รายงานสรุปศาสนเสวนาพุทธ-อิสลาม
วิจารณ์ศาสนิกตนเองจุดเริ่มของการแก้ปัญหาไฟใต้
อับดุชชะกูร์
บินซาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
นักศึกษาปริญญาเอก-ศาสนาเปรียบเทียบ
มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย
หมายเหตุ
บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียนรายงานสรุป
วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ศาสนเสวนาพุทธ
- อิสลาม : ความรุนแรงและความสมานฉันท์
ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
และกรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 766
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6.5 หน้ากระดาษ A4)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่านสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในการผ่อนคลายสถานการณ์ความรุนแรงบนพื้นที่
4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะผู้นำทางจิตวิญญาณ นักวิชาการ นักพัฒนา ผู้นำชุมชน
ตัวแทนจากภาครัฐ ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน ทั้งในศาสนาพุทธและอิสลาม กว่า
150 คน(รวมทั้งผู้เขียน) ได้มาพูดคุยกันในรูปแบบการสานเสวนาเรื่อง 'ศาสนเสวนาพุทธ
- อิสลาม : ความรุนแรงและความสมานฉันท์' ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ และกรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
ทั้งนี้ หากสังเกตสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ในระยะหลัง จะพบว่าการก่อเหตุหลายครั้งมีลักษณะมุ่งเป้า
หรือมีเจตนาจู่โจมทำลายในจุดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม.
การถักทอในการสร้างความเข้าใจระหว่างคนในพื้นที่ชายแดนใต้ที่มีความแตกต่างด้านศาสนา
ชาติพันธ์และวัฒนธรรมด้วย สันติวิธีเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะองค์กรศาสนาต้องเป็นองค์กรนำ
ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่า สันติวิธี มิใช่ความอ่อนแอ การยอมจำนน
หรือการหนีปัญหาดังที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นวิธีการอันกอปรด้วยพลังสติปัญญา
ความกล้าหาญ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในอันที่จะแสวงหาและพัฒนาวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง
ที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและบริบทของแต่ละสถานณการณ์ เพราะวิธีรุนแรงอาจดูเสมือนว่าสามารถกดข่มหรือระงับปัญหาลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง
กระนั้นความไม่พอใจ ความเกลียดชังหรือความเป็นปฏิปักษ์ที่ยังแฝงตัวอยู่เองจากข้อขัดแย้งซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากเหง้า
อาจจะประทุเป็นวัฎจักรใหม่ของความรุนแรงตามแต่เงื่อนไขปัจจัยจะนำพาไป
หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของสันติวิธีที่จะต้องรีบทำคือศาสนเสวนามุสลิม-พุทธ หรือมลายู-กับมิใช่มลายู เพราะหากไม่รีบทำอาจจะนำไปสู่สงครามระหว่างศาสนา-เชื้อชาติได้
ศาสนเสวนาหรือสานเสวนา จะต่างกับการสนทนาทั่วไปตรงที่ไม่มีการคุกคามอัตลักษณ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะมุ่งให้ผู้ร่วมศาสนเสวนารับฟังและเรียนรู้จุดยืนซึ่งกันละกัน บนพื้นฐานการให้เกียรติความแตกต่างโดยปราศจากการครอบงำ บีบบังคับ โน้มน้าวหรือบีบคั้นให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงความคิดความศรัทธาของตน หากแต่เป็นการเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกัน
อัลลอฮฺเจ้าได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า
ท่านทั้งหลายจงสานเสวนาด้วยวาจาที่สุภาพยิ่งด้วยเหตุและผล (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัลอันนะห์ลุ .16 : 125)
และอัลลอฮฺเจ้ายังได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานอีกความว่า
ไม่มีการบังคับในเรื่องศาสนา (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัล บะกอเราะฮฺ 2 : 256 )
ท่านอยากจะเสนอให้ผู้นำเอาคนที่มีความรู้เรื่องจิตวิญญาณมาพูดคุยกัน ไม่เป็นวิชาการเกินไป ก็เหมือนกับคนเราเห็นไฟ มองเห็นแต่ไกลๆ แต่ไม่เคยจับกองไฟก็คงจะไม่รู้ว่าไฟมันจะร้อนแค่ไหน และถ้าคนฉลาดมากด้วยกิเลสปัญหา ความวุ่นวายก็จะยังเกิดขึ้นไม่รู้จบตลอดไป"
นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเสวนาจะช่วยเปลี่ยนแปลงเรื่องที่เข้าใจผิด และความบาดหมางที่เคยมี ก้าวไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ปราศจากอคติและความเกลียดชัง และก่อให้เกิดความร่วมมือและความสมานฉันท์ อันเป็นจิตสำนึกพื้นฐานสำคัญที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์สังคมแห่งสันติและรู้จักสามัคคี
นายวินัย สะมะอุน คณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ศาสดาบอกว่าจิตวิญญาณถ้ารู้จักบริหาร จะเป็นกองทัพที่เกรียงไกร ถ้ามีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความสมานฉันท์ก็จะเกิดขึ้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งตรงนี้ควรจะสร้างความเข้าใจ"
นายการุณ กูใหญ่ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า คนที่เป็นผู้นำศาสนาจะต้องสร้างมิติให้ชัดเจน คนที่เป็นผู้รู้จะต้องมีเวทีเสวนาแบบนี้เพิ่มมากขึ้น อยากให้มีเวทีเสวนาศาสนิกสัมพันธ์ เพื่อให้ทุกศาสนาเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
พระไพศาล
วิสาโล :
"ศาสนิกชนต้องกล้าวิจารณ์และก้าวให้พ้นจากการเป็นพวกเขาพวกเรา หรือขยายความเป็นพวกเราให้กว้าง
คือต้องคิดว่าทุกศาสนาเป็นเพื่อนกัน ต้องเป็นกัลยาณมิตร ตอนนี้มีความไม่สมมาตรคือศาสนิกชนไม่กล้าวิจารณ์ตัวเอง
ไม่กล้าวิจารณ์ความรุนแรงเพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น ในขณะที่ การพลีชีพคือการกล้าที่จะตายเพื่อศาสนาที่เชื่อ"
ความมีทิฐิทางความเชื่อและอุดมการณ์สำคัญต่อปัญหาความรุนแรงมาก เพราะเวลาพูดถึงอุดมการณ์ใน
3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รวมศาสนาเข้าไปด้วย ต้องยอมรับว่า การฆ่ากันเพราะความขัดแย้งทางศาสนานั้นมีอยู่จริง
อาจจะพูดดูสวยงามได้ว่า ศาสนาไม่ใช่สาเหตุแห่งความรุนแรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรงบางครั้งเกิดจากศาสนา
แม้แต่ในศาสนาเดียวกันแต่ต่างลัทธิก็มีความรุนแรงระหว่างกัน
ทิฐิและอุดมการณ์สามารถนำไปสู่การสร้างความรุนแรงได้ ต้องยอมรับว่า การที่มนุษย์ยึดติดกับอะไรก็ตามแม้ในสิ่งที่ดีก็สามารถทะเลาะกันได้
พระเองก็มีการทะเลาะกันเรื่องศีล เรื่องวินัย สงครามที่เกิดขึ้นในนามสันติภาพก็เกิดขึ้นประจำ
ดังนั้น สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องยอมรับความจริงตรงนี้ก่อน ต้องยอมรับว่าทุกศาสนาสามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรงและสงครามได้
ยกตัวอย่างเช่น การฆ่านักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 ก็ทำในนาม ชาติ ศาสน์
กษัตริย์ คือถ้ายึดติดและไม่มีสติก็นำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้จะเป็นสิ่งดีงามก็ตาม
การแก้ปัญหาก็คือ ทุกศาสนาต้องกล้าที่จะวิจารณ์ตัวเองว่า ในศาสนาของเรามีความผิดพลาดเกิดขึ้น
ต้องไม่ยึดติดกับการเป็นพวกเรา ตอนนี้ยึดติดตรงนี้มาก พอเป็นพวกเราก็ไม่วิจารณ์
แต่วิจารณ์ศาสนาคนอื่น ที่ผ่านมา หากคนในศาสนาเรามีความผิดพลาดเรามักปกป้อง
ไม่ยอมพูดว่าคนของเราทำความผิดพลาดอะไรบ้าง เราต้องไม่ปกป้องและไม่ควรกลัวพวกเขาด้วย
คนในศาสนาพุทธเองก็มีเรื่องที่ผิดพลาดมากมาย พระภิกษุในศรีลังกาก็ไปยิงนายกรัฐมนตรีของเขา
ซึ่งอ้างว่าทำในนามศาสนา หรือการที่ญี่ปุ่นไปรุกรานจีนและเกาหลี ก็บอกว่าทำภายใต้การมองว่า
ศาสนาหรือศรัทธาของตนดีกว่าจีนและเกาหลี แต่ช่วงเวลานั้นเองชาวพุทธในญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงที่ไปส่งเสริมสงครามในจีนและเกาหลี
แต่ก็ไม่กล้าวิจารณ์ ไม่กล้าต่อต้าน เพราะกลัวในความเป็นชาตินิยมที่จัดมาก
สถานการณ์ในขณะนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน มีสิ่งที่ไม่น่าดูทั้งในพุทธและอิสลาม
มีอยู่ในบางบุคคล แต่ศาสนิกชนไม่กล้าท้วงติงความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะกลัวโดนวิจารณ์
กลัวโดนโจมตี จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าเศร้า เพราะกลุ่มเหล่านี้กำลังโดนพวกหัวรุนแรงคลั่งชาติ
คลั่งลัทธิศาสนาผูกขาดความคิดของสังคม กลุ่มผูกขาดนี้จะเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ
และขยายให้ใหญ่โต ศาสนิกชนต้องกล้าท้วงติง อย่าปกป้อง ต้องทำด้วยความเมตตา
ทำด้วยสันติภาพ ทำด้วยความเข้าใจ
ส่วนสาเหตุหนึ่งที่เกิดกลุ่มหัวรุนแรงขึ้นเพราะถูกกดดัน เช่น ลัทธินาซี เกิดจากการที่เยอรมันถูกรังแกหลังสงครามโลกครั้งที่
1 ประเทศชาติจึงยากจนและต้องลุกฮือขึ้นมา เมื่อเกิดลัทธิแปลกๆ ที่รุนแรงและคลั่งชาติ
ก็สามารถดึงดูดความรู้สึกของคนที่ยากไร้ได้. ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เกิดจากการที่กรรมกรถูกเอาเปรียบ
ถูกรังแก ลัทธิหัวรุนแรงสุดโต่งในพุทธศาสนา ในศาสนาฮินดู หรือในศาสนาอิสลามก็เหมือนกัน
มักมาจากการถูกรังแกโดยเฉพาะการรังแกที่มาจากรัฐ
การที่รัฐเข้าไปใช้ความรุนแรง
จะทำให้กลุ่มเหล่านี้ขยายตัวมากขึ้น ถ้าไม่อยากให้กลุ่มเหล่านี้ขยายตัวต้องยุติการกระทำรุนแรงอย่างเหวี่ยงแห
จนทำให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงมากขึ้น และเมื่อมาร่วมมือกับลัทธิชาตินิยมหรือนักการเมือง
ก็จะยิ่งเกิดความรุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าใจว่าเขามีปัญหา เขาถูกรุกรานด้วยลัทธิทางโลก
มีการเอาศาสนามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการค้า ทำให้กลุ่มที่รักศาสนาถูกกดดันจึงต้องสู้
และหากการสู้ ไม่ได้รับการยอมรับก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น จนมีการบิดเบือนเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้คน
โดยเอาเรื่องศาสนาและประวัติศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือ ตรงนี้ต้องเข้าใจ
ไม่อยากเรียกร้องใคร นอกจากศาสนิกชนให้เข้าถึงหัวใจทางศาสนา มาร่วมมือกัน
ต้องกล้าวิจารณ์ตัวเองและเผยแพร่สิ่งที่เราคิดว่าถูก แต่อย่าไปยึดติดกับความคิด
อย่าปกป้องพวกของตัวเอง ต้องก้าวให้พ้นจากการเป็นพวกเขาพวกเรา
พวกระเบิดพลีชีพ เขามีศาสนาที่มั่นคงมาก เขาเชื่อแบบนั้นจริงๆ เคร่งครัดจริงๆ
