นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 

The Midnight University



ความรู้เชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำวัฒนธรรม
ข้อจำกัดเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้ เรียบเรียงมาจากบทความเรื่อง
การพิจารณาใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
Reconsidering cultural imperialism theory

By Livingston A. White, Florida State University

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 880
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 24.5 หน้ากระดาษ A4)



ข้อจำกัดเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การพิจารณาใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
Reconsidering cultural imperialism theory
By Livingston A. White, Florida State University

บทนำ : ลัทธิ จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม - ขั้นตอนการพัฒนา
(Introduction: Cultural imperialism--The nascent stages)
บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ได้ประดิษฐ์กลุ่มคำศัพท์หลายหลากขึ้นมา ในการอ้างอิงถึงความคิดต่างๆ เกี่ยวกับ"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม". ในการสำรวจเรื่องดังกล่าวในการสื่อสารเชิงอักษรนานาประเทศ ได้เผยให้เห็นถึงรูปคำศัพท์ที่แตกต่างกันมากมาย ตัวอย่างเช่น

"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ"(media imperialism)(Boyd-Barrett, 1977); "ลัทธิจักรวรรดินิยมเชิงโครงสร้าง"(structural imperialism)(Galtung, 1979); "การพึ่งพาทางวัฒนธรรมและอิทธิพลครอบงำทางวัฒนธรรม(cultural dependency and domonation)(Link, 1984; Mohammadi, 1995); "จังหวะที่พร้องกันทางวัฒนธรรม"(cultural synchronization)(Hamelink, 1983); "ลัทธิ จักรวรรดินิยมอิเล็คทรอนิค"(electronic colonialism)(McPhail, 1987); "ลัทธิจักรวรรดินิยมการสื่อสาร"(communication imperialism)(Sui-Nam Lee, 1988); "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางอุดมคติ"(ideological imperialism), และ "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ"(economic imperialism)(Mattleart, 1994) เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ต่างเป็นการพูดถึงความคิดพื้นฐานในอย่างเดียวกันเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม. บรรดานักวิชาการนานาชาติที่ต่างกันไป ซึ่งได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ให้เหตุผลว่า การเริ่มต้นขึ้นมาของมันเกิดจากแหล่งต้นตอที่แตกต่างกันด้วย ตามความคิดของ Salwen (1991), ประเด็นเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่แล้วปรากฏขึ้นมาจากการสื่อสารเชิงตัวอักษร ที่เกี่ยวพันกับการพัฒนาและเศรษฐศาสตร์การเมือง. ซึ่งท้ายที่สุด การปรับตัวเหล่านี้ได้สร้างหลักการต่างๆ ขึ้นมาที่ให้ความเอาใจใส่ต่อมรดกทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมทางวัฒนธรรมซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการวิเคราะห์อันหนึ่งเกี่ยวกับรัฐบาล, นโยบายของหมู่คณะและการปฏิบัติ

Mattelart (1994) ได้ให้เหตุผลว่า นับจากช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 1960s ศัพท์ต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกใช้โดย Jacques Rigaud, ซึ่งได้ปรุกกระแสให้เกิดการตื่นตัวขึ้นมาเกี่ยวกับ การสูญเสียอิทธิพลทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ(information technologies), และโดย Zbigniew Brzezinski, ผู้ซึ่งเชื่อว่ามันล้าสมัยไปแล้ว อันนี้ดำเนินการโดยผ่านการศึกษาในเรื่องบทบาทของการสื่อสาร ในความสัมพันธ์กันท่ามกลางนานาประเทศ

ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ในปี ค.ศ.1970
ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม โดดเด่นขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1970s. ทฤษฎีดังกล่าว ตามความคิดของ Roach (1997)นั้น ปรากฏชัดมากที่สุดในผลผลิตทางด้านทฤษฎีของลาตินอเมริกา "จำนวนมากของผู้ให้การสนับสนุน รวมถึง Antonio Pasquali (1963), Luis Ramiro Beltran (1976), Fernandez Reyes Matta (1977) และ Mario Kaplun (1973)" (p. 47). ทฤษฎีดังกล่าว ได้จัดหาหรือตระเตรียมข้อยืนยันทางแนวคิดที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งอยู่เบื้องหลังขบวนการเกี่ยวกับข่าวสารข้อมูล และระเบียบการสื่อสารโลกใหม่อันหนึ่ง(a New World Information and Communication Order), ที่เกี่ยวพันกับองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาติ (UNESCO), และไปเกี่ยวข้องกับการไหลเลื่อนของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆของโลก

ในช่วงเวลานั้น บรรดานักวิชาการทั้งหลายได้เสนอให้มีการจับกลุ่มงานวิจัยเชิงวิพากษ์ ที่แพร่หลายอยู่อย่างหลากหลายในด้านการสื่อสารระหว่างประเทศ ให้เข้ามาอยู่ภายใต้หัวข้อ"ลัทธิจักรวรรดินิยมด้านสื่อ"(media imperialism). ในท่ามกลางนักวิชาการเหล่านั้นคือ. J. Oliver Boyd-Barrett ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ได้ให้นิยามความหมายลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ(media imperialism) "ในฐานะที่เป็นกระบวนการซึ่ง ความเป็นเจ้าของ, โครงสร้าง, การเผยแพร่, หรือเนื้อหาของสื่อในประเทศใดก็ตาม ต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันภายนอกอย่างมาก จากผลผระโยชน์ต่างๆทางด้านสื่อของประเทศอื่นหรือประเทศต่างๆ โดยปราศจากสัดส่วนที่เหมาะสมเกี่ยวกับอิทธิพลที่มีต่อกันทั้งสองฝ่าย โดยประเทศที่มีอิทธิพลเหนือกว่ามาก"(Boyd-Barrett, 1977, p.117)

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการเป็นจำนวนมากรู้สึกว่า นิยามความหมายของ Boyd-Barrett ค่อนข้างแคบมาก ที่จะอธิบายถึงความหลากหลายของรูปแบบต่างๆ ที่ได้ถูกยึดถือโดยความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่างๆ ท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

Herbert Schiller ในงานของเขาปี 1976 เรื่อง "Communication and Cultural Domination"(การสื่อสารและอิทธิพลครอบงำทางวัฒนธรรม) เสนอเกี่ยวกับการใช้ศัพท์คำว่า"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" เพื่ออรรถาธิบายและชี้ถึงหนทางซึ่ง บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จำนวนมาก รวมถึงสื่อต่างๆของประเทศที่พัฒนาแล้วมีอิทธิพลครอบงำประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย. เขายังได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นหนึ่งในคนที่มีบทบาทโดดเด่น และสำคัญยิ่งของทฤษฎีจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมด้วย และงานตีพิมพ์ของเขาในปี ค.ศ.1976 ได้รับการนำมาอ้างถึงอยู่บ่อยๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม. Roach (1997) ได้ชี้ถึง บรรดาคนที่โดดเด่นหลักๆ อื่นๆ ของทฤษฎีนี้ นอกจาก Schiller แล้ว, เขาอ้างว่า "บางคนของบรรดานักทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากสุด ในขอบเขตความรู้นี้ต่างก็เป็นชาวตะวันตก: อย่างเช่น Armand Mattleart ชาวเบลเยี่ยม… และ Dallas Smythe ชาวแคนาเดียน" (p. 48)

แม้ว่าผลงานของ Schiller จะโฟกัสลงไปที่พื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเป็นส่วนใหญ่ แต่งานทบทวนเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมทางอักษรศาสตร์ ได้เผยให้เห็นว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบหรือโครงร่างโดยบรรดานักวิชาการทั้งหลายเกี่ยวกับภูมิหลังทางวิชาการ และกระบวนวิชาต่างๆอย่างหลากหลาย เพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ในพื้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, มานุษยวิทยา, ศึกษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, วรรณคดี, และการกีฬา

อันที่จริง ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมมีขอบเขตที่กว้างขวางอันหนึ่ง เมื่อเรายอมรับกันว่า มันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนวิชาต่างๆอย่างมากมาย. แต่อย่างไรก็ตาม ในความพยายามที่จะทำให้การโฟกัสเกี่ยวกับการวิเคราะห์ที่จะตามมาให้แคบลง ในบทความชิ้นนี้ จะเลือกโฟกัสเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมที่ไปสัมพันธ์กับกระบวนวิชาทางด้านการสื่อสารเท่านั้น

แกนกลางข้อเสนอเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม
(The Central Proposition of Cultural Imperialism)
ถึงแม้ว่าบรรดานักเขียนทั้งหลายจะได้วางแนวการตีความต่างๆ ของพวกเขาเองเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเอาไว้ แต่ข้อเสนอหลักเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว สามารถที่จะได้รับการจำแนกลงได้ในงานประเภทหนึ่งของบรรดานักทฤษฎีลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมหลัก ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเสนอว่า สังคมหนึ่งๆ ได้ถูกนำเข้าสู่ระบบโลกสมัยใหม่ เมื่อชนชั้นทางสังคมที่มีอำนาจหรืออิทธิพลของมันได้ถูกดึงดูด, กดดัน, บีบบังคับ, และบางครั้งถูกล่อลวงเข้าไป ซึ่งจะก่อรูปก่อร่างสถาบันทางสังคมต่างๆของมันขึ้นให้สอดคล้องกับแกนกลางระบบดังกล่าวที่มีอำนาจ หรือกระทั่งส่งเสริมคุณค่าต่างๆและโครงสร้างให้สัมพันธ์กับแกนกลางระบบอันนั้น (Schiller, 1976)

การประกอบสร้างหลักๆ ของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม
(Major constructs of cultural imperialism)
การกระจายส่วนใหญ่มาจากมุมมองในเชิงวิพากษ์ ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมไม่ได้ใช้ชุดคำศัพท์ที่แน่นอนตายตัว เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่มันพยายามสาธยาย ส่วนใหญ่ของคำศัพท์สำคัญ ได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นแนวความคิดขั้นปฐม(Chaffee, 1991) เท่าๆกับมันได้รับการสันนิษฐานว่า ความหมายพื้นฐานของพวกมันเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป โดยการมีพื้นฐานอยู่บนข้อเสนอดังที่ได้ให้เค้าโครงข้างต้นโดย Schiller (1976) บางอย่างของการประกอบสร้างที่สำคัญคือ :

- "ระบบโลกสมัยใหม่"(modern world system) : แนวคิดขั้นปฐมอันหนึ่งซึ่งมีนัยะถึงลัทธิทุนนิยม

- "สังคม"(Society) : แนวคิดขั้นปฐมซึ่งมีนัยะว่า ประเทศหรือชุมชนใดก็ตามภายในเขตแดนทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะ ถูกพิจารณาว่าได้รับการพัฒนาน้อยกว่าศูนย์กลางที่มีอำนาจและอิทธิพล

