บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๑๑๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
27-12-2549

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Justice & healthful ecology
The Midnight University

ตุลาการภิวัตน์ในฐานะผู้วางนโยบายสังคมและสิ่งแวดล้อม
คดีสิ่งแวดล้อมฟิลิปปินส์: กรณีผลกระทบจากเหมืองทองแดง (๒)
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
งานวิจัยภายใต้โครงการทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
API Fellow 2005-2006

บทความวิชาการชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ประสบการณ์คดีสิ่งแวดล้อมประเทศฟิลิปปินส์
กรณีการฟ้องร้องให้ชดเชยความเสียหายและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม:
ประสบการณ์จากประเทศฟิลิปปินส์ กรณีผลกระทบจากเหมืองทองแดง ในแม่น้ำ Mogpog เกาะ Marinduque
ซึ่งกรณีดังกล่าว นักต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกันกับนักวิชาการ
ตระเตรียมข้อมูลของตนอย่างพรั่งพร้อม และทำทุกวิถีทางเพื่อเปิดเผยข้อมูลของตน
ไปยังองค์กรสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ รัฐบาล
และสื่อต่างๆ เพื่อร่วมกันรณรงค์ต่อสู้กับบริษัทและทุนขนาดใหญ่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๑๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๗.๕ หน้ากระดาษ A4)



การฟ้องร้องให้ชดเชยความเสียหายและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม : (๒)
ประสบการณ์จากประเทศฟิลิปปินส์ กรณีผลกระทบจากเหมืองทองแดงในแม่น้ำ Mogpog เกาะ Marinduque
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล : โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม(API Fellow 2005-2006) ธันวาคม ๒๕๔๘

คลิกกลับไปทบทวนตอนที่ ๑

(๕) 'ภารกิจของพระเจ้า' และ A Big No จากเบธ
เป็นความตั้งใจว่า การพูดคุยถึงการทำงานของ MACED (the Marinduque Council for Environment Concern) และ SAC (Social Action Commission) นั้นจะเป็นช่วงสุดท้ายของการเก็บข้อมูล อย่างไรก็ดี ระหว่างนั้น เราก็ได้มีการคุยกันอยู่ตลอด

MACED เป็นหน่วยงานหน่วยหนึ่งในหลายๆ หน่วยของ SAC โดย SAC เป็นหน่วยงานหนึ่งของโบสถ์คาธอลิกที่ชื่อว่า DIOCESE of Boac ขณะที่เบธทำตาโตแปลกใจ คุณพ่ออาลันกลับหัวเราะ เมื่อเจอคำถาม 'ท่าบังคับ' ที่ว่า ทำไม SAC หรือโบสถ์ DIOCESE of Boac ถึงมาเคลื่อนไหวเรียกร้องการชดเชยความเสียหายและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมฯ ทั้งสองคนตอบตรงกันว่า มันเป็น "ภาระกิจของพระเจ้า"

เพราะคนและชุมชนบนเกาะ Marinduque ส่วนใหญ่ยังคงยากจน และต้องการความช่วยเหลือ ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน Marinduque โบสถ์แห่งนี้มีกิจกรรมที่ช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว ผ่านโครงการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน (Basic Christian Community Program), โครงการให้ความรู้และส่งเสริมด้านสุขภาพ (Community Base Health Program), โครงการส่งเสริมและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร (Slooping Agriculture Land Techology Program), โครงการให้กู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนของชุมชน (Marinduque Social Actions Multi Propose Coperative)

MACED เป็นโครงการล่าสุดโดยเพิ่งตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่ชุมชน Marinduque เริ่มเดือดร้อนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำ Mogpog และ Boac โดยงบประมาณที่มาสนับสนุนกิจกรรม รวมถึงจ้างเจ้าหน้าที่ ในระยะแรกมาจากเงินบริจาคล้วนๆ, เบธรับผิดชอบงานของ MACED โดยลำพังร่วม ๓ ปี, ปีต่อมาจึงเริ่มมีงบประมาณจ้างเจ้าหน้าที่มาช่วยงานอีก ๒ คน

"ถึงเราจะเป็นองค์กรศาสนา แต่คนที่มาโบสถ์ด้วยศรัทธากำลังประสบเคราะห์กรรมที่เกิดจากความไม่รับผิดชอบของบริษัทเหมือง และความไม่เอาใจใส่ของหน่วยงานรัฐ มันเป็นภารกิจ เราต้องช่วยเหลือคนของเรา ชุมชนของเรา ยิ่งไปกว่านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นมันกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน Marinduque อย่างรุนแรง" เบธพูด นอกจากนี้ คือ "To care mother nature" คุณพ่ออาลันบอก

"พระและโบสถ์ที่เมืองไทย ไม่ได้ทำกิจกรรมแบบนี้หรือ?"
เป็นคำถามที่อยู่เบื้องหลังอาการตาโตของเบธ คำถามนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ปิดเครื่องอัดเทปแล้ว

ระหว่างมื้ออาหารกลางวันวันหนึ่ง Beth ทำตาโต-ที่สุดตั้งแต่เคยเห็นมา-เมื่อได้ยินคำถามขวางๆ ที่ว่า "เพราะเป็นเหมืองต่างชาติหรือเปล่า เธอถึงได้คัดค้านแบบถึงที่สุดแบบนี้" วันนั้นเบธตอบว่า "ไม่ว่าเหมืองสัญชาติไหน ถ้าทำตัวไม่รับผิดชอบแบบนี้ ก็ค้านหมดนั่นแหละ"

วันที่คุยกันถึงงานของ MACED และ SAC เบธยกประเด็นนี้ขึ้นมาอีก เช่นเดียวกับคุณพ่ออาลัน ทั้งคู่เห็นว่าชุมชน Marinduque ได้เรียนรู้บทเรียนแห่งความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ การต่อสู้ ณ วันนี้ ไม่ได้มีเพียงประเด็นการเรียกร้องให้บริษัทมาร์คอปเปอร์ชดเชยความเสียหายด้านสุขภาพ ทำความสะอาดและฟื้นฟูแม่น้ำ ทะเล และผืนดินของชุมชน ประเด็นมันถูกยกระดับไปสู่ภาพรวมของวิถีชีวิตของชุมชนบนเกาะ Marinduque ความเสียหายและการสูญเสียให้บทเรียนกับคนในชุมชนว่า กิจการเหมืองไม่เหมาะกับวิถีชีวิตของพวกเขา พวกเขาไม่ต้องการ "มัน" อีกต่อไป

นี่คือเหตุผลสำคัญที่ MACED ยังคงดำเนินอย่างแข็งขันในการติดตามตรวจสอบ และตอบโต้การยื่นขออนุญาตเข้ามาทำเหมืองบนเกาะ Marinduque อีกครั้งของบริษัทสัญชาติต่างๆ รวมถึงบริษัทมาร์คอปเปอร์ ในชื่อเสียงเรียงนามใหม่ถึง ๓ บริษัท คือ Green Water Mining, Tapian Mining และ San Atonio Mining

ด้วยความข้องใจสงสัย (12) ทำให้ถามเบธและคุณพ่ออาลันอย่างออกตัวว่า ในขณะที่คนฟิลิปินโนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่ แล้วประเทศคุณก็ร่ำรวยทรัพยากร มันพอจะมีทางไหมที่เราจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยที่เราหาทางป้องกันและเตรียมทางเยียวยาความเสียหายไว้ด้วย

"Do you mean a sustainable mining? No! No! No! A Big No!!"
มันไม่มีทางเป็นไปได้ ทุกขั้นตอนของกิจการเหมืองล้วนแล้วแต่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคน ทั้งคนงานในเหมืองและชุมชนโดยรอบ เรามีบทเรียนเรื่องนี้มากพอแล้ว-เบธบอก. ในขณะที่คุณพ่ออาลันเสริมว่า เงินหรือรายได้จากเหมืองนั้น เป็น easy money ขณะที่ผลกระทบนั้นรุนแรงทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน รวมถึงวิถีชีวิตของพวกเรา ธุรกิจเหมืองจึงเป็นธุรกิจที่เสี่ยง (risky business) นอกจากนี้ 'เหมืองแบบยั่งยืน' นั้น จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อพื้นที่ ๘๐% ของเกาะ Marinduque นี้ เป็นพื้นที่ศักยภาพแร่ เริ่มต้นของบริษัทเหมืองก็คือการระเบิดภูเขาแล้ว ถ้าปล่อยให้มีการเอาทรัพยากรขึ้นมาใช้โดยการทำเหมือง แล้วเราจะไปอยู่ที่ตรงไหนของเกาะนี้ เราได้เรียนรู้แล้ว เราไม่ยอมให้ซ้ำรอยความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้นอีก-นั่นคือประโยคจากคุณพ่ออาลัน

(๖) กระบวนการยุติธรรมที่เพิ่งเริ่มต้น
วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๐๕ ห้องพิจารณา Regional Trial Court 4th Judicial Region Branch 94 ถูกใช้สำหรับการสืบโจทก์จำนวน ๘ ปาก, รอน เป็นทนายให้ชาวบ้านในอ่าว Calancan ฟ้องบริษัทมาร์คอปเปอร์ให้ชดเชยความเสียหายด้านสุขภาพ และฟื้นฟูอ่าว Calancan เขายื่นฟ้องคดีนี้ในปี ๒๐๐๔ แต่จนถึงวันนี้ กระบวนการยังไม่ผ่านการไต่สวน เพื่อขอดำเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (บ้านเราเรียก "การฟ้องแบบอนาถา")

โจทก์ที่มาวันนั้น มีทั้งชาวประมง คนรับซักผ้า และแม่บ้าน รอนนำสืบถึงรายได้อันน้อยนิดของพวกเขา มีแค่หนึ่ง-สองคนที่ยังคงสามารถหารายได้ประมาณ ๑๕๐ เปโซต่อวัน นอกนั้นรายได้ต่อวันไม่ถึง ๑๐๐ เปโซ โจทก์คนหนึ่งเป็นคุณลุงขากะเผลก ซึ่งมีสาเหตุจากการมีปริมาณสารโลหะในร่างกายสูง และแสดงอาการที่ขา, NGO คนหนึ่งกระซิบบอกว่า ลูกชายของคุณลุงคนนี้ต้องตัดขาทิ้ง เพราะอาการรุนแรงกว่าคุณลุง

ในขณะที่อีกคดีหนึ่ง คือการฟ้องร้องให้บริษัทมาร์คอปเปอร์ชดเชยความเสียหายด้านสุขภาพ และฟื้นฟูแม่น้ำ Mogpog ซึ่งทนายความของ LRC ได้ยื่นฟ้องให้ชุมชนเมื่อปี ๔ เมษายน ๒๐๐๑ นั้น ศาลได้อนุญาตให้ดำเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมไปแล้ว อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบัน จำเลย-บริษัทมาร์คอปเปอร์ ยังไม่ยื่นคำให้การต่อศาล

เมลกับรอนพูดตรงกันว่า คดีนี้มีพยานหลักฐานที่ชี้ถึงความเสียหายด้านสุขภาพจำนวนมาก ปริมาณสารโลหะหนักไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว, แคดเมียม, อเซนิค ในเลือดของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน มีเด็ก ๓ ขวบตายไปแล้วหนึ่งคน ฯลฯ และข้อมูลการปนเปื้อนของตะกอนโลหะหนักในแม่น้ำ Mogpog และ อ่าว Calancan ก็ชัดเจนแบบที่บริษัทมาร์คอปเปอร์ไม่มีทางโต้แย้งได้

ก่อนหน้านี้ MACED พยายามหาทนายมาช่วยฟ้องคดี ซึ่งยากมาก ไม่มีทนายบนเกาะ Marinduque ยอมรับทำคดีนี้ จากคำแนะนำของเพื่อน NGOคดีจึงมาถึงมือ LRC แต่การฟ้องคดีก็มิได้หมายความว่า ชุมชน Marinduque ฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่กระบวนการยุติธรรม กิจกรรมทุกอย่างที่เคยดำเนินการมา จะยังคงดำเนินการควบคู่กันไป รวมถึงความพยายามนึกหารูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ ด้วย

(๗) การเรียกค่าเสียหายและการขอให้ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ...ในคำฟ้อง
คดีนี้ โจทก์มีทั้งสิ้น ๖๑ คน ยื่นฟ้องบริษัทมาร์คอปเปอร์ ในความผิดฐาน Quansi-Delict & Tort
(คดีแพ่งหมายเลข 1-10) คำฟ้องบรรยายว่าต้นเหตุแห่งความเสียหาย หรือสาเหตุที่ทำให้เขื่อนกักน้ำเสียและตะกอนจากกิจการเหมืองพังทลายลงว่า เกิดจากพายุไต้ฝุ่น กระแสน้ำจากเขื่อนฯ ได้ท่วมหมู่บ้านในตัวเมือง Mogpog หมู่บ้าน Bocboc นั้นถูกท่วมทั้งหมู่บ้าน บ้านเรือน ทรัพย์สินทุกอย่างถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำ เนื่องเพราะขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ทุกคนกำลังหลับ

สิ่งที่โจทก์ทั้ง ๖๑ ทำได้ ณ เวลานั้น คือการพยายามรักษาชีวิตตัวเองและครอบครัว แม่น้ำ Mogpog ที่ใสสะอาดเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาล/น้ำเงินและเขียว ซึ่งมีกลิ่นเหม็น, พืชไร่สวนผัก (แปลงกล้วย, สวนกาแฟ, ไร่สัปประรด, ต้นโวคาโด, ต้นมะม่วง, ต้นมะพร้าว, สวนกล้วยไม้, แปลงพริกไทย, แปลงมันสำปะหลัง, ต้นไผ่, ต้น Kangkong, pako-pako, hagnaya, silo-pugo) ถูกน้ำท่วมจนเสียหาย, วัวควาย ฝูงไก่ หมูตาย

แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Environmental and Natural Resourec) (DENR) มีคำสั่งยกเลิก Environmental Compliance Certificate (ECC) ในวันที่ ๒๔ มกราคม ๑๙๙๘ จนเป็นเหตุให้ต้องปิดเหมือง San Antonio แต่ความเสียหายที่รุนแรงยังคงดำรงอยู่ รวมถึงยังไม่มีการฟื้นฟูหรือการชดใช้ความเสียหายคืนแก่แม่น้ำ Mogpog

ตะกอนของเสีย (slitation dam) ที่ตกอยู่ในแม่น้ำ Mogpog สร้างผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำ และในฤดูฝน หรือเมื่อฝนตกหนัก น้ำในแม่น้ำมักเอ่อท่วมท้นเข้ายังแปลงพืชผักและทรัพย์สินของชาวบ้าน แน่นอนว่าตะกอนของเสียเหล่านั้นก็ปะปนมากับกระแสน้ำด้วย. แม้ DENR จะได้ประกาศให้แม่น้ำ Mogpog และพื้นที่ใกล้เคียงเป็น พื้นที่วิกฤตสิ่งแวดล้อม (envireonmentally critical area) แต่การที่เขื่อนกักตะกอนที่ยังคงมีกากตะกอนและน้ำเสียอยู่ในชุมชนนั้น ย่อมยังเป็นความเสี่ยงต่อโจทก์และสมาชิกอื่นๆ ในชุมชนเมือง Mogpog

จนถึงปัจจุบัน ความเสียหายยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องเนื่องจากการละเว้นของจำเลย ดังนั้น การทุกข์ทรมานจากความเสียหาย, ค่าเสียหายในเชิงศีลธรรม (moral damages) (13) ยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ โจทก์ ยังได้ใช้สิทธิในการเรียกค่าเสียหายเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่าง (exempolary or corrective damages) (14) เนื่องเพราะการกระทำความผิดของจำเลยนั้นเป็นการสร้างความเสียหาย และทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง และยังคงละเว้นการเยียวยาแก้ไขอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีความโลภและผลกำไรเป็นแรงจูงใจ ปราศจากการคำนึงถึงจิตใจของโจทก์ซึ่งเป็นคนยากจน และเกษตรกร

โดยค่าเสียหายตามความเป็นจริง (actual or compensatory damages) นั้น โจทก์จะพิสูจน์จากมูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายไปจากการที่ถูกน้ำท่วม ส่วนค่าเสียหายเชิงศีลธรรมนั้น โจทก์จะพิสูจน์จากความเสียหายที่เกิดจากอาการ ตกใจ (moral shock) , อาการตกใจ (Fright), ความหวาดวิตกกังวลอย่างรุนแรง (Serious Anxiety), ความทุกข์ทรมานทางร่างกาย (Physical suffering), และความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจ (Mental anguish)

นอกจากนี้ เขื่อนกักตะกอน Maguila-guila นั้น เป็นเหตุรำคาญ (nusisance per se) และเพื่อให้เกิดประโยชน์ไม่เพียงเฉพาะแต่โจทก์ทั้ง ๖๑ คนแต่หมายถึงทั้งชุมชน การปิดเหมืองนั้นยังไม่ใช่มาตรการที่เพียงพอ เนื่องเพราะมันยังคงสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อโจทก์ เนื่องจากเขื่อนฯ ดังกล่าวปิดทางน้ำของห้วย Maguila-guila และปิดทางระบายน้ำจากแม่น้ำ Mogpog ในหน้าน้ำ

ท้ายสุด โจทก์ทั้ง ๖๑ ขอใช้สิทธิให้มีการฟื้นฟูแม่น้ำ Mogpog เพราะตลอดเวลาที่บริษัทมาร์คอปเปอร์ดำเนินกิจการเหมือง ได้ทำลายและสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามของแม่น้ำ และก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษในปลาและสัตว์น้ำประเภทต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ

สรุปความแล้วโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่ง ดังนี้
๑) ชดเชยความเสียหายให้แก่โจทก์ที่ ๑-๖๑

๑.๑) ค่าเสียหายตามความเป็นจริง (Actual or compensatory damages) ซึ่งได้แก่ ค่าเสียหายจากการที่พื้นที่การเกษตรและไร่สวน บ้านเรือนเสียหายและสัตว์เลี้ยงตาย โดยค่าเสียหายในส่วนนี้คำนวณขึ้นจากมูลค่าทรัพย์สินของโจทก์แต่ละคน (ต่ำสุดคือ ๕๗๕ เปโซ, บางคน ๘,๕๐๐ เปโซ หลายคน ๑๔,๐๐๐ - ๑๕,๐๐๐๐, สูงขึ้นไปคือ ๓๗,๕๐๐ ฯลฯ สูงสุดอยู่ที่ ๑๔๗,๕๐๐๐ เปโซ) บวกรวมกับค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้นับจากวันที่ ๖ ธันวาคม ๑๙๙๓ จนถึงปัจจุบันนั้น คำนวณโดยประมาณการ (unrealized income) โจทก์ทุกคนเรียกค่าเสียหายเท่ากัน คือ ๒๐๐,๐๐๐ เปโซ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓,๐๔๘,๔๒๕ เปโซ

๑.๒) ชดเชยค่าเสียหายเชิงศีลธรรม (Moral Damage) ให้แก่โจทก์ คนละ ๒๐๐,๐๐๐ เปโซ

๑.๓) ชดเชยค่าเสียหายเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่าง (Exemplary damages) ให้แก่โจทก์ คนละ ๒๐๐,๐๐๐ เปโซ

๑.๔) ชำระค่าวิชาชีพให้ทนายความจำนวน ๑๐% ของค่าเสียหายทั้งหมด คือ ๓,๗๔๔,๘๔๒.๕๐ เปโซ

๒) ขอให้ศาลมีคำสั่งปิดเหมืองและให้มีการย้ายเหมืองออกไป

๓) ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทมาร์คอปเปอร์ดำเนินการฟื้นฟูแม่น้ำ Mogpog ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม

+++++++++++++++++++++++++++++++++

คลิกกลับไปทบทวนตอนที่ ๑

เชิงอรรถ
(12) คำถามนี้เกิดขึ้นจากการคุยแลกเปลี่ยนกับนฤมล อภินิเวศ API Felloship ในช่วงที่อยู่ในมานิลาด้วยกัน

(13) ตาม Article 2217 ค่าเสียหายเชิงศีลธรรม ได้แก่ ค่าเสียหายเพื่อชดเชยการทุกข์ทรมานทางร่างกาย, ความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจ, ความหวาดกลัว, ความหวาดวิตกกังวลอย่างรุนแรง, การทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง, เกียรติยศ, การถูกทำร้ายความรู้สึก, อาการ Shock, การให้เป็นที่อับอายต่อคนทั่วไปในสังคม และความเสียหายอื่นๆ (Physical suffering, Mental anguish, Fright, Serious Anxiety, Besmirched reputation, Wounded feelings, Moral shock, Social humiliation and Similar injury)

(14) แม้คำว่า Exemplary damages อาจหมายถึง Corrective damages และหมายถึงคำว่า Punitive damages ในระบบกฎหมายของอเมริกันได้ โดยกฎหมายฟิลิปปินส์อธิบายคำว่า Exemplary damages ว่า examplary damages are required by public policy to suppress wanton acts.

โดยที่ Punitive หรือ Vindictive damages และ examplary หรือ corrective damages มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษต่อการกระทำผิดกฎหมายที่ร้ายแรง และเพื่อเป็นการแก้เผ็ดต่อการทำให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง และการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือการลงโทษต่อการกระทำที่เป็นความผิดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี นิยามของถ้อยคำข้างต้น ก็มีความแตกต่างอยู่บ้างในการใช้ กล่าวคือ ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (the Common law) มักใช้คำว่า examplary damages เมื่อต้องการชดเชยความเสียหายด้านความรู้สึกเนื่องจากถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือทำให้เกิดความอับอาย (indignity) and humiliation suffered) หรือเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ร้ายกาจรุนแรง (reprehensible conduct) อาทิ การจงใจกระทำความผิด, การกระทำที่โหดร้ายป่าเถื่อน, การกระทำที่มีเจตนาร้าย, การจงใจละเว้น, การประมาท, การกดขี่, การดูหมิ่น/หมิ่นประมาท, การฉ้อโกง หรือการฉ้อโกงแบบเป็นกระบวนการ (willfulness, wantonness, malice, gross negligence or recklessness, oppression, insult or fraud or gross fraud)

ขณะที่ Punitive หรือ Vindictive damages นั้น มักใช้ในกรณีที่มีการกำหนดค่าเสียหายเพื่อเป็นการลงโทษต่อการกระทำความผิดดังกล่าว หรือกล่าวได้ว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายในฐานะที่เป็นมาตรการจูงใจ/ป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอีก

Punitive or vindicitve damages, exemplary or corrective damages are internded to serve as a deterrent to serious wrongdoings and as a vindication of undue sufferings and wanton invasion of the rights of an injured or a punishment for those guilty of outrageous conduct. These terms are generally, but not always, used interchaneably. In common Law, there is preference in the use of exemplary damages when the award is to account for injury to feelings and for the sense of indignity and humiliation suffered by a person as a result of an injury that has been maliciously and wantonly inflicted, the theory being that there should be compensation for the hurt caused by the highly reprehensible conduct of the defendant-associated with such circumstances as willfulness, wantooness, malice, gross neglignece or recklessness, oppressinon, insult of frund or gross fraud-that intensifies the injury. The terms punitive or vindictive damages are often used to refer to those specied of damages that may be awarded against a person to punish him for his outrageous conduct. In either case, these damages are intended in good measure to deter the wrongdoer and otheres like him from similar conduct in the future.


หนังสืออ้างอิง

- Lawyering for the Public Interest 1st Alternative Law Conference, 8-12 November 1999

- Minding Mining! Lesson from the Philippines, Philippines International Forum, Febuary 1999

- Community Habitat,Monograph Series No.2, Larger-Scale Mining L Its Environmental, Social Economic and Cultural Impact in the Philippines, June 2005, Philippines Rural Reconstruction Movement, PRRM Conrado Benitez Institue for Sustainablity

- Issue Paper 97-01 ALL THAT GLITTERS, Understanding the Myth of "Sustainable Mining in the Philippines",Legal Right and Natural Resources Center, September, 1997

- Saving the Earth, The Philippines Experience 4th edtion

- Timoteo B.Aquino, Tort and Damages, second edition, 2005

วารสาร/จดหมายข่าว
-Paltek di Cordillera Vol IV, Issue 14, April-June 2004, Vol V, Issue 17,Jan-Mar, 2005 และ Vol IV, Issue 13, Jan-Mar, 2004

- HAPIT Vol. XII, No1, October 2004-March 2005

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

ข้อมูลมีทุกอย่าง ตั้งแต่การบอกเล่าถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบริษัทมาร์คอปเปอร์และทวงถามความรับผิดจากบริษัทฯ ขณะเดียวกันประเด็นนี้ก็ถูกส่งถึงมือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับพื้นที่ คือเทศบาล (Manucipality) ผู้ว่าราชการจังหวัด (Governor) สภาจังหวัด และเรื่อยไปถึงหน่วยงานบริหารที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Environment and Natural Resource-DENR) สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ไปจนถึงประธานาธิบดี หลังจากนั้น ไม่ว่าบริษัทมาร์คอปเปอร์/หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จะตอบจดหมายกลับมาหรือไม่ SAC ยังคงส่งจดหมายเพื่อทวงถาม ติดตามความคืบหน้า อย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่บริษัทมาร์คอปเปอร์ หน่วยงานรัฐใดๆ มีกิจกรรม นโยบาย/แผนงาน หรือการเคลื่อนไหวใดๆ ที่เกี่ยวข้อง SAC จะยื่นหนังสือเพื่อแสดงความคิดเห็น จดหมายต่อกิจกรรม นโยบาย/แผนงาน หรือการเคลื่อนไหวดังกล่าวทุกครั้ง