิ้นเชิง"

"กฎหมายสร้างความรุนแรงผ่านความชอบธรรมของตัวมันเอง ซึ่งโดยธรรมชาติการบังคับใช้ของมันทำให้เราจำเป็นต้องปฏิบัติตาม และการปฏิบัติตามตรงส่วนนี้รัฐใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประสิทธิภาพแรกของการใช้กฎหมายและความรุนแรงส่วนนี้คือ การพยายามจะควบคุมวิถีชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตาย"

ส่วนที่สาม : ตัวอย่างกระบวนการใช้สิทธิอำนาจของรัฐ ในส่วนนี้ ดร.เกษมยกตัวอย่างที่สำคัญ 3 ตัวอย่างคือ

1. การเลิกทาส และ พรบ.สิทธิสภาพบุคคล ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ที่รัฐพยายามผนวกคนไม่ว่าสถานะใดมาเป็นพลเมืองหรือประชากรของรัฐ ซึ่งเป็นการจัดรูปแบบของรัฐสมัยใหม่ที่พยายามตรึงประชากรให้เป็นส่วนประกอบของรัฐ

2. การใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เพื่ออ้างอิงความชอบธรรมสูงสุดของรัฐ โดยยกกรณี มาตรา 17 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
และ มาตรา 21 ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

3. กรณีของการจัดระเบียบสังคม ซึ่งกล่าวได้ว่าคือการทำงานของกฎหมายและระเบียบความรุนแรงที่ชีวิตคนถูกตรึงไว้ระเบียบรัฐ

ดร.เกษม กล่าวว่า รัฐสมัยใหม่ไม่ได้ทำความรุนแรงเฉพาะหน้าแต่เป็นความรุนแรงที่ชาชิน ซึ่งหมายถึง การที่ทุกคนอยู่ในระเบียบแบบแผน มีชีวิตเป็นปกติโดยที่ตนเองไม่รู้ว่าความรุนแรงในส่วนนี้มันควบคุมและจัดการกับชีวิตเราอยู่ ไม่ใช่กฎหมายที่เมื่อทำผิดแล้วมีบทลงโทษ แต่เป็นกฎหมายที่จัดการกับชีวิตให้ดีงามในความหมายของรัฐ แต่ไม่ใช่ในความหมายของความยุติธรรม. "ปัญหาความรุนแรง และความรุนแรงซ่อน-หานี้ เป็นความรุนแรงที่ปราศจากอคติ เพราะเราไม่รู้สึกตัวว่าเราเผชิญหน้าหรือมีชีวิตอยู่กับความรุนแรง ซึ่งกฎหมาย ความชอบธรรม และสิทธิอำนาจในการบงการชีวิตเรามันทำงานผ่านชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา" ดร.เกษม สรุป

. พวงทอง ภวัครพันธุ์: "ปฏิบัติการสงคราม" ของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย
หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2550 ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนองานวิจัยในเรื่อง"ปฏิบัติการสงคราม" ของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย โดยการเสนองานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสัมมนาโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่องสันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย โดยปีนี้จัดในหัวข้อ "ความรุนแรง:"ซ่อน-หา"สังคมไทย"

งานวิจัยนี้เริ่มจากคำถามว่า ทำไมสังคมไทยส่วนใหญ่จึงสนับสนุนนโยบายสงครามกับยาเสพติดในสมัยรัฐบาลทักษิณ หรือที่เราเรียกกันว่าการฆ่าตัดตอน เราจะเห็นได้ว่าผลจากการสำรวจทัศนคติของคนไทยออกมา 97% สนับสนุนนโยบายนี้ ซึ่งคำตอบมักจะออกมาว่าเพราะคนไทยชอบความรุนแรง ชอบความเด็ดขาดรวดเร็ว ซึ่งดิฉันคิดว่ามันไม่เพียงพอในการตอบคำถามนี้

กรณีฆ่าตัดตอนเป็นกรณีสำคัญ เพราะมีคนเสียชีวิตถึงกว่า 2,500 คน โดยที่สังคมไทยโดยส่วนใหญ่กลับไม่รู้สึกสะเทือนอะไรเลยกับปัญหาดังกล่าว
คำถามในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย

- อะไรคือข้อกล่าวอ้างในปัญหายาเสพติดที่ถูกนำเสนอโดยเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อ และตัวแสดงทางสังคมอื่นๆ?
- อะไรคือภัยคุกคามของยาเสพติดที่มีต่อสังคมไทย ซึ่งถูกนำเสนอออกมา?
- วิธีนำเสนอปัญหายาเสพติด วางอยู่บนฐานของข้อมูลหลักฐานประเภทไหน?
- อุดมการณ์หรือเกณฑ์ทางศีลธรรมใด ที่ถูกใช้รองรับการรณรงค์ปัญหา? และ
- วิธีการนำเสนอปัญหายาเสพติดดังกล่าว ได้กลายมาเป็นพื้นฐานรองรับความรุนแรงของรัฐอย่างไร?

