The Midnight University
ชุดความรู้รัฐศาสตร์เที่ยงคืน
อนาธิปไตย
: การเมืองแบบไร้รัฐ
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุ
: บทความนี้เรียบเรียงมาจากเรื่อง
Anarchism
From Wikipedia, the free encyclopedia
The neutrality and factual accuracy of this article
are disputed
(ความเป็นกลางและความถูกต้องของข้อเท็จจริงสำหรับบทความนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)
ทางกองบรรณาธิการได้รวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพื่อใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการ
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 736
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4)
อนาธิปไตย : การเมืองแบบไร้รัฐ
ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism)
ลัทธิอนาธิปไตย คือขอบข่ายอันหนึ่งของทัศนะทางการเมือง สำหรับชื่อนี้นำมาจากคำในภาษาลาตินว่า
anarchia ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการแปลคำศัพท์ในภาษากรีก avapxia ของอริสโตเติล
เมื่อแยกอุปสรรค(prefix - คำที่ใช้เติมข้างหน้า)ออก av จะแปลว่า "without"(ปราศจาก) ซึ่งคำอุปสรรคนี้ไปรวมกันกับคำว่า apxia arkhe - หมายถึง "command"(ควบคุม, สั่งการ)หรือ"rule"(กฎเกณฑ์, ข้อบังคับ) แปลโดยรวมก็คือ "ปราศจากการควบคุม หรือไม่มีกฎข้อบังคับ"
ลัทธิอนาธิปไตยในความเข้าใจทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวกับความหมายของศัพท์คำนี้ อ้างอิงถึงสถานะทางการเมือง หรือความเชื่อที่ตรงข้ามกับกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรืออิทธิพลการครอบงำใดๆ. ในทางด้านทฤษฎี ลัทธิอนาธิปไตย ในรูปแบบอันหลากหลายของมันตรงข้ามกับเรื่องราวทั้งหมดของกฎข้อบังคับของรัฐบาล และรัฐตัวแทน - รวมถึงรัฐ - และแทนที่ด้วยความสัมพันธ์ทางสังคมอันเป็นที่ชื่นชอบกว่า ซึ่งเป็นเรื่องของความสมัครใจ และยอมรับกันในท่ามกลางปัจเจกชนทั้งหลายอย่างอิสระ
ลัทธิอนาธิปไตยประกอบด้วยปรัชญาทางการเมืองที่หลากหลาย, องค์กรทางการเมือง, และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ให้การสนับสนุนในการขจัดรัฐออกไป และสิ่งที่เชื่อเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจในลักษณะเบ็ดเสร็จ. ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะศูนย์กลาง ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้ชื่นชอบความสัมพันธ์ทางสังคม ที่มีพื้นฐานอยู่บนสิ่งที่ได้รับการมองว่าเป็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในลักษณะสมัครใจ
ปรัชญาเหล่านี้ ใช้"อนาธิปไตย"เพื่อมุ่งสู่สังคมหนึ่ง ที่มีรากฐานอยู่บนการปฏิสัมพันธ์แบบสมัครใจของปัจเจกชนเสรีทั้งหลาย. ความคิดอนาธิปไตยในเชิงปรัชญา ไม่ได้ให้การสนับสนุนภาวะความสับสนอลหม่าน หรือภาวะที่ขาดเสียซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมหรือความปรกติของสังคม(does not advocate chaos or anomie) - มันอ้างถึง"อนาธิปไตย"ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาและธำรงรักษาไว้โดยเจตนา
มีสิ่งที่น่าพิจารณาหลายหลากท่ามกลางการเมืองแบบอนาธิปไตย. ความคิดเห็นต่างๆ ผิดแผกกันไปในพื้นที่อันหลากหลาย อย่างเช่น ไม่ว่าความรุนแรงควรถูกนำมาใช้เพื่อหนุนเสริมลัทธิอนาธิปไตยหรือไม่, แบบฉบับชนิดใดของระบบเศรษฐกิจควรจะดำรงอยู่ต่อไป, ลำดับชั้นสูงต่ำทางสังคมหรือการแผ่ขยายความมั่งคั่งอันไม่เท่าเทียมเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธ, คำถามต่างๆที่มีต่อสภาพแวดล้อมและลัทธิอุตสาหกรรม, บทบาทของบรรดานักอนาธิปไตยในขบวนการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย รวมตลอดถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา บรรดานักอนาธิปไตยหลายหลากสกุลความคิดต่างๆของลัทธิอนาธิปไตย อ้างว่า สกุลความคิดอื่นๆ ซึ่งพวกเขาไม่ได้สังกัดหรือเป็นสมาชิก ไม่ใช่รูปแบบต่างๆ ของลัทธิอนาธิปไตย
อดีตและปัจจุบันของลัทธิอนาธิปไตย
ในบทความที่นักศึกษาและท่านผู้สนใจกำลังอ่านอยู่นี้ ผู้เรียบเรียงจะนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ของลัทธิอนาธิปไตยโดยสังเขป
รวมตลอดถึงพัฒนาการต่างๆ จนกระทั่งถึงการมาบรรจบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านอนาธิปไตย
โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
1. ผู้มาก่อนของลัทธิอนาธิปไตย (Precursors of anarchism)
2. ลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่ (Modern anarchism)
3. ลัทธิอนาธิปไตยในปัจจุบัน (Anarchism today)
บรรดานักอนาธิปไตยบางคนได้ยึดเอาหลักการของลัทธิเต๋าเข้ามาด้วย ซึ่งพัฒนาขึ้นในจีนโบราณในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอหนึ่งของท่าทีหรือทัศนคติแบบอนาธิปไตย. ในทำนองเดียวกัน แนวโน้มต่างๆของอนาธิปไตยสามารถติดตามร่องรอยย้อนกลับไปได้ถึงบรรดานักปรัชญาของกรีกโบราณได้เช่นกัน อย่างเช่น Zeno, ผู้ก่อตั้งปรัชญาสโตอิค(1) และ Aristippus ซึ่งกล่าวว่า คนฉลาดไม่ควรที่จะสละเสรีภาพของพวกเขาให้กับรัฐ(the wise should not give up their liberty to the state). ส่วนความเคลื่อนไหวในช่วงหลังต่อมา อย่างเช่น Stregheria ในช่วงปี 1300, จิตวิญญาณอิสระ(Free Spirit)ในยุคกลาง, the Anabaptists(2), The Diggers(3), และ the Ranters (4) ก็ได้รับการอธิบายว่าถูกตีความในฐานะนักอนาธิปไตย
(1) ปรัชญาสโตอิค, (stoicism)
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จุดหมายของชีวิตนี้คือความสุข ความสุขที่แท้อยู่ที่ความสงบใจ
จะมีความสุขได้ก็ต้องมีความพอใจกับสิ่งที่จำเป็นในชีวิตเท่านั้น นอกนั้นแล้วให้วางใจอยู่ในอุเบกขา
อิสรภาพที่แท้คือการหลุดพ้นจากการบีบคั้นของโลกภายนอก
(2) the Anabaptists - Belief in: the primacy of the Bible; baptism of believers
not infants; complete separation of church and state
(3) the Diggers - a member of a group of radical dissenters formed as an
offshoot of the Levellers, believing in a form of agrarian communism.
