นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


The Midnight University



ความจริงสองด้านจากวจนะของพระผู้เป็นเจ้า
บทเรียนแรกสำหรับมนุษย์คือ "วิชาแพะ"
จิรภักดิ์ จอมวิญญาน
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความวิชาการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง หัวข้อเรื่อง
การผสมผสานของอำนาจ ความรู้ และโลกาภิวัตน์ในสื่อการศึกษาไทยบนไซเบอร์สเปซ
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 922
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)




ความจริงสองด้านจากวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

บทเรียนแรกสำหรับมนุษย์คือ "วิชาแพะ"

จิรภักดิ์ จอมวิญญาน
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความนำ

ลูซิแฟร์ประกาศศึกกับพระเจ้าในนามของ "กบฎ"
ผู้ต่อสู้เพื่อเหตุผลใหม่จักได้รับการสถาปนา
สิ่งที่ได้รับคือความพ่ายแพ้และคำประณาม

ไม่มีเหตุผลอันเป็นนิรันดร์ ไม่มีสัจธรรมที่คงอยู่ชั่วกาลสมัย
เหตุผลใหม่พลิกตื่นขึ้นแทนเหตุผลเก่า งอกงามอยู่บนมวลชีวิตของผู้ทุกข์ทน
ลูซิแฟร์จึงหมายมั่นในการต่อสู้ของตน ชั่วชีวิต

นี่ไม่ใช่การต่อสู้ครั้งสุดท้าย เพียงแต่รอวันอุบัติใหม่ขึ้นแรงกล้า
หากแม้นพระเจ้าไม่เปิดเปลือกตา "สวรรค์" หายในฉับพลัน!

ลูซิแฟร์ประกาศศึกกับพระเจ้า ย้ำความมุ่งหมายในชั่วชีวิตของตน
"มีชีวิตที่เป็นอยู่ในนรก ดีกว่าเป็นขี้ข้าอยู่ในสวรรค์"!

อหังการลูซิแฟร์, พิณ สายแพร 29 เมษายน 2524. (1)


ภาพสงครามสุดจินตนาการผ่านบทกวีราคา 10 ปอนด์เรื่อง "Paradise Lost" ของกวีตาบอดชาวอังกฤษ ช่วงคริสศตวรรษที่ 17 อย่างจอห์น มิลตัน (John Milton 1608-1675) (2) ได้สร้างความเป็นมหากาพย์สงครามกบฏนิจนิรันดร์ของลูซิเฟอร์ (Lucifer) กับพระเจ้า (God) ที่นัยยะสำคัญของการต่อสู้นี้ กำลังเผยตัวปรากฏขึ้นมาอีกครั้งในสภาวะที่หลังสมัยใหม่(postmodern) กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล ด้วยที่ว่าสถานะลูซิเฟอร์นั้นใกล้กับพระเป็นเจ้ามาก อยู่รอบๆ พระที่นั่งในสรวงสวรรค์ ลูซิเฟอร์ผู้นี้เป็นหัวหน้าทูตสวรรค์ชั้นสูงสุดประเภท "เครูบ" (สดุดี 80: 1, 99:1) ซึ่งทำหน้าที่พิทักษ์ทางด้านทิศตะวันออกของสวนเอเดน (ปฐมกาล 3: 24) แต่การที่เข้าใกล้มากกับพระผู้เป็นเจ้า (the One) ที่ไม่ขึ้นกับสิ่งใดๆ กลับกลายเป็นปัญหาของลูซิเฟอร์ มารร้ายในพระคัมภีร์ผู้นี้ไม่ยอมศิโรราบให้แก่พระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูและสรรพฤทธิ์ (Omniscient and Omnipotent) และประกาศตัวเป็นกบฎแห่งสรวงสวรรค์

ผลจากการกระทำในครั้งนี้ทำให้ลูซิเฟอร์และพรรคพวกพ่ายแพ้ และร่วงหล่นจากสวรรค์ลงสู่หุบเหวนรก การณ์เป็นเช่นนั้นจนกว่าจะครบกำหนดหนึ่งพันปี มารจึงจะถูกปล่อยตัวออกมาในช่วงระยะเวลาขณะหนึ่ง (วิวรณ์ 20:3) เพื่อรวบรวมสมัครพรรคพวกก่อกบฎและทำสงครามกับพระผู้เป็นเจ้าอีกครั้ง จนกว่าวันพิพากษาครั้งสุดท้ายจะมาถึง

