ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



21-03-2551 (1514)

การแปรรูปการศึกษา: ปฏิรูปการศึกษาฉบับไม่เอื้ออาทร
Privatizing Education: มหาวิทยาลัย 'แมคโดนัลดานุวัตร'
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ประเด็นโลกาภิวัตน์จากฐานล่าง (Globalization from below)

บทความเรียบเรียงต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นผลงานวิชาการที่เคยตีพิมพ์แล้วใน global report / ฉบับ ๐๑๕ หน้า ๔๒-๔๖
ชื่อเดิมของบทความ "ปฏิรูปการศึกษา ฉบับไม่เอื้ออาทร"

- โลกาภิวัตน์ แปรทุกอย่างให้เป็นสินค้า
- มนุษย์ในโลกใบเดียวกันมีเสรีภาพ
สองประโยคข้างต้น มักจะมาด้วยกัน แต่แท้ที่จริงนั้นแย้งกัน
ทำให้คำว่า 'เสรีภาพ' จำต้องมีวงเล็บใหญ่ๆ ต่อท้ายว่า
'ตราบเท่าที่คุณมีเงินมากพอ'. และเมื่อคำว่า 'ทุกอย่าง' มันได้รวมไปถึง 'การศึกษา'
ที่จะถูกแปรเป็นสินค้าด้วย วงจรอุบาทว์อันแสนคลาสสิก 'โง่-จน-เจ็บ' จึงปรากฏ
เป็นภาพในโลกยุคที่กำลังจะมาถึงว่า คนจนจะจนมากขึ้น คนรวยจะรวยมากขึ้น.
ผู้เรียบเรียงได้ถ่ายทอดเสียงสะท้อนจากนักวิชาการทั่วโลก ให้คนไทยในยุค
แปรรูปอุดมศึกษาได้ยินว่า "ขอจงอย่าเดินตามรอยเท้าที่ผิดพลาดของเรา"

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๑๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การแปรรูปการศึกษา: ปฏิรูปการศึกษาฉบับไม่เอื้ออาทร
Privatizing Education: มหาวิทยาลัย 'แมคโดนัลดานุวัตร'
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ประเด็นโลกาภิวัตน์จากฐานล่าง (Globalization from below)

ความนำ

- โลกาภิวัตน์แปรทุกอย่างให้เป็นสินค้า
- มนุษย์ในโลกใบเดียวกันมีเสรีภาพ

สองประโยคที่มักจะมาด้วยกัน แต่แท้ที่จริงนั้นแย้งกัน ทำให้คำว่า 'เสรีภาพ' จำต้องมีวงเล็บใหญ่ๆ ต่อท้ายว่า 'ตราบเท่าที่คุณมีเงินมากพอ'. และเมื่อคำว่า 'ทุกอย่าง' มันได้รวมไปถึง 'การศึกษา' ที่จะถูกแปรเป็นสินค้าด้วย วงจรอุบาทว์อันแสนคลาสสิก 'โง่-จน-เจ็บ' จึงปรากฏเป็นภาพในโลกยุคที่กำลังจะมาถึงว่า คนจนจะจนมากขึ้น คนรวยจะรวยมากขึ้น. กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ถ่ายทอดเสียงสะท้อนจากนักวิชาการทั่วโลกให้คนไทยในยุคแปรรูปอุดมศึกษาได้ยินว่า "ขอจงอย่าเดินตามรอยเท้าที่ผิดพลาดของเรา"

บางย่อหน้าจากบทความ

- ในอดีต อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำนวนมากได้แสดงวาทะท้วงติงนโยบายสาธารณะที่ไม่เหมาะสม เช่นในช่วงสงครามเวียดนาม ช่วงแมคคาร์ธีที่ไล่ล่าคอมมิวนิสต์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหลายคนกล่าวสุนทรพจน์กระตุ้นเตือนสังคม และให้กำลังใจการเคลื่อนไหวของประชาสังคม แต่ทุกวันนี้ ยากเหลือเกินที่จะเห็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยสักแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ออกมาโต้แย้ง คัดค้านนโยบายต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? บางส่วนอาจจะเป็นเพราะปัจจุบันมหาวิทยาลัยพึ่งพิงธุรกิจเอกชนอย่างมาก การจะพูดหรือทำอะไรที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ธุรกิจ หรือพูดเพื่อฉุดรั้งผู้มีอำนาจ จึงเป็นไปไม่ได้เลย"

- ฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถานที่สำหรับคนรวยส่วนบนของสังคมเท่านั้น ไม่มีทางที่คนอเมริกันจนๆ จะมีสิทธิเขยิบฐานะทางสังคม ขณะนี้ช่องว่างระหว่างรายได้ในสหรัฐอเมริกาถ่างกว้างมากที่สุด นับตั้งแต่ปี 1890 เป็นต้นมา. ปัจจุบันนี้ คนรวยที่สุด 1 เปอร์เซ็นต์ในสังคมอเมริกันมีรายได้เท่ากับคนในสังคม 95 เปอร์เซ็นต์ รวมกัน

- เมื่อการศึกษาถูกแปรให้มีสภาพไม่ต่างจากสินค้า ลงทุนไปแล้วจึงต้องมีกำไร คำต่อมาที่ถูกใช้คือ 'ทำเงิน' และ 'ไม่ทำเงิน' ในการตลาดอุดมศึกษา สายบัญชี กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ถูกจัดให้เป็นสาขาที่ทำเงิน ส่วนบรรดาสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วรรณคดีคลาสสิก ปรัชญาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน อยู่ในสภาพลูกที่พ่อแม่ปราศจากความรักให้