กรอบในการวิเคราะห์ดิฉันยืมมาจาก Henry H.Brownstein ซึ่งทำการศึกษาเรื่องความรุนแรงในสังคมอเมริกัน โดยที่เขาเสนอว่านโยบายสาธารณะของรัฐ ทัศนะและการปฏิบัติของสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับความรุนแรงเป็นผลผลิตของการสร้างข้อกล่าวอ้าง หรือการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับความรุนแรงผ่านตัวแสดงต่างๆ ในสังคม
ตัวเลขอาชญากรรมและตัวเลขการแพร่ระบาดยาเสพติด เป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอเรื่องของความรุนแรง ในสังคมไทยมักจะชอบทำโพลล์ และการทำโพลล์ในหลายครั้งไม่ใช่การวัดทัศนคติ แต่เป็นการวัดความรู้สึก เช่นกรณียาเสพติดเป็นการวัดว่าคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าปัญหายาเสพติดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ มันเป็นการวัดความกลัวอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ การนิยามและการวัดความรุนแรงยังมีผลโดยตรง ต่อการกำหนดมาตราการในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการป้องกันและปราบปรามก็ขึ้นอยู่กับคุณค่าและความเชื่อของหน่วยงาน ของตัวแสดงต่างๆ เช่นถ้าคุณเป็นทหาร แนวโน้มที่คุณจะเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาก็อาจเป็นเรื่องของการปราบปราม ถ้าคุณมองว่าปัญหามันเป็นปัญหาในเรื่องของศีลธรรม ไม่ใช่ปัญหาในระดับโครงสร้างสังคม แนวทางการแก้ปัญหาก็จะออกมาอีกแบบหนึ่ง

นอกจากนั้นในทุกสังคมมักจะมีผู้ที่วางตนเป็น "ผู้ทรงศีลธรรม" ซึ่งก็มักจะชี้ให้เห็นว่าสังคมกำลังถูกคุกคาม การเล่าเรื่องของเขาก็จะทำให้สังคมเกิดความตื่นกลัวทางศีลธรรมขึ้น เพื่อทำให้สังคมเกิดความรังเกียจและต่อต้านพฤติกรรมนั้นๆ และบ่อยครั้งก็ทำให้สังคมเห็นถึงว่า บาปหรือความชั่วร้ายที่สังคมไม่มีกฏเกณฑ์ที่ดีพอที่จะจัดการเหล่านั้น โดยที่กฎเกณฑ์ที่ดีอาจจะไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ถูกต้องเสมอไปก็ได้

ในกรณีของสงครามต่อต้านยาเสพติดที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ต้องการชี้ให้เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลและทัศนะของสาธารณชนที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการกับปัญหายาเสพติด เป็นผลมาจากการเล่าเรื่อง ที่เป็นการผสมผสานระหว่างตัวเลขสถิติต่างๆ ที่เป็นตัวชี้ระดับความรุนแรงของปัญหาโดยผ่านสื่อต่างๆ ที่ไม่เพียงส่งผลต่อการผลักดันนโยบาย ทั้งในด้านการป้องกันและปราบปราม แต่ยังส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวต่อภัยยาเสพติดอย่างไม่เคยมีมาก่อน และความหวาดกลัวนี้ยังเป็นผลมาจากข้อกล่าวอ้างเชิงศีลธรรม ที่ปนเปื้อนด้วยลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรงอีกด้วย

ในส่วนแรกคือภาพรวมของปัญหายาเสพติดในทศวรรษที่ 2540 คือก่อนปี 2539 ปัญหายาเสพติดอันดับหนึ่งคือปัญหาเรื่องเฮโรอีน แต่เปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่รัฐบาลบรรหารประกาศเปลี่ยนชื่อ"ยาม้า"เป็น"ยาบ้า" เพื่อทำให้คนเกิดความกลัว รังเกียจมากขึ้น แล้วก็ยกฐานะของยาบ้าจากยาประเภท 5 ซึ่งเทียบเท่ากับกลุ่มกัญชา กระท่อม เป็นยาประเภท 1 เทียบเท่ากับเฮโรอีน ฉะนั้นบทลงโทษก็จะรุนแรงมากขึ้นด้วย

หลังจากนั้นนำไปสู่การขาดแคลนเพราะราคายาพุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดกำไรงาม ก็มีผู้หันมาค้ายาบ้ากันมากขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2538 กลุ่มกองทัพว้าในรัฐฉานก็ผลิตยาบ้าได้สำเร็จด้วย เป็นจุดที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในพม่าหันมาผลิตเพิ่มขึ้น การจับกุมยาบ้าจึงเพิ่มขึ้นสูง. ตัวเลขในปี 2542 จำนวนยาบ้าที่จับกุมได้ทั่วประเทศอยู่ที่ 38 - 39 ล้านเม็ด