ความจริงอีกด้านหนึ่งแห่งพระวจนะ
แต่ด้วยความจริงที่ว่า ลูซิเฟอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในทูตสวรรค์เครูบก็เป็นผลิตผลที่สร้างจาก "Logos" หรือพระวจนะของพระเจ้า เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ (ปฐมกาล 3: 24) ดังนั้นการมีอยู่ของลูซิเฟอร์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในความจริงของ "พระวจนะ" ด้วย เหตุนี้"Logos" ของพระเจ้าจึงเป็นไปได้ที่จะสร้างความจริงทั้งที่ถูกและผิด ดีและชั่ว มืดและสว่าง ฯลฯ ผ่านอำนาจบางอย่างเพื่อปรากฏออกเป็น "Logos" ชุดหนึ่งๆ

การปฏิบัติการของอำนาจ "Logos" (พระวจนะ)อันนี้ของพระเจ้า จึงเป็นได้ทั้งขั้วบวกและขั้วลบภายในตัวของมันเอง

อาจจะเป็นไปได้ว่า พระเจ้าสร้างทุกสิ่งด้วยคำพูด การเอื้อนเอ่ยของพระองค์ในการปรากฏของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถูกเชื่อมโยงเข้ากับความมีอยู่/ความเป็นปัจจุบัน (presentness) ของสิ่งนั้นด้วยการเผยให้เห็นถึงการมีอยู่ (presence) ของสิ่งนั้นๆ ออกมา อภิสิทธิ์ของพระวจนะของพระเจ้าในฐานะ "คำพูด" (speech - พจน์) และ "การมีอยู่" (presence) คือสิ่งที่แดริดา (Derrida) เรียกว่า "Logocentrism" หรือ "ลัทธิวจนศูนย์นิยม" (3) (ศูนย์กลางอยู่ที่คำพูด) (แปลตามรูปศัพท์ คำนี้หมายถึง คำพูดและภาษา ได้รับการพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานการแสดงออกเกี่ยวกับความจริงภายนอก - Logocentrism = regarding words and language as a fundamental expression of an external reality)(4) และการที่จะแสดงออกถึงความจริงบางอย่างก็หลีกเลี่ยงภาวะการใช้ภาพตัวแทน (re-presentation) ในการปรากฏตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่พ้น

Aletheia ในฐานะความจริงของพระวจนะ
ในแนวคิดแบบรื้อสร้าง (deconstruction) ทำให้สิ่งที่ขาดหาย (absence) หรือทำให้การมีอยู่ของบางสิ่งที่มาร์ติน ไฮเดกเกอร์เรียกว่า "Aletheia" ในฐานะความจริงของ "Logos" ถูกปกปิดและ/หรือละเลย. พระวจนะของพระเจ้าถูกทำให้มองไม่เห็นความจริงบางส่วนที่ถูกกลบหรือกดทับ เช่นเดียวกับการมีอยู่ของลูซิเฟอร์ในฐานะ "Aletheia" ของพระวจนะ (Logos) ที่ถูกคุมขังลงโทษด้วยกุญแจแห่งบาดาลและโซ่ตรวนใหญ่ (วิวรณ์ 20:1) กักตัวของลูซิเฟอร์เอาไว้ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ "Logos" ของพระเจ้า

แต่ "Aletheia" นั้นต้องการบุคคลอื่นเพื่อมาเสริมสร้างความรู้และความจริงที่จะเปิดเผยตัวเอง บทบาทของการสนทนาแลกเปลี่ยนจึงเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญสำหรับความจริง (5) การมีอยู่ของลูซิเฟอร์แบบ "Aletheia" ของความจริงของ "Logos" พระเจ้าจึงไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบภายในตัวเอง ที่ไม่ต้องการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใดๆ และอ้างอิงตัวเองตามอย่างพระเจ้า

ลูซิเฟอร์ตัวแทนด้านมืดของความจริง
ตามคัมภีร์ไบเบิลภาคปฏิบัติ การกบฏของลูซิเฟอร์จึงเป็นการที่จะพยายามนำเอาความจริงบางเสี้ยว (partial truth) ของพระวจนะที่ซ่อนอยู่มาเปิดเผยหรือนำออกมาให้เป็นที่ปรากฏ (bringing-forth / poiesis) ให้กับคนอื่นที่พอจะเข้าใจความเป็น "Aletheia" นี้ ดังที่ลูซิเฟอร์เล็งความหวังไปยัง "ฉายาของพระเจ้า" ก็คือมนุษย์อย่างอดัมและอีวา (ปฐมกาล 1: 26)

เนื่องด้วยความจริง (truth) ของลูซิเฟอร์เป็นเรื่องของการพยายามที่มาแปรความคิดไปเป็นการปฏิบัติ(praxis) ดังนั้นการสร้างพระวจนะซ้ำของพระเจ้า (remaking of Logos) ลูซิเฟอร์จึงต้องการคนอื่นร่วมในการสร้างเศษเสี้ยวความจริงที่ซ่อนอยู่ ด้วยอาศัยการมีอยู่ของมนุษย์. อีวาจึงถูกลูซิเฟอร์ที่ปลอมตัวเป็นงูใหญ่ยุให้เธอกินผลไม้ต้องห้าม (forbidden fruit) กลางสวนอีเดน