เนื้อเรื่อง

"ผมต้องการให้สถาบันการศึกษาต่างๆ ปรับตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยอาศัยกลไกธรรมชาติมาให้รางวัล หรือลงโทษสำหรับสถาบันการศึกษาที่ไม่ยอมปรับตัว ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ผมมีแนวคิดเปิดเสรีค่าเล่าเรียนสถานศึกษาได้เต็มที่ รวมทั้งกำหนดค่าจ้างครูได้เอง แล้วให้นักเรียนเป็นผู้เลือกว่าจะเรียนที่ไหน หากสถานศึกษาใดจัดการเรียนการสอนไม่ได้คุณภาพคุ้มค่าราคา ก็จะไม่มีนักเรียนไปเรียน"
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี - ปาฐกถาพิเศษเปิดงาน 'ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่'
เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเข้าสู่โครงสร้างใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (เมื่อหลายปีก่อน)

การเปิดเสรีการศึกษา มาถึงปีนี้ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย บางคนอาจเรียกมันว่า ปฏิรูปการศึกษา, การให้สถานศึกษาออกนอกระบบ หรือถึงขั้นการแปรรูปการศึกษา แต่อีกหลายคนก็อยากจะเรียกมันว่า 'แปลงการศึกษาให้เป็นสินค้า' เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริง. แต่ไม่ว่าใครจะเรียกขานอย่างไรก็ตาม แรงดึงดูดของมันคงไม่น้อยทีเดียว เพราะกวาดตาไปทั่วโลก ก็มีอีกหลายประเทศที่พร้อมจะลองของใหม่ที่ว่านี้ด้วยกันทั้งนั้น

ที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา สมัยนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ และพรรคแรงงาน ถึงกับยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ ละทิ้งสัญญาประชาคมช่วงการเลือกตั้ง ออกกฎหมายขึ้นค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาที่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยขึ้นค่าเล่าเรียนได้ถึง 3,000 ปอนด์ต่อปี จากเดิมที่อยู่ในอัตรา 1,125 ปอนด์ต่อปี ซึ่งมีผลผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2006 กฎหมายฉบับนี้ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงหวุดหวิด ด้วยการล็อบบี้จนกระทั่งนาทีสุดท้าย (ประมาณการเจรจาในห้องสุขาของรัฐสภาไทย). โทนี แบลร์ ให้เหตุผลประกอบการตระบัดสัตย์ว่า ต้องจำยอมเพื่อให้การศึกษาในอังกฤษคงความเป็น 'เวิลด์คลาส' (world class education)ต่อไป (*) โดยไม่ยอมใส่ใจเสียงประท้วงจากประชาชน และการประท้วงของคณาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
(*) อ่านเพิ่มเติม http://www.britishcouncil.org/learning-world-april-2005-news.pdf

ที่อินเดีย อดีตรัฐบาลของพรรคภารติยะ ชนตะ แพ้การเลือกตั้งพรรคครองเกรสแบบพลิกความคาดหมาย หนึ่งในนโยบายที่สร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชน คือการเลิกอุดหนุนการศึกษา เนื่องจากตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) รัฐบาลต้องปฏิบัติต่อนักลงทุนต่างชาติเช่นเดียวกับคนในชาติ บรรดาโรงเรียนเอกชนต่างชาติจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียอุดหนุนสถานศึกษาของเอกชนต่างชาติ เช่นที่รัฐบาลอุดหนุนโรงเรียนรัฐ. รัฐบาลในขณะนั้น (หรือรัฐบาลไหนๆ ในโลกนี้) บอกว่า งบประมาณที่จำกัดไม่สามารถทำได้ ฉะนั้น เพื่อไม่ให้ผิดกฎของ WTO รัฐบาลจึงจะขอยกเลิกการอุดหนุนการศึกษาทั้งหมดเพื่อให้เสมอหน้ากัน แล้วให้นักเรียนนักศึกษาใช้ระบบกู้เรียนแทน

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอังกฤษและอินเดีย อาจไม่สามารถทำให้เห็นภาพของการเปิดเสรีการศึกษาได้อย่างชัดเจนนัก เพราะยังเป็นเพียงระยะเริ่มต้น หรืออาจจะเป็นความกังวลเกินกว่าเหตุ เมื่อทดลองใช้ไปสักพักระบบนี้อาจจะดีจริงอย่างที่หลายฝ่ายพยายามโฆษณากัน แต่เพื่อให้ได้ภาพที่ครบถ้วนมากที่สุด จึงน่าจะลองไปสำรวจบรรดาต้นแบบการแปรรูปการศึกษา อย่างสหรัฐอเมริกาต้นตำรับที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายสงครามเย็น, แคนาดาที่ตามเพื่อนบ้านตนไปแบบกระชั้นชิด และออสเตรเลีย ผู้ช่วยนายอำเภอที่ไม่เคยพลาดกับการตามอย่างอเมริกัน ไปดูว่าประเทศเหล่านี้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างไรกันบ้าง หรือว่ากำลังเป็นชะตากรรมของทั้งสังคม

ขอจงอย่าเดินตามรอยเท้าที่ผิดพลาดของเรา
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ไรช์ ศาสตราจารย์ด้านนโยบายสังคมและเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัย Brandies ในสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาประจำปี 2004 แก่สถาบันนโยบายการอุดมศึกษา ประเทศอังกฤษ. สาระสำคัญที่สุดของปาฐกถา คือการเตือนอังกฤษอย่าเดินตามรอยเท้าที่ผิดพลาดของสหรัฐอเมริกาที่แปลงการศึกษาเป็นสินค้า. โรเบิร์ต ไรช์ กล่าวว่า แม้การอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาถือว่าประสบความสำเร็จในแง่การดึงดูดนักเรียนจากทั่วโลก ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก งานวิจัย เงินทุนสนับสนุน และคุณภาพของคณะต่างๆ ถือว่ายอดเยี่ยมระดับโลก แต่พันธกิจที่มหาวิทยาลัยพึงมีต่อสาธารณชน อยู่ในภาวะน่าวิตกอย่างยิ่ง