ทางด้านภาครัฐและสื่อก็มีการรณรงค์เรื่องปัญหายาเสพติด คงจะคุ้นเคยกับสโลแกนประเภท "ยาบ้าคนเสพตาย คนขายติดคุก", "ยาบ้าอันตรายถึงตาย", "ยาบ้าคือยาพิษ", โปสเตอร์รณรงค์ของภาครัฐก่อให้เกิดความกลัวว่าเมื่อคุณใช้ยาบ้าเข้าไปแล้ว มันจะเกิดอันตรายแบบไหน? นอกจากนี้ความถี่ของข่าวยาบ้า เฉพาะหนังสือพิมพ์มติชนฉบับเดียว ดิฉันเลือกมาเดือนเดียว มีข่าวยาบ้ารายวัน ทุกวัน และข่าวความรุนแรงจากคนเสพยาบ้าเข้าไป คงจะคุ้นเคยการพาดหัวข่าวทำนอง คนคลั่งยาบ้าแล้วก็เที่ยวสร้างความรุนแรงต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้สิ่งที่เราเข้าใจกันเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาเสพติด ก็คือ แบบแผนของการแพร่ระบาดได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ยาบ้าไม่ใช่เรื่องของผู้ใช้แรงงานอีกต่อไป และยาเสพติดไม่ใช่ปัญหาของคนยากจนเท่านั้น เราจะเห็นพาดหัวข่าว "แฉเด็กนักเรียนบ้านรวยเป้าหมายหลักแก๊งยาบ้า" อายุของผู้เสพยาก็ลดลงเรื่อยๆ มีข่าวเด็ก 5 ขวบก็ติดยาบ้าแล้ว เพราะพ่อแม่ขายด้วย เสพด้วย นอกจากนั้น ยาบ้ายังระบาดไปทั่วประเทศ ทำให้ชนบทไทยที่เคย "สงบร่มเย็น" ถูกทำลาย

ปัญหาก็คือว่า ข้อมูลเหล่านี้ที่เรารับรู้กันมีปัญหาอย่างไร?
งานวิจัยที่ไปสำรวจเกี่ยวกับวัยรุ่นที่เสพยาบ้า รวมถึงคนต่างจังหวัดจำนวนมาก พบว่าจริงๆ แล้วการรณรงค์ที่รัฐพยายามทำให้เห็นพิษภัยของยาบ้า ว่ามันจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อร่างกายคนอย่างไร มันไม่ค่อยได้ผลเท่าไร ผู้ที่เสพประจำเขารู้ว่าจะเสพแค่ไหน อย่างไร มันก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์อย่างนั้นขึ้น เป็นปรากฏการณ์ส่วนน้อยของคนที่เสพไม่เป็นมากกว่า

แต่การรณรงค์เรื่องพิษภัยของยาบ้ากลับไม่สามารถทำให้ผู้เสพเกิดความกลัว แต่ยิ่งกลับทำให้ผู้ที่ไม่ได้เสพเกิดความกลัวมากขึ้น เราท่านทั้งหลายที่เห็นข่าวรายวัน ก็เริ่มหวั่นวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตของตนและลูกหลาน ยิ่งความกลัวสะสมมากเท่าไร ตัวเลขสถิติต่างๆ ข่าวที่ออกมานี้ ก็ยิ่งทำให้ความกลัวนั้นมากยิ่งขึ้น ยิ่งข่าวออกมา กลับยิ่งรู้สึกว่ามันไม่มีหนทางที่จะแก้ไขปัญหา ความโกรธต่อบรรดาผู้ค้ายาบ้าก็ย่อมเพิ่มขึ้น

การนำเสนอตัวเลขของสื่อหรือบรรดาบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องยาเสพติด เวลานำเสนอออมามักจะขาดความชัดเจน คลุมเครือ ขัดแย้งในตัวเอง และหลายครั้งก็เกินจริง ตัวเลขการสำรวจของสำนักต่างๆ ในแต่ละปีก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์เดียวกัน บางครั้งสูง บางครั้งต่ำ สื่อและบุคคลสำคัญก็มักจะเลือกเอามาใช้ และมักจะอ้างตัวเลขที่สูงเข้าไว้ก่อน เช่น

- มติชน บอกว่า ในปี 44 ยาบ้าได้ระบาดเข้าไปในสถานศึกษามากขึ้น และคาดว่ามีผู้เสพยาราว 3-40% โดยไม่บอกว่าข้อมูลมาจากไหน?
ตัวเลขนี้มีปัญหามาก 3-40 ช่องว่างมันกว้างมาก จนไม่น่าจะเป็นสถิติที่ยืนยันอะไรได้เลย. ถ้าพูดถึง 40%ในปี 44 แปลว่าคุณชี้ไปคนเกือบ
ครึ่ง มีใครสักคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

- ไทยรัฐ บอกว่าจากการสุ่มสำรวจ มีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประมาณ 8 ล้านคน เช่นกันไม่ได้บอกที่มา

- กรุงเทพธุรกิจ ปี 45 บอกว่า, เผยทาสยาเสพติด 1 ล้านคนต่อเดือน แปลว่าอะไร มีคนติดยาเพิ่มขึ้น 1 ล้านคนต่อเดือน ตัวเลขนี้จะยิ่งสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงของสงครามยาเสพติด

ปัญหาคือนับแต่ปี 2539 ภาครัฐทำให้ยาเสพติดในสังคมไทยเท่ากับปัญหายาบ้า เวลาพูดถึงสงครามกับยาเสพติด มันก็คือสงครามปราบยาบ้า แต่ข้อมูลจากการสำรวจที่ทำการสำรวจทุกภาคในปี 2544 ชี้ว่าปัญหายาเสพติดในสังคมไทย ประกอบด้วยสารเสพติดหลายชนิด และไม่ได้รุนแรงเท่าที่สาธารณชนถูกทำให้เข้าใจ รายงานชิ้นนี้ปรากฏอยู่ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 เรื่องยาเสพติด จัดโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ถ้าจะมีการใช้ตัวเลขอะไร เพื่อการรณรงค์ในปัญหายาเสพติดของรัฐบาลทักษิณในปี 46 มันควรจะต้องอยู่บนฐานข้อมูลล่าสุด ซึ่งก็คือกลางปี 2545 แต่ว่าข้อมูลที่ปรากฏในรายงานชิ้นนี้กลับไม่ได้ปรากฏในสื่อเลย

