นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

เศรษฐศาสตร์การเมืองร่วมสมัย
ความรู้เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่จากสารานุกรมวิกกี้
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความเพื่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ
แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองในยุคโลกาภิวัตน์


หมายเหตุ
บทความชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
Wikipedia the free encyclopedia
(ความเป็นกลางและความถูกต้องของข้อเท็จจริงสำหรับบทความนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

The neutrality and factual accuracy of this article are disputed

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 721
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)



Neoliberalism - ลัทธิเสรีนิยมใหม่

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ เป็นการพูดถึงปรัชญาเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งเกี่ยวพันอย่างสำคัญกับนโยบายต่างๆของรัฐบาล เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงปีทศวรรษที่ 1970s - และได้เพิ่มความสำคัญขึ้นมาเรื่อยๆ นับจากปี 1980 เป็นต้นมา - ซึ่งไม่เน้นหรือปฏิเสธการแทรกแซงของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ (โดยส่งเสริมการริเริ่มของเอกชน)

แนวคิดนี้จะโฟกัสลงไปที่ความก้าวหน้าและความยุติธรรมทางสังคม โดยการกระตุ้นและสนับสนุนวิธีการตลาดเสรี(free-market) และมีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยต่อปฏิบัติการทางธุรกรรม รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่างๆ. บรรดาผู้ที่ให้การสนับสนุนแนวทางนี้ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยเครื่องมือและนโยบายต่างๆที่เป็นมิตรกับเศรษฐกิจ สังคม สามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การประกอบธุรกิจจะเจริญเติบโตขึ้น การสร้างสรรค์และประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ จะมาช่วยปรับปรุงสวัสดิการทางเศรษฐกิจทั้งหมดโดยรวม

ทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจในแนวทางนี้ได้รับการอ้างว่าเป็นเศรษฐกิจแบบ"trickle down economics"(เศรษฐกิจแบบไหลจากบนลงล่าง) หรือ "Reaganomics"(เรแกนโนมิคส์). ส่วนพวกที่ไม่เห็นด้วยคิดว่า การแทรกแซงของรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างสังคมที่เที่ยงธรรมขึ้น

เสรีนิยมใหม่เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับ"ลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ"(economic nationalism), การค้าแบบยุติธรรม(fair trade) และการต่อต้านลัทธิทุนนิยม(anti-capitalism), ทั้งสาม เป็นทางเลือกที่ต่างไปจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่

ศัพท์คำว่า"เสรีนิยมใหม่"ยังถูกใช้ในความหมายเชิงเทววิทยาด้วย ในฐานะที่เป็นแรงขับหนึ่งที่จะแก้ไขปรับปรุงความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาจักรอย่างสุขุมรอบคอบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ยึดถือแนว evangelical - หรือเชื่อในพระคัมภีร์ใหม่(first 4 books of New Testamen)ที่เขียนโดย แมทธิว, มาร์ค, ลุค และจอห์น) เพื่อปรับตัวให้เข้ากับลัทธิหลังสมัยใหม่(post-modernism). ส่วนเนื้อหาที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเกี่ยวพันแต่เฉพาะเรื่องของลัทธิเสรีนิยมใหม่ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองเท่านั้น

เนื้อหาหลักของบทความ จะกล่าวถึงหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- การอภิปรายโดยสังเขปเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ (Brief discussion)
- ประวัติโดยสังเขปเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ (Brief history)
- ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ (Theory)
- ปฏิบัติการของแนวทางเสรีนิยมใหม่ (Practice)
- ใครคือนักเสรีนิยมใหม่ (Who is a neoliberal?)

1. การอภิปรายโดยสังเขปเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ (Brief discussion)
ศัพท์คำว่า"ลัทธิเสรีนิยมใหม่"(neoliberalism)ไม่ใช่ศัพท์เพียงคำเดียวสำหรับขบวนการนี้ ผู้ให้การสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวเป็นจำนวนมากได้ให้เหตุผลว่า มันคือ"ลัทธิเสรีนิยม(liberalism)นั่นเอง ขณะที่บรรดานักวิจารณ์(พร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุนบางคน) มักปิดป้ายฉลากให้มันว่า"ลัทธิแธทเชอร์"(Thatcherism - United Kingdom) หรือ "เรแกนโนมิค" (Reaganomics - United States of America) หรือ "โรเจอร์โนมิค" (Rogernomics - New Zealand) เนื่องมาจากมันมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ระหว่างปรัชญานี้และ"เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค"(neoclassical economics) และความสับสนเกี่ยวกับศัพท์ที่คลุมเครือ"liberal" บางคนจึงสนับสนุนให้ใช้คำว่า"ปรัชญานีโอคลาสสิค"(neoclassical philosophy)

สำหรับลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้น ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆด้านด้วยกันโดยนักสังคมนิยม(socialist), นักเสรีนิยมสังคม(social liberalist), นักอนาธิปไตย(anarchist), และพรรคอนุรักษ์นิยมต่างๆ(conservative parties) เช่นเดียวกับถูกวิจารณ์โดยปัญญาชนและบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย.