(4) the Ranters - someone who rants and raves; speaks in a violent or loud
manner (???)
การใช้ศัพท์คำว่า"อนาธิปไตย"ในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นที่รับรู้กันครั้งแรกปรากฏขึ้นในบทละครเรื่อง
Seven Against Thebes โดย Aeschylus, ประมาณช่วงเวลา 467 BC. Antigone (พระธิดาของกษัตริย์
Oedipus ซึ่งไม่เชื่อฟังพระราชบิดา และถูกตัดสินประหารชีวิต) ทรงปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำบัญชาของพระราชบิดา(ผู้ปกครอง)อย่างเปิดเผย
โดยพระองค์(ผู้ปกครอง)มีพระราชประสงค์ให้ปล่อยซากศพพระอนุชาของพระองค์เอาไว้โดยไม่มีการฝังกลบ
ในฐานะที่เป็นการลงโทษสำหรับการมีส่วนร่วมของพระองค์ในการโจมตีต่อ เมือง Thebes
(เมืองโบราณของกรีก)
Antigone ทรงตรัสว่า "แม้ว่าจะไม่มีใครเลยที่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมในการฝังร่างของพระองค์(พระอนุชา) ข้าก็จะฝังร่างของพระองค์แต่เพียงลำพัง และเสี่ยงที่จะตกอยู่ในอันตรายเพราะการฝังซากศพพระอนุชาของข้า. และข้าไม่ละอายที่จะกระทำในทางที่ตรงข้ามและท้าทายนี้ต่อผู้ปกครองของนาคร (ekhous apiston tend anarkhian polei)"
กรีกโบราณยังมองถึงกรณีตัวอย่างของลัทธิอนาธิปไตยตะวันตก ในฐานะที่เป็นอุดมคติหนึ่งมาแต่แรกด้วย ในรูปแบบของนักปรัชญาสโตอิค Zeno of Citium, ผู้ซึ่งตามความคิดของ Kropotkin, เขาเป็นตัวแทนหรือนักอธิบายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับปรัชญาอนาธิปไตยในยุคกรีกโบราณ. ดังที่กล่าวเอาไว้ในเชิงสรุปโดย Kropotkin, ว่า "Zeno บอกปัดด้วยการปฏิเสธความมีอำนาจของรัฐ, การแทรกแซงของรัฐ และการปกครองหรือการควบคุมของมัน และประกาศถึงอำนาจอธิปไตยของกฎทางศีลธรรมของปัจเจกชน"(proclaimed the sovereignty of the moral law of the individual.)
ภายในปรัชญากรีก, ทัศนะของ Zeno เกี่ยวกับชุมชนอิสระชุมชนหนึ่ง(a free community) ที่ปราศจากรัฐบาล เป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับ"รัฐยูโธเปีย"ในเรื่อง"สาธารณรัฐ"ของเพลโต(the state-Utopia of Plato's Republic). Zeno ได้ให้เหตุผลว่า แม้ว่าโดยสัญชาตญานจะจำเป็นต้องมีการการดูแลปกป้องตนเอง(self-preservation) และมันได้น้อมนำมนุษย์ไปสู่ความเห็นแก่ตัว(egotism) แต่ธรรมชาติก็ให้การเยียวยามันโดยจัดหาสัญชาติอีกอันหนึ่งมาให้กับมนุษย์ นั่นคือ ความสามารถในการมีความสัมพันธ์ทางสังคม(sociability)
คล้ายๆกับบรรดานักอนาธิปไตยสมัยใหม่คนอื่นๆ เขาเชื่อว่า ถ้าหากมนุษย์ดำเนินรอยตามสัญชาตญานของตนเอง พวกเขาจะไม่ต้องการกฎหมายเลย, ไม่ต้องมีศาลหรือตำรวจ, ไม่ต้องมีวัด, และไม่ต้องบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์สาธารณะทั้งหลาย และไม่ต้องใช้เงิน (เศรษฐกิจแบบการให้[a gift economy]จะเกิดขึ้นท่ามกลางการแลกเปลี่ยน). ความเชื่อต่างๆของ Zeno นำพาเราเข้าถึงความคิดอนาธิปไตย ด้วยคำพูดข้างต้น
The Anabaptists (ผู้ที่แยกตัวจากโบสถ์และรัฐอย่างสมบูรณ์ คนเหล่านี้เชื่อในปฐมบรรพ์แห่งพระคัมภีร์ไบเบิล)ในคริสตศตวรรษที่ 16 ของยุโรป บางครั้งได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นบรรพบุรุษหรือผู้มาก่อนทางศาสนาเกี่ยวกับลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่
Bertrand Russell, ในงานเขียนของเขาเรื่อง History of Western Philosophy, เขียนไว้ว่า บรรดา Anabaptists ทั้งหลาย "ปฏิเสธกฎเกณฑ์ทั้งปวง, นับจากการที่พวกเขาถือว่า คนดีนั้นจะได้รับการน้อมนำในทุกๆชั่วขณะ โดยพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์(the Holy Spirit) จากสมมุติฐานอันนี้ พวกเขาได้มาถึงลัทธิคอมมิวนิสม์ ." นวนิยายเรื่อง Q ได้นำเสนอภาพที่เสกสรรค์ขึ้นมาอันหนึ่งเกี่ยวกับขบวนการนี้ และอุดมคติในเชิงปฏิวัติของมัน
ในปี ค.ศ.1548 ?tienne de la Bo?tie ได้เขียนเรื่อง The Politics of Obedience: The Discourse of Voluntary Servitude, (การเมืองเรื่องการเชื่อฟัง: วาทกรรมเกี่ยวกับความเป็นข้ารับใช้ความสมัครใจ) เป็นความเรียงเรื่องหนึ่งซึ่งได้ทำการสำรวจถึงคำถามเกี่ยวกับว่า ทำไมผู้คนทั้งหลายจึงเชื่อฟังบรรดาผู้ปกครอง.