1. ผลจากการแปลงการศึกษาเป็นสินค้าในสหรัฐอเมริกาซึ่งดำเนินอย่างเข้มข้นตั้งแต่หลังภาวะสงครามเย็น ได้ถ่างช่องว่างคนในสังคม มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ของคนรวยในสังคมเท่านั้น

2. การที่มหาวิทยาลัยเอาตัวออกห่างจากภารกิจเพื่อสังคม ทำให้สังคมสูญเสียศูนย์การศึกษาพื้นฐาน ซึ่งในที่นี้หมายถึง การวิจัยพื้นฐาน ประเด็นพื้นฐานสำคัญต่างๆ ที่อาจไม่สามารถแปลค่าเป็น 'มูลค่าทางเศรษฐกิจ' ได้ด้วยตัวของมันเอง. ประเด็นสำคัญในการวิจัยต่างๆ ถูกผูกโยงกับความต้องการของธุรกิจเอกชน ไม่มีเงิน ไม่มีพื้นที่ ไม่มีการสนับสนุนให้กับคำถามพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ "เมื่อใดก็ตามที่มหาวิทยาลัยเริ่มเอาตัวเองเข้าสู่ความรู้ในเชิงประยุกต์มากกว่าความรู้ในเชิงพื้นฐาน เมื่อนั้นคุณกำลังทำร้ายเศรษฐกิจโดยรวมของสังคม ในทางที่จะกระจายความสามารถของคนไปแก้ปัญหาและพัฒนาในเชิงองค์รวม โดยไม่เฉพาะเจาะจง"

3. ที่น่าวิตกที่สุด บทบาทของมหาวิทยาลัยที่พึงทำหน้าที่บอกกล่าวความจริงต่อสังคมกำลังถูกฉ้อฉล บทบาทของมหาวิทยาลัยที่แท้จริงคือศูนย์กลางการค้นหาคำตอบ การวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่แค่เรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ แต่ยังรวมถึงนโยบายสาธารณะต่างๆ ด้วย

"ในอดีต อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำนวนมากได้แสดงวาทะที่ท้วงติงนโยบายสาธารณะที่ไม่เหมาะสม เช่นในช่วงสงครามเวียดนาม ช่วงแมคคาร์ธีที่ไล่ล่าคอมมิวนิสต์ ประธานมหาวิทยาลัยจำนวนมากกล่าวสุนทรพจน์กระตุ้นเตือนสังคม และให้กำลังใจการเคลื่อนไหวของประชาสังคม แต่ทุกวันนี้ ยากเหลือเกินที่จะเห็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยสักคนในสหรัฐอเมริกาออกมาโต้แย้ง คัดค้านนโยบายต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? บางส่วนอาจจะเป็นเพราะปัจจุบันมหาวิทยาลัยพึ่งพิงธุรกิจเอกชนอย่างมาก การจะพูดหรือทำอะไรที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ธุรกิจ หรือพูดเพื่อรั้งผู้มีอำนาจจึงเป็นไปไม่ได้เลย"

มหาวิทยาลัยไม่มีที่สำหรับคนจน
ย้อนกลับไปก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกายังมีลักษณะของการศึกษาเฉพาะชนชั้นสูง ฉะนั้นแง่มุมของสาธารณชนจึงไม่ปรากฏมากนักในแวดวงมหาวิทยาลัยในช่วงนั้น แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยถูกเปลี่ยนให้เป็นสถาบันที่มีความหมายกับประชาชน คำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะมากขึ้นและเบ่งบานที่สุดในช่วงทศวรรษ 1960 จนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970

รัฐบาลสหรัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นให้การสนับสนุนอย่างมาก มีการทุ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยต่างๆ ให้งบประมาณสนับสนุนผ่านสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข โครงการพัฒนาด้านความมั่นคง ผ่านโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเอง และยังมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ยากจนจำนวนมาก ให้เข้าศึกษาต่อทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

"สุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญในช่วงนั้น ล้วนแต่เน้นภารกิจสำคัญของสังคม หรือวาระแห่งชาติ คือการพัฒนาการอุดมศึกษาของรัฐเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และยังย้ำอีกหลายต่อหลายครั้งว่า การศึกษาขั้นสูงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศโดยรวม ความสามารถของสังคมนั้นจำเป็นต้องเคลื่อนไปสู่ความดีงามของสังคม ไม่ใช่แค่ในส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ แต่ต้องพัฒนาเศรษฐกิจและแนวคิดใหม่ๆ จะได้ยินซ้ำๆ และเน้นย้ำจากผู้นำในการอุดมศึกษาของประเทศว่า ประชาธิปไตยของอเมริกาจะต้องได้มาด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลแก่ประชาชนของประเทศ"

แม้ว่าปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ปรากฏการณ์นี้ก็คือ ภาวะสงครามเย็นเพื่อต่อกรกับสหภาพโซเวียต แต่ก็นับได้ว่า สังคมได้ประโยชน์จากการขยายการศึกษาให้ประชาชนอย่างทั่วถึง แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป. ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาจะพบว่า พันธกิจที่จะให้การศึกษาขั้นอุดมศึกษาแก่ประชาชนในสหรัฐอเมริกาอย่างทั่วถึงถูกลดระดับลงมาโดยตลอด. น้อยครั้งที่จะได้ยินผู้นำ นักการศึกษา ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และแม้แต่สถาบันที่เกี่ยวกับการศึกษาแบบไม่แสวงหาผลกำไรจะเอ่ยถึงประโยชน์ของสังคม ที่พึงจะได้จากการที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างทั่วถึง

สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคือ รัฐบาลในระดับรัฐตัดลดงบประมาณสนับสนุนมหาวิทยาลัยของรัฐลงอย่างฮวบฮาบในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 4 ครั้งใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา (กลางปี 70, ต้นปี 80, ต้นปี 90 และช่วง 2000-2001) การให้การสนับสนุนรายหัวนักศึกษาลดลงอย่างมาก ผลก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องหาทางเอาตัวเองรอดด้วยการขึ้นค่าเล่าเรียนในอัตราก้าวกระโดด