เพราะการกินผลแอปเปิลในครั้งนี้จะทำให้มนุษย์เป็นเหมือนกับพระเจ้าที่มีสำนึกในความดีและความชั่ว (ปฐมกาล 3: 1-5) ซึ่งในการกระทำครั้งนั้น "Aletheia" ก็ได้ปรากฏกายออกมาจากความจริงที่ซ่อนอยู่ ทำให้มนุษย์สัมผัสถึงบาปดั้งเดิม (original sin) ที่เกิดจากเจตจำนงเสรี (free will) ด้วยการ "เลือก" ของตัวเองเช่นเดียวกันกับที่ลูซิเฟอร์เป็นอยู่ การปฏิบัติการและทางเลือกของอดัมและอีวา จึงเป็นการแนวทางสร้างอำนาจในการอธิบายความจริงของสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวของมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การมีทางเลือกที่เกิดจากเจตจำนงเสรี ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้าและมารร้ายอย่างลูซิเฟอร์เป็นไปอย่างอิสระ แต่สภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้กับพระเจ้าเป็นสภาพที่มนุษย์ถูกทำให้ "พร่อง" (incompleted) อยู่เสมอ มนุษย์จึงโดดเดี่ยวและขาดความสมบูรณ์ในตัวเองโดยที่ยังคงไว้ซึ่งเสรีภาพภายในตัว

นับเป็นการเผชิญหน้าระหว่างการหันหน้าเข้าหาเพื่อศิโรราบแก่พระเจ้า กับการหันหน้าเข้าตัวเอง และด้วยเจตจำนงเสรีที่มีอยู่ ทำให้มนุษย์มีโอกาสที่จะเลือกหันหน้าเข้าหาตัวเอง โดยที่ให้ความสำคัญกับตัวเองและไม่เชื่อฟังพระเจ้า (6) ดังนั้น มนุษย์จึงเสี่ยงต่อการทำบาปตามความปรารถนาของลูซิเฟอร์ได้อย่างง่ายดาย การมีอยู่ของมนุษย์จึงมีลักษณะโน้มลงมา "ต่ำ" ตามการวิเคราะห์ข้างต้น

พระวจนะไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบ
การมีอยู่ของ "Logos" (พระวจนะ) ตามความเข้าใจสำหรับมนุษย์ จึงไม่ใช่เป็นความสมบูรณ์แบบในความหมายของพระเจ้าแต่อย่างใด การที่จะได้มาซึ่งความจริงบางส่วนสำหรับมนุษย์ มนุษย์จำต้องพยายามสร้างความเข้าใจใน "Logos" ส่วนตัวขึ้นมา มากกว่าที่จะได้รับมาจากพระเจ้าทั้งหมด การที่จะเข้าใจ "Logos" ของมวลมนุษย์จึงตกอยู่ในสภาพ ที่

- ด้านหนึ่งเป็นความจริง (truth) ของพระเจ้าที่ต้องพยายามจะเข้าไปให้ถึง ที่รอให้มนุษย์ต้องทำการค้นพบ (discovery) อันเป็นเรื่องของธรรมชาติ (nature)

- อีกด้านหนึ่ง ความจริงของ "Logos" ที่ต้องอาศัยตนเองในการแลกเปลี่ยนหรือพึ่งพา "สิ่งอื่น" เพื่อเข้าให้ถึงความจริงอีกส่วนหนึ่งของการปรากฏตัวของ "Logos" ในนาม "Aletheia" ตามแบบวิถีทางของลูซิเฟอร์ ซึ่งหมายความว่าการเลือกที่จะเป็นแบบหลังนี้มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ตัวเองเข้าไปในการทำความเข้าใจหรือตีความ (interpret) กับบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้นการจะเป็นจริงของ "Logos" ในแง่นี้จึงเป็นเรื่องของการสร้าง (constructed) ที่มนุษย์มีส่วนร่วม เป็นเรื่องทางวัฒนธรรม (culture) ของมนุษย์กับสิ่งอื่นๆ รอบข้าง และมนุษย์จะทำการเข้าใจสิ่งนี้ร่วมกันก็ด้วยผ่านการสร้างภาพตัวแทน (re-presentation) เช่น ภาษา เป็นต้น

มนุษย์ถูกลิขิตให้เป็นแพะ
ช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ครบกำหนดหนึ่งพันปีที่สอง (second millennium) ที่ลูซิเฟอร์ถูกปล่อยตัวออกมาอีกครั้ง การทำสงครามครั้งใหม่กับพระเจ้าจึงได้เริ่มต้นขึ้น และการต่อสู้ก็เกิดขึ้นหลากระดับหลายสมรภูมิ ตามกำลังมารผจญที่เทียบเท่าได้กับเม็ดทรายที่ทะเล (วิวรณ์ 20:8) หากสงครามนี้ยังใช้สมองของมนุษย์เป็นพื้นที่สำคัญในการทำสงครามนี้ด้วย ความคิด ข้อกังขา ความสับสน ความลังเล สุดก้ำกึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศหลังสมัยใหม่ (postmodern) จนถึงกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมอันแสนจะโกลาหล อลหม่าน (chaos) อย่างโลกาภิวัตน์ (globalization) เป็นสงครามความขัดแย้งเพื่อยึดพื้นที่ทางความคิดระหว่าง"พระเจ้า"กับ"พลพรรคปีศาจร้ายลูซิเฟอร์"ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ

และสุดท้ายผลลัพธ์รูปธรรมของสงครามทั้งหมด ก็ตกอยู่ที่มนุษย์ตามที่ถูกลิขิต (destiny) เอาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดมหาสงครามนี้ขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งการถูกเนรเทศออกจากสวนอีเดนของอดัมและอีวาในครั้งปฐมกาลนั้น เป็นประจักษ์พยานความเป็น "แพะรับบาป" ของมนุษย์ได้อย่างดี

"…ครั้นหนึ่งพันปีล่วงไปแล้ว ก็จะปล่อยซาตานออกจากคุกที่คุมขังมันไว้ และมันจะออกไปล่อลวงบรรดาประชาชาติทั้งสี่ทิศของแผ่นดินโลก คือโกก และมาโกก ให้คนมาชุมนุมกันทำศึกสงคราม จำนวนคนเหล่านั้นมากมายดุจเม็ดทรายที่ทะเล และคนเหล่านั้นยกขบวนออกไปทั่วแผ่นดินโลก และล้อมกองทัพของพวกธรรมิกชน และนครอันเป็นที่รักไว้ แต่ไฟได้ตกลงมาจากสวรรค์เผาผลาญคนเหล่านั้น ส่วนพญามารที่ล่อลวงเขาเหล่านั้นก็ถูกโยนลงไปในบึงไฟและกำมะถัน ที่สัตว์ร้ายและคนที่ปลอมตัวเป็นผู้เผยแพร่พระวจนะตกอยู่ในนั้น และมันต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดไปเป็นนิตย์" (วิวรณ์ 20: 7-10)

++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

1. พิณ สายแพร, (2524). อหังการลูซิแฟร์.

2. เปลื้อง ณ.นคร, (2529). ปริทรรศน์แห่งวรรณคดีอังกฤษ. บำรุงสาส์น. กรุงเทพฯ: หน้า 106.

3. กีรติ บุญเจือ, ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์ดวงกมล. 2545. หน้า 83.

4. Foulconer E. James, Deconstruction (ทฤษฎีรื้อสร้าง). สมเกียรติ ตั้งนโม แปล. แนวความคิดหลังสมัยใหม่. เชียงใหม่. คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547. หน้า 109-112.

5. ธเนศ วงศ์ยานนาวา, (2546). ชาติพันธุ์วรรณาในความเป็นซับเจคของนักมานุษยวิทยา: "จริยธรรม" ระหว่างการหาความจริงและการสร้างความจริง. รัฐศาสตร์สารปีที่ 24 ฉบับที่ 3. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: น. 160.

6. พัชรี วชิระนิเวศ, (2544). การศึกษาเปรียบเทียบคำสอนและทัศนะเรื่อง "มาร" ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไตรปิฏกของศาสนาพุทธและคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: หน้า 30,34,46,50.

 

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
150549
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
เว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอพระขอบคุณในการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ฟรี เพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคมจาก www.thaiis.com
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

ช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ครบกำหนดหนึ่งพันปีที่สอง (second millennium) ที่ลูซิเฟอร์ถูกปล่อยตัวออกมาอีกครั้ง การทำสงครามครั้งใหม่กับพระเจ้าจึงได้เริ่มต้นขึ้น และการต่อสู้ก็เกิดขึ้นหลากระดับหลายสมรภูมิ ตามกำลังมารผจญที่เทียบเท่าได้กับเม็ดทรายที่ทะเล (วิวรณ์ 20:8) หากสงครามนี้ยังใช้สมองของมนุษย์เป็นพื้นที่สำคัญในการทำสงครามนี้ด้วย ความคิด ข้อกังขา ความสับสน ความลังเล สุดก้ำกึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศหลังสมัยใหม่ (postmodern) จนถึงกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมอันแสนจะโกลาหล อลหม่าน (chaos) อย่างโลกาภิวัตน์ (globalization)

The Midnightuniv website 2006