บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกชิ้นที่เผยแพร่ เป็นสมบัติสาธารณะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ ภายใต้นโยบายลิขซ้าย (copyleft) เพื่อสังคมไทย



สำหรับผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ หน้ากระดาษ กรุณาส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
นักศึกษาและผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่แบนเนอร์ข้างบนนี้
อุดมศึกษาทางเลือก สำหรับผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014

Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licen
e document, but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๗ เผยแพร่วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ : date 12 March 2008
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี รวมบทความทั้งหมดจำหน่ายเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานเว็บไซต์ หากสนใจสั่งซื้อได้ที่อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
H

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ค้นหาบทความโดยคลิกที่แบนเนอร์และใส่คำค้นที่สำคัญ



12-03-2551 (1507)

ผู้หญิงทั่วโลก สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้นในรอบสหัสศวรรษใหม่
บทสะท้อนวันสตรีสากล: ว่าด้วยผู้หญิงกับความยากลำบากสากลต่อไป
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความต่อไปนี้เป็นการรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในทางการเมือง
สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องแรกเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของสตรีโลกตะวันตก
และลาตินอเมริกา การก่อกำเนิดวันสตรีสากล และเรื่องเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
ส่วนเรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับบทบาทของสตรีในสถานการณ์ความรุนแรงภาคใต้ของไทย
โดยสตรีเป็นทั้งพลังแห่งการสมานฉันท์ ความรุนแรง และการสนับสนุนตามบริบทแวดล้อม
ที่น่าสนใจคือ องค์กรแก้ปัญหาทั้งภาครัฐและเอกชนต่างละเลยบทบาทที่สำคัญของผู้หญิง
มาโดยตลอด กระทั่งปัจจุบัน บทบาทผู้หญิงยังคงเป็นองค์ประกอบที่ถูกละเลยต่อไป

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผู้หญิงทั่วโลก สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้นในรอบสหัสศวรรษใหม่
บทสะท้อนวันสตรีสากล: ว่าด้วยผู้หญิงกับความยากลำบากสากลต่อไป
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(๑) เสมอภาค: วันสตรีสากล ๘ มีนาคม
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : เขียน

"ผู้หญิงคือปรปักษ์ของการกดขี่ ผู้หญิงนี่แหละที่ต่อสู้อย่างเข้มข้นที่สุดเสมอมา"
ปรามูเดีย อนันตา ตูร์ : นักเขียนชาวอินโดนีเซีย

วันสตรีสากลมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับการต่อสู้ทางชนชั้น หากชนชั้นแรงงานคือชนชั้นเบื้องล่างของสังคม ผู้หญิงก็คือเบื้องล่างแห่งเบื้องล่าง ในโลกยุคสมัยใหม่ ผู้หญิงถูกกดขี่จากนายจ้างและตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงอยู่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจมากที่สุด ผู้หญิงจึงตระหนักถึงความอยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแนวหน้าที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมอย่างเข้มข้นที่สุดเสมอมา

กำเนิดวันสตรีสากล
หลายคนคงลืมเลือนไปแล้วหรือไม่ทราบมาก่อนว่า ในยุคคริสตศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาเคยเป็นประเทศที่มีขบวนการแรงงานก้าวหน้าที่สุดและเข้มแข็งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ผู้นำแรงงานที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือผู้หญิงเชื้อชาติไอริช ที่มีชื่อเรียกขานกันว่า คุณแม่โจนส์. คุณแม่โจนส์เดินทางไปทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาอันกว้างใหญ่ เพื่อปลุกจิตสำนึกของชนชั้นแรงงานให้ลุกขึ้นต่อสู้ และเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของตน คุณแม่โจนส์ยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งองค์กรแรงงานอุตสาหกรรมแห่งโลก (IWW) (*) ที่ผนึกผสานชนชั้นแรงงานทั่วโลกเข้าด้วยกัน

(*)The Industrial Workers of the World (IWW or the Wobblies) is an international union currently headquartered in Cincinnati, Ohio, USA. At its peak in 1923 the organization claimed some 100,000 members in good standing, and could marshal the support of perhaps 300,000 workers. Its membership declined dramatically after a 1924 split brought on by internal conflict and government repression. Today it is actively organizing and numbers about 2,000 members worldwide, of whom roughly half (approximately 900) are in good standing (that is, have paid their dues for the past two months). IWW membership does not require that one work in a represented workplace, nor does it exclude membership in another labor union.

การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของแรงงานเกิดขึ้นหลายครั้งในสหรัฐฯ สิทธิประโยชน์ของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง การลาคลอดบุตรโดยไม่ต้องลาออกจากงาน ค่าแรงที่ดีขึ้น ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ขบวนการแรงงานต่อสู้ฝ่าฟันจนได้มา ท่ามกลางการต่อสู้อันยาวนานและนับครั้งไม่ถ้วนนี้ มีการประท้วงครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 ที่กรุงนิวยอร์กซิตี การประท้วงครั้งนี้มีลักษณะพิเศษ เพราะแรงงานที่ร่วมประท้วงเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานผู้หญิงในอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า มูลเหตุแห่งการประท้วงก็คือสภาพการทำงานที่เลวร้ายและค่าจ้างที่น้อยนิดจนไม่พอยังชีพ เหตุการณ์ครั้งนี้จบลงที่ผู้ประท้วงถูกตำรวจบุกโจมตีและแยกสลายการชุมนุม แต่กลุ่มแรงงานสตรีก็ยังก่อตั้งสหภาพแรงงานแห่งแรกของตนขึ้นในอีก 2 ปีถัดมา

