นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


The Midnight University



เศรษฐศาสตร์การเมือง-ประสบการณ์จากจีน
ฉันทามติปักกิ่ง : วิถีเศรษฐกิจที่ไม่อาจเดินตาม (ตอนที่ ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความที่นำมาเรียบเรียงนี้ แกนหลักนำมาจากเรื่อง
You Can't Get There from Here: Reflections on the "Beijing Consensus"
by David Schweickart

ซึ่งเป็นเอกสารสำหรับการประชุมสัมนานานาชาติ เรื่อง
แบบจำลองทางเศรษฐกิจของจีน หรือฉันทามติปักกิ่งเพื่อการพัฒนา
Tianjin Normal University, Tianjin, China.
8 August 2005

เนื้อหาของงานชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนแบบก้าวกระโดด
และการประสบความสำเร็จอย่างดี โดยมีลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขของตนเอง
ซึ่งประเทศยากจนทั้งหลายไม่สามารถที่จะดำเนินรอยตามได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีแบบจำลองบางอย่าง
ซึ่งประเทศยากจนทั่วโลกในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามสมควร

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 933
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8.5 หน้ากระดาษ A4)



ฉันทามติปักกิ่ง : วิถีเศรษฐกิจที่ไม่อาจเดินตาม (ตอนที่ ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

คุณไม่สามารถไปที่นั่นได้จากตรงนี้ (You Can't Get There from Here)
ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจเสนอว่า โปรแกรมปฏิรูปยุคหลังเหมา(Post-Mao reform)ของจีนอยู่บนรอยทางที่ถูกต้อง และมีฐานะตำแหน่งที่ดีที่จะนำจีนเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตยเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ มันคืออนาคตหลังทุนนิยมอันเป็นที่พึงปรารถนาและเจริญเติบโตต่อไปได้. ทฤษฎีดังกล่าวยังเน้นถึงอันตรายต่างๆ ที่ถูกกำหนดโดยชนชั้นนายทุนที่ปรากฏตัวขึ้นมา แต่ก็เสนอว่า การปฏิรูปต่อไปจะสามารถจำกัดขอบเขตอันตรายนี้ได้ ไม่ว่าการปฏิรูปเหล่านี้จะถูกทำให้เป็นเครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับรัฐ และการต่อสู้ทางชนชั้นไม่น้อยในประเทศจีน

ผมลังเลใจที่จะเสี่ยงเสนอความคิดเห็นอันหนึ่งเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ออกมาของการต่อสู้นี้ ซึ่งคงจะไม่มากไปกว่าการคาดเดา อย่างไรก็ตาม มันไม่มีค่าเท่าใดนักที่บรรดาคนงานทั้งหลายและชาวนาในประเทศจีน - และบรรดาปัญญาชนเหล่านั้นและเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งสนับสนุนผลประโยชน์ต่างๆ ของพวกเขา - มีทรัพยากรต่างๆในการจัดการ/ยักย้ายถ่ายเทของพวกเขา มากกว่าที่คนงานและชาวนาทั้งหลายในส่วนอื่นๆ ส่วนใหญ่ของโลกมี

ประการแรกสุด จีนมีทรัพยากรต่างๆในเชิงอุดมคติ พรรคคอมมิวนิสท์ของจีนได้ผูกมัดกับลัทธิสังคมนิยม. อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ คนเหล่านั้นของเราในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทำให้รู้สึกกลัวและตกใจโดยระดับของสิ่งซึ่งเป็นความมั่งคั่งรวมศูนย์ ที่กัดกร่อนบ่อนทำลายสถาบันต่างๆทางด้านประชาธิปไตย ที่บ่อยครั้งมักกล่าวว่า เราดำรงอยู่ในระบอบคณาธิปไตยโดยคนกลุ่มเล็กๆ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย

อันนี้ไม่ผิด แต่ในเวลาเดียวกันมันเป็นสิ่งสำคัญที่ว่า เราสามารถที่จะอาศัยอุดมคติเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อวางพื้นฐานการวิจารณ์ของเราได้. มีการเยาะเย้ยถากถางท่ามกลางผู้คนทั้งหลายเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ ทางการเมืองของเรา แต่ภาษาเกี่ยวกับประชาธิปไตยก็ยังคงก้องกังวาน ผมสงสัยว่า(อันที่จริงหวังว่า) อันนี้เป็นความจริงในลักษณะเดียวกันเกี่ยวกับจีน และภาษาของลัทธิสังคมนิยม

ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางด้านวัตถุที่ยกระดับพลังอำนาจของคนงานและชาวนาทั้งหลายในประเทศจีน ชนชั้นในทางการเมืองของจีนรู้เป็นอย่างดีว่า ประวัติศาสตร์ของจีนในคริสศตวรรษที่ 20 ที่สิ่งต่างๆซึ่งสามารถที่จะพังทลายลงได้ ความไม่พอใจของคนงานส่วนใหญ่หรือชาวนาสามารถปะทุขึ้นมาได้ ณ วันใดวันหนึ่ง. พวกเขารู้ดีว่า การบรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติและการปฏิรูปต่างๆที่ตามมา อาจเป็นสิ่งที่มีอันตรายร้ายแรง ถ้าความไม่พอใจของคนงานและชาวนาไม่ได้รับการแก้ปัญหา

ความอดกลั้นควบคุมเพียงลำพังอาจไม่เป็นการเพียงพอ. เงื่อนไขอันนี้ - การคุกคามที่แท้จริงของความแตกแยกขนานใหญ่และความสับสนไร้ระเบียบมีความเป็นไปได้ - ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในสังคมตะวันตก. มันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ระดับหนึ่งในหลายๆ ส่วนของซีกโลกใต้ แต่นั่นเป็นโครงสร้างและดุลยภาพของพลังทางชนชั้น ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสิ่งที่พวกเขาเป็นในประเทศจีน

ข้อพิจารณาอันนี้น้อมนำเราไปสู่นัยะของชื่อเรื่องบทความชิ้นนี้ นั่นคือ มันไม่ได้มีนโยบายชุดหนึ่งอยู่ ซึ่งสืบทอดมาจากประสบการณ์ของจีน, "ฉันทามติปักกิ่ง" ซึ่งอาจมีบทบาทหน้าที่อย่างเดียวกันกับนโยบายการคลังของสหรัฐ / IMF "Washington Consensus"(ฉันทามติวอชิงตัน) ซึ่งมีบทบาทในเขตภูมิภาคประเทศด้อยพัฒนาของโลก. มันไม่ได้มีอยู่ และไม่สามารถมีได้ ชุดนโยบายหนึ่งที่เป็นการชี้แนะสำหรับรัฐบาลทั้งหลายของประเทศยากจนต่างๆ ซึ่งรับมาจากประสบการณ์ของจีน ถ้าเผื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือ นั่นจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน. ที่ชัดเจนยิ่งไปกว่านั้น มันไม่มีชุดนโยบายดังกล่าวที่ปรารถนาให้มันทำงานได้ดีกว่าสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวกับ(ความล้มเหลวของ)ฉันทามติวอชิงตัน

บนเส้นทางการพัฒนา 3 ทศวรรษ
เพื่อทำให้เห็นว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เราต้องสะท้อนบนโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนในช่วงก่อนการปฏิรูป สำหรับความผิดพลาดทั้งมวล ความสับสนอลหม่านของความทุกข์ทนของมนุษย์ในช่วงปีของนักลัทธิเหมา การเปลี่ยนผ่านที่น่าทึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนบนเส้นทางของ 3 ทศวรรษก่อนหน้านั้น

ในปี ค.ศ.1949 จีนเป็นประเทศที่ยากจนมาก และมีอุตสาหกรรมน้อยกว่ารัสเซียเมื่อตอนที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติเมื่อ 32 ปีก่อนหน้านั้น

- แต่ในปี ค.ศ.1970 จีนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอันหนึ่งซึ่งได้ใช้คนงานราว 50 ล้านคน และคำนวณมูลค่าแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP. มูลค่าของผลผลิตที่ออกมาส่วนใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมมีการเจริญงอกงามถึง 38 เท่า และที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนักเจริญเติบโตถึง 90 เท่า. ประเทศจีนกลายเป็นเครื่องบินเจ็ททางด้านอุตสาหกรรม มีเรือเดินสมุทรต่างๆที่ทันสมัย, มีแสนยานุภาพอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธเคลื่อนที่ต่างๆ

- ในด้านชนบท การชลประทานขนาดมหึมาและการควบคุมน้ำได้รับการสร้างขึ้น. ประชากรที่ไม่รู้หนังสือส่วนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นประชากรที่รู้หนังสือส่วนใหญ่. ระบบสาธารณสุขได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ความคาดหวังเกี่ยวกับอายุโดยเฉลี่ยยืดยาวจาก 35 ปีไปเป็น 65 ปี

ทั้งหมดเหล่านี้ถูกทำให้สำเร็จด้วยการปราศจากความช่วยเหลือจากภายนอกเลย - ซึ่งหมายความว่า จีนได้ก้าวสู่ยุคการปฏิรูปของมันเองด้วยการเริ่มต้นจากศูนย์ และไม่ต้องเป็นหนี้ต่างชาติ (10)

แน่นอน ผู้คนในประเทศจีนยังคงยากจนอยู่ แรงงานส่วนเกินของประชากรได้ก้าวเข้ามาสู่การเป็นแรงงานผลิตสินค้าต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐาน. การบริโภคถูกทำให้ต่ำลง แบบจำลองใหม่อันหนึ่งเป็นที่ต้องการซึ่งสามารถที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จของยุคนักลัทธิเหมา เพื่อผลประโยชน์ของผู้คน. โชคดี โครงสร้างและดุลยภาพของพลังชนชั้นคือแบบจำลองใหม่อันนั้น การประกอบสร้างในเชิงสร้างสรรค์และอย่างฉลาดสามารถเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

สำหรับจีนที่ก้าวเข้าสู่ยุคนี้โดยปราศจากชนชั้นเจ้าที่ดิน ซึ่งจะมาเป็นอุปสรรคที่จะมากัดเซาะทำลายความพยายามใดๆในการปฏิรูปที่ดิน. การโยกย้ายจากชุมชนเกษตรกรรมสู่ระบบความรับผิดชอบของครอบครัว สามารถเกิดขึ้นได้โดยมีการต่อต้านน้อยมากและไม่ยังผลใดๆทั้งสิ้น. โดยปราศจากการรุกล้ำของชนชั้นกลางในท้องถิ่น ซึ่งจะไม่อดทนอดกลั้นต่อการตักตวงผลประโยชน์ของบรรดาอุตสาหกรรมร่วมต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาในหมู่บ้านและเขตเมืองทั้งหลายทั่วประเทศ โดยทรัพยากรต่างๆอยู่ในมือของตัวเอง และตลาดต่างๆมีความอิสระเกี่ยวกับการแทรกซึมของบรรษัทข้ามชาติ ธุรกิจใหม่ๆไม่จำต้องสมบูรณ์แบบโดยบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ จีนสามารถจัดการกับเงื่อนไขทั้งหลายด้วยการเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จีนเปิดรับ ซึ่งเกือบไม่มีประเทศยากจนใดสามารถจัดการเช่นนั้นได้

โดยปราศจากชนชั้นทางเศรษฐกิจที่ทรงอำนาจที่เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับทุนบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ ที่ช่ำชองในอุดมการณ์เกี่ยวกับลัทธิทุนนิยมข้ามชาติ จีนจึงมีความเป็นอิสระในการทดลองอย่างรอบคอบและระมัดระวัง กับขอบเขตของตลาดทั้งหมด และเป็นเจ้าของการบริหารจัดการต่างๆ

มันควรเป็นที่ชัดเจนจากรายละเอียดนี้ ที่บรรดาคนงานและชาวนาทั้งหลายของโลกในส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ ซึ่งได้เผชิญหน้ากับชุดอุปสรรคของการพัฒนายิ่งกว่าที่บรรดาคนงานและชาวนาของจีน เผชิญหน้าในช่วงก่อนการปฏิรูปและเปิดประเทศ. ในการเปรียบเทียบกับจีน ประเทศยากจนส่วนใหญ่ยังคงขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการพัฒนาอย่างมีเหตุผล (แม้ว่าเงินจำนวนมหาศาลได้ถูกกู้ยืมมาสู่ประเทศยากจนทั้งหลายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของพวกเขา แต่เงินก้อนโตจำนวนนี้ มีเพียงสัดส่วนที่เล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกใช้ไปในเชิงสร้างสรรค์)(11) การลงทุนในการทำให้ผู้คนรู้หนังสือและเพื่อการดูแลสุขภาพด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้ว ล้าหลังกว่าประเทศจีน

ที่จริงจังมากไปกว่าอุปสรรคทางด้านวัตถุ ที่อาจถูกนำมากล่าวเพื่อให้เห็นภาพ โดยนโยบายมากมายที่ฉลาดเหมาะสม ซึ่งโครงสร้างทางชนชั้นนั้นยืนหยัดอยู่ในหนทางของการปฏิรูปที่จริงจัง. ในบรรดาประเทศยากจนส่วนใหญ่ต่างก็มีชนชั้นเจ้าที่ดินดำรงอยู่ ซึ่งจะใช้วิธีการทุกๆอย่างที่จำเป็น เพื่อกีดกันการปฏิรูปที่ดินอย่างมีความหมาย (มันไม่มีประโยชน์หรือคุณค่าใดๆ เลย ในเรื่องราวแห่งความสำเร็จภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไต้หวันและเกาหลีเหนือ พลังอำนาจของชนชั้นเจ้าที่ดินท้องถิ่นได้ถูกทำให้พ่ายแพ้ไปโดยชนชั้นสูงที่ขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้ก้าวเข้าสู่อำนาจหลังสงคราม)

ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ยังบรรจุด้วยชนชั้นนายทุนสองกลุ่ม ทั้งสองกลุ่มต่างมีอิทธิพลในเชิงนโยบาย คือ

- กลุ่มแรก มีความเกี่ยวเนื่องยาวนานกับเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่แท้จริง บ่อยครั้งได้รับการปกป้องโดยได้รับสิทธิพิเศษในการผูกขาด (ชนชั้นนี้เป็นผู้นำในการได้รับผลประโยชน์เกี่ยวกับการทดแทนการนำเข้ามากมายหลังสงครามเกี่ยวกับความพยายามในการพัฒนา)

- กลุ่มที่สอง เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความผูกพัน เป็นพรรคพวกหรือเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นทุนข้ามชาติ(transnational capitalist class) (12). ในประเทศยากจนส่วนใหญ่บรรษัทข้ามชาติได้แทรกซึมเข้าสู่เศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง และบ่อยทีเดียวที่ได้เข้าควบคุมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศส่วนใหญ่

ในเชิงที่ขัดแย้งและผิดแผกจากประเทศยากจนทั้งหลาย โดยใคร่ครวญถึงการปฏิรูปโครงสร้างทุกวันนี้ ประเทศจีนเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปโดยปราศจากชนชั้นนายทุนแต่อย่างใด อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญมาก ซึ่งไม่เพียงปราศจากชนชั้นผู้ถือครองทรัพย์สิน ที่อาจกีดขวางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่จริงจังใดๆ เท่านั้น แต่ชนชั้นนายทุนยังได้รับอนุญาต อันที่จริงสนับสนุนให้ปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะผู้ประกอบการ มากกว่าที่จะให้เป็นชนชั้นนายทุนที่มีอิทธิพลครอบงำยาวนานอันเป็นแนวโน้มอย่างนั้น และด้วยเหตุนี้จึงเป็นประโยชน์มากต่อสังคมโดยทั่วไป

ข้อสรุปอันหลากหลายจากการวิเคราะห์ (Several conclusions follow from this analysis)
บรรดาประเทศที่มีการปฏิวัติสังคมนิยมทั้งหลาย และมีพรรคการเมืองพรรคเดียวในการควบคุม ยังคงมั่นหมายกับอุดมการณ์ของลัทธิสังคมนิยมควรจะใส่ใจอย่างใกล้ชิดกับการปฏรูปของจีน ซึ่งได้เปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ ไปสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดที่มีพลวัตรอย่างเหลือเชื่อ. การทดลองต่างๆ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ของพวกเขาที่เกิดขึ้นและยังคงคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง. ประเทศต่างๆเหล่านี้ สามารถที่จะเรียนรู้ได้จากตลาด เช่นเดียวกบเรียนรู้จากความผิดพลาดเกี่ยวกับประสบการณ์ของจีน

ไม่ใช่เรื่องน่าเหลือเชื่อที่ว่า ประเทศคอมมิวนิสต์เก่าก่อนเหล่านั้นบางประเทศได้ละทิ้งอดีตของพวกเขาไปแล้ว ก็สามารถที่จะค้นพบแก่นแท้ต่างๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ของจีนที่สอดคล้องได้ เพียงแต่ว่าถ้าผู้นำทางการเมืองมีเจตจำนงอันแน่วแน่ และสามารถพลิกผันการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ดำเนินไปตามฉันทามติวอชิงตัน ซึ่งกำลังมุ่งไปสู่ความหายนะนั้นกลับมาได้

ตอนนี้มันควรจะเป็นที่แจ่มชัดแล้วว่า โอกาสในทางประวัติศาสตร์ได้รับการค้นพบว่ามันผิดพลาด, หลังปี ค.ศ.1989, เมื่อบรรดาปัญญาชนและนักการเมืองทั้งหลายละทิ้งชะตากรรมต่างๆ ที่ฝากเอาไว้กับที่ปรึกษาชาวตะวันตก และอำนาจการเมืองตะวันตกรวมถึงอำนาจทางเศรษฐกิจที่คอยหนุนหลังพวกเขาอยู่ (13) โชคไม่ดี ระดับของการคอร์รัปชั่นในสังคมต่างๆ เหล่านี้ และความรู้สึกเกี่ยวกับการปราศจากความมั่นใจ ความหวัง และความกล้า ประกอบกับความไร้อำนาจของชนชั้นแรงงานของพวกเขา ไม่สามารถที่จะสร้างทัศนคติในการมองโลกในแง่ดีขึ้นมาได้ เกี่ยวกับอนาคตข้างหน้า อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงขณะนี้ของวันเวลา

สำหรับประเทศต่างๆ ที่ถูกยึดครองโดยชนชั้นเจ้าที่ดินและชนชั้นนายทุนมาเป็นเวลายาวนาน คงจะเรียนรู้จากจีนได้ค่อนข้างยาก นอกจากบทเรียนที่เป็นนามธรรม (แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สำคัญ) ความยากจนและการกดขี่นั้นไม่ใช่แง่มุมหรือประเด็นที่มันคงที่เสมอไป อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงื่อนไขของมนุษย์ซึ่งมันเป็นสิ่งไร้ผลที่จะดิ้นรนต่อสู้

นโยบายต่างๆ ในยุคแห่งการปฏิรูปของจีนอาจถูกนำมาใช้ได้ไม่ดีนักต่อประเทศเหล่านั้น สำหรับเงื่อนไขที่ต้องมีมาก่อน(precondition)ซึ่งไม่ถูกต้อง. มากไปกว่านั้น เงื่อนไขที่มีมาก่อนซึ่งมีแตกต่างกัน ไม่สามารถที่จะนำไปสู่หนทางที่พวกเขาต้องการเป็นในแบบจีนได้ เมื่อภาพความคาดหวังข้างหน้าเกี่ยวกับการปฏิวัติในสไตล์แบบจีน ดูเหมือนว่าไม่อาจดำเนินการได้อีกต่อไปด้วย

บางสิ่งบางอย่าง อย่างเช่นประชาธิปไตยเศรษฐกิจ ยังคงเป็นเป้าหมายการปรับตัวที่เป็นประโยชน์อันหนึ่ง แต่เส้นทางดังกล่าวที่นำไปถึงมันนั้น จะไม่เป็นเส้นทางแบบจีน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ

1. Karl Marx, Capital v. 1 (New York, International Publishers, 1992), p. 174.

2. For a suggestive specification of details, see David Ellerman, The Democratic Firm (Beijing: Xinhua Publishing House, 1997), especially Chapter Six.

3. See my After Capitalism (Lanham, Md.: Rowman and Littlefield, 2002; Chinese translation (Beijing: Social Science Documentation Publishing House, Chinese Academy of Social Sciences, forthcoming); for a more technical theoretical presentation, see my Against Capitalism (Cambridge: Cambridge University Press, 1993; Chinese translation, published by Renmin University Press (Beijing) in 2003).

4. Against Capitalism and After Capitalism both set out in detail the theoretical arguments and empirical evidence for this claim. Although capitalism's historical record is clear enough, the causal connections between the empirical phenomena of poverty in the midst of plenty, excessive inequality, and environmental degradation, and the internal structures of capitalism are less transparent.

5. According to the report "Chinese Trade Unions Participate in Democratic Management," issued by the All-China Federation of Trade Unions on November 19, 2004, "At present, 320,000 enterprises and institutions at the grass-roots level have set up workers' congresses across the country. The workers' congress system has been set up in almost all enterprises in China's large and medium sized cities." The report points out that the Constitution of China mandates that "state-owned enterprises practice democratic management through congresses of workers and staff and in other ways in accordance with the law." The report goes on to assert that "the Chinese trade unions will perfect the workers' congress system in stock companies composed of State-owned assets, overseas-funded enterprises, township enterprises and private enterprises. At the same time they are vigorously exploring additional ways and means of implementing democratic management."

6. For a summary of the comparative evidence, see After Capitalism, Chapter 3. For evidence concerning productivity increases related to the introduction of participatory mechanisms into capitalist workplaces, see Eileen Appelbaum, Thomas Bailey, Peter Berg, Arne L. Kalleberg, Manufacturing Advantage: Why High-Performance Work Systems Pay Off (Ithaca, NY: Cornell University Press, 2000). In their in-depth study of forty-four U.S. manufacturing firms, the researchers report that self-directed teams were able to eliminate bottlenecks and coordinate the work process and that task forces created to improve quality communicated with individuals outside their own work groups and were able to solve problems. They found that expensive equipment in steel mills operated with fewer interruptions, turnaround and labor costs were cut in apparel factories, and costly inventories of components and medical equipment were reduced. See also, Gregor Murray, Jacques Belanger, Anthoney Giles and Paul-Andre Lapointe (eds.), Work and Employment Relations in the High-Performance Workplace (New York: Continuum, 2002). For evidence concerning China, see Tseo, George K.Y., Hou Gui Sheng, Zhang Peng-zhu and Zhang Lihaiu, "Employee Ownership and Profit Sharing as Positive Factors in the Reform of Chinese State-Owned Enterprises" Economic and Industrial Democracy 25(1) (2004): 147-177 and Li Minqi, "Workers' Participation in Management and Firm Performance: Evidence from Large and Medium-Sized Chinese Industrial Enterprises," Review of Radical Political Economics, v. 36 (Summer 2004): 358-379.

7. The early debates concerning market socialism focused on this point. The major protagonists in the debate that raged in the 1920s and 30s were Ludwig von Mises and Friedrich von Hayek, who argued against the viability of market socialism, and Fred Taylor and Oscar Lange who argued for it. The principal papers can be found in F. A. Hayek, ed., Collectivist Economic Planning (New York: Augustus M. Kelley, 1935) and Benjamin Lippincott, ed., On the Economic Theory of Socialism (Minneapolis: University of Minnesota Press, 1938).

8. According to the Forbes's annual survey (March 2005), there were 691 billionaires in the world in 2005--341 in United States, two in China.

9. The Washington Post (December 4, 2002).

10. The data I've presented have been taken from Maurice Meisner, Mao's China and After: A History of the People's Republic, Third Edition (New York: The Free Press, 1999), pp. 415-419.

11. Lest one think that this has been due solely to the ignorance and venality of poor country governments, one should consult John Perkins, Confessions of an Economic Hit Man (San Francisco: Berrett-Koehler Publishers, 2004) for a riveting personal account of the role of international consultants and transnational construction firms in these sordid affairs.

12. For recent theorizing on the transnational capitalist class, see William Robinson, A Theory of Global Capitalism: Production, Class, and State in a Transnational World (Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2004). See also William L. Robinson and Jerry Harris,"Toward a Global Ruling Class?: Globalization and the Transnational Capitalist Class," Science and Society (Spring 2000): 11-54.