นับจากปี 1980 ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยของรัฐขึ้นค่าเล่าเรียนสูงถึง 107 เปอร์เซ็นต์ แค่ปี 2003 ปีเดียว วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของรัฐ 25 แห่งขึ้นค่าเล่าเรียน 10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าการเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อ เช่น มหาวิทยาลัยแอริโซนาขึ้นค่าเล่าเรียน 39 เปอร์เซ็นต์, มหาวิทยาลัยไอโอวาขึ้นค่าเล่าเรียน 22 เปอร์เซ็นต์, ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางได้ปรับลดงบประมาณเพื่อทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจน ฉะนั้นเด็กที่มาจากครอบครัวยากจนจึงยิ่งห่างไกลจากการศึกษาขั้นสูง ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเขาเคยได้รับโอกาสนั้น. จากการศึกษาล่าสุดพบว่า ตัวเลขนักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัย 100 อันดับแรกของสหรัฐอเมริกา ที่จบแล้วสามารถหางานทำที่ดีในเชิงตัวเลขของผลตอบแทน, มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มาจากครอบครัวที่ต่ำกว่าชนชั้นกลาง

- ในปี 1979 เด็กจากครอบครัวคนรวย 25 เปอร์เซ็นต์ส่วนบน มีอัตราการเรียนต่ออุดมศึกษามากกว่า นักเรียนจากครอบครัวยากจน 25 เปอร์เซ็นต์ส่วนล่างสุด 4 เท่า แต่ตัวเลขปัจจุบัน เด็กอเมริกันรวยๆ เรียนต่อมหาวิทยาลัยมากกว่าเด็กอเมริกันจนๆ ถึง 10 เท่า

- ในปี 1980 ค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวรายได้ต่ำจะส่งลูกเรียนจนจบ 4 ปีในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

ฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถานที่สำหรับคนรวยส่วนบนของสังคมเท่านั้น ไม่มีทางที่คนอเมริกันจนๆ จะมีสิทธิเขยิบฐานะทางสังคม. ขณะนี้ช่องว่างระหว่างรายได้ในสหรัฐอเมริกาก็ถ่างออกมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1890 เป็นต้นมา. ปัจจุบันคนรวยที่สุด 1 เปอร์เซ็นต์ในสังคมอเมริกันมีรายได้เท่ากับคนในสังคม 95 เปอร์เซ็นต์ รวมกัน

มือใครยาว สาวได้สาวเอา
ปรัชญาการศึกษาจากเดิมที่จะต้องสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาประเทศให้เกิดผลดีกับสังคมโดยรวม ถูกเปลี่ยนไปจนแทบจำเค้าเดิมไม่ได้. 2 แนวคิดที่มาแรงช่วงปลายสงครามเย็นและดังมากขึ้นเรื่อยๆ คือ

- การศึกษาเป็นสินค้าชนิดหนึ่งในตลาดที่ต้องมีการลงทุน ไม่ต่างจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือในอสังหาริมทรัพย์ ที่ครอบครัวและบุคคลต้องลงทุนเพื่อรอผลกำไรที่ได้กลับมา คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในแนวคิดนี้คือ Human Capital ถ้าคุณมีกำลังลงทุนมาก ผลกำไรที่จะได้กลับมาก็จะมากขึ้น

- การศึกษาระดับสูงจะสร้างโอกาสการขยับฐานะให้แก่ปัจเจกบุคคล ฉะนั้น คุณค่าของแต่ละบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงผลดีแก่สังคมโดยรวมก็ได้ พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นเรื่องที่เหมาะสมและชอบธรรม หากเด็กแต่ละคนจะใช้ความสามารถที่มีมาแต่กำเนิดของเขาและเธอเพื่ออนาคตที่พวกเขาพึงจะได้รับ แม้ว่าความร่ำรวยนั้นจะมาจากการใช้โอกาสกอบโกยจากสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตนก็ตาม

เมื่อการศึกษาถูกแปรให้มีสภาพไม่ต่างจากสินค้า ลงทุนไปแล้วต้องมีกำไร คำต่อมาที่ถูกใช้คือ 'ทำเงิน' และ 'ไม่ทำเงิน' ในการตลาดอุดมศึกษา สายบัญชี กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ถูกจัดให้เป็นสาขาที่ทำเงิน ส่วนบรรดาสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วรรณคดีคลาสสิก ปรัชญาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน อยู่ในสภาพลูกที่พ่อแม่ไม่รัก

การให้ค่าตอบแทนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็สะท้อนภาพนี้เช่นกัน อาจารย์ที่สอนวิชาการเงินให้กับลูกศิษย์ที่จะไปเติบโตในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ย่อมได้เงินมากกว่าอาจารย์ที่มีความรู้เช่นเดียวกันแต่สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ และแน่นอนอาจารย์ที่สอนวิชาเศรษฐศาสตร์จะได้ค่าตอบแทนมากมายหลายเท่ากว่าอาจารย์ที่สอนประวัติศาสตร์หรือวรรณคดีศึกษา. ช่องว่างระหว่างรายได้ที่มาจากฐานคิดเรื่องการลงทุนส่วนบุคคลและผลกำไรจากการศึกษา ยิ่งทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยตระหนักว่า พวกเขามีภารกิจเพื่อประคองชีวิตตัวเองมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

ศาสตราจาย์โรเบิร์ต บาร์โร นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เมื่อมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเสนอค่าตอบแทน 300,000 เหรียญสหรัฐต่อปี พร้อมห้องพักสุดหรูตกแต่งเสร็จในย่านแมนฮัตตันฝั่งตะวันตก. ศาสตราจารย์บาร์โรนำข้อเสนอนี้ไปพบอธิการบดีของฮาร์วาร์ดต้นสังกัด ซึ่งอธิการบดีท่านนั้นก็รู้ดีว่า ต้องเสนอให้เท่ากับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเพื่อรั้งอาจารย์ท่านนี้ไว้. นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยมากในสหรัฐอเมริกา และอันที่จริงมันกำลังกลายเป็นมาตรฐานในคณะที่ทำเงิน หากคุณต้องการขึ้นเงินเดือนก็ไปคุยกับมหาวิทยาลัยอื่นว่าเขาเสนอเท่าไหร่ แล้วกลับมาหามหาวิทยาลัยตัวเองว่าจะเสนอได้เท่ากันไหม

ที่ออสเตรเลีย การถูกจำกัดทางด้านงบประมาณทำให้มหาวิทยาลัยต้องตัดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน โดยคณะวิชาสายสังคมซึ่งถือว่าเป็นภาควิชาที่ไม่สามารถทำเงินเข้ามหาวิทยาลัยได้ จึงตกเป็นคณะที่ต้องประสบกับความเจ็บปวดมากที่สุด. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ต้องเข้าโครงการปรับโครงสร้าง หาอาจารย์อาสาสมัครลาออกจำนวน 40-50 คน แต่มีผู้สมัครใจลาออกเพียงแค่ครึ่งเดียวของจำนวนที่ต้องการเท่านั้น. ดังนั้นเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย พร้อมๆ กับการลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด จึงเกิดเหตุการณ์ถึงขั้นที่ว่า มหาวิทยาลัยต้องคัดเลือกหนังสือบางเล่มออกจากห้องสมุด บ้างก็เอาไปขาย บ้างก็บริจาคให้กับห้องสมุดอื่นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแล

ศาสตราจารย์ เคน แม็กแน็บ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่า ภาควิชาที่ไม่สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ อย่างคณะมนุษยศาสตร์หรือศิลปศาสตร์ จะถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ และเขาเป็นผู้หนึ่งที่ขอยุติบทบาทในการเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ หลังจากสอนหนังสือมากว่า 36 ปี ด้วยความรู้สึกที่ผสมผสานหลายอย่าง แม้จะรักอาชีพนี้ก็ตาม เขาบอกด้วยว่าปัญหาทั้งหมดมาจากรัฐบาลที่มีมุมมองที่คับแคบ เห็นว่าการเรียนการสอนเป็นได้เพียงแค่สินค้า หากไม่สามารถขายได้ ถือว่าเป็นของที่ไร้ค่า ซึ่งแท้จริงแล้วการศึกษาเป็นผลิตผลที่มีคุณภาพและส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมด้วยตัวของมันเองต่างหาก

มหาวิทยาลัย 'แมคโดนัลดานุวัตร'
เมื่อต้องหาเลี้ยงตัวเอง มหาวิทยาลัยต่างๆ ยิ่งต้องแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อให้ได้นักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมและร่ำรวย. ความเจริญก้าวหน้าของนักศึกษา และครอบครัวของพวกเขาถูกจัดให้เป็นลูกค้าที่มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ต้องไปดูดเข้ามา แล้วมาช่วยสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัย ให้คนพูดถึงกันทั่วไป. มหาวิทยาลัยในสหรัฐแข่งขันกันสร้างความน่าพึงพอใจ เช่น หอพักที่หรูหรา การให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในด้านต่างๆ เพิ่มความหรูหราฟุ่มเฟือย เช่นศูนย์นักศึกษา ร้านเสริมสวยแต่งเล็บแต่งหน้า ยิ่งหลังปี 1990 เป็นต้นมา ปรากฏการณ์นี้ยิ่งลุกลาม จนไร้การควบคุม

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการตลาด การโฆษณา ภายใต้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เช่น ผลิตแผ่นพับโฆษณาที่วิจิตรพิสดาร วิดีโอพรีเซนเทชั่น แสดงความน่าอยู่ของมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าความน่าอยู่เหล่านี้นำมาซึ่งค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้น แต่นั่นไม่เป็นปัญหาสำหรับครอบครัวชนชั้นสูงส่วนบน 20 เปอร์เซ็นต์ ของสังคม

ศาสตราจารย์เดวิด คุก จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์ เขียนหนังสือเรื่อง การทำการตลาดการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า วิทยาลัยบีเวอร์ในรัฐเพนซิลวาเนีย วิทยาลัยนี้ค่อนข้างน่าสงสารเพราะชื่อดันไปตรงกับคำแสลงหยาบๆ ในภาษาอังกฤษ ฉะนั้นผู้บริหารจึงตัดสินใจจ้างนักการตลาดด้วยราคาแพงระยับ มาออกแบบชื่อวิทยาลัย แล้วสุดท้ายมาได้ชื่อ อคาเดีย ซึ่งหมายถึงตำบลหนึ่งในกรีกโบราณที่มีความสำราญที่สุด แต่นักการตลาดยังพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการส่งลูกหลานเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่าวิทยาลัย เพราะใหญ่กว่าและจริงจังกว่า ในที่สุด วิทยาลัยบีเวอร์จึงเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยอคาเดีย ผลที่ได้คือ ใบสมัครล้นตู้ นับว่านักการตลาดประสบความสำเร็จจริงๆ

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในสหรัฐอเมริกา โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ก็เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญให้มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ ต้องสร้าง 'คุณภาพ' ให้เหนือกว่ามหาวิทยาลัยคู่แข่ง เช่น เกณฑ์ที่ว่า ยิ่งมีคนเลือกมหาวิทยาลัยนี้มาก แต่คนเข้าได้น้อย ก็จะทำให้ได้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับสูงๆ มหาวิทยาลัยดุ๊ก จึงประชาสัมพันธ์อย่างมากมายเพื่อให้ผู้สนใจส่งใบสมัครมามากๆ แล้วก็คัดออกมากๆ ในที่สุดก็ได้เลื่อนอันดับขึ้นมาจากเกณฑ์ที่ว่านี้

อีกเกณฑ์หนึ่งที่น่าสนใจดูจากเงินบริจาคที่ศิษย์เก่ามอบให้กับมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงเกิดอาการที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลประกาศว่า ศิษย์เก่าที่มีรายใดที่ไม่บริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยเกิน 5 ปี จะถูกจำหน่ายชื่อออกจากสมาคมศิษย์เก่าว่าเสียชีวิตไปแล้ว เกณฑ์ดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยคอร์แนลติดอันดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

การเอาอกเอาใจนักศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะนักศึกษาที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับมหาวิทยาลัยมากๆ. รศ.เท็ด สตีล อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยวูลองกอง ออสเตรเลีย ออกมาเปิดโปงต่อสื่อมวลชนว่า มีการแก้คะแนนให้นักศึกษาโดยที่อาจารย์ผู้สอนไม่รู้เรื่อง เพราะตนเองได้ให้นักศึกษาต่างชาติระดับปริญญาโทรายหนึ่งสอบตก อีกรายหนึ่งได้คะแนนแค่ผ่านธรรมดา ซึ่งหมายความว่านักศึกษาทั้ง 2 รายไม่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกได้ แต่หลังจากนั้นกลับพบว่า คะแนนของนักศึกษาทั้งคู่ถูกเปลี่ยนให้เพิ่มมากขึ้น จนหนึ่งในนั้นสามารถเรียนต่อระดับปริญญาเอกได้

รศ.เท็ด สตีล ซึ่งสอนหนังสือมากว่า 30 ปี ต้องปิดฉากการสอนด้วยการถูกไล่ออกหลังจากการออกมาเปิดเผย ด้วยข้อหาทำให้มหาวิทยาลัยต้องเผชิญกับการเสียชื่อเสียงอย่างรุนแรง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการประท้วงจากสหภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยและสโมสรนักศึกษาทั่วประเทศ และมีการฟ้องเป็นคดีความ ในที่สุด รศ.สตีลชนะคดี ศาลสั่งให้มหาวิทยาลัยรับกลับเข้าไปเป็นอาจารย์โดยไม่มีเงื่อนไข

เป็นเรื่องเกือบจะเป็นธรรมดาในออสเตรเลีย ที่นักศึกษาต่างชาติหลายรายได้รับการเพิ่มคะแนนให้ แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ดีพอ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะทางมหาวิทยาลัยเกรงว่าจะต้องสูญเสียลูกค้าและรายได้ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลที่มาจากนักศึกษาต่างชาติเหล่านี้. วงเงิน 3.5 พันล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี คือจำนวนเงินมหาศาลที่มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียได้รับจากบรรดานักศึกษาต่างชาติ. ศาสตราจารย์อัลลัน พาเชียน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิคทอเรีย ยอมรับว่า "เราไม่ได้พิจารณาถึงทักษะหรือความสามารถเฉพาะทางมากนัก แต่เราพิจารณาถึงการทดสอบทั่วๆ ไป ซึ่งหมายถึงขีดความสามารถทางการเงินมากกว่า ซึ่งแท้จริงแล้ววิธีการเช่นนี้เป็นเรื่องที่อันตรายและก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าห่าน (มาตรฐานของมหาวิทยาลัย) เพื่อแลกกับไข่ทองคำ (ดอลลาร์จากนักศึกษาต่างชาติ) เท่านั้นเอง"

วุฒิสมาชิก คิม คาร์ ได้อภิปรายในการประชุมวุฒิสภาออสเตรเลียว่า มีนักศึกษาระดับปริญญาโทเสนอเงินสนับสนุนให้กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น จำนวน 2 ล้านเหรียญออสเตรเลียสำหรับศูนย์การวิจัย และได้รับการเพิ่มคะแนนให้ 5 วิชาจากทั้งหมด 10 วิชา เช่นเดียวกับนักการเงินวัย 45 ปี เสนอเงินค่าจ้างอาจารย์ให้เป็นที่ปรึกษาจำนวน 4 คน จำนวน 250,000 เหรียญออสเตรเลีย ซึ่งอาจารย์ 3 ใน 4 คนเป็นผู้ที่เพิ่มคะแนนให้นักการเงินรายดังกล่าว แม้จะมีการสอบสวนภายใน แต่ก็ระบุว่าไม่พบว่าเป็นการกระทำที่ผิดแต่อย่างใด

นายทุนมหาวิทยาลัย... เมื่อบรรษัทครองโลก
ในภาวะที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ถูกบังคับให้หาเลี้ยงตัวเอง คณะผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลแคนาดาได้ตีพิมพ์รายงานในปี 1999 แนะนำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ จัดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เข้าไปเป็นพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัย เคียงคู่ไปกับการทำวิจัย การสอน และการบริการชุมชน (สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย พันธกิจที่ 4 คือ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) รายงานชิ้นนี้ยังได้แนะนำด้วยว่า การจ้างงาน ตลอดจนการเลื่อนขั้น ควรจะต้องผูกพันใกล้ชิดกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทำให้สมาคมอาจารย์มหาวิทยาลัยในแคนาดาลุกขึ้นต่อต้านโดยการเขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี และสามารถล่าลายเซ็นของบุคคลที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงได้ถึง 1,500 ชื่อภายในเวลาเพียง 3 วัน แต่กระนั้นหลายมหาวิทยาลัยก็เห็นดีเห็นงามกับคำแนะนำนี้ เพราะเป็นวิธีหนึ่งในการหาคนเลี้ยงดูใหม่ จากรัฐกลายมาเป็นเอกชน. ผลที่ตามมาคือ "การจากไปของเสรีภาพทางวิชาการ"

ภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ มักบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยในลักษณะที่เป็นความลับสุดยอด รายละเอียดของการตกลงกันไม่เป็นที่เปิดเผยให้สภามหาวิทยาลัยหรือชุมชนมหาวิทยาลัยในวงกว้างร่วมรับรู้ สภาพที่เกิดขึ้น ตกเป็น 1 ใน 25 อันดับข่าวที่ไม่เป็นข่าว ประจำปี 2540 ใน Project Censored ของมหาวิทยาลัยโซโนมา สเตท คือ ข่าว 'ธุรกิจใหญ่พยายามเข้าไปควบคุมและครอบงำมหาวิทยาลัยในสหรัฐ'

บริษัททางธุรกิจใหญ่ๆ ในสหรัฐมักเป็นผู้ให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย ฯลฯ แก่มหาวิทยาลัยต่างๆ แม้จะมีข้ออ้างว่า ทุนเหล่านี้ไม่มีเงื่อนไขผูกมัด แต่ก็มีหลายตัวอย่างที่ชี้ไปในทางตรงกันข้าม ตัวอย่างเช่น บริษัทบูทส์ (Boots) ซึ่งเป็นบริษัทยาของอังกฤษ ได้ให้ทุนวิจัยเป็นเงิน 250,000 เหรียญสหรัฐแก่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เพื่อทำการเปรียบเทียบยาเกี่ยวกับโรคไทรอยด์ของบริษัทที่ชื่อ Synthroid กับตัวยาอื่นๆ ที่มีราคาต่ำกว่า แต่ว่ากันว่าผลการวิจัยกลับออกมาตรงข้ามกับความคาดหวังของบริษัทบูทส์ เพราะผลการวิจัยชี้ชัดว่า ยาราคาถูกกว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคใกล้เคียงกัน บริษัทบูทส์จึงสั่งห้ามตีพิมพ์ผลงานวิจัยชิ้นนี้ทางวารสารการแพทย์ และประกาศว่างานวิจัยชิ้นนี้มีข้อบกพร่อง ขณะที่ผู้วิจัยไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะเงื่อนไขทางกฎหมาย

ปี 1997 มหาวิทยาลัยโตรอนโต เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีทรัพย์สินมากที่สุดในแคนาคา ได้ทำสัญญาลับๆ กับ มูลนิธิโจเซฟ รอตแมน รับเงินบริจาค 15 ล้านเหรียญสำหรับคณะวิทยาลัยการจัดการ และ ปีเตอร์ มังก์ ประธานบริหารของบริษัท แบร์ริก โกลด์ แอน ฮอร์แชม ได้ให้เงินบริจาค 6.4 ล้านเหรียญสำหรับศูนย์การศึกษานานาชาติ และ บริษัท นอร์เทล ให้เงินบริจาค 8 ล้านเหรียญสำหรับสถาบันโทรคมนาคม ข้อตกลงเหล่านี้ ทำให้บริษัททางธุรกิจมีอิทธิพลต่อโปรแกรมการศึกษาของมหาวิทยาลัยโตรอนโต อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

- ในข้อตกลงกับมูลนิธิโจเซฟ รอตแมน ระบุว่า "คณาจารย์ของคณะวิทยาการจัดการจะต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ตลอดจนค่านิยมของผู้บริจาคเงิน"

- ในข้อตกลงกับปีเตอร์ มังก์ ประธานบริหารของบริษัท แบร์ริก โกลด์ แอน ฮอร์แชม บังคับให้ศูนย์เพื่อการศึกษานานาชาติรับประกันว่า โครงการของบริษัทฯ จะต้อง "เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญสูงสุดในด้านการจัดสรรรายได้ ซึ่งรายได้นี้รวมถึงเงินภายในของมหาวิทยาลัยเองอีกด้วย"

ในอังกฤษ บรรณาธิการวารสาร British Medical Journal ลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม เพราะมหาวิทยาลัยตัดสินใจรับเงินบริจาค 5 ล้านเหรียญจากบริษัทยาสูบบริทิชอเมริกัน เพื่อจัดตั้งศูนย์นานาชาติว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทธุรกิจ.

ดร.เดวิด เคิร์น ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลเมมโมเรียลของมหาวิทยาลัยบราวน์ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่ามีโรคปอดชนิดใหม่ร้ายแรงเกิดขึ้นในกลุ่มลูกจ้างของบริษัทผลิตเส้นใยไนลอน. แม้ว่า ดร.เดวิด เคิร์น จะเป็นที่ปรึกษาของบริษัทฯ แต่ด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงในวิชาการจึงตัดสินใจตีพิมพ์งานวิจัย ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้ตีพิมพ์ และบริษัทฯ ขู่ที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ในที่สุด ดร.เคิร์นถูกปลดออกจากตำแหน่งที่มหาวิทยาลัย

ดร.แนนซี โอลิเวียรี ศาสตราจารย์ทางด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ผู้เชี่ยวชาญทางโรคธาลัสซีเมีย ปี 1996 ดร.โอลิเวียรี ลุกขึ้นมาท้าชนกับบริษัทอะโพเท็กซ์ (Apotex) บริษัทผลิตยาที่เธอเซ็นสัญญาด้วย เนื่องจากพบว่า ยาดังกล่าวเป็นยาที่อาจสามารถรักษาโรคผิดปกติทางเลือดได้นี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ในคนไข้บางราย