นับแต่นั้นมา วันที่ 8 มีนาคมจึงเปรียบเสมือนวันสัญลักษณ์ของการต่อสู้ในหมู่แรงงานสตรี มีการเดินขบวนประท้วงในวันที่ 8 มีนาคมอีกหลายครั้ง แต่ครั้งที่โดดเด่นที่สุดคือใน ค.ศ. 1908 เมื่อแรงงานหญิง 15,000 คน เดินขบวนในเมืองนิวยอร์กซิตี เรียกร้องเวลาทำงานที่สั้นลง ค่าแรงที่ดีขึ้น รวมไปถึงสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการขนานนามว่า "การกบฏครั้งยิ่งใหญ่". ใน ค.ศ. 1910 องค์กรสากลที่สอง ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกของผู้นิยมในลัทธิมาร์กซิสต์ จัดการประชุมแรงงานสตรีนานาชาติครั้งแรกขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันสตรีสากล"

นอกจากการต่อสู้เพื่อสิทธิของแรงงานแล้ว การต่อสู้ของผู้หญิงยังขยายไปสู่ประเด็นอื่น ๆ เช่น ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1913 ผู้หญิงจำนวนมากทั่วทั้งยุโรปออกมารณรงค์เรียกร้องสันติภาพ ราวกับมีลางสังหรณ์ว่า สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะระเบิดขึ้นในปีถัดมา วันสตรีสากลเริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงโดยทั่วไป ไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มแรงงานสตรีเหมือนในอดีต จนกระทั่งใน ค.ศ. 1975 สหประชาชาติจึงเข้ามารับรองให้วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันสตรีสากลอย่างเป็นทางการ. ในปัจจุบัน วันสตรีสากลเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ อาทิเช่น รัสเซีย บัลแกเรีย แคเมอรูน จีน คิวบา อิตาลี มองโกเลีย เวียดนาม ฯลฯ ในประเทศอินเดีย แม้วันสตรีสากลไม่ใช่วันหยุด แต่ก็มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่มักมาจากผู้หญิง
มีเหตุการณ์พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินหลายครั้งในประวัติศาสตร์โลกที่ผู้หญิงเป็นคนจุดชนวนให้ ในสมัยที่สหรัฐอเมริกายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ บริษัท บริติชอีสต์อินเดีย ผูกขาดการนำใบชามาขายในอเมริกา กลุ่มแม่บ้านชาวอเมริกันไม่พอใจกับการผูกขาด พวกเธอจึงคว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้าจากบริษัทอังกฤษและหันไปซื้อใบชาจากชาวอเมริกันที่ลักลอบนำเข้ามาแทน ถึงขนาดทำให้บริษัทบริติชอีสต์อินเดียประสบภาวะขาดทุน การประท้วงสำแดงพลังของกลุ่มผู้หญิงชาวอเมริกันครั้งนี้ คือชนวนที่นำไปสู่การประกาศเอกราชของชาวอเมริกันและก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมาในที่สุด

วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1955 โรซา ปาร์กส์ (*)ช่างตัดเย็บสตรีผิวดำในเมืองมอนต์โกเมอรี มลรัฐแอละแบมา เธอปฏิเสธไม่ยอมลุกจากที่นั่งในรถประจำทาง ในยุคที่คนผิวดำยังเป็นพลเมืองชั้นสองในสหรัฐอเมริกา ที่นั่งของรถประจำทางจะแบ่งออกเป็นส่วนของคนขาวกับคนดำ แต่หากที่นั่งส่วนของคนขาวเต็ม คนขับรถมักออกคำสั่งให้คนผิวดำลุกขึ้นและให้ที่นั่งแก่คนขาว ทว่าโรซา ปาร์กส์ ไม่ยอมลุกขึ้น ด้วยเหตุผลว่า "ฉันอยากรู้ให้แน่ชัดเสียทีว่า ฉันมีสิทธิอะไรบ้างในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง...."

(*)Rosa Parks (February 4, 1913 - October 24, 2005) was an African American civil rights activist whom the U.S. Congress later called "Mother of the Modern-Day Civil Rights Movement". On December 1, 1955, Parks became famous for refusing to obey bus driver James Blake's order that she give up her seat to make room for a white passenger. This action of civil disobedience started the Montgomery Bus Boycott, which is one of the largest movements against racial segregation. In addition, this launched Martin Luther King, Jr., who was involved with the boycott, to prominence in the civil rights movement. She has had a lasting legacy worldwide.



(ภาพซ้าย) Photograph of Rosa Parks with Dr. Martin Luther King jr. (ca. 1955.) She was taking a picture by her car and Martin Luther King Jr. was standing in the background while they were taking a picture.

(ภาพขวา) The No. 2857 bus which Rosa Parks was riding on before she was arrested (a GM "old-look" transit bus, serial number 1132), is now a museum exhibit at the Henry Ford Museum.


โรซา ปาร์กส์ถูกตำรวจจับและปรับด้วยข้อหาก่อความไม่สงบ แต่คดีของเธอกลายเป็นที่สนใจและนำไปสู่การเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มศาสนา กลุ่มสิทธิของคนผิวดำ กลุ่มสิทธิมนุษยชน ฯลฯ นำไปสู่การก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา จนทำให้การแบ่งแยกสีผิวในสหรัฐอเมริกาถึงกาลอวสานในเชิงนิตินัย

ในช่วงที่อาร์เจนตินาล่มสลายทางเศรษฐกิจใน ค.ศ. 2001 ขณะที่โรงงานหลายแห่งทยอยปิดตัวและมีคนตกงานในอาร์เจนตินาเกือบครึ่งประเทศ ช่างตัดเย็บสตรีในโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปบรุกแมน เซเลีย มาร์ติเนซ และเพื่อนคนงานสตรีอีกหลายคน พวกเธอไม่ยอมออกจากโรงงานไปทนกับความหนาวเย็นข้างนอก คนงานตัดสินใจยึดโรงงานและดำเนินการผลิตต่อไป คนงานสตรีแห่งบรุกแมนช่วยจุดประกายให้เกิดขบวนการกอบกู้สถานประกอบการโดยคนงาน ทั้งในประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัย เวเนซุเอลา ฯลฯ คนงานเหล่านี้ทำหน้าที่ผลิต บริหาร ขาย อย่างเท่าเทียมโดยไม่มีเจ้านาย