13. For an account of the G-7 strategy to thwart Mikhail Gorbachev's dream of rebuilding the Soviet economy along non-capitalist lines, see Peter Gowan, "Western Economic Diplomacy and the New Eastern Europe," New Left Review (July-August, 1990): 63-84.

++++++++++++++++++++++++++++
เกี่ยวกับผู้เขียน

David Schweickart
David Schweickart is Professor of Philosophy Department at Loyola University Chicago. He holds a B.S. in Mathematics (University of Dayton, 1964), a Ph.D. in Mathematics (University of Virginia, 1969), and a Ph.D. in Philosophy (Ohio State University, 1977). His dissertation for the doctorate in mathematics was "Complex Bordism Rings of Periodic Maps," and his dissertation for the philosophy doctorate was "Capitalism: A Utilitarian Analysis."
Professor Schweickart has taught at Loyola since 1975, and was at the Loyola Rome Center several times (1987-88, 1994-95, 1999-2000). He has been a Visiting Professor of Mathematics at the University of Kentucky, 1969-70, and a Visiting Professor of Philosophy at the University of New Hampshire, 1986-87. He has lectured in Spain, Cuba, El Salvador, Italy, and the Czech Republic, as well as throughout the United States.

His primary areas of research are Social and Political Philosophy, Philosophy and Economics, and Marxism. He also has major interests in Feminist Theory, Existentialism, Critical Theory, and Race and Racism. He has published several books, chapters, and articles on these topics, including

Against Capitalism (Cambridge University Press, 1993/Westview Press, 1996, published in Spanish as Mas alla del capitalismo, 1997), Capitalism or Worker Control? An Ethical and Economic Appraisal (Praeger, 1980), and articles in such journals as Theoria, Review of Radical Political Economics, Canadian Journal of Philosophy, Economics and Philosophy, Critical Review, Science and Society, Social Theory and Practice, Praxis International, and The National Women's Studies Association Journal. He is co-author (with B. Ollman, J. Lawler, and H. Ticktin) of Market Socialism: The Debate Among Socialists (Routledge, 1998). He is co-author (with B. Ollman, J. Lawler, and H. Ticktin) of Market Socialism: The Debate Among Socialists (Routledge, 1998). Dr. Schweickart'swork has been translated into Spanish, Catalan, French, and Chinese.

He is presently writing a shorter, more popular version of his Against Capitalism, to be called After Capitalism, and is doing research on a large project on Third World poverty, in order to determine what sort of economic structure a poor country should put in place, if not constrained by local elites or international interference, in order to optimize genuine development over time for all its citizens. Over the years Dr. Schweickart has served as faculty advisor of Loyola's Amnesty International chapter and also the Loyola Organization in Solidarity with the People of El Salvador, and co-chaired the Committee on the Racial Climate at Loyola. He is an active member and program organizer for the Conference of North American and Cuban Philosophers and Social Scientists, held annually in Havana, as well as for the Radical Philosophy Association.
In 1999 Dr. Schweickart was named Faculty Member of the Year.

(จบตอนที่ ๒ คลิกไปทบทวนตอนที่ ๑)



 

 





บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
260549
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
เว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอพระขอบคุณในการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ฟรี เพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคมจาก www.thaiis.com
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ
The Midnightuniv website 2006
แต่ในปี ค.ศ.1970 จีนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอันหนึ่งซึ่งได้ใช้คนงานราว 50 ล้านคน และคำนวณมูลค่าแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP. มูลค่าของผลผลิตที่ออกมาส่วนใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมมีการเจริญงอกงามถึง 38 เท่า และที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนักเจริญเติบโตถึง 90 เท่า. ประเทศจีนกลายเป็นเครื่องบินเจ็ททางด้านอุตสาหกรรม มีเรือเดินสมุทรต่างๆที่ทันสมัย, มีแสนยานุภาพอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธเคลื่อนที่ต่างๆ ในด้านชนบท การชลประทานขนาดมหึมาและการควบคุมน้ำได้รับการสร้างขึ้น. ประชากรที่ไม่รู้หนังสือส่วนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นประชากรที่รู้หนังสือส่วนใหญ่.