- "ศูนย์กลางอำนาจของระบบที่มีอิทธิพล"(dominating center of the system) : อ้างถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือสิ่งซึ่งได้รับการอ้างถึงโดยทั่วไปในการอธิบายบนการไหลเลื่อนของข้อมูลระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางต่างๆ หรือพลังอำนาจของตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเกี่ยวกับประเทศศูนย์กลางต่างๆ กับประเทศชายขอบ(ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องพึ่งพา หรือโลกที่สาม หรือประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า)

- "คุณค่าและโครงสร้างต่างๆ"(values and structures) : อ้างอิงถึงวัฒนธรรมและองค์กรที่เป็นจริงต่างๆซึ่งบังเกิดขึ้นจากศูนย์กลางที่มีอำนาจ และเป็นของต่างประเทศสำหรับประเทศที่ได้รับการพิจารณาว่าได้รับการพัฒนาน้อยกว่าศูนย์กลางอำนาจและอิทธิพล

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวอ้างถึงการแสดงออกมาแต่เดิมของ Schiller เกี่ยวกับข้อเสนอหลัก แต่มันก็เป็นแนวคิดต่างๆที่ได้ถูกนำมาใช้โดยบรรดานักเขียนทั้งหลาย ดังที่ได้ถูกพบเห็นอยู่ในย่อหน้าแรกของบทความชิ้นนี้. การประกอบสร้าง อย่างเช่น "วัฒนธรรม", "การพึ่งพา", "อำนาจอิทธิพล", "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ", "ลัทธิจักรวรรดินิยมเชิงโครงสร้าง", "ความพ้องกันทางวัฒนธรรม", "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางอิเล็คทรอนิค", "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสาร", และ"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ" ทั้งหมดเหล่านี้มีอยู่ในวรรณคดีลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

แม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว สิ่งเหล่านี้จะได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นแนวคิดพื้นฐานขั้นปฐมก็ตาม แต่ก็เป็นความรู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมีความสมบูรณ์พอต่อความเข้าใจอันหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว ในเรื่องลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

หลังจากได้มีการทบทวนและตีความความแตกต่างกันเหล่านี้ เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ก็ได้เป็นที่ปรากฏชัดขึ้นมาว่า สาระสำคัญของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเป็นอำนาจอิทธิพลของประชาชาติหนึ่งที่มีเหนือกว่าหรือครอบงำอีกประชาชาติหนึ่ง ความสัมพันธ์กันอันนั้นอาจเป็นไปในลักษณะโดยตรงหรือโดยอ้อม และมีพื้นฐานอยู่บนการผสมผสานกันของการควบคุมทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ. วิธีการทั้งหลายที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆได้ถูกแลกเปลี่ยนกันระหว่างชาติ ได้รับการสำรวจโดยผ่านความพยายามในเชิงวิชาการ ในฐานะที่เป็นการแสดงออกให้เห็นของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

ความจริงในตัวมันเองเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม
(The Axioms of Cultural Imperialism)
ในเชิงภาววิทยา(ธรรมชาติของสิ่งที่เป็นอยู่) บรรดานักลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม สามารถได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นนักสัจนิยมเชิงปฏิบัติ(Potter, 1996) ซึ่งเชื่อว่ามันมีความจริงที่ถูกำหนดอันหนึ่งที่ดำรงอยู่เคียงข้างปัจเจกบุคคล หรือองค์กรที่สร้างสรรค์ความหมายของความจริงขึ้นมา

ในเชิงญานวิทยา(ทฤษฎีความรู้และขอบเขตความรู้) บรรดาผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม สามารถได้รับการพิจารณาให้เป็นนักประกอบสร้าง(Potter, 1996) ซึ่งสันนิษฐานว่า วิธีการต่างๆของการตีความข้อมูลข่าวสารทางด้านวัฒนธรรม ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยองค์กรสื่อข้ามชาติต่างๆ. เหล่านี้คือสมมุติฐานในระดับพื้นฐานที่แท้จริง ที่นำทางความคิดนักลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม

นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว เราสามารถที่จะจำแนกความจริงในตัวมันเอง(ที่ไม่ต้องพิสูจน์)อื่นๆ ของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ เมื่อทฤษฎีดังกล่าวกำลังโดดเด่นขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ได้ถูกทดสอบและไม่สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นสมมุติฐานต่างๆของทฤษฎี

- Sui-Nam Lee(1988) เป็นตัวอย่าง อ้างว่า "บทบาทในเชิงรุกในส่วนของประเทศที่มีอำนาจ และผลพวงที่อันตรายอันหนึ่งของประเทศที่มีอิทธิพลได้ถูกตั้งข้อสันนิษฐาน(p. 69) ในลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม.

- Ogan(1988) ได้เสนอความจริงในตัวมันเองอีกอันหนึ่งว่า "บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายในโลกที่สาม ซึ่งบริโภคผลผลิตสื่อต่างๆ(จากต่างประเทศ) จะได้รับอิทธิพลชักจูงโดยคุณค่า(หรือค่านิยมต่างๆ)ที่ฝังมากับเนื้อหานั้นๆ ซึ่งเป็นคุณค่าหรือค่านิยมของต่างด้าวและระบบทุนนิยมที่มีอิทธิพลเหนือกว่า(p. 40)

อย่างถกเถียงกันได้ ณ ช่วงเวลาที่ทฤษฎีดังกล่าวกำลังแพร่หลายอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1970s สิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติฐานที่สำคัญ ซึ่งอยู่เบื้องหลังบรรดานักทฤษฎีทั้งหลายที่นำเสนอทฤษฎีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงผลงานในทางวิชาการทั้งหมดที่ได้มีการทำๆ กันมานับจากช่วงเวลานั้น เราสามารถสร้างหลักฐานอันหนึ่งขึ้นมาได้ในเชิงย้อนกลับไปถึงข้อสันนิษฐานเหล่านี้ ที่ถูกทดสอบและพิสูจน์ได้ว่า มันไม่ถูกต้อง(ดูตัวอย่าง, Liebes and Katz, 1990); ด้วยเหตุดังนั้น พวกมันจึงไม่ได้เป็นข้อสันนิษฐานที่น่าไว้วางใจอีกต่อไป และในปัจจุบัน ข้อเสนอต่างๆนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการโต้แย้งหรือหักล้างโดยงานวิจัยในเชิงประจักษ์

อันนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติในปฏิบัติการเกี่ยวกับการทบทวนทางวรรณคดี เราอาจไม่เพียงพบต้นตอข้อมูลขนาดใหญ่อันหนึ่งที่ชื่นชมการใช้ทฤษฎีดังกล่าว แต่เรายังจะพบข้อมูลจำนวนเท่าๆกันที่มีความคิดในเชิงตรงข้าม ซึ่งต่อต้านหรือคัดค้านหลักการของมัน และเน้นถึงข้อจำกัดต่างๆของมันด้วย

สมมุติฐานอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม คือว่า สื่อต่างๆได้แสดงบทบาทเป็นแกนกลางในการสรรค์สร้างวัฒนธรรม. ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์อันนี้ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับการสลับปรับเปลี่ยนการใช้รูปคำศัพท์ที่หลากหลาย ซึ่งอ้างถึงลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม(เช่น media imperialism กับ cultural imperialism เป็นต้น). บรรดานักเขียนทั้งหลายซึ่งพูดคุยเกี่ยวกับ"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" คือ "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ" ปฏิบัติกับศัพท์สองคำนี้ในฐานะที่มันเป็นคำที่พ้องกัน(synonym), ซึ่งได้นำไปสู่คำถามหรือข้อสงสัยถึงศูนย์กลางของสื่อต่างๆ ในการอ้างถึงลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

ปฏิบัติการนี้มีนัยแฝงว่า สื่อมีบทบาทครอบงำในกระบวนการดังกล่าว เมื่อมีการอ้างถึง"ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" ซึ่งคำว่า"วัฒนธรรม"สามารถที่จะสลับสับเปลี่ยนกับคำว่า"สื่อ"ได้ตามโอกาส. แน่นอน เราจะต้องระมัดระวังในการให้เหตุผลการมีนัยสำคัญต่อศูนย์กลางที่มีน้ำหนักอันนี้ถึงสื่อต่างๆ. เพื่อที่จะเข้าใจข้ออ้างเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ เราต้องสำรวจความสัมพันธ์ของสื่อต่างๆกับแง่มุมอื่นๆของวัฒนธรรม โดยปราศจากการตั้งสมมุติฐานความเป็นศูนย์กลางของมันจากการเริ่มต้น (Tomlinson, 1991).

สมมุติฐานอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ก็คือ มันทึกทักเอาเองว่าลักษณะที่ทำให้เป็นศูนย์กลาง นำสู่การพัฒนาและการแพร่กระจายผลผลิตสื่อต่างๆ ข้อคิดในที่นี้คือว่า ผลผลิตสื่อทั้งหมดถือกำเนิดขึ้นมาจากประชาติต่างๆที่เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีแรงกระตุ้นอันลี้ลับซับซ้อนของความต้องการที่จะครอบงำสื่อของประเทศชายขอบทั้งหลายอย่างรอบคอบ. ความเชื่อนี้ บางส่วนได้รับการวางอยู่บนทัศนะที่ว่า ไม่มีประเทศชายขอบใดๆ สามารถที่จะผลิตสื่อของมันเองขึ้นมาได้

ความอ่อนแอส่วนใหญ่ของทฤษฎีนี้
(The major weaknesses of the theory)
มันมีความอ่อนแออยู่จำนวนหนึ่งที่ได้รับการจำแนกให้เห็น โดยบรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับนิพนธ์ทางด้านลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ได้แก่:

- ทฤษฎีดังกล่าวขาดเสียซึ่งพลังอำนาจการอธิบาย และต้องได้รับการทำให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นให้พ้นไปจากระดับของคำอธิบายที่บริสุทธิ์ (Organ, 1988)

- ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม อาจได้รับการแสดงออกในเชิงสถิติต่างๆ แต่ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่าที่จะวัดแบบนั้นได้ (Organ, 1988)

- ทฤษฎีดังกล่าวขาดเสียซึ่งความแน่นอนเที่ยงตรงทางแนวคิด (Lee, 1988)

- ทฤษฎีดังกล่าวไม่ได้ให้การยอมรับความสามารถของผู้รับสาร ที่จะแปรรูปหรือจัดการกับข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงตีความสารนั้นๆ แตกต่างกันไป ทั้งนี้มีพื้นฐานอยู่บนภูมิหลังของพวกเขาแต่ละปัจเจกบุคคล (Kiebes & Katz, 1990); และ

- ทฤษฎีดังกล่าวไม่ได้ยึดถือความจริงในทุกๆสถานการณ์ของปรากฎการณ์ ซึ่งมันพยายามที่จะอธิบาย (Sinclair, Jacka, และ Cunningham, 1996)

ทฤษฎีดังกล่าวขาดเสียซึ่งนิยามความหมายที่แน่นอน
(The theory lacks precise definitions)
การขาดเสียซึ่งความแน่นอนทางแนวคิดหรือฉันทามติที่สอคล้องกัน ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งในการพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ เพื่อให้ข้อมูลการวิจัยในลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม (Fejes, 1981; Lee, 1988). อันนี้มีหลักฐานอยู่ในนิยามความหมายจำนวนมาก ซึ่งถูกนำเสนอโดยบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ที่ต่างกัน. นอกจากนิยามหรือคำจำกัดความของ Boyd-Barrett's และ Schiller ที่กล่าวถึงมาแล้วแต่ต้น คนอื่นๆอย่างเช่น Beltran ได้เสนอการตีความของเขาเองขึ้นมาเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

สำหรับ Beltran (1987) ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเป็น "กระบวนการที่สามารถตรวจสอบได้เกี่ยวกับอิทธิพลครอบงำของสังคม ซึ่งประชาชาติหนึ่งได้ยัดเยียดความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และบรรดทัดฐานทางพฤติกรรม เช่นเดียวกับวิถีชีวิตทั้งมวลของมันให้กับประเทศอื่นๆ (p. 184)

Said (1993) อันที่จริงได้แยกคำศัพท์คำว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม(cultural imperialism) ในหนังสือของเขาเรื่อง "Culture and Imperialism" (วัฒนธรรมและลัทธิจักรวรรดินิยม) และเขาเสนอนิยามความหมายที่ตรงไปตรงมาอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยม และลัทธิอาณานิคม(imperialism and colonialism). สำหรับ Said

- "ลัทธิจักรวรรดินิยม"(imperialism) หมายถึง "ปฏิบัติการ, ทฤษฎีและทัศนคติต่างๆเกี่ยวกับศูนย์กลางมหานครที่มีอำนาจ ซึ่งปกครองดินแดนที่อยู่ห่างไกล"; ส่วนคำว่า

- "ลัทธิอาณานิคม(colonialism) ซึ่งเกือบจะเป็นเช่นนั้นเสมอก็คือ ผลลัพธ์ที่ตามมาของลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งเป็นการโยกย้ายการตั้งถิ่นฐานลงบนดินแดนอันไกลโพ้น" (p. 90)

Sui-Nam Lee (1988) ได้วิเคราะห์รูปศัพท์ที่หลากหลายเกี่ยวกับคำว่าลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม และยังวิจารณ์ทฤษฎีดังกล่าวว่าไม่มีการชี้เฉพาะเจาะจงใดๆ. แต่เขาก็ไม่ได้ช่วยทำให้มันมีลักษณะจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ดังที่เขาได้เสนอการใช้รูปศัพท์อีกคำหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคำว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสาร"(communication imperialism) - ซึ่งทำให้ความคิดเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีดังกล่าวไม่ยอมรับผู้รับสื่อที่เป็นฝ่ายรุก(กระทำ)
บรรดานักทฤษฎีผู้รับที่เป็นฝ่ายรุก(active audience theorists) อย่างเช่น Tamar Liebes และ Ien Ang, ได้เป็นผู้นำการวิจัยซึ่งแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้รับภายในประเทศขานรับหรือโต้ตอบสื่อต่างๆ ของตะวันตกกันอย่างไร ในความพยายามอันหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมไม่ได้มีอยู่

Liebes ได้ศึกษาถึงผลกระทบเกี่ยวกับละครยอดนิยมทางโทรทัศน์เรื่อง "Dallas" ในอิสราเอล. ตามความเห็นของ Schiller (1989), นิตยสาร "New York Time" ใจกว้างที่จะอุทิศหน้ากระดาษถึงครึ่งหน้า เพื่อสนทนาถึงผลงานของ Liebes ที่ยืนยันว่า มัน"เกี่ยวข้องกับข้อถกเถียงกันส่วนใหญ่ในเรื่องที่เรียกว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมอเมริกัน(American cultural imperialism) - ในขอบเขตที่รายการโทรทัศน์อเมริกัน, ศิลปะ, วัฒนธรรม, และค่านิยมอื่นๆ ได้ถูกส่งออกและเข้าครอบงำประเทศต่างๆเหล่านั้นอย่างไร

การใช้กรอบของการวิเคราะห์ของผู้รับสารที่เป็นฝ่ายรุก(active-audience) โดยการศึกษากับคน 4 กลุ่มซึ่งเป็นผู้ดูทั้งหลายที่เป็นชาวอิสราเอล คือ : อาหรับอิสราเอล, ชนชาวยิวอพยพจากโมร็อคคัน, สมาชิกคิบบุตซ์, และชนชาวยิวอพยพจากรัสเซีย. Liebes พบว่า สารดังกล่าวที่ได้รับการถ่ายทอดโดยละครโทรทัศน์เรื่อง"Dallas" ขึ้นอยู่กับค่านิยมของผู้ดู และผันเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ต่างๆของคนแต่ละกลุ่ม ซึ่งผู้ดูทั้งหลายสังกัด ดังนั้น ผู้ดูจึงเป็นผู้ผลิตความหมายอย่างกระตือรือร้น ในขณะที่บริโภคผลผลิตสื่อหรือโปรแกรมดังกล่าว

นักวิชาการอีกคนหนึ่ง, Ien Ang ได้ให้การสนับสนุนการค้นพบนี้ด้วย โดยผ่านการศึกษาถึงผลกระทบของละครโทรทัศน์เรื่อง "Dallas" ในการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เธอเรียกว่า "การยึดติดอย่างเหนียวแน่นกับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมอเมริกัน" (ดังที่อ้างแล้วใน Schiller, 1989, p. 150)

ทฤษฎีดังกล่าวไม่ได้ให้การสนับสนุนในทุกๆสถานการณ์ของข้อมูลข่าวสาร ที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างชาติต่างๆ นักวิชาการชาวออสเตรเลีย, Sinclair, Jacka, และ Cunningham (1996), ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเสนองานเขียนต่างๆเกี่ยวกับเรื่องของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศชายขอบทั้งหลาย อย่างเช่น อินเดีย บราซิล เม็กซิโก ตะวันออกกลาง แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อพิสูจน์ว่า ทฤษฎีจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมไม่ได้ยึดครองความจริงในทุกๆ สถานการณ์

ยกตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเม็กซิโก, Televisa ได้ผลิตรายการต่างๆประมาณ 78% และในประเทศบราซิล Globo Network ผลิตโปรแกรมต่างๆ 80% ของมันขึ้นมาเอง ซึ่งบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงและครอบงำตลาดต่างๆ ภายใน ระดับที่ไม่เท่าเทียมกับตลาดที่ใช้ภาษาอังกฤษ. แบบแผนใหม่ๆเหล่านี้ในโลกโทรทัศน์ได้รับการอธิบายโดยบรรดานักวิชาการ อย่างเช่น Straubhaar (2000) ซึ่งเสนอว่า "ความใกล้เคียงทางวัฒนธรรม", แนวคิดอันหนึ่งที่อธิบายถึงการที่"บรรดาผู้ชมทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะชื่นชอบโปรแกรมต่างๆที่ใกล้ชิดที่สุด หรือใกล้เคียงที่สุดกับวัฒนธรรมของพวกเขาเอง นั่นคือโปรแกรมของชาติ(national programming) ถ้าหากว่ามันสามารถได้รับการสนับสนุนโดยเศรษฐกิจท้องถิ่น"(p. 4), เป็นสิ่งที่รับผิดชอบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ทางด้านสื่อที่มีอิทธิพลหรือครอบงำตลาด และนั่นไม่จำเป็นต้องเป็น"ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม"

การขานรับต่อการวิจารณ์
(Responses to criticisms)
Schiller ขานรับต่อคำวิจารณ์จากผู้ให้การสนับสนุนผู้รับสารที่เป็นฝ่ายรุกในงานของเขาปี ค.ศ.1989 ว่า "Cultural, Inc."(บริษัทวัฒนธรรม) ในหนังสือเล่มดังกล่าวเขาได้ให้เหตุผล ในการอ้างอิงถึงงานเขียนของ Liebes' ว่า

แน่นอน นี่เป็นการค้นพบที่น่าพอใจและยอมรับได้สำหรับบรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย (เกี่ยวกับสาระของสื่ออเมริกัน) และคนที่บอกปัดหรือปฏิเสธอย่างแหลมคมของบรรดาคนที่ขี้วิตก ซึ่งปกป้องสนับสนุนระเบียบข่าวสารนานาชาติสมัยใหม่. ทำอย่างไรจึงจะให้กำลังใจกับคนสร้างสารทางวัฒนธรรมทั้งหลาย เพื่อเรียนรู้ว่าลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมมันไม่ได้มีอยู่! ผู้รับสารแต่ละคนต่างรับและสร้างสารของตนเองขึ้น. Liebes สรุปว่า "ไอเดียเกี่ยวกับสารของอเมริกันธรรมดาง่ายๆ ที่ยัดเยียดตัวมันเองเข้าไปสู่ผู้ดูทั่วทั้งโลกในหนทางเดียวกัน เป็นความคิดที่ไม่มีมูลหรือมีเหตุมีผลเลย"

แต่ใครล่ะเป็นผู้สร้างข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาเป็นคนแรก? การโยกย้ายคุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน มันไม่ใช่การฉีดยาเข้มหนึ่งเข้าไปในเส้นเลือดของคนๆหนึ่ง และไม่ใช่ตัวแทนคุณสมบัติดังกล่าว อันที่จริงมันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนมากที่จะวัดการยอมรับเกี่ยวกับความหมายต่างๆ เชิงโครงสร้างที่ลึกซึ้ง ซึ่งอันนี้ไม่อาจที่จะพูดออกมาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนย้ายดังกล่าวสามารถที่จะได้รับการบอกถึงจำนวนได้ไหมเกี่ยวกับภาพของผู้บริโภค

ในบทความอีกชิ้นหนึ่งเขียนโดย Schiller (1991), เขาเพิ่มเติมการตอบโต้กับบรรดานักทฤษฎีผู้รับสารที่เป็นฝ่ายรุก ด้วยการถามถึงว่า "ใครสามารถที่จะเสนอถึงการสกัดรายการโชว์ทางทีวี, ภาพยนตร์, หนังสือ, และเรื่องราววัฒนธรรมอื่นๆอีก จากสิ่งซึ่งปัจจุบันเกือบเป็นสภาวะแวดล้อมวัฒนธรรมสื่อที่ไร้ตะเข็บ และตรวจสอบพวกมันได้ สำหรับผลต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ อันนี้จะทำได้อย่างไร?(p. 24). เขาดำเนินการต่อไปด้วยการตั้งคำถามว่า, นักวิจัยสามารถที่จะกำหนดหรือระบุถึงต้นตอปัจเจกบุคคลเกี่ยวกับความคิด(ไอเดีย)อันหนึ่ง, ค่านิยม, ทัศนียภาพ, หรือปฏิกริยาได้อย่างไร?

ตามความคิดของ Schiller การขานรับหรือโต้ตอบของปัจเจกบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ในละครโทรทัศน์เรื่อง "Dallas" อาจเป็นผลลัพธ์เนื่องมาจาก"ภาพที่ลืมเลือนไปครึ่งหนึ่งจากการเผชิญหน้ารอบๆตัวต่างๆโหลหนึ่ง ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทางวัฒนธรรม"(p. 24)

การประเมินคุณค่าเกี่ยวกับการวิจารณ์ และการขานรับต่างๆของบรรดานักทฤษฎี
(An evaluation of the criticism and the theoretician's response)
เจตนาของการนำเสนอคำนิยามอันหลากหลายเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงลำดับการณ์ของความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว บางคนอาจให้เหตุผลว่า ความหลากหลายอันนี้เป็นสิ่งที่ดี ดังที่บรรดานักวิชาการทั้งหลายได้ให้ความสนใจในลัทธิจักรวรรดินิยมเหมือนๆกัน แต่ก็มีความรู้ในใจตนแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ก็เข้าใจกันและกันเกี่ยวกับศัพท์คำดังกล่าวอย่างหลายหลาก

สำหรับบรรดานักวิชาการและนักศึกษาที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้เป็นครั้งแรก และให้ความสนใจในการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับมัน นิยามความหมายอันหลากหลายเหล่านี้เกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว อาจได้รับการตีความในฐานะที่เป็นเรื่องที่ไม่เห็นสอดคล้องต้องกัน และค่อนข้างสับสนท่ามกลางนักทฤษฎีทั้งหลาย

Potter (1996) ได้เสนอการจำแนกประเภทในงานวิเคราะห์ของเขา เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพเอาไว้. นิยามต่างๆ ดังที่เขาอ้าง, สามารถให้ความหมายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม นั่นคือมีลักษณะที่แย้งกันอยู่, และมีลักษณะที่เป็นส่วนเสริมกัน, นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่เป็นขบวนการ และมีลักษณะที่เป็นผลิตผล. การใช้วิธีการเดียวกัน ในการวิเคราะห์นิยามความหมายลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เราจะต้องตระหนักว่า บรรดานักทฤษฎีลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ได้นำเสนอประเภทของคำนิยามแตกต่าง ซึ่งมันมีผลต่อความกว้างขวางของแนวคิดดังกล่าวในการตีความที่แตกต่าง มากกว่าที่จะไปจำกัดเกี่ยวกับนิยามความหมายของมันสู่การตีความที่ถูกต้องเที่ยงตรง

การตีความที่แตกต่างกันเหล่านี้เกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าว สามารถได้รับการให้เหตุผลบนข้อเท็จจริงที่ว่า สกุลความคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการประกอบสร้างทางทฤษฎี มีพื้นฐานอยู่บนข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับภววิทยาในเรื่องธรรมชาติของความเป็นจริง ที่ยอมรับหรือเห็นคุณค่าเกี่ยวกับการมีอยู่ของความจริงอันหลากหลาย เช่นเดียวกับวิธีการหลักธรรมชาติและหลักคุณภาพ ซึ่งให้การยกย่องความหลากหลายและความแตกต่างในการตีความ

แต่เราไม่สามารถที่จะใส่ร้ายป้ายสีลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมได้ เนื่องมาจากการที่มันขาดเสียซึ่งความแน่นอนเที่ยงตรงในการนิยามความหมายเพียงเท่านั้น เราจะต้องยอมรับและเห็นคุณค่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมสำหรับสิ่งที่มันเป็น - ในฐานะทฤษฎีวิพากษ์อันหนึ่ง; และดังที่ Littlejohn (1999) ได้ให้เหตุผลไว้ว่า "บรรดาทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทั้งหลาย ประกอบด้วยการรวมตัวกันทางความคิดอย่างหลวมๆ ที่ยึดถือร่วมกันโดยผลประโยชน์ร่วมในเรื่องคุณภาพของการสื่อสารและชีวิตมนุษย์"(p. 15)

ด้วยเหตุที่ ทฤษฎีวิพากษ์ทั้งหลายได้ปฏิบัติการในระดับที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีลักษณะชี้เฉพาะน้อย มากกว่าในระดับที่แคบๆ. ดังนั้น ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม(cultural imperialism)จึงโฟกัสลงบนประเด็นทางวัฒนธรรมที่กว้างๆ และไม่ค่อยชัดเจนนัก เกี่ยวกับสื่อข้ามชาติและเศรษฐกิจการเมือง ขณะที่ทฤษฎีผู้รับสารที่เป็นฝ่ายรุก(active audience theory) จะโฟกัสลงบนสมาชิกซึ่งเป็นผู้รับสารแต่ละปัจเจกบุคคล

เราน่าจะบันทึกลงไปด้วยว่า นี่เป็นหนึ่งในหลักฐานข้อเสนอพื้นฐานเกี่ยวกับข้อถกเถียงที่ว่า นักทฤษฎีลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ได้ใช้ประโยชน์มันในการปกป้องทฤษฎีดังกล่าว. Schiller ในการโต้ตอบกับผู้ให้การสนับสนุนผู้รับสารที่เป็นฝ่ายรุก ได้ให้การยืนยันว่า บรรดานักวิจัยเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้วกำลังพยายามที่จะประยุกต์ใช้ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมในระดับที่กว้าง ไปใช้กับสมาชิกผู้รับสารแต่ละปัจเจก และทฤษฎีดังกล่าวไม่ได้พยายามที่จะอธิบายมัน ทฤษฎีดังกล่าวได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในระดับที่กว้างขวาง อย่างเช่น การไหลเลื่อนของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆ. นอกจากนี้ Schiller ยังวิจารณ์ระเบียบวิธีของบรรดานักวิจัยผู้รับสารเชิงรุกด้วย

อย่างชัดเจน ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมไม่สามารถถูกศึกษาจากมุมมองหรือทัศนียภาพเชิงปริมาณแบบปฏิฐานนิยมอันบริสุทธิ์. โดยนัยะในการวิจารณ์ของเขา ดังที่อ้างแล้วมาแต่ต้น คือความคิดหนึ่งที่ว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมเป็นกระบวนการระยะยาวอันหนึ่ง และด้วยเหตุนี้มันจึงไม่สามารถที่จะถูกวิเคราะห์ได้ด้วยการวิเคราะห์ต่างๆเพียงครั้งเดียว. ในการตรวจสอบเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ต้องการการวิเคราะห์ตามแนวนอนด้วยกลุ่มผู้รับสื่อต่างๆ. แต่การศึกษาดังกล่าวที่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบทฤษฎีดังกล่าว ได้ใช้วิธีการเชิงปริมาณและคุณภาพ กับการศึกษาบางอย่างที่ได้ใช้รูปลักษณ์อันหนึ่งของวิธีการต่างๆ. อันนี้น้อมนำเราไปสู่การวิเคราะห์เกี่ยวกับวรรณคดีลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม (the cultural imperialism literature)

การประเมินคุณค่าเกี่ยวกับการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบทฤษฎี
(An evaluation of the set of empirical studies designed to test the theory)
บรรดานักวิจัยทั้งหลาย ซึ่งได้เขียนเรื่องนี้มาจากมุมมองของทฤษฎีวิพากษ์ เช่นเดียวกับมุมมองของสังคมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเพื่อทดสอบเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ดังเช่น Ware และ Dupagne (1994) ชี้เอาไว้ "ในช่วงปลายศตวรรษ 1985-1995, จำนวนมากของการศึกษาในเชิงปริมาณและคุณภาพเกี่ยวกับผลกระทบของโทรทัศน์อเมริกัน ซึ่งมีต่อผู้รับต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นเต้นและกระทันหัน" (p. 947). ผลกระทบของโทรทัศนที่มีต่อผู้รับที่เป็นชาวต่างประเทศ ได้ถูกใช้ในฐานะที่เป็นบททดสอบหนึ่ง สำหรับงานความรู้เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

ขนาดของวรรณคดี (Size of literature)
ในการกำหนดขนาดของวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม คำค้นต่างๆที่ใช้ในการสำรวจตรวจตราบนแคตตาล็อกของห้องสมุดออนไลน์ และดัชนีอิเล็คทรอนิกของชุดการสื่อสารต่างๆ หรือที่เรียกว่า Comindex - [คอมอินเด็กซ์] ก็คือคำว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม"(cultural imperialism) และ "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ"(media imperialism) ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจคำสำคัญที่ถูกใช้เพื่อค้นหาเรื่องราวหรือผลงานทางวิชาการแนวนี้

จากการค้นคว้านิตยสารต่างๆทางการสื่อสาร 94 ฉบับเกี่ยวกับคอมอินเด็กซ์ ค้นพบบทความ 13 เรื่องที่ปรากฏว่ามีคำเหล่านี้ในชื่อเรื่องของบทความเหล่านั้น. ส่วนบทความทั้งหลายที่ใช้คำว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม"(cultural imperialism) กับพื้นที่ต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสื่อได้ถูกละเลย. ในการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลอันหนึ่งเกี่ยวกับรายชื่อหนังสืออ้างอิง ซึ่งค้นพบได้ที่ข้างท้ายของบทความที่ได้รับการศึกษา และผลงานเหล่านั้นมีคำกุญแจต่างๆในชื่อเรื่องของพวกมัน ซึ่งได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นวรรณคดีที่เกี่ยวพันกับทฤษฎีนี้.

แหล่งต้นตอเหล่านี้ไม่ได้ละเอียดถี่ถ้วน แต่อย่างไรก็ตามรายชื่อหนังสือที่นำมาศึกษาก็เป็นตัวแทน หรือต้นตอที่สำคัญที่ได้รับการอ้างอิงบ่อยครั้งมากในวรรณคดี. จำนวนนิตยสาร 27 ฉบับและหนังสืออีก 14 เล่ม ได้กล่าวถึงลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม จากมุมมองของสื่อที่ถูกค้นพบ จริงๆ ทั้งหมดมากกว่า 40 ชิ้นผลงาน

ระดับและคุณภาพของการสนับสนุนเชิงประจักษ์
(Degree and quality of empirical support)
การศึกษาต่างๆที่พบในการค้นหาทางวรรณคดี มีแนวโน้มที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวและข้อบกพร่องของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม โดยการวิจัยที่โต้แย้งหักล้างข้อเสนอของทฤษฎี. บรรดานักวิจัยทั้งหลายต่างปฏิเสธความคิดที่สมคบกันหรือร่วมสนับสนุนเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อของ Schiller โดยการให้เหตุผลว่า เศรษฐศาสตร์, ความชื่นชอบของผู้รับสาร, นโยบายรัฐบาล, และเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างก็เป็นสื่อกลางสำคัญ หรือการเปลี่ยนแปลงที่อธิบายถึงธรรมชาติและทิศทางของการไหลเลื่อน เกี่ยวกับโปรแกรมรายการนานาชาติ (Ware and Dupagne, 1994, p. 947)

การวิจัยเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม รวมถึง: การวิเคราะห์ในด้านเนื้อหาของโปรแกรมรายการสื่อในประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ (ยกตัวอย่างเช่น Sengupta และ Frith, 1997); การวิจัยเกี่ยวกับผลของการข้ามผ่านทางวัฒนธรรม เดิมทีซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการสำรวจต่างๆ เน้นความมีเหตุผลภายนอก ผ่านการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจำนวนมาก มากกว่า"คำอธิบายอันยืดยาว"เกี่ยวกับปรากฏการณ์ภายใต้การศึกษา (ยกตัวอย่างเช่น Brown, 1995); และการวิเคราะห์ที่ยอมรับกันทางด้านการข้ามผ่านวัฒนธรรม ซึ่งแรกทีเดียวมีพื้นฐานอยู่บนการสัมภาษณ์เชิงลึกต่างๆ และการวิเคราะห์เชิงวาทกรรม ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของบริบท, เงื่อนไขในด้านแง่มุมต่างๆที่หลากหลาย ซึ่งมีอิทธิพลต่อบรรดาผู้ดูที่มีปฏิกริยาต่อการรับความหมายมาจากสารต่างๆของรายการโทรทัศน์ (ยกตัวอย่างเช่น Liebes และ Katz, 1990)

ส่วนนักวิชาการคนอื่นๆ ได้รวบรวมบทความทางวิชาการจากนักเขียนหลายคน ที่วิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ ในอุตสาหกรรมสื่อในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ (ยกตัวอย่างเช่น Sinclair, Jacka, และ Cunningham, 1996). กระทั่งขณะนี้ คนอื่นๆยังคงวิเคราะห์ในระดับลึกลงไปเกี่ยวกับการศึกษาถึงผลกระทบของโทรทัศน์ต่างประเทศ ซึ่งมีต่อผู้รับสารท้องถิ่น โดยใช้ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นกรอบโครงสำหรับการวิเคราะห์การศึกษาอย่างหลากหลาย (ยกตัวอย่างเช่น Ware and Dupagne, 1994)

Elasmar and Hunter (1997) ด้วยเช่นกันที่ได้ทำการวิเคราะห์ในระดับลึกเกี่ยวกับผลกระทบของโทรทัศน์ต่างประเทศ ซึ่งมีต่อบรรดาผู้รับสารภายในประเทศ. แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เหมือนกับ Ware และ Dupagne, พวกเขาไม่ได้ใช้ทฤษฎีเดียวโดดๆ สำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างของพวกเขาเกี่ยวกับงานศึกษา 177 ชิ้นซึ่งกระทำในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1965 ถึง 1994. ทฤษฎีดังกล่าวถูกใช้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ของพวกเขาแทน โดยเขาได้บันทึกว่า ทฤษฎีนั้นได้ถูกใช้เป็นภูมิหลังหรือฐานความรู้สำหรับโครงการวิจัยบางโครงการอย่างไร. พวกเขาพบว่ามีเพียง 11% เท่านั้นในงานศึกษา 117 ชิ้น ที่ได้นำเอาลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมมาใช้ ในฐานะที่เป็นทฤษฎีหนึ่งสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของสื่อจากต่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อผู้รับสารท้องถิ่น

ที่น่าสนใจคือ การศึกษาส่วนใหญ่จะโฟกัสแคบลงไปบนผลกระทบต่างๆของโทรทัศน์ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโปรแกรมรายการของสหรัฐอมริกา ซึ่งมีต่อบรรดาผู้รับสารท้องถิ่นในฐานะที่เป็นการทดสอบในเชิงประจักษ์อันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม (Land, 1992; Ware and Dupagne, 1994; Elasmar and Hunter, 1997). Ware และ Dupagne ชี้ว่า เพื่อที่จะปฏิบัติการกับการทดสอบอันนั้น บรรดานักวิจัยทั้งหลายโดยทั่วไปจะใช้

(1) การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
(2) การวิเคราะห์เชิงประจักษ์ในระดับกว้าง(macro) (นั่นคือ ระดับประเทศ) หรือ
(3) การวิเคราะห์เชิงประจักษ์ในระดับที่เล็กมาก(micro) (นั่นคือ ทำกับปัจเจกบุคคล)" (p. 947)

การไหลบ่าของข่าวสารสากล(ระหว่างประเทศ) หรือข่าวต่างประเทศระหว่างประชาชาติต่างๆ ก็เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่บรรดานักวิชาการทั้งหลาย พยายามที่จะอธิบายการใช้กรอบโครงของลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม (Meyer, 1988). ส่วนรูปแบบอื่นๆของสื่อ อย่างเช่น วิทยุและสิ่งพิมพ์ ปรกติแล้วจะถูกละเลยและไม่ได้ให้ความสนใจ. Laing (1986) ยอมรับอันนี้เมื่อเขาทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับดนตรี โดยการใช้มุมมองเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม

จากงานศึกษาเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไปได้ง่ายที่ใครสักคนอาจจะสรุปแบบเข้าใจผิดว่า ผลงานที่มีมากจนเกินไปเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม หมายความชัดว่ามันมีข้อสนับสนุนในเชิงประจักษ์สำหรับทฤษฎี. แต่การอ่านอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับวรรณกรรมส่วนใหญ่จะเผยให้เห็นว่า มันไม่ได้มีข้อสนับสนุนในเชิงประจักษ์มากมายนักในเรื่องของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม เพราะส่วนใหญ่ของงานวิจัยไม่ได้สนับสนุนการวิจัยดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจว่านี่คือกรณีตัวอย่างดังกล่าว

การขาดเสียซึ่งข้อสนับสนุนในเชิงประจักษ์นี้ ได้รับการคาดหวังอย่างชัดเจน ดังที่บรราดนักวิจัยจำนวนมากมิได้ดำเนินรอยตามชุดข้อเสนอที่ชัดเจนเที่ยงตรงเกี่ยวกับแนวคิดที่จำเพาะลงไป ในขณะที่ได้มีการออกแบบบททดสอบในเชิงประจักษ์ของพวกเขา. ตามข้อเท็จจริง มันไม่มีแบบจำลองใดๆให้ปฏิบัติหรือดำเนินตาม. อย่างดีที่สุด บรรดานักวิจัยทั้งหลายจะวางพื้นฐานผลงานของพวกเขาลงบนการตีความด้วยตัวของพวกเขาเอง เกี่ยวกับความหมายที่นำมาอ้างอย่างหลากหลายเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
คำถามก็คือ ถ้าเป็นเช่นนั้นพวกเขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่า พวกเขากำลังตรวจวัดหรือทำการศึกษาปรากฎการณ์อันเดียวกัน เมื่อบรรดานักวิจัยแต่ละคนเกือบทั้งหมด ได้พัฒนาคำจำกัดความของพวกเขาขึ้นมาเอง และตีความเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมกันไปตามความเข้าใจส่วนตัว?

การเปรียบเทียบทฤษฎีจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม กับทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อมวลชนต่างๆ
(A comparison of cultural imperialism theory and other theories of mass media)
Baran and Davis (2000) ได้ให้ภาพกว้างเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ชี้ว่า บรรดาทฤษฎีเหล่านี้สามารถที่จะได้รับการจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทกว้างๆ ดังนี้ :

1. ทฤษฎีต่างๆในระดับจุลภาคที่โฟกัสลงบนชีวิตประจำวันของผู้คนโดยเฉลี่ยทั่วๆไป ซึ่งครอบครองความสามารถที่จะจัดการกับข้อมูลข่าวสาร - ยกตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์และความพอใจต่างๆ, ทฤษฎีผู้รับสารที่ฝ่ายรุก, และการศึกษาเกี่ยวกับการยอมรับ/การตอบรับ

2. ทฤษฎีระดับกลาง ที่สนับสนุนมุมมองเกี่ยวกับผลที่มีจำกัดของสื่อต่างๆ โดยการอธิบายถึงขอบเขตแคบๆของการกระทำ - ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการไหลเลื่อนของข้อมูลข่าวสาร(information flow theory), ทฤษฎีการแพร่กระจาย(diffusion theory), และทฤษฎีสื่อบันเทิง(mass entertainment theory);

3. ทฤษฎีต่างๆในระดับจุลภาค ซึ่งเพียงเอาใจใส่เกี่ยวกับบทบาททางสังคมของสื่อ และผลกระทบของพวกมันที่มีต่อวัฒนธรรมและสังคม - ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการศึกษาวัฒนธรรม(cultural studies theory), การประกอบสร้างทางสังคมเกี่ยวกับความเป็นจริง(social construction of reality) และลัทธินีโอมาร์กซิสม์

ในการจำแนกประเภททฤษฎีสื่อมวลชนต่างๆ ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมจัดอยู่ในประเภทของทฤษฎีต่างๆในระดับจุลภาค ซึ่งมันพยายามที่จะนำเสนอคำอธิบายอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับบทบาทของสื่อ ในการแลกเปลี่ยนทางด้านข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ และผลกระทบที่ตามมาของสื่อที่มีต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศทั้งหลายเหล่านั้น. ขณะที่ในแต่ละประเภทของทฤษฎีก็โฟกัสไปที่เรื่องราวที่แตกต่างกัน กาเปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพอันหนึ่งสามารถที่จะทำให้สัมฤทธิผลได้โดย การเปรียบเทียบลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม กับ ทฤษฎีเหล่านั้นซึ่งได้โฟกัสหรือสนใจลงไปในเรื่องเดียวกัน

บรรทัดฐานสำหรับทฤษฎีการประเมินผล - ขอบเขต(scope), ความแน่นอนเที่ยงตรง(precision), ความสามารถในการทดสอบ(testability) และประโยชน์ที่ได้รับ(utility) - ได้ถูกนำมาใช้ในการเปรียบเทียบตามมาของลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม และทฤษฎีในระดับจุลภาคอื่นๆ. บรรทัดฐานเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอเพื่อการประเมินผลส่วนใหญ่กับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ส่วนมากแล้วได้รับการพิจารณาว่าเป็นทฤษฎีวิพากษ์อันหนึ่ง แต่บรรทัดฐานเหล่านี้ยังสามารถที่จะถูกนำมาใช้ได้ในฐานะที่เป็นลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกประยุกต์ในการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์. การใช้บรรทัดฐานเหล่านี้ เราสามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมจึงรับภาระต่อการวิพากษ์วิจารณ์

ถึงแม้ว่าทฤษฎีดังกล่าว(อันนี้ถกเถียงกันได้)จะมีขอบเขตกว้าง ดังที่มันพยายามที่จะครอบคลุมปรากฏการณ์จำนวนมากซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างประเทศ แต่ในเรื่องดังกล่าวนี้ กลับเป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวหรือความบกพร่องของทฤษฎี. ตามความคิดของ Fejes (1981) ทฤษฎีดังกล่าวเกือบจะเป็น"แนวความคิดปลอมๆ(pseudo-concept), บางสิ่งบางอย่างซึ่งสามารถที่จะถูกใช้เพื่ออธิบายทุกๆสิ่งได้ทั่วๆไป เกี่ยวกับสื่อในประเทศกำลังพัฒนา และด้วยเหตุดังนั้นจึง ไม่มีอะไรในลักษณะที่เป็นเรื่องราวเฉพาะ"(p. 282)

ยิ่งไปกว่านั้น มันยังถูกทำให้สลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีกโดยข้อเท็จจริงที่ว่า ทฤษฎีดังกล่าวขาดเสียซึ่งการประกอบสร้างทางความคิดและข้อเสนอที่ชัดเจนและแน่นอน ซึ่งได้ทำให้มันเป็นที่ท้าทายแต่อย่างใดต่อการทดสอบในเชิงทฤษฎี. ด้วยความไม่เพียงพอต่างๆเหล่านี้เกี่ยวกับความเที่ยงตรงแน่นอนและความสามารถในการทดสอบ เราจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า ทฤษฎีดังกล่าวไม่ค่อยจะมีประโยชน์มากนักเช่นกัน อย่างดีที่สุด ทฤษฎีนี้เป็นเพียงการทำหน้าที่อธิบายและไม่ค่อยมีอำนาจการอธิบายมากนัก อีกทั้งไม่ค่อยจะมีพลังในการคาดการณ์

ขอบเขต (Scope)
เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีในระดับกว้างอื่นๆ เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน เราอาจสรุปว่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม มีขอบเขตที่กว้างขวางอันหนึ่ง มันให้กำเนิดวาทกรรมและคำอธิบายทางวิชาการเป็นจำนวนมาก มันได้ถูกนำไปใช้ไม่เพียงในขอบเขตความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังถูกนำไปใช้ในพื้นที่ทางความรู้ด้านอื่นๆ ด้วย อย่างเช่นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, มานุษยวิทยา, การศึกษา, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, วรรณคดี, และกีฬา. แต่อันนี้ไม่เป็นหลักฐานหรือพยานเพียงพอที่จะมาสนับสนุนทัศนะที่ว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมมีขอบเขตที่กว้างขวาง

คล้ายกับลัทธินีโอมาร์กซิสม์ ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมมีลักษณะที่จำเพาะมากในเรื่องของช่วงเวลาซึ่งมันได้รับการนำเสนอขึ้นมา. นีโอมาร์กซิสม์ของแฟรงค์เฟริทสคูลเป็นตัวอย่าง ได้เสนอคำอธิบายและคำวิจารณ์เกี่ยวกับสังคมและสื่อต่างๆ ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่ง นั่นคือช่วงต้นทศวรรษที่ 1900s ซึ่งมันได้ถูกเสนอขึ้นมา. ส่วนลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน เป็นไปได้ที่จะปฏิบัติการได้ในช่วงเวลาที่มันถูกนำเสนอ นั่นคือราวทศวรรษที่ 1970s; ด้วยการกำเนิดขึ้นมาของเทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งยินยอมให้กับทิศทางอันหลากหลาย ที่ค้านกับการไหลเลื่อนแบบช่องทางเดียวของข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ, ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมไม่ได้เป็นกรอบโครงที่เป็นประโยชน์ต่อไปอีกแล้ว สำหรับการอธิบายปรากฏการณ์ในอย่างเดียวกันที่ได้รับการนำมาประยุกตใช้กันในช่วงทศวรรษที่ 1970s

ในความหมายหรือแนวทางอันนี้ มันจึงมีขอบเขตที่จำกัดดังที่ทษฎีดังกล่าวไม่สามารถถูกนำไปใช้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ทางด้านสื่อต่างๆ ระหว่างประเทศซึ่งมีประเด็นที่แตกต่างกันในเรื่องของเวลา. แม้ว่าบางคนอาจถกเถียงว่า ทฤษฎีนี้ยังคงสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์บางอย่างในทุกวันนี้อยู่ ดังที่สื่อต่างๆของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย แม้กระทั่งปัจจุบัน ยังคงถูกครอบงำหรือได้รับอิทธิพลจากบรรษัทสื่อข้ามชาติของตะวันตกทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่อาจใช้การได้ในทุกๆ สถานการณ์

มีประเทศชายขอบต่างๆ อย่างเช่น บราซิล, อินเดีย, เม็กซิโก (Sinclair, Jacka, and Cunningham, 1996) ซึ่งมีสื่อต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกครอบงำโดยองค์กรสื่อต่างประเทศทั้งหลาย. อีกคำรบหนึ่ง อันนี้พิสูจน์ว่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมไม่ได้มีขอบเขตกว้างขวาง. ทฤษฎีในระดับกว้างอื่นๆ อย่างเช่น ลัทธิปฏิสัมพันธ์นิยมเชิงสัญลักษณ์(symbolic interactionism) และการประกอบสร้างทางสังคมเกี่ยวกับความเป็นจริง(social construction of reality) มีขอบเขตที่กว้างกว่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ดังที่พวกมันสามารถที่จะถูกประยุกต์ใช้ในช่วงเวลาที่แตกต่าง และข้ามผ่านฉากวัฒนธรรมต่างๆที่หลากหลาย ด้วยพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่าง เพื่ออรรถาธิบายและแจกแจงถึงสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยเฉพาะที่สร้างความหมายและในท้ายที่สุด วัฒนธรรมพวกนั้น โดยผ่านการใช้ประโยชน์ของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ

ความแน่นอน (Precision)
ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมไม่ค่อยมีความแน่นอนเที่ยงตรงนัก เมื่อเทียบกับทฤษฎีอื่นๆในด้านสื่อสารมวลชน การสร้างทฤษฎีได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นข้อสรุปหรือหลักเกณฑ์เบื้องต้น นั่นคือ พวกมันได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นความเข้าใจร่วมกันเท่านั้น(Chaffee, 1991, p. 7). ข้อเสนอดังกล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีซึ่งสื่อต่างๆของประเทศหนึ่ง ครอบงำหรือมีอิทธิพลกับอีกประเทศหนึ่ง สามารถได้รับการตีความในฐานะที่เป็นปฏิบัติการในทิศทางบางอย่างเกี่ยวกับอิทธิพลที่มีนัยะ - การไหลเลื่อนของข้อมูลข่าวสารเป็นไปในลักษณะทิศทางเดียวจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศต่อไป

แต่การไหลเลื่อนในลักษณะทางเดียวของข้อมูลข่าวสารนี้ มันไม่ได้มีอทธิพลเด่นชัดอีกต่อไปแล้วเท่ากับเทคโนโลยีต่างๆที่ก้าวหน้า ซึ่งมีผลกระทบต่อการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร. ด้วยเหตุดังนั้น ข้อเสนอของทฤษฎีดังกล่าวจึงต้องการการให้นิยามความหมายใหม่กันอีกครั้ง

ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมได้ถูกนิยามความหมายอย่างหลวมๆ เพื่อรับใช้หรือบริการความต้องการตามวัตถุประสงค์ของนักวิชาการหลายหลาก ซึ่งได้ใช้ประโยชน์มันในฐานะที่เป็นกรอบโครงร่างอันหนึ่งสำหรับงานวิจัยของพวกเขา. คล้ายคลึงกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ของทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในระดับกว้างทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีในเชิงวิพากษ์ ขาดเสียซึ่งนิยามความหมายต่างๆที่แน่นอนเที่ยงตรง แต่อย่างไรก็ตาม เราจะต้องตระหนักว่าอันนี้คือแบบฉบับของทฤษฎีวิพากษ์ต่างๆเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน

หนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับลัทธินีโอมาร์กซิสม์, Theodor Adorno ที่จริงแล้วรู้สึกว่า โดยนิยามความหมายที่มั่นคงต่างๆ, "ความคิดที่เกี่ยวเนื่องกันกับความคิดแบบจารีต; สิ่งต่างๆที่ได้มีการรวบรวมเป็นระบบไปตามแนวคิดที่ตายตัวทั้งหลาย เป็นสิ่งที่แปลกแยกจากความคิดวิภาษวิธี"(Tar, 1977, p. 156). ขณะที่ความคิดชนิดนี้อาจเป็นคุณลักษณ์เฉพาะของทฤษฎีวิพากษ์ต่างๆ, การขาดเสียซึ่งความแน่นอนไม่ได้ช่วยในการสร้างทฤษฎี. โดยไม่มีความแน่นอนและแจ้งชัดในสิ่งซึ่งเรากำลังพูดถึง มันจะเพียงน้อมนำไปสู่ความพยายามทางวิชาการอันไร้ประโยชน์. ความพยายามบากบั่นทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างความรู้ต่อๆไป - เป้าหมายดังกล่าวของศาสตร์ - กลายเป็นการสนทนาที่สับสนซึ่งไกลห่างจากความก้าวหน้า

ถ้าวาทกรรมหรือคำอธิบายท่ามกลางนักวิจัยทั้งหลายในสนามความรู้นี้ ต้องการที่จะผลิดอกออกผล บรรดาผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ก็จะต้องยึดมั่นต่อแบบจำลองอันหนึ่งสำหรับประยุกตใช้กับทฤษฎีดังกล่าว. โดยการกระทำนี้ ความพยายามอย่างหนักก็จะถูกทำให้ปลอดภัยจากการถกเถียงในเรื่องของนิยามความหมายต่างๆ และความสนใจมากขึ้น ก็สามารถที่จะมีให้กับแก่นแท้และพยานหลักฐานอันเป็นผลผลิตของการวิจัย

ความสามารถในการทดสอบได้ (Testability)
พื้นฐานที่ตั้งอยู่บนการขาดเสียซึ่งความแน่นอนทางด้านทฤษฎี เราอาจแย้งหรือให้เหตุผลได้ว่า ทฤษฎีดังกล่าวไม่อาจทดสอบได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยินยอมต่อการทดสอบคล้ายทฤษฎีอื่นๆทางด้านการสื่อสารมวลชน. นักวิจัยบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดานักวิชาการในเชิงปริมาณ อันที่จริงมีการปฏิบัติกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ในการเสนอแนะที่ว่า การดำรงอยู่ของลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมสามารถที่จะได้รับการกำหนดตัดสินได้โดย

(1). การไหลเลื่อนในทิศทางเดียวของข้อมูลข่าวสาร และ
(2). ประเทศที่เป็นต้นทางจำนวนไม่มากนัก สำหรับผลผลิตต่างๆทางด้านสื่อ

ตามข้อเท็จจริง Boyd-Barrett (1977) ได้นำเสนอนิยามความหมายอันหนึ่งที่ค่อนข้างมีส่วนช่วยส่งเสริมการทดสอบในเชิงประจักษ์มากกว่าคนอื่นๆ ในเชิงระบบคิดอันเป็นนิยามความหมายพื้นฐานของลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม. ในความเข้าใจข้างต้น เราสามารถคิดถึงหนทางต่างๆซึ่งสามารถทดสอบทฤษฎีดังกล่าว และได้รับการนำเสนอหรืออธิบายมาแล้วในช่วงต้นของบทความชิ้นนี้ แม้ว่าทฤษฎีดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในเชิงวิพากษ์ แต่การทดสอบในเชิงปริมาณได้ถูกนำมาใช้เพื่อโต้แย้ง/หักล้างข้อเสนอต่างๆของทฤษฎี.

ทฤษฎีวิพากษ์อื่นๆ อย่างเช่น นีโอมาร์กซิสม์ ไม่ได้ถูกครอบงำโดยการทดสอบทางด้านสังคมศาสตร์ และการทดสอบในเชิงปริมาณ. ด้วยเหตุนี้ ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมจึงสามารถได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นทฤษฎีกว้างๆ ที่ทดสอบได้ง่ายมาก โดยไม่คำนึงถึงการขาดเสียซึ่งแนวคิดที่ชัดเจนแจ่มแจ้งของมัน

ประโยชน์ (Utility)
พื้นฐานที่วางอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมมีขอบเขตที่ต่ำและความแน่นอนต่ำ ดังนั้นทฤษฎีดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก. วัตถุประสงค์ของทฤษฎีไม่ใช่เพียงเพื่อที่จะอธิบาย แต่ยังต้องคาดการณ์, ควบคุม, และชี้แจงปรากฏการณ์ได้ด้วย. วัตถุประสงค์มากมายต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการทำให้บรรลุผลโดยทฤษฎี ประโยชน์มากมายทฤษฎีดังกล่าวจะต้องเอื้อ. แม้ว่าลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมได้ถูกนำไปใช้ในหลายๆ สาขาวิชาในฐานะที่เป็นกรอบโครงอันหนึ่งสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ แต่ทฤษฎีดังกล่าวเพียงปฏิบัติการ ณ ระดับของคำอธิบาย และไม่ค่อยมีพลังในการอธิบายหรือพลังคาดการณ์มากนัก

แน่นอน เราอาจโต้แย้งว่า เหตุผลที่ว่าทำไม ลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆทางความรู้มากมายนัก ก็เพราะทฤษฎีนี้ - ในเชิงเปรียบเทียบกับทฤษฎีกว้างๆอื่นๆ อย่างเช่น นีโอมาร์กซิสม์และการประกอบสร้างทางสังคมเกี่ยวกับความจริง - เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในความหมายที่ว่า ข้อเสนอหลักของมันที่ว่า สื่อต่างๆจากชาติตะวันตกมีอิทธิพลครอบงำสื่อในประเทศโลกที่สาม อันนี้เป็นเรื่องง่ายต่อความเข้าใจ ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้อธิบายว่า ทำไมวัฒนธรรมต่างๆของสังคมโลกที่สามบางที่ ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมต่างๆของโลกตะวันตก

ในขณะที่อันนี้อาจเป็นเรื่องจริง เราจะต้องอ่านระหว่างบรรทัด และตีความสิ่งที่บรรดานักทฤษฎีทั้งหลายกำลังพยายามจะพูด เช่นดังในวรรณกรรมส่วนใหญ่ นักทฤษฎีทั้งหลายผูกพันกับข้อถกเถียงเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และวาทศิลป์ต่างๆ. เราแทบจะไม่พบนักเขียนแนวลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ได้วางเค้าโครงในทุกๆ แง่มุมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในลักษณะที่ชัดเจน ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวพยายามที่จะอธิบาย

ทฤษฎีหนึ่งที่ถูกเข้าใจว่าเป็นทฤษฎีที่ดี จะต้องครอบครองส่วนต่างๆ ที่เป็นรากฐานบางอย่างซึ่งรวมเอาแนวคิดที่สาธยายออกมาอย่างชัดเจน; พจนานุกรมเกี่ยวกับคำจำกัดความต่างๆ สำหรับนิยามความหมายอันหลากหลาย; อย่างน้อยที่สุด ข้อเสนอหนึ่งที่ชี้เฉพาะความสัมพันธ์ในท่ามกลางนิยามความหมายต่างๆ; เกี่ยวกับส่วนต่างๆที่หลากหลายเหล่านี้ทั้งหมด ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเพียงบรรจุแนวคิดทั้งหลายที่ถูกให้นิยามอย่างคลุมเครือ และข้อเสนออันหนึ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เด่นชัดขึ้นมา หลังจากการวิเคราะห์งานเขียนต่างๆ ของบรรดานักทฤษฎีทั้งหลายแล้วเท่านั้น

สรุป (Conclusion)
ทฤษฎีเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1970s เพื่ออธิบายสถานการณ์ทางด้านสื่อดังที่มันดำรงอยู่ในช่วงเวลานั้น. ธรรมชาติของสื่อ (เช่น สิ่งพิมพ์, วิทยุ, และโทรทัศน์) ในช่วงเวลาดังกล่าว กระตุ้นสนับสนุนระบบการสื่อสารทางเดียว, ระบบการถ่ายทอดจากบนลงล่าง จากประเทศที่ทรงอิทธิพลสู่ประเทศที่ได้รับอิทธิพล ซึ่งในเชิงทฤษฎีได้ให้กำเนิดผู้รับสารที่เป็นฝ่ายยอมจำนน และสื่ออันทรงพลัง (Sengupta และ Frith, 1997)

สื่อที่ก้าวหน้า ซึ่งกำลังกลายเป็นสิ่งที่ใช้การได้อย่างกว้างขวาง ในรูปลักษณ์ของการสื่อสารทางไกล(telecommunication), คอมพิวเตอร์ต่างๆ, และเทคโนโลยีดาวเทียม, ได้จัดหาหรือนำเสนอปฏิกริยาที่มีต่อกันอันยิ่งใหญ่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มากกว่าที่เคยเป็นไปได้มาก่อน. ด้วยเหตุดังนั้น ข้อถกเถียงเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม ที่ได้รับการวางกรอบในเทอมต่างๆเกี่ยวกับประเทศศูนย์กลาง ด้วยพลังอำนาจที่เหนือกว่าประเทศชายขอบซึ่งมีอำนาจน้อยกว่า จักต้องถูกประเมินคุณค่ากันใหม่อีกครั้ง ดังที่สื่อที่ก้าวหน้ากำลังแทงทะลุหรือสอดแทรกเข้าไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายช้าลง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก : นิยามความหมาย "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม"
1. Schiller (1997): "แนวความคิดเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมวัฒนธรรมทุกวันนี้ (1979) อธิบายได้ดีที่สุดถึงสาระสำคัญของกระบวนการต่างๆ ซึ่งสังคมหนึ่งได้รับการนำพาไปสู่ระบบโลกใหม่ และระดับการครอบงำของมันเป็นที่ดึงดูดใจ, กดดัน, บีบบังคับ, และบางครั้งล่อลวงสู่การกำนดรูปร่างสถาบันต่างๆทางสังคมให้ลงรอยสอดคล้องกันกับ / หรือกระทั่งส่งเสริม ค่านิยมต่างๆและโครงสร้างของศูนย์กลางการครอบงำของระบบดังกล่าว.

สื่อสาธารณะทั้งหลายเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่สุด ของการปฏิบัติการทางด้านอุตสาหกิจทั้งหลายที่ถูกใช้ในการแทรกซึมในกระบวนการดังกล่าว สำหรับการเจาะทะลุหรือการแทรกซึมในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ ตัวสื่อต่างๆเองจะต้องถูกยึดจับโดยอำนาจอิทธิพลเกี่ยวกับการแทรกซึมนั้น. อันนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยผ่านการทำให้สื่อสารมวลชนกลายเป็นเรื่องในเชิงพาณิชย์ (สิ่งพิมพ์เป็นเรื่องของการพาณิชย์นับมาแต่ต้นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง)" (pp. 9-10)

2. McPhail (1987): "ลัทธิอาณานิคมทางอิเล็คทรอนิค(Electronic colonialism) คือความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาที่ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการนำเข้าเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทางด้านการสื่อสาร, ซอพท์แวร์ที่ถูกผลิตจากต่างประเทศ, พร้อมด้วยวิศวกรต่างๆ, บรรดานักเทคนิคทั้งหลาย, และเกี่ยวกับระหัสหรือกฎเกณฑ์พิธีการของข้อมูลข่าวสาร, ซึ่งในเชิงทดแทน ได้สร้างบรรทัดฐานจากต่างประเทศชุดหนึ่งขึ้นมา รวมถึงค่านิยมต่างๆ และความคาดหวังซึ่ง ในระดับที่ผันแปรอาจเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ และกระบวนการทางสังคมได้" (p. 18)

3. Sui-Nam Lee (1988): "ลัทธิจักรวรรดินิยมการสื่อสาร(Communication imperialism) สามารถได้รับการนิยามในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งความเป็นเจ้าของและการควบคุมเหนือฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของสื่อมวลชน เช่นเดียวกับรูปแบบหลักๆของการสื่อสารในประเทศหนึ่ง ได้ถูกทำให้เป็นข้าหรือเชื่อฟังต่อการครอบงำหรืออิทธิพลของอีกประเทศหนึ่ง ด้วยผลของภัยอันตรายที่มีต่อคุณค่าท้องถิ่น, บรรทัดฐานต่างๆ และวัฒนธรรม" (p. 74)

4. Ogan (1988): "ลัทธิจักรวรรดินิยมทางด้านสื่อ(media imperialism) บ่อยครั้งได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่ง ในฐานะผลลัพธ์ของสิ่งซึ่งสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกที่ได้สร้างผลผลิตสื่อส่วนใหญ่ โดยการทำกำไรเป็นอันดับแรกจากการขายภายในประเทศของตน และถัดจากนั้นก็วางตลาดหรือขายผลผลิตต่อไปยังประเทศต่างๆในโลกที่สาม ด้วยราคาที่ต่ำกว่าพอสมควรกับการที่ประเทศโลกที่สามเหล่านั้น จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการผลิตผลงานชนิดเดียวกันในประเทศของตนเอง" (p. 94)

5. Downing, Mohammadi, และ Sreberny-Mohammadi (1995): "ลัทธิจักรวรรดินิยมได้ชัยชนะและเข้าควบคุมประเทศหนึ่งโดยพลังอำนาจที่เหนือกว่า. ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงถึงมิติต่างๆ ของกระบวนการที่ไปพ้นจากการตักตวงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ หรือการใช้กำลังอำนาจทางทหาร. ในประวัติศาสตร์ของลัทธิอาณานิคม (นั่นคือ รูปแบบหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งรัฐบาลของประเทศซึ่งตกเป็นอาณานิคมได้ถูกบริหาร หรือดำเนินการโดยตรงจากบรรดาชาวต่างประเทศทั้งหลาย)

ระบบการศึกษาและระบบสื่อต่างๆของประเทศโลกที่สามจำนวนมาก ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาในฐานะที่เป็นรูปแบบจำลองต่างๆ(replicas)ของอังกฤษ, ฝรั่งเศส, หรือสหรัฐอเมริกา และกอดรัด(อุ้ม)เอาค่านิยมต่างๆของประเทศเหล่านี้เอาไว้ด้วย. การโฆษณาของตะวันตกได้ทำให้การรุกล้ำเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับสไตล์ทางด้านสถาปัตยกรรมและแฟชั่นต่างๆ. อย่างละเอียดอ่อนแต่ทรงพลังมาก, สารดังกล่าวบ่อยครั้งได้รับการสอดแทรกหรือบอกเป็นนัยะว่า วัฒนธรรมต่างๆของตะวันตกนั้นเหนือกว่าวัฒนธรรมของประเทศโลกที่สามทั้งหลาย"(p. 482)

เรียบเรียงจาก http://www.tbsjournal.com/Archives/Spring01/white.html

+++++++++++++++++++++++++

หนังสืออ้างอิง (References)

Ang, I. (1985). Watching "Dallas": Soap opera and the melodramatic imagination. London: Methuen (as cited in Schiller, 1989).

Baran, S., and Davis, D. (2000). Mass communication theory: foundations, ferment and future.

Belmont, CA: Wadsworth.

Beltran, L.R. (1978). "Communication and cultural domination: USA-Latin American case." Media Asia, 5, (4), 183-192.

Becker, J., Hedebro, G., and Paldan, L. (eds.) (1986). Communication and domination: Essays to honor Herbert I. Schiller. Norwood, NJ: Ablex Publishing Corporation.

Boyd-Barrett, J.O. (1977). "Media imperialism: Towards an international framework for an analysis of media systems." In J. Curran, M. Gurevitch and J. Woollacott (eds.), Mass communication and society, p. 116-135. London: Edward Arnold.

Boyd-Barrett, J.O. and Thussu, D.K. (1993). "NWIO strategies and media imperialism: The case of regional news exchange." In K. Nordenstreng and H. Schiller (eds.), Beyond national sovereignty: International communication in the 1990s, p. 177-192. Norwood, NJ: Ablex Publishing Corporation.

Brown, H. (1995). "American media impact on Jamaican youth: The cultural dependency thesis." In H.S. Dunn (ed.), Globalization, communications and Caribbean identity (p. 56-82). Kingston, Jamaica: Ian Randle Publishers.

Burton, J., and Franco, J. (1978). "Culture and imperialism." Latin American Perspectives, 5, (1), 2-12.

Chaffee, S.H. (1991). Communication concepts 1: Explication. Newbury Park, CA: Sage.

Desousa, M. (1982). "The cultural impact of American television abroad: An overview of criticism and research." International and Intercultural Communication Annual, 6, 19-20.

Downing, J., Mohammadi, A., and Sreberny-Mohammadi, A. (eds.). (1995). Questioning the media: A critical introduction. London: Sage.

Elasmar, M.G., and Hunter J. E. (1997). "The impact of foreign TV on domestic audiences: A meta-analysis." In B.R. Burleson (ed.), Communication Yearbook, 20, 47-69.

Fejes, F. (1981). "Media imperialism: An assessment." Media, Culture and Society, 3, 281-289.

Galtung, J. (1979). "A structural theory of imperialism." In G. Modelski (ed.), Transnational corporations and world order: Readings in international political economy, p. 155-171. San
Francisco: W.H. Freeman and Company.

Hamelink, C.J. (1983). Cultural autonomy in global communications. New York: Longman.

Kerlinger, F. (1973). Foundations of behavioral research, 2nd edition. Holt, Rinehart and Winston.

Laing, D. (1986). "The music industry and the 'cultural imperialism' thesis." Media, Culture and Society, 8, 331-341.

Land, M. (1992). "Ivoirien television, willing vector of cultural imperialism." Howard Journal of Communications, 4, 10-27.

Lee, C.C. (1980). Media imperialism reconsidered: The homogenizing of television culture. Beverly Hills: Sage.

Liebes, T. and Katz, E. (1990). The export of meaning: Cross-cultural readings of "Dallas." Oxford: Oxford University Press.

Link, J.H. (1984). "Test of the cultural dependency hypothesis." In R. Stevenson and D. Shaw (eds.), Foreign news and the new world information order, p.186-199. Ames: Iowa State University Press.

Littlejohn, S.W. (1999). Theories of human communication. Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Mattleart, A. (1994). Mapping world communication. Minneapolis, University of Minnesota Press.

McPhail, T.L. (1987). Electronic colonialism: The future of international broadcasting and communication. Newbury Park, CA: Sage.

Meers, P. (1998). "Latin American telenovela: Between media imperialism and cultural pluralism." Communicatie, 27, 2-24.

Meyer, W.H. (1988). Transnational media and third world development: The structure and impact of imperialism. New York: Greenwood Press.

Meyer, W.H. (1987). "Testing theories of cultural imperialism." International Interactions, 13, (4), 353-374.

Mohammadi, A. (1995). "Cultural imperialism and cultural identity." In J.Downing, A. Mohammadi, and A. Sreberny-Mohammadi (eds.), Questioning the media: A critical introduction, p. 362-378. London: Sage.

Nordenstreng and H. Schiller (eds.), Beyond national sovereignty: International communication in the 1990s, p. 116-131. Norwood, NJ: Ablex Publishing Corporation.

Ogan, C. (1988). "Media imperialism and the video cassette recorder: The case of Turkey." Journal of Communication, 38, 93-106.

Oliveira, O.S. (1993). "Brazilian soaps outshine Hollywood: Is cultural imperialism fading out?" In K.

Potter, W.J. (1996). An analysis of thinking and research about qualitative methods. New Jersey: Lawrence Erlbraum Associates.

Roach, C. (1997). "Cultural imperialism and resistance in media theory and literary theory." Media, Culture and Society, 19, 47-66.

Sabga, N. (1995). Cultural imperialism: The Caribbean's case of colonization, media imperialism, and tourism. Unpublished master's thesis, Florida Atlantic University.

Said, E. W. (1993). Culture and imperialism. New York: A.A. Knopf.

Salwen, M.B. (1991). "Cultural imperialism: A media effects approach." Critical Studies in Mass Communication, 8, 29-38.

Sarti, I. (1981). "Communication and cultural dependency." In E. McAnany, J. Schement, and N.
Janus (eds.), Communication and social structure, p. 317-334. New York: Praeger.

Schiller, H.I. (1976). Communication and cultural domination. New York: International Arts and Sciences Press.

Schiller, H.I. (1989). Culture, Inc.: The corporate takeover of public expression. New York: Oxford University Press.

Schiller, H. (1991). "Not yet the post-imperialist era." Critical Studies in Mass Communication, 8, 13-28.

Sengupta, S., and Frith, K.T. (1997). "Multinational corporation advertising and cultural imperialism: A content analysis of Indian television commercials." Asian Journal of Communication, 7, 1-18.
Sinclair, J., Jacka, E., and Cunningham, S. (eds.) (1996). New patterns in global television: Peripheral vision. New York, Oxford University Press.

Straubhaar, J.D. (1991). "Beyond media imperialism: Assymetrical inter-dependence and cultural proximity." Critical Studies in Mass Communication, 8, 39-59.

Straubhaar, J.D. (2000, April). "Cultural capital, language, and cultural proximity in the globalization of television." Paper presented at the Broadcast Education Association Convention on Electronic Media in the Digital Age: Content and Technology, Las Vegas, NV.

Sui-Nam Lee, P. (1995). "A case against the thesis of communication imperialism: The audience's response to foreign TV in Hong Kong." Australian Journal of Communication, 22, 63-81.

Sui-Nam Lee, P. (1988). "Communication imperialism and dependency: A conceptual clarification." Gazette: The International Journal of Mass Communication Studies, 41, 69-83.
Tar, Z. (1977). The Frankfurt School: The critical theories of Max Horkheimer and Theodor W.
Adorno. New York: John Wiley & Sons.

Tomlinson, J. (1991). Cultural imperialism: A critical introduction. Baltimore: John Hopkins University Press.

Ware, W., and Dupagne, M. (1994). "Effects of U.S. television programs on foreign audiences: A meta-analysis." Journalism Quarterly, 71, 947-959.




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 850 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
030449
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ เปิดชั้นเรียนฟรีสำหรับ น.ศ. และผู้สนใจ เพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีมลายูมุสลิมอย่างรอบด้าน
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

ที่ประเทศเม็กซิโก, Televisa ได้ผลิตรายการต่างๆประมาณ 78% และในประเทศบราซิล Globo Network ผลิตโปรแกรมต่างๆ 80% ของมันขึ้นมาเอง ซึ่งบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงและครอบงำตลาดต่างๆ ภายใน แบบแผนใหม่ๆเหล่านี้ในโลกโทรทัศน์ได้รับการอธิบายโดยบรรดานักวิชาการ อย่างเช่น Straubhaar (2000) ซึ่งเสนอว่า "ความใกล้เคียงทางวัฒนธรรม", แนวคิดอันหนึ่งที่อธิบายถึงการที่"บรรดาผู้ชมทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะชื่นชอบโปรแกรมต่างๆที่ใกล้ชิดที่สุด หรือใกล้เคียงที่สุดกับวัฒนธรรมของพวกเขาเอง

 

The Midnightuniv website 2006