Free Documentation
License
Copyleft : 2006,
2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document, but changing it is not allowed.
หากนักศึกษา
และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
The Midnight
University
แนวคิดศิลปะกับสังคมและการเมือง
ภาพกว้างและความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสถานการณ์นิยม
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการส่งเสริมความรู้ข้ามทวีป ข้ามภาษาและวัฒนธรรม
บทความวิชาการบนหน้าเว็บเพจนี้
เป็นความพยายามอธิบายถึงแนวคิดศิลปะ
ที่สนใจในปัญหาการเมือง และแนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ถือเป็นแนวคิดศิลปะหนึ่งที่สืบทอดมาจากแนวคิดของกลุ่ม Dada
และ Surrealism
และมีแนวโน้มหลายอย่างที่นำหน้ามาก่อนศิลปะหลังสมัยใหม่
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 943
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
16.5 หน้ากระดาษ A4)
แนวคิดศิลปะกับสังคม-การเมือง
ภาพกว้างและความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสถานการณ์นิยม
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ความนำ : เกี่ยวกับศิลปะสถานการณ์นิยม
Situationist :
ในหนังสือ Art Speak : a Guide to Contemporary ideas, Movements, and Buzzword
ของ Rober Atkins ได้อธิบายถึงคำว่า situationist (ตามข้อเท็จจริงในหนังสือเล่มดังกล่าวใช้คำว่า
Situationism ซึ่งไม่ถูกต้อง) โดยสังเขปดังต่อไปนี้
ศิลปะสถานการณ์นิยมที่สำคัญ คือกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ หรือ The Situationist International (SI) ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1957 เมื่อขบวนการศิลปะแนวหน้า หรือ Avant-Garde groups สองกลุ่ม คือ the Lettrist International และ the Movement for an Imaginist Bauhause ได้มารวมตัวกันอย่างเป็นทางการ
ในเชิงทฤษฎี, กลุ่มศิลปินสถานการณ์นิยมได้ปรากฏตัวขึ้นมาจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคมตะวันตก โดยได้ตำหนิลัทธิทุนนิยมในการเปลี่ยนแปลงพลเมืองทั้งหลายไปสู่"การเป็นนักบริโภคแบบยอมจำนน" โดยใช้ภาพอันน่าตื่นเต้นของสื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง(depoliticized media spectacle)เป็นเครื่องดึงดูด สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาแทนที่การมีส่วนร่วมแบบเชิงรุกในชีวิตสาธารณะ (สำหรับทัศนคติดังกล่าว ที่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนที่สุด สามารถดูได้จากหนังสือของ Guy Debord ที่ทรงอิทธิพลในเรื่อง Society of the Spectacle)
ในส่วนรากเหง้าต่างๆ ของแนวคิดสถานการณ์นิยม เราสามารถสืบสาวย้อนกลับไปได้ถึงพันธกิจของพวกลัทธิเหนือจริง(surrealist) เกี่ยวกับการทำให้ชีวิตของชนชั้นกลางตามขนบจารีต ต้องประสบกับความยุ่งเหยิงและแตกสลาย. ในข้อเท็จจริง ศิลปะสถานการณ์นิยมได้รับการพิจารณาให้เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิเหนือจริงหลังสงครามโลก(a post war form of surrealism), ซึ่งก่อนสงครามโลก ลัทธิเหนือจริงเน้นเรื่อง"ความไร้สำนึกทางจิตวิทยา" แต่หลังสงครามโลกแนวคิดนี้ได้ถูกแทนที่ด้วยความสนใจอันหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "detournement"(ความเบี่ยงเบน/การเข้าแทนที่) และอื่นๆ ดังนี้
- detournement (diversion or displacement - ความเบี่ยงเบนผันแปร หรือการเข้าแทนที่),
- derive (drift - ล่องลอย, ระเหเร่ร่อน), และ
- urbanisme unitarire (integrated city life - ชีวิตในเมืองที่ถูกบูรณาการ).
ในส่วนของ urbanisme unitarire ทำให้การสร้างสรรค์เกี่ยวกับผลงานศิลปะต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งข้ามผ่านหรือตัดสลับพรมแดนทั้งหลายของรูปแบบและประเภทต่างๆ ทางศิลปะที่แยกๆ กันอยู่ - เช่น จิตกรรมใหญ่โตยิ่งกว่าสิ่งก่อสร้าง(paintings larger than buildings), เป็นตัวอย่าง - และเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองดังที่ตั้งตระหง่านสำหรับสถานการณ์, หรือปฏิกริยาต่างๆ ทางสังคมที่มีความหมาย
ความผูกพันในเชิงทฤษฎีเหล่านี้ได้ถูกแปลไปสู่ความหลากหลายอันหนึ่งของวิธีการทางศิลปะ ด้วยรากฐานทางด้านสติปัญญาที่ถูกนำมาแบ่งปันกัน แต่จะไม่เป็นไปในรูปแบบหรือสไตล์ร่วมกัน. Asger Jorn ได้สร้างผลงานที่เรียกว่า detourned works (ผลงานที่ถูกแปรเปลี่ยนและเข้าแทนที่) โดยมีการเขียนรูปบางส่วนลงบนภาพจำลองทางศิลปะที่พิมพ์ออกมาถูกๆ ด้วยเทคนิคจิตรกรรม เพื่อตั้งคำถามถึงคุณค่าเกี่ยวกับความเป็นต้นฉบับ(original) ความเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นเจ้าของ
ส่วน Gluseppe Pinot Gallizio สร้างผลงานที่มีขนาดความยาว145 เมตร เป็นงานจิตรกรรมเชิงอุตสาหกรรมตามขนาดสัดส่วนของเมือง เพื่อเป็นการล้อเลียนเครื่องจักรอัตโนมัติ ซึ่งเขาขายภาพผลงานของตนเองโดยแบ่งมันออกเป็นส่วนๆ หรือขายเป็นเมตรๆ. โปสเตอร์แม็กาซีนต่างๆ และโปสเตอร์ภาพยนตร์ได้ถูกผลิตขึ้นด้วย เดิมทีเดียวได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยกลุ่ม Spur Group และ Guy Debord
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960s ศิลปะกลุ่มสถานการณ์นิยม ส่วนมากได้สร้างงานเขียนในเชิงทฤษฎีตามแนวทางดังกล่าว และได้มีการจัดองค์กรทางการเมืองขึ้นมา โดยทั่วไปแล้ว การสไตร์คเดือนพฤษภาคม 1968 ในฝรั่งเศส ถือเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อไอเดียของพวกสถานการณ์นิยมนี้ และถูกทำให้เป็นอมตะในงานโปสเตอร์และภาพการ์ตูนต่างๆ ของกลุ่มสถานการณ์นิยม ซึ่งทำให้เป้าหมายของนักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นรูปธรรมขึ้นมา
กลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ(Situationist International) ได้เจือจางและสลายตัวไปในปี ค.ศ.1972. ในการแสดงนิทรรศการของกลุ่มสถานการณ์นิยมที่สำคัญในหัวข้อ On the Passage of a Few People through a Rather Brief Moment in Time, ได้รับการจัดขึ้นมาโดยศูนย์กลางศิลปะจอร์จส์ ปอมปิดูย์(the Centre Georges Pompidou)ในปี ค.ศ.1989 และพิสูจน์ถึงข้อโต้แย้งในความพยายามของกลุ่มฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงขบวนการทางการเมืองอย่างสูง โดยผ่านวัตถุต่างๆ และสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายทางศิลปะ
สถานการณ์นิยมมีอิทธิพลอย่างกระฉับกระเฉงเกี่ยวกับพัฒนาการของศิลปะแนวพั๊งค์ของอังกฤษ นอกจากนี้มันยังให้แรงบันดาลใจแก่ศิลปินแนวความคิด(Conceptual)และ Arte Povera artists ของศิลปินยุโรปด้วย และยังเป็นแนวนำทางในเชิงยุทธวิธีกับศิลปินหลังสมัยใหม่ อย่าง Babara Kruger และ Richard Prince ซึ่งได้ล้มล้างข้อความสำนวนต่างๆ ที่เป็นภาพในงานโฆษณาลง (subvert the visual idioms of advertising) [เช่น คำว่า "เป๊ปซี่ ดีที่สุด", บนป้ายโฆษณาไฟฟ้าซึ่งเป็นตัว(อักษร)วิ่ง ติดอยู่บนตึกต่างๆ - kruger ได้ใช้ประโยชน์ของป้ายโฆษณาฯดังกล่าว ด้วยการสร้างข้อความสำนวนของเธอเองขึ้น เช่น "Protect me from what I want" และปล่อยให้ข้อความดังกล่าวไหลเลื่อนไปบนป้ายโฆษณาฯแทน]
ศิลปินที่สำคัญในกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ
สำหรับศิลปินคนสำคัญของกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ ประกอบด้วย Andre Bertrand
(France), Benjamin Constant (Netherlands), Guy Debord (France), Asger Jorn
(Denmark), Giuseppe Pinot Gallizio (Itary), Spur Group (Germany)
กลุ่มศิลปินสถานการณ์นิยมนานาชาติ(The SI)ได้สลายตัวลงในปี ค.ศ.1972 แม้ว่าสมาชิกของกลุ่มไม่เคยขึ้นถึง 40 คนเลย ไม่ว่าในช่วงเวลาใด (และบางครั้งสมาชิกทั้งหมดเหลือเพียงแค่ 10 คนเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม ความคิดของกลุ่มสถานการณ์นิยม ยังคงก้องสะท้อนอย่างลึกซึ้งและต่อเนื่อง ผ่านแง่มุมต่างๆมากมายทางด้านวัฒนธรรมและการเมืองในยุโรปและอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ตามข้อเท็จจริงแล้วแนวคิดของกลุ่มสถานการณ์นิยมค่อนข้างสลับซับซ้อน ไม่สัมพันธ์กัน และยากที่จะทำความเข้าใจ มีบางคนถึงกับกล่าวว่ามันไร้สาระด้วย ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจและเข้าถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงขอนำคำอรรถาธิบาย situationist จากสารานุกรมวิกกี้มานำเสนอดังนี้
2. สถานการณ์นิยม (Situationist)
จากสารานุกรมวิกกี้
จากศิลปะสู่ปัญหาการเมือง
ศิลปะกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ (The Situationist International) หรือมีอักษรย่อว่า
SI เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางศิลปะและการเมืองนานาชาติ ซึ่งคู่ขนานกันไปกับลัทธิมาร์กซ์
และลัทธิดาดา, ลัทธิอัตถิภาวะนิยม, ลัทธิต่อต้านบริโภคนิยม, พั๊งค์, และลัทธิอนาธิปไตย
สถานการณ์นิยมนานาชาติ (SI) เริ่มก่อตัวขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ.1957 และขบวนการสถานการณ์นิยมนานาชาติก็ได้มีบทบาทมาโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ 1960s กลุ่มฯมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ(SI) ได้ยุติบทบาทลงในปี ค.ศ.1972
นิยามความหมายของสถานการณ์นิยม
นิตยสาร Internationale Situationiste ได้ให้นิยามความหมาย situationist ว่า
"เป็นความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ
ที่สร้างขึ้น". นิตยสารฉบับเดียวกันได้ให้นิยามความหมาย situationism ว่า
"เป็นคำศัพท์ที่ไร้ความหมายคำหนึ่งที่รับมาจากข้างต้นอย่างไม่เหมาะสม. เพราะมันไม่มีสิ่งซึ่งเป็น
situationism, ที่หมายถึงลัทธิคำสอนเกี่ยวกับการตีความข้อเท็จจริงที่มีอยู่.
ความคิดเกี่ยวกับ situationism ได้ถูกประดิษฐขึ้นมาอย่างชัดเจนโดยพวก antisituationists"
ประวัติความเป็นมาและสาระโดยสังเขป
เดิมทีเดียว ขบวนการสถานการณ์นิยมได้ถือกำเนิดขึ้นในอิตาลี ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของ
Cosio d'Arroscia ในวันที่ 28 กรกฎาคม 1957 โดยการหลอมรวมแนวโน้มต่างๆ ทางศิลปะกลุ่มเล็กๆ
ที่มีลักษณะสุดขั้วหลากหลายเข้าด้วยกัน ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นพวกแนวหน้า หรือ avant-gardistes
นั่นคือ Lettrist International, the International movement for an imaginist
Bauhaus (an off-shoot of COBRA), และ the London Psychogeographical Association
การหลอมรวมนี้ได้ดำเนินรอยตามอิทธิพลทางแนวคิดศิลปะ dada, surrealism, และ Fluxus เช่นเดียวกันกับแรงบันดาลใจจากกลุ่ม Trotskyist group Socialisme ou Barbarie ซึ่งเป็นกลุ่มแนวคิดศิลปะของสหภาพโซเวียต ในฐานะรูปแบบหนึ่งของลัทธิทุนนิยมโดยรัฐ และในฐานะที่เป็นระบอบหนึ่งของขุนนาง ซึ่งสภาคนงานต่างๆ ในแบบจำลองการปฏิวัติฮังกาเรียน 1956 ต่างปรารถนาและชื่นชม
สมาชิกชาวฝรั่งเศสที่โดดเด่นที่สุดของกลุ่มนี้คือ Guy Debord ซึ่งมีแนวโน้มสู่การทำให้เกิดขั้วทางความคิดที่ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม บางคนอธิบายถึงเขาในฐานะที่ทำให้เกิดความกระจ่างในทางทฤษฎีภายในกลุ่ม; ส่วนคนอื่นๆ กล่าวหาว่า เขาค่อนข้างที่จะดำเนินการต่างๆ ในลักษณะควบคุมและเผด็จการเหนือสมาชิกและพัฒนาการของกลุ่ม ขณะที่บางคนกล่าวว่า เขาเป็นนักเขียนแนวหน้าที่ทรงพลัง แต่เป็นนักคิดชั้นรองหรือเกรด B เท่านั้น
สมาชิกคนอื่นๆ ของสถานการณ์นิยมนานาชาติ ประกอบด้วยจิตรกรชาวดัทช์ Constant Nieuwenhuys, นักเขียนเชื้อสายอิตาลีผสมสก็อต Alexander Trocchi, ศิลปินอังกฤษ Ralph Rumney (สมาชิกเพียงคนเดียวของ the London Psychogeographical Society, Rumney ได้รับการขับออกไปค่อนข้างรวดเร็วหลังจากมีการก่อตั้งกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ [SI]), ศิลปินสแกนดิเนเวีย Asger Jorn (ซึ่งเขาได้เป็นผู้ก่อตั้ง the Scandinavian Institute of Comparative Vandalism ด้วย), ผู้มีประสบการณ์มายาวนานเกี่ยวกับการปฏิวัติฮังกาเรียน Attila Kotanyi, นักเขียนฝรั่งเศส Michele Bernstein, และ Raoul Vaneigem ก็อยู่ในกลุ่มนี้. Debord และ Bernstein ต่อมาได้แต่งงานกัน
ลักษณะเฉพาะทางแนวคิดศิลปะสถานการณ์นิยม
ในทางหนึ่ง สถานการณนิยมนานาชาติยึดครองแนวความคิดต่างๆ ในฐานะที่เป็นผู้มาก่อน
ซึ่งมองวัตถุประสงค์ของพวกเขากับการไปเกี่ยวพันกับการนิยามสิ่งใหม่ๆ อย่างสุดขั้ว
ในเรื่องของบทบาททางด้านศิลปะในคริสตศตวรรษที่ 20 ดังนี้...