Gerrard Winstanley แห่ง The Diggers ซึ่งได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆ เรียกร้องความเป็นเจ้าของชุมชน และองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนต่างๆ ทางกสิกรรมในคริสตศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็น"บรรพบุรุษของลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่"ด้วยเช่นกัน
ควรได้รับการบันทึกลงไปด้วยว่า ความเรียงที่อุทิศเนื้อหาให้กับการไม่มีรัฐบาลอย่างแจ่มชัด เรื่อง "A Vindication of Natural Society"(การพิสูจน์ให้เห็นเกี่ยวกับสังคมธรรมชาติ) ได้รับการเขียนขึ้น และได้รับการตีพิมพ์โดยไม่ระบุชื่อในปี ค.ศ. 1756 โดย Edmund Burke - บุรุษที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางให้เป็น บิดาผู้ก่อตั้งลัทธิอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่
ในการค้นพบนั้น เขาเป็นผู้ประพันธ์เกี่ยวกับความเรียงที่ไม่ระบุชื่อ, Burke ยกเลิกการเขียนในลักษณะเหน็บแนมเสียดสี. มันมีความขัดแย้งบางอย่างเกี่ยวพันกับความจริงใจเกี่ยวกับการยุติบทบาทของ Burke ในเรื่อง "การพิสูจน์ "; งานเขียนที่โดดเด่นมากสุดอันหนึ่งต่อข้อถกเถียงนี้คือ ความเรียงเรื่อง "Edmund Burke, Anarchist." (เอ็ดมันด์ เบิร์ก, นักอนาธิปไตย) ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1958 ของ Murray Rothbard. ส่วนบรรดานักอนาธิปไตยคนอื่นๆ อย่างเช่น Godwin และ Tucker, ถูกรู้จักและคำนึงถึงความเรียงดังกล่าว ในฐานะที่เป็นข้อเขียนที่สำคัญชิ้นหนึ่งต่อปรัชญาของพวกเขา
2. ลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่
(Modern anarchism)
ในปี ค.ศ.1793 William Godwin ได้ตีพิมพ์เรื่อง An Enquiry Concerning Political
Justice,(การสืบสาวในเรื่องเกี่ยวกับความยุติธรรมทางการเมือง) ซึ่งเขาได้นำเสนอวิสัยทัศน์ของตัวเองเกี่ยวกับสังคมอิสระโดยเลียบๆเคียงๆไปกับการวิจารณ์รัฐบาล.
บางคนเห็นว่า งานชิ้นนี้คือความเรียงชิ้นแรกของนักอนาธิปไตย และเรียก Godwin
ว่า"ผู้ก่อตั้งลัทธิอนาธิปไตยในทางปรัชญา"
แตกต่างและไม่เหมือนกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อปัจเจกชนทั้งหลายต่างพิทักษ์และปกป้องพวกเขาเองจากผู้รุกรานต่างๆ, Godwin คัดค้านความร่วมมือทุกๆชนิดในเรื่องแรงงานท่ามกลางปัจเจกชนทั้งหลาย (แม้แต่การประสานหรือร่วมมือกันในวงดนตรีออร์เคสตร้าก็ถูกคัดค้าน). เขาเป็นผู้เสนอคนแรกๆเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยม ซึ่งได้ให้การสนับสนุนสิทธิของปัจเจกชนต่อการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยการนิยามมันในฐานะที่เป็น "จักรวรรดิ์ที่มนุษย์ทุกคนได้รับสิทธิ์เหนือผลผลิตในความอุตสาหะของตนเอง", แต่อย่างไรก็ตาม เขาส่งเสริมให้ปัจเจกชนทั้งหลาย ปันส่วนในทรัพย์สินส่วนเกินของตนเองโดยความสมัครใจ ให้กับคนเหล่านั้นที่ต้องการมัน
Pierre-Joseph Proudhon, ผู้ประพันธ์เรื่อง "What is Property?" (อะไรคือทรัพย์สิน?) ในปี ค.ศ.1840 ถือเป็นปัจเจกชนคนแรกที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักอนาธิปไตย. ในฐานะนักปัจเจกอนาธิปไตยคนหนึ่ง เขาต่อต้านลัทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน(collectivism) และให้การสนับสนุนสิทธิปัจเจกชนในเรื่องทรัพย์สิน และเศรษฐกิจการตลาด ซึ่งการแลกเปลี่ยนมูลค่าของสินค้าได้รับการกำหนดโดยปริมาณแรงงานที่ใส่เข้าไปในผลิตผลของพวกเขา. แม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงสำหรับคำพูดที่ว่า"ทรัพย์สินคือการขโมย"(property is theft) ซึ่งอันที่จริงเขาอ้างถึงการคุ้มครองของรัฐเกี่ยวกับผืนดินที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์
อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าผลผลิตจากแรงงานของคนๆหนึ่ง ควรได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นทรัพย์สินของผู้ลงแรงนั้น เขามีความเชื่อว่าทรัพย์สินเป็นแก่นแท้ของเสรีภาพของปัจเจกชน: "ที่ไหนกันล่ะ ที่เราจะค้นพบพลังความสามารถเกี่ยวกับการถ่วงดุลกับรัฐ? ไม่มีเลย เว้นแต่ทรัพย์สิน สิทธิอันสมบูรณ์ของรัฐคือสิ่งที่ขัดแย้งกับสิทธิอันสมบูรณ์ของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน. ทรัพย์สินคือพลังปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่สุดที่ดำรงอยู่".
เขามีความชื่นชมต่อการการปลดเปลื้องอำนาจรัฐบาลทิ้งไป แต่เขาไม่เชื่อว่าการปลดเปลื้องอำนาจรัฐทั้งหมดนั้นจะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงส่งเสริมและสนับสนุนการลดขนาดของรัฐลงให้มากที่สุด. Proudhon กล่าวว่า: " สถาบันต่างๆ อย่างเช่น ตำรวจ, การป้องกัน และการป้องปรามแบบราชการ, การจัดเก็บภาษี ฯลฯ ควรถูกลดลงมาให้เป็นสถาบันที่เล็กที่สุด "
Proudhon, ก็คล้ายๆกับบรรดานักอนาธิปไตยคลาสสิกเกือบทั้งหมด
ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของหลักทฤษฎีมูลค่าแรงงาน(labor theory of value)(5) ซึ่งคัดค้านเรื่องผลกำไร
(5) Labor theory of value - ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า
มูลค่าของสินค้ากำหนดจากจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานโดยตรงในการผลิตสินค้านั้น
หรือการใช้แรงงานโดยอ้อมในการปรับปรุงที่ดินหรือสร้างเครื่องจักรขึ้นมาใช้ผลิตร่วมในสินค้านั้น
เป็นทฤษฎีที่พัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคในปลายคริสตศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสตศตวรรษที่
19 ในทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทฤษฎีต้นทุนสัมพัทธ์(Comparative Cost
Theory) มีการนำแนวคิดมูลค่าแรงงานมาใช้ในการกำหนดต้นทุนสินค้า
กล่าวคือต้นทุนสินค้ามีค่าเท่ากับจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิต และ คาร์ล มาร์กซ์
ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายว่า การที่นายทุนขายสินค้าในราคาสูงกว่าต้นทุนค่าจ้าง
เป็นการขูดรีดแรงงาน(Labour Theory of Surplus Value)
มีข้อสังเกตว่า การยึดแนวทางดังกล่าว ทำให้ผู้วางแผนในสหภาพโซเวียตประเมินต้นทุนของปัจจัยทุนต่ำเกินไป
ทำให้การใช้ปัจจัยทุนขาดประสิทธิภาพ จุดอ่อนของทฤษฎีนี้ได้แก่ การประเมินต้นทุนรวมต่ำกว่าความเป็นจริง
เพราะไม่รวมค่าตอบแทนปัจจัยทุน และการจัดประเภทของแรงงาน และการจ่ายค่าจ้างไม่ได้สะท้อนความสามารถที่หลากหลาย
แรงงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นการสูญเสียปัจจัยแรงงานในทางอ้อม
Josiah Warren, ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันกับ Proudhon, ที่ได้ประพันธ์ปรัชญาปัจเจกชนเกี่ยวกับธรรมชาติในทำนองเดียวกันกับ Proudon ซึ่งต่อต้านและคัดค้านการมีอยู่ของรัฐบาลอย่างแจ่มชัด . Warren ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจอันหนึ่งซึ่งเขาได้ถือปฏิบัติด้วย โดยมีพื้นฐานอยู่บนทฤษฎีมูลค่าแรงงาน ซึ่งการแลกเปลี่ยนถูกทำให้สะดวกหรือให้การสนับสนุนโดยสื่อกลาง"labor notes"(ตั๋วแรงงาน ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกสิ่งของ เช่น ทำงานสามชั่วโมง จะได้ตั๋วที่แลกกับข้าวโพตได้กี่ปอนด์ เป็นต้น)(ดูภาพประกอบ) ต่อมาภายหลัง Proudhon ได้เสนอระบบในลักษณะเดียวกันนี้และเรียกมันว่า ลัทธิพึ่งพากันและกัน(mutualism)
คนจำนวนมากพิจารณาว่าวารสารที่ Warren ตีพิมพ์และเป็นบรรณาธิการ ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ.1833 ที่ชื่อว่า The Peaceful Revolutionist (นักปฏิวัติในแนวสันติวิธี) ถือเป็นวารสารฉบับแรกของนักอนาธิปไตย. Warren ได้ริเริ่มจารีตเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกอนาธิปไตยอเมริกันขึ้น, โดยที่ Proudhon ยังคงมีอิทธิพลต่อมา โดยผ่านงานของ Benjamin Tucker ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเขา
ปัจเจกชนทั้งหลาย ได้อะไรไปมากจากงานเขียนต่างๆของ Max Stirner ในท่ามกลางคนอื่นๆ ซึ่งเรียกร้องการเคารพอย่างสูงต่อเสรีภาพของปัจเจกชน ขณะที่ปัจเจกชนบางคนมองไปที่กฎธรรมชาติเพื่อให้เหตุผลและอธิบายถึงลัทธิปัจเจกชนนิยม "ความเห็นแก่ตัว"(Egoism)ของ Stirner ถือว่าผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเพียงสิ่งเดียวของคำอรรถาธิบายที่ถูกทำนองครองธรรมสำหรับการกระทำ
จารีตของคนอเมริกันเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกอนาธิปไตย ได้ให้การสนับสนุนอย่างมั่นคงต่ออธิปไตยส่วนตัว, ทรัพย์สินส่วนตัว, เศรษฐกิจการตลาดเสรี(in support of individual sovereignty, private property, and a free market economy); แม้ว่าคนอเมริกันจะต่อต้านบรรดานายจ้างทั้งหลาย ในการหักผลกำไรจากค่าแรงต่างๆ การเรียกเก็บผลประโยชน์ และส่วนใหญ่คัดค้านการซื้อ การขาย และการเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์หรือไม่มีเจ้าของ
พวกเสรีนิยม บ่อยครั้งได้รับการปิดป้ายฉลากเป็น"พวกอนาธิปไตย"โดยพวกราชาธิปไตย แม้ว่าพวกเขาไม่ได้เรียกร้องให้มีการเลิกล้มรัฐแต่อย่างใด แต่พวกเขายังคงสนับสนุนความคิดให้ลดอำนาจรัฐให้เหลือน้อยที่สุด ส่งเสริมสิทธิของปัจเจกชน, และความรับผิดชอบของผู้คนในการตัดสินรัฐบาลต่างๆของพวกเขา ซึ่งได้วางรากฐานสำหรับการพัฒนาความคิดเกี่ยวกับอนาธิปไตยขึ้นมา
เรื่อง "The Law"(1849) โดย Frederic Bastiar ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของงานเขียนหรือบันทึกที่ต่อต้านเสรีนิยม. ผู้ล่วงหน้ามาก่อนหรือบรรพบุรุษของลัทธิทุนนิยมอนาธิปไตย(anarcho-capitalism) คือ Gustave de Molinari, ผู้ซึ่งได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวแทนต่างๆในการปกป้องตนเองใน The Production of Security (1849) อันนี้คือความพยายามครั้งแรกในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในวิธีการไม่มีรัฐ
บรรดานักคิดก่อนหน้านั้น
โดยทั่วไปแล้ว สันนิษฐานว่า การไร้รัฐจะน้อมนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธรรมชาติของมนุษย์,
การเรียกร้องความยุติธรรมส่วนตัวจะเพียงพอ หรือหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้.
ในสหรัฐอเมริกา, ความคิดต่างๆทางด้านอนาธิปไตยได้รับการแสดงออกมาในงานเขียนของ
Henry David Thoreau (อย่างเช่นเรื่อง Civil Disobedience - การดื้อแพ่ง),
Josiah Warren, และ Benjamin Tucker. บรรดานักปัจเจกอนาธิปไตย อย่างเช่น Tucker
ได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนต่างๆของ Herbert Spencer และ Max Stirner, ในท่ามกลางคนอื่นๆ
ช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 บรรดานักทฤษฎีฝ่ายซ้ายอนาธิปไตย(anarchist collectivist
theorists) อย่าง Mikhail Bakunin และบรรดาคอมมิวนิสท์อนาธิปไตยทั้งหลาย(Anarchist
communists) อย่าง Peter Kropotkin ได้วิพากษ์วิจารณ์ลัทธิทุนนิยมคู่ขนานไปกับมาร์กซิสท์
และสังเคราะห์มันกับการวิจารณ์รัฐของพวกเขา โดยการเน้นถึงความสำคัญของมุมมองเกี่ยวกับชุมชน
เพื่อธำรงรักษาเสรีภาพของปัจเจกชนและในบริบทของสังคม และบทบาทในเชิงวิพากษ์ของบรรดาคนงานทั้งหลาย
ในฐานะองคาพยพที่ดูแลจัดการตนเองเกี่ยวกับผลผลิตและการสร้างสรรค์ของพวกเขา
สมาคมคนงานนานาชาติ(The International Workingmen's Association), นับจากที่สมาคมได้รับการก่อตั้งขึ้น เป็นกลุ่มพันธมิตรของบรรดานักสังคมนิยมทั้งหลาย ที่รวมเอาทั้งบรรดานักอนาธิปไตยและมาร์กซิสท์เข้ามาไว้ด้วยกัน. ทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน(ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ไร้รัฐ - stateless communism) และมีปรปักษ์ร่วมกัน (คือพวกอนุรักษ์นิยมและพวกฝ่ายขวาอื่นๆ)
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์กันและกัน และความขัดแย้งที่มีอยู่อย่างแยกไม่ออกระหว่างทั้งสองฝ่าย ในไม่ช้าก็ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในการถกเถียงกัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง Mikhail Bakunin, ที่เป็นตัวแทนความคิดอนาธิปไตย และ Karl Marx อันเป็นตัวแทนความคิดของตนเอง
โดยทั่วไป มาร์กซ์ต้องการทำงานอยู่ภายในระบบ ใช้โครงสร้างองค์กรที่แบ่งเป็นลำดับชั้นสูงต่ำ และผลักดันผู้คนในการเลือกตั้ง. ส่วน Bakunin รังเกียจความคิดเหล่านี้ และทำนายว่า ถ้าหากว่าการปฏิวัติได้รับชัยชนะขึ้นมาภายใต้พรรคปฏิวัติมาร์กซิสท์ มันก็จะจบลงลงด้วยความเลวร้ายเท่ากับชนชั้นปกครอง ที่พวกเขาพยายามต่อสู้
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า Mikhail Bakunin เห็นถึงความต้องการอันหนึ่งที่จะพิทักษ์ปกป้องชนชั้นคนงานจากการกดขี่ และโค่นล้มชนชั้นปกครองลง และเขาทำนายว่าสภาคนงานประชาธิปไตยจะก่อตัวขึ้นในช่วงอนาคตของการปฏิวัติ และบรรลุถึงบทบาทอันนี้. แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ.1872 ความขัดแย้งใน the First Internation ได้ถึงจุดสุดยอดโดยการขับ Bakunin และคนเหล่านั้นที่กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ Bakuninists ทั้งหลายออกไป เมื่อพวกเขาได้ถูกทำให้แพ้โดยเสียงส่วนใหญ่ของพรรคมาร์กซ์ ณ การประชุมรัฐสภา Hague Congress. บ่อยครั้งสำหรับเหตุการณ์นี้ที่ได้รับการอ้างในฐานะที่เป็นต้นกำเนิด ของความขัดแย้งระหว่างบรรดานักอนาธิปไตยกับบรรดามาร์กซิสท์ทั้งหลาย
ลัทธิคอมมิวนิสท์อนาธิปไตยของ Peter Kropotkin พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีพื้นฐานอยู่บนวิวัฒนาการ ซึ่งปฏิบัติการร่วมกันอย่างเสมอบ่าเสมอไหล่ หรือแข่งขันกันจนเลยเถิดในความสำคัญ ดังที่แสดงให้เห็นใน Mutual Aid: A Factor in Evolution (1897).
การปฏิวัติบางคราวในช่วงเวลานี้ได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมือง อย่างเช่นการระเบิด และการลอบสังหารผู้นำรัฐทั้งหลาย เพื่อลัทธิอนาธิปไตยจะได้ขยายตัวออกไป แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวได้ถูกพิจารณาโดยบรรดานักอนาธิปไตยทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่นำไปสู่เป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้
ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19, anarcho-syndicalism (ลัทธิสมาคมแรงงานอนาธิปไตย) ได้พัฒนาขึ้นในรูปของลัทธิคอมมิวนิสต์เสรีชน ซึ่งเน้นการกระทำต่างๆในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสไตร์คทั่วๆไป ในฐานะเป็นยุทธิวิธีขั้นแรกเพื่อนำไปสู่การบรรลุผลเกี่ยวกับการปฏิวัติอนาธิปไตย และการสร้างสังคมใหม่ขึ้นมาในกระดองเก่า(build the new society in the shell of the old)
บรรดานักอนาธิปไตยทั้งหลายได้แสดงบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านแรงงานมากมาย เช่น การจลาจล และการปฏิวัติต่างๆ นับจากช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 และในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 20 รวมทั้งการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ.1917
ในสหรัฐอเมริกา ผู้อพยพมาใหม่จำนวนมากเป็นพวกอนาธิปไตย; โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่เด่นคือบรรดาผู้อพยพเชื้อสายยิวมากมายที่มาจากฝ่ายซ้ายของรัสเซียและยุโรปตะวันออก ในช่วงระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่ 19 และต้นคริสตศตวรรษที่ 20. กลุ่มต่างๆเหล่านี้ได้ถูกทำให้แตกสลายลงโดย "สถานการณ์ภัยแดงในช่วงปี ค.ศ.1919" (Red Scare of 1919)
Emma Goldman ถือเป็นนักอนาธิปไตยและนักสิทธิสตรีที่ทรงอิทธิพลมากคนหนึ่งในช่วงเวลานี้. เธอเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเผยแผ่ความคิดอนาธิปไตยต่างๆ และพยายามที่จะดำรงชีวิตอย่างนักอนาธิปไตยคนหนึ่ง
การปรับตัวของ anarcho-syndicalist เกี่ยวกับสหภาพแรงงานอเมริกันจำนวนมากในช่วงต้นๆ ได้แสดงบทบาทอย่างมากในการก่อตัวของสเปกตรัมการเมืองอเมริกัน(political spectrum). สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยเป็นอาณานิคมอังกฤษมาก่อน และเป็นประเทศทางด้านอุตสาหกรรมเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีพรรคการเมืองที่มีฐานมาจากพรรคแรงงาน
ในเม็กซิโก พวก anarcho-syndicalists อย่าง Ricardo Flores Mag?n ได้น้อมนำการปฏิวัติและการก่อจลาจลหลายครั้ง ซึ่งช่วยให้เกิดการโค่นล้มเผด็จการ Diaz, และนำไปสู่หนทางสำหรับความเจริญงอกงามของลัทธิอนาธิปไตยในลาตินอเมริกา และยังได้ส่งอิทธิพลอย่างต่อเนื่องให้กับการก่อกบฎของขบวนการซาปาติสต้า (Zapatista) สมัยใหม่ด้วย
ยุโรป ในช่วง 25 ปีแรกของคริสตศตวรรษที่ 20 ขบวนการอนาธิปไตยค่อนข้างบรรลุผลสำเร็จ แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ทั้งการประสบความสำเร็จและการถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐ. ในสหรัฐอเมริกา องค์กรอนาธิปไตยต่างๆ ได้ถูกบดขยี้ลงเช่นกันในช่วงระหว่างการสร้างสถานการณ์ภัยแดงขึ้นมา(1919-20). แต่อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษที่ 1920s และ 1930s ความขัดแย้งระหว่าง ลัทธิอนาธิปไตยกับรัฐ ได้ถูกบดบังรัศมีโดยแนวคิดเสรีประชาธิปไตย, ลัทธิฟาสซิสม์ และคอมมิวนิสม์ ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของลัทธิฟาสซิสม์ในสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองของสเปน(1936-1939) ขบวนการอนาธิปไตยประชาชนที่แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนโดยทหารกองหนุน(ทหารประชาชน - militias) ที่จงรักภักดีต่อสาธารณรัฐ พวกเขาได้เข้าควบคุมพื้นที่ชนบทต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนในปี ค.ศ.1936-1937 และได้ทำการรวบรวมผืนแผ่นดินเหล่านั้นเข้าด้วยกัน แต่ในท้ายที่สุดพวกเขาได้ถูกปราบปรามโดยทหารรีพับลิกันที่ควบคุมโดยคอมมิวนิสท์ ซึ่งต่อมาภายหลังพ่ายแพ้แก่ทหารของนายพล Franco
ในสหภาพโซเวียต นับจาก ค.ศ.1918 และในยุโรปช่วงระหว่างสงครามโลก พวกอนาธิปไตยจำนวนนับพันๆได้ถูกฆ่าตาย หรือไม่ก็ถูกส่งตัวเข้าคุกและค่ายกักกันนาซีต่างๆ (concentration camps)
คลื่นความรู้สึกสนใจของประชาชนในลัทธิอนาธิปไตย เกิดขึ้นช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960s และ 1970s. ในสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) อันนี้ได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับขบวนการพั้งร็อค; วงดนตรี Crass (แปลว่า หยาบ ไร้ความรู้สึก ไร้สติปัญญา) ได้รับการยกย่องสรรเสริญสำหรับความเป็นอนาธิปไตย และไอเดียเกี่ยวกับการยึดถือหลักอหิงสา. ในประเทศเดนมาร์ก the Freetown Christiania ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นยังศูนย์กลางของเมือง Copenhagen
วิกฤตเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการจ้างงานในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ น้อมนำไปสู่การก่อตัวขึ้นมาของชุมชนหรือคอมมูน และขบวนการหักร้างถางพงเข้ายึดพื้นที่(squatter movements) คล้ายกับพวกๆหนึ่งซึ่งยังคงรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่ใน Barcelona, และใน Catalonia. พวกต่อต้านสงครามที่มีต่อกลุ่มนีโอนาซีทั้งหลายในที่ต่างๆ อย่างเยอรมันนี, และการก่อจลาจลของ autonomous Marxism, พวก situationist, และ กลุ่ม Autonomist ต่างๆในฝรั่งเศสและอิตาลี ได้ช่วยสร้างความนิยมของประชาชนขึ้นมา ในการต่อต้านกับพวกเผด็จการ, และเผยแพร่ความคิดต่างๆที่ไม่ต้องการทุนนิยม
การเริ่มต้นในช่วงครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 20 นักอนาธิปไตย primitivists อย่าง John Zerzan เริ่มประกาศถึงอารยธรรมว่า - ไม่เพียงเป็นเรื่องของรัฐเท่านั้น - รัฐต้องถูกโค่นล้มลง เพื่ออนาธิปไตยจะได้บรรลุผล. การปฏิเสธเกี่ยวกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ถือเป็นความโดดเด่นด้วยในทัศนะของบรรดานักอนาธิปไตยเขียว(green anarchists)เป็นจำนวนมาก. โลกทัศน์อันนี้ได้ไปสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตของขบวนการต่อต้านบนท้องถนนในประเทศอังกฤษ, พวก Earth First! และพวก the Earth Liberation Front ในสหรัฐอเมริกา, และปฏิบัติการต่างๆของ Theodore Kaczynski (aka the "Unabomber")
ตลอดคริสตศตวรรษที่ 20 พวกอนาธิปไตยได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันอย่างกระตือรือร้นกับขบวนการแรงงาน, ขบวนการปกป้องสิทธิสัตว์(animal rights), ขบวนการนิเวศวิทยามูลฐาน(radical ecological movement), ขบวนการสิทธิสตรี และต่อมาภายหลังได้ไปเกี่ยวพันในการต่อสู้กับพวกลัทธิฟาสซิสม์. อิทธิพลดังกล่าวทางด้านความคิดอนาธิปไตยเป็นไปอย่างค่อนข้างเด่นชัด อันนี้คล้ายกับปรัชญาอนาธิปไตยแบบจารีตทั้งหลายที่เน้นความเกี่ยวพันกับเรื่องต่างๆทางเศรษฐกิจ หรือการมาถึงลัทธิอนาธิปไตยจากข้อถกเถียงทางเศรษฐกิจ
นับจากช่วงกลางทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา บรรดานักอนาธิปไตยได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการประท้วงของบรรดานักศึกษา, ขบวนการสันติภาพต่างๆ, ขบวนการหักล้างถางพงเข้ายึดพื้นที่, และขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์(anti-globalization) ในท่ามกลางกลุ่มและขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนอื่นๆ
3. ลัทธิอนาธิปไตยในปัจจุบัน
(Anarchism today)
ลัทธิอนาธิปไตยในอเมริกาเหนือค่อนข้างมีอิทธิพลอย่างเข้มแข็ง จากขบวนการสิทธิพลเมืองอเมริกัน
และขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนาม. ส่วนลัทธิอนาธิปไตยของชาวยุโรปได้พัฒนาหลุดออกมาจากขบวนการแรงงาน
และทั้งคู่ "กลุ่มปกป้องสิทธิสัตว์"และ"กลุ่มกิจกรรมสิ่งแวดล้อม"
ได้ผนึกกำลังกันจากวิธีปฏิบัติการโดยตรง ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญเติบโตต่อขบวนการต่อต้านบนท้องถนน
และ Reclaim the Streets
ทั่วทั้งโลก ลัทธิอนาธิปไตยได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันกับการต่อต้านสงคราม การต่อต้านทุนนิยม และขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์. นับจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1990s บรรดานักอนาธิปไตยได้ถูกรู้จักสำหรับการเกี่ยวข้องของพวกเขาในการประท้วงต่างๆต่อองค์กรการค้าโลก(World Trade Organization และการประชุมของกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ 8 ชาติ(Group of Eight) รวมถึงการประชุมเศรษฐกิจโลก(World Economic Forum)
การประท้วงดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วได้ถูกพรรณาหรือวาดภาพโดยสื่อกระแสหลักทั้งหลายในฐานะที่เป็นการก่อจลาจลอย่างรุนแรง. นักอนาธิปไตยบางคนให้การสนับสนุนส่งเสริมการก่อตัวขึ้นมาของกลุ่ม Black blocs(กลุ่มทมิฬ)ในการประท้วงต่างๆ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายที่อยู่ในกลุ่มนี้ต่างสวมใส่ชุดพรางตัวสีดำ และคลุมหน้าของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการชี้ตัวของตำรวจ และได้สร้างมวลชนขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน. กลุ่มทมิฬในชุดดำนี้ทำหน้าที่เผชิญหน้ากับตำรวจ, จัดการกับเครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ และบางครั้งทำหน้าที่ในการทำลายทรัพย์สินของบริษัทต่างๆ ด้วย
ถึงแม้ว่าบรรดานักอนาธิปไตยในกลุ่มทมิฬ บ่อยครั้ง จะเป็นจุดสนใจของบรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายที่มีต่อพวกอนาธิปไตยในการประท้วงครั้งใหญ่ๆ แต่การประท้วงส่วนมาก หลายต่อหลายครั้งได้รับการสร้างขึ้นมาและจัดองค์กรโดยผ่านโครงสร้างที่ไม่มีลำดับชั้น. กลุ่มต่างๆ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดความสนใจ, คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ(spokescouncils) และเครือข่าย ทั้งหมดได้น้อมนำไปสู่ความสำเร็จของการต่อต้านสงครามขนาดใหญ่ และการระดมพลเพื่อต่อต้านโลกาภิวัตน์ ดังที่ปรากฏเด่นชัดที่สุดในการประท้วงการประชุมองค์กรการค้าโลก(WTO)ในปี ค.ศ.1999 ที่ Seattle
นอกจากนี้ บรรดานักอนาธิปไตยยังถูกนำไปเกี่ยวพันอย่างมากกับขบวนการใต้ดินโดยตรงด้วย อย่างเช่น the Animal Liberation Front, และ the Earth Liberation Front, ซึ่งแนวหน้าเหล่านี้ได้รับการมองว่าเป็นพวกก่อการร้ายทางนิเวศวิทยา หรือ eco-terrorist โดยองค์กรเสรีภาพต่างๆ และสมาพันธ์พันธมิตรทั้งหลาย. ลัทธิอนาธิปไตย (หรืออย่างน้อยที่สุด ระบบต่างๆที่ไม่มีลำดับชั้นของการจัดองค์กร) ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกพิจารณาว่า มีการแกว่งไกวไหวเอนไปมาอย่างเดียวกันกับขบวนการปฏิวัติสมัยใหม่ ดังที่ลัทธิมาร์กซิสม์เป็นเช่นนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1960s
แต่อย่างไรก็ตาม ลัทธิอนาธิปไตยไม่ได้ถูกขังหรือจำกัดให้ต้องไปเกี่ยวพันแต่เฉพาะการประท้วงทางการเมืองเท่านั้น. บรรดานักอนาธิปไตยเป็นจำนวนมากทำงานร่วมกันกับคนกลุ่มอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์โครงสร้างและองค์กรคู่ขนานต่างๆ อย่างเช่น คอมมูน, หมู่บ้านนิเวศวิทยา(eco-villages), สำนักงานข้อมูล(infoshops), และศูนย์กลางสังคมรากฐาน(radical social centers), องค์การอาหารไม่เอาระเบิด(Food Not Bombs), สหภาพแรงงานรากฐาน, การศึกษาแนวใหม่, สื่อที่ทำด้วยตัวท่านเองในหลายๆรูปแบบ
กลุ่มเหล่านี้เน้นการทำงานแบบเสมอภาค และมีการจัดองค์กรแบบแนวนอน(หมายถึงไม่มีลำดับชั้นสูงต่ำ)ในขบวนการ มีการใช้เครื่องไม้เครื่องมืออย่างเช่น ฉันทามติที่ได้มาจากการร่วมกันตัดสินใจ. อันนี้อยู่บนบรรทัดฐานที่ว่า บรรดานักอนาธิปไตยตีความไอเดียเกี่ยวกับทวิอำนาจ(dual power)กันอย่างไร, การสร้างสรรค์สังคมที่ต่อต้านอำนาจเบ็ดเสร็จในกระดองเก่า(สังคมเก่า) หรือระบบอำนาจแบบมีลำดับชั้นสูงต่ำ
บางคนกล่าวว่า พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเมื่อเร็วๆนี้ได้ทำให้แนวทางอนาธิปไตยง่ายที่จะเจริญก้าวหน้า และมีความเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับผู้คน. วิทยาการเข้าระหัสหรือที่เรียกว่า Public key cryptography และ Internet ทำให้เงินดิจิตอลที่ไม่ระบุอะไร อย่างเช่น e-gold เป็นทางเลือกของเงินตรา. ผู้คนเป็นจำนวนมากใช้ cell phones (หรือโทรศัพท์เซลลูลาร์) หรืออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างชุมชนหลวมๆ ของพวกเขาขึ้นมา ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าถูกทำให้เป็นองค์กรตามบรรทัดฐานต่างๆ ของนักอนาธิปไตย
ชุมชนเหล่านี้บางชุมชนมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการผลิตข้อมูลของพวกเขา ในลักษณะไม่ได้ทำให้เป็นสินค้าหรือรูปแบบของประโยชน์มูลค่า เป้าหมายอันหนึ่งก็คือ ทำให้สัมฤทธิผลโดยความเป็นไปได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว, การตีพิมพ์สื่อผ่านทางเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์, และสื่อดิจิตอลต่างๆ. สิ่งเหล่านี้ ทำให้มีความเป็นไปได้สำหรับปัจเจกชนทั้งหลาย ที่จะมีส่วนร่วมปันกันเกี่ยวกับไฟล์ทางด้านดนตรีบนระบบอินเตอร์เน็ต
ยังมีชุมชนโปรแกรม open source ที่ให้ผู้คนเข้าถึงได้อย่างอิสระด้วย ซึ่งคนเหล่านี้ได้เสียสละเวลาของพวกเขา และเสนอผลผลิตของพวกตนให้ฟรีด้วยโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ยกตัวอย่างเช่น Usenet, the free software movement (รวมทั้ง the GNU/Linux community และ the wiki paradigm), และ Indymedia ชุมชนเหล่านี้ต่างมีส่วนร่วมในอุดมการณ์เกี่ยวกับอนาธิปไตย ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ และทุนนิยมโลก จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่าง labor note หรือตั๋วแรงงาน
ใช้สำหรับแลกกับสิ่งของจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
อนาธิปไตย การเมืองแบบไร้รัฐ
การประท้วงดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วได้ถูกพรรณาหรือวาดภาพโดยสื่อกระแสหลักทั้งหลายในฐานะที่เป็นการก่อจลาจลอย่างรุนแรง.
นักอนาธิปไตยบางคนให้การสนับสนุนส่งเสริมการก่อตัวขึ้นมาของกลุ่ม Black blocs(กลุ่มทมิฬ)ในการประท้วงต่างๆ
ซึ่งผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายที่อยู่ในกลุ่มนี้ต่างสวมใส่ชุดพรางตัวสีดำ และคลุมหน้าของตนเอง
เพื่อหลีกเลี่ยงการชี้ตัวของตำรวจ และได้สร้างมวลชนขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน.
กลุ่มทมิฬในชุดดำนี้ทำหน้าที่เผชิญหน้ากับตำรวจ, จัดการกับเครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ
และบางครั้งทำหน้าที่ในการทำลายทรัพย์สินของบริษัทต่างๆ ด้วย
(Anarchism
From Wikipedia, the free encyclopedia)