นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

บทนำว่าด้วยทฤษฎีพึ่งพา
ทฤษฎีพึ่งพา คำอธิบายความด้อยพัฒนา
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ
บทความวิชาการชิ้นนี้ เรียบเรียงจากเรื่อง
Dependency Theory: An Introduction
เขียนโดย
Vincent Ferraro
Mount Holyoke College South Hadley, MA July 1996

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 754
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11.5 หน้ากระดาษ A4)



บทนำว่าด้วยทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory: An Introduction)
เบื้องหลัง (Background)
ทฤษฎีพึ่งพาได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950s ภายใต้คำแนะนำของ ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติสำหรับกิจการลาตินอเมริกา Raul Prebisch. Prebisch และเพื่อนร่วมงานของเขาได้ประสบปัญหากับข้อเท็จจริงที่ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าต่างๆ ไม่จำเป็นต้องน้อมนำไปสู่ความงอกงามทางเศรษฐกิจในประเทศยากจนทั้งหลาย

อันที่จริง จากการศึกษาของเขาพบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ร่ำรวยต่างๆ มักจะนำไปสู่ปัญหาที่มากมายตามมาอย่างจริงจังในประเทศที่ยากจนกว่าทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะ มันมีความเป็นไปที่ไม่อาจคาดเดาได้โดยทฤษฎีนีโอคลาสสิค ซึ่งมีสมมุติฐานที่ว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นประโยชน์หรือผลดีต่อทั้งหมด (Pareto optimal) แม้ว่าประโยชน์ดังกล่าวจะไม่เท่าเทียมกันเสมอไปก็ตาม

คำอธิบายในขั้นต้นของ Prebisch สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวค่อนข้างตรงไปตรงมามาก กล่าวคือ บรรดาประเทศยากจนทั้งหลายได้ทำการส่งออกสินค้าขั้นปฐมให้กับประเทศที่ร่ำรวยต่างๆ ซึ่งได้นำเอาสินค้าขั้นปฐมดังกล่าวเข้าไปแปรรูปในโรงงาน และสร้างเป็นผลผลิตออกมา จากนั้นได้ส่งกลับไปขายยังประเทศยากจนทั้งหลาย. มูลค่าเพิ่มโดยผ่านกระบวนการผลิตและการแปรรูปของโรงงาน ได้ทำให้เกิดผลผลิตที่สะดวกแก่การใช้งาน ซึ่งมักจะเพิ่มเติมราคาขึ้นกว่าผลผลิตขั้นต้นที่นำเข้ามาเหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ ประเทศยากจนทั้งหลายจึงไม่เคยได้กำไรมากพอจากการส่งออกของประเทศ เพื่อที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการนำสินค้าเข้าของพวกเขาเลย

ทางออกหรือวิธีการแก้ปัญหาของ Prebisch ก็เป็นไปในลักษณะตรงไปตรงมาเช่นเดียวกัน นั่นคือ ประเทศยากจนทั้งหลาย ควรจะเริ่มลงทุนในรายการสินค้านำเข้าเพื่อเป็นการทดแทน ทั้งนี้เพราะพวกเขาจะได้ไม่ต้องซื้อหาผลผลิตโรงงานจากประเทศที่ร่ำรวยเหล่านั้น. บรรดาประเทศยากจนยังคงขายผลผลิตขั้นต้นในตลาดโลกต่อไป แต่ต้องผลิตสินค้าทั้งหลายที่ตนนำเข้า เพื่อว่าเงินทุนสำรองต่างประเทศของพวกเขา จะได้ไม่ต้องถูกใช้ไปเพื่อซื้อสินค้าโรงงานจากนอกประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 3 ประเด็นที่ทำให้นโยบายอันนี้เป็นไปได้ยากที่จะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ

ประการแรกคือ, ตลาดภายในของประเทศยากจนทั้งหลาย ไม่ใหญ่พอที่จะสนับสนุนการทำอุตสาหกรรมดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ การประหยัดจากขนาดการผลิต(economies of scale)ที่ถูกใช้ประโยชน์กันโดยประเทศร่ำรวยทั้งหลาย เพื่อที่จะรักษาราคาสินค้าให้มีราคาต่ำ จึงไม่สามารถเป็นไปได้

ประการที่สอง, เป็นเรื่องเจตจำนงทางการเมืองของบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากประเทศผู้ผลิตสินค้าขั้นปฐม ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ตามที่ปรารถนาหรือไม่

ประการที่สามคือ, โดยใคร่ครวญรอบๆขอบเขตดังกล่าว ซึ่งบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย อันที่จริงได้ควบคุมเกี่ยวกับผลผลิตขั้นปฐมของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่การค้าขายผลผิตเหล่านั้นในต่างประเทศ

อุปสรรคต่างๆเหล่านี้ ต่อนโยบายผลิตเองเพื่อทดแทนการนำเข้า น้อมนำให้คนอื่นๆคิดมากขึ้นไปอีกเล็น้อยในเชิงสร้างสรรค์และในเชิงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าวระหว่าง"ประเทศที่ร่ำรวย"และ"ประเทศที่ยากจนทั้งหลาย"