ดร.โอลิเวียรี ได้ปรึกษาเรื่องนี้กับบริษัท แต่ทางบริษัทเมินเฉย เธอจึงไปปรึกษากับคณะกรรมการจริยธรรมทางด้านงานวิจัยของโรงพยาบาล คณะกรรมการได้แนะนำให้เพิ่มเติมข้อความในใบยินยอมของคนไข้ โดยระบุว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง อีก 72 ชั่วโมงต่อมา อะโพเท็กซ์ส่งจดหมายมาระบุว่า "คุณถูกไล่ออก ถ้าหากคุณพูดอะไรก็ตาม คุณจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย" อีก 3 วันต่อมา อะโพเท็กซ์มากวาดยาทั้งหมดออกไปจากชั้นของโรงพยาบาล

ทั้งมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยไม่ยอมออกมาช่วยสนับสนุนความพยายามที่จะเปิดเผยข้อมูลของเธอ โดยอ้างว่าเป็นแค่ 'การถกเถียงกันในเชิงวิทยาศาสตร์' ดร.โอลิเวียรีถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการโรคเม็ดเลือดแดงของโรงพยาบาล ในที่สุดความจริงที่น่าละอายก็ปรากฏออกมาว่า มหาวิทยาลัยกำลังคาดหวังเงินบริจาค 20 ล้านเหรียญจากอะโพเท็กซ์

ชะตากรรมของสังคม
ไม่แน่ใจว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลียข้างต้น จะเข้าลักษณะ 'การปรับตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยอาศัยกลไกธรรมชาติมาให้รางวัล หรือลงโทษสำหรับสถาบันการศึกษาที่ไม่ยอมปรับตัว หรือไม่' สำหรับคำกล่าวทิ้งท้ายของศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ไรช์ น่าจะพอช่วยรั้งให้ยั้งคิดอยู่บ้าง

"ก่อนจบ ผมยังยืนยันว่าระบบมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นระบบที่ดี และผมก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ แต่การที่มหาวิทยาลัยเอาตัวเองออกห่างจากภารกิจส่วนรวมนั้น เป็นแนวโน้มที่อันตราย แม้จะไม่อยู่ในวิกฤติก็ตาม ดังนั้นจึงขอบอกไปยังรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลอื่นๆ ที่กำลังดำเนินรอยตามการแปลงการศึกษาเป็นสินค้าในขณะนี้ว่า หากจะทำตามแนวทางนี้ก็ขอให้เลือกทำตามสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่า แต่อย่าทำเกินจากที่สหรัฐอเมริกาได้ทำไปแล้ว

"การใช้การตลาดและแรงกระตุ้นทางการตลาดเป็นสิ่งที่ฉลาด แต่ให้ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ ขอให้เข้าใจว่า การอุดมศึกษานั้นมีภาระหน้าที่สำคัญที่ต้องทำเพื่อสังคม แม้ว่าตลาดจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถแยกแยะ ตั้งราคา พิจารณาผลกำไรที่ใครพึงจะได้ แต่ทั้งหมดต้องทำเพื่อประโยชน์ของสังคม"

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ้างอิงข้อมูลจาก

- สถานีโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษ
- สถานีโทรทัศน์ SBS ของออสเตรเลีย
- ยูเนสโก คูริเย
- ปาจารยสาร
- ข่าวสด
- กรุงเทพธุรกิจ

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑ : Release date 21 March 2008 : Copyleft by MNU.
ผมยังยืนยันว่าระบบมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นระบบที่ดี และผมก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ แต่การที่มหาวิทยาลัยเอาตัวเองออกห่างจากภารกิจส่วนรวมนั้น เป็นแนวโน้มที่อันตราย แม้จะไม่อยู่ในวิกฤติก็ตาม ดังนั้นจึงขอบอกไปยังรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลอื่นๆ ที่กำลังดำเนินรอยตามการแปลงการศึกษาเป็นสินค้าในขณะนี้ว่า หากจะทำตามแนวทางนี้ก็ขอให้เลือกทำตามสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่า แต่อย่าทำเกินจากที่สหรัฐอเมริกาได้ทำไปแล้ว. การใช้การตลาดและแรงกระตุ้นทางการตลาดเป็นสิ่งที่ฉลาด แต่ให้ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ ขอให้เข้าใจว่า การอุดมศึกษานั้นมีภาระหน้าที่สำคัญที่ต้องทำเพื่อสังคม แม้ว่าตลาดจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถแยกแยะ ตั้งราคา มองถึงผลกำไรที่ใครพึงจะได้ แต่ทั้งหมดต้องทำเพื่อประโยชน์ของสังคม
H

ที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา สมัยนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ และพรรคแรงงาน ถึงกับยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ ละทิ้งสัญญาประชาคมช่วงการเลือกตั้ง ออกกฎหมายขึ้นค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาที่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยขึ้นค่าเล่าเรียนได้ถึง 3,000 ปอนด์ต่อปี จากเดิมที่อยู่ในอัตรา 1,125 ปอนด์ต่อปี ซึ่งมีผลผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2006 กฎหมายฉบับนี้ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงหวุดหวิด ด้วยการล็อบบี้จนกระทั่งนาทีสุดท้าย (ประมาณการเจรจาในห้องสุขาของรัฐสภาไทย). โทนี แบลร์ ให้เหตุผลประกอบการตระบัดสัตย์ว่า ต้องจำยอมเพื่อให้การศึกษาในอังกฤษคงความเป็น 'เวิลด์คลาส' (world class education)ต่อไป โดยไม่ยอมใส่ใจเสียงประท้วงจากประชาชน และการประท้วงของคณาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

ที่อินเดีย อดีตรัฐบาลของพรรคภารติยะ ชนตะ แพ้การเลือกตั้งพรรคครองเกรสแบบพลิกความคาดหมาย หนึ่งในนโยบายที่สร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชน คือการเลิกอุดหนุนการศึกษา เนื่องจากตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) รัฐบาลต้องปฏิบัติต่อนักลงทุนต่างชาติเช่นเดียวกับคนในชาติ บรรดาโรงเรียนเอกชนต่างชาติจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียอุดหนุนสถานศึกษาของเอกชนต่างชาติ