สิทธิของผู้หญิงไม่ได้มาจากผู้ชาย
ผู้หญิงไม่ได้ต่อสู้เพียงเพื่อตัวเอง แต่ต่อสู้เพื่อคนอื่น และประเด็นอื่นที่เป็นเรื่องของสังคมในวงกว้าง ผู้หญิงไม่ได้ต่อสู้เพียงเพื่อให้ตัวเองเหมือนผู้ชาย แต่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความเป็นตัวของตัวเอง

ในขบวนการซาปาติสตา ซึ่งเป็นขบวนการปกครองตนเองของชาวพื้นเมืองในเม็กซิโก ผู้หญิงชาวพื้นเมืองในขบวนการนี้ทำหน้าที่ทั้งนักรบและนักปกครอง ชาวพื้นเมืองผู้หญิงซาปาติสตาคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ความเท่าเทียมไม่ใช่สิ่งที่ประกาศิตมาจากเบื้องบน เราได้มันมาจากการต่อสู้" ผู้หญิงชาวซาปาติสตายังบอกกับผู้ชายด้วยว่า "พวกนายจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ตอนนี้เราจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างด้วยตัวเอง....นั่นคือเหตุผลที่ในรายการข้อเรียกร้องที่เรายื่นต่อรัฐบาล ไม่มีข้อเรียกร้องที่เอ่ยถึงเรื่องเพศเลย" เพราะ "เราจะไม่อ้อนวอนรัฐบาลให้มอบเสรีภาพแก่เรา เราจะไม่ขอร้องพวกนายผู้ชายหน้าโง่ด้วย เราจะรับประกันเสรีภาพของเราด้วยตัวเราเอง เสรีภาพ ความนับถือ และศักดิ์ศรีของเราในฐานะผู้หญิงและในฐานะมนุษย์"

ความเท่าเทียมทางสังคมไม่ใช่สิ่งที่มอบลงมาจากเบื้องบนฉันใด ความเท่าเทียมระหว่างเพศก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ชายมอบให้ผู้หญิงฉันนั้น ความเท่าเทียมคือสิ่งที่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มันมา และผู้หญิงมักเป็นกลุ่มคนที่ต่อสู้ในวิถีทางที่ถึงรากถึงโคนที่สุด

(๒). ดับไฟใต้ด้วยความเป็นผู้หญิง
จิตต์ปภัสสร์ บัตรประโคน : ๗ มีนาคม ๒๕๕๑
โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผู้หญิงตามอนุสัญญาผู้หญิง (CEDAW)

CEDAW : The Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women (the CEDAW Convention) is a human rights treaty for women. The UN General Assembly adopted the CEDAW Convention on 19th December 1979. It came into force as a treaty on 3rd September 1981; thirty days after the twentieth member nation became a States party to it. CEDAW is one of the most highly ratified international human rights conventions, having the support of 185 States parties. This is one of the many benefits of the CEDAW Convention; it can stand as a treaty that has achieved a global consensus and thus reflects the normative standards applicable to women's human rights.

บทนำและภาพรวม
ทันทีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกมาเสนอความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการเสนอให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปกครองพิเศษ แล้วปรับอีกหน่อยเป็นเขตปกครองพิเศษเฉพาะส่วน แล้วก็ไม่กล่าวถึงอีกเลย เพราะถูก "ใบแดง" จากผู้นำรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเสียก่อน แม้การพูดถึงเขตปกครองพิเศษจะเป็นสิ่งที่ถูกวิจารณ์ว่าผิดกาละเทศะ แต่การออกมาพูดครั้งนี้ก็ไม่ได้สูญเปล่าเสียทีเดียว อย่างน้อยก็ทำให้เรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง

ยิ่งเมื่อพิจารณาในมุมมองของผู้หญิงแล้ว ก็ยิ่งน่าสนใจ โดยเฉพาะสิ่งนี้ยืนยันถึงความคิด แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ซึ่งละเลยต่อกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มใหญ่ เป็นกลุ่มที่มีพลังอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงบวกที่จะสนับสนุนให้เกิดความสงบสุขและสันติภาพขึ้น และเชิงลบอันเป็นเงื่อนไข ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงต่อไป นั่นคือกลุ่มผู้หญิง ผู้อยู่หลังความตาย

ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) ทำการเก็บข้อมูลจากครอบครัวผู้ประสบเหตุหรือผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนมกราคม 2550 ถึงตุลาคม 2550 จำนวน 284 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประสบเหตุเป็นเพศชายร้อยละ 95.8 สมรสแล้วร้อยละ 89.1 เป็นหัวหน้าครอบครัวร้อยละ 84.5 และอยู่ในวัยทำงานอายุเฉลี่ย 45.9 - 12.4 ปี นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 51.4 นอกจากสิ่งที่ได้รายงานแล้ว ความสูญเสียที่มองไม่เห็น นั่นคือการสูญเสียหัวหน้าครอบครัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญต่ออีกหลายชีวิตในบ้าน ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีกสองเท่า สามเท่าหรือมากกว่านั้น โดยตัวเลขรวมของหญิงหม้ายและเด็กนับแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในปี 2547 ถึงปัจจุบัน มีหญิงหม้าย 934 คน เด็กกำพร้า 1,293 คน

เรื่องเล่าจากผู้หญิงที่บันนังสตา
กะเซาะ หญิงชาวบ้านที่บันนังสตาเล่าว่า หลังการหายตัวไปของสามี เธอกับลูกสาวและลูกชายต้องอยู่ด้วยความลำบาก แม้ว่าตอนที่สามียังอยู่ครอบครัวไม่ได้มั่งมีอะไร เพียงแค่พออยู่พอกิน ก็ไม่ได้เดือดร้อน พอเขาหายไปจึงได้ลิ้มรสความยากลำบาก กะเซาะเคยคุยกับลูกสาวทางโทรศัพท์ให้ได้ยินว่า เธอบอกลูกสาวไปขอยืมเงินข้างบ้านก่อนห้าสิบบาท อีกสองวันแม่จะกลับเอาเงินไปคืนให้ ลูกสาวคนนี้ต้องหยุดเรียนเพียงชั้น ม.6 แม้ทุกวันนี้เธอก็ยังโทรมาเล่าถึงระเบิดที่เกิดขึ้นเสมอ "พี่ปลาขา วันนี้มีระเบิดที่ตลาดขายของไม่ได้เลย กะเซาะไม่มีจะกินแล้ว"

หาลีเมาะ แห่งห้วยกระทิง แม่หม้ายลูกสามผู้ชอบพกรูปถ่ายลูกชายในกระเป๋าสตางค์ เอาไว้คอยดูเวลาคิดถึงเมื่อเธอต้องขึ้นๆ ลงๆ ระหว่างกรุงเทพฯ-ยะลา ตามคำเชิญของหน่วยงานหลายแห่ง. หาลีเมาะเป็นผู้สูญเสียสามีไปในเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน พร้อมรอยประทับทางสังคมว่าเป็น "เมียโจร" ที่ฝังร่างไว้จนทุกวันนี้ เมื่อมีโอกาสได้คุยกันวันหนึ่ง เธอยื่นจดหมายยับๆ ที่มีลายมือขยุกขยิก ก่อนจะอ่านให้ฟังเพราะเกรงว่าจะแกะลายมือไม่ออก ถ้อยความในจดหมายนั้นบอกเล่าเรื่องราวเล็กๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่และหนักหนาสาหัสสำหรับเธอและลูกว่า

"เมาะเป็นคนผู้ (พูด) ไม่เป็นภาษาไทย พี่ปลาช่วยหาลีเมาะที่ต้องการด้วย เพราะหาลีเมาะเป็นครอบครัวคนเดียว หาลีเมาะขึ้นมากรุงเทพครั้งนี้ หาลีเมาะดีใจบอกไม่ถูก แต่เดี๋ยวนี้หาลีเมาะกำลังสร้างบ้านไม่พอกับเงิน เพราะของแพงมาก ต้องขุดบอ (บ่อ) น้ำ ต้องมีค่าขุดบอ (บ่อ) น้ำด้วย หาลีเมาะย่าง (อยาก) อยู่เร็วๆ ขอบคุณพี่ปลามากที่เข้าใจเรื่องของหาลีเมาะ"

หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องราวของหาลีเมาะ และผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ ผ่านการสื่อสารสาธารณะ ฟังซ้ำ วนเวียนจนชาชิน และในที่สุดกลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นข่าว ถูกดูดกลืนไปในกระแสเรื่องเล่าที่ใหญ่กว่า เทียบระหว่างเรื่องเขตปกครองพิเศษกับปัญหาปากท้องและการดำรงชีวิตแต่ละวัน เรื่องแรกเป็นประเด็นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ติดต่อกันหลายวัน ผู้ให้ความเห็นหลักล้วนเป็นผู้ชาย ไล่เรื่อยมาตั้งแต่รัฐมนตรี นักวิชาการ ผู้นำความคิด และผู้นำศาสนา ส่วนเรื่องหลังที่เป็นความเดือดร้อน ความยากลำบาก ความขัดสน และความคับแค้นใจที่ผู้ประสบปัญหาและได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ เป็นผู้หญิง ซึ่งไม่สามารถจะขับเคี่ยว แย่งชิงพื้นที่สาธารณะกับเขตปกครองพิเศษ และขาดแคลนนักวิชาการ ผู้นำความคิด ผู้นำศาสนาแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นจริงเป็นจัง

ผู้ไขว่คว้าหาสันติภาพ
ในการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ส่วนของภาคประชาชนจำนวนกว่า 20 หน่วยงานและองค์กร พบว่า กลุ่มผู้หญิงเป็นกำลังสำคัญ สามารถเข้าถึง เข้าใจ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูญเสียได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับแนววิเคราะห์สตรีนิยมซึ่งให้คุณค่าแก่ความเป็นหญิงที่อธิบายว่า ผลจากความคาดหวังทางสังคมต่อผู้หญิงในฐานะมารดาของบุตร ได้หล่อหลอม ขัดเกลาและสร้างบุคลิก ลักษณะและความรับผิดชอบให้แก่ผู้หญิงเป็นผู้ดูแล ผู้ให้และผู้รักษาชีวิต ซึ่งเป็นด้านที่ตรงข้ามและแตกต่างออกไปจากผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มของการเป็นผู้รักสันติภาพ ต่อต้านสงคราม รวมถึงการแสวงหาหนทางเพื่อระงับและยุติความรุนแรงอย่างสร้างสรรค์

ลักษณะดังกล่าวปรากฏในการทำงานสันติภาพในกรณีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่นแนวคิดเรื่อง "กอดสีชมพู" ทำให้เห็นจุดแข็งของการเป็นผู้หญิงในการเยียวยา ซึ่งได้ใช้การสัมผัสร่างกาย เช่น การกอด การบีบมือ การนวด ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ความคับแค้นใจ และสร้าง "สภาวะสันติขึ้นภายใน "จิตใจ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูญเสียส่วนใหญ่เหลือแต่เด็กและผู้หญิง ทำให้ยิ่งสัมผัสและโอบกอดกันได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การทำงานที่เป็นงานสร้างเพื่อน ยังช่วยประสานรอยร้าว ความบาดหมาง และระแวงสงสัยในท่ามกลางความขัดแย้ง นั่นคือการทำงานเพื่อลดความรู้สึกของผู้สูญเสียที่คิดว่าตนเองต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว โดยการรับรู้ รับฟังปัญหาและไม่ปล่อยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องเผชิญกับความทุกข์อยู่เพียงลำพัง คอยให้คำปรึกษา หาช่องทาง แนะทางออก และแสดงให้เห็นว่ายังไม่ถึงทางตัน

ประการสำคัญต่อมาคือ ความเป็นมารดา และความเป็นหญิงยังช่วยลดการเผชิญหน้า ลดความกดดัน ลดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง เมื่อผู้ชายตกเป็นเป้าหมาย ผู้ต้องสงสัย และถูกมองอย่างไม่ไว้วางใจจากเจ้าหน้าที่รัฐ แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวและการทำงานเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ก็จะถูกติดตาม ตรวจค้น และรบกวนการทำงานตลอด ผู้หญิงจึงเข้ามามีบทบาทแก้ไขสถานการณ์ ความขัดข้อง และคลี่คลายความสงสัย ความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น

เช่น กรณีของเยาวชนใจอาสา ซึ่ง รอมือละห์ แซเยะ แกนนำกลุ่มเล่าว่า ผู้หญิงกลายเป็นผู้นำกลุ่มเพราะผู้ชายถูกเรียกตรวจค้นบ่อย ถูกติดตามมากจนทำงานไม่สะดวก "กลุ่มบุกเบิกส่วนใหญ่เป็นผู้ชายถูกจับตาจากเจ้าหน้าที่ มีการค้นบ้านของนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม จึงมีการชักชวนนักศึกษาหญิงเข้ามาร่วมด้วย พอมีนักศึกษาหญิงทำให้การไปไหนมาไหนสะดวกมากขึ้น การตรวจค้นไม่เข้มงวดเท่ากับการไปเฉพาะกลุ่มผู้ชาย"

ผู้หญิงยังได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ย้ำและยืนยันความเป็นหญิงที่มีแนวโน้มของการเป็นผู้รักสันติภาพ ต่อต้านความรุนแรง เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบรางวัล"ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน" เพื่อสนับสนุนผู้หญิงที่ทำงานด้านปกป้องสิทธิมนุษยชน และรณรงค์เผยแพร่ให้สังคมตระหนักถึงบทบาทและภารกิจของผู้หญิงในการทำงานด้านนี้ ซึ่งมีผู้หญิงได้รับรางวัลจากการทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกรณีความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ นางอังคณา นีละไพจิตร, นางโซรยา จามจุรี, และนางแยนะ สาแลมะ

ผู้ใช้ความรุนแรง
ประมาณปลายปี 2549 พบว่า การชุมนุมประท้วงโดยมวลชนปรากฏองค์ประกอบที่เป็นผู้หญิงและเด็กมากขึ้น ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ประท้วงเป็นชาวไทยมุสลิม เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในคดีการก่อความไม่สงบ และรองลงมาคือการเรียกร้องขับไล่กองกำลังทหารหรือตำรวจออกจากพื้นที่ แม้ว่าแต่ละครั้งของการชุมนุม จำนวนผู้หญิงและเด็กที่เข้าร่วมจะไม่ถึง 100 คน หากแต่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการรับรู้ในเชิงสัญลักษณ์ โดยเฉพาะทำให้เห็นว่า การชุมนุมดังกล่าวดำเนินไปโดยใช้สันติวิธีผ่านการใช้ผู้หญิงที่มีฐานะในเชิงสัญลักษณ์ของสันติภาพ ความเป็นเพศมารดาซึ่งเป็นผู้ให้และรักษาชีวิต ดังนั้นหากถูกปราบปราม ปฏิบัติการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เพียงแต่ฝ่ายรัฐจะถูกประณามเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม แต่ยังถูกประณามในเชิงสัญลักษณ์ เพราะทำให้ผู้ชายเจ้าหน้าที่รัฐถูกผลักไปอยู่ด้านตรงข้ามของผู้หญิงซึ่งถูกอธิบายโดยผูกติดกับสันติภาพ ดังนั้นการปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กในการสลายการชุมนุม แม้เป็นการทำหน้าที่ด้วยความสุจริต และสันติวิธีแล้ว ก็ยังเห็นว่าเป็นการกระทำที่รุนแรง และไร้มนุษยธรรม ซึ่งด้วยกลไกนี้เองได้บดบังการพิจารณาบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้กระทำการ ผู้มีส่วนร่วม และใช้ความรุนแรง

จากประสบการณ์ของทหารพรานหญิงซึ่งทำหน้าในการสลายการชุมนุม เธอเล่าว่า ต้องใช้ความอดทน สะกดกลั้น และนิ่งเฉยต่อเสียงยั่วยุ การก่นด่า และการท้าทายการทำงานของฝ่ายผู้ชุมนุม ทหารพรานหญิงมุสลิมต้องขอร้องเพื่อนทหารด้วยกันว่า ในเวลาทำงานไม่ขอแปลคำพูดทั้งหลายที่ถูกส่งมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม เพราะเกรงว่า เพื่อนจะมีอารมณ์ตอบโต้กลับ นอกจากนี้จากการทำงานยังพบว่า บางเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช่คนท้องถิ่น น่าจะถูกจัดตั้งขึ้นมา มีการซักซ้อมว่าถ้าตำรวจหรือทหารมาจะทำอย่างไร ต้องไม่ยอมท่าเดียว ซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธการเจรจา การรับฟังคำชี้แจง และข้อเสนอแนะอันเป็นแนวทางสันติวิธีเพื่อระงับและยุติความขัดแย้ง

กรณีเหตุการณ์ที่โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งชาวบ้านทั้งผู้ชายและผู้หญิงจับครูผู้หญิงคนพุทธ 2 คนเป็นตัวประกัน และร่วมกันทำร้ายครูทั้งสองอย่างทารุณ เป็นเหตุให้ครูจูหลิง ปงคำมูลได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา คดีนี้ผู้หญิงตกเป็นผู้ต้องหาร่วมด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งของปฏิกริยาตอบสนองต่อการสูญเสีย การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยในกรณีต่างๆ แสดงออกถึงลักษณะ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ดังมีกรณีม็อบชนม็อบเกิดขึ้น เช่น การชุมนุมของไทยพุทธครั้งแรกที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เพื่อยื่นข้อเสนอให้ทหาร ตำรวจเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาความปลอดภัยของคนพุทธและเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธ์ และยังมีการชุมนุมต่อมาอีกหลายครั้ง. กรณีที่ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ปรากฏการชุมนุมเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มไทยพุทธและมุสลิม ซึ่งฝ่ายมุสลิมได้สลายตัวไปก่อน ผู้หญิงไทยพุทธที่ได้ร่วมในการชุมนุมดังกล่าว เล่าด้วยความขุ่นเคือง และโกรธแค้นว่า "พวกนั้น (กลุ่มผู้ชุมนุม) เป็นผู้ชายปลอมตัว ถ้าเข้าไปถลกกระโปรงได้ จะเข้าไปดูให้รู้เลย เราอดทนแล้ว แต่คนตายไม่หยุด ใครบอกให้ออกไปต่อต้าน จะไป จะสู้แล้ว เคยดีกันมาตั้งนาน ใครดีด้วย ใครไม่ดีเราก็จะไม่ดีอีกแล้ว"

สิ่งที่ต้องการเสนอไว้คือ กรณีของผู้หญิงและเด็กที่มาชุมนุมประท้วง ควรมองเห็นทั้งสองด้านที่ผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำ เป็นทั้งผู้รักสันติภาพ และผู้สนับสนุนสงคราม และใช้ความรุนแรง เพราะการมองเห็นด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดในสถานการณ์ ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ไม่รอบด้าน และไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจกลายเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งและความรุนแรงที่ต่อเนื่องไม่จบ โดยเฉพาะการส่งต่อความเกลียดชัง ความคับแค้นใจ และความรุนแรงผ่านผู้หญิง เพราะเธอเหล่านี้ไม่ใช่แม่ของลูกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทและความหมายในเชิงสัญลักษณ์ว่าเป็นแม่ของชุมชน เผ่าพันธุ์ และแผ่นดินด้วย

การส่งผ่านและถ่ายทอดบทเรียนการต่อสู้ที่เกิดขึ้น เช่น กรณีชาวมุสลิมผู้เป็นมารดาในปาเลสไตน์ นอกจากเธอจะเลี้ยงลูกเช่นเดียวกับแม่คนอื่นแล้ว เธอได้เริ่มต้นบทเรียนการต่อสู้ให้แก่ลูกของเธอด้วย นั่นคือการขว้างปาก้อนหินใส่รถถังทหารของรัฐอิสราเอลที่ปล้นดินแดน และขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากมาตุภูมิของตนเอง ในนาม "อัล-อินติฟา เดาะฮ (การลุกขึ้นใหม่)". กล่าวสำหรับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน บทเรียนเหล่านี้ได้เริ่มต้น ถูกส่งผ่านและถ่ายทอดแล้ว ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจุบันว่า จะสามารถลดความขัดแย้ง สร้างความเป็นธรรม ขยายบทบาทเชิงบวกในการเป็นผู้รักสันติภาพ ขจัดเงื่อนไขและปัจจัยที่ไปเอื้อให้เกิดบทบาทเชิงลบที่ใช้ความรุนแรงของผู้หญิงอย่างไร

ผู้ที่ถูกละเลย
สถานะและบทบาทของผู้หญิงในสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ เป็นผู้ได้รับผลกระทบที่มองไม่เห็น บทบาทต่อการสร้างสันติภาพ และการเป็นเงื่อนไขและสนับสนุนความรุนแรง แต่เรื่องราวของผู้หญิงเหล่านี้กลับไม่ได้รับความสนใจ หรือถูกพิจารณานับเข้าเป็นองค์ประกอบเพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น ดูจากข้อเสนอที่มีอยู่ ทั้งที่เป็นข้อเสนอทางการเมือง ฝ่ายความมั่นคง ภาคประชาสังคม ผลการสำรวจความคิดเห็น และการทำการศึกษาวิจัยล้วนแต่เป็นการเสนอเพื่อปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง และฟื้นฟูโครงสร้างหลักๆ เช่น การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และระบบการศึกษา นำไปสู่การจัดการ กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของพื้นที่และรัฐบาล เพื่อบริหารจัดการให้สอดคล้องกับพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนา เช่นตัวอย่างข้อเสนอที่ปรากฏในรายงานคณะกรรมการอิสระสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)

สำหรับประเด็นสถานะและบทบาทของผู้หญิงจะถูกซุกซ่อน แอบไว้ในปัญหาสังคมในหัวข้อย่อยว่าด้วยหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือ การสังคมสงเคราะห์ และการเยียวยารายบุคคล ข้อดีคือช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น แต่ข้อด้อยคือนอกจากเป็นการจำกัดกลุ่มผู้หญิงที่ประสบปัญหาและได้รับผลกระทบไว้เพียงบางกลุ่ม ยังส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้หญิงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกีดกันให้ประเด็นผู้หญิงและปัญหาของผู้หญิงออกจากหน่วยการวิเคราะห์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ

คณะทำงานวาระทางสังคม และมูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผู้หญิงกลุ่มต่างๆ เพื่อทราบสถานการณ์ ปัญหา ความเดือดร้อน แสวงหาศักยภาพในการแก้ไขปัญหา แนวทางและวิธีการจากมุมมองของผู้หญิงในการสร้างให้เกิดความสงบสุขขึ้น น่าสนใจว่าปัญหาในมุมมองของผู้หญิง มิได้มีสาเหตุหลักจากความไม่สงบที่เกิดขึ้น การแบ่งแยกดินแดน หรือปัญหาอัตลักษณ์ แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสังคมที่บีบให้พวกเขาตกเป็นคนชายขอบ เป็นคนด้อยและยากจนในโอกาสของชีวิตด้านต่างๆ เช่น กรณีของผู้หญิงในหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งสะท้อนว่า พอหาปลาได้น้อยลง ทำให้รายได้ไม่พอเพียงในครอบครัว ผู้หญิงจะปรับตัวให้ง่ายกว่า โดยขวนขวายเข้ามาเป็นแรงงานแพปลา คัดแยกปลา แม้ได้เงินไม่มาก แต่ก็ได้ปลาไปเป็นอาหาร, ส่วนผู้ชายปรับตัวได้น้อยมาก พอไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ จะกลัดกลุ้มไม่สบายใจ หาทางออกด้วยการไปสูบบุหรี่ กินเหล้า ไปร้านน้ำชา

กรณีที่สามีเสียชีวิต ผู้หญิงหม้ายต้องรับผิดชอบและแบกภาระครอบครัวไว้คนเดียว ยิ่งมีลูกมากจะยิ่งประสบปัญหามาก บางคนถูกมองว่าร่ำรวยเพราะเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ จึงถูกผู้ชายตามตื้อขอแต่งงานด้วย ชุมชนบางแห่งสนับสนุนให้ผู้ชายที่มีครอบครัวรับอุปการะผู้หญิงหม้ายเป็นภรรยาอีกคน เพื่อจะช่วยดูแล ให้ความคุ้มครอง. นอกจากนี้ผู้หญิงต้องเผชิญกับการกระทำความรุนแรงทางเพศ ต้องอดทนต่อการถูกกระทำ เพราะทัศนคติต่อเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ต้องห้าม หรือเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ มีผู้หยิบยกกรณีผู้หญิงพิการ สติไม่ดี ถูกข่มขืนโดยคนในหมู่บ้าน วิธีการแก้ปัญหาของชุมชนคือการทำหมันผู้หญิง แต่มิได้บอกว่า ผู้ชายได้รับโทษอย่างไรบ้าง

จากข้อมูลจะพบว่า ผู้หญิงไม่ได้เพียงเผชิญกับผลกระทบจากความไม่สงบเท่านั้น หากต้องเผชิญกับผลกระทบจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมและเหลื่อมล้ำ เพราะความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ในสังคมซึ่งดำรงอยู่ก่อนความไม่สงบ และความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อชีวิตและสิทธิมนุษยชน ของผู้หญิง เช่นประสบการณ์การถูกกดขี่ของผู้หญิงในหลายสังคม การถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การมีลูกเป็นจำนวนมาก การขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะและวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องต่อตลาดแรงงาน สามารถที่จะดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ พึ่งพาตนเองได้ การได้รับโอกาสทางการศึกษา และการตัดสินใจมีครอบครัวด้วยความพร้อมและสมัครใจ

ดังนั้นแม้สงครามที่ใช้ความรุนแรง การต่อสู้ด้วยกองกำลังรูปแบบต่างๆ จะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจะยุติลง แต่มิได้เป็นหลักประกันได้เลยว่า "สงครามในชีวิตประจำวัน" จะยุติลงไปด้วย สันติภาพที่ได้มาภายหลังการสิ้นสุดของสงครามก็เป็นเพียงสันติภาพเชิงลบ (Negative Peace) (**) คือเป็นเพียงการยุติลงของความขัดแย้ง ความรุนแรง และสงคราม ซึ่งไม่อาจไว้วางใจได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะความรุนแรงในเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมยังดำรงอยู่ ขณะที่สงครามและความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อการละเมิดชีวิตผู้หญิงมากขึ้น โดยมีความเชื่อมโยงกับการกระทำความรุนแรงในมิติเพศสภาพ (Gender-Based Violence) ต่อชีวิตของผู้หญิงในสถานการณ์ปกติ ทำให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อและได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสงคราม และยังเป็นเหยื่อของโครงสร้างและวัฒนธรรมซึ่งกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และกระทำความรุนแรงต่อเธอด้วย

ดังนั้นเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นสันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) (**) จะต้องสลาย ขจัดและยุติการกระทำอันจะนำไปสู่ การเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ ควบคู่ไปกับการยุติความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานการณ์ไม่ปกติ หรือภาวะสงคราม

(**) Differences between Positive and Negative Peace
The major characteristics of negative and positive peace can be summarised as follows:
- Negative Peace: Absence of violence, pessimistic, curative, peace not always by peaceful means.
- Positive Peace: Structural integration, optimistic, preventive, peace by peaceful means.

Johan Galtung in most of his work has sought to project positive peace as a higher ideal than negative peace. This is because according to Galtung, peace research shouldn't merely deal with the narrow vision of ending or reducing violence at a direct or structural level but seek to understand conditions for preventing violence. For this to happen, peace and violence need to be looked at in totality at all levels of human organisation. So, inter-gender violence is no less important than inter-state violence and positive peace promotion has to address issues of violence at all levels. This requires an understanding of the civilisations, development, peace and conflict studied eclectically.

Johan Galtung (1996) suggests a typology in answer to the question, what is the cause of peace? What is the effect of peace? The typology includes six spaces: Nature, Person, Social, World, Culture and Time. This gives five violences: nature violence, actor or direct violence, structural or indirect, cultural and time violence. Negative peace then is defined as the absence of violence of all the above kinds. Positive peace includes nature peace, direct positive peace, structural positive peace and cultural positive. Based on these Galtung comes to the conclusions that violence and peace breed themselves and that positive peace is the best protection against violence. http://blog.knowledgepolicy.com/2005/08/positive-and-negative-peace.html

แก้ปัญหาความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนใต้ต้องใส่ใจเรื่องผู้หญิง
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ประกันสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ความมั่นคงทางสังคม ทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งหลาย และโอกาสทางการศึกษา โดยได้แสดงความกังวลต่อสถานภาพของผู้หญิงมุสลิมในภาคใต้ที่มีการแต่งงานตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม จะส่งผลกระทบต่อโอกาสและความก้าวหน้าในชีวิตของผู้หญิง ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์ความไม่สงบก็ได้ซ้ำเติมให้เกิดความยากลำบากแก่หญิงมากขึ้น ในฐานะที่รัฐบาลได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) จำเป็นต้องดำเนินการออกมาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง รวมทั้งการออกกฎหมายเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง

แต่นโยบาย มาตรการ และข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบยังมิได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาและผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงโดยเฉพาะ หรือยังขาดมุมมองมิติทางเพศ (Gender) ในการจัดทำนโยบาย กำหนดมาตรการ และวิธีการเพื่อยุติความรุนแรง รายงานการศึกษานโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิง กรณี"นโยบายแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้" ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลยังดำเนินการด้านการปราบปรามเป็นหลัก ขาดความอ่อนไหวด้านมิติทางสังคมและวัฒนธรรม แม้รัฐบาลโดยฝ่ายความมั่นคงอ้างถึงการนำแนวคิดเอาชนะทางความคิดซึ่งได้ผลในสงคราม ปราบปรามคอมมิวนิสต์มาใช้ แต่ในทางปฏิบัติกลับมิได้มีมาตรการเพื่อดำเนินการที่ชัดเจน

นอกจากนี้ สถานการณ์การสู้รบที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แสดงความวิตกกังวลต่อการถูกกระทำความรุนแรง ที่มีเพศเป็นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนและการละเมิดทางเพศ จำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษไปคุ้มครอง. ในกรณีปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า มีเพียงการอบรมแก่กำลังพลที่จะลงไปปฏิบัติหน้าที่ว่า "ห้ามล่วงเกินผู้หญิง" จึงไม่พอต่อการสร้างความกระจ่างและความเข้าใจต่อปัญหา "ข่าวลือ" เช่น เรื่องชู้สาวระหว่างทหารในพื้นที่กับผู้หญิงมุสลิมในพื้นที่ และกรณีของหญิงสาวแห่งหมู่บ้านซาลาแป ที่มีการกล่าวหาว่าถูกคนร้ายข่มขืนก่อนถูกฆ่าทิ้ง และได้กลายเป็นประเด็นร้อนในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่จากชาวบ้านในพื้นที่ ขบวนการนักศึกษา -ประชาชนได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งในการชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกลาง ปัตตานี โดยเฉพาะไม่อาจเป็นหลักประกันหรือแสดงถึงการดำเนินนโยบาย มาตรการพิเศษเพื่อปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงและเด็กได้เลย

จากสถานะ บทบาท ผลกระทบต่อผู้หญิงในสถานการณ์ความไม่สงบ และแนวปฏิบัติสากลในสถานการณ์สู้รบ ประเด็นเรื่องผู้หญิงและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคนกลุ่มนี้ ควรจะได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญ และยกระดับให้เป็นปัญหาสาธารณะเช่นเดียวกับปัญหาการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้ประเด็นผู้หญิงเป็นประเด็นชี้วัดความสำเร็จ และความล้มเหลวของการแก้ไขปัญหาสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยยะสำคัญ

คัดลอกจาก ประชาธรรม

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com


Words from the Text
วันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๙๕ โรซา ปาร์กส์ ช่างตัดเย็บสตรีผิวดำในเมืองมอนต์โกเมอรี มลรัฐแอละแบมา เธอปฏิเสธไม่ยอมลุกจากที่นั่งในรถประจำทาง ในยุคที่คนผิวดำยังเป็นพลเมืองชั้นสองในสหรัฐอเมริกา ที่นั่งของรถประจำทางจะแบ่งออกเป็นส่วนของคนขาวกับคนดำ แต่หากที่นั่งส่วนของคนขาวเต็ม คนขับรถมักออกคำสั่งให้คนผิวดำลุกขึ้นและให้ที่นั่งแก่คนขาว ทว่าโรซา ปาร์กส์ ไม่ยอมลุกขึ้น ด้วยเหตุผลว่า "ฉันอยากรู้ให้แน่ชัดเสียทีว่า ฉันมีสิทธิอะไรบ้างในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง...." โรซา ปาร์กส์ถูกตำรวจจับและปรับด้วยข้อหาก่อความไม่สงบ แต่คดีของเธอกลายเป็นที่สนใจและนำไปสู่การเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มศาสนา กลุ่มสิทธิของคนผิวดำ กลุ่มสิทธิมนุษยชน ฯลฯ (คัดมาจากบทความ)
Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com

International Women's Day (IWD) is marked on March 8
every year. It is a major day of global celebration for the economic,
political and social achievements of women.
Started as a political event, the holiday blended in the culture of many countries (primarily Russia and the countries of former Soviet bloc).
The political and human rights theme as designated by the United Nations runs strong, and political and social awareness of the struggles of women worldwide are brought out and examined in a hopeful manner.
The IWD is also celebrated as the first spring holiday.