บางคนพรรณาถึงลัทธิเสรีนิยมใหม่ในฐานะการยัดเยียดเกี่ยวกับตลาดเสรีจากบนลงล่าง นับจากที่มันได้รับการส่งเสริมโดยสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศต่างๆ อย่างเช่น IMF และ World Bank และโดยองค์ที่เป็นรัฐบาลกลางต่างๆ อาทิเช่น สหภาพยุโรป และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

อีกหลายต่อหลายคนจำแนกลัทธิเสรีนิยมใหม่ด้วย neo-corporatism (ลัทธิบรรษัทใหม่), และการครอบงำหรือมีอิทธิพลทางเศรษฐศาสตร์การเมืองโดย บรรษัทข้ามชาติต่างๆ(multinational corporations) แม้ว่านักเสรีนิยมจำนวนมากจะยึดมั่นกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ แต่ระบบคิดอันเป็นอุดมคติของพวกเขาก็มีเนื้อหาที่กว้างมากอันหนึ่ง และบางกรณี นักเสรีนิยมคนอื่นๆก็คัดค้านลัทธิเสรีนิยมใหม่

ลัทธิเสรีนิยมใหม่(neoliberalism) ไม่ใช่เรื่องเดียวกับลัทธิเสรีนิยมอย่างใหม่(new liberalism)ของ John Dewey, Woodrow Wilson, John Maynard Keynes, Franklin Roosevelt, หรือพรรคเสรีประชาธิปไตยอังกฤษ(the British Liberal Democrats), ซึ่งเห็นถึงบทบาทที่เป็นไปในเชิงบวกของรัฐบาล โดยผ่านลัทธิแทรกแซงในทางเศรษฐกิจ

ยิ่งกว่านั้น มันยังโฟกัสไปที่สถาบันที่มั่นคงอันเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ และการลดทอนกฎเกณฑ์ท้องถิ่นต่างๆ รวมไปถึงข้อบังคับทั้งหลายและอุปสรรคขวากหนามทางการค้าลง และทำให้วิสาหกิจทั้งหลายที่ดำเนินการโดยรัฐ แปรรูปไปเป็นของเอกชน(privatization of state-run enterprises)

บรรดานักวิจารณ์หลายคนเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงแนวคิดนี้กับโลกาภิวัตน์ และกับการเกิดขึ้นมาของบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย เช่นเดียวกับความเข้มงวดในด้านงบประมาณและวินัยทางการเงินของรัฐบาลในโครงการทางสังคมที่มีราคาแพงต่างๆ

บ่อยครั้งศัพท์คำนี้ถูกใช้ในฐานะเป็นคำที่แสดงการวิพากษ์วิจารณ์ ในบริบทนี้มันไม่ได้หมายถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นปฏิบัติการเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยมโลก(global capitalism) และพลังอำนาจของบรรษัทข้ามชาติ เช่นเดียวกับผลลัพธ์ต่างๆของการค้าเสรีที่มีต่อค่าจ้างแรงงานและโครงสร้างทางสังคม

2. ประวัติโดยสังเขปเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ (Brief history)
เทียบกับปรัชญาเสรีนิยมคลาสสิค(classical liberal philosophy) ที่ได้สนับสนุนและกระตุ้นให้มีการก่อกำเนิด"ยุคแรกของโลกาภิวัตน์"ขึ้นมา ซึ่งจบลงด้วยการช็อกคนทั้งโลกด้วยสงครามโลกครั้งที่ 1, ที่ได้โถมทำลายยุคทอง และทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่(Great Depression)

สำหรับลัทธิเสรีนิยมใหม่(neoliberalism)ถูกนำไปเชื่อมโยงกับยุคที่สองของโลกาภิวัตน์ร่วมสมัย(the contemporary "second era of globalization") เมล็ดพันธุ์ต่างๆซึ่งได้รับการบ่มเพาะขึ้นมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2. ในระหว่างนั้น ช่วงยุคสมัยนับจากปี ค.ศ. 1915 จนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1960s หรือกว่านั้น หลายหลากข้อมูลทางสถิติของลัทธิเสรีนิยมและชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ได้เป็นตัวนำนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติต่างๆมากมาย

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950s หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ในเรื่อง"ลัทธิเสรีนิยม"เยอรมันในยุคนั้น และเรื่อง"สาธารณรัฐกลางเยอรมันนี"ได้รับการพิมพ์ขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน

รากเหง้าต่างๆทางเศรษฐกิจของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เริ่มต้นขึ้นด้วยการสถาปนาความมั่นคงทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ ด้วยข้อตกลงเบรนตันวูด(the Bretton Woods Agreement) ซึ่งได้กำหนดเงินตราที่ไหลเวียนอยู่กับเงินเหรียญสหรัฐฯ และเงินเหรียญสหรัฐฯกับทองคำ. ในฐานะที่เป็นขบวนการในเชิงอุดมคติอันหนึ่ง มันกลายเป็นความคิดที่แพร่หลายมากขึ้น บนพื้นฐานผลงานของของ Robert Mundell และ Arthur Flemming

สมาคมที่มีชื่อว่า The Mont Pelerin Society, ได้ถูก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันโดยบรรดานักคิดทั้งหลาย อย่างเช่น Friedrich Hayek, Milton Friedman, และ Michael Polanyi โดยได้มีการสร้างถังความคิดตลาดเสรีขึ้นมา และกลุ่มต่างๆที่ให้การสนับสนุนในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960s และ 1970s. พวกเขาได้ดึงเอาทฤษฎีต่างๆทางเศรษฐศาสตร์และลัทธิการเงินของสกุลออสเตรียน(Austrian School)มาใช้

