บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกชิ้นที่เผยแพร่ เป็นสมบัติสาธารณะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ ภายใต้นโยบายลิขซ้าย (copyleft) เพื่อสังคมไทย



สำหรับผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ หน้ากระดาษ กรุณาส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
นักศึกษาและผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่แบนเนอร์ข้างบนนี้
อุดมศึกษาทางเลือก สำหรับผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014

Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licen
e document, but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๖ เผยแพร่วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ : date 11 March 2008
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี รวมบทความทั้งหมดจำหน่ายเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานเว็บไซต์ หากสนใจสั่งซื้อได้ที่อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
H

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ค้นหาบทความโดยคลิกที่แบนเนอร์และใส่คำค้นที่สำคัญ



11-03-2551 (1506)

การเบียดขับการเมืองกระแสรองสู่ชายขอบ และการตีตราความผิดปกติ
Stuart Hall: ความผิดปกติ การเมืองกระแสหลัก และสื่อ
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

งานแปลชิ้นนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง
The Routledge Reader in Politics and Performance
Edited by Lizbeth Goodman with Jane de Gay
Part Two เรื่อง Critical Theories and Performance
Stuart Hall: Deviance, Politics and the Media

การเมืองกระแสหลักพยายามที่จะเบียดขับความคิดกระแสรอง และผู้ไม่เข้าพวก
ให้กลายเป็นพวกผิดปกติ และถูกดันไปอยู่ชายขอบ โดยตีตรา กล่าวหา เพิกเฉย
ต่อความคิดเห็นทางการเมืองของคนเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีความพยายาม
ที่จะทำให้กลุ่มคนที่ต่างออกไปกลายเป็นพวกตรงข้าม "ไม่ปกติ"กับ"ปกติ"
การกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการปิดโอกาสสาธารณชนให้ได้สัมผัสกับความคิดใหม่ที่แตกต่าง
ทำให้กลุ่มที่ได้เปรียบของสังคมการเมืองธำรงและรักษาผลประโยชน์ของตนต่อไปได้...
การสร้างภาพอุดมคติ ภาพความเป็นปกติ การเมืองแบบฉันทามติ โดยการกดทับความขัดแย้ง
ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง และสถาบันต่างๆ มาสนับสนุน เช่นการเมืองกระแสหลักแบบ
รัฐสภา สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ รวมไปถึงวาทกรรมอย่างเช่น ผลประโยชน์แห่งชาติ
เพื่อสร้างภาพความยินยอมพร้อมใจที่ซ่อนเร้นอำนาจนำที่ควบคุมความต่าง
ไว้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การเบียดขับการเมืองกระแสรองสู่ชายขอบ และการตีตราความผิดปกติ
Stuart Hall: ความผิดปกติ การเมืองกระแสหลัก และสื่อ
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ: รูปแบบของความไม่ปกติทางการเมือง
บทความชิ้นนี้เป็นการเปิดประเด็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางในเรื่อง "รูปแบบของความไม่ปกติทางการเมือง" (Political Deviance) และกล่าวถึงการที่สื่อสาธารณะได้เข้ามามีบทบาทต่อกิจกรรมต่างๆ มากมาย มีการกำหนด การให้คุณค่า และมีการตีตราภายในขอบเขตทางการเมือง บทความต่อไปนี้ได้นำเอาผลงานการวิจัยหลายชิ้นเข้ามาประกอบกัน และผลงานวิจัยหลายๆ ชิ้นยังอยู่ในช่วงต้นๆ ของการศึกษาจึงไม่สามารถที่จะแสดงถึงเนื้อแท้หรือแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ได้อย่างเต็มรูปแบบ หรือออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน. การศึกษานี้ถือได้ว่าเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาทบทวนกระบวนการเกิดขึ้นของ "ความไม่ปกติ" และบทบาทหน้าที่ของ "สื่อสาธารณะ" ซึ่งการนำเสนอจะออกมาในรูปที่สามารถใช้เป็นทฤษฎีเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันต่อไป

เรื่องราวของมิติทางการเมืองเกี่ยวข้องกับ "ความไม่ปกติ"(deviance)นี้ ไม่ได้ถูกทำให้เป็นประเด็นชัดเจนมาแต่แรกในการศึกษาพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปกติ, โดยเบคเกอร์ (Becker, 1967) ซึ่งได้เสนอว่า ในรูปแบบหลายๆ อย่างของความแตกต่างจากปกติทางสังคม อาจจะเข้าใจผ่านการขัดแย้งกันของส่วนต่างๆ หรือสถานะสูงต่ำต่างๆ ยศตำแหน่ง ที่ไม่ได้ถูกจัดการมาสำหรับการขัดแย้งกันตั้งแต่แรก แต่ไม่มีใครพยายามที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบของลำดับขั้นทางอำนาจนี้. จากแนวความคิดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การกระทำที่แตกต่างไปจากปกตินั้น(ความไม่ปกติ) เกิดขึ้นมาโดยผ่านกระบวนการที่ทำให้การกระทำเหล่านั้นเป็น "ปัญหาของสังคม" ผ่านระบบการตีตรา ลดทอนคุณค่า และก่อให้เกิดการปะทะและการเผชิญหน้ากันระหว่าง"การกระทำ"และ"การควบคุม" ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบทางการเมืองทั้งสิ้น

การควบคุมทางสังคม
Horowita และ Liebowitz (1968) ได้เสนอว่า "การเกิดขึ้นของความไม่ปกตินั้น เกิดจากการใช้แบบจำลองที่มีรูปแบบในเชิงเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้ง มากกว่าใช้แบบจำลองที่เอื้อให้เกิดการขัดแย้งในการวัดและให้คุณค่า" นั่นหมายความว่าแบบจำลองอันนี้มีแนวคิดที่ต้องการควบคุมองค์ประกอบทางการเมือง ที่อาจถูกแทรกแซงด้วยความไม่ปกติที่จะเกิดขึ้นได้ในสังคมปกติ และ Lemert (1967) นั้น ดูเหมือนจะเป็นนักทฤษฎีช่วงแรกที่เสนอทฤษฎีว่าด้วย "ความไม่ปกติ"(deviance) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปิดประเด็นความรู้ไปสู่ทฤษฎีว่าด้วย "การตีตรา" และ "การกำหนดสร้างภาพอุดมคติ" (Ideology)

การกระทำที่นำไปสู่การควบคุมทางสังคม มักจะเกิดจากกลุ่มที่มีอำนาจมาก ผู้ซึ่งสามารถสร้างและกำหนดระบบคุณค่าของพวกเขาเอง ซึ่งอาจจะแตกต่างจากผู้คนกลุ่มอื่นๆ หรือแม้แต่จากสมาชิกแต่ละคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน องค์กรของกลุ่มผู้มีอำนาจและกฎเกณฑ์ในองค์กรนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลไกของการควบคุม การปฎิสัมพันธ์กันภายในโครงสร้างทางสังคม ตำแหน่งของกลุ่ม และปัจเจกแต่ละคนซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เพราะสามารถคาดเดาถึงผลของการกระทำ ที่เป็นการกระทำที่ถูกควบคุมหรือปราศจากการควบคุมของสังคม

"ความไม่ปกติ" เป็นเรื่องของมิติทางการเมือง
Horowitz และ Liebowitz (1968) ได้โต้แย้งว่า โดยทั่วไปแล้วทฤษฎีว่าด้วย"ความไม่ปกติ"นั้น ถูกยอมรับกันว่าเป็น"มุมมองในมิติของการเมือง" ซึ่งนั่นทำให้การเมือง"สามารถเข้าไปควบคุมและตัดสินชีวิตทางสังคมอย่างเป็นทางการ" ดังเช่นกระบวนการในการเลือกตั้ง ที่ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เป็นกระบวนการและใช้เป็นแบบแผนของกลุ่มที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยมุมมองในมิติของการเมืองนี้ พฤติกรรมที่ถูกเลือกภายใต้กระบวนการเท่านั้น จึงจะถูกนิยามว่ามีการเกี่ยวข้องในเชิงการเมือง

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง "ความไม่ปกติ" และ "มิติทางการเมือง" นั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ในขณะที่โลกแห่งความเป็นจริง ได้เผยให้เห็นความสัมพันธ์ของทั้งสองมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับปฏิบัติการและในระดับอุดการณ์ จากสายตาของความปกติทั่วไป (Normative) การกระทำในเชิงการเมืองไม่ได้แสดงออกผ่านกระบวนการการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งกลุ่มของผู้ถูกปกครองและผู้ปกครอง

ในทฤษฎีที่ว่าด้วย "การตีตรา" มีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ใครเป็นผู้ให้คำนิยามว่า เรื่องใดอยู่ในขอบเขตของการเมือง และเรื่องใดที่ไม่อยู่ในขอบเขตของการเมือง? การแสดงออกอย่างไม่เป็นทางการนั้น จริงๆ แล้วถือได้ว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งสะท้อนโครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์ การตีตราการแสดงออกอย่างไม่เป็นทางการในอาณาเขตทางการเมืองเหล่านี้ ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่แท้จริงแล้วเป็นรูปแบบของการทำให้เกิดความต่อเนื่องของการทำงานทางการเมือง ที่ผู้นำสูงสุดมักจะมีสุ้มเสียงดัง ถือเป็นหลักเสมอในการควบคุมทางการเมือง

ความเปราะบางของความแตกต่างของการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ปกติ ระหว่างเรื่องเชิงสังคมและเรื่องในเชิงการเมืองนั้น เริ่มแบ่งแยกได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลอย่างน้อย 5 ประการ ดังต่อไปนี้

1) หลายๆ กลุ่มที่แตกต่างไปจากปกติ ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องในทางการเมือง

2) กลุ่มกิจกรรมทางการเมือง โดยมากแล้ว เป็นผู้มีความเห็นต่างไปจากครรลองตามปกติ แปลกออกไปจากความหมายในการใช้ชีวิต
และการให้คุณค่าตามความหมายแนวทางหลักของสังคม

3) การเมืองของกลุ่มที่ต่างไปจากครรลองปกตินั้น มีความขัดแย้งกับความคิด ซึ่งดูเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากกว่ากลุ่มการเมืองอื่นๆ อาทิเช่น
ในเรื่องชนชั้น ความแบ่งแยกทางวัฒนธรรม

4) องค์กรและกิจกรรมที่รวมตัวกันในลักษณะของกลุ่มการเมืองกระแสรอง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวจาก "ประเด็นปัญหาสังคม" ไปสู่ "ประเด็นปัญหาทางการเมือง" ในหนทางนี้ มิติการเมืองที่ถูกซ่อนอยู่ภายในพฤติกรรมของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า "ไม่ปกติ" ซึ่งจะถูกฉายภาพออกมาอย่างชัดเจน และภาพเชิงสังคมที่ถูกมองว่าไม่ปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

5) เนื่องมาจากธรรมชาติของทฤษฎีทางสังคม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับความไม่ปกติ โดยใช้แบบจำลองลของการกระทำทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการนำเอาสิ่งต่างๆ มารวมกัน และประกอบสร้างเป็นหน้าที่และกำหนดกรอบระบบระเบียบทางสังคม. "ความแตกต่างไปจากปกติ" นำไปสู่การท้าทายอย่างรุนแรงที่เกิดจากภายในระบบสังคม อย่างไรก็ตาม ความสามารถของแบบจำลองนี้เองที่มันสามารถจัดการความตึงเครียดระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่แตกต่างหรือเบี่ยงเบนไปจากปกติได้

ทฤษฎีการเผชิญหน้า ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างชัดเจน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง"ความไม่ปกติของสังคม" และ "พฤติกรรมที่ขัดแย้งกันทางการเมือง" โดยการกระทำทั้งสอง คือทั้งระดับทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นมุมมองที่ใหม่กว่ามุมมองแบบดั้งเดิม ของปรากฏการณ์ของความไม่ปกติที่เคยถูกเผยออกมา. มุมมองของ Horowitz และ Liebowitz นั้น ดูเหมือนว่าจะถูกต้อง เมื่อพวกเขาได้ปฎิเสธความแตกต่างระหว่าง "การทำให้เกิดชายขอบทางการเมือง" และ"ความไม่ปกติทางสังคม", พวกเขาทั้งสองเห็นว่า การมองสิ่งทั้งสองอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ที่แตกต่าง ถือได้ว่าเป็นความคิดที่คร่ำครึ ซึ่งในทางกลับกันพวกเขาได้แสดงให้เราเห็นถึงปัญหาใหม่ของคำนิยาม และได้เปิดทางให้มีการบรรจบกันอีกครั้งระหว่าง "ความไม่ปกติ" และ"มิติทางการเมือง"

Lemert (1967) ได้กล่าวถึงความนิยมในแนวคิดที่แยกความแตกต่างกันของ "กลุ่มที่ไม่ปกติ" จาก "กลุ่มที่ถูกทำให้เป็นรองโดยการเมือง" ไว้ว่า เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาจาก "บทบาทและหน้าที่ของพวกเขานั้นถูกให้คำนิยาม และอำนาจของพวกเขานั้นถูกจัดการ และถูกวางระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างดี ทำให้การแสดงออกของพวกเขา จำกัดอยู่ในรูปแบบของการกระทำทางสังคม". ความแตกต่างนี้ไม่ได้มีความชัดเจน จึงจำเป็นต้องหาหนทางใดหนทางหนึ่งในการแบ่งระหว่าง "พฤติกรรมไม่ปกติ" ที่มีทั้งเรื่องของ "การถูกตีตรา" และ "ความต้องการมีอิสระ โดยไม่ถูกการควบคุมจากรัฐหรือองค์กรทางการเมืองใดๆ" ซึ่งถูกเรียกว่า "อาชญากรรมที่ไม่มีเหยื่อ" หรือ"อาชญากรรม"ที่เหยื่อได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยตัวเอง ซึ่งคนเหล่านี้จะถูกให้คำนิยามว่าไม่ปกติเป็นกลุ่มแรก

แตกต่างจากการกระทำของ "พวกกระแสรองทางการเมือง" ซึ่งคุณค่านั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการกระทำทางสังคม พวกเขาอาจเป็นกลุ่มของความปกติ แต่เนื่องมาจากการออกนอกลู่นอกทาง, หลุดจากกรอบของกฎหมาย, และ/หรือถูกล่วงเกินจากเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือศาล ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในองค์กร. การกระทำซึ่งทำให้เกิดตราบาปหรือ การนิยาม หรือทำให้เกิดคำสั่งทางกฎหมายที่ต่อต้านพวกเขาเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นภาพตัวแทน หรือเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการทางการเมืองต่อความไม่ปกติ อย่างน้อยเกิดขึ้นใน 2 มิติ คือ

อย่างแรก การสร้างความยับยั้งโดยอำนาจศาล, สร้างความชอบธรรมทางการเมือง ดังเช่นการที่พวกกระแสหลักทางการเมืองยอมให้เกิดกลุ่มที่ต่อต้านตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมีอำนาจ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีโอกาสสร้างเค้าโครง "เพื่อที่จะเสนอทางเลือกของการเกิดขึ้นของลำดับชั้นของอำนาจ" อันอาจนำไปสู่การหลอมรวมกันอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการกับกลุ่มอื่นๆ ที่ต่อต้านอำนาจเช่นเดียวกัน

อย่างที่สอง ในการที่จะจัดการตนเองนั้น กลุ่มของผู้ไม่ปกติ ได้ย้อนกลับไปมองและตั้งคำถามต่อนิยามที่สังคมได้หยิบยื่นให้ เสมือนเป็นตราบาปในเชิงการเมือง เพื่อทำการสร้างคำนิยามใหม่. กลุ่มของผู้แตกต่างไปจากปกติหลายๆ กลุ่ม อาทิเช่น ผู้ติดยาเสพติด, รักเพศเดียวกัน, และกลุ่มอื่นๆ ได้เริ่มที่จะร่วมมือกันเพื่อที่จะ "พัฒนาองค์กรซึ่งคอยจัดการในเรื่องของการถูกละเมิดสิทธิ์"ขึ้น. ในทางกลับกัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"กลุ่มซ้ายใหม่"ทางการเมือง) ดังเช่น กลุ่มวัฒนธรรมย่อยของผู้ที่แตกต่างไปจากปกตินั้น ได้ตระเตรียม "ฐานที่กว้างเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง". การขยับขยายของวัฒนธรรม, "ยาเสพติดที่ไม่รุนแรง", ถือเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดาของทั้งกลุ่มของผู้ที่มีความไม่ปกติ และกลุ่มกระแสรองทางการเมืองในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอันหนึ่งของการเจริญเติบโตร่วมกันของผู้ที่แตกต่างไปจากปกติ และองค์ประกอบทางการเมือง ซึ่งถูกตีตราอย่างกว้างๆ ว่าเป็น "กลุ่มคนที่เกิดในรุ่นใต้ดิน"

การที่กลุ่มต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวัฒธรรมแตกต่างไปจากปกติ ได้เริ่มรวมตัวกันนั้น ส่วนใหญ่แล้วยากที่จะมีองค์กรที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพราะการรวมตัวกันเหล่านี้มีลักษณะยืดหยุ่น เมื่อถูกรัฐเข้ามาจัดการหรือควบคุม. ในหลายๆ กรณี "สมาชิก"ของกลุ่มที่ไม่ปกติและกลุ่มผู้ทำกิจกรรมทางการเมืองเหล่านี้มักจะเป็นคนหรือกลุ่มเดียวกัน กระบวนการของการรวมกันนี้เป็นข้อพิสูจน์ในวงกว้างของการบรรจบกันของอาชญากรรมและการตีตรา โดยการนิยามความหมายของภาพในอุดมคติ

สิทธิที่จะคัดค้าน
Horowitz และ Liebowitz เสนอว่า "สิทธิที่จะคัดค้าน" นั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ กลุ่มทางการเมืองทำกันมาจนเป็นประเพณี แต่กลับทำไม่ได้สำหรับกลุ่มของผู้"ไม่ปกติ". กลุ่มการเมืองที่ตกเป็นรองนั้นมักจะค่อยๆ ข้ามเส้นของการชุมนุมอย่างถูกกฎหมายไปสู่การประท้วงที่ผิดกฎหมาย และกลุ่มที่ไม่ปกติก็ค่อยๆ ข้ามเส้นจากความไม่ปกติส่วนตัวไปสู่การประท้วงสาธารณะ. Horowitz และ Liebowitz ให้เหตุผลว่า ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ "ความไม่ปกติ" ที่มาในรูปแบบของการปลดปล่อยนั้นมีพื้นฐานมาจาก "การผสมกันของกลุ่มกระแสหลักทางการเมือง"

นี่เป็นกลวิธีทางการเมืองซึ่งใช้ในกลุ่มหลักหรือกลุ่มย่อยที่มีอำนาจที่สามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้นำได้ กลวิธีนี้ใช้ในการทำให้กลุ่มย่อยๆ
ไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงใดๆ ถูกเพิกเฉยหรือละเลย และทำให้การเมืองเกี่ยวกับความไม่ปกติ ไม่ถูกสำรวจ

ในทฤษฎีประชาธิปไตยแบบเก่า แบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดนั้นถูกใช้ในการเลือกตั้งทางการเมืองเมื่อมีความขัดแย้งและการปฎิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหลักๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ในกรอบการทำงานในเรื่องของรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีลายลักษณ์อักษร, กระบวนการเลือกตั้ง, ระบบตัวแทนในรัฐสภา และรัฐบาล ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในปัจจุบัน แม้แต่กระทั่งกับผู้ที่ปกป้องมัน ถือว่าเป็นแบบจำลองหรือโมเดลของพวกกระแสหลักทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นภาพตัวแทนของรัฐอุตสาหกรรมสมัยใหม่ "ด้วยการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของการเมืองมวลชน ความคาดหวังในเรื่องความฉับไว และความชัดเจนได้หายไปอย่างหลีกลี่ยงไม่ได้" (Wolff,1965)

การเมืองแบบเลือกตั้ง ก่อให้เกิดองค์กรอุตสาหกรรมที่ซ่อนอยู่ในรัฐ
ระหว่างที่พวกกระแสหลักที่ได้รับการเลือกตั้งนั้น กระบวนการเลือกตั้งทางการเมืองได้สร้างให้เกิดองค์กรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ในรัฐ. องค์กรผู้ปกครองกลาง ซึ่งต้องประสานทั้งท้องถิ่นและผู้ปกครอง, โครงข่ายขององค์กรอาสาสมัคร, และโครงข่ายที่ร่วมกันกับภาคของเอกชน, รวมไปถึงกลุ่มทุน, ทั้งหมดนี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบจำองของกระบวนการทางการเมือง. ในขณะที่ทฤษฎีประชาธิปไตย ถูกแฝงฝังอย่างแน่นหนาอยู่ในภาพอุดมคติและคติความถูกต้องชอบธรรม ทฤษฎีทางการเมืองมีความซับซ้อนและแตกย่อยสาขาเข้าไปอยู่ในธรรมชาติของรัฐสมัยใหม่ และด้วยความซับซ้อนของความร่วมมือกลางๆ ซึ่งอยู่ระหว่างองค์กรซึ่งถูกเลือกมาให้เป็นหลัก, กระบวนการทางการเมืองนี้ พาร์ทริท (1971) ได้สังเกตไว้ว่า

ความซื่อเท่านั้นที่สร้างความบันเทิงให้กับแบบจำลองของระบอบการเมือง ซึ่งนโยบายเกิดจากความต้องการของพลเมือง และหน้าที่ของรัฐบาลก็คือ การสนองความต้องการของประชาชน. กลุ่มการเมืองต่างๆ และ องค์กรอื่นๆ ผู้นำและผู้มีอำนาจ ข้าหลวงและรัฐบาล จะต้องพิจารณาถึงหน้าที่ เช่นประเด็นหรือปัญหาที่เลือกมาแล้ว และการทำให้เป็นนโยบายและประชาสัมพันธ์, ทำการล่อลวงสาธารณชน, แสดงถึงความสำเร็จของนโยบาย โดยทำให้เห็นว่าสามารถทำได้จริง, นี่คือสิ่งที่รัฐบาลอาจจะหลอมรวม, ขยายการยอมรับ หรือสนับสนุนซึ่งทำให้พวกเขาสามารถที่จะมีอำนาจต่อไปได้

จากประชาธิปไตยแบบชนชั้นสูง( Democratic Elitism) สู่ประชาธิไตยแบบพหุนิยม (Democratic Pluralism)
การปรับเปลี่ยนในส่วนของการเมืองกระแสหลักที่หลากหลายนี้ มักจะถูกนิยามว่าเป็นการเคลื่อนผ่านทฤษฎีประชาธิปไตยแบบชนชั้นสูง(Democratic Elitism) ไปสู่ประชาธิไตยแบบพหุนิยม (Democratic Pluralism) แต่มันก็ยังมีความแตกต่างกันในโลกระหว่าง "บรรษัทขนาดใหญ่"และ"โครงข่ายของกลุ่มทุนรองที่มีอำนาจ" หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลซึ่งเป็นเสมือนอวัยวะของรัฐ. ในอีกด้านหนึ่ง"กลุ่มเล็กๆ" ที่เพิ่งเกิด, พวกชายขอบ, กลุ่มที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงใดๆ และไม่ได้เป็นสถาบัน, โดยผ่านกระบวนการของการต่อรองทางการเมือง ทฤษฎีประชาธิปไตยแบบพหุนิยมยินยอมให้มีการน้อมนำเอากลุ่มใหม่ๆ และผู้สนับสนุนต่างๆ เข้าสู่พื้นที่การเมืองได้. สำหรับแบบจำลองเดิมนั้น ระบอบประชาธิปไตยแบบผู้นำหรือชนชั้นสูง มักจะเพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องของกลุ่มเล็กๆ ที่เกิดใหม่ ซึ่งอยู่นอกเหนือความสนใจของสังคม ในขณะที่ยังคงดำรงโครงสร้างของผลประโยชน์ทางการเมืองไว้

งานเขียนเกี่ยวกับประชาธิไตยแบบพหุนิยมในบริบทของชีวิตนักการเมืองชาวอเมริกา วูล์ฟ (1965) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า

มันมีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนในอาณาบริเวณสาธารณะ ระหว่าง"ผลประโยชน์ที่ชอบธรรม"และ"สิ่งที่ไม่ชอบธรรม" ถ้ากลุ่มหรือผลประโยชน์ใดๆ อยู่ในพื้นที่ซึ่งยอมรับได้ ก็เป็นที่ชัดเจนว่า จะประสบความสำเร็จแน่นอน. สำหรับกระบวนการการเมืองระดับชาติ คือการประนีประนอม. ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผลประโยชน์ตกอยู่นอกวงที่ยอมรับได้ มันก็จะไม่ได้รับความสนใจ และถูกมองเสมือนเป็นคนฟั่นเฟือน, พวกสุดขอบ, พวกที่แตกต่างผิดปกติ. แต่ในระหว่างความสับสนอยู่นั้น ผลประโยชน์สามารถย้ายจาก"ข้างนอก"มาสู่"ข้างใน"ได้ และพลพรรคผู้ซึ่งถูกดูถูกดูหมิ่นจากชุมชนอาจกลายเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดี และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ … ผลรวมที่มีทิศทางในทฤษฎีพหุนิยมนี้เกิดขึ้นจากภาพอุดมคติ เนื่องมาจากการที่พยายามจะปฎิเสธกลุ่มใหม่ๆ หรือการเข้าถึงผลประโยชน์ในช่วงเวลาของการพัฒนาทางการเมือง มันทำได้โดยการเพิกเฉยต่อการปฎิบัติที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่จากการปฎิเสธในเชิงทฤษฎี

กลุ่มกระแสรองทางการเมือง
ความแตกต่างที่สำคัญไม่ได้เป็นความแตกต่างระหว่าง การผสมระหว่าง"ความเป็นหลัก"หรือ"ความเป็นรอง"ในทางการเมือง แต่เป็นความแตกต่างระหว่าง กลุ่มเป็นรองที่มีความถูกต้องชอบธรรม - กลุ่มที่อ่อนแอ, กลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่, กลุ่มที่อยู่ชายขอบ, กลุ่มเป็นรองที่มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งสืบทอดอำนาจกันมา เช่น กลุ่มอาสามัครต่างๆ. พวกกลุ่มทุนร่วมกับกลุ่มชนชั้นนำซึ่งเป็นหลัก ได้เข้าถือครองสิทธิ์ในการจัดการควบคุมสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นและคัดค้าน; พวกเขามีความเข้าใจและมีการแสดงออกในทางการเมือง. ส่วนความอ่อนแอ, ความเป็นชายขอบ, ไม่ถูกทำให้เป็นสถาบัน และกลายเป็นกลุ่มที่เป็นรองทางการเมืองอย่างไม่ถูกต้อง - กลุ่มรองที่มีความชอบธรรมได้เข้ารวมกับกลุ่มเบี่ยงเบนจากปกติทางสังคม ซึ่งมักจะถูกกระบวนทัศน์นิยามการกระทำของพวกเขาในสังคมว่าเป็น "ปัญหาของสังคม"; พวกเขา "ถูกอธิบาย" ในลักษณะของคนป่วย คนมีปัญหาทางจิต อธิบายว่าการกระทำของพวกเขานั้น "ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"

ถ้าคนคนหนึ่งมองคลื่นความถี่ของการเมืองแบบองค์รวม จะพบว่า ในขณะที่ "กลุ่มทุนในระดับรอง" ที่เกิดขึ้นใหม่สามารถหาทางเข้าไปในกระบวนการทางการเมืองได้ ตามกระบวนการที่ถูกต้องชอบธรรม โดยอาศัยการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ และถ้ามองคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีลักษณะของความไม่ปกติหลายแบบตามที่สังคมได้กล่าวหาว่าเป็น "กลุ่มผิดปกติ" เราอาจทำการผสมผสานกลุ่ม "ผิดปกติ" นี้เข้ากับกระบวนการทางการเมือง ในลักษณะที่จะเสนอต่อไปนี้

- สร้างให้เกิดความชอบธรรมสาธารณะ แม้ว่าจะถูกจัดกลุ่มว่าเป็น"กลุ่มการเมือง"หรือกลุ่มที่ไม่ชอบธรรมก็ตาม ด้วยการถูกตราว่าเป็น"พวกผิดปกติ". กลุ่มที่ผิดปกตินี้อาจป่วย, ไร้ประโยชน์, เห็นผิด, หรือเป็นสิ่งที่สังคมเห็นว่าไม่มีประโยชน์ แต่พวกเขาสามารถได้รับการฟื้นฟู(บำบัด), หรือถูกกักตัวโดยไม่มีโรคติดต่อ(แบ่งแยก), หรือได้รับการอุดหนุน(สวัสดิการ) แต่คนเหล่านี้ไม่สามารถจัดการหรือแสดงความเห็นแย้งได้

- ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการ "การลดสถานะ" ที่รายล้อมไปด้วยกลุ่มที่เป็นชายขอบ คนพวกนี้ถูกวางไว้แตกต่างในฐานะความอดสูของสาธารณชน, การถูกตีตราบาป, และการถูกขับไล่, พวกเขาถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ชอบธรรมหรือพวกไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

"กลุ่มไม่ปกติ"รวมกับ"กลุ่มกระแสรอง"
เส้นแบ่งระหว่างความไม่ปกติทางสังคม และ การต่อสู้ทางการเมืองของพวกกระแสรอง ได้เริ่มเลือนหายไป. การร่วมมือกันระหว่างคนสองกลุ่มนี้มีความเข้มแข็งมากขึ้น; การเมืองกลายมาเป็นเรื่องของ "ความแตกต่างหรือไม่ปกติ" มากขึ้น. จากมุมมองของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ความไม่ปกตินี้ถูกทำให้เป็นเรื่องการเมืองมากยิ่งขึ้น. เนื้อหาที่แอบแฝงอยู่ของกระบวนการที่สร้างความผิดปกติ และองค์ประกอบของความไม่ปกติในการเมืองแบบดั้งเดิมนั้น ในปัจจุบันนี้ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน "ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับความไม่ลงรอยทางการเมืองของความหมายของคำว่า 'ไม่ปกติ' ได้กลายมาเป็นประเด็นสำหรับรูปแบบในการควบคุม ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นทุกครั้งในการตอบสนองต่อความแตกต่างไปจากปกติทางสังคม" (Horowitz และ Liebowitz, 1968)

สำหรับวัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้ เป็นการยากยิ่งที่จะนิยามการเมืองของความไม่ปกติ โครงการจากกลุ่มกระแสรองต่างๆ นั้นควรจะบรรจุถ้อยแถลงถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทางการเมือง เช่นเดียวกับเนื้อหาที่ซ่อนเร้นของทัศนคติทางสังคมและการใช้ชีวิตที่ไม่ปกติ กิจกรรมของกลุ่มกระแสรองนั้นดูเหมือนจะอยู่นอกเหนือความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดการขัดแย้งทางการเมือง และผู้คนในกลุ่มรองนั้นปรารถนาที่จะใช้นิยามที่ถูกให้ว่า "ไม่ชอบธรรม" เพื่ออนาคตหรือปกป้องชีวิตของพวกเขา ในการใช้ชีวิต การมีทัศนคติ และความสัมพันธ์ซึ่งพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติแบบเคร่งครัด. พวกเขากลายเป็นชายขอบของพวกกระแสหลักที่มีอำนาจมากกว่า อาทิเช่น กลุ่มทุน, กลุ่มที่ครองอำนาจนำในอาณาเขตทางการเมือง, ผู้คนในกลุ่มรองหรือพวกกระแสรองนี้จึงท้าทายกลุ่มตัวแทน ท้าทายขั้นตอนการเลือกตั้ง และท้าทายกระบวนการทางรัฐสภา ที่ซึ่งเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของรากฐานทางการเมืองปกติ ด้วยกลไกอันซับซ้อนของการต่อรองความขัดแย้ง

พวกเขาตั้งใจที่จะส่งต่อไปยัง "กลุ่มจัดตั้งใหม่" ของมวลชนจัดตั้งของฝ่ายซ้ายและ "กลุ่มเศรษฐกิจนิยม" สมาพันธ์แรงงาน. รูปแบบของความแตกต่างจากปกติทางการเมืองส่วนใหญ่แล้ว มีมุมมองทางการเมืองที่สุดขั้ว มิติทางการเมืองในการมีชีวิตอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมทำให้เราเกิดความห่วงใยกับความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและเยาชนทั้งหลาย ซึ่งทำให้จริยธรรมและศาสนาเป็นเรื่องรอง. กลุ่มและการเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ ถูกทำให้มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้างโดยชนชั้น แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานของชนชั้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีรูปแบบมหึมาของระบบรัฐสภาอยู่ด้วย

การเมืองนอกรัฐสภา (Extra-Parliamentary)
ประเภทของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ไม่ปกตินี้ ยังรวมไปถึงการประท้วงของนักศึกษา การประท้วงนอกรัฐสภา(Extra -Parliamentary)(*) ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับตำรวจ เช่น การจลาจลในเมือง, กลุ่มต่อต้าน และการก่อกบฏ, การระเบิดรถและอาคารสถานที่เพื่อวัตุประสงค์ทางการเมือง, ทำลายห้องเช่าบ้านเรือนต่างๆ, กลุ่มของกิจกรรมพลังมืดนรูปแบบต่างๆ. แน่นอนเป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มต่างๆ เหล่านี้เป็นกลุ่ม"การเมืองใหม่" หรือเป็นกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับระบบรัฐสภา ซึ่งสนับสนุนให้เกิดระบบทุนนิยมในสังคม

(*)An extra-parliamentary political attitude goes outside the parliamentary framework of everyday politics. Direct action and civil disobedience are examples of extra-parliamentary tactics. - ท่าทีทางการเมืองแบบรัฐสภาพิเศษ เป็นเรื่องนอกกรอบรัฐสภาของการเมืองปกติในชีวิตประจำวัน, ประชาธิปไตยทางตรงและการดื้อแพ่ง ถือเป็นตัวอย่างของกลยุทธ์การเคลื่อนไหวนอกรัฐสภานี้

ประเด็นของเราคือการมุ่งเน้นไปที่ว่า การเกิดขึ้นของรูปแบบของการต่อต้านทางการเมืองนั้น ได้ถูกนิยามและตีตราไว้ว่าอย่างไร? เพื่อที่จะทำความเข้าใจ การเกิดขึ้นและตำแหน่งในความสัมพันธ์กับโครงสร้างเชิงสังคมการเมืองในภาพรวม ในช่วงปีหลังๆ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันของตะวันตกและตะวันออก ทำให้เกิดความมั่นคงภายในระบบการเมืองตะวันตก และการขยายตัวของสวัสดิการในแบบทุนนิยม ชัยชนะของมวลชนของกลุ่มฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และการวิวัฒนาการของกลุ่มสังคมประชาธิไตย ผ่านการสนับสนุนจากบางกลุ่มทุน เป็นสิ่งหนึ่งที่ถูกรวมอยู่ในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งความมั่นคงของสังคมทุนนิยมก้าวหน้านี้ ในหลายๆ ปีที่ผ่านเริ่มถูกทำลายเนื่องมาจาก

1) การเคลื่อนไหวที่ต้องการปลดปล่อยตนเองและการติดอาวุธของโลกที่สาม
2) การอุบัติขึ้นของการเคลื่อนไหวทางการทหารของโลกทุนนิยมตะวันตกเอง

ในกรณีหลัก การเกิดขึ้นทีหลังของกลุ่มทางการเมืองที่ใช้สถานะของการเป็นชายขอบในการสร้างสถาบันอำนาจในรูปแบบของชนชั้นนั้น ขัดแย้งกับสวัสดิการทุนนิยมที่เป็นฐานอยู่. ในหลายๆ กรณี เหล่านักกิจกรรมที่เป็นรองเหล่านี้ ยังคงความเป็นชายขอบจากชนชั้นที่มีมาแต่เดิม และถึงแม้ว่าจะมีการวิวัฒน์ของเรื่องชนชั้นอย่างกว้างขวางและเปิดกว้าง แต่มันก็ยังมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนในส่วนของชนชั้นแรงงาน และถึงแม้ในกลุ่มแรงงานที่รวมตัวกันได้ ดั่งเช่นที่ฝรั่งเศสในปี 1968 ซึ่งเป็นภาพตัวอย่างที่ชัดเจนของการรวมพลังเข้าด้วยกัน

ในกรณีอื่นๆ ดังเช่นกลุ่มที่ชัดเจนในความรู้สึกหรือ "องค์ประกอบแนวหน้า" ในความสัมพันธ์เรื่องการขัดแย้งทางชนชั้น ได้จัดการและประชาสัมพันธ์จากกลุ่ม "พลังผิวดำ" ซึ่งเป็นการคัดค้านการถูกลดความสำคัญลงในการออกเสียงของคนดำทางตอนใต้ และการไม่ให้ความสำคัญกับสลัมคนผิวดำ. ในช่วงเวลาก่อนการเคลื่อนไหวของสิทธิพลเมืองในไอร์แลนด์เหนือ สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนได้ตระเตรียมโครงสร้างซึ่งได้เพาะความไม่พอใจของบรรดาคนยากจนที่ถูกระงับการออกเสียง โดยกลุ่มแคทอลิคในอัลสเตอร์ ทำให้เห็นถึงคลื่นความถี่ทางการเมืองนี้ ในความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดขึ้นของกลุ่มที่ตกเป็นรองทางการเมืองรูปแบบใหม่ กับการที่พวกเขาสามารถ สถาปนา"เนื้อหา, สไตล์, ช่วงจังหวะ, ทิศทาง ท่ามกลางกลุ่มกิจกรรมที่เป็นรองทางการเมือง ซึ่งเคลื่อนไหวไปในอัตราของการเติบโตที่แตกต่างกัน

องค์กรซึ่งทำการประท้วงในท่ามกลางชนชั้นที่ไม่ได้ผลประโยชน์จากกลุ่มกระแสหลัก, ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองนอกรัฐสภา และการจัดการความขัดแย้งทางชนชั้น ความรู้สึกแบบประเพณีนิยมต่างๆ แสดงให้เห็นถึงลักษณะของ "การร่วมกัน และการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม" ในความสัมพันธ์กันแบบชายขอบ ซึ่งไม่เฉพาะเพียงแต่กับพื้นที่ที่เป็นหัวใจทางการเมืองของสังคมของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มและชนชั้นซึ่งยังคงแสดงลักษณะของพวกเขาอยู่ ดังเช่นที่ เรย์มอนด์ วิลเลี่ยม (Raymond Williams) (1971) ได้เสนอว่า

ดูเหมือนจะเป็นความจริงที่ว่า สังคมทุนนิยมตอนปลาย (Late Capitalism Societies) เป็นหนึ่งในยุทธการที่มีอำนาจที่สุด โดยเริ่มจากสถานการณ์และประสบการณ์ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ (และทำให้เกิดความเป็นชายขอบขึ้น). พลังคนผิวดำ (Black Power) ในอเมริกา, สิทธิพลเมืองในอูสเตอร์, การเคลื่อนไหวทางภาษาในเวลท์, ต่างได้รับประสบการณ์ในเชิงเปรียบเทียบในสายตาของการเคลื่อนไหวของนักศึกษา และนำไปสู่การปลดปล่อยความอิสระของเพศหญิง. ในช่วงแรก ยุทธวิธีเหล่านี้นี้ตั้งใจที่จะเน้นความนุ่มนวลในการแก้ปัญหาในระดับท้องถิ่น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและมีความสำคัญในแง่ของการเป็นเครื่องชี้วัดเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ของสังคมที่กว้างกว่า

การแบ่งปันเรื่องราว และเรียนรู้ความสำเร็จในบรรดากลุ่มกระแสรอง
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พวกเขาได้แบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ในการประกอบสร้างทางสังคม พวกเขามีความพยายามที่จะรวบรวมเอาสิ่งที่ประสบความสำเร็จที่สุด อันอยู่นอกเหนือปริมณฑลปกติ เพื่อนำมาทำให้เกิดผลสำเร็จ อาทิ การเคลื่อนไหวของคนผิวดำ, การปฎิวัติของชาวยิว, และผู้เรียกร้องสิทธิ และจาก"ผู้ไร้สิทธิ์"ของชนชั้นล่าง, กลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ถัดมา - มืออาชีพ, นักเรียน, ผู้เบี่ยงเบนจากปกติทางสังคม และคนแพ้ที่ถูกคัดออก, ผู้มีการศึกษา, และพวกร่อนเร่ - ล้วนเป็นชายขอบในสายตาของชนชั้นที่เน้นการผลิต พวกเขานิยามความแปลกแยก (Alienation) จากโครงสร้างส่วนใหญ่ของสังคม, วัฒนธรรม, และสิ่งที่เคยเป็นมา(ประสบการณ์), เช่นเดียวกับเศรษฐกิจ

คำหลายๆ คำดังเช่นที่ จูเลียท มิเชล (Juliet Mitchell, 1971) เสนอว่า ในการได้มาซึ่งตำแหน่งของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น มักจะต้องทำให้พวกเขาต้องยอมรับเสมือนกับการเข้าไปสวมกอด. "การทำร้าย"ที่เกิดขึ้นจากทุนนิยมและชัยชนะของเศรษฐกิจนิยม (Economism) (*) มีผลกระทบทำให้ชนชั้นแรงงานที่เป็นกลางได้แสดงตัวออกมาในรูปแบบของสมาพันธ์ ในการแลกเปลี่ยน. ในหลายๆ กรณี ผลผลิตของสังคมประชาธิปไตย นักศึกษาได้ถูกกะเกณฑ์ให้เข้ามารวมกลุ่มในปริมณฑลเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากช่างเทคนิคที่มีความรู้ เหล่านี้ทำให้เกิดการเติบโตของความรู้และความแตกต่างกันของวิธีการของผลิตซ้ำ และสายงานที่ก้าวหน้าของแรงงาน ทำให้เกิดช่างเทคนิคที่มีความรอบรู้ และมีวุฒิภาวะ

(*)Economism is a term used to criticize economic reductionism, that is the reduction of all social facts to economical dimensions. It is also used to criticize economics as an ideology, in which supply and demand are the only important factors in decisions, and literally outstrip or permit ignoring all other factors. It is believed to be a side effect of neoclassical economics and blind faith in an "invisible hand" or "laissez-faire" means of making decisions, extended far beyond controlled and regulated markets, and used to make political and military decisions. Conventional ethics would play no role in decisions under pure economism, except insofar as supply would be withheld, demand curtailed, by moral choices of individuals. Thus, critics of economism insist on political and other cultural dimensions in society.

โดยทั่วไป กลุ่มต่างๆ เหล่านี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ค้นหาที่จะพัฒนาผลงานของพวกเขาผ่านขนบจารีตดั้งเดิม พวกเขาไม่พยายามแสวงหาการเติมเต็มตำแหน่งของพวกเขาในระบบของการต่อรองอำนาจทางการเมือง (หรือไม่ยอมสมสู่ หรือยอมรับการทำร้ายจากทุนนิยม) พวกเขากลับตอบโต้ด้วยการประท้วง. นักกิจกรรมทางสังคม, ผู้มีแนวคิดแบบสุดขั้ว (Extremist), ต่างพัฒนายุทธวิธีทางการเมืองและการท้าทายระบบ ซึ่งถือว่าเป็น"กฎของเกมส์"ทางการเมืองอย่างเปิดเผย. เทคนิคของพวกเขาในการประท้วง และแสดงความไม่เห็นชอบนั้นซึ่งมีต่อความคิดส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถตัดสินได้อย่างชอบธรรมทางการเมือง ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง. พวกเขาหยิบยกเอาประเด็นของความไม่ปกติ, พวกเขายอมรับรูปแบบชีวิตที่ผิดปกติ และทัศนคติที่แตกต่างอันเนื่องมาจากต้องการแสดงออกถึงตัวเลือก ระหว่าง"เป้าหมายทางการเมืองของพวกเขา"และ"คุณค่าหรือค่านิยมที่ถูกทำลายโดยสังคม" เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของความแปลกแยกจากทิศทางที่ถูกครอบงำไว้โดยระบบของผู้มีอำนาจ

กลุ่มกระแสรองพยายามตัดขาดคุณค่าที่มาครอบงำ
หนทางของพวกเขาโดยการนิยามความหมายแบบดั่งเดิม ชักจูงและมีอิทธิพลต่อการต่อรอง, จากชายขอบสู่กระแสหลักของอำนาจ, พวกเขาต้องการที่จะตัดขาดจากระบบคุณค่าที่สังคมหลักยึดถือ พวกเขารู้สึกอ่อนไหวต่อกลไกที่ถูกซ้อนเร้น ซึ่งระบบที่ครอบงำเป็นผู้ชนะ และผู้คนต่างศิโรราบแก่ผู้ครอบครองมัน ซึ่งคุณค่าเหล่านี้ถูกขัดเกลาผ่านระบบครอบครัว และสถาบันแห่งที่สองอื่นๆ, เช่น เนื้อหาในการส่งมอบและบีบบังคับให้ยอมรับค่านิยมเหล่านี้ผ่านมาทางระบบการศึกษา, การสร้างสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับความเห็นชอบในสื่อมวลชน. ตำแหน่งของความเป็นกระแสรองทำให้พวกเขารู้สึกอย่างรุนแรงต่อภาพอุดมคติที่ครอบงำและบังคับขู่เข็ญ เป็นการสร้างภาพอุดมคติที่มาครอบงำ และเล่นบทบาทพิเศษในการสร้างความสงบท่ามกลางความขัดแย้งทางชนชั้น. ในสังคมบริโภค บทบาทของภาพอุดมคติมีความสำคัญมาก ซึ่งทำให้มันสามารถควบคุม บังคับระบบทั้งระบบเอาไว้ได้ แต่ในบางครั้งก็ทำให้เกิดการต่อต้าน ประท้วง และนี่เองที่ทำให้กลุ่มชนชั้นกลางหัวรุนแรงได้เข้ามาแทนที่ (Mitchell, 1971)

โดยสรุป การเกิดขึ้นของรูปแบบของการต่อสู้ทางการเมืองปรากฏขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อน. โดยประวัติศาสตร์แล้ว ในการวิวัฒน์ของความก้าวหน้า, สังคมทุนนิยมอุตสาหกรรมช่วงปลาย พวกเขาได้ผลิต เช่นเดียวกับที่ได้รับผิดชอบต่อโครงสร้างของบรรษัท และความเห็นชอบในรูปแบบของสังคมทุนนิยมที่ถูกจัดการ พวกเขายังได้ผลิตโครงสร้างบางอย่างโดยบังเอิญขึ้นมาในสังคมด้วย นั่นคือ การปรากฏตัวในช่วงเวลาเดียวกันในประวัติศาสตร์ ที่ถูกระบุเป็นการ "กำหนดกฎเกณฑ์มากจนเกินไป"

การสร้างความชอบธรรมผ่านวาทกรรม"เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ"
"การเมืองแห่งความชอบธรรม"ได้มาถึงรูปแบบที่มั่นคงของการเมืองเชิงสถาบันที่ถูกจัดการโดยระบบทุนนิยม. ในช่วงเวลาหลังสงคราม พรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรคในอังกฤษ ได้พยายามย้อนกลับไปสู่รากฐานของความชอบธรรม ซึ่งไม่ใช่ในกลุ่มหรือชนชั้นหรือผลประโยชน์ส่วนหนึ่งส่วนใด แต่มาจากความเห็นชอบทางการเมืองอย่างหลวมๆ. การเมืองแห่งความเห็นชอบ ไม่ได้สะท้อนการไม่รวมศูนย์ของอำนาจและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มันยังเป็นรูปแบบซึ่งชนชั้นนำจัดการเพื่อให้เกิดฉันทามติของ "มวลชน" ในทุกชนชั้นหรือกลุ่มที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า "สังคมพหุนิยม" (Pluralist Society)

ในภาพอุดมคติ และวาทศิลป์ของการเมืองแห่งฉันทามติ "ผลประโยชน์แห่งชาติ" นั้นเป็นภาพตัวแทนที่อยู่เหนือการเมืองเชิงสังคมอื่นๆ. เราได้ทำการวาดภาพความแตกต่างระหว่าง "รัฐสวัสดิการ" (Welfare State) และ "เรื่องที่ยอมรับร่วมกัน(มีฉันทามติ)" (Consensual) ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับการเมืองของทุนนิยม นั่นคือ ในรัฐสวัสดิการได้เปลี่ยนแปลงไป, ผลประโยชน์ทับซ้อนได้ถูกค้นพบ แต่ถูกทำให้เบาบางลงโดยการแปรรูปและการออกข้อบังคับ; ด้วยรูปแบบของ "ฉันทามติ", "ทุกคนเป็นคนดีและมีแต่ความจริง" ไม่ว่าชนชั้นและตำแหน่งในสังคมของเขาจะเป็นอย่างไร มันจะอยู่เหนือผลประโยชน์ เพื่อคงสถานะเพื่อเป้าหมายของ "ฉันทามติ"

ความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบเปิดกว้างดั้งเดิม ถูกแทนที่ในเชิงสัญลักษณ์ของการเป็นชายขอบในทางการเมือง ผู้ซึ่งมีความเห็นทางการเมืองแบบขัดแย้งหรือตีความสังคมในแบบย้อนแย้งจะถูกทำให้เกิดตราบาปจากสังคมอย่างรุนแรง หน้าที่อันเป็นสาระสำคัญของ "การเมืองแห่งฉันทามติ" คือเพื่อที่จะสร้างประเด็นต่างๆ โดยความหมายของการต่อรองและประนีประนอมด้วยการร่วมกันได้รับผลประโยชน์อย่างชอบธรรม และจากฐานนี้เพื่อที่จะจัดการกับความไม่ลงรอยและการแยกตัวของสาธารณชน หรือกำหนดบทลงโทษของการไม่เห็นชอบ

วัฒนธรรมแห่งการปะทะ
การเมืองทางด้านตรงข้ามกับรัฐสภา - เป็นนโยบายที่จำเพาะในช่วงของการวิวัฒน์ของสังคมทุนนิยมที่ "บูรณาการ" - นี่ไม่ใช่การพูดว่ารูปแบบที่เกิดของของการเมือง คือสิ่งที่เป็นดังสายใยทางการเมืองที่เชื่อมโยงการเห็นชอบไปตลอด ในการตามหาความมั่นคงในระดับสูงของการบูรณาการณ์นี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงการที่สังคมเคลื่อนไหวอย่างกำกวมผ่าน "การเมืองแห่งฉันทามติ" ปลุกการเมืองแห่งการปะทะ - การเมืองแห่งความผิดปกติ. สำหรับรูปแบบและเนื้อหาของการเห็นชอบหรือฉันทามตินั้น มีปัญหาเป็นอย่างยิ่ง มันต้องมีภาพอุดมคติที่มีพลังก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แรงขับในการวางรูปแบบของการเห็นชอบที่มีลักษณะของการครอบงำที่หัวใจของกระบวนการทางการเมือง โดยตัวมันเองแล้วนั้นคือ การปะทะและความขัดแย้ง โดยการป่าวประกาศ และการจัดการความคิดที่มีความเห็นแย้ง

สำหรับคำว่า "วัฒนธรรมแห่งการปะทะ" หรือ รูปแบบที่เกิดขึ้นกับ "ความไม่ปกติ" นี้เป็นสิ่งที่ทุกคนได้แบ่งปันร่วมกัน ทั้งทางด้านมาตรฐานคุณค่าและผ่านความเป็นสถาบัน - ลักษณะที่ศักดิ์สิทธิ์ของ "ฉันทามติ" นั้นเองที่ถูกเน้น การขัดแย้งของการมองไปข้างหน้าและผลประโยชน์… การเมืองกระแสรองจึงเป็นทางเลือกที่ถูกผลักดัน เป็นการขยายระดับของความไม่ปกติโดยอาศัยกระบวนการทางสถาบัน ดังเช่น กลุ่มซึ่งแสดงความไม่พอใจและความไม่ลงรอย ได้ถูกทำให้กลายเป็นสถานะ "ชายขอบ" ทางการเมือง; พวกเขาได้พัฒนาความร่วมมือกับกลุ่มที่ถูกตีตราและได้สร้างภาพของตัวพวกเขาให้กลายเป็นผู้ไม่ปกติ; ความเบี่ยงเบนไปจากปกติของพวกเขานั้นมีพื้นฐานมาจากการถูกกล่าวโทษของสาธารณะ และถูกลดสถานภาพในเชิงสัญลักษณ์จากสังคม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความชอบธรรมในการใช้อำนาจในมาตรฐานของ "การเมืองแห่งฉันทามติ" และการควบคุมสังคมลักษณะกดทับ (Repressive Social Control)

การเมืองได้นำเอาความไม่ปกติมาร่วม เป็นแรงขับดันในการต่อสู้กับการเมืองแห่งฉันทามติ มีความพยายามที่จะผลิตรูปแบบบางอย่างของการเคลื่อนไหวด้านตรงข้าม ก่อให้เกิดเป็น"การเมืองของความไม่ปกติ" ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งกับการขับเคลื่อนของระบบการจัดการ "ฉันทามติ" ของรัฐ ลักษณะของความไม่ปกติและรูปแบบของการเมืองกระแสรองจึงเป็นผลที่ตามมาอย่างไม่ตั้งใจ. "การเมืองของความต่างจากปกติ" ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านการเคลื่อนไหวของผู้นิยมฉันทามติที่ใช้ชีวิตอยู่ใน "การเมืองแห่งฉันทามติ" ที่ถูกสถาบันจัดตั้ง และผ่านการจัดการของสังคมทุนนิยม

มีการโต้แย้งกันว่า ความไม่ปกติทางการเมืองแบบเผชิญหน้ากันนั้นปรากฏตัวขึ้นในลักษณะที่เป็นเสมือนธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นรูปแบบที่ตรงกันข้าม (Counter-Praxis) ซึ่งเกิดการตกลงทางการเมืองร่วมกันและทำให้เกิดเป็นสถาบันทางการเมืองขึ้น แต่การตกลงร่วมกันทางการเมืองและทางอุดมคตินั้นไม่ได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน (Norm) คือการทำให้การเมืองที่มีลักษณะต่างไปจากปกติกลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม ดังนั้นการเกิดขึ้นของความขัดแย้งทางการเมืองโดยการทำให้ความไม่ปกติเป็นคู่ตรงข้ามนี้ จึงเกิดปัญหาแก่สังคมในด้านการตีความหมาย

การเมืองว่าด้วยเรื่องการช่วงชิงความหมาย
สำหรับสถานการณ์ที่เป็นปัญหานี้ก็คือความผิดพลาดในการอธิบาย การให้นิยามและความหมายที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป และไม่สามารถทำให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจถึงการพัฒนาในรูปแบบใหม่ ก่อให้เกิดความยากลำบากต่อการนิยามว่า ไม่ใช่แค่โลกของการเมืองที่ถูกให้ความหมายเอาไว้แล้ว แต่รวมถึงว่าโลกของการเมืองนั้นควรจะเป็นอย่างไรด้วย ซึ่งทำให้สิ่งที่ดำเนินมาเกิดช่องว่าง ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดถึงลักษณะที่เป็นปกติธรรมดา เป็นพื้นฐานที่ถูกคาดไว้ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน ที่ซึ่งเราใช้เป็นพื้นฐานของการตีความหมายเพื่อให้ความเข้าใจชีวิตการเมือง (Garfinkel, 1967)

เมื่อการปฏิบัติและคำอธิบายต่างๆ ถูกทำให้เกิดช่องว่าง และผู้คนก็ไม่ได้มีอำนาจในการให้นิยามทางเลือกของความจริงทางสังคม ที่ซึ่งมีการปฏิบัติการณ์ในลักษณะแข่งขันในการสร้างและช่วงชิงความหมายใหม่ และการให้คำนิยามสถานการณ์เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น คุณค่าและความหมายในโครงสร้างทางสังคมนี้ไม่ได้เป็นความพยายามที่จะให้เกิดการสอดคล้องและสม่ำเสมอกันภายในโครงสร้างทางการเมืองที่ทำให้เกิดลักษณะของภาพในอุดมคติและทฤษฎีของตัวมันเอง… เป็นไปได้มากว่า เรากำลังรับมือกับโครงสร้างของการอธิบายจำเพาะที่ใช้ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด การให้คำนิยามความจริงทางการเมืองด้วยตรรกะที่เกี่ยวกับสถานการณ์นั้น เป็นการสนับสนุนอย่างสมเหตุสมผลในหลายๆ สถานการณ์ที่เกิดปัญหา และมันนำมาซึ่งการเข้าไปแทรกแซงการลงความเห็น (Inference) และการปฏิบัติ ซึ่งผู้คนคุ้นเคยในเรื่องราวที่เกิดขึ้นชีวิตประจำวันของพวกเขา (Garfinkel 1967)

โลกสมัยใหม่ เป็นโลกของความหลากหลาย
การทำให้เป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบนั้น หลายๆ สังคมถูกทำให้แตกต่างกันดังเช่นอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นสังคมที่มีพื้นฐานมาจากกลุ่มแรงงานหัวก้าวหน้าหลายๆ กลุ่มที่นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่อย่างแบ่งแยก และยังคงรักษาการแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน และในทางตรงกันข้าม "แผนที่แห่งความเป็นจริงทางสังคมที่ยังเป็นปัญหา" (Maps of Problematic Social Reality) นั้น Durkheim ให้การสังเกตว่า "กลุ่มซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่สามารถสรุปได้นั้น มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจริงของอำนาจทางการเมืองที่ซึ่งเป็นขั้นเป็นตอนหนึ่งในการแบ่งแยกพื้นที่ และสร้างความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง…"

การรวมกลุ่มทางสังคมในโลกสมัยใหม่นั้น ในความเป็นจริงแล้วถูกสร้างขึ้นจากความหลากหลาย ในแต่ละส่วนเป็นภาพที่ถูกจัดการสร้างขึ้นโดยมนุษย์ เพื่อใช้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงทำให้เกิดโลกที่แบ่งแยกขึ้น ในแต่ละโลกที่แตกต่างกันนี้มีการรวมตัวกัน เกิดระบบระเบียบขึ้น และความเป็นสากลในการตอบสนองกันเป็นประจำ ซึ่งในแต่ละส่วนนี้เป็นพื้นที่ซึ่งมีบางโครงสร้างนั้นได้ถูกอนุญาตให้สามารถมีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผลในเรื่องพฤติกรรมของผู้คนได้ ดังนั้น จึงเป็นพื้นที่ซึ่งเราอาจจะปฏิบัติการด้วยความรู้สึกถึงความปลอดภัยและความมั่นใจ โดยในแต่ละโลกทางสังคมก็คือพื้นที่ทางวัฒนธรรม เป็นขอบเขตถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่โดยอาณาเขตดินแดน หรือสมาชิกของกลุ่มที่เป็นทางการ แต่มันถูกสร้างขึ้นโดยการสื่อสาร (Shibutani, 1955)

สื่อ: อำนาจการสร้างความเป็นเอกภาพ
นี่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความเป็นสากลเชิงสัญลักษณ์ที่มีอำนาจในการทำให้เกิดการรวมกันของกลุ่มที่แตกต่างกันทางความหมายให้เข้าเป็นหนึ่งเดียว และรวมเข้าไว้เป็นระบบระเบียบของสถาบัน (Berger and Luckmann, 1997) แต่ในทางกลับกันมันหมายถึง ความเป็นสากลเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ได้เข้าไปจัดการ ทำให้การเป็นสัญลักษณ์นี้อยู่ในระดับสูง และแตะต้องไม่ได้ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้โครงสร้างของทัศนคติที่มีอยู่โดยทั่วไปในสังคม. และมันยังหมายถึงผู้คนซึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้มากำหนด "มาตรฐาน" และมีอำนาจในการนิยามความหมายที่ถูกกำหนดเกี่ยวกับการแข่งขันกันของรูปแบบชีวิตในทางการเมือง ทำให้เกิดการให้คำนิยามของการทำงานอยู่บนตัวแทน สถาบัน และภาคส่วนต่างๆ ที่ซึ่งสามารถใช้อำนาจ และการสร้างความเหมาะสมแก่ความหมาย ที่ถูกสร้างขึ้นจากผู้คนที่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าโดยทั่วไปแล้ว "สื่อ" เป็นผู้แสดงออกซึ่งอำนาจที่ริเริ่มขึ้นใหม่นี้

สื่อไม่สามารถที่ควบคุมผู้คนในเรื่องความหมายและข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น ผู้คนมีอำนาจในการรวบรวม ทำให้มันชัดเจน และทำให้มันถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่จะทำให้เกิดนิยามที่เป็นความจริงทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ซึ่งผู้คนไม่คุ้นเคย, ไม่สามารถสรุปได้ หรือเกิดความกลัว: ที่ซึ่งไม่มีเหตุผลดั้งเดิมมารองรับ, ไม่มีเครือข่ายที่เข้มแข็งของอำนาจในการโน้มนำของบุคคล, ไม่มีความสอดคล้องทางวัฒนธรรม, ไม่มีแบบแผนสำหรับการปฏิบัติ หรือการตอบรับที่ตรงประเด็น, และไม่มีหนทางชี้นำในการทดสอบหรือรับรองข้อเสนอต่างๆ. การไม่มีสิ่งเหล่านี้นั้น เป็นการละทิ้งการเผชิญหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอำนาจใหม่ๆ ซึ่งเราจะต้องระลึกอยู่ในใจเสมอว่า มันจะไม่ไปกระทบพฤติกรรมแรกเริ่มที่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการปฏิบัติตามที่เคยรับรู้มา โดยมีการอธิบายที่ดีในเรื่องนี้โดย แฮลโลแรน (Halloran, 1970)

สถานการณ์เช่นนี้ คิดว่ามันเป็นการที่โทรทัศน์ได้ ใส่ทัศนะคติ หรือรูปแบบของปฏิบัติ โดยแสดงออกมาเสมือนประหนึ่งว่ามันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพฤติกรรมที่ต้องมีอยู่ในกลุ่มที่ถูกให้คุณค่า มันถูกกล่าวและทำให้มีนัยว่า เป็นรูปแบบที่แน่นอนของพฤติกรรม, ทัศนคติ, การครอบครองและอื่นๆ อันเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าแต่ละบุคคลยังคงเป็นสมาชิกในกลุ่มอยู่… คนเหล่านั้นผู้ซึ่งไม่สอดคล้อง และปฏิเสธ อาจจะถูกแสดงในฐานะที่เป็นบุคคลที่ผิดปกติ หรือ ผู้ที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม. ด้วยเหตุนี้ การคว่ำบาตรของสังคมจึงมีความเหมาะสมสำหรับบุคคลที่ผิดปกติ. และหลายรูปแบบของการทำให้เห็นชอบ(ฉันทามติ)และยอมรับบางครั้งถูกอธิบายในลักษณะที่เป็นสื่อนำเพื่อความสม่ำเสมอและความผาสุกโดยทั่วไปของกลุ่ม... ในส่วนของความจริงทางสังคมที่ซึ่งเกิดขึ้นใหม่ ไม่ได้มีอยู่มาก่อน หรือการเสนอทิศทางใหม่นั้น หนทางของการรับมาของทัศนคติใหม่และรูปแบบของพฤติกรรมใหม่นั้น ถูกทำให้เป็นรูปแบบที่ยอมรับได้ในปฎิบัติการทางสังคม ในขณะที่ข้อผิดพลาดในการรับมา จะถูกแสดงออกมาในฐานะที่เป็น สิ่งที่ผิดปกติซึ่งไม่ถูกยอมรับทางสังคม

3 องค์กรหลักที่มีอิทธิพลในการตีความ
ในยุคของความไม่ปกติทางการเมืองนั้น เห็นได้ชัดว่า การตีความหมายจากสามัญสำนึกที่ปรากฏออกมาเป็นผลผลิตมาจาก 3 องค์กรหลัก คือ

1) องค์กรของนักการเมืองที่มีความเชี่ยวชาญ (หรือ ผู้นำสภาหอการค้า ) - ผู้มีความชอบธรรมในการดูแลกฎหมาย
2) องค์กรของเจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมแบบเผชิญหน้า และ
3) องค์กรสื่อ

ในแต่ละองค์กร สำหรับการให้คำนิยามของความจริงทางการเมืองนั้น มีทัศนะในการมองที่แตกต่างกันบนปรากฏการณ์ของความไม่ปกติทางการเมือง แต่เหมือนกับทุกๆ องค์ประกอบในรูปแบบของสังคมที่สร้างขึ้นเพื่อการปกครอง ทัศนะคติในการมองเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการจัดการที่เข้มแข็งในความจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ

- ผู้ดูแลกฎระเบียบทางการเมือง ในที่นี้หมายถึงหลายพรรคที่รวมตัวกันเป็นองค์กร เนื่องจากแต่ละพรรคมีความพัวพัน
เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัวได้สร้างข้อตกลงร่วมกัน

- ส่วนผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมในลักษณะเผชิญหน้า หมายถึง ข้าราชการระดับสูง และ อธิการบดีของมหาวิทยาลัย
แสดงออกด้วยความเคารพต่อกฏเกณฑ์โดยนักศึกษา

- สื่อมวลชนในที่นี้หมายถึงสื่อโทรทัศน์, สื่อสิ่งพิมพ์ (ระดับภูมิภาค, ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น) และ วิทยุ

สรุป
งานที่ศึกษาเกี่ยวกับความไม่ปกติ เช่นการเมืองและสื่อนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น บ่อยครั้งที่เรามักจะเลือกแนวความคิดอย่างหยาบๆ โดย "ความลำเอียงอย่างจงใจ" และ "ความบิดเบือนโดยเจตนา" มากกว่าทัศนคติในเชิงโครงสร้างของ "ความลำเอียงอย่างไม่ตั้งใจ" และ "ความบิดเบือนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ" ซึ่งทัศนะเหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของทั้งในแบบประโยชน์นิยมอย่างง่ายๆ และรูปแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสังคม ซึ่งไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ พวกที่ถูกระบุว่าไม่ปกติต่างอดทนอดกลั้นต่อโครงสร้างของการปฎิสัมพันธ์, ประสบการณ์ทางสังคม, และ รูปแบบทางวัฒนธรรมที่ถูกควบคุม
....................
ปัญหาหนึ่งของการพิจารณาเรื่องที่มีความซับซ้อนนี้คือ การถูกกำหนดโดยรูปแบบและเรื่องราวที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นการอธิบายในลักษณะสังเขปเท่านั้น กลุ่มของปัญหาอันแรก มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทั้งในระดับที่เป็นทฤษฎีและในเชิงประจักษ์ ระหว่างผู้มีอำนาจนำและเหล่าบริวาร ซึ่งเป็นภาพอุดมคติในจิตสำนึกที่ถูกแสดงออกมาในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ ในอีกทางซึ่งเป็นระดับหนึ่งของการทำงานของภาพอุดมคติ และการกระทำซึ่งเป็นสิ่งที่เรามุ่งเน้นเป็นอันดับแรก ดังเช่น แนวความคิดของ Gramsci, (1971) ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจนำ (hegemonic) และการช่วยเหลือกันของชนชั้นที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน และสิ่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับอำนาจ
....................
มาร์กได้เคยทำการสังเกตไว้ว่า "ทุกชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่นั้น มักจะผลักดันผลประโยชน์ของมัน ให้เป็นดังว่าคือผลประโยชน์ของส่วนรวมของทุกผู้คนในสังคม และแสดงออกมาในรูปแบบของอุดมคติ มันจะต้องเสนอแนวคิดของมันในรูปแบบของการเข้าใจได้กับทุกคนอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุเป็นผลและหนักแน่น" การใส่มุมมองในเรื่องภาพอุดมคติในลักษณะนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการใช้สัญลักษณ์ในเชิงผลประโยชน์ของส่วนรวมในกลุ่มผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามที่จะผสมผสานให้เป็นในสิ่งที่ Lefebvre, (1968) เรียกว่า "วิสัยทัศน์หรือแนวความคิดเกี่ยวกับโลก ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการประมาณการและการตีความ" หน้าที่ของมันไม่เพียงแต่เอาไว้ใช้ในการประเมินสิ่งต่างๆ ในแบบเปิดเผย หรืออย่าตรงไปตรงมาของการก่อตัวของชนชั้นที่มีอำนาจเท่านั้น แต่ยังจัดเตรียมสังคมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังเช่นที่ Harris, (1969) เรียกว่า "การเชื่อมโยงไม่มากก็น้อย ของการจัดการสำหรับประสบการณ์ของพวกเรา"

ภาพอุดมคติ เป็นหนึ่งในหลักการสำคัญซึ่งเป็นกลไกที่ขยายและปรับแต่งการครอบงำผลประโยชน์ของชนชั้นนำให้กลายมาเป็นความชอบธรรมของผู้ที่มีอิทธิพล บทบาทของมัน ดังเช่นที่ Lefebvre เสนอไว้ "คือการที่เข้าไปปกป้องเพื่อสร้างให้เกิดการยินยอมในการถูกกดขี่ และตักตวงผลประโยชน์ ภาพอุดมคติเป็นตัวแทนของส่วนหลังของตัวมันเองในหนทางที่บิดเบี้ยว เพื่อที่จะทำให้เกิดความมั่งคั่ง, และการยอมรับของผู้เสียเปรียบในสถานการณ์นี้ หรือกระทั่งให้ความสนุบสนุน …

กิจกรรมทางสังคมที่อธิบายไว้ในบทความชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง, เกิดขึ้นใหม่, อุบัติขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม ความสำคัญของมันในฐานะของ"การเมืองของความไม่ปกติ" คือการจัดการทั้งหมดของกระบวนการทางวัฒนธรรม ซึ่งการกระทำต่างๆ, ตีตรา, และให้คำนิยามว่าเป็นความผิดปกติ ปรากฎอยู่ในมาตราวัดขนาดใหญ่ ที่มีมุมมองที่เข้าใจได้ในนิยามของกระบวนการดังกล่าว เหตุการณ์ต่างๆ มีความจริงอยู่มาก แต่มันจะเหมาะสมกับจิตสำนึกทางงสังคมเมื่อมันมีความหมายในเชิงวัฒนธรรมและถูกให้นิยามความหมาย

การวิเคราะห์ในที่นี้ ต้องมุ่งไปสู่การค้นพบความคิด, คุณค่า, และทัศนคติ, ซึ่งคอยกำหนดความหมายเหล่านั้น มันจะต้องเปิดเผยกลุ่มที่ถูกจำแนก, อย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ, เหตุการณ์ใดที่ถูกจัดกลุ่ม, วางตำแหน่งและระเบียบ, เพื่อที่จะทำให้มันมีความหมาย กรอบในการทำงานของคุณค่าและความหมายนั้นเป็น"การอนุมานจากโครงสร้างที่เป็นแบบแผน" (Inferential Normative Structure) ของชีวิตสังคม มันถูกแบ่งปันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าจะไม่เกิดกับทุกคน และไม่สามารถเข้าใจได้กับทุกคนที่มีสถานการณ์ในชีวิตที่แตกต่างออกไป และผู้ซึ่งเน้นไปทางรูปธรรมมากกว่าเรื่องภายในจิตใจ

…ในส่วนหนึ่ง โครงสร้างที่เป็นปกติธรรมดา (Normative Structure) นั้นคือ การถูกสร้างขึ้นโดยประวัติศาสตร์, ถูกทำให้เป็นในฐานะของความรู้ของสังคมแบบไม่เป็นทางการ -"สิ่งที่ใครๆ ก็รู้" ในเรื่องของสถานการณ์ทางสังคม มันถูกทำให้เป็นเรื่องวนเวียน และหยุดนิ่งจากการเวลา และพร้อมสำหรับการก่อตัวขึ้นของนิยามและการตีตราในรูปแบบของตัดทอนให้สั้นลง นอกจากนี้ มันยังแสดงระดับที่หลากหลายของ "การปิดบัง" และ "การเปิด" เกี่ยวกับการประสานเกาะเกี่ยวและความไม่ลงรอย.

"โครงสร้างที่เคลื่อนไหว" ซึ่งพวกเขาจะต้องทำการแก้ไขและตรวจทานนิยามอยู่เสมอ หรือเพื่อสร้างใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งทางสังคม และเช่นเดียวกับกระบวนการในสังคม "โครงสร้างในการครอบงำ" ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาแก้ไข พวกเขาบรรจุหรือสร้าง "ตรรกกะในการใช้" (Logic-in-use) ของพวกเขาเอง ซึ่งเป็นเสมือนกลุ่มของกฎทั่วไปกว้างๆ ซึ่งทำการควบคุมทิศทางของ "คำอธิบาย" ที่สามารถใช้ได้ คำนิยามทั่วไปที่เป็นบรรทัดฐาน (Normative Definitions) นั้น บรรจุการโน้มเอียงอย่างมากของการที่จะ "เห็น" เหตุการณ์ต่างๆในทางที่เข้าใจได้: พวกเขาพยายามที่จะสร้างกฎต่างๆ เพื่อคัดกรองว่าอะไรเข้าพวกกันได้ และอะไรที่ไม่เข้าพวก เพื่อที่จะทำการหาข้อสรุปให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

ในสถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้น โครงสร้างทั่วไปซึ่งเป็นบรรทัดฐานแบบเก่า (Old Normative Structure) มักจะถูกนำมาจับเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ถูกจับเข้ากับความหมายที่เก่ากว่า โดยไม่มีการสร้างอาณาเขตของ"ผลประโยชน์ของสังคม"ให้ชัดเจน ทำให้โครงสร้างเกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของการใช้ชีวิตในสังคม กล่าวคือ มันได้เข้าไปฝังอยู่ในสถานการณ์ของชีวิต, ทัศนคติ, ผลประโยชน์, และรูปแบบอย่างไม่เป็นทางการในเรื่องของการใช้ชีวิตในสังคมของผู้คน โดยมันถูกทำให้เป็นโครงสร้างขึ้นโดยอำนาจและการครอบงำ. โดยปกติแล้ว กลุ่มที่มีอำนาจครอบงำจะมีความพยายามที่จะได้มาซึ่งอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการปกปิดและโดยการควบคุม และจัดเตรียมวิธีที่จะมีอำนาจขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ …

…โลกโดยทั่วไปนั้นถูก "จัดแจง" ในแบบที่ผู้คนคุ้นเคยซึ่งถูกลดทอนความซับซ้อนของกระบวนการทางสังคมลง ด้วยหนทางในการแยกแยะสิ่งต่างๆในรูปของ "รูปแบบและลักษณะ" ต่างๆ เช่น คำอธิบาย, คติพจน์, หลักปฎิบัติ, กิจวัตร, สูตรสำเร็จ, หลักการ, คติทางสังคม, ภาพลักษณ์, และแผนการต่างๆ ในระดับของชีวิตในสังคม เช่นเดียวกับภาพรวมของเปลือกนอกทางสังคม เสมือนภาพอุดมคติที่เจริญเต็มที่ เป็นจักรวาลของสัญลักษณ์

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com


Words from the Text
เส้นแบ่งระหว่างความไม่ปกติทางสังคม และ การต่อสู้ทางการเมืองของพวกกระแสรอง ได้เริ่มเลือนหายไป. การร่วมมือกันระหว่างคนสองกลุ่มนี้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น; การเมืองกลายมาเป็นเรื่องของ "ความแตกต่างหรือไม่ปกติ" มากขึ้น. จากมุมมองของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ความไม่ปกตินี้ถูกทำให้เป็นเรื่องการเมืองมากยิ่งขึ้น. เนื้อหาที่แอบแฝงอยู่ของกระบวนการที่สร้างความผิดปกติ และองค์ประกอบของความไม่ปกติในการเมืองแบบดั้งเดิมนั้น ในปัจจุบันนี้ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน "ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับความไม่ลงรอยกันทางการเมือง ของความหมายของคำว่า 'ไม่ปกติ' ได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญ สำหรับรูปแบบในการควบคุม ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นทุกครั้งในการตอบโต้ความแตกต่างไปจากปกติสังคม"
Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com

Stuart Hall (born February 3, 1932 in Kingston, Jamaica)
works as a cultural theorist and sociologist in the United Kingdom.
He has contributed to key works on culture and media studies,
as well as to political debate. According to British newspaper
The Observer he is "one of the country's leading cultural theorists".
His wife is Catherine Hall, also an academic.
Hall's work covers issues of hegemony and cultural studies,
taking a post-Gramscian stance. He regards language-use as operating within a framework of power, institutions and politics/economics.