1. Dialectics
- สถานการณ์นิยมในตัวของมันเองถือครองความคิดและทัศนคติในเชิงวิภาษวิธี(Thesis,
Anti-thesis, Synthesis) มองภารกิจของพวกเขาในฐานะที่เป็นศิลปะที่เข้ามาแทนที่ของเก่าที่ล้าสมัย(superseding
art)
2. Art and Everyday life
- ลบล้างความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะในฐานะที่เป็นกิจกรรมที่แยกตัวออกไป กิจกรรมของผู้เชี่ยวชาญ
และแปรเปลี่ยนมันให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการถักทอหรือผืนผ้าเนื้อเดียวกันกับชีวิตประจำวัน(seeing
their task as superseding art, abolishing the notion of art as a separate,
specialized activity and transforming it so it became part of fabric of everyday
life)
3. Art and Revolution
- จากทัศนคติของสถานการณ์นิยม ศิลปะเป็นเรื่องของการปฏิวัติ หรือไม่มันก็เป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย.
ในหนทางนี้ บรรดานักสถานการณ์นิยมมองความพยายามต่างๆ ของพวกเขา ในฐานะที่เป็นการกระทำให้ผลของทั้ง
Dada และ Surrealism ก้าวสู่ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ล้มล้างมันทิ้งไปด้วย.
บรรดานักสถานการณ์นิยมยังคงตอบคำถามว่า "อะไรคือเรื่องของการปฏิวัติ"
ช่วงวันเวลาที่ต่างๆ กัน คำตอบก็จะแตกต่างกันไป
ปัญหาและความแตกแยกของกลุ่ม
สถานการณ์นิยมนานาชาติประสบกับการแตกแยกและการขับไล่สมาชิกบางส่วนออกไป การแตกแยกที่โดดเด่นอันหนึ่งในกลุ่มฯ
เป็นผลลัพธ์เนื่องมาจากภาคส่วนของสมาชิกปารีสพยายามธำรงชื่อ Situationist International
เอาไว้ ในขณะที่ส่วนของสมาชิกจากเยอรมัน, หรือ The Second Situationist International
ได้รวมตัวกันขึ้นมาภายใต้ชื่อของ Gruppe SPUR. ขณะเดียวกันประวัติศาสตร์ทั้งหมดของบรรดานักสถานการณ์นิยมได้มีการตราเครื่องหมายของตนเองขึ้นมา
โดยแรงกระตุ้นของพวกเขาที่จะทำชีวิตให้เกิดการปฏิวัติ
การแตกแยกระหว่างภาคส่วนของฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นเครื่องหมายของการเปลี่ยนผ่าน จากทัศนะและแนวคิดสถานการณ์นิยมการปฏิวัติในรูปแบบของศิลปะ(artistic form)ที่เป็นไปได้อันหนึ่ง สู่รูปแบบทางการเมือง(political form)อันปราศจากความคลุมเครือ
สำหรับบรรดาพวกที่ดำเนินรอยตามทัศนะทางศิลปะของกลุ่มสถานกาณ์นิยมนานาชาติ อาจมองวิวัฒนาการของกลุ่มฯ ในฐานะที่เป็นผลิตผลขององค์กรที่น่าเบื่อและดันทุรัง. ส่วนพวกที่ดำเนินรอยตามทัศนะทางการเมืองจะมองว่าเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนพฤษภา 1968 (May 1968 Uprising) ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ในเชิงตรรกของวิธีการในลักษณะวิภาษวิธี(dialectical approach)ของสถานการณ์นิยมนานาชาติ: ขณะเดียวกันก็รู้สึกแค้นเคืองสังคมทุกวันนี้ พวกเขาแสวงหาสังคมการปฏิวัติ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มในเชิงบวกของพัฒนาการทุนนิยมปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
ความสำนึกและการล้มล้างเกี่ยวกับศิลปะ เป็นเรื่องที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาส่วนใหญ่ของการเข้ามาแทนที่ของเก่าที่ล้าหลัง ซึ่งกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติแสวงหามานานปี สำหรับสถานการณ์นิยมนานาชาติปี 1968, ถือว่า โลกแห่งชัยชนะของสภาแรงงานจะก่อให้เกิดการเข้ามาแทนที่สิ่งเก่าๆ เหล่านี้ทั้งหมด
เหตุการณ์พฤษภาคม 1968
(May 1968)
เหตุการณ์ที่สำคัญอันหนึ่งที่นำไปสู่เหตุการณ์เดือนพฤษภา 1968 เป็นเรื่องที่เรียกว่าเป็นความฉาวโฉ่อัปยศ
Strasbourg. กล่าวคือ นักศึกษากลุ่มหนึ่งได้มีการจัดการใช้ทุนสาธารณะในการพิมพ์แผ่นพับเรื่อง
"ในความขาดแคลนของชีวิตนักศึกษา: พิจารณาในเรื่องเศรษฐกิจ, การเมือง, จิตวิทยา,
เรื่องเพศ, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางด้านสติปัญญา และข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา"
On the Poverty of Student Life: considered in its economic, political, psychological,
sexual, and particularly intellectual aspects, and a modest proposal for its
remedy
แผ่นพับดังกล่าว ได้แพร่กระจายออกไปนับจำนวนเป็นพันๆ และช่วยให้บรรดานักสถานการณ์นิยมเป็นที่รู้จักดีไปทั่วกลุ่มฝ่ายซ้ายที่ไม่ใช่สายสตาลิน(nonstalinist left). การยึดครองต่างๆ ของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 1968 เริ่มต้นขึ้นที่มหาวิทยาลัย Nanterre และได้แผ่ขยายไปสู่มหาวิทยาลัย Sorbonne. ตำรวจพยายามที่จะนำกลุ่มที่ประท้วงกลับไปยังมหาวิทยาลัย Sorbonne และด้วยเหตุนี้ จึงทำใหเกิดการจลาจลขึ้น. ติดตามมาด้วยการก่อการสไตร์คไปทั่ว ซึ่งได้ทำให้เกิดแถลงการณ์ของบรรดาคนงานทั้งหลายมากกว่า 10 ล้านคนที่เข้ามามีส่วนร่วม
กลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ แรกเริ่มเดิมทีซึ่งมีส่วนในการเข้ายึดครองมหาวิทยาลัย Sorbonne และพิทักษ์ปกป้องสิ่งกีดขวางในการจลาจล. กลุ่มสถานการณ์นิยมได้แบ่งสรรปันส่วนการเข้ายึดครองโรงงานต่างๆ และการก่อตั้งสภาแรงงานทั้งหลายของบรรดาคนงานขึ้น และพยายามทำหน้าที่ขจัดความเข้าใจผิดกับพวกนักศึกษาฝ่ายซ้ายของมหาวิทยาลัย เพื่อจัดตั้ง the CMDO (The Council for the Maintenance of the Occupations - ซึ่งเป็นสภาที่ทำหน้าที่ดูแลการยึดครองสถานที่ต่างๆ) พวกเขาได้มีการแพร่กระจายข้อเรียกร้องต้องการทั้งหลายของกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติออกไป ในขอบเขตที่กว้างขวางมาก. ภายหลังจากการยุติความเคลื่อนไหว, the CMDO ก็ได้สลายตัวลง
ความคิดที่สำคัญในทฤษฎีสถานการณ์นิยม
แกนกลางความคิดของทฤษฎีสถานการณ์นิยม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
1. สถานการณ์ (The Situation)
:
แนวคิดความเชื่ออันหนึ่งซึ่งแพร่หลายอยู่ในวงการปรัชญา, วิทยาศาสตร์ และศิลปะสำหรับบางช่วงเวลา.
Asger Jorn ได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจาก Niels Bohr (นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ซึ่งศึกษาเรื่องโครงสร้างของอะตอมและรังสีต่างๆ),
และเราสามารถเห็นได้ในแนวความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ ความเชื่อมโยงอันหนึ่งกับแนวคิดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งในควอนตัมฟิสิกส์(locality
of Quantum physics)
2. สังคมภาพที่น่าตื่นเต้น
(The Spectacular society) :
สังคมที่เกี่ยวพันกับภาพอันน่าตื่นเต้น/ประทับใจ "พวกเราต่างอาศัยอยู่ในสังคมที่มีการเสนอภาพอันน่าตื่นเต้น
นั่นคือ ชีวิตของเราทั้งหมดได้ถูกแวดล้อมด้วยการสั่งสมเกี่ยวกับความน่าตื่นเต้นน่าประทับใจมหึมา.
สิ่งต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยดำรงอยู่อย่างตรงไปตรงมา ปัจจุบันถูกทำให้ดำรงอยู่ในลักษณะตัวแทนหรือสิ่งแทน(proxy).
เมื่อประสบการณ์อันหนึ่งได้ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากโลกของความเป็นจริง มันจึงกลายเป็นสินค้า.
ในฐานะที่เป็นสินค้าอันหนึ่ง ความน่าตื่นเต้นได้ถูกพัฒนาขึ้น และมันก่อให้เกิดการสูญเสียความจริงไป.
มันกลายเป็นภาพตัวแทนอันหนึ่งสำหรับประสบการณ์" (Larry Law, จาก Images
And Everyday Life, a 'Spectacular Times' pocket book.)
ความน่าตื่นเต้นไม่ใช่การสะสม/รวมตัวกันของภาพต่างๆ แต่เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมท่ามกลางผู้คนทั้งหลายที่ถูกสื่อโดยภาพต่างๆ เหล่านี้ ความน่าตื่นเต้นโดยทั่วไป ในฐานะรูปธรรมของการสลับปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับชีวิต เป็นขบวนการที่อิสระเกิดขึ้นมาเองของสิ่งไม่มีชีวิต มันเป็นการโกหกมดเท็จของตัวมันเอง" (Guy Debord)
บรรดานักสถานการณ์นิยมจะถกเถียงกับการแบ่งแยกทุกๆ อย่างระหว่าง "ความน่าตื่นเต้นผิดๆ"(a false spectacle) กับ "ชีวิตประจำวันที่ถูกต้อง/เป็นจริง"(a true daily life). Debord ได้พลิกผัน โดยการถกว่า ภายในความน่าตื่นเต้น, "ความถูกต้องเป็นชั่วขณะหนึ่งของความผิดพลาด"( "the true is a moment of the false")
บรรดานักสถานการณ์นิยมจะให้เหตุผลว่า สังคมได้ก้าวมาถึงระดับของความน่าตื่นเต้น เมื่อแง่มุมเกือบทั้งหมดของวัฒนธรรม และประสบการณ์กลายเป็นสิ่งที่ถูกสื่อโดยความสัมพันธ์กับสังคมทุนนิยม. แนวความคิดนี้ของชีวิตสมัยใหม่เป็นก้าวหนึ่งที่ย้ายจากความเป็นจริง ซึ่งอันนี้เป็นพื้นฐานร่วมกันกับความคิดของ Jean Baudrillard เกี่ยวกับเรื่อง Hyperreality ซึ่งสำรวจตรวจสอบสังคมต่างๆ ที่ถูกทดแทนประสบการณ์จริงด้วยภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ
Guy Debord : Spectacle
Guy Debord ให้เหตุผลว่า ภาพอันน่าตื่นเต้นได้แสดงตัวของมันเองใน 3 รูปแบบที่ต่างกันคือ (1) :
รูปแบบที่หนึ่ง ภาพอันน่าตื่นเต้นที่ได้รับการเพ่งมอง/เอาใจใส่
(The concentrated spectacle):
ภาพอันน่าตื่นเต้นสัมพันธ์กับการเอาใจใส่ภาพลักษณ์ของบรรดาขุนนาง. Guy Deboed
เชื่อมโยงรูปแบบอันน่าตื่นเต้นนี้กับกลุ่มคนตะวันออก และพวกฟาสซิสม์ แม้ว่าทุกวันนี้จะผสมผสานกับประเทศเศรษฐกิจต่างๆ
แต่กระทั่งประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้าต่างๆ ในช่วงวิกฤตก็ใช้ประโยชน์รูปแบบนี้ด้วย.
ทุกๆแง่มุมของชีวิต, อย่างเรื่องทรัพย์สิน, สมบัติพัสถาน, ดนตรี, และการสื่อสารได้ถูกให้ความเอาใจใส่และถูกทำให้เป็นอย่างเดียวกันชนชั้นขุนนาง.
ภาพอันน่าตื่นเต้นที่ได้รับการเอาใจใส่ โดยทั่วไปแล้วมันมีลักษณะที่จะทำให้ตัวของมันเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้นำทางการเมืองที่ทรงอำนาจ.
ภาพอันน่าตื่นเต้นที่ได้รับการเอาใจใส่ ถูกทำให้มีประสิทธิภาพโดยผ่านรัฐที่ใช้เรื่องของความรุนแรง
และการคุกคาม ความน่าหวาดกลัวของตำรวจมาโดยตลอด
รูปแบบที่สอง ภาพอันน่าตื่นเต้นที่แพร่กระจายไปทั่ว
(The diffuse spectacle):
ภาพอันน่าตื่นเต้นสัมพันธ์กับลัทธิทุนนิยมที่ก้าวหน้า และความอุดมสมบูรณ์ของสินค้า.
ภาพอันน่าตื่นเต้นที่แพร่หลาย, สินค้าทั้งหลายที่แตกต่างขัดแย้งของคนแต่ละคน,
การปกป้องขัดขวางการบริโภคจากการบริโภค. สินค้าแต่ละอย่าง อ้างตัวมันเองในฐานะเป็นเพียงสิ่งที่มีอยู่หนึ่งเดียว
และพยายามที่จะยัดเยียดและกำหนดตัวมันเองเหนือกว่าสินค้าอื่นๆ
"ข้ออ้างที่ไม่เข้ากันต่างๆ
ลวงหลอกตำแหน่งของตัวมันเองบนเวทีเศรษฐกิจที่มั่งคั่งร่ำรวย ในฐานะภาพอันน่าตื่นเต้นอันเดียว
และสินค้าระดับดาวเด่นที่แตกต่าง ซึ่งส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งกับนโยบายทางสังคมต่างๆ
ในเวลาเดียวกัน ภาพอันน่าตื่นเต้นของรถยนต์เป็นตัวอย่าง พยายามทำให้การจราจรไหลเวียนอย่างสมบูรณ์
ซึ่งส่งผลถึงการทำลายท้องถิ่นตำบลอันเก่าแก่ ขณะที่ภาพน่าตื่นเต้นของเมืองใหญ่ต้องการที่จะรักษาท้องถิ่นตำบลเหล่านั้นไว้ให้เป็นสิ่งดึงดูดต่างๆ
สำหรับบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลาย" (Guy Debord)
ภาพอันน่าตื่นเต้นที่แพร่หลายในรูปแบบที่สองนี้ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบแรก(ภาพอันน่าตื่นเต้นที่ถูกให้ความเอาใจใส่).