จากตัวเลขรายงานนี้ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้ยาเป็นเรื่องของกัญชาบวกกับกระท่อม ซึ่งถ้ารัฐรณรงค์บอกว่าปัญหายาเสพติดที่ร้ายแรงเหลือเกินเป็นปัญหาของกัญชากับกระท่อม ความรุนแรงจะลดลงไปทันที เพราะกัญชาและกระท่อมจัดอยู่ในกลุ่มที่ 5 และเป็นยาที่ในยุโรปเอง อย่างในเนเธอร์แลนด์ใช้เป็นยาที่ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร และทั้งกัญชาและกระท่อม ก็มิใช่สิ่งแปลกปลอมสำหรับชนบทไทยเลย จริงๆ แล้วชนบทไทยคุ้นเคยกับการใช้สิ่งเหล่านี้มาตลอด

ถ้าเราย้อนกลับไปดูตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ยาเสพติดได้ถูกยกเป็นวาระของชาติ ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีการเร่งปราบปรามอย่างมาก ทำให้สถิติการจับกุมเพิ่มมากขึ้น ปัญหาคือยิ่งการจับกุมสูง ก็ยิ่งทวีความวิตกให้กับสังคมมากขึ้น ยิ่งพิสูจน์ว่ามาตรการที่มีอยู่ของรัฐไม่ได้ผล มีการเรียกร้องให้รัฐใช้มาตรการที่เด็ดขาด รวดเร็วมากยิ่งขึ้นในการแก้ปัญหา บุคคลสำคัญก็จะออกมาแสดงความวิตกกังวลด้วยวาทกรรมชาตินิยม

กลางตุลาคม 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับสั่งกับพลเอกสำเภา ชูศรี ผู้บัญชาการสูงสุดในขณะนั้นว่า ให้กองทัพตำรวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหายาเสพติด เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 กระแสความวิตกกังวลต่อปัญหายาบ้ากำลังพุ่งขึ้นสูง ราว 2 สัปดาห์หลังรับตำแหน่ง ก็มีการประกาศจะทำสงครามกับยาเสพติด แต่ยังไม่มีการนำไปสู่การใช้ความรุนแรง วิสามัญฆาตกรรม

กองทัพและตำรวจตระเวนชายแดนมีบทบาทสำคัญในการปราบปรามยาเสพติดมานานแล้ว เพราะพื้นที่ชายแดนเกี่ยวข้องกับการค้า การนำเข้ายาเสพติด แต่เมื่อทรงมีพระราชดำรัสทำให้หลายฝ่ายออกมาสนองพระราชดำรัสอย่างกระตือรือร้น จะเห็นบทบาทของเหล่าทัพต่างๆ ออกมาจัดงานรณรงค์แก้ปัญหา ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ระบุว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว ความโลภของผู้ค้า เป็นปัญหาที่ทำลายอนาคตของชาติ มีการนำเอาปัญหาเรื่องยาเสพติดเข้าไปอยู่ในการฝึก ร.ด.บ้าง เข้าไปในโรงเรียน ชุมชน ทหารก็จะมีบทบาทเข้าไปรณรงค์ในเรื่องยาเสพติดมากขึ้น รวมถึงยังมีการจัดตั้งหน่วยในการฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาด้วย
ฉะนั้นจะเห็นบทบาทของกองทัพ และผู้นำทางสังคมที่ตัวหลักเป็นทหาร รณรงค์ปัญหายาเสพติดมากขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2540 และนโยบายทั้งด้านป้องกันปราบปราม จิตวิทยามวลชน และวาทกรรมที่ใช้จึงมีลักษณะทางทหารและชาตินิยมมากขึ้น คำพูดการรณรงค์อยู่ในรูปของ "คนค้ายาเสพติดเป็นคนทรยศต่อชาติ" "รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด" ฯลฯ

ปลายปี 2545 ทักษิณประกาศว่าปัญหายาเสพติดได้ลดความรุนแรงลงไปแล้ว แต่ถูกสื่อมวลชนออกมาวิพากษ์ ไม่เชื่อ และวิจารณ์ว่าการทำสงครามต่อต้านยาเสพติดที่ผ่านมาไม่มีอะไรใหม่เลย นอกจากเขียนป้ายรณรงค์ ร้องเพลง เดินบ้าง เต้นอาโรบิกบ้าง สื่อมวลชนบอกว่านี่ไม่ใช่การทำสงคราม มันเหมือนมานั่งเย็บปักถักร้อยมากกว่า

4 ธันวาคม 2545 พระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสว่า ภัยยาเสพติดได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศไทยไปทุกหนแห่ง หลังจากนั้นประมาณ 4 อาทิตย์ทักษิณประกาศทำสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติดภายใน 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2546. ในพิธีการประกาศสงคราม มีการให้สัตยาบันต่อพระบรมราชานุสรณ์ของรัชกาลที่ 5 และพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีการระดมมวลชน 2 หมื่น 4 พันคน ทักษิณประกาศว่า นี่คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ มีพิธีกรรมลักษณะเดียวกันในวันเวลาเดียวกันในต่างจังหวัดด้วย. ข้อความตอนหนึ่งของคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศบอกว่า "ต้องตระหนักว่าประชาชนคือเพื่อนเรา ชาติคือพวกเรา นายหลวงคือนายเรา ผู้ค้ายาเสพติดเป็นศัตรูเรา ต้องขจัดให้สิ้น..."

ทั้งหมดที่กล่าวมา ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทักษิณเข้ามาในช่วงของกระแสสงครามยาเสพติดขึ้นสูง ตัวเขาเองก็เล่นกับกระแสเหล่านี้. ก่อนสงครามปราบยาเสพติดจะเริ่มขึ้น ข่าววิสามัญฆาตกรรมผู้ค้าเสพติด ปรากฏบ่อยครั้งมาก โดยปราศจากการวิพากษ์ของสาธารณชน รวมทั้งจากสื่อมวลชน ภาษาที่สื่อใช้พาดหัวข่าวก็ชี้ว่าสื่อมวลชนเชื่อว่า ผู้ที่ถูกวิสามัญเหล่านั้น ล้วนกระทำผิดอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องพิสูจน์อะไร? ทั้งมีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้น เพราะในปี 2545 รัฐบาลทักษิณได้เพิ่มโทษผู้ค้ายาเสพติด โดยหากมีปริมาณสารเสพติดบริสุทธิ์คำนวณได้เกิน 100 กรัม ถือเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่าย ดิฉันเข้าใจว่า 100 กรัม นี่ประมาณ 10 เม็ด ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือถึงประหารชีวิตได้

ข่าวการวิสามัญฆาตกรรมและการตัดสินประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดรายวัน ก่อนปี 2546 เป็นเสมือนสิ่งที่ทำให้สังคมไทยคุ้นเคยชาชินกับความตายของพ่อค้ายาเสพติด ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศสงครามของทักษิณเสียอีก ฉะนั้นเมื่อสงครามถูกประกาศขึ้น มันก็จบลงด้วยความตายของคน 2,500 กว่าคน คนไทยส่วนใหญ่จึงไม่ได้รู้สึกรับไม่ได้ แต่รู้สึกเป็นเรื่องปกติ คุ้นเคยกับความตายของคนเหล่านี้มาก่อนหน้านี้แล้ว

สรุป การนำเสนอ "พิษภัย" และ "ตัวเลข" ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาบ้า ที่มีลักษณะเกินจริง เป็นประเด็นสำคัญของการสร้างข้อกล่าวอ้าง หรือการเล่าเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดของไทย การรณรงค์ของภาครัฐและสื่อทำให้สังคมโดยรวมเกิดความกลัว วิตกกังวล และโกรธแค้นต่อผู้ค้ายาเสพติดมากขึ้น นำไปสู่การพร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการเด็ดขาด เพื่อจัดการกับ "คนทรยศของชาติ"

และเมื่อการรณรงค์มีลักษณะทางทหารมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งแง่ของมาตรการป้องกันปราบปราม แนวคิดต่อสาเหตุของปัญหาที่มองว่าเป็นเรื่อง "ความเลว"ของบุคคล "ความโลภ" "ความไม่รักชาติ" ปัญหาศีลธรรมของปัจเจก ไม่ใช่ปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคม ทำให้ปัญหายาเสพติดซึ่งโดยเนื้อแท้เป็นปัญหาสังคม ถูกทำให้กลายเป็นปัญหาความมั่นคงขึ้นมา ฉะนั้นแนวทางการแก้ไขจึงต้องมีลักษณะทางทหารในทุกด้าน บุคคลสาธารณะ หน่วยงานของรัฐ และสื่อ ล้วนมีบทบาทในปฏิบัติการสงครามเพื่อต่อต้านยาเสพติดทั้งสิ้น

รัฐบาลทักษิณได้หยิบฉวยกระแสสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐบาลของตนเอง และเมื่อประกาศว่ามันคือสงคราม แนวทางต่างๆ จึงต้องมีลักษณะทางทหาร รัฐบาลทักษิณได้ทำให้ลักษณะทางทหารของการรณรงค์เรื่องปัญหายาเสพติดเข้มข้นขึ้น และย้ำว่ารัฐมีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงกับพลเมือง แม้ว่าความรุนแรงนั้นจะเป็นสิ่งที่ขาดความชอบธรรม และขัดต่อหลักกฎหมายก็ตาม

๔. บทสะท้อน "ความรุนแรง" จากวรรณกรรมของขบวนการท้องถิ่น ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
นาย กฤษฎา บุญชัย นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนองานวิจัยในหัวข้อเรื่อง บทสะท้อน "ความรุนแรง" จากวรรณกรรมของขบวนการท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการเสนองานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสัมมนาโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่องสันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย โดยปีนี้จัดในหัวข้อ "ความรุนแรง:"ซ่อน-หา"สังคมไทย"

งานวิจัยชิ้นนี้ชื่อเรื่องบทสะท้อนของความรุนแรง โดยสำรวจจากวรรณกรรมของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยให้ความสนใจไปที่ขบวนการต่อสู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานชิ้นนี้มีคำถามหลักๆ อยู่ 2 คำถามคือ

- ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยเน้นไปที่กลุ่มหลักคือสมัชชาคนจน, กลุ่มบ่อนอก-บ้านกรูด, กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์
และกลุ่มคัดค้านเหมืองแร่โปแตซ อุดรธานี

- กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้เผชิญหน้ากับความรุนแรง ได้รับรู้เรื่องความรุนแรงในแง่มุมไหน อย่างไร และความรุนแรงที่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของการต่อสู้ การเผชิญกับความรุนแรงเหล่านั้นอย่างไร?

งานวิจัยนี้สำรวจผ่านวรรณกรรมเป็นหลัก วรรณกรรมที่กล่าวถึง ได้แก่ แถลงการณ์, จดหมายเปิดผนึก, การรายงานข่าวผ่านสื่อต่างๆ ที่ขบวนการเหล่านี้มีส่วนร่วมในการผลิตเอง หรือมีส่วนในการผลิตกับฝ่ายอื่นๆ วรรณกรรมต่างๆ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของชาวบ้านโดยตรง แต่ถูกผลิตในฐานะที่เป็นขบวนการที่ร่วมสร้างกันขึ้นมา ซึ่งงานต่างๆ ที่เลือกสรร เป็นงานที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองของแต่ละกลุ่ม

วิธีการที่ใช้ในการศึกษาคือ ลงไปสำรวจว่า วรรณกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีชุดภาษาหรือการให้ความหมายต่อความรุนแรงที่เผชิญหน้าอย่างไร และได้นำมาจัดกลุ่มแยกประเภท จากนั้นใช้แนวคิดของโยฮัน เกาตุง (Johan Galtung)(*) ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านสันติภาพและสนใจเรื่องความรุนแรง โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมเป็นตัวอธิบาย วิเคราะห์เชื่อมโยงกับสิ่งที่ขบวนการภาคประชาชนได้มีการนำเสนอ

(*)Johan Galtung (born October 24, 1930, in Oslo, Norway) is a Norwegian sociologist and a principal founder of the discipline of Peace and conflict studies.

Galtung experienced World War II in German-occupied Norway, and as a 12 year old saw his own father arrested by the Nazis. By 1951 he was already a committed peace activist, and elected to do 18 months of social service in place of his obligatory military service. After 12 months, Galtung insisted that the remainder of his social service be spent in activities relevant to peace, to which the Norwegian authorities responded by sending him to prison, where he served six months.

Galtung's theoretical work speaks of four levels at which conflict can emerge: conflicts internal to a person or between persons; conflicts between races, sexes, generations, or classes; conflicts between states; and conflicts between civilizations or multi-state regions, such as the Cold War. Galtung several positions of trust in international research councils and has been an advisor to several international organisations. Since 2004 he is member of the Advisory Council of the Committee for a Democratic UN.

Galtung is frequently referenced in regard to concepts he introduced, or at least is commonly associated with:

- Structural violence - widely defined as the systematic ways in which a given regime prevents individuals from achieving their full potential. Institutionalized racism and sexism are examples of this.

- Negative vs. Positive Peace - introduced the concept that peace may be more than just the absence of overt violent conflict (negative peace), and include a range of relationships up to a state where nations (or any groupings in conflict) might have collaborative and supportive relationships (positive peace).

ระยะเวลาการศึกษาเลือกเฉพาะช่วงประมาณปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เหตุเนื่องจากว่า เป็นช่วงเวลาที่ขบวนการต่างๆ เหล่านี้ มีการต่อสู้ผ่านสื่อ ผ่านชุดวาทกรรมค่อนข้างมาก ในรูปของรายงานข่าว แถลงการณ์ ซึ่งจะพบเห็นบทบาทของกลุ่มใหม่ๆ นอกจากสมัชชาคนจนที่เรารับรู้กันอยู่. หากสำรวจดูในวรรณกรรมต่างๆ ที่ขบวนการเหล่านี้ผลิตและนอกเหนือจากที่ขบวนการเหล่านี้ใช้ คือขบวนการอื่นๆ นอกเหนือจาก 4 กลุ่ม เราจะเห็นภาษาร่วมกันของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน ซึ่งโดยมากแล้วภาษาที่ใช้เมื่อพูดถึงปัญหา จะพุ่งเป้าไปที่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างของรัฐเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรณีท่อก๊าซ กรณีสมัชชาคนจน หรือกลุ่มต่างๆ จะมีภาษาหรือคำอธิบายร่วมกันก็คือรัฐ และโครงสร้างรัฐ

ประการที่สองคือรัฐ ในความเข้าใจของขบวนการประชาชนไม่ได้เป็นรัฐที่ดำรงอยู่อย่างโดดๆ หรือใช้ความรุนแรงโดยตัวของมันเอง แต่เป็นรัฐที่อยู่ในบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ซึ่งสิ่งนี้เป็นชุดภาษาแบบที่สอง ที่ขบวนการเหล่านี้ใช้ร่วมกัน. นอกจากนี้ บางกลุ่มที่เผชิญกับความขัดแย้งและความรุนแรง ไม่ใช่เพียงกับรัฐ แต่กับกลุ่มทุน มันก็มีภาษาเรื่องของการแย่งชิงทรัพยากรโดยกลุ่มทุนที่เข้ามากระทำ ไม่ว่าจะเป็นกระทำโดยตรง หรือกระทำผ่านการสนับสนุนของรัฐก็ตาม

จากชุดภาษา ชุดคำต่างๆที่ประมวลมาพบว่า คำอธิบายพุ่งไปที่ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง พร้อมๆ ไปกับความรุนแรงทางตรงที่คนกลุ่มต่างๆได้รับผลกระทบ รวมถึงความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมโดยไม่แยกออกจากกัน เราจะเห็นได้ว่า ขณะที่ชาวบ้านถูกตี ถูกจับ พวกเขาก็ยังพูดถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างไปพร้อมๆ กัน และในสถานการณ์ที่ไม่มีการถูกตี ถูกจับ แถลงการณ์ก็ยังพุ่งไปที่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างเหล่านี้. โครงสร้างดังกล่าวหมายถึง

- หนึ่ง กฎหมายที่รัฐใช้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายด้านป่าไม้ ด้านเหมืองแร่ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรต่างๆ กฎหมายที่ดิน ฯลฯ
- สอง ตัวกลไกของรัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นกลไกในการจัดการทรัพยากร กลไกด้านของระบบยุติธรรม

ขณะเดียวกัน ถ้าเข้าไปดูสิ่งที่ภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ เรียกร้อง หรือสิ่งที่สะท้อนปัญหาออกมา มีการพูดไปถึงเรื่องการไม่ยอมรับหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างเช่นกลุ่มท่อก๊าซจะนะ จะพูดถึงการไม่ได้รับการยอมรับใน "ความเป็นไทย" การไม่ให้การยอมรับสิทธิที่เท่าเทียมกัน, ส่วนสมัชชาคนจนก็จะพูดลักษณะเดียวกันคือ การไม่ถูกยอมรับว่าเขาเป็นประชาชนที่มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน

เวลาพูดถึงโครงสร้าง ก็จะมีเรื่องของโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามาเชื่อมโยงด้วย ในมิติเรื่องของการแย่งชิงทรัพยากร จะเห็นเรื่องกลไกตลาด การแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าหรือเป็นของปัจเจก เป็นทรัพย์สินของปัจเจก เป็นชุดภาษาร่วมกันอย่างหนึ่งที่ขบวนการเหล่านี้หยิบมาใช้ ในการอธิบายเกี่ยวกับตัวแสดงต่างๆ ที่ขบวนการประชาชนพูดถึง จะไม่ใช่ตัวแสดงที่แยกกัน มีหลายครั้งหรือจำนวนไม่น้อยได้เห็นภาษาที่บอกว่ารัฐบวกกับทุน แย่งชิงทรัพยากร รัฐกับทุนเอาเปรียบคนจน

ในการอธิบายถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่รัฐกระทำ ทำให้มองเห็นถึงสิ่งที่รัฐกระทำต่อประชาชน และพวกเขาเผชิญกับความรุนแรงนั้นอย่างไร? โดยผู้วิจัยลองนำแนวคิดเรื่องของสภาวะยกเว้น (State of Exception) (*) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Agamben (**) มาใช้ คือเวลาที่ชาวบ้านอธิบายว่า รัฐกระทำความรุนแรงต่อพวกเขา จะเห็นภาษาแบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องสภาวะยกเว้นได้อย่างน่าสนใจ เช่น มีเรื่องการปิดกั้น, เรื่องการสร้าง "ความเป็นอื่น" ไม่ว่าจะเป็นรูปของการที่เขาถูกกีดกันไม่ให้เป็น "คนไทย" หรือกรไม่มีส่วนร่วม และถูกใช้ความรุนแรงในสภาวะที่คนมองไม่เห็น หรือถูกกระทำความรุนแรงในสภาวะที่พวกเขาถูกปิดล้อม เช่นถูกตัดขาดจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐเข้าไปจัดการเรื่องสื่อบ้าง หรือพวกเขามีส่วนร่วมในเรื่องของการสื่อข้อมูลข่าวสารได้น้อย เป็นต้น

(*)State of Exception (2005). In this book, Agamben traces the concept of state of exception used by Carl Schmitt to Roman justitium and auctoritas. This leads him to a response to Carl Schmitt's definition of sovereignty as the power to proclaim state emergency.

Giorgio Agamben's text State of Exception investigates the increase of power structures governments employ in supposed times of crisis. Within these times of crisis, Agamben refers to increased extension of power as states of exception, where questions of citizenship and individual rights can be diminished, superseded and rejected in the process of claiming this extension of power by a government. Agamben explores the effect of the state of exception on the individual by looking at the ideas of bios and zoe.

The state of exception invests one person or government, with the power and voice of authority over others extended well beyond where the law has existed in the past. "In every case, the state of exception marks a threshold at which logic and praxis blur with each other and a pure violence without logos claims to realize an enunciation without any real reference" (Agamben, pg 40). Agamben refers a continued state of exception to the Nazi state of Germany under Hitler's rule. "The entire Third Reich can be considered a state of exception that lasted twelve years. In this sense, modern totalitarianism can be defined as the establishment, by means of the state of exception, of a legal civil war that allows for the physical elimination not only of political adversaries but of entire categories of citizens who for some reason cannot be integrated into the political system" (Agamben, pg 2). However simplistic and obvious it is to mention, one must acknowledge the state of exception is a dangerous and violent place of operation.

(**)Giorgio Agamben (born 1942) is an Italian philosopher who teaches at the Universit? IUAV di Venezia. He also teaches at the Coll?ge International de Philosophie in Paris and previously taught at the University of Macerata in Italy.