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ให้เหตุผลว่า ลัทธิปกป้องคุ้มครอง(protectionism) และโครงการรัฐบาลต่างๆ ได้สร้างความไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจขึ้นมา และประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ควรที่จะเปิดตลาดของพวกเขาให้กับภายนอก และโฟกัสลงไปที่การส่งออก. นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องของการชำระหนี้และการยกเลิกบรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของต่างๆ รวมไปถึงการลดทอนกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อกีดกันธุรกิจต่างๆ ลงด้วย

ความคิดเสรีนิยมใหม่ถูกพบว่า มีการแสดงออกในการเจรจาทางการค้า เพื่อสร้างข้อตกลงทั่วๆไปขึ้นมา เกี่ยวกับภาษีศุลกากรและการค้า(the General Agreement on Tariffs and Trade) เช่นเดียวกับข้อตกลงการค้าเสรีในระดับภูมิภาค อย่างเช่น สหภาพยุโรป และข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement - NAFTA) เป็นต้น

พัฒนาการที่เป็นไปอย่างเชื่องช้าและในเชิงปริมาณของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีอัตราเร่งในช่วงทศวรรษที่ 1970s และส่วนใหญ่ไม่เป็นไปโดยวิธีการต่างๆที่สันติ หนึ่งในเรื่องราวความสำเร็จของเสรีนิยมใหม่ที่ดูเชิญชวนก็คือ เรื่องของนายพลออกัสโต ปิโนเช่(General Augusto Pinochet) ของชิลี - ซึ่งเริ่มต้นด้วยการขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของซาล์วาดอร์ อเลนเด้(Salvador Allende)อย่างรุนแรง

รัฐบาลของอเลนเด้ได้ดำเนินรอยตามนโยบายต่างๆของพวกฝ่ายซ้าย และได้รับการปิดป้ายฉลากให้เป็นพวกสังคมนิยมและมาร์กซิสท์. นโยบาย"ตลาดเสรี" รวมทั้งการแปรรูปสินทรัพย์ต่างๆของรัฐ ได้ถูกกำหนดหรือยัดเยียดโดยบรรดานักเศรษฐศาสตร์ "los Chicago Boys," ซึ่งเป็นกลุ่ม Chicago school ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Milton Friedman. นโยบายทั้งหลายเหล่านี้ ต่อมาภายหลังได้รับการเลียนแบบโดยสถาบัน Bretton Woods ซึ่งนำไปปฏิบัติกับประเทศยากจนอื่นๆเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในลาตินอเมริกา

การปรากฏตัวขึ้นมาของกระแสคลื่นลัทธิเสรีนิยมใหม่ บรรลุถึงจุดสุดยอดโดยรัฐบาลของเรแกนในสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลของนางมากาเร็ต แธทเชอร์ในอังกฤษ. รัฐบาลของเรแกนและแธทเชอร์ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ ของประเทศตัวเองสู่ลัทธิปล่อยเสรีทางการค้า(laissez-faire)เท่านั้น แต่ยังใช้วิธีการบังคับควบคุมของพวกเขากับสถาบันเบรททัน วูดต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อยัดเยียดนโยบายดังกล่าวกับส่วนที่เหลือของโลกด้วย

สำหรับเหตุผลนี้ บางคนมองว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่เป็นคำที่พ้องกับคำว่า"ฉันทามติวอชิงตัน"(Washington Consensus) นโยบายในลักษณะครอบงำดังกล่าว มองไปที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund (IMF), ธนาคารโลก(the World Bank), และกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ณ ช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 20 และการเริ่มต้นของคริสตศตวรรษที่ 21

หลักการซึ่งไม่ต้องพิสูจน์ที่สำคัญอันหนึ่งของสกุลเสรีนิยมใหม่ก็คือ สิ่งที่แธทเชอร์กล่าว "มันไม่มีทางเลือกสำหรับลัทธิทุนนิยมโลกาภิวัตน์" หรือ There Is No Alternative" to globalized capitalism. สโลแกนนี้บ่อยครั้งใช้คำย่อว่า "TINA."

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s และช่วงต้น 1990s นโยบายเสรีนิยมใหม่ต่างๆ ได้ถูกอ้าแขนรับโดยพวกที่ถูกนิยามตามจารีตว่าพวกซ้าย-กลาง(center-left) ดังที่ Bill Clinton แห่งสหรัฐฯ ได้หวนกลับไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(North American Free Trade Agreement). การค้าเสรีได้ถูกมองว่าเป็นสาระสำคัญสำหรับโครงการเศรษฐกิจของเขา ซึ่งได้ให้การสนับสนุนการสร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะที่เป็นเครื่องมือซึ่งอเมริกาจะได้สามารถลดทอนหรือจัดการกับการขาดดุลทางการค้าได้อย่างยั่งยืน

บรรดานักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมซ้าย-กลางบางคน ให้เหตุผลว่า ลัทธิปกป้องคุ้มครอง(protectionism)ไม่ใช่ประเด็นซ้ายหรือขวา แต่เป็นประเด็นของความ"อสมมาตร" และด้วยเหตุดังนั้น จึงเป็นมูลเหตุทั่วไปอันหนึ่งสำหรับความเกี่ยวข้อง

บรรดานักวิจารณ์เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ อันที่จริงแล้วมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอันนี้เป็นอย่างนั้นจริงในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งทรัพย์สินของพวกเขาได้ถูกขายออกไปให้กับชาวต่างประเทศ และสถาบันทางเศรษฐกิจรวมถึงสถาบันทางการเมืองในประเทศของเขาได้ถูกทำลายลงทีละน้อยๆ โดยผลลัพธ์ของการถูกเปิดตัวสู่การค้าเสรีและกระแสไหลเวียนของทุน

แม้แต่ภายในขบวนการเสรีนิยมใหม่เอง ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วจำนวนมากเท่าใด ที่ได้ทำลายตลาดที่ถูกทำให้เสรีของพวกเขาลง เพื่อสินค้าต่างๆ จากโรงงาน ขณะเดียวกันก็ปกป้องคุ้มครองตลาดทางด้านเกษตรของตนในบ้านอย่างแข็งขัน

ผู้ให้การสนับสนุนต่อการต่อต้านโลกาภิวัตน์(anti-globalization) ถือเป็นคู่ปฏิปักษ์ที่เอะอะโวยวายมากที่สุดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการสนับสนุนแนวคิดนี้เกี่ยวกับเรื่องการไหลเวียนของทุนอย่างอิสระ แต่ยับยั้งการไหลเวียนของแรงงานอย่างอิสระ("free capital flows" but not free labor flows)

พวกเขาได้สร้างข้อถกเถียงขึ้นมาว่า นโยบายเสรีนิยมใหม่ต่างๆ ส่งเสริมให้"การแข่งขันไปอยู่ล่างสุด"ดังการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่มาตรฐานแรงงานและสภาพแวดล้อมที่ต่ำสุด และคนเหล่านี้ที่ได้รับการจ้างงาน พวกเขาเป็นเพียง"ขอทานรุ่นใหม่ที่เป็นเพื่อนบ้านคุณ"เท่านั้น(updated "beggar thy neighbor") มันคือลัทธิจักรพรรดินิยมสมัยใหม่นั่นเอง ซึ่งย้อนกลับไปได้ 200 ปีเลยทีเดียว พวกเขาต่างเห็นด้วยในเบื้องต้นกับผู้ให้การสนับสนุนลัทธิเสรีนิยมใหม่ทั้งหลาย ซึ่งได้ให้เหตุผลว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่เป็นตัวแทนแสดงออกของเรื่องราวร่วมสมัยอันหนึ่งของ"ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิค"นั่นเอง

บรรดานักเศรษฐศาสตร์บางคนให้เหตุผลว่าว่า นโยบายเสรีนิยมใหม่ต่างๆ สามารถสร้าง"ความเสี่ยงทางศีลธรรม"ขึ้นมาได้ นั่นคือ มีการระบุว่าหลายๆ รัฐบาลและสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศ จะต้องช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ ให้หลุดพ้นจากภาวะที่ยากลำบากทางเศรษฐกิจและภาะการเป็นลูกหนี้ของพวกเขา เพราะพวกเขา"ใหญ่เกินกว่าที่จะล้ม". อันนี้ได้ไปกระตุ้นความเสี่ยงและวิกฤตการณ์ต่างๆมากยิ่งขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ชี้ว่า กระแสเงินตราได้หลอมละลายลงอย่างฉับพลันทันทีในประเทศเม็กซิโก, รัสเซีย, ยุโรปตะวันออก, เอเชียตะวันออก, และอาร์เจนตินา - ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า มันเป็นอันตรายอันหนึ่งที่ยินยอมให้เกิดภาวะความเสี่ยงขึ้นมา โดยปราศจากการลงโทษหรือมีกฎเกณฑ์เพียงพอในการเข้าไปควบคุม

3. ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ (Theory)
ดังที่ได้รับการอธิบายโดย UC Berkeley นักประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ และศาสตราจารย์ Brad DeLong ผู้ปกป้องลัทธิเสรีนิยมใหม่ ซึ่งกล่าวว่า"ลัทธิ"นี้มีหลักการอยู่ 2 ประการ

ประการแรก คือว่า การติดต่อทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่าง"แก่นแกนทางด้านอุตสาหกรรม(ของโลกทุนนิยมทางเศรษฐกิจ) กับ"ชายขอบที่กำลังพัฒนา" ซึ่งเป็นหนทางดีที่สุดที่จะเร่งการถ่ายเททางด้านเทคโนโลยี ซึ่งอันนี้คือเงื่อนไขที่จำเป็นอันขาดเสียมิได้(sine qua non) สำหรับการทำให้ประเทศยากจนทางเศรษฐกิจ ร่ำรวยขึ้น (ด้วยเหตุนี้ อุปสรรคขวากหนามทั้งมวลต่อการค้าระหว่างประเทศ จึงควรถูกกำจัดทิ้งไปอย่างเร็วๆที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้)

ประการที่สอง โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลทั้งหลายต่างขาดเสียซึ่งความสามารถที่จะดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรม และวิสาหกิจการค้าขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ (เว้นแต่) สำหรับพันธกิจที่เป็นแกนหลักของการกระจายรายได้, โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ, การบริหารเกี่ยวกับความยุติธรรม, และอื่นๆอีกเล็กน้อย, รัฐบาลต่างๆควรที่จะลดบทบาทหรือหดตัวลง และแปรรูปกิจการของรัฐเสีย"

บรรดานักวิจารณ์ลัทธิเสรีนิยมใหม่มองว่า หลักการทั้งสองประการนี้ เป็นตัวแทนการแสดงออกถึงส่วนต่างๆของทฤษฎีกระจายรายได้ลงมาสู่ข้างล่าง(trickle-down theory), นั่นคือ ภายใต้ลัทธิทุนนิยมตลาดเสรี ความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี จะทำให้ประเทศและประชาชนที่ยากจนที่สุดมีความเท่าเทียม แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะถูกจัดการโดยบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย, คนชั้นสูงที่ร่ำรวย, และองค์กรต่างๆ ก็ตาม อย่างเช่น IMF ที่ได้รับการควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินในประเทศร่ำรวยทั้งหลาย

ส่วนผู้ปกป้องแนวคิดนี้กล่าวว่า "การพัฒนาคืออิสรภาพ" (นั่นคือ ตลาดเสรี, ลัทธิทุนนิยม) และมันได้สร้างความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจมากขึ้น, สร้างความเชี่ยวชาญและหนทางซึ่งจะสร้างโอกาสต่างๆสำหรับปัจเจกชนที่จะบรรลุผลสำเร็จ มากกว่าการมีโครงสร้างที่ตายตัว ซึ่งจัดหามาเพียงเพื่อการปกป้องคุ้มครองที่ลวงตาเท่านั้น

แนวความคิดเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่กลายเป็นที่นิยมในท่ามกลางหมู่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งไม่เพียงเรื่องของดุลยภาพของอำนาจทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น (ดังที่ได้สนทนากันไปแล้วข้างต้น) แต่ยังเป็นสิ่งที่ตัดสินว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุทธศาสตร์ต่างๆในการพัฒนาสำหรับบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย ไม่ค่อยมีผลดังที่ตั้งใจเอาไว้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ทุนสำหรับโครงการขนาดยักษ์(mega-project) ซึ่งได้ทำให้ประเทศยากจนทั้งหลายเป็นหนี้สินสูงมากยิ่งขึ้น แต่มีความเจริญงอกงามเพียงเล็กน้อยเท่านั้นดังที่ได้ปรากฏออกมา มันเป็นปฏิกริยาอย่างหนึ่งด้วยต่อความล้มเหลวที่รับรู้กันเกี่ยวกับนโยบายยอดนิยม และเศรษฐกิจเสรีนิยมสมัยใหม่ต่างๆ(modern liberal economic policies) อย่างเช่น การทำให้เป็นอุตสาหกรรมโดยทดแทนการนำเข้า(import-substituting industrialization - หมายถึงผลิตสินค้าเองแทนการนำเข้า)

ความล้มเหลวของนโยบายเอเชียตะวันออก(ชาวไต้หวัน, ชาวเกาหลี) เกี่ยวกับความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจโดยรัฐชี้นำการส่งออก และเกี่ยวกับการถูกวางแผนมาจากส่วนกลาง หรือเศรษฐกิจ"คอมมิวนิสต์" ได้รับการตีความในฐานะที่เป็นการต้องการยาเสรีนิยมใหม่มารักษาด้วย. โดยยกเว้นเกี่ยวกับความสำเร็จของจีน, ประเทศที่ได้รับการวางแผนจากส่วนกลางทั้งหลาย ได้ยุติบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองลงในช่วงปลาย 1980s และช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s. ในที่สุด ลัทธิสังคมนิยมการตลาดของจีนก็ค่อยๆวิวัฒน์ไปสู่ลัทธิทุนนิยมสมัครพรรคพวก(crony capitalism) ซึ่งเป็นปัญหาและสร้างความรำคาญต่อเศรษฐกิจส่งออกจำนวนมาก. แต่ปัจจุบัน เศรษฐกิจของจีนได้เป็นตัวแทนแสดงถึงพลังอำนาจที่มุ่งสู่ลัทธิเสรีนิยมใหม่

ดังที่หมายเหตุไว้ หลักการเสรีนิยมใหม่ถูกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า"ฉันทามติวอชิงตัน"(Washington consensus), ชุดหนึ่งของนโยบายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีเป้าหมายการออกแบบขึ้นมาสำหรับประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกา. นอกจากนี้ หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่หมายเหตุโดยศาสตราจารย์ Delong, ฉันทามติวอชิงตันยังกำหนดเงื่อนไขว่า ในแต่ละประเทศ ควรจะมีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีเสถียรภาพ และจัดทำงบประมาณแบบสมดุล

ขณะที่บางคนใช้ศัพท์คำว่าเสรีนิยมใหม่ และนักเสรีนิยม หรือลัทธิเสรีนิยมคลาสสิค(neoliberal and libertarian or classical liberalism)สลับกันไปมา แต่อย่างไรก็ตาม มันมีความแตกต่างกันระหว่างปรัชญาทั้งสองนี้. ขณะที่ทั้งคู่แบ่งปันความเชื่อในเศรษฐศาสตร์การตลาดและการค้าเสรี แต่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่จะมีส่วนร่วมกับทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวเสรีนิยมใหม่(neoliberal international relations theory) และ ลัทธิเสรีนิยมสากล(liberal internationalism) นั่นคือความเชื่อในระบอบการปกครองสากล(international regimes) และระดับหนึ่งของธรรมรัฐโลกาภิวัตน์(global governance) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการเจรจาและข้อตกลงการบริหารระหว่างประเทศต่างๆ

เสรีนิยมใหม่ทั้งหลายเชื่อว่า การพึ่งพาอาศัยกันทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า และลดความตึงเครียดระหว่างประเทศต่างๆลง หรืออย่างน้อยที่สุดก็เบี่ยงเบนรัฐทั้งหลายจากการใช้กำลังทางด้านการทหารไป ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง. แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานัก"เสรีนิยม"ปฏิเสธความเชื่อ"เสรีนิยมใหม่"ที่ว่า ธรรมรัฐโลกาภิวัตน์ หรือระบอบการเจรจาหาข้อตกลงกันของรัฐนั้น จะเชื่อมผนึกหรือผูกพันแต่ละประเทศเข้าหากันตามที่ปรารถนา

คนจำนวนมากที่ชื่นชมลัทธิเสรีนิยมใหม่ยอมรับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ซึ่งยึดถือการจ้างงานอย่างเต็มที่และการคาดหวังต่างๆอย่างมีเหตุผล นั่นคือ ทฤษฎีนีโอคลาสสิคสมัยใหม่และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตลาดเสรี. ส่วนคนอื่นๆที่วางใจเกี่ยวกับแนวคิดนี้ในความเอื้ออาทร และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของ IMF และสถาบันทางการเงินต่างๆระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาปัญหาเศรษฐกิจโลก

4. ปฏิบัติการของแนวทางเสรีนิยมใหม่ (Practice)
ปฏิบัติการทางความคิดเสรีนิยมใหม่มีอยู่อย่างกว้างขวาง ผู้ให้การสนับสนุนบางคนพิจารณาเรื่องความโปร่งใส, ซึ่งมองการพัฒนาและความเป็นรูปแบบหนึ่งเดียวกันของกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับต่างๆ ในฐานะที่เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด ขณะที่คนอีกจำนวนมากมองว่า การปลดเปลื้องกฎเกณฑ์ต่างๆของรัฐลง การทำเช่นนั้นถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายเบื้องต้นสุดที่สำคัญ

ผู้ดำเนินรอยตามนโยบายเสรีนิยมใหม่ชั้นนำบางคน วิจารณ์วิธีการดังกล่าวว่า นโยบายเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้งานเพื่อบรรลุผลสำเร็จ. แต่บางคนประณามสถาบันต่างๆอย่างเช่นธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)โดยตรง ขณะที่คนอื่นๆให้เหตุผลว่า ช่วงเวลานั้น IMF และ World Bank ได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกัน ซึ่งปัญหาต่างๆดังกล่าวกลายเป็นโรคระบาดในท้องถิ่นไปแล้ว - พวกเขาตำหนิหรือประณามวิธีการ"การบำบัดด้วยการช็อก" ซึ่งถูกนำมาใช้ในช่วงทศวรรษ 1980s สำหรับการทำลายทางเศรษฐกิจจำนวนมาก และให้เหตุผลว่า

"มันเป็นระเบิดลูกใหญ่"(big bang)ของการทำให้เกิดตลาดอย่างนั้น ดังเช่น การดำเนินรอยตามในรัสเซีย ได้น้อมนำไปสู่คณาธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ฉ้อฉลของศูนย์กลาง ซึ่งตรงข้ามกันเลยทีเดียวกับข้อเสนอลัทธิเสรีนิยมใหม่ (แม้ว่าผู้ปกป้องแนวคิดนี้ทั้งหลาย จะชี้ถึงความสำเร็จของการปฏิรูปในโปแลนด์อย่างรวดเร็ว กับ ปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญหน้าโดยบรรดานักปฏิรูปที่เชื่องช้า อย่างเช่น ประเทศโมล์โดวา)

มันเป็นความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวงถึงขั้นหายนะทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลและเคยเป็นผู้อำนวยการธนาคารโลกคนก่อน ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำคนหนึ่ง คือ Joseph Stiglitz ที่ได้ให้เหตุผลว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) รู้สึกผิดเกี่ยวกับการพยายามกดดันไปสู่เป้าหมายนโยบายเสรีนิยมใหม่ และฉันทามติวอชิงตันกับประเทศต่างๆในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม (ยกตัวอย่างเช่น วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย เป็นต้น) ซึ่งโดยส่งผลให้เกิดความฉิบหายตามมา

วิธีการ"cookie cutter"(หมายถึงวิธีที่กระทำเหมือนๆกันโดยไม่แยกแยะ) ด้วยการประยุกต์นโยบายแบบเดียวกันไปใช้ โดยไม่แบ่งแยกถึงปัญหาเฉพาะที่เฉพาะทาง สามารถพบเห็นได้ในกรณีวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของเอเชียข้างต้น ดังที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) โดยการผลักดันให้รัฐบาลต่างๆ ตัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายลง ทั้งๆที่การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล ไม่ได้ไปเกี่ยวอะไรเลยกับวิกฤตเศรษฐกิจ

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดานักป๊อปปูลิสท์(ประชานิยม)ทั้งหลายด้วย รวมไปถึงพวกนักสังคมประชาธิปไตย และบรรดานักต่อต้านลัทธิทุนนิยม ซึ่งให้เหตุผลว่า อำนาจการตลาดที่ไม่มีการควบคุม ได้ไปเพิ่มความมั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียมกันขึ้น และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงไปเพิ่มอำนาจที่ไม่เป็นธรรมขึ้นตามมาด้วย

ในหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ Robert Pollin ได้ทำการสรุปภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องราวลัทธิเสรีนิยมใหม่. โดยแยกหรือกันเอาสาธารณรัฐประชาชนจีนออกไป ที่ไม่ได้ดำเนินรอยตามการนำของลัทธิเสรีนิยมใหม่, ยุคสมัยของ"รัฐพัฒนา"(1961-80) ที่มองถึงรายได้ต่อหัวสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของ GDP (gross domestic product)ว่า มีค่าเฉลี่ย 3.2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี. ในอีกด้านหนึ่ง ช่วงระหว่างยุคเสรีนิยมใหม่(1981-99) ปรากฏว่าอัตราความเจริญเติบโตตกลง 0.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การชะลอตัวสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกับบรรดาประเทศร่ำรวยทั้งหลายของ OECD (หมายถึงกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาการค้าไปทั่วโลก)

ส่วนประเทศจีน ซึ่งเปลี่ยนจากประเทศที่มีการวางแผนของตนเองลำพัง ไปสู่การเป็นประเทศที่ได้รับการแนะนำให้ส่งเสริมการส่งออก ได้รับการมองว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ไปถึง 8.4 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างช่วงเวลาเดียวกันนี้ (See Robert Pollin, Contours of Descent, p. 131. ISBN 1-85984-673-4)

ด้วยเหตุดังนั้น ตามมาตรฐานเสรียมใหม่ในตัวมันเอง นโยบายทั้งหลายของแนวทางดังกล่าว สามารถได้รับการมองว่าเป็นความล้มเหลว. Pollin ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับรายได้ที่ไม่เสมอภาคระหว่างช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีนได้ถูกกันออกไปจากตัวอย่างที่นำมาแสดง. การเพิ่มขึ้นทางเศรษฐกิจอย่างไม่เท่าเทียมถือเป็นหนึ่งในเครื่องหมายสำคัญหรือลักษณะเด่นของลัทธิเสรีนิยมใหม่

มีคำถามเปิดอยู่คำถามหนึ่งเกี่ยวกับว่า โลกตะวันตกยังคงได้รับการครอบงำโดยลัทธิเสรีนิยมอยู่ต่อไปหรือไม่. ขณะที่สหภาพยุโรปและประเทศเดี่ยวๆเป็นจำนวนมาก ต่างมีนโยบายซึ่งส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิต่างๆของบรรดาแรงงานทั้งหลาย, ต่อคำถามข้างต้นนี้ นักวิชาการบางคนได้ให้เหตุผลว่า สิ่งเหล่านี้คือการปรับตัวของแนวแกนแบบจำลองทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ มากกว่าการยักย้ายออกไปจากแนวคิดนี้โดยพื้นฐาน

ข้อความเพียงสั้นๆ ดังที่ผู้สนใจทั้งหลายได้อ่านมาข้างต้นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะยุติข้อถกเถียงดังกล่าวลงได้ คำถามประการหนึ่งก็คือ มันจะเป็นการดีกว่าที่จะนิยามเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับภาพของตัวมัน (ดังที่ศาสตราจารย์ DeLong ทำ) หรือในกรณีทั้งหลายเกี่ยวกับปฏิบัติการที่เป็นจริงของมัน

ไม่ว่าจะเป็นไปในหนทางใด คำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ มิได้บ่งชี้อย่างอัตโนมัติลงไปว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่ควรถูกทิ้งลงในถังขยะ. มันเป็นไปได้ ดังที่ผู้ให้การสนับสนุนและเป็นทนายแก้ต่างอย่างกระฉับกระเฉงกับแนวทางนี้จำนวนมากในเรื่อง laissez-faire (การปล่อยเสรีทางการค้า โดยที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือควบคุม) กล่าวว่า นโยบายเสรีนิยมใหม่ต่างๆ นั้น ไม่ได้ถูกประยุกต์นำไปใช้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์เพียงพอ

ในอีกด้านหนึ่ง ใครสักคนอาจให้เหตุผลว่า ถ้าเผื่อว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่ไม่ได้รับการดำเนินการต่อไป เหตุการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจก็จะเลวลงเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นไปได้ที่ว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่ควรจะได้รับการปฏิรูป

5. ใครคือนักเสรีนิยมใหม่ ? (Who is a neoliberal?)
ดังที่คำๆนี้ได้ไปเกี่ยวข้องกับศัพท์แสงต่างๆทางการเมือง นับตั้งแต่ที่ศัพท์คำดังกล่าวถูกนำไปใช้ในหนทางที่แตกต่างกันโดยคนกลุ่มต่างๆ คนที่แตกต่างสามารถจำแนกหมวดหมู่ในวิธีการที่ต่างกัน โดยมีพื้นฐานอยู่บนคำศัพท์ข้างต้น

สำหรับนิยามความหมายที่ถูกตรงจริงๆเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ก็คือ การปล่อยเสรีทางการค้า โดยที่รัฐไม่เข้าไปควบคุมหรือเกี่ยวข้องด้วย(laissaz-faire), การขับเคลื่อนของตลาดทุน, การแปรรูป(privatization) และการจัดการต่างๆทางการค้า"

ภายใต้รูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะอันนี้ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ก็คือนโยบายอนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจ(a business-conservative policy)ที่มีจุดมุ่งหมายที่ไปกดดันวินัยเกี่ยวกับงบประมาณที่เข้มงวด ของประชาชาติที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย โดยความต้องการ (ให้ประเทศต่างๆทั้งหมด เว้นแต่อเมริกา) ใช้งบประมาณแบบสมดุลและปล่อยให้มีการไหลเลื่อนทางการค้าอย่างอิสระ

อันนี้ได้รับการวางอยู่บนพื้นฐานการตีความที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งของแบบจำลอง Mundell-Fleming model และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดที่สุดกับ Washington Consensus (ฉันทามติวอชิงตัน). ในกรณีต่างๆเหล่านี้นักเสรีนิยมใหม่ที่โดดเด่นก็คือ คนอย่างเช่น Margaret Thatcher, Robert Barro, and Alan Greenspan.

ในความหมายกว้างๆ นักเสรีนิยมใหม่เป็นปัจเจกชนคนหนึ่ง ซึ่งเห็นด้วยกับหลักการของศาสตราจารย์ DeLong เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่, กล่าวคือเป็นผู้ให้การสนับสนุนใดๆเกี่ยวกับรัฐบาล ในการจำกัดหรือควบคุมการให้บริการสาธารณะ และการค้าเสรีโลกาภิวัตน์ คนเหล่านั้นคือนักเสรีนิยมใหม่. โดยความหมายหรือนิยามที่กว้างขวางนี้ Robert Rubin, Joseph Stiglitz และ Amartya Sen ถือว่าเป็นนักเสรีนิยมใหม่ แม้ว่าทั้งสามคน ต่างวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ ในเรื่องของรูปแบบที่ค่อนข้างเข้มงวดมากก็ตาม และสำหรับตัวสถาบันต่างๆอย่างเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) และธนาคารโลก(World Bank) สถาบันการเงินทั้งสอง ได้ดำเนินการต่างๆไปตามยุคหลังเบรต์ตัน วูด(the post-Bretton Woods era)

ข้อถกเถียงหลักๆระหว่างการใช้ประโยชน์ทั้งสองนี้ สามารถดูได้จากคำวิจารณ์ต่างๆของ Stiglitz เกี่ยวกับฉันทามติวอชิงตัน: กล่าวคือ โดยมาตรการทั้งหลายที่เขาดำเนินรอยตาม ซึ่งขณะที่โลกาภิวัตน์และการค้าโลกเป็นสิ่งที่ดี แต่พวกเขากลับถูกชักนำในลักษณะที่ดูเหมือนว่า เกือบทั้งหมดถูกออกแบบเพื่อทำให้ประเทศยากจนทั้งหลายยิ่งยากจนลง

โดยเฉพาะเขาได้อ้างถึงการช่วยเหลือทางด้านเกษตรกรรมและการสร้างอุปสรรคต่างๆขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น เรื่องน้ำตาล ราคาน้ำตาลโดยเฉลี่ยได้ถูกจ่ายให้กับบรรดาผู้นำเข้าและส่งออก ระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศแกนหลักต่างๆ และผลในเชิงทำลายล้างของ"เงินร้อน" ในฐานะพาหะสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ

สำหรับเสรีนิยมใหม่ หรือ laissez-faire neoliberal, แตกต่างหรือไม่เหมือนกับการยอมรับสารภาพว่า การให้ความช่วยเหลือทางด้านเกษตรเป็นสิ่งที่เลวร้าย ไม่มีใครในท่ามกลางคนเหล่านี้ที่ทำการฟ้องร้องหรือกล่าวโทษเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการมีเสรีทางการค้า โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ เป็นการพูดถึงปรัชญาเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งเกี่ยวพันอย่างสำคัญกับนโยบายต่างๆของรัฐบาล เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงปีทศวรรษที่ 1970s - และได้เพิ่มความสำคัญขึ้นมาเรื่อยๆ นับจากปี 1980 เป็นต้นมา...สำหรับลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้น ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆด้านด้วยกันโดยนักสังคมนิยม(socialist), นักเสรีนิยมสังคม(social liberalist) นักอนาธิปไตย(anarchist), และพรรคอนุรักษ์นิยมต่างๆ(conservative parties) เช่นเดียวกับถูกวิจารณ์โดยปัญญาชนและบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย.

บางคนพรรณาถึงลัทธิเสรีนิยมใหม่ในฐานะการยัดเยียดเกี่ยวกับตลาดเสรีจากบนลงล่าง นับจากที่มันได้รับการส่งเสริมโดยสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศต่างๆ อย่างเช่น IMF และ World Bank

R
related topic
311048
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง