ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




19-05-2551 (1565)

Zionist Israel at 60 : ๖๐ ปี ไซออนิสท์อิสราเอลในฐานะยามเฝ้าน้ำมัน
๖๐ ปีแห่งคำโกหกของอิสราเอล ๖๐ ปีแห่งความปวดร้าวของปาเลสไตน์
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมือง การเมือง สังคมและวัฒนธรรม
บทความแปลและเรียบเรียงชุดนี้ ประกอบด้วยบทความย่อย ๒ เรื่องคือ
- ๖๐ ปี ไซออนิสท์อิสราเอล - ปาเลสไตน์ก่อนการมาถึงของไซออนิสท์ (สมเกียรติ ตั้งนโม)
- ๖๐ ปีแห่งความปวดร้าวของปาเลสไตน์ และความป่าเถื่อนของอิสราเอล (ใจ อึ้งภากรณ์)
เนื่องในวาระครบรอบ ๖๐ ปีของไซออนิสท์ที่ตั้งรกรากและสถาปนารัฐอิสราเอลใหม่
ขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ลัทธิไซออนิสท์ เป็นขบวนการทางการเมืองระหว่างประเทศ
เดิมทีสนับสนุนการตั้งรกรากใหม่ของชนชาวยิวในดินแดนดังกล่าว และยังคงให้การ
สนับสนุนรัฐสมัยใหม่ของอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง แรกเริ่มของขบวนการนี้ ด้รับการ
สถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยนักหนังสือพิมพ์เชื้อสาย Austro-Hungarian
นามว่า Theodor Herzl ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ในท้ายที่สุด ขบวนการ
ไซออนิสท์ก็ประสบผลสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๔๘ ในฐานะ
รัฐของชนชาวยิวแห่งแรกของโลกสมัยใหม่. ไซออนิสท์ถูกอธิบายในฐานะเป็นลัทธิชาตินิยม
ของชุมชนชาวยิวนอกดินแดนปาเลสไตน์ บรรดาผู้ให้การสนับสนุนยอมรับมันในฐานะ
ขบวนการเสรีนิยมแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดชะตาชีวิตตนเองของชนชาวยิว

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๖๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Zionist Israel at 60 : ๖๐ ปี ไซออนิสท์อิสราเอลในฐานะยามเฝ้าน้ำมัน
๖๐ ปีแห่งคำโกหกของอิสราเอล ๖๐ ปีแห่งความปวดร้าวของปาเลสไตน์
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ: บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ประกอบด้วย ๒ เรื่องคือ
เรื่องที่ ๑ : ๖๐ ปี ไซออนิสท์อิสราเอล - ปาเลสไตน์ก่อนการมาถึงของไซออนิสท์ (สมเกียรติ ตั้งนโม)
เรื่องที่ ๑ : ๖๐ ปีแห่งความปวดร้าวของปาเลสไตน์ และความป่าเถื่อนของอิสราเอล (ใจ อึ้งภากรณ์)

เรื่องที่ ๑
๖๐ปี ไซออนิสท์อิสราเอล - ปาเลสไตน์ก่อนการมาถึงของไซออนิสท์
Zionist Israel at 60 - Palestine before the Zionists
by Mohamed Elmasry (Friday, April 25, 2008)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง

Mohamed Elmasry ศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิก ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศคานาดา
และประธานสภาอิสลามิกแคนาเดียนแห่งชาติ ซึ่งได้นำเสนอบทความชิ้นนี้ให้กับ Media Monitors Network (MMN) จากออนทาริโอ, คานาดา

บรรดาไซออนิสท์ (Zionist)(*)จำนวนมาก โกหกกับพวกเราว่า พวกเขาได้ทำให้ทะเลทรายในดินแดนปาเลสไตน์กลายเป็นพื้นที่เบ่งบานขึ้นมา แต่ประวัติศาสตร์และภาพที่แท้จริงได้เป็นสักขีพยานไปในทางตรงข้าม. เดือนพฤษภาคมปีนี้ ไซออนิสท์ทั่วโลกจะมีงานเฉลิมฉลองครบ 60 ปีของการก่อตั้งรัฐยิวในดินแดนปาเลสไตน์. หนึ่งในมายาคติที่ยังคงถูกโฆษณาชวนเชื่อโดยพวกไซออนิสท์ก็คือ โดยพื้นฐานแล้ว ปาเลสไตน์เป็นดินแดนแห่งทะเลทรายที่ร้างผู้คน ก่อนที่จะมีการไหลบ่าเข้ามาตั้งรกรากของชาวยิวจากยุโรป ซึ่งมาถึงดินแดนอาณานิคมแห่งนี้และเปลี่ยนมันให้เป็นสวรรค์ของชาวยิวอันเบิกบาน

(*) ลัทธิไซออนิสท์ เป็นขบวนการทางการเมืองระหว่างประเทศ เดิมทีสนับสนุนการตั้งรกรากใหม่ของชนชาวยิวในดินแดนบ้านเกิดที่ปาเลสไตน์อีกครั้ง (Hebrew: Eretz Yisra'el, "the Land of Israel") และยังคงให้การสนับสนุนรัฐสมัยใหม่ของอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแรกเริ่มของขบวนการนี้ จะได้รับการสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยนักหนังสือพิมพ์เชื้อสาย Austro-Hungarian นามว่า Theodor Herzl ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 แต่ในท้ายที่สุด ขบวนการไซออนิสท์ก็ประสบผลสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นในปี ค.ศ.1948 ในฐานะรัฐของชนชาวยิวแห่งแรกของโลกสมัยใหม่. ไซออนิสท์ถูกอธิบายในฐานะเป็นลัทธิชาตินิยมของชุมชนชาวยิวนอกดินแดนปาเลสไตน์ บรรดาผู้ให้การสนับสนุนยอมรับมันในฐานะขบวนการเสรีนิยมแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดชะตาชีวิตตนเองของชนชาวยิว

Zionism is an international political movement that originally supported the reestablishment of a homeland for the Jewish People in Palestine (Hebrew: Eretz Yisra'el, "the Land of Israel"), and continues primarily as support for the modern state of Israel. Although its origins are earlier, the movement was formally established by the Austro-Hungarian journalist Theodor Herzl in the late 19th century. The movement was eventually successful in establishing Israel in 1948, as the world's first and only modern Jewish State. Described as a "diaspora nationalism," its proponents regard it as a national liberation movement whose aim is the self-determination of the Jewish people.

มันเป็นภาพที่ก่อเกิดแรงบันดาลใจ แต่เป็นคำลวงหรือคำโกหกอย่างสมบูรณ์แบบ โชคดีที่เราสามารถค้นพบความจริงโดยหันไปฟังคำอธิบายจากงานเขียนเกี่ยวกับปาเลสไตน์โดยผู้มาเยือนชาวตะวันตกต่างๆ กว่าศตวรรษมาแล้ว. พวกเขาเห็นดินแดนแห่งนี้ผ่านสายตาของนักวิชาการ นักเดินทาง และนักท่องเที่ยวที่มีความสอดรู้สอดเห็น มากกว่าโดยผ่านภาพที่เลือกสรรแล้วทางการเมืองและอุดมคติ

ผู้เขียนสามารถแนะนำหนังสือที่น่าสนใจได้อย่างน้อย 2 เล่มก่อนการมาถึงของไซออนิสท์ ทั้งสองเล่มได้รับการตีพิมพ์มากว่าศตวรรษแล้ว เล่มแรกคือ "Lands of the Bible" (1880) โดย J.W. McGarvey, ศาสตราจารย์อเมริกันทางด้านประวัติศาสตร์ไบเบิล, และอีกเล่มหนึ่งคือ "Glimpses of Bible Lands," (1905) เป็นหนังสือรวมงานเขียน โดย กลุ่มตัวแทนผู้ป่าวประกาศชาวคริสเตียน The Christian Herald ในนิวยอร์ค

ในขณะที่หนังสือของศาสตราจารย์ McGarvey เป็นการรวมบทวิเคราะห์ทางวิชาการ เกี่ยวกับการเดินทางและคำอธิบายผ่านพยานสายตาของเขา, กลุ่มผู้ป่าวประกาศคริสเตียนแห่งนิวยอร์คได้รายงานถึงการเดินทางครั้งนี้ที่ทำขึ้นโดยตัวแทนนับร้อยๆ ของโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์รุ่นที่สี่(the Sunday School Convention) พร้อมภาพถ่าย 288 ภาพ ที่รวบรวมเอาไว้อย่างน่าประทับใจ รวมถึงรายละเอียดต่างๆ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางที่น่าสนใจ

คนทำงานโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์ราว 800 คน จากอเมริกาเหนือได้เดินทางร่วมกันมายังเยรูซาเร็มในฐานะพันธกิจภาคสนามเกี่ยวกับเมดิเตอร์เรเนียน พวกเขาคือกลุ่มของโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์รุ่นที่สี่ และได้ทำการศึกษาพระคัมภีร์ในส่วน the Fifth Gospel, the Land," อันเป็นส่วนบทนำของพระคัมภีร์. ในหนังสือของกลุ่มตัวแทนผู้ป่าวประกาศเหล่านี้ ได้อวดภาพสีเต็มหน้าหลายต่อหลายภาพ, "ซึ่งหายากและมีค่ายิ่ง ที่ได้รับการจำลองขึ้นด้วยภาพสีน้ำเกี่ยวกับดอกไม้ต่างๆ ในดินแดนปาเลสไตน์ โดย Mrs. Bertha Spofford Vester เกี่ยวกับนิคมอเมริกันในเยรูซาเร็ม. มีพืชพันธุ์ไม้ดอกกว่า 3,500 ชนิดในซีเรีย และเฉพาะในดินแดนปาเลสไตน์แห่งเดียว พบพืชพันธุ์ไม้ดอกกว่า 1,700 ชนิด

พืชพันธุ์ไม้ดอกเหล่านี้ที่เป็นหัวข้องานจิตรกรรมของ Mrs. Vester คือ the Anemone, "ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีรูปคล้ายหมวก สีแดงสด"; บ้างก็มีสีมัสตาร์ด, (Lat. Adonis Palestina); บางดอกก็ไม่มีชื่อเรียก "มีขนาดดอกเล็กๆ มีรูปร่างเกือบกลมสีแดงเข้ม; และ Chrysanthemums (ดอกเบญจมาศ) "ซึ่งเจริญงอกงามในดินแดนรกร้างปาเลสไตน์"

ปาเลสไตน์ในช่วงเวลาดังกล่าวคือจังหวัดหนึ่งของประเทศซีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมาน. สามกลุ่มหลักของนักท่องเที่ยวตะวันตกที่มาถึงดินแดนปาลเสไตน์ช่วงนั้น(ก่อนการมาถึงของไซออนิสท์) บางพวกมาในฐานะนักเดินทาง, บางพวกมาในฐานะมิชชันนารีซึ่งเป็นตัวแทนนิกายต่างๆ ของคริสตศาสนา และกลุ่มสุดท้าย ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ตามข้อเท็จจริงคือ ชาวยิวจากยุโรป - ที่มายังดินแดนแห่งนี้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต และหวังว่าจะตายบนพื้นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์

ศาสตราจารย์ McGarvey ได้เขียนเกี่ยวกับคนกลุ่มหลังนี้ว่า จำนวนมากของชาวยิวที่มาอาศัยอยู่ ยังคงความเป็นเป็นพลเมืองของตนเองจากประเทศยุโรป ที่พวกเขาอพยพออกมา และด้วยเหตุดังนั้น พวกเขาจึงได้รับการปกป้องภายใต้การดูแลสถานกงศุลของตนเอง… คนเหล่านี้จำนวนมากเป็นคนยากจนข้นแค้น และได้รับการช่วยเหลือโดยการบริจาคจากพี่น้องที่มีอันจะกินของพวกเขาทั้งในยุโรปและอเมริกา

น่าสนใจที่จะหมายเหตุลงไปว่า มิชชันนารีตะวันตกที่มุ่งหน้ามายังปาเลสไตน์และซีเรีย บ่อยครั้ง เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ; บางคนถูกส่งตัวมาเพื่อเปลี่ยนแปลงชาวมุสลิม และคนอื่นๆ มาเพื่อเปลี่ยนแปลงชาวยิว ยกตัวอย่างเช่น บาทหลวง Rev. G.M. Mackie เป็นผู้หนึ่งซึ่งรับผิดชอบพันธกิจฝ่ายสก๊อตมาทำหน้าที่ดังกล่าวกับชนชาวยิว และบาทหลวงท่านนี้พำนักอยู่ในกรุงเบรุต ในขณะที่บาทหลวง Rev. J. Carnegie Brown เป็นผู้อำนวยการของสมาคมลอนดอน(the London Society) เพื่อการส่งเสริมศาสนาคริสต์ท่ามกลางหมู่ชาวยิว และพำนักอยู่ในกรุงเยรูซาเร็ม. บาทหลวงทั้งสองท่าน คอยทำหน้าที่ดูแลคณะผู้แทนจำนวน 800 คนจากโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์ที่มาเยี่ยมเยือน ในช่วงระหว่างองค์กรผู้ป่าวประกาศ(Christian Herald)ได้มาเยือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1904

หนังสือเล่มใหญ่ จำนวน 619 หน้าของ McGarvey ได้อุทิศเรื่องราวให้กับผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่แห่งนี้ สำหรับดินแดนปาเลสไตน์ ชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนดังกล่าวเกือบทั้งหมด ต่างพึงพอใจกับการมีชีวิตที่พึ่งตนเองในช่วงระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่ 19 และพืชผลเกษตรของพวกเขายังส่งออกไปยังยุโรปและที่เหลือก็ส่งไปยังดินแดนตะวันออกกลางด้วย. ผลผลิตจำนวนมากได้ถูกส่งไปทางเรือสู่ท่าเรือในเมดิเตอร์เรเนียนทุกๆ ปี. ตามบันทึกของ McGarvey, "ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากถูกขนส่งผ่านหลังอูฐไปยังเมืองต่างๆ และหมู่บ้านชนบทที่อยู่ลึกเข้าไป"

ตามรายงานของศาสตราจารย์ McGarvey, ป่าละเมาะที่มีพวกต้นมะกอกมาแต่เดิม ถูกพบเห็นได้ทั่วไปบริเวณใกล้เมืองและหมู่บ้านของชนปาเลติเนียน บางครั้งมันแผ่กว้างออกไปหลายตารางไมล์. น้ำมันมะกอกถือเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในครัวเรือนที่ขาดเสียมิได้ เพราะได้ถูกนำไปใช้กับตะเกียง นำไปใช้กับการปรุงอาหาร หรือนำไปใช้ในการทำสบู่ และยังรวมไปถึงวัตถุประสงค์อื่นๆ อีกนานัปการ กระทั่งนำไปผสมยาด้วย. ในปี 1871 ประมาณว่า 25 เปอร์เซนต์ของพืชพันธุ์มะกอกได้ถูกส่งออกไปจำหน่าย, ส่วนอีก 25 เปอร์เซนต์ใช้ในครัวเรือน และยังคงเหลืออีก 50 เปอร์เซนต์ถูกใช้ไปกับการผลิตในโรงงานทำสบู่

"ขณะที่มะกอก, มะเดื่อ, และองุ่นจำนวนมากถือเป็นผลไม้ธรรมดาทั่วไปที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือในดินแดนปาเลสไตน์", McGarvey รายงานว่า, "กล้วย ปาล์ม ทับทิม ก็มีอยู่ดกดื่น และข้าวสาลี ซึ่งถือเป็นผลผลิตสำคัญ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากบนผืนดินเหล่านี้ และยังได้มีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวาง". ศาสตราจารย์ McGarvey ยังกล่าวถึงการปลูกแตงโมด้วย โดยบันทึกว่า เขาได้เห็นเรือหลายลำที่บรรทุกแตงโมที่ท่าเรือลานิก้าในไซปรัส และกองสินค้าประเภทดังกล่าวตามท้องถนนของเมืองนั้น ในวันที่ 8 กรกฎาคม ปี 1879

จำนวนมากสำหรับคำโกหกของไซออนิสท์ที่ว่า พวกเขาทำให้ดินแดนทะเลทรายปาเลสไตน์เบ่งบาน
แต่จากประวัติศาสตร์ได้ให้ภาพความจริงและเป็นสักขีพยานไปในทางตรงข้าม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

Zionist Israel at 60 - Palestine before the Zionists
by Mohamed Elmasry (Friday, April 25, 2008)

Mohamed Elmasry is a professor of electrical and computer engineering at the University of Waterloo and national president of the Canadian Islamic Congress. He contributed this article to Media Monitors Network (MMN) from Ontario, Canada.

So much for the Zionist lie that they have made the Palestinian "desert" bloom. History offers a true and picturesque eyewitness to the contrary."

In May of this year, Zionists the world over will celebrate the 60th anniversary of the establishment of a state-for-Jews-only in Palestine.

One of the myths that was (and still is) propagated by Zionists is that Palestine was basically an unpopulated desert before the influx of European Jews who arrived to colonize the area and turn it into a blooming Jewish paradise.

It's an inspiring image, but a complete and utter lie. Fortunately, one can still find the truth by turning to accounts of Palestine written by Western visitors more than a century ago. They saw this land through the eyes of scholars, pilgrims and curious travelers, rather than through the selective vision of politics and ideology.

I can recommend two fascinating books on pre-Zionist Palestine, both published within a quarter-century of one another - "Lands of the Bible" (1880) by J.W. McGarvey, an American professor of Biblical History, and "Glimpses of Bible Lands," (1905) collectively authored by a group representing The Christian Herald in New York.

While Prof. McGarvey's book combined academic analysis, travel journalism and his own eye-witness accounts, The Christian Herald group of New York City documented a major trip made by hundreds of delegates to the world's Fourth Sunday School Convention through a fascinating collection of 288 photos and detailed travel commentary.

"Eight hundred Sunday-school workers from North America journeyed together to Jerusalem by way of the mission fields of the Mediterranean, there to hold the World's Fourth Sunday-School Convention, and to study the Fifth Gospel, the Land," said the book's introduction.

The Christian Herald volume also boasted several full-page colored plates, "rare and costly reproductions of water-color paintings of Palestine flowers by Mrs. Bertha Spofford Vester of the American colony in Jerusalem. There are 3,500 flowering plants in Syria and 1,700 in Palestine alone."

The flowers noted as the subjects of Mrs. Vester's paintings were the Anemone, "a brilliant, red, cap-shaped flower"; the mustard, (Lat. Adonis Palestina); an unnamed "small, almost globular flower of a deep brilliant red"; and Chrysanthemums "which grow wild in Palestine."

Palestine then was a province of Syria, which was in turn part of the Ottoman Empire. Three main groups of Western travelers were drawn to pre-Zionist Palestine: some went as pilgrims; others went as missionaries representing a number of Christian denominations; and the last group - most, in fact, European Jews -- went there in old age, hoping to die in the Holy Land.

Prof. McGarvey writes about this latter group that "Many of the resident Jews retain their citizenship in the countries of Europe from which they emigrated, and are therefore under the protection of their respective consuls ... Many of them are exceedingly poor, and are fed by contributions from their more prosperous brethren in Europe and America."

It is interesting to note that Western missionaries to Palestine and Syria were often quite specialized; some were sent to convert the Muslims and others to convert the Jews. For example, a Rev. G.M. Mackie was "in charge of the Scotch Mission to the Jews" and was stationed in Beirut, while Rev. J. Carnegie Brown was "superintendent of the London Society for Promoting Christianity among the Jews" and was stationed in Jerusalem. Both Reverends addressed the visiting delegation of 800 Sunday-school workers during their Christian Herald visit to the Holy Land in 1904.

A large section of McGarvey's 619-page book is devoted to agricultural products of the area, for Palestine enjoyed almost total self-sufficiency during the late 19th century and was a significant exporter to Europe and the rest of the Middle East. Many products were "shipped to the ports of the Mediterranean every year," wrote McGarvey, "and great quantities are transported on camels to the towns and villages of the interior."

According to Prof. McGarvey, traditional olive groves were seen around nearly all Palestinian towns and villages, sometimes extending over many square miles. Olive oil was an indispensable household basic, for it was used in lamps, for cooking, for soap-making and for a variety of other purposes, including medicinal. In 1871 an estimated 25% of the olive crop was exported, another 25% used domestically, and the remaining 50% was used to manufacture soap.

"While the olive, the fig, and the grape are by far the most common and abundant fruits of Palestine," noted McGarvey, "bananas, date-palm [and] pomegranate are common ... and wheat, which is by far the most important product of the soil and the most extensively cultivated."
Prof. McGarvey even mentioned Palestinian-grown watermelons, recording that he "... saw boats loaded with them in the harbor of Larnika in Cyprus and great piles of them on the streets of that city, on the 8th day of July, 1879."

So much for the Zionist lie that they have made the Palestinian "desert" bloom. History offers a true and picturesque eyewitness to the contrary.

เรื่องที่ ๒
๖๐ปีแห่งความปวดร้าวของปาเลสไตน์ และความป่าเถื่อนของอิสราเอล
ทำไมเราต้องสนับสนุนชาวปาเลสไตน์
รศ. ใจ อึ้งภากรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรรคแนวร่วมภาคประชาชน

ความปวดร้าวและความป่าเถื่อนในตะวันออกกลางที่เราเห็นในจอโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องเป็นปีๆ ไม่ใช่การต่อสู้ทางศาสนาหรือเชื้อชาติแต่อย่างใด แต่มันเป็นผลของการแทรกแซงโดยมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก เพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่สำคัญที่สุดสำหรับระบบอุตสาหกรรมของทุนนิยม…"น้ำมัน" นั่นเอง และในขณะที่สื่อไทยและตะวันตกพยายามสร้างภาพว่าองค์กรของชาวปาเลสไตน์ เช่นฮามาส (Hamas) เป็นพวก "หัวรุนแรง" หรือพวก "ก่อการร้าย" การศึกษาประวัติศาสตร์และข้อมูลจากพื้นที่เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้เราเห็นว่าเป็นการโกหกทั้งสิ้น

รัฐอิสราเอล
รัฐอิสราเอลถูกสร้างขึ้นเมื่อ 60 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นยามเฝ้าน้ำมันในตะวันออกกลาง ของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อิสราเอลมีหน้าที่หลักในการเป็นพันธมิตรของตะวันตก เพื่อสกัดกั้นและไล่กัดกระแสชาตินิยมอาหรับ ที่ต้องการควบคุมน้ำมันเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ แทนประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก รัฐอิสราเอลเป็นรัฐเหยียดเชื้อชาติ เพราะเป็นรัฐที่กีดกันคนที่ไม่ใช่ชาวยิว และที่สำคัญคือถูกสร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดด้วยความรุนแรงโหดร้ายทารุณ บ่อยครั้งมีการเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อฆ่าชายหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นวิธีสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวปาเลสไตน์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ชาวปาเลสไตน์หมดกำลังใจในการต่อสู้ และหลบหนีออกจากพื้นที่จนกลายเป็นผู้ลี้ภัยถาวรในค่ายรอบๆ อิสราเอล

การสร้างรัฐอิสราเอลไม่ได้สร้างสันติภาพแต่อย่างใด เพราะอิสราเอลพยายามขยายพื้นที่และพรมแดนผ่านการทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์ รวมถึงมีการสร้างหมู่บ้านใหม่ให้ชาวยิวที่อพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้อิสราเอลพยายามคุมชาวปาเลสไตน์ในกาซา และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ด้วยการสร้างภาพลวงตาว่าให้อำนาจในการปกครองตนเอง แต่ที่จริงแล้ว มีการสร้างกำแพงล้อมรอบชุมชนชาวปาเลสไตน์ จนชุมชนของชาวปาเลสไตน์กลายเป็นคุกยักษ์ใหญ่เพื่อกักกันคนของอิสราเอล (ดูภาพยนตร์สารคดีเรื่อง "กำแพงเหล็ก")

ลัทธิความคิดที่ใช้ในการสร้างรัฐเหยียดเชื้อชาติอิสราเอลนี้ เรียกว่าลัทธิ "ไซออนิสม์" (Zionism) ซึ่งเป็นแนวความคิดชาตินิยมขวาสุดขั้ว สิ่งที่สำคัญที่เราต้องเข้าใจคือคนยิวส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ได้เป็นไซออนิสต์ และมีชาวยิวไม่น้อยที่ไม่สนับสนุนการกระทำของอิสราเอล นอกจากนี้ชาวยิวจำนวนหนึ่งเป็นนักสังคมนิยม ในอดีตมีคนดังๆ เช่น คาร์ล มาร์กซ์, ลีออน ตรอทสกี, โรซา ลัคแซมเอร์ค และ โทนี่ คลิฟ เป็นต้น. ชาวยิวนักสังคมนิยมในยุคนี้มักจะสนับสนุนการปลดแอกตนเองของชาวปาเลสไตน์ และปฏิเสธการสร้างลัทธิที่ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติ สรุปแล้วคนที่คัดค้านอิสราเอลไม่ควรเกลียดชังชาวยิวทั้งหมด โดยเฉพาะประชาชนธรรมดา

สาเหตุที่แนวคิดไซออนิสม์มีอิทธิพลสูงในปัจจุบัน เกิดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพรรคนาซีภายใต้การนำของฮิตเลอร์ในประเทศเยอรมนี (ที่เรียกว่า Holocaust)(*) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์กับพรรคพวกฆ่าชาวยิวไป 6 ล้านคน แต่โศกนาฏกรรมของการสร้างรัฐอิสราเอล คือ พวกผู้นำอิสราเอลอ้างถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของฮิตเลอร์ เพื่อหันมาล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ ซึ่งมีผลให้ทั้งชาวยิวและชาวปาเลสไตน์มีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามอย่างต่อเนื่อง คำถามคือใครได้ประโยชน์? และทางออกในการแก้ไขปัญหาคืออะไร?

(*)The Holocaust (holos, "completely" and kaustos, "burnt"), also known as Ha-Shoah, is the term generally used to describe the genocide of approximately six million European Jews during World War II, as part of a program of deliberate extermination planned and executed by the National Socialist (Nazi) regime in Germany led by Adolf Hitler.

Other groups were persecuted and killed by the regime, including the Roma; Soviets, particularly prisoners of war; ethnic Poles; other Slavic people; the disabled; gay men; and political and religious dissidents, such as Jehovah's witnesses. Many scholars do not include these groups in the definition of the Holocaust, defining it as the genocide of the Jews, or what the Nazis called the "Final Solution of the Jewish Question." Taking into account all the victims of Nazi persecution, the death toll rises considerably: estimates generally place the total number of victims at nine to 11 million.

สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจในยุคปัจจุบันคือ อิสราเอลเป็นสมุนของสหรัฐ ไม่ใช่ว่าสหรัฐสนับสนุนอิสราเอลเพราะชาวยิว"คุมเศรษฐกิจและการเมืองสหรัฐ"อย่างที่บางคนเชื่อ เพราะจริงๆ แล้ว สหรัฐและประเทศตะวันตกไม่สนใจความเป็นอยู่ของชาวยิวธรรมดาในอิสราเอลเลย พร้อมจะให้เขามีชีวิตในสภาพสงครามถาวรมาตลอด และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่ามกลางความป่าเถื่อนของฮิตเลอร์ ประเทศเหล่านี้ไม่ยอมให้คนยิวที่หนีออกจากเยอรมนีเข้ามาลี้ภัยในประเทศของตนเอง

การสนับสนุนอิสราเอลของตะวันตก กลายเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจกับผู้นำไซออนิสต์ของอิสราเอลในการใช้นโยบายก้าวร้าวและรุนแรง เพราะอิสราเอลเป็นประเทศที่ได้รับอาวุธและเงินทุนมากที่สุดจากสหรัฐ และเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่แอบสร้างระเบิดนิวเคลียร์ โดยที่มหาอำนาจตะวันตกไม่เคยประณามอิสราเอลแต่อย่างใด

อิสราเอลมีประโยชน์ต่อตะวันตก เพราะมักจะกล้าทำสิ่งที่สหรัฐหรืออังกฤษไม่กล้าทำอย่างเปิดเผย ประชาชนในตะวันตกจะคอยตรวจสอบรัฐบาลของตนเองอยู่เสมอ แต่ในอิสราเอลประชาชนชาวยิวถูกมอมเมาด้วยลัทธิชาตินิยมไซออนิสม์ ดังนั้นอิสราเอลมักก่ออาชญากรรมสงครามอย่างเปิดเผยและง่ายดาย โดยที่ตะวันตกทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ตัวอย่างเช่นการเข้าไปยึดเลบานอน และการฆ่าพลเรือนหลายพันคนในค่ายลี้ภัย การทิ้งระเบิดประเทศรอบข้าง และการพยายามล้มรัฐบาลฮามาสของชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้ บ่อยครั้งการกระทำของอิสราเอลจะถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้สหรัฐและสหประชาชาติกดดันประเทศอาหรับ เช่น ซิเรีย หรืออิหร่าน ในกรณีวิกฤตคลองซุเอสปี 1956 อังกฤษและฝรั่งเศสก็เคยใช้การกระทำของอิสราเอลเป็นข้ออ้างในการบุกอียิปต์

ดังนั้นเราต้องคัดค้านนโยบายการทำสงครามของสหรัฐกับอังกฤษ และนโยบายก้าวร้าวของอิสราเอลพร้อมๆ กัน เราถึงจะสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางได้

ฮามาส (Hamas) คือใคร?
ฮามาส (ดูภาคผนวก) คือ องค์กรทางการเมืององค์กรหนึ่งของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลของชาวปาเลสไตน์ตามระบอบประชาธิปไตย ฮามาสใช้แนวคิดอิสลามและถูกก่อตั้งขึ้นหลังจากที่ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากมองว่า องค์กรกู้ชาติปาเลสไตน์ ที่ชื่อ Palestinian Liberation Organisation(P.L.O.) หมดสภาพในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของชาวปาเลสไตน์ เนื่องจากP.L.O. มีจุดยืนจำยอมต่ออิสราเอลกับสหรัฐ และกลายเป็นองค์กรหากินแบบทุจริตของนักการเมืองบางคน แต่พอ ฮามาส ได้รับเลือกตั้ง รัฐบาลตะวันตกไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งและตัดเงินสนับสนุนทุกอย่างที่เคยให้ชาวปาเลสไตน์ ส่วนอิสราเอลก็มีการวางแผนเพื่อใช้กำลังทหารล้มรัฐบาลฮามาส ในขณะเดียวกันอิสราเอลและตะวันตกพยายามสร้างความแตกแยกในหมู่ชาวปาเลสไตน์ ด้วยการหนุนหลังนักการเมืองของ P.L.O. เช่นประธานาธิบดีอาบัส ในที่สุดอาบัสทำรัฐประหารยึดอำนาจในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ซึ่งนำไปสู่การยึดอำนาจของฮามาสในกาซา

ฮามาสได้รับการสนับสนุนจากประชาชนปาเลสไตน์ เพราะมีความจริงใจในการต่อสู้กับอิสราเอล แต่อิสราเอลมักโต้ตอบด้วยการถล่มบ้านเมืองของปาเลสไตน์อย่างรุนแรง นอกจากนี้ มีการพยายามปิดล้อมกาซาเพื่อไม่ให้ประชาชนมีเชื้อเพลิง อาหาร และยารักษาโรค แต่ในที่สุดฮามาสสามารถพังกำแพงให้คนเข้าไปซื้อของในประเทศอียิปต์ได้ ส่วนรัฐบาลอียิปต์ที่เลิกสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ และหันมาเป็นพันธมิตรที่ดีของสหรัฐมาหลายสิบปีแล้ว. รัฐบาลอียิปต์ ไม่สามารถปิดกั้นชาวปาเลสไตน์ที่พังกำแพง เพราะขบวนการภาคประชาชนภายในอียิปต์ออกมาสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ เหตุการณ์นี้พิสูจน์ว่ารัฐบาลอาหรับไม่ใช่ที่พึ่งของชาวปาเลสไตน์ แต่เพื่อนแท้ของเขาคือขบวนการภาคประชาชนต่างหาก ที่มักคัดค้านรัฐบาลเผด็จการอาหรับ

คนไทยเกี่ยวข้องกับปัญหานี้อย่างไร?
หลายคนอาจหลงคิดว่าปัญหาตะวันออกกลางไม่เกี่ยวกับเรา แต่รัฐบาลไทยทุกชุดมีจุดยืนสนับสนุนจักรวรรดินิยมอเมริกา ล่าสุดคือการส่งทหารไทยไปช่วยยึดครองอิรักสมัยรัฐบาลทักษิณ การหนุนสหรัฐช่วยให้สหรัฐและอิสราเอลทำลายชีวิตของชาวปาเลสไตน์ และช่วยเสริมอำนาจต่อรองของสหรัฐในเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงกับเราในประเทศไทย เช่นสัญญา F.T.A.

ยิ่งกว่านั้นทหารไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับกองทัพและรัฐบาลอิสราเอลมาตลอด ซึ่งมีผลให้รัฐบาลไทยช่วยอิสราเอลกดขี่ชาวปาเลสไตน์ และช่วยให้ทหารกดขี่ประชาชนไทยโดยการทำลายประชาธิปไตยเป็นระยะๆ. ในอิสราเอลมีคนงานไทยไปทำงานจำนวนมาก ซึ่งช่วยหนุนนโยบายก้าวร้าวของอิสราเอล และช่วยให้ให้อิสราเอลปลดคนงานปาเลสไตน์ออกจากงานได้มากขึ้น ร้ายสุด คนงานไทยไปช่วยพวก ไซออนนิสต์ สุดขั้ว ทำไร่เกษตรบนพื้นดินที่ขโมยจากชาวปาเลสไตน์ และการที่คนไทยต้องไปหางานในประเทศอย่างอิสราเอลทำให้เสี่ยงภัยสงคราม และมาจากการละเลยปัญหาความยากจนของคนภายในประเทศเราเอง

ปัญหาของชาวปาเลสไตน์เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับปัญหาสามจังหวัดชายแดนอีกด้วย เพราะการกดขี่ชาวปาเลสไตน์หรือชาวมุสลิมมาเลย์ในสามจังหวัด เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ถ้าจะแก้ปัญหาเหล่านี้เราต้องกดดันให้มีการเคารพสิทธิของคนทั่วโลกที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง และสิทธิของประชาชนที่จะได้รับความยุติธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานเชื้อชาติหรือศาสนา ประเด็นปัญหาตะวันออกกลางพิสูจน์ว่า ภาคประชาชนทั่วโลกต้องรวมตัวกันต่อต้านคู่แฝดจากนรก: สงครามจักรวรรดินิยม และกลไกตลาดเสรี และในการต่อต้านความโหดร้ายของทุนนิยมดังกล่าว

เราต้องสร้างความสมานฉันท์กับชาวปาเลสไตน์ สันติภาพจะมาสู่ตะวันออกกลางได้ก็ต่อเมื่อจักรวรรดินิยมตะวันตกถูกบังคับให้ถอนตัวออกไป ซึ่งจะกดดันอิสราเอลให้ยุติความก้าวร้าว แต่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ประชาชนธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นอาหรับ ปาเลสไตน์ ยิว หรือเชื้อชาติอื่นๆ จะต้องมีโอกาสที่จะร่วมกันกำหนดอนาคตของตนเองโดยไม่ต้องใช้อาวุธ ทุกฝ่ายต้องมีพื้นที่ยืนของตนเอง ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งมีรัฐและคุมพื้นที่ได้ ในขณะที่อีกฝ่ายต้องเป็นผู้ลี้ภัยถาวร

ในประเทศไทย เราต้องเรียกร้องให้รัฐไทยและกองทัพ เลิกสนับสนุนอิสราเอล และต้องรณรงค์ให้แรงงานไทยกลับมาจากอิสราเอล หรือไปหางานที่ประเทศอื่นแทน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในปาเลสไตน์/อิสราเอล

1840 มหาอำนาจตะวันตกเริ่มแทรกแซงตะวันออกกลาง มีการแต่งตั้งผู้นำและขีดเส้นพรมแดนเพื่อคุมน้ำมัน
1936 ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นเผด็จการในเยอรมนี ฆ่าคนยิว 6 ล้านคน
1930-1945 อังกฤษใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง เพื่อสร้างปัญหาระหว่างชาวปาเลสไตน์กับชาวยิวในตะวันออกกลาง
1946 ชาวปาเลสไตน์ เริ่มถูกขับไล่ออกจากพื้นที่บ้านเกิด โดยกลุ่มก่อการร้ายไซออนิสต์
1948 ชาวบ้านปาเลสไตน์ ทั้งชาย หญิงและเด็ก ถูกสังหารถึง 300 คน ในหมู่บ้าน Deir Yassin โดยผู้ก่อการร้ายไซออนิสต์ ในที่สุดคนปาเลสไตน์ 750,000 คนต้องหนีออกไปอยู่ในค่ายลี้ภัยในอียิปต์ จอร์แดน และเลบานอน

1948 พวกไซออนิสต์สถาปนารัฐอิสราเอล แต่ชาวปาเลสไตน์ไม่มีรัฐของตนเองมาจนทุกวันนี้
1967 สงครามระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับรอบข้าง อิสราเอลยึดพื้นที่เพิ่มขึ้นจากอียิปต์ จอร์แดน และซิเรีย
1975 ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากถูกขับไล่ออกจากประเทศจอร์แดน และเข้ามาในเลบานอน
1975-1976 สงครามกลางเมืองในเลบานอนระหว่าง Maronite ซึ่งเป็นฝ่ายขวาฟาซิสต์ที่มีอิสราเอลหนุนหลัง กับแนวร่วมซ้าย ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มปาเลสไตน์กับกลุ่มอิสลามพื้นเมือง ฝ่ายซ้ายมีแนวโน้มจะชนะ แต่ซิเรียส่งกองทัพมายับยั้งชัยชนะ โดยได้รับคำชมจากสหรัฐ

1982 สงครามกลางเมืองครั้งที่สองในเลบานอน อิสราเอลส่งกองทัพเข้าเลบานอนภายใต้ข้ออ้างว่าต้องปราบชาวปาเลสไตน์ อิสราเอลทำลายเมืองเบรุทและฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวปาเลสไตน ่ในที่สุดขบวนการเฮสโบลาห์สามารถขับไล่อิสราเอลออกไปได้ ก่อนหน้านั้นทหาร"รักษาความสงบ" ของสหรัฐต้องถอนตัวออกหลังถูกระเบิดพลีชีพในปี 1984

1993 P.L.O. กับอิสราเอลเจรจาสันติภาพ P.L.O. ยอมรับรัฐอิสราเอลและอิสราเอลให้ P.L.O. "ปกครองตนเอง" ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกาซา ภายใต้การควบคุมของรัฐอิสราเอลเหมือนเป็นเมืองขึ้น

2000 กระบวนการสันติภาพต้องยุติ เพราะอิสราเอลไม่ยอมเลิกขยายชุมชนชาวยิวในพื้นที่ปาเลสไตน์ นักรบของฮามัสมีบทบาทมากขึ้น
2006 อิสราเอลโจมตีกาซา เพื่อทำลายรัฐบาลฮามาสที่มาจากการเลือกตั้ง และก่อสงครามอีกครั้งกับเลบานอน

พรรคแนวร่วมภาคประชาชน
ตู้ ป.ณ.2049 ป.ณ.ฝ.จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ 10332
www.pcpthai.org

+++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก

Hamas (Islamic Resistance Movement) is a democratically-elected Palestinian Sunni Islamist[1] militant organization and political party which currently holds a majority of seats in the legislative council of the Palestinian Authority.

Hamas was created in 1987 by Sheikh Ahmed Yassin of the Gaza wing of the Muslim Brotherhood at the beginning of the First Intifada. They are known for multiple suicide bombings and other attacks directed against civilians and Israeli military and security forces targets. Hamas also runs extensive social services in Palestine. Hamas' charter calls for the destruction of the State of Israel and its replacement with a Palestinian Islamic state in the area that is now Israel, the West Bank, and the Gaza Strip. Although Hamas claims its conflict with Israel is political and not religious, the organization has been described as antisemitic, a charge the organisation itself rejects.

Hamas is listed as a terrorist organization by Canada, Israel, Japan, and the United States, and is banned in Jordan. Australia and the United Kingdom list only the military wing of Hamas, the Izz ad-Din al-Qassam Brigades, as a terrorist organization. The European Union lists Hamas as a group 'involved in terrorist attacks' and has implemented restrictive measures against Hamas.

Since the death of Palestine Liberation Organization leader Yasser Arafat, Hamas's political wing has entered and won many local elections in Gaza, Qalqilya, and Nablus. In January 2006, Hamas won a surprise victory in the Palestinian parliamentary elections, taking 76 of the 132 seats in the chamber, while the ruling Fatah party took 43. The Hamas charter states: "There is no solution for the Palestinian question except through Jihad," and this stance has found a receptive audience among Palestinians; many perceived the preceding Fatah government as corrupt and ineffective, and Hamas's supporters see it as an "armed resistance" movement defending Palestinians from the Israeli occupation of Palestinian territories. Hamas has further gained popularity by establishing hospitals, education systems, libraries and social services throughout the West Bank and Gaza Strip. The Palestinian territories have experienced internal conflicts for many years; since Hamas's election victory, particularly sharp infighting has occurred between Hamas and Fatah, leading to many Palestinian deaths.

อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง: ประวัติศาสตร์อันซับซ้อนและซ้อนทับของปาเลสไตน์

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 19 May 2008 : Copyleft by MNU.

หนังสือเล่มใหญ่ จำนวน ๖๑๙ หน้าของ McGarvey ได้อุทิศเรื่องราวให้กับผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่แห่งนี้ สำหรับในดินแดนปาเลสไตน์ ชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนดังกล่าวเกือบทั้งหมด ต่างพึงพอใจกับการมีชีวิตที่พึ่งตนเองในช่วงระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่๑๙ และพืชผลเกษตรของพวกเขายังส่งออกไปยังยุโรปและที่เหลือก็ส่งไปยังดินแดนตะวันออกกลางด้วย. ผลผลิตจำนวนมากได้ถูกส่งไปทางเรือสู่ท่าเรือในเมดิเตอร์เรเนียนทุกๆ ปี. ตามบันทึกของศาสตราจารย์ McGarvey, "ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากถูกขนส่งผ่านหลังอูฐไปยังเมืองต่างๆ และหมู่บ้านชนบทที่อยู่ลึกเข้าไป". ตามรายงานของ ศ. McGarvey, ป่าละเมาะที่มีพวกต้นมะกอกมาแต่เดิม ถูกพบเห็นได้ทั่วไปบริเวณใกล้เมืองและหมู่บ้านของชนปาเลติเนียน

H