ภาพอันน่าตื่นเต้นในรูปแบบที่สอง ส่วนใหญ่ปฏิบัติการผ่านการชักจูงล่อลวง ขณะที่รูปแบบแรกปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่ผ่านความรุนแรง.
เนื่องจากอันนี้ Debord ได้ให้เหตุผลว่า ภาพอันน่าตื่นเต้นที่แพร่หลายจึงมีประสิทธิภาพในการไปกดทับและระงับความเห็นต่างๆ
มากกว่าภาพอันน่าตื่นเต้นที่ถูกให้ความเอาใจใส่ในแบบแรก
รูปแบบที่สาม ภาพอันน่าตื่นเต้นที่ถูกบูรณาการ
(The integrated spectacle):
ภาพอันน่าตื่นเต้นสัมพันธ์กับประเทศทุนนิยมสมัยใหม่. ภาพอันน่าตื่นเต้นแบบที่ถูกบูรณาการนี้หยิบยืมลักษณะเฉพาะต่างๆ
จากรูปแบบที่หนึ่งและที่สอง เพื่อมาสังเคราะห์ในการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา. Debord
ให้เหตุผลว่า นี่เป็นรูปแบบที่เพิ่งมีขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เอง เกี่ยวกับการแสดงออกของภาพอันน่าตื่นเต้น
และมันได้รับการบุกเบิกในฝรั่งเศสและอิตาลี
ตามความคิดของ Debord ภาพน่าตื่นเต้นในลักษณะบูรณาการได้ถูกดำเนินการโดยป้ายฉลากของเสรีประชาธิปไตย. ภาพน่าตื่นเต้นนี้ได้นำเสนอรัฐๆ หนึ่งเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่มีมายาวนาน ที่ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญและชำนัญการทั้งหลายบงการเรื่องของศีลธรรม, สถิติต่างๆ, และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพที่น่าตื่นเต้น. ลัทธิก่อการร้ายคือศัตรูที่ประดิษฐ์หรือคิดขึ้นมาของภาพที่น่าตื่นเต้น ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับความเป็นเสรีประชาธิปไตยของพวกเขา โดยมุ่งไปที่ความเหนือกว่าของฝ่ายหลัง. Debord ให้เหตุผลว่า ปราศจากลัทธิก่อการร้าย ภาพที่น่าตื่นเต้นแบบที่ถูกบูรณาการจะไม่เหลือรอดต่อไปได้ สำหรับมันต้องการได้รับการเปรียบเทียบกับบางสิ่งบางอย่าง เพื่อที่จะแสดงความสมบูรณ์ของมันและขับเน้นความเหนือกว่าอย่างชัดเจนขึ้นมา
Debord ชี้แจงว่า ภาพอันน่าตื่นเต้นแบบที่ถูกบูรณาการค่อนข้างมีพลานุภาพมาก และเป็นรูปแบบที่อันตรายของการแสดงออกเกี่ยวกับสิ่งนี้ และความยิ่งใหญ่ดังกล่าว เช่น
(ก) Unitary urbanism :
Unitary urbanism เป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์โดยรวมของศิลปะกับเทคนิคต่างๆ ในฐานะที่เป็นวิธีการสนับสนุนในการประกอบสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นหน่วยเดียว ในความสัมพันธ์เชิงพลวัตกับการทดลองต่างๆ ทางด้านพฤติกรรม อันนี้ "เป็นหนึ่งในแกนกลางความสนใจของกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ (Internationale Situationniste)(ข) Recuperation : การฟื้นคืนสู่สภาพปรกติ
"เพื่อความอยู่รอด ภาพอันน่าตื่นเต้นจะต้องควบคุมสังคม มันต้องสามารถฟื้นคืนสถานการณ์ที่คุกคามสู่สภาวะความเป็นปรกติได้อย่างมีศักยภาพ โดยการเปลี่ยนพื้นฐานที่มั่น, สร้างสรรค์ทางเลือกอันน่าพิศวง - หรือโดยการโอบกอดเอาการคุกคามเข้ามาใช้ประโยชน์ แล้วทำให้มันรู้สึกปลอดภัย และต่อจากนั้นก็ขายมันกลับมาให้เรา" (Larry Law, จากเรื่อง The Spectacle- The Skeleton Keys, a 'Spectacular Times pocket book.)- "เฮ! คุณคิดว่ามันน่าสนุกใช่ไหม? เปลี่ยนการกบฎ การก่อจลาจลให้เป็นเงิน? (White Man In The Hammersmith Palais.)
การฟื้นคืนสู่สภาพปรกติ(recuperation) เป็นกระบวนการอันหนึ่งซึ่งภาพอันน่าตื่นเต้นได้หยิบเอาไอเดียแบบสุดขั้วหรือความคิดปฏิวัติ และทำการหีบห่อมันขึ้นมาใหม่ ในฐานะที่เป็นสินค้าที่ขายได้. ตัวอย่างในเชิงเสียดสีเกี่ยวกับการฟื้นคืนสภาพ อาจได้รับการให้เหตุผล ในการแสดงนิทรรศการเมื่อปี ค.ศ.1989 ซึ่งแสดงในปารีส, บอสตัน, และ ณ ห้องแสดงภาพที่ ICA gallery ในห้างสรรพสินค้าของลอนดอน ที่ซึ่งทั้งแถลงการณ์ต่างๆของกลุ่มสถานการณ์นิยมเดิม และผลงานที่ได้รับอิทธิพลจาก Pro-Situ ร่วมสมัย อย่างเช่น บันทึกต่างๆ, แม็กาซีนสำหรับแฟนๆ(fanzines), สิ่งพิมพ์ใต้ดินที่ถูกห้ามจำหน่ายจ่ายแจก(samizdas)สไตล์ใบปลิว, และการโฆษณาชวนเชื่อ), ได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นชิ้นงานต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ สำหรับการบริโภคของมวลชน และสถาปนาสิ่งเหล่านี้ขึ้นเป็นผลงานศิลปะ
3.
Detournnement : การเบี่ยงเบน / การเข้าแทนที่
"กล่าวอย่างสั้นๆ สำหรับคำว่า detournement หมายถึงการเบี่ยงเบนไปจากแก่นสุนทรียภาพที่มีอยู่ก่อนแล้วต่างๆ.
การผสมผสานของผลผลิตงานศิลปะในอดีตหรือปัจจุบัน สู่การประกอบสร้างที่เหนือกว่าของสิ่งแวดล้อมทางสังคม.
ในความหมายนี้จึงไม่อาจมีดนตรีหรือจิตรกรรมสถานการณ์นิยม จะมีก็แต่เพียงการที่นักสถานการณ์นิยมใช้วิธีการต่างๆ
เหล่านี้เท่านั้น", (จาก Internationale Situationiste issue 1, June 1958.)
เราอาจมอง detournement (การเบี่ยงเบน) ในฐานะที่เป็นรูปหนึ่งซึ่งเป็นด้านตรงข้ามกันของเหรียญกับ recuperation (การฟื้นคืนสู่สภาพเดิม/ปรกติ) (ที่ซึ่งความคิดหรือภาพที่สุดขั้วต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ปลอดภัยและถูกทำให้เป็นสินค้า) ในภาพเหล่านั้นที่ถูกผลิตโดยภาพอันน่าตื่นเต้น ได้ถูกทำให้ผันแปรไปและเสื่อมลง ซึ่งค่อนข้างที่จะไปส่งเสริมสนับสนุนสถานภาพปัจจุบันมากกว่า, ความหมายของมันจึงเปลี่ยนแปลงไปเพื่อที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระแบบสุดขั้วหรือพวกฝ่ายตรงข้ามง่ายขึ้น
สำหรับเทคนิค detournement ของพวกมืออาชีพสถานการณ์นิยม สามารถดูหรือพบเห็นได้ในทุกวันนี้ เมื่อจ้องมองไปที่ผลงานของพวกนักแจมทางวัฒนธรรม(culture Jammers) รวมไปถึงพวกที่ต่อต้านโฆษณาของสังคมบริโภคนิยมต่างๆ (Adbusters)[มีนิตยสารชื่อเดียวกันนี้ด้วยในแคนาดา] การทำลายล้างของพวกเขา ตัวอย่างเช่น โฆษณาต่างๆ ของ Nike ที่ถูกเข้าแทรกแซงและเบนไปจากความหมายเดิม. ในกรณีนี้โฆษณาแต่เดิม เช่นภาพต่างๆ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะดึงความสนใจสู่การพูดถึงนโยบายของบริษัท ที่มีการเปลี่ยนฐานการผลิตไปตั้งฐานอยู่ที่ประเทศโลกที่สามซึ่งมีค่าแรงถูกกว่าในเขตการค้าเสรี
แต่อย่างไรก็ตาม เส้นแบ่งระหว่าง"การพื้นคืนสู่สภาพเดิม/ปรกติ"(recuperation) และ "การเบี่ยงเบน/เข้าแทนที่"(detournement) อาจจะบางมากๆ (หรืออย่างน้อยที่สุดค่อนข้างจะเลอะเลือน คลุมเครือ)ในบางเวลา, ดังที่ Naomi Klein ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือของเธอเรื่อง No Logo. ในหนังสือเล่มดังกล่าวเธอได้ให้รายละเอียดว่า บรรษัทต่างๆ อย่างเช่น Nike, Pepsi, หรือ Diesel ได้เข้าหาบรรดานักแจมทางวัฒนธรรม(Culture Jammers) และ Adbusters (ซึ่งบางครั้งก็ประสบความสำเร็จ) โดยการเสนอค่าจ้างอย่างงามเป็นการตอบแทนสำหรับการเข้าร่วมการณณรงค์ เพื่อส่งเสริมสินค้าในลักษณะตรงข้ามกับความคาดหมายหรือดูแย้งกับโฆษณาปรกติ(ironic promotional campaigns)
มรดกตกทอดของสถานการณ์นิยมนานาชาติ
(Legacy of the SI)
ขบวนการเคลื่อนไหวสถานการณ์นิยมพยายามมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อปรากฏการณ์พั้งค์ร็อคของอังกฤษ
(UK punk rock) ในช่วงทศวรรษที่ 1970s ยกตัวอย่างเช่น ตัวของมันเองกล่าวว่า ได้เปลี่ยนแปลงทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมในช่วงระหว่างควอร์เตอร์สุดท้ายหรือ
25 ปีหลังของคริสตศตวรรษที่ 20. ต่อขอบเขตที่มีนัยสำคัญอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นนี้
เนื่องมาจากการสนับสนุนหรือการป้อนเกี่ยวกับ Situ-literate ของ Malcom Mclaren,
Vivienne Westwood และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Jamie Reid สู่ตลาดและภาพลักษณ์ของ the
Sex Pistols
ขบวนการสถานการณ์นิยมยังคงมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่องกับบรรดาศิลปินถนนใต้ดิน อย่างเช่น gHOSTbOY, Banksy, และ Mudwig, การเข้าแทรกแซงทางศิลปะของพวกเขา และปฏิบัติการทำลายล้างสามารถพบเห็นได้ในงานโฆษณาบนรั้วต่างๆ ที่กั้นรอบตึกซึ่งกำลังก่อสร้างหรือกำลังซ่อมแซม(advertising hoarding), อันนี้รวมถึงเครื่องหมายต่างๆ บนถนน และกำแพงทั่วไปทั้งยุโรป
เราสามารถที่จะติดตามร่องรอยความคิดของพวกสถานการณ์นิยมทั้งหลายได้ ในพัฒนาการเกี่ยวกับกระแสที่สุดขั้วอย่างอื่นๆ ในสังคม อย่างเช่น the Angry Brigade, Class war, Neoism และอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ Reclaim the Streets, Adbusters campaigns, Seahorse Liberation Army, Libre Society neo-Dadaists Mark Divo และ Lennie Lee และบรรดาศิลปินทางด้านดนตรี อย่างเช่น The Nation of Ulysses, Orchid (band), the Make up, วงดนตรีฮาร์ดคอร์ของสวีเดน อย่าง Refused และ the Welsh art-rockers Manic Street Preachers.
การพัฒนาของ Parkour, ถือกำเนิดขึ้นในปารีส นับเป็นตัวอย่างที่เจือจางตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอิทธิพลของกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ. Parkour ค่อนข้างจะหอมกรุ่นด้วยไอเดียต่างๆ มากมาย รวมถึงการบุกเบิกและทำการปรับปรุงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของเมือง และการปลดปล่อยพลเมืองจากข้อจำกัดและการคุมขังทางจิตวิทยาและการอยู่อาศัยแบบเมือง
ในด้านตำราและข้อมูลหลักๆ ของสถานการณ์นิยมคลาสสิก มีทั้ง On the Poverty of Student Life, "Open Creation and its Enemies" โดย Asger Jorn, "Society of the Spectacle" โดย Guy Debord, "The Revolution Of Everyday Life" และ "The Book Of Pleasures' โดย Raoul Vaneigem, "Leaving The 20th Century' ได้รับการเรียบเรียงโดย Chris Gray และ "The Situationist International Anthology" เรียบเรียงโดย Ken Knabb.
โดยเฉพาะเกี่ยวกับความน่าสนใจคือ
หนังสือในช่วงต้นๆ เล่มหนึ่งที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย Debord ในช่วงเวลาก่อนเกิดกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ(pre
Si times), เรียกว่า Memoires, ซึ่งฉบับพิมพ์ดั้งเดิม ปกหนังสือของมันทำด้วยกระดาษทราย.
ไอเดียคือว่า
มันจะทำลายหนังสือทุกเล่มที่ถูกวางข้างๆ มันบนชั้นวางหนังสือ อันนี้เป็นการอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับการเข้ามาแทนที่ไอเดียหรือความคิดเก่าๆ
โดยพวกแนวหน้าที่สุดขั้ว
การวิจารณ์ (Criticism)
ดังที่จำนวนมากของตำรับตำราสถานการณ์นิยมดั้งเดิมมีแนวโน้มที่จะเขียนขึ้นมาอย่างระมัดระวัง
บางคนพบว่า ตัวของพวกเขาเองโง่เกินไปและเข้าไม่ถึงความคิดของศิลปินกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตาม
ในช่วงระหว่างต้นทศวรรษที่ 1980s นักอนาธิปไตยอังกฤษ Larry Law ได้ผลิตหนังสือ
pocket books ภายใต้ชื่อว่า Spectacular Times ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมุ่งที่จะทำให้ทฤษฎีสถานการณ์นิยมถูกดูดซับได้ง่ายสู่แนวคิดอนาธิปไตยประชาชน(popularist
anarchism) แต่อย่างไรก็ตาม บางคนรู้สึกว่าเขาจะต้องลดทอนทฤษฎีดังกล่าวลงไปมากโดยกระบวนการนี้
การวิจารณ์เกี่ยวกับสถานการณ์นิยม บ่อยทีเดียวยืนยันว่า ความคิดทั้งหลายของพวกเขา ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่สัมพันธ์กันและยากที่จะทำความเข้าใจ และไอเดียหรือความคิดที่ง่ายๆ อย่างดีที่สุดมันก็ได้รับการแสดงออกด้วยภาษาที่ยุ่งยากซับซ้อนและระมัดระวังจนเกินไป แต่ที่แย่สุดจริงๆ เห็นจะได้แก่ความไร้สาระ ยกตัวอย่างเช่น นักอนาธิปไตย Chaz Bufe ยืนยันว่า "ศัพท์เฉพาะของกลุ่มสถานการณ์นิยม มีความคลุมเครือและกำกวม" อันนี้เป็นปัญหาหลักอันหนึ่งในฉากหรือเรื่องราวของนักอนาธิปไตย
คำพูดบางประโยคคัดมาจากที่ต่างๆ
ของพวกสถานการณ์นิยม (2)
- "บรรดาแรงงานของโลกที่มีความสุขสนุกสนาน" (Travailleurs de tous
les pays, amusez-vous!)
- "มีชีวิตอยู่โดยไม่มีวันตาย" (vivez sans temps mort - Guy Debord)
- "ระบบการศึกษาคือ การสอนเกี่ยวกับระบบ" (Guy Debord)
- "มันถูกห้ามที่จะห้าม" (Il est interdit d'interdire - Anonymous
graffiti, Paris 1968)
- "ข้าพเจ้านำพาความปรารถนาสู่ความเป็นจริง เพราะข้าพเจ้าเชื่อในความจริงของความปรารถนา"
(Guy Debord)
- "ของกำนัลอะไร ที่งดงามและหาค่าไม่ได้ซึ่งสังคมที่มั่งคั่งร่ำรวยจะได้พบเห็น
- ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม - เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของคนรุ่นหนุ่มสาวค้นพบของขวัญอันบริสุทธิ์;
กิเลส ความหลงใหลที่งอกงามขึ้นมาอันหนึ่ง มันกระตุ้นให้อยากขโมยหนังสือ, เสื้อผ้า,
อาหาร, อาวุธ, หรือเพชรนิลจินดา เพื่อสนองรางวัลแห่งความพึงพอใจ" (Raoul
Vaneigem, "The Revolution Of Everyday Life" )
- "เกี่ยวกับความเป็นจริง - มันเรียกร้องเกี่ยวกับความเป็นไปไม่ได้"
(Soyez realistes, demandez l'impossible! - Anonymous graffiti, Paris 1968)
- "ข้างล่างบาทวิถีต่างๆในเมือง - คือ ชายหาด!" (Sous les paves, la
plage! - Anonymous graffiti, Paris 1968)
- "ผู้คนที่พูดเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติและการต่อสู้ทางชนชั้น โดยไม่มีการอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงทุกๆ
ชีวิต, โดยปราศจากความเข้าใจว่า อะไรคือเรื่องของการล้มล้างความรัก และอะไรคือเรื่องเชิงบวกในการปฏิเสธการคุมขังและบีบคั้น
ผู้คนเหล่านั้นมีซากศพอยู่ในช่องปากของพวกเขา" (Raoul Vaneigem, "The
Revolution Of Everyday Life" )
SI writings
- Situationist bibliography (on Bureau of Public Secrets' website)
- Internal S.I. texts (on Bureau of Public Secrets)
- Internationale Situationiste, aka International Situationist: the journal
of the Situationist International - Issues 1-12
- Jorn, Asger - Open Creation and its Enemies (1994, Unpopular Books)
- Debord, Guy, Introduction to a Critique of Urban Geography (1955)
- Society of the Spectacle (1967)
- London Psychogeographical Association and the Archaeogeodetic Association
- The Great Conjunction: The Symbols of a College, the Death of a King and
the Maze on the Hill (1993, Unpopular Books) (3)
Writings on the SI
- Home, Stewart The Assault on Culture: Utopian currents from Lettrisme to
Class War (Aporia Press and Unpopular Books, London, 1988) ISBN 094851888X
(New edition AK Press, Edinburgh 1991. Polish translation, Wydawnictwo Signum,
Warsaw 1993. Italian translation AAA edizioni, Bertiolo 1996. Portuguese translation,
Conrad Livros, Brazil 1999. Spanish translation, Virus Editorial, 2002).
- Plant, Sadie, "The Most Radical Gesture: The Situationist International
in a Postmodern Age" (1992, Routledge) ISBN 0415062225
- What is Situationism? A Reader Ed., (AK Press Edinburgh and San Francisco,
1996) ISBN 9781873176139. (4)
3. นิยามคำศัพท์ (Definitions)
ของสถานการณ์นิยม
constructed situation
- สถานการณ์ที่ถูกสร้าง
ช่วงขณะหนึ่งของชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมและรอบคอบสุขุม ที่ถูกสร้างโดยองค์ประกอบร่วมของสภาพแวดล้อมหนึ่งเดียว
และเป็นเกมหนึ่งของเหตุการณ์ต่างๆ
situationist
- เกี่ยวกับสถานการณ์นิยม
เกี่ยวพันกับทฤษฎีหรือกิจกรรมเชิงปฏิบัติของสถานการณ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้น.
คนๆหนึ่งซึ่งผูกพันกับการสร้างสถานการณ์ต่างๆ. หรือหมายถึงสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ
situationism - สถานการณ์นิยม
ศัพท์คำหนึ่งที่ไร้ความหมายและไม่เหมาะสม รับมาจากคำว่า situationist. มันไม่มีสิ่งนั้นในฐานะลัทธิสถานการณ์นิยม(situationism),
ซึ่งหมายถึงคำสอนอันหนึ่งสำหรับตีความเงื่อนไขต่างๆ ที่มีอยู่. ความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์นิยม
situationism ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างชัดเจนโดยพวกที่ต่อต้านนักสถานการณ์นิยม(antisituationist)
psychogeography - ภูมิ(ศาสตร์)จิตวิทยา
การศึกษาเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะของสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ (โดยได้รับการสร้างอย่างมีสำนึกหรือไม่ก็ตาม)
ที่มีต่ออารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลต่างๆ
The study of the specific effects of the geographical environment (whether
consciously organized or not) on the emotions and behavior of individuals.
psychogeographical -
เกี่ยวกับภูมิ(ศาสตร์)จิตวิทยา
ศัพท์คำนี้เกี่ยวข้องกับภูมิ(ศาสตร์)จิตวิทยา. ซึ่งแสดงออกถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่กำกับควบคุมผลของอารมณ์ความรู้สึก
psychogeographer - ผู้รายงานผลกระทบทางด้านภูมิ(ศาสตร์)จิตวิทยา
คนที่ทำการสำรวจตรวจตราและรายงานปรากฏการณ์เกี่ยวกับภูมิ(ศาสตร์)จิตวิทยา
drive - แรงขับ
วิธีการหนึ่งของพฤติกรรมในเชิงทดลอง เชื่อมโยงกับเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับสังคมเมือง:
เทคนิคหนึ่งของช่องทางที่รวดเร็วผ่านสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย. ศัพท์คำนี้ยังกำหนดหรือระบุถึงช่วงเวลาที่ไม่ถูกขัดจังหวะโดยเฉพาะของการขับเคลื่อน
unitary urbanism - ชีวิตเมืองที่ถูกบูรณาการ
ทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยรวมของศิลปะกับเทคนิค ในฐานะที่เป็นวิธีการสนับสนุนในการประกอบสร้างเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่รวมตัวกันเป็นหน่วยเดียว
ในความสัมพันธ์เชิงพลวัตรกับการทดลองต่างๆ ทางด้านพฤติกรรม (5)
dtournement
โดยสังเขป "dtournement เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆทางสุนทรียที่มีอยู่ก่อน".
การบูรณาการของผลิตผลทั้งหลายทางด้านศิลปะทั้งอดีตและปัจจุบัน การประกอบสร้างที่พิเศษของสภาพแวดล้อมในเมือง.
ในความหมายนี้มันจึงไม่อาจมีจิตรกรรมหรือดนตรีของพวกสถานการณ์นิยมได้ มันเป็นเพียงแต่การที่นักสถานการณ์นิยมคนหนึ่งใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการเหล่านั้น
เท่านั้น. ในความหมายที่ลึกลงไป, dtournement ภายในปริมณฑลทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่เป็นวิธีการหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ,
วิธีการซึ่งเผยให้เห็นถึงการหมดสภาพ และการสูญเสียความสำคัญของปริมณฑลเหล่านั้น
culture - วัฒนธรรม
การสะท้อนและการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทั้งหลาย ขององค์ประกอบในชีวิตประจำวันในช่วงขณะหนึ่งทางด้านประวัติศาสตร์;
ความสลับซับซ้อนของสุนทรียศาสตร์, ความรู้สึกและอื่นๆ ซึ่งลักษณะรวมๆ อันหนึ่งที่มีปฏิกริยาต่อชีวิตที่ผ่านมา
ซึ่งถูกกำหนดอย่างเป็นภววิสัยโดยเศรษฐกิจของมัน. (พวกเรากำลังนิยามความหมายเพียงในทัศนียภาพของคุณค่าต่างๆ
ที่สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ได้เกี่ยวกับการสอนสิ่งเหล่านั้น)
decomposition
กระบวนการที่รูปแบบทางวัฒนธรรมตามจารีตได้ทำลายตัวของมันเอง ซึ่งเป็นผลลัพธ์อันหนึ่งของการปรากฏตัวขึ้นมาของวิธีการที่เหนือกว่า
เกี่ยวกับธรรมชาติที่ทรงอิทธิพล ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ และทำให้เกิดการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมที่จำเป็นและเหนือกว่าขึ้นมา
(6)
++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) ตัวอย่างของภาพอันน่าตื่นเต้นต่อไปนี้ในแต่ละรูปแบบ สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา(visual culture)ได้ - หากสนใจเรื่องดังกล่าว สามารถหาอ่านได้ในสารานุมกรม midnight's encyclopedia หมวดอักษร V คำว่า visual culture) URL(2) คำที่ยกมาเหล่านี้ มีลักษณะที่เรียกว่า visual idioms ซึ่งนำหน้ามาก่อน barbara kruger, ซึ่งเป็นศิลปินในยุคหลังสมัยใหม่, ที่ใช้ตัว(อักษร)วิ่งบนป้ายโฆษณาไฟฟ้าแสดงความคิดของเธอ
(3) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน www.wikipedia.org ในหัวข้อ situationist
(4) ibid.
(5) สำหรับคำนี้ในงานของ Robert Atkins เรื่อง Art Speak : a Guide to Contemporary ideas, Movements, and Buzzword อธิบายว่าเป็น ชีวิตในเมืองที่ถูกบูรณาการ (integrated city life)
(6) สถานการณ์นิยมนานาชาติ 1958 (SITUATIONIST INTERNATIONAL, 1958) Translated by Ken Knabb (slightly modified from the version in the Situationist International Anthology). No copyright. http://www.bopsecrets.org/SI/1.definitions.htm
++++++++++++++++++++++++++บรรณานุกรม
1. Ken Knabb, Translated, (slightly modified from the version in the Situationist International Anthology). http://www.bopsecrets.org/SI/1.definitions.htm2. Rober Atkins, Art Speak : a Guide to Contemporary ideas, Movements, and Buzzword
3. Wikipedia, the free encyclopedia, Situationist
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ข้อความบางส่วนจากบทความ
โดยเฉพาะเกี่ยวกับความน่าสนใจคือ
หนังสือในช่วงต้นๆ เล่มหนึ่งที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย Debord ในช่วงเวลาก่อนเกิดกลุ่มสถานการณ์นิยมนานาชาติ(pre
Si times), เรียกว่า Memoires, ซึ่งฉบับพิมพ์ดั้งเดิม ปกหนังสือของมันทำด้วยกระดาษทราย.
ไอเดียคือว่า
มันจะทำลายหนังสือทุกเล่มที่ถูกวางข้างๆ มันบนชั้นวางหนังสือ อันนี้เป็นการอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับการเข้ามาแทนที่ไอเดียหรือความคิดเก่าๆ
โดยพวกแนวหน้าที่สุดขั้ว
จำนวนมากของตำรับตำราสถานการณ์นิยมดั้งเดิมมีแนวโน้มที่จะเขียนขึ้นมาอย่างระมัดระวัง
บางคนพบว่า ตัวของพวกเขาเองโง่เกินไปและเข้าไม่ถึงความคิดของศิลปินกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตาม
ในช่วงระหว่างต้นทศวรรษที่ 1980s นักอนาธิปไตยอังกฤษ Larry Law ได้ผลิตหนังสือ
pocket books ภายใต้ชื่อว่า Spectacular Times ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมุ่งที่จะทำให้ทฤษฎีสถานการณ์นิยมถูกดูดซับได้ง่ายสู่แนวคิดอนาธิปไตยประชาชน(popularist
anarchism) แต่อย่างไรก็ตาม บางคนรู้สึกว่าเขาจะต้องลดทอนทฤษฎีดังกล่าวลงไปมากโดยกระบวนการนี้
ในส่วนรากเหง้าต่างๆ ของแนวคิดสถานการณ์นิยม เราสามารถสืบสาวย้อนกลับไปได้ถึงพันธกิจของพวกลัทธิเหนือจริง(surrealist) เกี่ยวกับการทำให้ชีวิตของชนชั้นกลางตามขนบจารีต ต้องประสบกับความยุ่งเหยิงและแตกสลาย. ในข้อเท็จจริง ศิลปะสถานการณ์นิยมได้รับการพิจารณาให้เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิเหนือจริงหลังสงครามโลก(a post war form of surrealism), ซึ่งก่อนสงครามโลก ลัทธิเหนือจริงเน้นเรื่อง"ความไร้สำนึกทางจิตวิทยา" แต่หลังสงครามโลกแนวคิดนี้ได้ถูกแทนที่ด้วยความสนใจอันหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "detournement"