ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




15-05-2551 (1559)

อย่าตกเป็นเหยื่อยุทธศาสตร์ช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง
๒๑ วันอันตราย: ปาก(กา)ฆ่าความสงบ สงครามชิงพื้นที่ความจงรักภักดี (๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม: รวบรวมและคำนำ
ข้อมูลเฝ้าระวังสถานการณ์ร้อน ระวังรวันดาในประเทศไทย

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมือง การเมือง สังคม และวัฒนธรรม
บทความต่อไปนี้รวบรวมมาจากข้อมูลหลายแหล่ง ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิก
ข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ท หนังสือพิมพ์ บทสัมภาษณ์ และกระดานข่าว ฯลฯ
ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการศึกษาสถานการณ์ร้อนของประเทศไทยในรอบ ๒๑ วันที่ผ่านมา
(ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน - ๑๕ พฤษภาคม ๕๑)นับจากกรณีนายโชติศักดิ์และเพื่อน ไม่ยืนใน
โรงภาพยนตร์ จนกระทั่งถึงเรื่องการยั่วยุ ปลุกปั่น ของสื่อมวลชนบางค่ายให้มีการทำร้ายร่างกาย
ตลอดรวมถึงการผูกโยงเป็นทฤษฎีสมคบคิด และแถลงการณ์จากนักวิชาการ และองค์กรสื่อมวลชน
ที่เตือนให้เฝ้าระวังเหตุการณ์ร้ายที่อาจเกิดขึ้นดั่งโศกนาฏกรรมของประเทศรวันดา ที่มีเหยื่อ
ซึ่งเป็นประชาชนธรรมดาต้องเสียชีวิตถึง ๕ แสนคน ย่อมเป็นประจักษ์พยานได้อย่างดีเกี่ยวกับ
ความร้ายกาจของ"สื่อเพื่อความตาย"ต่อหน้าสังคมโลก กรณีประเทศรวันดาสื่อดังกล่าว
ถูกขานนามว่า "วิทยุแห่งความตาย"

เนื่องจากต้นฉบับของบทความนี้มีความยาวกว่า ๘๔ หน้ากระดาษ A4 จึงได้แบ่งการนำเสนอ
บนเว็บเพจออกเป็น ๔ ตอน โดยเรียงลำดับได้ถึง ๒๒ หัวข้อเรื่อง ตามวันเวลาเหตุการณ์เหล่านี้
เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้อนที่ผ่านมาได้ปรากฎอยู่ทั่วไป
บนสื่อหลายชนิด หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งมาที่ email address ข้างล่างนี้
midnightuniv(at)gmail.com
หมายเหตุ: เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจข้อมูลความจริงที่ได้รับ
โดยนักกฎหมายของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก่อนทุกครั้งที่จะมีการนำสเนอเพิ่มเติม


บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๕๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อย่าตกเป็นเหยื่อยุทธศาสตร์ช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง
๒๑ วันอันตราย: ปาก(กา)ฆ่าความสงบ สงครามชิงพื้นที่ความจงรักภักดี (๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม: รวบรวมและคำนำ
ข้อมูลเฝ้าระวังสถานการณ์ร้อน ระวังรวันดาในประเทศไทย

๙. 'องค์กรวิชาชีพสื่อ' จี้ ตร.จัดการม็อบป่วน ทำร้ายช่างภาพช่อง 7
(นำมาจาก นสพ.คมชัดลึก โดยประชาไท และเผยแพร่ต่อบนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 7926)
http://midnightuniv.tumrai.com/forum/index.php/topic,7926.0.html

เว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีนายเสรี อุมา ช่างภาพสถานีกองทัพบกช่อง 7 ถูกขวดแก้วปาเข้าบริเวณศีรษะต้องเย็บหลายเข็ม และนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเปาโล ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างนายเสรีกำลังถ่ายภาพเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อยู่ในบริเวณป้ายรถเมล์ หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อคืนวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมานั้น. ขณะเดียวกันเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงได้เนื่องจากมีความพยายามยั่วยุด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การขว้างปาสิ่งของใส่กันระหว่างการชุมนุม การด่าทอและแสดงออกด้วยถ้อยคำและท่าทีหยาบคาย การปิดทางเข้า ทางออกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

องค์กรวิชาชีพสื่อประกอบด้วยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเป็นห่วงต่อแนวโน้มสถานการณ์ดังกล่าว จึงขอเรียกร้อง ดังนี้

1. ทุกฝ่ายต้องเคารพเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและสันติวิธี เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ให้ยอมรับความแตกต่างทางความคิดและ
ต้องไม่ใช้เสรีภาพไปละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

2. ทุกฝ่ายต้องยุติการใช้ความรุนแรง ยั่วยุไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้เกิดความรุนแรง และขอประณามกลุ่มอันธพาลที่มีพฤติกรรมถ่อยเถื่อน ลามกอนาจาร ไม่เคารพสิทธิ เสรีภาพของฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง

3. ขอเรียกร้องรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติกับทุกฝ่ายด้วยความเป็นธรรม ไม่โอนเอียนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะฝ่ายที่มีท่าทีสนับสนุนรัฐบาล หากมีการกระทำที่ผิดกฏหมายต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาเพราะมิเช่นนั้นอาจทำให้ฝ่ายที่นิยมใช้ความรุนแรง ฉวยจังหวะก่อสถานการณ์ให้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังตัวอย่างการชุมนุมที่สนามหลวงหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า แต่กลับไม่มีการดำเนินการกับผู้กระทำผิด

4.สำหรับสื่อมวลชนนั้น ต้องทำหน้าที่ในการรายงานข่าวอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันขอให้ใช้ความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย

ทั้ง 2 สมาคมฯ ขอเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะและระบอบประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.00 น. ที่โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สะพานควาย น.ส.นาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนางโสภิต หวังวิวัฒนา ผอ.สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เข้าเยี่ยมและมอบเงินช่วยเหลืออาการของนายเสรี อูมา, ช่างภาพทีวีช่อง 7 ที่ได้รับบาดเจ็บขณะบันทึกภาพข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านการให้ความรู้ประชาชน ในงานสัมมนายามเฝ้าแผ่นดินภาคพิเศษ 2 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

น.ส.นาตยา กล่าวว่า เข้าใจการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำหน้าที่ได้ดี แต่บางส่วนหละหลวมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ถ้าเข้มงวดตั้งแต่ต้นก็จะสามารถเข้าห้ามปรามผู้ชุมนุมได้ โดยในช่วงเย็นวันนี้ (26 เม.ย.) ในฐานะสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ก็จะมีการออกแถลงการณ์ทางเว็บไซต์ต่อเหตุการณ์รุนแรงจนทำช่างภาพได้รับบาดเจ็บด้วย

"ในนามสมาคมขอประณามและคัดค้านการชุมนุมและการกระทำที่ก่อให้เกิดเหตุรุนแรงเช่นนี้ ซึ่งเราสนับสนุนการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบมาโดยตลอด และต้องการให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว และลงโทษตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ เพราะการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน และขอเป็นกำลังใจให้กับนักข่าวทุกคนที่ทำหน้าที่ทำข่าวในการชุมนุม ซึ่งต่อไปคงมีการชุมนุมอีกมากก็ขอให้ทำหน้าที่ด้วยความอดทน" นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าว

ต่อมา ร.ต.ท.ประกอบ เย็นหลักร้อย ร้อยเวร สน.ชนะสงคราม เจ้าของคดีได้รับมอบหมายจาก พ.ต.ท.สุเมธ จิตรพาณิชย์ รอง ผกก.สน.ชนะสงคราม ได้เดินทางมาเยี่ยมอาการและสอบปากคำนายเสรี โดย ร.ต.ท.ประกอบ กล่าวว่า เบื้องต้นนายเสรี สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมที่ปาขวดถูกศรีษะแตกได้ ในข้อหาทำร้ายร่างกาย ส่วนจะแจ้งข้อหาได้เพิ่มเติมอีกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผลการตรวจของแพทย์ว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงไร โดยในเรื่องนี้ทางตำรวจก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ให้ฝ่ายสืบสวนหาตัวคนร้ายมาดำเนินคดี ซึ่งหากมีภาพจากกล้องวงจรปิดก็จะทำการตรวจสอบใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดด้วย

ด้าน พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐ์ผล ผกก.สน.ชนะสงคราม กล่าวว่า นายเสรี ผู้บาดเจ็บ ได้แจ้งมาว่าขณะนี้แพทย์ต้องการให้พักฟื้นก่อนคาดว่าภายใน 2-3 วันน่าจะเดินทางมาให้ปากคำที่ สน.ชนะสงครามด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ได้ให้ฝ่ายสืบสวนติดตามข่าวหาคนร้ายแล้ว เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านจะมาชุมนุมเป็นประจำที่บริเวณสนามหลวง ส่วนผู้ชุมนุมต่อต้านที่แสดงของลับนั้น ได้สั่งให้ฝ่ายสืบสวนติดตามตัวมาดำเนินคดีด้วย ในข้อหาผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อธาระกำนัน โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอื่นๆ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งการตรวจสอบภาพถ่ายจากหนังสือพิมพ์ก็ คุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี เพราะชายทั้ง 2 คนที่พยายามจะโชว์ของลับในครั้งนี้ ก็พยายามทำเช่นนี้มาตั้งแต่การเรียกร้องครั้งที่แล้วแต่ไม่สำเร็จ

ที่มา: http://www.komchadluek.net

๑๐. น่าเสียดาย...เว็บประชาไท
โดย สุรวิชช์ วีรวรรณ 1 พฤษภาคม 2551 / 15:29 น.
(รับมาจากอีเมล์นักข่าว และเผยแพร่ต่อบนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 7952)
http://midnightuniv.tumrai.com/forum/index.php/topic,7952.0.html

ผมเคยติดตามเว็บประชาไทในยุคที่ "เปี๊ยก" สมเกียรติ จันทสีมา เป็นผู้จัดทำด้วยความคาดหวังว่า เว็บแห่งนี้จะเป็นสื่อทางเลือกที่เราจะได้เสพความคิดและข่าวสารอีกด้านหนึ่ง ที่เน้นในเรื่องของข่าวภาคประชาสังคม ข่าวชาวบ้าน ที่สำคัญผมศรัทธาแนวทางของอาจารย์จอน อึ๊งอากรณ์ ผู้ริเริ่มและก่อตั้งเว็บนี้. แต่บอกตรงๆ ครับว่า ระยะหลังที่เปลี่ยน บรรณาธิการ ผมสัมผัสได้ว่า บทบาทของเว็บประชาไทเปลี่ยนแปลงไป และมีบรรยากาศบางอย่างเข้ามาครอบงำเว็บไซต์แห่งนี้

ถ้าถามผมว่า คนที่ครอบงำเว็บแห่งนี้คือใคร คำตอบคือ คนรักทักษิณ (เราจะไม่พูดกันในที่นี้ว่าคนรักทักษิณถูกหรือผิด) ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดคือ เมื่อเว็บประชาไทคัดลอกบทความแปลของนายปลื้ม ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล กับรสนา โตสิตระกูล มาตีพิมพ์ คนที่เข้ามาแสดงความเห็นท้ายบทความนี้ ส่วนใหญ่ตำหนิคุณรสนาและให้การสนับสนุนนายปลื้ม. ทั้งๆ ที่ความคิดของคุณรสนา น่าจะสอดคล้องกับการก่อตั้งเว็บไซต์ประชาไท. ต่างกับเว็บผู้จัดการออนไลน์ (เว็บคนไม่รักทักษิณ) ที่แปลบทความทั้งสองชิ้นมาลงตีพิมพ์เช่นเดียวกัน ปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ในนั้นประณามนายปลื้มแต่สนับสนุนรสนา

แม้เหมือนว่า จะไม่ใช่ความผิดอะไรของเจ้าของเว็บ หรือคนทำเว็บซึ่งคงจะต้องอ้างว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีของคนอ่าน แต่จากตัวอย่างที่ยกมานี้ น่าจะทำให้ตระหนักได้ว่า ในเว็บประชาไทนั้นถูกครอบงำไปด้วยบรรยากาศแบบใด. แน่นอนเว็บแห่งนี้ภายใต้การนำของบรรณาธิการท่านนี้ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ก็ดูเหมือนว่าเว็บแห่งนี้ได้ร่วมอยู่ในเกมเลือกข้างไปแล้ว (ด้านตรงกันข้ามกับเว็บผู้จัดการที่เลือกข้างไปแล้วเช่นกัน) แม้ว่า กรรมการและผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่จะสนับสนุนแนวทางของพันธมิตรฯ และเกือบทั้งหมดไม่สนับสนุนระบอบทักษิณ

บนพื้นที่เว็บแห่งนี้บอกเล่าถึงที่มาที่ไปและจุดประสงค์ของการก่อตั้ง ว่า "ประชาไท" คือหนังสือพิมพ์อิสระบนเว็บ ที่คณะผู้ก่อตั้งมีแนวคิดที่จะจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนและชุมชนต่างๆ ได้มีโอกาสรับรู้และรู้ทันสถานการณ์ของสังคมไทยในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านการพัฒนาสุขภาวะ วิถีชีวิต และคุณภาพชีวิตของประชาชน การพัฒนาครอบครัวและชุมชน ตลอดจนการขยายโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศตามเจตนาของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย เช่น

"ประชาไท" จะพยายามเสนอข่าวและข้อมูลตามความจริงที่พบ โดยไม่ยอมให้ใครมาแทรกแซง และจะเน้นข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป รวมทั้งกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสในสังคม และที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นธรรม และที่สิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนได้รับการเคารพโดยทั่วถึง

"ผมสนใจเรื่องการทำสื่อหนังสือพิมพ์บนอินเทอร์เน็ต คิดๆ กับมันอยู่แล้ว จนกระทั่งประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เดินทางไปประชุมที่ประเทศฟิลิปปินส์แล้วเห็นการทำสื่ออิสระที่มินดาเนา ที่ชื่อมินดานิวส์ http://www.mindanews.com จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำอย่างจริงจัง" จอน อึ๊งภากรณ์ บอกเล่าที่มาของแนวคิดนี้ไว้ในเว็บไซต์ และระบุว่า ต้องใช้เวลาประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาแนวทางที่ชัดเจน, หาบรรณาธิการและทีมงาน รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ

ทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่อาจารย์จอนตระหนักอย่างมาก นอกจากทุนดำเนินการ และ แนวทางที่ชัดเจนซึ่งอาจารย์มีอยู่แล้วก็คือ บรรณาธิการ ซึ่งต้องนับว่า โชคดีที่ได้เปี๊ยก-สมเกียรติเข้ามาในตอนแรก. เชื่อไหมครับว่า มีเงินสนับสนุนแนวทางของอาจารย์เข้ามาถึงเกือบ 7 ล้านบาท 70 % มาจากองค์กรภาครัฐหรือจากเงินภาษีของประชาชน อีกราว 30 % มาจากองค์กรต่างประเทศ

กองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ทุนสนับสนุนในการดำเนินการจัดตั้งเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นการให้ครั้งเดียวไม่มีการให้ต่อเนื่อง โดยสนับสนุนเป็นจำนวน 2,979,000 บาท และจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นจำนวน 1,896,000 บาท และการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์อีก 200,000 บาทสำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และได้รับทุนสนับสนุนในการดำเนินงานจาก Open Society Institue (OSI) สำหรับการดำเนินงานในโครงการฯ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2548 -30 กันยายน 2549 เป็นจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,000,000 บาท

เงินจาก 2 องค์กรเกือบ 5 ล้านบาท ต้องนับเป็นการสนับสนุนเงินภาษีอากรของประชาชนจากหน่วยงานของรัฐก้อนโตก้อนหนึ่ง ทั้งนี้คงเป็นเพราะความตั้งอกตั้งใจและเชื่อมั่นในตัวอาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์เป็นสำคัญ

สัปดาห์นี้ ผมเข้ามาอ่านเว็บประชาไทอีกครั้ง เมื่อมีคนบอกว่า เว็บไซต์แห่งนี้กล้าหาญมากที่เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาให้กำลังใจและสนับสนุนการกระทำของ "โชติศักดิ์ อ่อนสูง" ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากไม่ยอมยืนเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เพลงสรรเสริญ และแน่นอนว่า ข่าวดังกล่าวคนทำงานสื่อต้องถือว่า เป็นข่าวใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญที่ไม่เคยมีใครท้าทายโครงสร้างของชาติไทยเช่นนี้มาก่อน

และเป็นหน้าที่ของสื่อในการสื่อสารความเปลี่ยนแปลงในโลกให้ประชาชนได้รับรู้ ข่าวดังกล่าวสื่อในเครือผู้จัดการก็นำมาเสนอ และ "คำนูณ สิทธิสมาน" ก็หยิบข่าวนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ในมุมมองของเขา แน่นอนว่า ไม่ตรงกับทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาครอบงำเว็บแห่งนี้อยู่ เช่นเดียวกับที่ไม่ตรงกับทัศนคติของท่านบรรณาธิการ แต่เราก็ควรจะเคารพความคิดเห็นของกันและกัน เหมือนที่ท่านบรรณาธิการ "ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข" เขียนรำพึงรำพันไว้ในคอลัมน์ของตัวเองว่า "ขอที่เล็กๆ ให้เราได้ยืนและฝันบ้าง" ไม่ใช่หรือ

ท่านบรรณาธิการเรียกร้องหาที่ยืนในแบบที่ตัวเองต้องการ แต่กลับเรียกการแสดงความเห็นที่แตกต่างของสื่ออื่นว่า การคุกคาม เหมือนที่ท่านบรรณาธิการเขียนว่า 'เว็บไซต์ประชาไท' และ 'ฟ้าเดียวกัน' ตกเป็นข่าวพาดพิงในหนังสือพิมพ์ดาวสยามยุคใหม่ ในฐานะที่เสนอข่าวกรณี โชติศักดิ์ อ่อนสูง รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง

ผมไม่รู้ว่าท่านหมายถึงใคร แต่ถ้าท่านบรรณาธิการเรียกร้อง "ที่ยืน" ของตัวเอง ก็ควรเคารพต่อ "ที่ยืน" และมุมมองความเห็นต่างของสื่ออื่น ต่อการรายงานปรากฏการณ์ข่าวของโชติศักดิ์และข่าวนักธุรกิจชาวขอนแก่นไปแจ้งความดำเนินคดีโชติศักดิ์ เว็บไซต์ประชาไท และเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันที่ปล่อยให้มีการโพสต์ข้อความโจมตีสถาบัน

ท่านบรรณาธิการจะมีความคิดเห็นอย่างไร จะเป็นพวกไม่เอาทั้ง 2 อย่าง หรือเอาทั้ง 2 อย่างก็ช่างเถอะ แต่ท่านต้องเคารพต่อจุดประสงค์ขององค์กร ของผู้ก่อตั้งองค์กรที่ท่านยืนอยู่ในฐานะที่เราประชาชนทุกคนเป็นผู้ให้การสนับสนุน และต้องเคารพต่อจุดยืนของคนอื่นด้วย. และผมต้องขออภัยที่จะบอกท่านบรรณาธิการว่า ถ้าท่านตีความว่า การรณรงค์อย่างแข็งขันคือ การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผมก็คิดว่า วิจารณญาณของท่านบรรณาธิการมีปัญหา

๑๑. Republic of Thailand
โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2 พฤษภาคม 2551 / 16:48 น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000051636

มีข่าวสองข่าวที่ผมและคนทั่วไปไม่สบายใจ ข่าวแรกคือข่าวของนายอะไรคนหนึ่งที่ไม่ยืนเคารพในหลวงในโรงหนัง อีกข่าวหนึ่งคือข่าวที่มีชื่อทักษิณไปอยู่ในธงชาติถึง 2 วาระ คือในการต้อนรับครั้งหนึ่ง และในการเชียร์ตอนฟุตบอลแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง. ข่าวแรกนั้นไม่ใช่เรื่องของคนห่ามหรือคนบ้า แต่มีการทำเป็นขบวนการ และขบวนการนี้มีเป็นเครือข่าย การไม่ยืนทำความเคารพในโรงหนังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขบวนการนี้เท่านั้น

ขบวนการนี้คือขบวนการ Republic of Thailand ซึ่งมีอยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบสแกนดิเนเวีย ที่ฟินแลนด์มี website ของ Republic of Thailand ด้วย ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งคือ ในมหาวิทยาลัยบางแห่งมีอาจารย์ที่มีความเห็นว่าประเทศไทยไม่จำเป็นจะต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เป็นฝ่ายซ้ายเก่า ทำหนังสือและใบปลิว ตลอดจนพูดคุยกับชาวบ้านในทำนองหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกส่วนหนึ่งของขบวนการนี้ก็คือ การเคลื่อนไหวโจมตีประธานองคมนตรี

ขบวนการ Republic of Thailand นี้ ประสานกับกลุ่มที่เปิด website ในเมืองไทยหลายแห่ง และมีการออกวารสารด้วย เมื่อมีการจับกุมผู้ไม่ยืนแสดงความเคารพ ขบวนการนี้ก็ได้ออกกระทู้ใน web และมีการทำเสื้อยืดแจก. จะเป็นการบังเอิญหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่กลุ่มผู้สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐนี้ก็สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย และกลุ่มที่ไปประท้วงหน้าบ้านสี่เสาฯ ก็ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ. นอกจากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ในเนปาล ก็มีการนำเสนอข่าวต่างประเทศอย่างละเอียด

โดยสรุปก็คือ ขณะนี้มีปรากฏการณ์ในสังคมไทยที่แตกต่างไปจากในอดีต ในอดีตนั้นแม้จะมีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล
แต่ในเวลานี้มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบคือ

1. มีความคิด
2. มีการจัดตั้งองค์กร และเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ความคิด
3. มีเงินทุนสนับสนุน
4. มีการใช้การสื่อสารผ่าน web และทางการจัดพิมพ์วารสารใบปลิว ตลอดจนหนังสือ
5. มีการส่งคนไปปลุกปั่นคนในชนบท และแท็กซี่ในกรุงเทพฯ

ผมไม่ทราบว่าหน่วยการข่าวของทางราชการจะติดตามดูขบวนการนี้มากน้อยเพียงใด แต่เมื่อมีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบแล้ว ในอนาคตขบวนการ Republic of Thailand ก็อาจจะออกมาจัดตั้งเป็นกลุ่มการเมือง และเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยมากขึ้นก็ได้

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การมีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปอยู่บนธงชาติไทย หากใครย้อนกลับไปดูทีวีสมัยที่ทักษิณยังมีอำนาจอยู่ ก็จะระลึกได้ว่ามีการนำธงชาติไปโบกต้อนรับทักษิณเช่นกัน จึงไม่น่าประหลาดใจที่ความคิดแบบนี้จะทำให้มีการเอาชื่อทักษิณไปไว้บนธงชาติอีก การกระทำเช่นนี้ก็ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน หากไม่ระมัดระวังให้ดีก็อาจมีฝรั่งทะลึ่งเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็น Thaksinland ก็ได้ การนำชื่อไปไว้บนธงชาติก็เป็นสัญลักษณ์ว่า ทักษิณกับชาติไทยนั้นเป็นของคู่กัน

การกระทำที่อุบาทว์นี้ จะอ้างว่าฝรั่งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ไม่น่าจะฟังขึ้น อย่างน้อยสโมสรก็ต้องรู้เห็น และจะต้องมีการคิด การเตรียมการกัน การแข่งฟุตบอลก็ต้องมีการถ่ายทอดมาเมืองไทย ดังนั้น การกระทำเช่นนี้จึงอุกอาจ และท้าทายยิ่งนัก.แม้ตำรวจอาจเอาผิดไม่ได้ แต่ผมไม่รู้ว่าทหารจะรู้สึกอย่างไร เพราะทหารคือผู้ปกป้องชาติ เมื่อชาติกับทักษิณถูกนำเสนอให้เป็นสิ่งที่คู่กันแล้ว ความหมายนี้จะเป็นอย่างไร จะเกี่ยวข้องกับขบวนการ Republic of Thailand หรือเปล่า

มีคนมากระซิบผมว่าอีก 20 ปี ประเทศไทยจะเป็นสาธารณรัฐแน่นอน

๑๒. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล:ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส 'ละคอนแขวนคอ' ยุคใหม่
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(นำมาจากประชาไท และเผยแพร่ต่อบนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 7982)
http://midnightuniv.tumrai.com/forum/index.php/topic,7982.0.html

เช้าวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2519 กลุ่มขวาจัดที่เรียกตัวเองว่า ชมรมแม่บ้านได้จัดชุมนุมที่ลานพระรูปทรงม้า เพื่อประท้วงรัฐบาลในขณะนั้น อันเกี่ยวเนื่องมาจากวิกฤติการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม การชุมนุมดำเนินไปจนเกือบบ่าย ก็มีบางคนในกลุ่มหยิบยกเอาภาพถ่ายการแสดงละคอนของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ลานโพธิในเที่ยงวันก่อนหน้านั้น (4 ตุลาคม) เพื่อสะท้อนเหตุการณ์แขวนคอช่างไฟฟ้า ผู้ประท้วงถนอมที่นครปฐม 2 คน ซึ่งตีพิมพ์ในหน้า 1 ของบางกอกโพสต์ ฉบับวันนั้น (บางกอกโพสต์ออกวันละ 1 กรอบตอนเช้า) มาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใบหน้าผู้แสดงเป็นช่างไฟฟ้าที่กำลังถูกแขวนคอในภาพนั้น เหมือนพระบรมโอรสาธิราช แสดงว่า นักศึกษาจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง กลุ่มจัดตั้งขวาจัดต่างๆ ในขณะนั้น ได้แพร่กระจายข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลนี้ออกไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาศัยองค์กรสื่อมวลชนขวาจัด 2 องค์กร คือ นสพ.ดาวสยาม รายวัน และ สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นเครื่องมือ โดยสถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศปลุกเร้าอารมณ์ผู้ฟังอย่างหนักไม่หยุดตลอดบ่ายวันที่ 5 ข้ามคืนถึงเช้าวันที่ 6 มีการเรียกร้องให้จัดการกับนักศึกษาขั้นเด็ดขาด กระตุ้นความโกรธแค้นผู้ฟังถึงระดับทีหวังผลให้เกิดการใช้กฎหมู่ทำร้ายนักศึกษา ขณะที่ ดาวสยาม ได้ตีพิมพ์กรอบบ่ายเพิ่มจำนวนเป็นพิเศษ เผยแพร่ทั่วกรุงเทพ ในหน้า 1 เกือบเต็มหน้า ได้ตีพิมพ์ขยายรูปที่กล่าวหาว่าเป็นการ "แขวนคอหุ่นเหมือนฟ้าชาย" (นี่คือคำพาดหัว ดาวสยาม ฉบับเช้าวันที่ 6 ตุลา ขอให้สังเกตว่า การปลุกระดมนี้วางอยู่บนการโกหกเพียงใด เพราะการ "แขวนคอ" ใช้คนแสดงจริง ไม่ใช่หุ่น)

ฝ่ายศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าว บอกเล่าความจริงของความเป็นมาของการแสดงละคอนประท้วงถนอม (ซึ่งเป็นกิจกรรมของนักศึกษาธรรมศาสตร์เอง ไม่ใช่การจัดของศูนย์ฯ) และได้ยืนยันว่ายินดีจะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการทางกฎหมายทุกอย่าง ทั้งยังได้นัดกับนายกรัฐมนตรี จะเดินทางเข้าพบเพื่อชี้แจงในเช้าวันรุ่งขึ้น

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือตั้งแต่ช่วงบ่าย ช่วงกลางคืน วันที่ 5 ตุลาคม ถึงช่วงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม คือ การระดมกำลังจัดตั้งติดอาวุธของพวกขวาจัดอย่างขนานใหญ่ บรรดาผู้บงการของพวกเขาทราบดีว่า ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย และกระบวนการทางการเมืองแบบปกติ คือ ให้โอกาสนักศึกษาชี้แจงกับเจ้าหน้าที่และต่อสู้คดี และให้โอกาสนักศึกษาได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วไป คำโกหกของพวกเขา ก็จะไม่เป็นผล เพราะไม่เป็นเรื่องยากที่จะแสดงให้เห็นว่า ละคอนที่แสดงที่ลานโพธินั้น คือละคอนสะท้อนการฆ่าแขวนคอช่างไฟฟ้าที่นครปฐมเท่านั้น ไม่มีเนื้อหาใดๆ เกี่ยวข้องกับราชวงศ์เลย ใบหน้าของผู้แสดงก็ไม่มีการตกแต่งให้เหมือนกับรัชทายาท อย่างที่มีการปล่อยข่าวแต่อย่างใด

ดังนั้น บรรดาผู้บงการขวาจัดจึงเร่งระดมอันธพาลการเมือง และกำลังติดอาวุธของรัฐบางส่วนที่พวกเขาควบคุมได้โดยตรง เข้าทำการปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่คืนวันที่ 5 และเริ่มโจมตีประปรายตั้งแต่กลางดึกคืนนั้น และโดยไม่รอให้ฟ้าสว่างในเช้าวันที่ 6 พวกเขาก็สั่งการให้กำลังเหล่านั้นทำการโจมตีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเต็มที่พร้อมเพรียงกัน สิ่งที่ตามมาคือ การฆ่าหมู่สยดสยองที่เหี้ยมโหดที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่
.........................
ใครๆ ก็ควรจะนึกว่า หลังจากการฆ่าหมู่นั้นผ่านไป 30 ปี การปลุมระดมโดยข้ออ้างว่า ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ต้องเป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นอีก. แต่ในระยะ 2 ปีเศษที่ผ่านมา นสพ.-วิทยุ-โทรทัศน์ ของกลุ่มผู้จัดการ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รื้อฟื้นการใช้ข้ออ้างทางการเมืองนี้ มาเล่นงานผู้ที่พวกเขาไม่เห็นด้วยอีก

ตั้งแต่ต้น พวกเขากุเรื่องว่า มีคนจะล่วงละเมิด "พระราชอำนาจ" ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้พวกเขาต้องประกาศว่า "เราจะสู้เพื่อในหลวง". การรณรงค์นี้ยกระดับความเข้มข้นและความหลอกลวงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (พฤษภาคม 2549) ได้มีการสร้างนิทานหลอกเด็กเรื่อง "ปฏิญญาฟินแลนด์" ขึ้น แต่ขอให้สังเกตว่า เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ในตอนนั้น พวกเขายังไม่กล้าถึงขั้นกล่าวหาคู่ต่อสู้ทางการเมืองตรงๆ ว่า ต้องการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ เพียงแต่ใช้คำที่ฟังดูขึงขังน่ากลัวนี้ มาขู่โดยนัยยะ

สิ่งที่พวกเขาเสนอในขณะนั้น คือ มีผู้กำลังทำให้สถาบันกษัตริย์เป็น"เพียงสัญลักษณ์" อันทีจริง เรื่องนี้เป็นเรื่องยกเมฆ แต่ทีตลกคือ ในโลกยุคปัจจุบัน การเป็น"สัญลักษณ์" ของประชาชาติหนี่งที่มีคน 60 กว่าล้าน ยังถือเป็นเรื่อง "หมิ่น" หรือ? การเป็น "สัญลักษณ์" ของคน 60 กว่าล้าน จะเป็นเรื่องเลวร้ายได้อย่างไร? ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังพูดราวกับว่า เรากำลังอยู่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การพูดเรื่องการเป็น "เพียงสัญลักษณ์" ของพระมหากษัตริย์กลายเป็นเรื่อง "หมิ่น" ขึ้นมาทันที

เรื่องยกเมฆที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการนี้ ที่ยังต้องรักษา "ความน่าเชื่อ" บางอย่างภายนอกไว้ ได้รับการประสานกับเรื่องยกเมฆทีเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ที่มีลักษณะโกหกแบบสุดๆ เพราะไม่ต้องห่วงเรื่องการตรวจสอบใดๆ ทีหวังว่า ด้วยการเผยแพร่ซ้ำๆ ทางอีเมล์ จะทำให้คนเริ่มเชื่อขึ้นบ้าง อย่างกรณีปล่อยข่าวว่ามีศูนย์บัญชาการคอมพิวเตอร์ในทำเนียบรัฐบาล เผยแพร่ข้อมูลหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบดาวเทียม เป็นต้น
.........................
แต่การโฆษณาชวนเชื่อเรื่อง "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ของกลุ่มผู้จัดการ-พันธมิตร ในปี 2549 เมื่อเทียบกับปีนี้แล้ว ก็ยังไม่เทียบเท่าในระดับความโกหก และความเป็นไปได้ทีจะนำมาซึ่งผลเสียหายร้ายแรง. ปีนี้ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้เขียนในผู้จัดการว่า มี "ผู้ต้องการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ" (ขณะที่ในช่วงก่อกระแส "ปฏิญญาฟินแลนด์" เขายังไม่กล้า "ฟันธง" ลงไปเช่นนี้)

การเคลื่อนไหวปลุกกระแส "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ของผู้จัดการ-พันธมิตร ได้ถึงขั้นที่เรียกว่า absurd (ไร้เหตุผลถึงขั้นน่าหัวร่อ) และ paranoid (โรคหวาดระแวง) ที่การเขียนถ้อยคำบนผ้าสีธงชาติ ที่มีกำเนิดจากวงการเชียร์กีฬาร่วมสมัย และได้กลายเป็นเรื่องที่ทำกันปกติ แม้แต่ในประเทศไทยเอง (ดังที่มีคนเอาภาพการชุมนุมของพันธมิตรเองมาแสดงให้เห็นว่า ผู้ร่วมชุมนุมบางคนก็ทำกัน) นี่เป็นส่วนหนี่งของวัฒนธรรมสมัยใหม่ ที่ทุกคนเห็นเป็นเรื่องปกติไปนานแล้ว

แต่กลุ่มผู้จัดการ-พันธมิตร ได้ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหา "ความมั่นคงของประเทศ" ที่ถึงขั้นต้องหาคนผิดมาดำเนินคดีข้ามประเทศ! คนเหล่านี้ ไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย. ระดับความบ้าคลั่งในการก่อกระส "ละคอนแขวนคอ"ยุคใหม่ ของคนกลุ่มนี้ ได้ถึงจุดที่อันตรายอย่างยิ่ง

เมื่อคืนวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ในรายการ Metro Life ของวิทยุผู้จัดการ หนึ่งในโฆษกของรายการ ถึงกับพูดว่า ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ระหว่างพวกขวาจัดที่ฆ่าหมู่นักศึกษา กับนักศึกษาที่ถูกฆ่าหมู่อย่างสยดสยองนั้น "ใครผิดกันแน่" บอกไม่ได้ ("มีคำถาม") เท่ากับว่า การฆ่าหมู่คนเช่นนั้น ก็สามารถเป็นเรื่อง "ถูกต้อง" ได้!! นอกจากนั้น พวกเขายังพูดเป็นนัยยะว่า เหตุการณ์อย่าง 6 ตุลา อาจจะจำเป็น เพราะถ้าไม่มีเหตุการณ์แบบ 6 ตุลา ประเทศไทยก็อาจจะไม่เป็นปกติสุขแบบในปัจจุบัน อาจจะเต็มไปด้วยคนที่ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"!!

"ถ้าวันนั้นเราไม่มีเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ไม่มีเหตุการณ์ ขวาพิฆาตซ้าย บ้านเมืองมันจะเป็นอย่างที่เรารู้จักหรือเปล่า ถ้าเรามีคนอย่างโชติศักดิ์จำนวนมากอยู่ในสังคม..." นั่นคือ ถ้าปล่อยไว้ ไม่ทำการฆ่าหมู่เมื่อ 6 ตุลา ก็จะมี "คนอย่างโชติศักดิ์จำนวนมากอยู่ในสังคม" ทุกวันนี้

นี่คืออะไรถ้าไม่ใช่การสร้างความชอบธรรมให้กับการฆ่าหมู่อย่างกระหายเลือด?

ในรายการวิทยุเดียวกัน ในคืนวันที่ 30 เมษายน โฆษกของรายการถึงขั้นชี้แนะว่า ถ้าใครลงมือใช้ความรุนแรงทำร้ายโชติศักดิ์ ถ้าทำให้หัวแตก ตามกฎหมาย คนลงมือทำร้ายนั้นก็จะถูกลงโทษปรับแค่ 500 บาทเท่านั้น! และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังบางคนโทรศัพท์เข้ามาเสนอวิธีทำร้ายร่างกายโชติศักดิ์ มีผู้ฟังคนหนึ่งสนองรับด้วยการโทรศัพท์มาเสนอว่า ให้ใช้วิธี "ชกหน้า โดยกำถ่ายไฟฉายก้อนไว้ในมือ"!! ผมขอเรียกร้องให้ร่วมกันประณามการเป็น "ดาวสยาม-ยานเกราะ" ยุคใหม่ ของกลุ่มผู้จัดการ-พันธมิตร. กลุ่มผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังผลักดันให้สังคมไทยถอยหลังเข้าคลอง ย้อนยุคไปกว่า 30 ปี

ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ต้องจัดการด้วยการอภิปราย โต้แย้ง อย่างใช้เหตุผล ไม่ใช่ปลุกปั่น โดยอ้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อนำไปสู่การใช้ความรุนแรงจัดการกับผู้มีความเห็นแตกต่างกับตนอย่างที่กลุ่มผู้จัดการ-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กำลังทำอยู่

๑๓. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ - อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์: จดหมายถึงผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ
(รับมาจากอีเมล์นักข่าว และเผยแพร่ต่อบนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 7984)
http://midnightuniv.tumrai.com/forum/index.php/topic,7984.0.html

5 พฤษภาคม 2551
เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนที่เคารพ

ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน

ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติ ตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ
หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง

คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้

1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง
2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด
3. ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น
หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย

สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่างๆ

เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิดๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง

ในขณะที่เสรีภาพของสื่อต้องได้รับการปกป้อง สังคมไทยต้องไม่ปล่อยให้สื่อใช้อำนาจของตนอย่างฉ้อฉล จนอาจนำไปสู่ความรุนแรง ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนควรจัดการดูแลปัญหา "สื่อเป็นพิษ" อันน่าวิตกนี้โดยด่วนที่สุด ทั้งควรให้สาธารณชนมีส่วนร่วมด้วย โดยที่รัฐบาลไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้แต่อย่างใด

ขอแสดงความนับถือ
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๔. กระจก ส่อง "สื่อ" กระจก ส่อง สังคมไทย จาก 2 นักวิชาการ
คอลัมน์ วิภาคแห่งวิพากษ์
(ที่มา นสพ.มติชน 7-5-51, และเผยแพร่ต่อบนกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 8020)
http://midnightuniv.tumrai.com/forum/index.php/topic,8020.0.html

จดหมายเปิดผนึกจาก นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจไม่ได้รับการสนองตอบจาก "สื่อมวลชน" เท่าใดนัก. เท่าที่ตรวจสอบอย่างคร่าวๆ มีสื่อภาษาไทยเพียง 2 ฉบับที่นำเสนอ คือ มติชน กับ ไทยโพสต์. กระนั้น ก็มิได้หมายความว่าการส่งสารมายังสื่อจะไม่มีความหมาย

ตรงกันข้าม เนื้อหาภายในจดหมายเปิดผนึกของทั้งสองมีความน่าสนใจ ขณะเดียวกัน ภูมิหลังที่เป็นนักวิชาการสันติวิธีของทั้งสองก็ไม่ควรมองข้าม เพราะว่าคนแรกสอนทางด้านรัฐศาสตร์ คนหลังสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ รายละเอียดที่อยู่ในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชน มีดังนี้

ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติ ตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อ และเวทีวิชาการ หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านี้ไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง

คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อ และสื่อที่ไม่รับผิดชอบ กำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้

(1) สร้างความโกรธแค้น เกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง
(2) โฆษณาชวนเชื่อเป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด
(3) ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณ 2 ประการข้างต้น
หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย

สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรมและความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่างๆ

เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือ สื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้วยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิดๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง

ในขณะที่เสรีภาพของสื่อต้องได้รับการปกป้อง สังคมไทยต้องไม่ปล่อยให้สื่อใช้อำนาจของตนอย่างฉ้อฉลจนอาจนำไปสู่ความรุนแรง ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนควรจัดการดูแลปัญหา "สื่อเป็นพิษ" อันน่าวิตกนี้โดยด่วนที่สุด ทั้งควรให้สาธารณชนมีส่วนร่วมด้วย โดยที่รัฐบาลไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้แต่อย่างใด

ผู้ที่ติดตามบทบาทของทั้ง นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ รับประกันได้ รับประกันได้ในความสุจริตใจ ไม่ว่าต่อวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ว่าต่อพัฒนาการแห่งระบอบประชาธิปไตย ข้อสังเกต ข้อเสนอ จากทั้งสองจึงสมควรนำมาพิจารณาอย่างเป็นพิเศษ

http://www.prachatai.com/05web/th/home/12078
ชัยวัฒน์- อุบลรัตน์ ส่ง จม.เปิดผนึกถึงสื่อ- องค์กรสื่อ หยุดคุกคามความคิดที่แตกต่าง - โพสท์ 5/5/2551 / ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. และอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อและองค์กรสื่อ เรียกร้องหยุดพฤติกรรมยั่วยุ ปลุกปั่น โฆษณาชวนเชื่อ เรียกร้องรักษามาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดต่อหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป ที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่างๆ

http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&iDate=6/May/2551&news_id=158147&cat_id=501
6 พฤษภาคม 2551 กองบรรณาธิการ / สองนักวิชาการโผล่ออกแถลงการณ์ติง "สื่อเป็นพิษ" กำลังพาสังคมไทยขับเคลื่อนไปสู่อันตราย แต่ไม่ชี้ชัดหรือระบุอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นสื่อสำนักไหน ประเภทใด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=29824&catid=1
นักวิชาการขอให้'สื่อ'เคร่งจรรยาบรรณ

http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=88613
2 นักวิชาการกังวลสื่อเป็นพิษ- แนะเร่งจัดการกันเอง [5 พ.ค. 51 - 15:53]

Don't use media to fan violence, academics warn in open letter
By The Nation / Published on May 6, 2008
http://www.nationmultimedia.com/2008/05/06/politics/politics_30072321.php

๑๕. Silence of the lamp: หมาเฝ้าบ้าน - อุดมการณ์สื่อ?
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
http://www.prachatai.com/05web/th/home/12090

หัวข้ออภิปรายน่าสนใจของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ในวันนักเขียน 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมาคือเรื่อง "หมาเฝ้าบ้าน: อุดมการณ์หนังสือพิมพ์"? ผู้ที่ร่วมอภิปรายในวันนั้นคือ คุณ อัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่, คุณ บุญเลิศ คชายุทธเดช แห่ง มติชน, และผู้เขียน (นิธินันท์ ยอแสงรัตน์) โดยมีคุณภัทร จึงกานต์กุล พิธีกรข่าวทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นผู้ดำเนินรายการ

หัวข้อหมาเฝ้าบ้านที่สมาคมนักเขียนกำหนดให้พูด มีเครื่องหมายคำถาม คล้ายยังสงสัยว่าหมาเฝ้าบ้านเป็นอุดมการณ์หนังสือพิมพ์ตามที่ผู้รับรางวัลศรีบูรพาปีนี้ คือคุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวไว้ จริงหรือ?. ข้อเขียนชิ้นนี้ เป็นบทร่างสำหรับการเข้าร่วมอภิปรายดังกล่าว

โดยทั่วไป สื่อมักอธิบายบทบาทของสื่อในฐานะ "หมาเฝ้าบ้าน" หรือ "watchdog: a dog who provides protection by watching for or guarding against intruders" ว่าเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ ที่อาจเป็นภัยต่อประชาชน เหมือนหมาที่คอยเห่า เตือน ระแวดระวังภัยให้เจ้าของบ้าน ซึ่งฟังดูเป็นหน้าที่สำคัญมาก แม้ว่าหน้าที่หมาเฝ้าบ้านจะเป็นเพียงภารกิจหนึ่งในหลายภารกิจของสื่อสารมวลชน ที่ต่างมีความสำคัญทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "การทำความจริงให้ปรากฎ"

คนที่มองสื่อในฐานะหมาเฝ้าบ้านมักถามว่า หมาเอาอะไรมาประเมินว่าใครคือ intruders ที่ต้องเห่าและกัด ซึ่งหมาคงบอกว่าตอบง่ายมากในแง่คำตอบพึงประสงค์ นั่นคือเห่าและกัดคนเลว แต่คำถามนี้ตอบยากกว่ามาก เมื่อลงรายละเอียดซึ่งจะมีคำถามซ้อนคำถาม. โดยหลักการแล้ว การทำหน้าที่ watchdog ของสื่อ คือการตรวจสอบอำนาจรัฐว่า ได้ใช้ไปอย่างยุติธรรมเพื่อประโยชน์ของชุมชน หรือของพลเมืองทั้งหมดของประเทศ หรือไม่และ อย่างไร? เพราะไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มใหญ่ มีผลประโยชน์ต้องกันหรือขัดกันอย่างไร ทุกคนและทุกฝ่ายต้องได้รับความยุติธรรมอันพึงมีพึงได้จากรัฐ

การตรวจสอบการทำงานของรัฐ มิให้ผู้ใช้อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากรัฐ เป็นงานของทุกคนที่อยู่นอกอำนาจรัฐ กล่าวคือ เป็นงานภาคพลเมือง มิใช่หน้าที่ของสื่อสารมวลชนตามลำพัง แต่สื่อสารมวลชนได้รับการคาดหวังว่า ควรทำหน้าที่นี้ได้เข้มแข็งกว่า เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ถือครองอำนาจสะดวกกว่านั่นเอง. สิ่งที่จะเป็นปัญหากับสื่อมวลชนหรือหมาเฝ้าบ้านผู้ตรวจสอบ ก็คือเมื่อคนในบ้านรู้สึกว่า หมาเฝ้าบ้านเห่าและไล่กัดจนมั่ว กระทั่งเห็นคนในบ้านเป็นศัตรูผู้รุกราน

หมาบางตัวอาจเห่าสิ่งที่สมควรเห่าจริง 1 ส่วน แล้วเห่าจินตนาการที่เกิดจากความหวาดกลัวของตัวเองอีก 9 ส่วน หรือหมาบางตัวที่ตัดสินไปแล้วตามอำเภอใจว่า คนในบ้านบางคนเป็นโจร อาจเห่าจริง 1 ส่วน แล้วเห่าลวง 9 ส่วน เพื่อให้คนในบ้านที่หมาตัดสินว่าเป็นโจรย่ามใจออกมาเดินนอกบ้านให้หมางับคอหอย. พูดแบบภาษาคน (ที่ไม่ต้องเปรียบเทียบตัวเองว่าเป็นหมากำลังเห่า) ก็คือ ณ เวลานี้นอกจากสื่อที่แสดงพฤติกรรมเป็นคำถามว่า กำลังทำงานการเมืองเพื่อกำจัดคู่แข่งใช่หรือไม่ จึงสามารถทำทุกอย่างโดยไม่กำจัดรูปแบบ เพื่อทำลายล้างคนคิดต่างให้สิ้นซาก

คนทำสื่อทั่วไปก็ยังเข้าร่วมขบวนการกำจัดมนุษย์คิดต่างด้วย เพราะเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่ากำลังปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์ความดีและความถูกต้อง ซึ่งต้องรับผิดชอบขจัดความเลวให้หมดไปจากโลก ในเรื่องทั่วไปที่ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง ผู้พิทักษ์ความดีและความถูกต้องก็มักอ้างสิทธิของผู้มีความรู้ดีและมีศีลธรรมดี (ซึ่งไม่จริงเสมอไป) ตัดสินบุคคลในข่าว ว่า เป็นคนผิด คนเลว ตามทัศนคติของตน นินทาว่าร้ายบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะที่อ้างว่าเป็นบุคคลสาธารณะ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกับคำพูดและข้อเขียนที่นำเสนอ

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้เมื่อคนจำนวนไม่น้อยกล่าวว่า อันที่จริงแล้วสื่อไม่เคยสนใจประชาชนอย่างจริงจัง เพราะประเด็นเสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพของประชาชนนั้น เมื่อเอาเข้าจริงแล้ว ก็คล้ายกับสื่อต้องการเสรีภาพ เพียงเพื่อโอกาสกล่าวหาใส่ร้ายคนอื่นอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น

เมื่อเชื่อในเรื่องการผูกขาดเป็นผู้พิทักษ์ความดีและความถูกต้อง คนทำสื่อจำนวนมากก็เชื่ออย่างจริงใจและภาคภูมิใจว่า พวกเขากำลังทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้านที่ส่งเสียงเห่าเตือนภัยเจ้าของบ้าน ไม่ให้ "คนอื่น" ซึ่งเป็นคนผิดและเลว มาบุกรุกทำลายบ้าน ซึ่งนับว่าเข้าทางคนที่รู้วิธีใช้สื่อเป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูพอดี. ทัศนะที่มองว่า "คนอื่น" ซึ่งไม่ใช่เราผิดและเลว สนับสนุนให้มอง "คนคิดต่าง" เป็นอื่นเสมอ ผิดเสมอ เลวเสมอ กล่าวให้ชัดคือ เป็นศัตรูตัวฉกาจที่กำลังคุกคามบ้านของเรา คุกคามการดำรงอยู่ของเรา คุกคามชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของเรา เป็นภาพศัตรูที่สร้างขึ้นจากความทรงจำในแบบเรียนประวัติศาสตร์ฉบับนกแก้วนกขุนทองเรื่องสงครามเสียกรุงฯ

คนทำสื่อที่มองโลกแบบยึดติดกับกรอบเดิมกรอบเดียว ย่อมไม่สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลก เช่นเดียวกับคนรับสาร ซึ่งหากรับความคิดความเชื่อจากสื่อแบบเดิมแบบเดียวทุกวัน ก็ย่อมติดอยู่ในกรอบความรู้ความคิดแบบเดิมแบบเดียวของสื่อ มีแต่ความกังวลเรื่องคนขายชาติกำลังบ่อนทำลายชาติให้ล่มจม หรือมีแต่ความรู้สึกเคียดแค้นคนขายชาติ ต้องจับมันมาลงโทษประจานให้หายแค้น ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาชุมชนของเรา สังคมของเรา หรือประเทศของเรา เพราะเราเป็นเพียงคนเล็กคนน้อยด้อยค่าที่ปราศจากตัวตน ชาติที่ยิ่งใหญ่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเราเท่านั้นมีตัวตนและอนุญาตให้เรามีชีวิต แต่เรากำลังจะเป็นคนไร้ชีวิตและไร้แผ่นดิน เพราะชาติของเรากำลังถูกคนขายชาติบ่อนทำลาย

อันที่จริง ความคิดของสื่อที่ว่าตนเป็นหมาเฝ้าบ้าน หรือเป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรมที่ยิ่งใหญ่นั้น ถือเป็นเรื่องดีและเป็นจุดแข็งของสื่อ แต่จุดแข็งดังกล่าว สามารถกลายเป็นจุดอ่อนที่อันตรายต่อสังคมได้ หากสื่อตีความว่า ในโลกนี้มีแต่ตนเท่านั้นคือคนดีผู้พิทักษ์ความดี ดังนั้น อะไรก็ตาม ที่สื่อเห็นว่าไม่ดีย่อมเป็นของเลวต้องกำจัด เพราะผู้พิทักษ์ความดีจะปล่อยให้ความเลวมีชัยชนะไม่ได้. คำถามคือ คนทำสื่อรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งกว่าคนอื่นๆ หรือ?

เป็นความจริงหรือว่าสื่อ "เลือกถูก" ทุกครั้ง แม้ในกรณีทั่วไปที่ไม่ใช่กรณีการเมือง เช่น กรณีหมอกับคนไข้ ที่สื่อมักเลือกเชื่อและเลือกเผยแพร่ความเชื่อว่าคนเป็นหมอชุ่ย เห็นแก่เงิน เพราะถ้าไม่ชุ่ย ไม่เห็นแก่เงิน คนไข้ที่เข้ารับการรักษาต้องหายดีเสมอ ดังนั้น เมื่อมีคนไข้ตาย หมอจึงสมควรติดคุก ก่อนจะเลือกเชื่อ และส่งเสียงเตือนประชาชนในเรื่องต่างๆ. สื่อได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่สื่อส่งเสียงเตือนหรือไม่ และอย่างไร? ในกรณีหมอกับคนไข้ก็คือ ก่อนจะสรุปว่าหมอชุ่ย สื่อหรือหมาเฝ้าบ้านตัวนั้นมีความรู้ความเข้าใจ หรือพยายามแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ และการรักษาโรคภัยไข้เจ็บบ้างหรือไม่ อย่างไร?

ความตื่นตูม รีบร้อนเห่าด้วยความภาคภูมิใจของสื่อว่า ฉันคือหมาเฝ้าบ้านผู้ซื่อสัตย์นั้น บ่อยครั้ง ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น หรือไม่ได้ทำให้สังคมมีสติ หรือฉลาดขึ้น ในหลายกรณี เลวร้ายลง โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่นในกรณีสามจังหวัดภาคใต้ และที่เป็นข่าวกันอยู่ตอนนี้ ซึ่งมีการดึงสถาบันมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง สื่อฉลาดและรู้ดีกว่าประชาชนทุกคนหรือ? รู้และเข้าใจศาสตร์ทุกศาสตร์ในโลกอย่างถ่องแท้หรือ? จึงมั่นใจว่าตนสมควรเป็นผู้เลือกและตัดสินดีชั่วถูกผิด แทนประชาชนไปเสียทุกเรื่อง

ถ้าอ้างว่า สื่อพูดหรือเขียนตามเสียง "ประชาชนส่วนใหญ่" หรือตามเสียงแห่ง "คุณธรรมอันดีงาม" ซึ่งถูกต้องเสมอ

คำถามคือ ใครคือประชาชนส่วนใหญ่ ใครคือประชาชนส่วนน้อย สื่อใช้มาตรฐานใดตัดสินว่าสื่อกำลังพูดหรือเขียนตามเสียงประชาชนส่วนใหญ่ สื่อมีความเห็นอย่างไรกับเสียงของประชาชนส่วนน้อย ละเลย ไม่รับฟัง หรือดูถูกเหยียดหยาม ?

คำถามคือ อะไรคือคุณธรรมอันดีงาม และคุณธรรมอันดีงามนั้นกำหนดโดยใคร สื่อใช้มาตรฐานใดมาวัดว่า เสียงใดเป็นเสียงของความดีที่ต้องรับฟัง เสียงใดเป็นเสียงของความเลวที่ไม่ต้องรับฟัง สื่อใช้มาตรฐานใดวัดความดีเลว?

ถ้าด้วยมาตรฐานทางศีลธรรม คำถามคือ สื่อใช้มาตรฐานเดียวกันในทุกกรณีและทุกวาระหรือไม่ หรือใช้อย่างเข้มข้นเป็นบางกรณี เป็นบางวาระ ตามโอกาสการเลือกข้าง. จริงหรือว่าข้างที่สื่อเลือกได้ชื่อว่ามีศีลธรรมเสมอ? จริงหรือว่าข้างที่สื่อเลือกไม่เคยมีปัญหาศีลธรรมในภาคปฏิบัติ? จริงหรือว่าคนดีที่สื่อเลือกไม่เคยทำผิดในทำนองเดียวกับคนเลวที่สื่อไม่เลือก?

คำถามคือ เมื่อสื่ออ้างความเป็นหมาเฝ้าบ้าน เลือกและตัดสินแทนประชาชนว่าต้องเห่าและไล่งับคนที่เราเชื่อว่ามันเป็นศัตรูของประชาชนนั้น สื่อแน่ใจหรือไม่ว่า สื่อได้นำเสนอมุมมองต่างๆ จากรอบด้าน โดยมิได้ละทิ้งข้อมูลใดๆ ซึ่งจงใจไม่เห็น หรือไม่เห็นโดยสุจริต เพราะใจไม่เปิดรับ ด้วยสรุปไปแล้วว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เลวแน่นอน เพราะมาจากฟากคนเลว ส่วนสิ่งนั้นสิ่งนี้ดีแน่นอน เพราะมาจากฟากคนดี

หมาเฝ้าบ้านหรือผู้พิทักษ์ความยุติธรรมที่ผูกขาดความดีและความยุติธรรมไว้กับตัวเอง ควรระวังว่า เราอาจมีส่วนบิดเบือนความจริง หรือปกปิดความจริงจากสายตาเจ้าของบ้าน หรือผู้รับสาร. เพราะอะไร? เพราะความจริงคือไม่มีมนุษย์คนใดสมบูรณ์แบบ ไม่มีมนุษย์คนใดดีสมบูรณ์แบบ ไม่มีมนุษย์คนใดเลวสมบูรณ์แบบ. นี่คือโลกของความจริง ไม่ใช่โลกสีดำขาว ไม่ใช่โลกของเทพกับมาร ไม่ใช่โลกในนิทานนางฟ้า ไม่ใช่โลกของซูเปอร์แมน. นี่คือโลกของความจริง

บ้านที่สื่อในฐานะหมาเฝ้าบ้านต้องระแวดระวังนั้น ไม่ใช่บ้านที่มีเจ้าของคนเดียว แต่เป็นบ้านของประชาชนทั้งหมด ปัจจุบันนี้คือกว่า 60 ล้านคน ประชาชนทุกคนมิได้คิดเหมือนกัน มิได้มีความต้องการเหมือนกัน ส่วนผู้มีอำนาจทางการเมืองนั้นเล่า ก็หลากพวกหลายฝ่าย ทั้งที่แสดงตนเป็นนักการเมืองโดยตรงและมิได้แสดง แล้วหมาเฝ้าบ้านจะเลือกระแวดระวังภัยให้ประชาชนกลุ่มไหน. คำกล่าวอ้างว่า "เพื่อประชาชน" เป็นคำพูดต่อๆ กันมาที่ฟังดูยิ่งใหญ่ ใครๆ ที่ได้ชื่อหรืออ้างตนเป็นคนดีล้วนพูดถึง"เพื่อประชาชน" แต่ใครเคยคิดอย่างจริงจังบ้างว่า ประชาชนหมายถึงอะไร?

ถ้าหมาเฝ้าบ้านรักประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงตามคำกล่าวอ้าง ย่อมไม่สมควรทำให้ประชาชนเสียหาย. การสนับสนุนยั่วยุให้ประชาชนเกลียดกันและฆ่ากัน เป็นความเสียหาย หรือไม่ใช่ความเสียหาย? การทำลายโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามธรรมชาติของมันเช่นนั้น ก่อนหน้า "การเลือก" ของหมาเฝ้าบ้าน ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ปะปนด้วยอคติ คือความชื่นชมจนอาจเกินจริงและมองข้ามความผิดพลาด ในสิ่งที่หมาเฝ้าบ้านเชื่อว่าดี หรือรังเกียจจนอาจเกินจริงและเพิ่มเติมความผิดพลาดมากเกินจริงในสิ่งที่หมาเฝ้าบ้านเชื่อว่าเลว เป็นความเสียหาย หรือไม่ใช่ความเสียหาย?

ธรรมชาติของมนุษย์นั้น บังคับจิตใจกันไม่ได้ มีคนชอบสิ่งนั้นและสิ่งนี้ เชื่อสิ่งนั้นและสิ่งนี้ เมื่อหมาเฝ้าบ้านเลือกข้างทางการเมือง โดยไม่เข้าใจธรรมชาติของการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งฝ่ายตรงข้ามกันต้องทำลายอีกฝ่าย โดยต่างฝ่ายต่างดึงประชาชน มาเป็นพวก หรือให้มาตายแทนในสนามรบ หมาเฝ้าบ้านอาจกลายเป็นเพียงเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางการเมือง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กลายเป็นหมาที่ยั่วยุให้ประชาชนลุกขึ้นมาฆ่ากัน โดยมีหมาช่วยงับคอหอยประชาชนฝ่ายตรงข้ามกับหมาด้วย เพราะหมาสรุปแล้วว่า ไอ้พวกนั้นมันเป็นศัตรูประชาชน ไอ้พวกนั้น (ซึ่งแม้ว่าทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะเป็นเจ้าของบ้านร่วมกันกับประชาชนฝ่ายหมา) จึงไม่ใช่ประชาชน งับคอหอยมันได้

บางทีถ้าสื่อจะเลิกคิดผูกขาดความเป็นหมาเฝ้าบ้าน หรือเลิกคิดว่า ตนเป็นเพียงผู้เดียวที่พิทักษ์ความถูกต้องและความดีงามของโลกเสียบ้างคงเข้าที เพราะมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อุดมการณ์ที่สื่อควรจะมีอย่างที่สุด คือมุ่งมั่นที่จะรายงานข้อเท็จจริงและนำเสนอความเห็นอันรอบด้านแก่สาธารณะ เพื่อจรรโลงบรรยากาศประชาธิปไตย มิใช่สร้างหรือส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง เว้นเสียแต่สังคมไทยจะไม่ใช่ประชาธิปไตย และไม่ปรารถนาประชาธิปไตย

สังคมประชาธิปไตยยอมรับความเห็นต่าง และสนับสนุนให้มีการโต้เถียงแลกเปลี่ยนความเห็นโดยไม่ต้องฆ่ากัน หรือชี้หน้าว่าฝ่ายคิดต่างเป็นศัตรูของชาติ ด้วยข้ออ้าง "ชั่ว ไร้ศีลธรรม" แม้ว่าฝ่ายที่ชี้หน้าด่าเขาก็มีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน

เราไม่สามารถห้ามคนทำสื่อไม่ให้เลือกข้าง และในฐานะมนุษย์ แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เลือกข้างตามความเชื่อของเรา เพราะต่อให้เราไม่เลือกสองข้างที่กำลังสู้กัน เราก็เลือกข้างที่สามซึ่งเป็นทางของเราอยู่ดี. ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อทำหน้าที่สื่อที่ต้อง "รับผิดชอบ" กับการนำเสนอความจริง คนทำสื่อต้องถอนหรือพยายามถอนอารมณ์จากการเลือกข้าง ที่เรียกว่าทำอารมณ์เป็นกลาง หรือทางพุทธคืออารมณ์อุเบกขา เพื่อสามารถทำความจริงให้ปรากฏ

ไม่ใช่เลือกว่า ก. ดี เมื่อเสนอข่าวหรือความเห็นเกี่ยวกับ ก. จึงมีแต่ความดีของ ก. ส่วน ข. เลว ดังนั้น อะไรที่เกี่ยวกับ ข. ก็เลวหมด เพราะไม่มีอารมณ์อุเบกขา สามารถมองทั้ง ก. และ ข. ตามที่เป็นจริงหรือตั้งความเชื่อไว้ว่า ใครมีอุดมคติทางการเมืองต่างจากพวกเราซึ่งเป็นพวกคนดี แปลว่าพวกมันเลว เห็นแก่เงิน เมื่อพวกมันคัดค้านเรา จึงแปลว่าพวกมันรับเงินฝ่ายตรงข้ามมาคัดค้านเรา ไม่ได้มองตามความเป็นจริงว่า คนคิดต่างกันได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งหรือเงินสั่ง และไม่ได้มองตามความเป็นจริงว่า บางครั้งเราเองก็เห็นแก่เงินในรูปแบบอื่นๆ เหมือนกัน หรือบางครั้งเราเองก็อ่อนข้อให้กับระบบทุนนิยมบริโภคนิยมเหมือนกัน ดังนั้น แทนที่จะมัวแต่ด่าคนอื่น เราก็ควรตรวจสอบตัวเองด้วย

ความจริง อุดมการณ์ ที่สื่อควรตระหนักและปฏิบัติตามมีอยู่ในข้อบังคับจริยธรรมสื่อ แต่บางทีคงเพราะมันเป็นอุดมการณ์ที่เหมือนจับต้องไม่ได้ นอกจากเอาไว้คุยอวดกันว่าอาชีพของฉันมีอุดมการณ์ยิ่งใหญ่ คนทำสื่อหลายคนจึงไม่ได้สนใจ หรือไม่เคยทำความเข้าใจมันอย่างจริงจัง ทายใจคุณกุหลาบ (สายประดิษฐ์)ไม่ได้ว่า หากท่านมีชีวิตอยู่ในวันนี้ ท่านจะมองสื่ออย่างไร? แต่เชื่อว่า ด้วยความเป็นสุภาพบุรุษ นักอ่าน นักคิดของคุณกุหลาบ ท่านคงไม่เห็นด้วยกับการที่สื่อมิได้ทำหน้าที่เตือนสติสังคม และสนับสนุนส่งเสริมบรรยากาศตลอดจนคุณค่าประชาธิปไตย

หน้าที่หมาเฝ้าบ้านตามหลักการหมาเฝ้าบ้านนั้นดี แต่หมาที่หลงผิดว่าตัวเองสามารถตัดสินใจทุกประการแทนเจ้าของบ้าน แล้วเห่ายั่วยุให้คนในบ้านเกลียดกันและฆ่ากันเอง ถือว่าเข้าขั้นป่วย สมควรได้รับการเยียวยา

คลิกไปอ่านต่อบทความต่อเนื่องตอนที่ ๓

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 15 May 2008 : Copyleft by MNU.
สื่อมวลชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตยคือ สื่อที่ทำหน้าที่เพื่อจรรโลงบรรยากาศและคุณค่าประชาธิปไตยเหล่านี้ให้ดำรงอยู่ ฉะนั้น สื่อต้องไม่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนอื่น ไม่วางยาพิษให้กับสังคมด้วยการแพร่กระจายสารเกี่ยวกับความเกลียดชัง ปฏิเสธการให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงและไม่ชี้นำให้เกิดความรุนแรงเสียเอง น่าเสีย ดายและน่าเสียใจว่าสื่อรวันดาทำทุกอย่างตรงกันข้ามกับบทบาทที่สื่อที่ดีควรจะทำ ราคาของมันคือ ชีวิตของคนบริสุทธิ์ 500, 000 คน ที่ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ บวกกับความโกรธ ความเกลียด และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระหว่างชาว"ทุตซี่"กับชาว"ฮูตู" ที่ดำรงอยู่ในสังคมรวันดาสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
(คลื่นแห่งความเกลียดชัง: สื่อกับความรุนแรง / ประจักษ์ ก้องกีรติ)
H
บทเรียนจากรวันดา
เกี่ยวกับบทเรียนจากประเทศรวันดาคือ สื่อในสังคมไหนๆ ก็สามารถเป็นอาวุธอันทรงประสิทธิภาพในการก่อความรุนแรงได้ เมื่อใดก็ตามที่มันยุติการทำหน้าที่ของการเป็นผู้รายงานข้อเท็จจริง และนำเสนอความเห็นอันรอบด้านแก่สาธารณะ และแปลงตัวเองไปเล่นบทกระบอกเสียงของความเกลียดชัง

เราควรเข้าใจว่าในสังคมประชาธิปไตยใดก็ตาม ความเห็นต่างทางการเมือง ความแตกต่างของอัตลักษณ์ กระทั่งความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นเรื่องปกติของชีวิตทางสังคม ข้อดีของสังคมประชาธิปไตยคือ การอนุญาตให้เราถกเถียงกัน เห็นต่างกันได้อย่างสันติ โดยไม่ตีหัวกันหรือฆ่ากันเพื่อเอาชนะทางการเมือง เปิดโอกาสให้เราเรียนรู้จากกันและกัน เและคารพซึ่งกันและกัน ไม่เห็นอีกฝ่ายหนึ่งเป็นยักษ์มาร ผีสาง หรือแมลงสาบ