Agamben was educated at the University of Rome, where he wrote a thesis on the political thought of Simone Weil. Agamben participated in Martin Heidegger's Le Thor seminars (on Heraclitus and Hegel) in 1966 and 1968. In the 1970s he worked primarily on linguistics, philology, poetics, and medievalist topics, where he began to elaborate his primary concerns, though without as yet inflecting them in a specifically political direction. In 1974-1975 he was a fellow at the Warburg Institute, where he wrote Stanzas (1979).

ในอีกด้านหนึ่ง ขบวนการประชาชนเผชิญกับความรุนแรงที่พบเห็นอย่างไร? กล่าวคือ ในการสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นตัวตน" จากภาวะชายขอบ เราจะเห็นได้ว่า "ความเป็นคนจน" คือสิ่งที่สมัชชาคนจนใช้ หรือ "ความเป็นชุมชน" ที่อยู่ชายขอบ อยู่กับฐานทรัพยากร ไม่ได้มีส่วนร่วม ไม่มีโอกาสหรือถูกปิดกั้นไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรหรือการตัดสินใจทางการเมือง อันนี้ก็คือยุทธวิธีแบบหนึ่งของการสื่อสาร นั่นคือ การพูดถึงตัวตนแบบใหม่ เป็นตัวตนไม่ใช่ในฐานะชายขอบของการถูกกีดกันอย่างเดียว แต่เป็นชายขอบที่บอกว่านี่คือสภาวะที่เขาถูกกระทำ และสมัชชาคนจนกำลังจะสร้างความชอบธรรมจากภาวะชายขอบในด้านนี้

สิ่งที่ขบวนการประชาชนใช้ในการต่อสู้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การชี้ให้เห็นอำนาจที่ไม่ชอบธรรมที่รัฐใช้ ไม่ว่าอำนาจจากการกระทำความรุนแรงทางตรง อำนาจจากการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร อำนาจจากการปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงทรัพยากร อำนาจผ่านกฎหมาย ผ่านชุดวาทกรรม ภาษา ผ่านงานวิชาการต่างๆ ทำให้เชื่อมโยงไปถึงว่าขบวนการต่างๆ เหล่านี้ ใช้ยุทธวิธีในด้านของการเผยหรือเปลือยให้เห็นด้านของความรุนแรงที่รัฐเป็นผู้กระทำ เพราะความรุนแรงต่างๆ จะนำไปสู่การลดทอนความชอบธรรม โดยการยิ่งเผยให้รัฐเปลือยล่อนจ้อนมากขึ้น ว่ารัฐเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรง

ขบวนการเหล่านี้ยังพยายามสร้างสิ่งที่เรียกว่าชุมชนในทางการเมืองของผู้ที่ได้รับผลกระทบร่วมกันขึ้นมาด้วย ไม่ใช่เฉพาะ 4 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่มีความเชื่อมโยงเป็นขบวนการประชาชนที่กว้างไกลออกไป นี่คือมิติของการพยายามสร้างความเป็นชุมชนทางการเมือง ที่มีอัตลักษณ์ร่วมกัน คือ

- หนึ่ง เป็นคนชายขอบที่อยู่บนฐานทรัพยากร
- สอง ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ หรือจากนโยบายและกฎหมาย
- สาม ผลกระทบของกลุ่มต่างๆ เชื่อมโยงกับกลุ่มทุน ไม่ว่าทุนในชาติหรือทุนข้ามชาติ

ในพื้นที่เหล่านี้ ภาคประชาชนคิดว่า เป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถมีพลัง มีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้กับปัญหา กับความรุนแรงที่เผชิญหน้าได้ หรือการพยายามจะสร้างมิติของอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะในด้านทางการเมืองอย่างเดียว

ในชุดคำอธิบายในการเผชิญหน้ากับโครงสร้างอำนาจที่ไม่ใช่รัฐ ชุมชนเหล่านี้พูดถึงการสร้างฐานของเศรษฐกิจที่พวกเขามีความมั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับระบบการจัดการทรัพยากรขึ้นใหม่ หรือการปรับระบบการผลิต ที่มีสถานะของการพึ่งพา เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน หรือมีการพึ่งตนเองในระดับหนึ่งมากยิ่งขึ้น ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่คือสิ่งที่เขานำเสนอและมีการปฏิบัติการอยู่ระดับหนึ่ง โดยมองว่ามิติไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคม หรือการสร้างฐานทางเศรษฐกิจเหล่านี้ จะเป็นตัวที่ลดทอนสภาวะความรุนแรงที่ปรากฏอยู่ได้มากขึ้น

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 22 May 2008 : Copyleft by MNU.

๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ พระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสว่า ภัยยาเสพติดได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศไทยไปทุกหนแห่ง หลังจากนั้นประมาณ ๔ อาทิตย์ทักษิณประกาศทำสงครามขั้นแตกหัก กับยาเสพติดภายใน ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖. ในพิธีการประกาศสงครามนั้น มีการให้สัตยาบันต่อพระบรมราชานุสรณ์ของรัชกาลที่ ๕ และพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีการระดมมวลชน ๒ หมื่น ๔ พันคน ทักษิณประกาศว่า นี่คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ มีพิธีกรรมลักษณะเดียวกันในวันเวลาเดียวกัน ในต่างจังหวัดด้วย. ข้อความหนึ่งของคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่า "ประชาชนคือเพื่อนเรา ชาติคือพวกเรา นายหลวงคือนายเรา ผู้ค้ายาเสพติดเป็นศัตรูเรา ต้องขจัดให้สิ้น..."

H