แต่เขาเลือกที่จะตายเพื่อฆ่าผู้อื่น แต่ศาสนิกชนที่รักสันติภาพไม่กล้าที่ตายเพื่อรักษาชีวิตของผู้อื่น
เป็นความไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น
อับดุชชะกูร์
บินซาฟิอีย์
"การขาดผู้นำมุสลิมที่เป็นปราชญ์ ที่กล้ายืนหยัดวิจารณ์ตัวเองว่า สิ่งนี้ทำไม่ถูกต้อง
ทำให้คนที่ไม่ใช่นักปราชญ์จริงๆ ไม่ใช่นักวิชาการทางศาสนาจริงๆ ออกมาจูงคนเหล่านั้น"
ผมเห็นด้วยกับ ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา จังหวัดยะลา ที่ให้ความเห็นว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เพียงแต่ในปัจจุบันอาจจะแสดงอาการมากขึ้น จากความไม่ปกติในสังคม ปัญหาที่เกี่ยวกับการปกครอง การบริหารงานในพื้นที่ และท้องถิ่นที่มีความผิดพลาดพอสมควร ใช้เวลานานในการแก้ปัญหา จนทำให้ความอดทนของบางฝ่ายสิ้นสุด จึงเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา
ศาสนาไม่ใช่สาเหตุหลักหรือสอนความรุนแรง(ผู้นำศาสนาทั้งพุทธ-มุสลิมยอมรับ)
ที่สำคัญผมเห็นด้วยกับประเด็นของพระไพศาล วิสาโล ที่ทุกคนต้องกล้าวิจารณ์และมองตัวเอง
มุสลิมเองก็ต้องมองตัวเอง เราต้องยอมรับความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ทั่วโลกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
เช่น เหตุระเบิดที่เกาะบาหลี การเกิดระเบิดที่ลอนดอน การเกิดระเบิดที่อียิปต์
และล่าสุดการเกิดระเบิดที่จอร์แดน สิ่งที่ต้องพูดคืออิสลามสอนให้พิจารณาตัวเองก่อนที่จะตาย
ถ้าตายจะถูกสอบสวน
ดังนั้นต้องกลับมามองและยอมรับว่า เหตุการณ์การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีมุสลิมทำ
ในภาคใต้ก็เช่นกัน แม้ว่าข้อกล่าวหาจากรัฐจะเป็นอย่างไร หรือประชาชนจะไม่เชื่อในฝ่ายรัฐ
แต่ถามว่ามีคนมุสลิมทำหรือไม่ ตรงนี้ปฏิเสธไม่ได้ ส่วนเหตุผลหรือแรงผลักในการกระทำนั้นต้องแยกไว้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
เราที่มาเสวนากันในครั้งนี้ต้องบอกว่า อยู่ในฐานะที่เป็นนักวิชาการหรือในฐานะที่เป็นผู้นำมุสลิม
ดังนั้นจะต้องออกมาแสดงความคิดเห็นและถามตัวเองว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นในหมู่มุสลิมจริงหรือไม่
ศาสตราจารย์ ดร.อิรฟาน อับดุลฮาหมีด ฟัตาห์ อาจารย์ประจำวิชาศาสนาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย
ได้บรรยายให้ น.ศ.ปริญญาเอก(รวมทั้งผู้เขียน) วิชาศาสนาเปรียบเทียบว่า
"แต่ละศาสนาจะมีศาสนิกอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้เป็นแนวคิดสุดโต่ง 2.ผู้ที่ละเลยต่อศาสนา 3.ผู้มีแนวคิดสายกลาง กลุ่มที่หนึ่งและสอง จะนำความเสื่อมเสียให้กับสังคมและเป็นภัยคุกคามต่อโลก ในขณะที่ผู้ที่มีแนวคิดสายกลางจะนำความผาสุกและสันติสุขต่อโลกนี้"
ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคนที่ละเลยต่อศาสนา ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนาได้ใช้ และละเว้นในสิ่งที่ศาสนาห้ามกลับมีบทบาทมากในสังคมเช่นกัน และสิ่งที่อันตรายที่สุดคือ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้มีอำนาจในการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ และการออกกฎหมายของประเทศ กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในองค์กรของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่ทำมาค้าขาย(ที่เกี่ยวกับปัจจัยยังชีพของประชาชน)
แน่นอน กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่สนใจในธรรมมาภิบาล กลุ่มคนเหล่านี้จะเข้าหาศาสนาบ้างก็ในแง่พิธีกรรมเท่านั้น เช่น เมื่อขึ้นบ้านใหม่และตาย ก็จะเชิญผู้นำศาสนามาทำพิธีกรรม เป็นต้น แต่แนวทางการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กลับไม่นำศาสนามาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเลย
สำหรับแนวคิดสายกลางของแต่ละศาสนา
ถือว่าเป็นแนวคิดด้านบวก และผู้เขียนมั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็คงมีแนวคิดสายกลาง
(ถึงแม้โดยพฤติกรรมโดยรวมของประชาชนจะอยู่ในกลุ่มที่สอง หรืออย่างน้อยทำในสิ่งที่ศาสนาใช้
และไม่ได้ละเว้นในสิ่งที่ศาสนาห้าม) ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำศาสนา
ที่จะทำอย่างไรให้ศาสนิกของตนเข้าใจศาสนาในแนวสายกลาง และนำไปสู่แนวทางการดำเนินชีวิตในทางปฏิบัติให้ได้และมีการสร้างเครือข่ายการทำความดี
ดังนั้นเมื่อศาสนิกมีหลายกลุ่มก็มีความคิดหลายแบบ
ชัยคฺ ดร.ยุซุฟ อัลก็อรฏอวีย์ (ชาวอียิปต์) ประธานของสหภาพนักปราชญ์มุสลิมนานาชาติ
(IAMS) กล่าวถึง ปัจจัยต่างๆ ของปรากฏการณ์ความรุนแรงว่า
1. การขาดแนวคิดสายกลาง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้แนวคิดอิสลามสายกลางเป็นที่แพร่หลายในหมู่คนหนุ่มสาว เพื่อที่พวกเขาจะพบวิถีทางที่ถูกต้อง แทนที่พวกเขาจะทำตัวไม่เปิดเผย ซึ่งการขาดแนวคิดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้แนวคิดสุดโต่งแทรกเข้ามา
2. การขาดอุละมาอฺ(นักปราชญ์อิสลามศึกษา) ที่แท้จริง ซึ่งสามารถให้ความเชื่อมั่น (ต่อแนวทางสายกลาง) ด้วยหลักฐานที่มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ (วจนศาสดา) พวกเขาได้หายไปจากสนามแห่งนี้ จึงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ที่ถูกเรียกว่าอุละมาอฺซึ่งทำงานเพื่อผู้ที่มีอำนาจ ดังนั้น คนหนุ่มสาวจึงสูญเสียความเชื่อมั่นไป และได้ตั้งตัวพวกเขากันเองให้เป็นชัคย์ (คือเป็นโต๊ะครูหรือนักปราชญ์อิสลามศึกษา) ในการฟัตวา (วินิจฉัยหลักศาสนา) ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อน
3. การแพร่กระจายของความชั่วร้ายและเพิ่มขึ้นของการกดขี่ในสังคม เป็นเหตุผลที่สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรง
นพ.ประเวศ วะสี รองประธาน กอส.ปาฐกถาปิดท้ายว่า ขอเสนอวิธีแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจของศาสนา 3 ข้อ คือ
1. ขอให้ศาสนิกชนทุกศาสนาทำความเข้าใจให้ถึงแก่นแท้ของหัวใจศาสนาตนเองและศาสนาอื่นๆ
2. ขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันระหว่างศาสนาของตนและศาสนาอื่นๆ
3. ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ทิฐิและอุดมการณ์สามารถนำไปสู่การสร้างความรุนแรงได้
ต้องยอมรับว่า การที่มนุษย์ยึดติดกับอะไรก็ตามแม้ในสิ่งที่ดีก็สามารถทะเลาะกันได้
พระเองก็มีการทะเลาะกันเรื่องศีล เรื่องวินัย สงครามที่เกิดขึ้นในนามสันติภาพก็เกิดขึ้นประจำ
ดังนั้น สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องยอมรับความจริงตรงนี้ก่อน ต้องยอมรับว่าทุกศาสนาสามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรงและสงครามได้
ยกตัวอย่างเช่น การฆ่านักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 ก็ทำในนาม ชาติ ศาสน์
กษัตริย์ คือถ้ายึดติดและไม่มีสติก็นำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้จะเป็นสิ่งดีงามก็ตาม
การแก้ปัญหาก็คือ ทุกศาสนาต้องกล้าที่จะวิจารณ์ตัวเองว่า ในศาสนาของเรามีความผิดพลาดเกิดขึ้น
ต้องไม่ยึดติดกับการเป็นพวกเรา
(พระไพศาล วิสาโล)