ณ จุดนี้นี่เองที่ทฤษฎีพึ่งพาได้รับการมองในฐานะของวิธีการอันหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้เกี่ยวกับการอธิบายถึงความทุกข์ยาก ที่ยังคงมีอยู่ต่อมาของบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย. โดยแท้จริงแล้ว วิธีการนีโอคลาสสิคแบบจารีตไม่ได้พูดอะไรเลยเกี่ยวกับปัญหาอันนี้ นอกจากยืนยันว่า บรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย ได้มีปฏิบัติการทางเศรษฐกิจที่มั่นคงช้าไป และตราบใดที่พวกเขาได้เริ่มเรียนรู้เทคนิคต่างๆของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อนั้นความยากจนข้นแค้นต่างๆก็จะลดลงไปเอง

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักทฤษฎีมาร์กซิสท์มองความยากจนอย่างยืนยงดังกล่าวว่า เป็นผลที่ตามมาของการตักตวงผลประโยชน์ของทุนนิยม. และกลุ่มความคิดใหม่อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า world system approach หรือ"วิธีการระบบโลก" ให้เหตุผลว่า ความยากจนดังกล่าว เป็นผลโดยตรงอันหนึ่งของวิวัฒนาการเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ ในการแบ่งแยกแรงงานแบบตายตัวมากเกินไป ซึ่งชอบที่จะให้รางวัลคนรวยและลงโทษคนจน

เราสามารถที่จะนิยามทฤษฎีพึ่งพาได้อย่างไร (How Can One Define Dependency Theory?)
การถกเถียงกันท่ามกลางบรรดานักปฏิรูป(Prebisch), นักทฤษฎีมาร์กซิสท์(Andre Gunder Frank), และบรรดานักทฤษฎีระบบโลก(Wallerstein) กำลังเป็นไปอย่างกระฉับกระเฉงและท้าทายทางสติปัญญาทีเดียว. ยังมีบางประเด็นที่ยังไม่ลงตัวหรือเห็นด้วยกันอย่างจริงจังอยู่ ท่ามกลางความตึงเครียดของบรรดานักทฤษฎีพึ่งพาที่หลากหลาย และจะเป็นข้อผิดพลาดทีเดียวหากคิดว่า มันคือทฤษฎีที่มีเอกภาพเกี่ยวกับการพึ่งพา. อย่างไรก็ตาม มันก็มีข้อเสนอที่เป็นแกนหลักบางประการ ซึ่งดูเหมือนว่าอยู่ข้างใต้การวิเคราะห์ของนักทฤษฎีพึ่งพาส่วนใหญ่

"การพึ่งพา" สามารถได้รับการนิยามในฐานะที่เป็นการอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของรัฐๆหนึ่ง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลทางการเมืองภายนอก, เศรษฐกิจ, และนโยบายพัฒนาแห่งชาติทางด้านวัฒนธรรม (Osvaldo Sunkel, "นโยบายการพัฒนาแห่งชาติ และการพึ่งพาภายนอกในลาตินอเมริกา", The Journal of Development Studies, Vol. 6, no. 1, October 1969, p. 23) [วารสารการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา]. Theotonio Dos Santos เน้นถึงมิติทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพา ดังนิยามความหมายของเขาต่อไปนี้ :

[การพึ่งพา คือ]…เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์อันหนึ่ง ซึ่งได้ทำให้โครงสร้างเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เงื่อนไขนั้นมันชื่นชอบให้บางประเทศมีการทำร้ายประเทศอื่นๆ และจำกัดความเป็นไปได้ต่างๆในการพัฒนาของเศรษฐกิจที่เป็นรอง… สถานการณ์ซึ่งกลุ่มเศรษฐกิจหนึ่งของประเทศต่างๆได้ถูกกำหนดเงื่อนไข โดยการพัฒนาและการแผ่ขยายของอีกเศรษฐกิจหนึ่ง ซึ่งประเทศของพวกเขาเองถูกทำให้ต้องเชื่อฟังและยินยอมที่จะถูกครอบงำ

[Dependency is]...an historical condition which shapes a certain structure of the world economy such that it favors some countries to the detriment of others and limits the development possibilities of the subordinate economics...a situation in which the economy of a certain group of countries is conditioned by the development and expansion of another economy, to which their own is subjected.
(Theotonio Dos Santos, "The Structure of Dependence," in K.T. Fann and Donald C. Hodges, eds., Readings in U.S. Imperialism. Boston: Porter Sargent, 1971, p. 226)

มันมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ สำหรับนิยามความหมายนี้ที่บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาส่วนใหญ่ยอมรับ
ประการแรกคือ, ทฤษฎีพึ่งพาแสดงคุณลักษณะถึงระบบระหว่างประเทศอันนั้น ในฐานะที่ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 2 ประเภท ซึ่งได้อธิบายอย่างหลากหลายในฐานะที่เป็น"ประเทศที่มีอิทธิพล"กับ"ประเทศที่พึ่งพา", "ประเทศศูนย์กลาง"กับ"ประเทศชายขอบ", หรือ"ประเทศมหาอำนาจ"กับ"ประเทศบริวารต่างๆ" (dominant / dependent, center / periphery, or metropolitan / satellite).

รัฐต่างๆที่ทรงอิทธิพลคือ บรรดาชาติอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าในองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา(the Organization of Economic Co-operation and Development (OECD). ส่วนบรรดารัฐต่างๆที่พึ่งพาก็คือรัฐทั้งหลายในลาตินอเมริกา, เอเชีย, และแอฟริกา ซึ่งมีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำ(per capita GNPs) และซึ่งเชื่อมั่นอย่างมากต่อการส่งออกของสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง สำหรับการได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ

ประการที่สอง, นิยามความหมายดังกล่าวมีสมมุติฐานร่วมกันว่า อำนาจอิทธิพลภายนอกมีความสำคัญพิเศษต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในรัฐที่ต้องพึ่งพาทั้งหลาย. อำนาจอิทธิพลภาพนอกเหล่านี้รวมถึงบรรดาบรรษัทข้ามชาติ, ตลาดสินค้าระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือจากต่างประเทศ, การสื่อสารต่างๆ, และวิธีการอื่นๆที่บรรดาประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าทั้งหลาย สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในต่างประเทศของพวกเขาได้

ประการที่สาม, นิยามความหมายดังกล่าวเกี่ยวกับการพึ่งพา ทั้งหมดชี้ว่าความสัมพันธ์ทั้งหลายระหว่างประเทศที่ทรงอิทธิพลกับประเทศที่ต้องพึ่งพามีลักษณะเป็นพลวัต เพราะปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่างประเทศทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้ม ไม่เพียงเพิ่มเติมเสริมส่งกันและกันเท่านั้น แต่ยังทำให้แบบแผนต่างๆของความไม่เท่าเทียมเข้มข้นมากขึ้นด้วย. ยิ่งไปกว่านั้น การพึ่งพายังเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ฝังลึกมาเป็นเวลายาวนาน มันมีรากหยั่งอยู่ในการทำให้เป็นสากลของลัทธิทุนนิยม. ดังนั้น การพึ่งพาจึงเป็นกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งกำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง :

ลาตินอเมริกาทุกวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องที่สามารถย้อนกลับไปได้นับจากคริสตศตวรรษที่ 16 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบสากลระหว่างประเทศโดยประเทศต่างๆที่ในปัจจุบันพัฒนาแล้ว…. การด้อยพัฒนาของลาตินอมเริกา คือผลลัพธ์ของชุดความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งต่อระบบสากลอันนั้น
Susanne Bodenheimer, "Dependency and Imperialism: The Roots of Latin American Underdevelopment," in Fann and Hodges, Readings, op. cit., p. 157.

โดยสรุป ทฤษฎีพึ่งพาพยายามที่จะอธิบายถึงรัฐด้อยพัฒนาในปัจจุบันของประชาชาติต่างๆมากมายในโลก โดยการสำรวจตรวจสอบแบบแผนต่างๆของการปฏิสัมพันธ์กันท่ามกลางประเทศทั้งหลาย โดยการให้เหตุผลว่า ความไม่เท่าเทียมท่ามกลางประเทศต่างๆ เป็นส่วนภายในอันหนึ่งของปฏิสัมพันธ์กันเหล่านั้น

บริบทเชิงโครงสร้างของการพึ่งพา: มันเป็นเรื่องของลัทธิทุนนิยม หรือเป็นเรื่องของอำนาจ?
(The Structural Context of Dependency: Is it Capitalism or is it Power?)

บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาส่วนใหญ่เห็นว่า ลัทธิทุนนิยมระหว่างประเทศ(สากล)เป็นแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์ทั้งหลายในเชิงพึ่งพา. Andre Gunder Frank หนึ่งในบรรดานักทฤษฎพึ่งพาช่วงต้นที่สุด ค่อนข้างแสดงออกอย่างชัดเจนในประเด็นนี้ :

จากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ประเทศด้อยพัฒนาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเศรษฐกิจในอดีตและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน รวมถึงความสัมพันธ์อื่นๆระหว่างประเทศบริวารที่ด้อยพัฒนา กับประเทศศูนย์กลางมหาอำนาจที่พัฒนาแล้วในทุกวันนี้. ยิ่งไปกว่านั้น ความสัมพันธ์ต่างๆเหล่านี้ โดยสาระแล้วเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก
Andre Gunder Frank, The Development of Underdevelopment," in James D. Cockcroft, Andre Gunder Frank, and Dale Johnson, eds., Dependence and Underdevelopment. Garden City, New York: Anchor Books, 1972, p. 3.

ตามทัศนะข้างต้น ระบบทุนนิยมได้ไปบีบบังคับให้เกิดการแบ่งแยกด้านแรงงานสากลที่เข้มแข็งอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการด้อยพัฒนาในพื้นที่ต่างๆมากมายของโลก. รัฐที่ต้องพึ่งพาทำหน้าจัดหาแร่ธาตุถูกๆ รวมไปถึงสินค้าทางด้านเกษตร และแรงงานราคาถูกให้ด้วย และนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับใช้ในฐานะเป็นคลังสินค้าและสถานที่รองรับทุนส่วนเกินด้วย, รวมถึงที่ปลดระวางเทคโนโลยีที่ล้าสมัย และสินค้าทั้งหลายที่เหลือจากโรงงาน

บทบาทหน้าที่ทั้งหลายเหล่านี้ ได้ปรับเศรษฐกิจต่างๆของประเทศพึ่งพาไปสู่ชายขอบหรือวงนอก: เงินตรา, สินค้า, และบริการต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้าสู่รัฐพึ่งพาทั้งหลาย แต่การจัดสรรเกี่ยวกับทรัพยากรเหล่านี้ ได้ถูกกำหนดโดยผลประโยชน์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศที่ทรงอิทธิพล ซึ่งไม่ใช่โดยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาทั้งหลาย

การแบ่งแยกแรงงานดังกล่าว ในท้ายที่สุด เป็นการอธิบายถึงความยากจน และมันมีคำถามเกิดขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ลัทธิทุนนิยมมองว่า การแบ่งแยกด้านแรงงานถือว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นอันหนึ่งสำหรับการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพของทรัพยากร. ปรากฏการณ์ที่เด่นชัดที่สุดของคุณลักษณะเฉพาะอันนี้ มีอยู่ในทฤษฎีหรือคำสอนเกี่ยวกับ"ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ"(the doctrine of comparative advantage)

ยิ่งไปกว่านั้น ในขอบเขตที่กว้างขวาง แบบจำลองการพึ่งพายังวางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า อำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ได้รับการเพ่งความเอาใจใส่อย่างมาก และมีศูนย์กลางอยู่ที่บรรดาประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย มันเป็นสมมุติฐานอันหนึ่งร่วมกันกับทฤษฎีทั้งหลายของมาร์กซิสท์เกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดิ์นิยม

ถ้าเผื่อว่าสมมุติฐานอันนี้มีเหตุผลรับฟังได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วละก็ ความแตกต่างใดๆก็ตามระหว่าง อำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเมืองก็เป็นของปลอมหรือหลอกลวงนั่นเอง: ก้าวย่างใดๆ ก็ตามของรัฐบาลต่างๆ จำเป็นที่จะต้องปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของปัจเจกชน อย่างเช่น คนเหล่านั้นที่เป็นเจ้าของบรรดาบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม บรรดานักทฤษฎีพึ่งพา แม้จะไม่ทั้งหมด คือพวกมาร์กซิสท์ และเราควรจำแนกแยกแยะให้ชัดเจนระหว่างลัทธิการพึ่งพาและทฤษฎีเกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดินิยม ทฤษฎีมาร์กซิสท์เกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดินิยมพยายามอรรถาธิบายถึงการแผ่ขยาย(expansion)ของรัฐที่ทรงอิทธิพล ในขณะที่ทฤษฎีการพึ่งพาอธิบายถึงการด้อยพัฒนา(underdevelopment). พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทฤษฎีมาร์กซิสท์ได้พยายามอธิบายถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมลัทธิจักรพรรดินิยมจึงเกิดขึ้น, ขณะที่ทฤษฎีพึ่งพาพยายามอธิบายถึงผลที่ตามมาต่างๆของลัทธิจักรพรรดินิยม

ความแตกต่างดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญ ในหลายๆประเด็น ลัทธิจักรพรรดินิยม สำหรับมาร์กซิสท์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการซึ่งโลกได้ถูกทำให้แปรเปลี่ยน และด้วยเหตุนี้จึงเป็นกระบวนการหนึ่งซึ่งเร่งให้เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสท์. มาร์กซ์ได้พูดถึงเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียอย่างเป็นที่ยอมรับกันว่า :

อังกฤษต้องทำให้พันธกิจสองประการในอินเดียบรรลุผลสำเร็จ นั่นคือ อย่างแรกจะต้องทำลาย(destructive), และอย่างที่สองต่อมาคือ จะต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่(regenerating) - กล่าวคือการทำลายล้างสังคมแบบเอเชียเก่าให้สิ้นซากลงไป และวางรากฐานทางด้านวัตถุนิยมขึ้นมา อันเป็นแนวคิดสังคมตะวันตกให้ดำรงอยู่ในเอเชีย
Karl Marx, "The Future Results of the British Rule in India," New York Daily Tribune, No. 3840, August 8, 1853.

สำหรับบรรดานักทฤษฎีพึ่งพา การด้อยพัฒนาเป็นสภาพเงื่อนไขในเชิงลบอันหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ใดๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเป็นตัวของตัวเองเลยในรัฐที่ต้องพึ่งพา

ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีมาร์กซิสท์เกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดิ์นิยม ยังเป็นเรื่องของการเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วหรือการทำกำไร ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาเป็นเรื่องของความต่อเนื่องไปอย่างไม่สิ้นสุด. จุดจบของลัทธิจักรพรรดิ์นิยมในกรอบความคิดของเลนินนิสท์ เกิดขึ้นมาจาก การที่อำนาจอันทรงอิทธิพลต่างๆได้ก่อสงครามขึ้น บนการหดตัวอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับโอกาสต่างๆในการตักตวงผลประโยชน์

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับเลนิน เป็นบทพิสูจน์ที่คลาสสิกเกี่ยวกับข้อเสนอหรือการวินิจฉัยแนวนี้. หลังจากที่สงครามผ่านไป อังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าแทนที่อาณานิคมต่างๆซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของเยอรมัน. ส่วนนักทฤษฎีการพึ่งพาปฏิเสธข้อคิดเห็นและการวินิจฉัยดังกล่าว. ความสัมพันธ์แบบพึ่งพายังคงไม่ยอมรับนับถือเกี่ยวกับอัตลักษณ์เฉพาะของรัฐทรงอิทธิพล

รัฐทรงอิทธิพลอาจสู้รบบนแนวโน้มเกี่ยวกับอาณาเขตและเรื่องดินแดนพึ่งพา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวของมันเอง (เว้นแต่ว่าในช่วงยุคสมัยต่างๆของการต่อสู้ ท่ามกลางรัฐทรงอิทธิพลทั้งหลาย ที่มีโอกาสสำหรับรัฐพึ่งพาต่างๆที่จะตัดความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพาของพวกเขาลง) สำหรับนักทฤษฎีพึ่งพา คุณลักษณ์สำคัญที่เป็นแก่นแกนของเศรษฐกิจโลก เป็นความต่อเนื่องของความยากจนมาตลอดจนถึงยุคสมัยใหม่ ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว มันคือดินแดนเดียวกันเดิมๆของโลกนั่นเอง โดยไม่คำนึงถึงว่ารัฐใดเป็นผู้ควบคุม

ในท้ายที่สุด มีนักทฤษฎีพึ่งพาบางคน ซึ่งไม่ได้ชี้ว่า"ลัทธิทุนนิยมไเป็นพลังจักรกลที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์ในแบบพึ่งพา. ความสัมพันธ์ดังกล่าวมันถูกบำรุงเลี้ยงโดยระบบหนึ่งของ"อำนาจ"เป็นประการแรก และดูไม่เหมือนว่าจะเป็นเช่นนั้น ราวกับว่า"อำนาจ"ได้รับการสนับสนุนโดยลัทธิทุนนิยมเพียงเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐพึ่งพาสมัยก่อนในกลุ่มประเทศสังคมนิยม (รัฐต่างๆในยุโรปตะวันออก และคิวบา, เป็นตัวอย่าง) ซึ่งอันนี้ขนานกันไปอย่างใกล้ชิดกับความสัมพันธ์กันระหว่าง รัฐต่างๆที่ยากจนและรัฐทุนนิยมก้าวหน้าทั้งหลาย. ความเป็นไปได้ดังกล่าว นั่นคือ "การพึ่งพา"ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดมากกับ"ความแตกต่างกันของอำนาจ" มากกว่าจะถูกนำไปโยงกับ"คุณลักษณะเฉพาะทั้งหลายของระบบเศรษฐกิจ"ข้างต้น ซึ่งมันประสานและสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในแบบจารีต ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างเช่นลัทธิสัจนิยม เป็นต้น

ข้อเสนอที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพึ่งพา (The Central Propositions of Dependency Theory)
สำหรับรูปแบบที่เป็นแกนหลักของทฤษฎีพึ่งพานั้น มีข้อเสนออยู่จำนวนหนึ่งซึ่งทั้งหมดสามารถโต้แย้งได้ ข้อเสนอทั้งหลายเหล่านี้รวมถึง:

1. "ความด้อยพัฒนา"(underdevelopment) เป็นเงื่อนไขพื้นฐานอันหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจาก"การไม่พัฒนา"(undevelopment) สำหรับกรณีหลังนั้นอ้างอย่างง่ายๆถึงสภาพเงื่อนไขที่ทรัพยากรต่างๆไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าอาณานิคมชาวยุโรปทั้งหลายมองว่า ทวีปอเมริกาเหนือเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีการพัฒนา นั่นคือ ผืนแผ่นดินดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาอย่างกระตือรือร้นในสัดส่วนที่สอดคล้องกันกับศักยภาพของมันที่มีอยู่. ความด้อยพัฒนา อ้างอิงถึงสถานการณ์อันหนึ่งซึ่งทรัพยากรทั้งหลายได้ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถูกใช้ในหนทางที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐอิทธิพลต่างๆ ไม่ใช่เพื่อรัฐที่ยากจนกว่าซึ่งทรพัยากรเหล่านั้นได้ถูกค้นพบ

2. ความแตกต่างระหว่าง"ความด้อยพัฒนา"กับ"การไม่พัฒนา" ได้จัดวางประเทศยากจนทั้งหลายของโลกใบนี้อยู่ในบริบททางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างไปอย่างลึกซึ้ง. บรรดาประเทศเหล่านี้ไม่ได้ล้าหลัง หรือไม่สามารถวิ่งไล่ทันประเทศที่ร่ำรวยกว่าของโลกแต่อย่างใด ประเทศพวกนั้นมิได้ยากจนเพราะพวกเขาล้าหลังในการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ หรือตามหลังคุณค่าต่างๆของยุคสว่างที่เกิดขึ้นในรัฐต่างๆของชาวยุโรป. พวกเขายากจนเพราะ ถูกบูรณาการในลักษณะบีบบังคับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของยุโรป ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบทั้งหลาย หรือทำหน้าที่รับใช้ในฐานะเป็นคลังของแรงงานราคาถูก และถูกปฏิเสธโอกาสที่จะนำทรพัยากรทั้งหลายของพวก เข้าเข้าสู่ตลาดในทุกๆทางที่จะแข่งขันกับรัฐที่ทรงอิทธิพล

3. ทฤษฎีพึ่งพาเสนอว่า ทางเลือกในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เป็นสิ่งที่ดีกว่าหรือน่าปรารถนายิ่งกว่าแบบแผนการใช้ทรัพยากร ที่ถูกกำหนดหรือยัดเยียดโดยรัฐทรงอิทธิพลทั้งหลาย. มันไม่มีนิยามอันแจ่มชัดเกี่ยวกับแบบแผนหรือทางเลือกที่ดีกว่าเหล่านี้ว่าเป็นอย่างไร แต่บรรทัดฐานบางอย่างได้รับการปลุกเร้าขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งในรัฐที่ทรงอิทธิพล บ่อยมาก ในเชิงปฎิบัติได้ถูกวิจารณ์โดยบรรดานักทฤษฎีพึ่งพาถึงเรื่องการส่งออกทางด้านการเกษตร

ข้อวิจารณ์คือว่า ประเทศเศรษฐกิจยากจนจำนวนมาก ประสบกับปัญหาการขาดแคลนโภชนาการในอัตราที่สูง ทั้งๆที่พวกเขาเป็นผู้ผลิตอาหารจำนวนมากเพื่อการส่งออก. บรรดานักทฤษฎีพึ่งพามากมายให้เหตุผลว่า ผืนดินที่ทำการเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น ควรจะใช้ผลิตอาหารภายในประเทศ เพื่อที่จะลดอัตราเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนโภชนาการลง

4. ข้อเสนอก่อนอื่นใดที่ควรขยายเพิ่มเติมขึ้น คือ บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาวางใจในความเชื่อที่ว่า มันมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติอยู่อย่างแจ่มชัด ซึ่งสามารถและควรที่จะถูกพูดออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำสำหรับแต่ละประเทศ. ในแง่มุมนี้ ทฤษฎีพึ่งพาได้มีส่วนร่วมในเชิงทฤษฎีทำนองเดียวกันเกี่ยวกับลัทธิสัจนิยม

สิ่งซึ่งจำแนกทัศนียภาพแบบพึ่งพาคือว่า คนที่สนับสนุนแนวคิดนี้เชื่อว่า ผลประโยชน์ชาติอันนี้สามารถนำมาใช้เป็นหลักความพึงพอใจได้ โดยการอ้างอิงถึงความต้องการของคนยากจนภายในสังคม มากกว่าโดยผ่านหลักความพึงพอใจของบริษัทหรือความต้องการของรัฐบาล. การพยายามกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนยากจน เป็นปัญหาเชิงวิเคราะห์ที่ยุ่งยากในระยะยาว และบรรดานักทฤษฎีพึ่งพาทั้งหลาย ยังคงไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนนัก ถึงนิยามความหมายในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับผลประโยชน์เศรษฐกิจของชาติ

5. การผันแปรของทรัพยากรตลอดช่วงเวลา (และเราคงยังจำได้ว่า ความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพา มันฝังแน่นอยู่นับแต่การแผ่ขยายของยุโรป ที่เริ่มต้นขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ที่ยังคงธำรงอยู่ ซึ่งไม่ใช่เพียงอำนาจของรัฐทรงอิทธิพลเท่านั้น แต่ยังผ่านอำนาจของคนชั้นสูงทั้งหลายในรัฐพึ่งพาต่างๆด้วย บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาให้เหตุผลว่า คนชั้นสูงเหล่านี้ธำรงรักษาความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพาเหล่านี้ไว้เพราะ ผลประโยชน์ส่วนตัวของพวกเขาเองที่พ้องพานไปกับ ผลประโยชน์ต่างๆของรัฐที่ทรงอิทธิพลทั้งหลาย

โดยแบบฉบับแล้ว คนชั้นสูงพวกนี้ได้รับการฝึกมาในรัฐทรงอิทธิพลต่างๆ และมีส่วนร่วมในคุณค่าทำนองเดียวกัน และมีวัฒนธรรมทั้งหลายร่วมกับชนชั้นสูงต่างๆในรัฐที่ทรงอิทธิพล. ดังนั้น ในความเป็นจริงอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพาจึงเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะสมัครใจ. เราอาจไม่ต้องการจะถกว่า บรรดาชนชั้นสูงในรัฐพึ่งพา กำลังทรยศหักหลังอย่างมีสำนึกต่อผลประโยชน์ของคนจน; แต่บรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายต่างเชื่อกันจริงๆ จังๆ ว่า กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ วางอยู่ในการดำเนินรอยตามใบสั่งของลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยม

ความเกี่ยวพันเชิงนโยบายของการวิเคราะห์แนวพึ่งพา
(The Policy Implications of Dependency Analysis)

หากว่าเราเชื่อในการวิเคราะห์ของทฤษฎีพึ่งพา ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วละก็ คำถามต่างๆเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ยากจนต่างๆ ทำไมมันจึงแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง จากคำถามในแบบจารีตที่เกี่ยวกับความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ, การสะสมของทุน, และยุทธศาสตร์การนำเข้าและการส่งออกต่างๆ บางประเด็นเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญที่สุดรวมถึง :

1. ความสำเร็จของเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม ไม่ได้ถูกใช้ในฐานะที่เป็นแบบจำลองอันหนึ่งสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจปัจจุบันใดๆ เมื่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจกลายเป็นพื้นที่ๆถูกโฟกัสของการศึกษา ยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ที่ชัดเจนคือ ทุกๆประเทศต้องการเลียนแบบหรือเอาอย่างแบบแผนต่างๆ ที่ถูกใช้โดยบรรดาประเทศร่ำรวยทั้งหลาย

อันที่จริง ในช่วงทศวรรษที่ 1950s และ 1960s มันมีความเห็นสอดคล้องในเชิงกระบวนทัศน์อันหนึ่งที่ว่า ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทั้งหลาย เป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้อย่างเป็นสากล ความเห็นสอดคล้องกันอันนั้นชัดเจนมากโดย Walt Rostow ในหนังสือของเขาเรื่อง The Stages of Economic Growth (ขั้นตอนต่างๆของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ)

ส่วนทฤษฎีพึ่งพาเสนอว่า ความสำเร็จของบรรดาประเทศร่ำรวยทั้งหลายเป็นเรื่องของความบังเอิญสูงมาก และเป็นฉากที่มีลักษณะเฉพาะในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก นั่นคือ มีบางประเทศที่ถูกครอบงำโดยความสัมพันธ์ในแบบอาณานิคม ที่เป็นเรื่องของการตักตวงผลประโยชน์สูงมากจากพลังอำนาจต่างๆของชาวยุโรป. การทำซ้ำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆเหล่านั้น ปัจจุบัน เป็นไปไม่ได้สำหรับบรรดาประเทศยากจนทั้งหลายในโลก

2. ทฤษฎีพึ่งพาปฏิเสธแบบจำลองนีโอคลาสสิกเกี่ยวกับกลไกการกระจายจากศูนย์กลาง ซึ่งปรกติแล้วเรียกว่าเศรษฐกิจแบบ trickle-down economics (บางคนเรียกว่าเศรษฐกิจแบบน้ำใต้ศอก). แบบจำลองนีโอคลาสสิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ให้ความสนใจค่อนข้างน้อยต่อคำถามเกี่ยวกับการกระจายความมั่งคั่ง. ความเอาใจใส่ของมันอันดับแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และทึกทักเอาว่า ตลาดจะทำหน้าที่จัดสรรหรือแจกจ่ายรางวัลของการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ในลักษณะที่มีเหตุผลและปราศจากอคติเอง

ข้อสันนิษฐานอันนี้อาจใช้ได้สำหรับการบูรณาการที่ดี ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การลื่นไหลทางเศรษฐกิจจะไปยังที่ผู้คนสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ และที่ที่แบบแผนการบริโภคต่างๆไม่ได้ถูกบิดเบือนไปโดยอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ อย่างเช่น เชื้อชาติ, ชาติพันธ์ของชนกลุ่มน้อย, หรืออคติทางเพศ

เงื่อนไขเหล่านี้ไม่ได้แพร่กระจายไปทั่วในเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา และบรรดานักทฤษฎีพึ่งพาให้เหตุผลว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ถูกทำให้กระจายไปได้อย่างง่ายดายในเศรษฐกิจที่ยากจนทั้งหลาย. สำหรับเหตุผลเชิงโครงสร้างเหล่านี้ บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาต่างให้เหตุผลว่า ลำพังตลาดนั้นไม่สามารถที่จะเป็นกลไกการแพร่กระจายได้อย่างเต็มที่

3. จากการที่ตลาดเป็นตัวชี้วัดในเรื่องของประสิทธิภาพการผลิต บรรดานักทฤษฎีพึ่งพาทั้งหลายกลับลดทอนมาตรวัดโดยรวมของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว อย่างเช่น GDP หรือเครื่องชี้วัดทางการค้าอันนั้นลง. นักทฤษฎีพึ่งพาทั้งหลายมิได้ปฏิเสธกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันนั้นซึ่งเกิดขึ้นภายในรัฐพึ่งพา แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้จำแนกความต่างที่สำคัญมากอันหนึ่งขึ้นมา ระหว่าง"ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ"กับ"ผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ"

ยกตัวอย่างเช่น การให้ความเอาใจใส่อย่างยิ่งต่อเค้าโครงสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ให้ประโยชน์ต่อประชาชาติหนึ่งโดยภาพรวมมากกว่า. ด้วยเหตุดังนั้น ความสนใจของพวกเขาจึงถูกจ่ายให้กับตัวชี้วัดอื่นๆ อย่างเช่น ความมุ่งหวังของชีวิต, การรู้หนังสือ, อัตราการตายของทารก, การศึกษา, และอะไรทำนองนี้. บรรดานักทฤษฎีพึ่งพา เน้นอย่างชัดเจน ถึง"ตัวชี้วัดทางสังคม"มากยิ่งกว่า"ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ"เพียงเท่านั้น

4. การพึ่งพาตนเอง ด้วยเหตุนี้ รัฐที่ต้องพึ่งพาต่างๆ ควรจะต้องพยายามที่จะดำเนินตามนโยบายการพึ่งพาตนเอง ตรงกันข้ามกับแบบจำลองนีโอคลาสสิกต่างๆที่ได้รับการรับรองโดย IMF (International Monetary Fund - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ)และ World Bank (ธนาคารโลก) การบูรณาการอันยิ่งใหญ่เข้ากับเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นหรือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย

บ่อยครั้งทัศนียภาพในเชิงนโยบายอันนี้ ถูกมองในฐานะที่เป็นการรับรองอันหนึ่งของนโยบายเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองในทางเศรษฐกิจ(a policy of autarky) และได้มีการทดลองบางอย่างกับนโยบายอันนั้น อย่างเช่น China's Great Leap Forward (นโยบายก้าวกระโดดของจีน) หรือ Tanzania's policy of Ujamaa. (นโยบายของแทนซาเนียเกี่ยวกับอุสซามะ - Ujamaa เป็นระบบสังคมนิยมอันหนึ่งที่หมู่บ้านร่วมไม่ร่วมมือกันในการช่วยตัวเอง เกิดขึ้นในราวทศวรรษที่ 1960s - ผู้เรียบเรียง)

ความล้มเหลวต่างๆเกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้เป็นที่ชัดเจน และความล้มเหลวดังกล่าวเสนอว่า นโยบายพึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี นโยบายการพึ่งตนเองควรจะได้รับการตีความในฐานะการยอมรับนโยบายอันหนึ่ง มากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์ที่ถูกควบคุมโดยเศรษฐกิจโลก นั่นคือ บรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย ควรรับรองหรือสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ต่างๆในเงื่อนไขที่ได้รับคำมั่นสัญญาว่า จะปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมและเศรษฐกิจของประชากรส่วนใหญ่ให้ดีขึ้น

สนใจต้นฉบับ สามารถคลิกไปดูได้ที่
http://www.mtholyoke.edu/acad/intrel/depend.htm

 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับเลนิน เป็นบทพิสูจน์ที่คลาสสิกเกี่ยวกับข้อเสนอหรือการวินิจฉัยแนวนี้. หลังจากที่สงครามผ่านไป อังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าแทนที่อาณานิคมต่างๆซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของเยอรมัน. ส่วนนักทฤษฎีการพึ่งพาปฏิเสธข้อคิดเห็นและการวินิจฉัยดังกล่าว. ความสัมพันธ์แบบพึ่งพายังคงไม่ยอมรับนับถือเกี่ยวกับอัตลักษณ์เฉพาะของรัฐทรงอิทธิพล

รัฐทรงอิทธิพลอาจสู้รบบนแนวโน้มเกี่ยวกับอาณาเขตและเรื่องดินแดนพึ่งพา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวของมันเอง สำหรับนักทฤษฎีพึ่งพา คุณลักษณ์สำคัญที่เป็นแก่นแกนของเศรษฐกิจโลก เป็นความต่อเนื่องของความยากจนมาตลอดจนถึงยุคสมัยใหม่ ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว มันคือดินแดนเดียวกันเดิมๆของโลกนั่นเอง โดยไม่คำนึงถึงว่ารัฐใดเป็นผู้ควบคุม

R
related topic
271148
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้


อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง