มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
ศัพท์คำว่า อุตสาหกรรมวัฒนธรรม(culture industry) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ Dialectic of Enlightenment, ซึ่ง Horkheimer และ Adorno ได้พิมพ์ขึ้นในอัมสเตอร์ดัม ในปี 1947. ในฉบับร่างของพวกเขา เขาได้พูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture) และพวกเขาแทนคำ"วัฒนธรรมมวลชน"นี้ด้วยคำว่า "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" ทั้งนี้เพื่อที่จะแยกมันออกมาจากบรรดาผู้ที่เห็นด้วย หรือสนับสนุนเรื่องของ"วัฒนธรรมมวลชน"นั่นเอง:
ดังนั้น ความหมายของสองคำนี้
จึงแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
ใน"อุตสาหกรรมวัฒนธรรม"ผู้บริโภคไม่ใช่ราชา ดังที่พวกนั้นจะทำให้เราเชื่อ
มวลชนไม่ใช่ตัวประธานอีกต่อไป แต่เป็นตัวกรรมของมัน
อาจารย์มารค
ตามไท ได้พูดถึง รากฐานเกี่ยวกับความจริง 4 ประเภท ที่ผู้คนยึดถือ
และนักคิดหลังสมัยใหม่ มองความจริงอย่างไร ?
สาระสำคัญในที่นี้ก็คือ
การนำเสนอเรื่องดังกล่าว
เป็นการนำเสนอในที่ประชุมของนักสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มช.
ซึ่ง อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ และ อาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล ร่วมสนทนาด้วย
บันทึกเทปโดย"โครงการสนทนาปัญหาศิลปะ
ปรัชญา และวิทยาาสตร์ "
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มอบให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับการศึกษาไทย
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
ถ้าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของฝูงชน
อุดมคติเรื่องชาติอันยิ่งใหญ่ก็คือ อุดมคติที่มองหาผู้นำที่เต็มไปด้วยบารมี ชาติที่ยิ่งใหญ่เรียกร้องผู้นำที่ยิ่งใหญ่
และผู้นำที่ยิ่งใหญ่ก็เรียกร้องความสนับสนุน
จากประชาชนในสัดส่วนที่ ยิ่งใหญ่ตามขึ้นไปด้วย.
ภายใต้อุดมคติทางการเมืองทั้งหมดนี้ ผู้นำกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับสังคมการเมืองไทย
และด้วยเหตุเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่คำถามเรื่ององค์อธิปัตย์ ไม่เคยเป็นคำถามสำคัญในสังคมการเมืองไทย
ไม่แม้กระทั่ง
ในแวดวงปัญญาชนสาธารณะแบบไทยๆ.
โศกนาฏกรรมที่ตึกเวิลด์เทรดผ่านไปแล้วช่วงหนึ่ง
โลกเรียนรู้อะไรบ้างจากความสูญเสียดังกล่าว?
ขณะนี้โลกกระหึ่มก้องไปด้วยความปรารถนาที่จะแก้แค้น ของยักษ์ที่โกรธเกรี้ยว ฉันทานุมัติสู่สงครามตั้งอยู่บนข้ออ้างที่จะทวงความยุติธรรมแก่ผู้ตาย
และการปกป้องโลกจากการก่อการร้าย ดูเหมือนว่าผู้นำรัฐต่างๆในโลกที่สนับสนุน หรือจำต้องสนับสนุนสหรัฐ
จะคิดว่าวิธีการแสดงความเสียใจต่อโศกนาฏกรรมดังกล่าว คือการสนับสนุนการตามล่าผู้ก่อการร้าย
การคิดเช่นนี้นับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นการให้ความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง
บนการปกป้องผลประโยชน์ของรัฐชาติ
อันที่จริง ความตายที่เวิลด์เทรดเตือนพวกเราว่าสิ่งอันตรายที่สุดอย่างหนึ่งที่เป็นผลผลิตของโลกยุคสมัยใหม่ก็คือ อุดมการชาตินิยม ซึ่งหากผนวกกับอุดมการทางเชื้อชาติและศาสนาแล้วก็อาจจะกลายเป็นกรงขังทางความคิดที่ทำให้มองเห็น "ผู้อื่น" เป็นศัตรูโดยง่าย
การยอมรับความชอบธรรมและอำนาจของรัฐชาติทำให้รู้สึกว่าความรุนแรงใดๆที่ละเมิดกติกาของรัฐชาติเป็นสิ่งผิด ถูกปิดป้ายว่าเป็นการกระทำของ "ผู้ก่อการร้าย" ที่มุ่งทำลายอารยธรรมและเสถียรภาพของโลก ในขณะที่หากรัฐเป็นผู้ใช้ความรุนแรงแบบเดียวกันบ้างทั้งกับคนเชื้อชาติเดียวกัน คนต่างชาติหรือกับชนกลุ่มน้อย จะถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปกป้องความมั่นคงและผลประโยชน์ของรัฐนั้น
พฤติกรรมของอเมริกาในสงครามเวียดนาม ในลาตินอเมริกาและอเมริกากลางตลอดจนในตะวันออกกลางซึ่งทำลายชีวิตนับล้านและทรัพย์สินนับไม่ถ้วนนั้นจัดเป็นพฤติกรรมของ "ผู้ก่อการดี" ที่โหดร้ายน้อยกว่าการถล่มตึกเวิลด์เทรดกระนั้นหรือ ?
ความรุนแรงมีพลังพลวัตรในตัวเอง การสนับสนุนให้ตามล่ากลุ่มก่อการทำให้มองไม่เห็นว่า ที่จริงต้นตอส่วนหนึ่งของปัญหามาจากตัวกติกาสากลของรัฐชาติต่างๆที่อนุญาตให้รัฐหลายๆรัฐบีบคั้น ปิดป้ายและล้อมกรอบกลุ่มที่คิดขัดแย้งกับตนให้จนมุมจนไม่เหลือพื้นที่ที่ชอบธรรมหรือสันติทางอื่นอีก การปลุกเร้าอุดมการชาตินิยมในอเมริกาขณะนี้ทำให้เกิดกระแสเกลียดชังคนมุสลิมทั้งภายในอเมริกาและในประเทศคนผิวขาวทั้งยุโรปและออสเตรเลีย ทั้งๆที่ยังมิได้มีการสรุปชัดแล้วว่าผู้ลงมือเป็นกลุ่มมุสลิมจริงหรือไม่
มีการทำร้ายและสังหารคนมุสลิมผู้บริสุทธิ์เกิดขึ้นแล้ว มันไม่เป็นสิ่งน่าสมเพชดอกหรือหากเราจะแสดงความเคารพต่อชีวิตที่ดับสูญไปด้วยการเร่งเร้าให้มีการคร่าชีวิตเพิ่มเติม? จะต้องมีการสังเวยชีวิตทหารอเมริกันในสงครามอีกเท่าใดจึงจะทำให้คนอเมริกันและผู้นำรัฐต่างๆได้สติและมองเห็นความไร้สาระของสงคราม?
โลกควรแสดงความเคารพอย่างลึกซึ้งต่อผู้จากไปด้วยการสำเหนียกถึงคุณค่าของชีวิต และหันมาพิจารณาร่วมกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับมาตรการต่างๆในการสร้างสันติภาพในโลก ทำอย่างไรจะให้การประชุมลดอาวุธมีผลจริงในทางปฏิบัติ ทำอย่างไรจึงป้องกันไม่ให้สิทธิมนุษยชนถูกละเมิดในนามของรัฐ ทำอย่างไรจึงจะเกิดการถ่วงดุลย์อำนาจที่ได้ผลในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ทำอย่างไรศาสนิกของศาสนาต่างๆจะไม่บิดการตีความและใช้ศาสนาของตนเป็นเครื่องมือของความรุนแรง
ขณะนี้ดูเหมือนชาวโลกจะรู้สึกว่าปัจเจกแต่ละคนไร้พลัง
ไม่อาจเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐได้ กระนั้นก็ตามเสียงที่แผ่วเบาหากรวมกันเป็นหมื่นเป็นแสนก็สามารถเป็นเสียงที่ผู้ปกครองไม่อาจเพิกเฉยได้
ขอให้เสียงจากใจที่แสวงศานติทั่วโลกจงมาผนึกพลังร่วมกันเถิดก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
เสียงจากปลายดอย ๑๙ กันยายน ๒๕๔๔