The Midnight University
โครงการสัมมนาวิชาการ
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
: มุมมองวิชาการ
สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
กำหนดการสัมมนาวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา
วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2548
ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 734
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)
ชื่อโครงการ
โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
หลักการและเหตุผล
การประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา (The International Conference on Thai Studies)
เป็นการจัดประชุมในระดับนานาชาติในแวดวงวิชาการด้านไทยศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประชุมของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการอันเกิดขึ้นจากการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ
ด้านไทยศึกษา ทั้งนี้ โดยมีกระบวนการในการคัดสรรและเชื้อเชิญให้ทั้งนักวิชาการที่มีชื่อเสียง
มีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการแล้ว และนักวิชาการรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมในการเสนอผลงาน
การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมประเพณีที่มีอายุยืนยาว และมีชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับนับถือในระดับนานาชาติ
โดยธรรมเนียมปฏิบัติการจัดประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพสลับกันระหว่างนานาชาติกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นเจ้าของที่พื้นที่ศึกษา (area studies) มีกำหนด 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง สำหรับการประชุมครั้งที่เพิ่งผ่านมา คือ การประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา ครั้งที่ 9 (2548) ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคือ Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนการจัดประชุม ครั้งที่ 10 อันเป็นวาระของประเทศไทย นั้น สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการประชุมในปี พ.ศ.2551 โดยสถาบันไทยคดีศึกษาได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพต่อคณะกรรมการจัดประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 9 และได้รับเลือกอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการประชุมครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2551
ในการจัดประชุมด้านไทยศึกษา ครั้งที่ 9 ที่ DeKalb, Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา (เมื่อวันที่ 3 - 6 เมษายน 2548) ในขั้นตอนของการดำเนินงานคณะผู้จัดได้เปิดรับข้อเสนอการศึกษาวิจัยทางด้านไทยศึกษาอย่างกว้างขวาง มีการกำหนดกลุ่มเรื่อง (Theme) จำนวนถึง 18 กลุ่ม ทว่ากลุ่มเรื่องที่คณะผู้จัดได้ยกระดับความสำคัญสูงสุดที่ต้องการให้นักวิชาการเสนอผลงานศึกษาต่อที่ประชุมกว้างขวางมากที่สุดมีเพียง 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ "ภาคใต้ของประเทศไทย ---มุสลิมในประเทศไทย" (ส่วนอีกเรื่องคือ เรื่องของรัฐบาลทักษิณ) เหตุผลที่คณะกรรมการให้ความสำคัญกับกลุ่มเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกว่า 100 ปี คือ เรื่องของ "การแบ่งแยกดินแดน" V.S "ความมั่นคง" และสิ่งที่นานาชาติให้ความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ก็คือ เรื่องของ "ขบวนการก่อการร้าย" (terrorism) ที่มีแนวโน้มสูงจนทำให้มองได้ว่าภาคใต้เป็นดินแดนที่มีวิกฤตทางด้านการเมือง
ในการจัดเตรียมการประชุมคณะผู้จัดได้เชิญชวนให้มีการนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในภาคใต้ อาทิ เรื่องความสัมพันธ์ของภาคใต้กับรัฐบาลกลางทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เรื่องความมั่นคง วัฒนธรรม การเมือง ความแตกแยกทางศาสนา องค์กรอิสลามนานาชาติในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็สนับสนุนข้อเสนอในเรื่องภาคใต้ ---มุสลิมในแง่มุมที่กว้างขวางออกไป เช่น เรื่องของชุมชนมุสลิมในประเทศไทย การศึกษาของมุสลิม การปรับตัวทางสังคมของมุสลิมเพื่อให้เป็นไทย การศึกษาด้านชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ของภาคใต้ ชายแดนและการข้ามแดนในภาคใต้ ปัตตานีในฐานะรัฐริมทะเล การแลกเปลี่ยนพุทธศาสนาระหว่างไทยกับศรีลังกา และเรื่องของภาษาท้องถิ่น ผลจากการที่คณะผู้จัดการประชุมได้ยกระดับความสำคัญของกลุ่มเรื่อง "ภาคใต้ของประเทศไทย ---มุสลิมในประเทศไทย" ทำให้นักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศเสนอบทความทางวิชาการจำนวนมากที่เกี่ยวเนื่องเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น "ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้"
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของผลงานดังกล่าวข้างต้น ในฐานะที่เป็นผลงานที่มีฐานทางวิชาการจากการค้นคว้าวิจัยในหลากหลายสาขาวิชา อยู่ในมาตรฐานทางวิชาการระดับนานาชาติ และประเด็นของการศึกษาก็มีความเชื่อมโยงหรือมีนัยสำคัญต่อความเข้าใจปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมมองทางวิชาการด้านไทยศึกษาขึ้น ทั้งนี้โดยให้เป็นการจัดสัมมนาในสถาบันอุดมศึกษาใน 4 ภูมิภาค ดังนี้
ภาคกลาง - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคเหนือ - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาคอีสาน - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาคใต้ - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2. กระตุ้นวงการศึกษาของไทยให้เกิดการนำองค์ความรู้ใหม่มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย รวมถึงให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
3. เพื่อผลักดันให้สังคมไทยให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีมุมมองที่กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เสริมสร้างให้เกิดการนำองค์ความรู้ในทางวิชาการมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภายใต้อย่างมีบูรณาการ
2. ทำให้สาธารณะชนสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาและก่อให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ
แก่สังคมไทยอย่างมีเหตุผล
3. เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาวิจัยด้านไทยศึกษาในอนาคต
วิธีการดำเนินงาน
1. เป็นการสัมมนาทางวิชาการ ที่มีการเสนอบทความสัมมนาในรูปของ panel discussion
โดยมีผู้นำการสัมมนาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
2. บทความจะประกอบด้วยบทความทั้งที่เป็นของนักวิชาการไทยและนักวิชาการต่างประเทศ
3. บทความที่อยู่ในภาคภาษาอังกฤษ
จะได้รับการแปล/แปลเก็บความเป็นภาษาไทย เพื่อสะดวกแก่ผู้ฟังซึ่งเป็นคนไทย รวมถึงเพื่อใช้เป็นเอกสารเผยแพร่และอ้างอิงทางวิชาการได้
วัน เวลา และสถานที่
ภาคกลาง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร (วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน
2548)
ภาคเหนือ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)
ภาคอีสาน ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)
ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ
จังหวัดสงขลา (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)
จำนวนผู้เข้าร่วม
150 คน ประกอบด้วย อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป
ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
กำหนดการสัมมนาวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา
วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2548
ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
วันที่ 16 พฤศจิกายน
2548
ภาคเช้า
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.15 น. กล่าวรายงาน โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.15 - 09.30
น. กล่าวเปิดงาน โดย ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
09.30 - 10.30 น. ปาฐกถานำ
"ความเงียบของอนุสาวรีย์ลูกปืน: ความรุนแรงกับการ จัดการ 'ความจริง'
- จาก ดุซงญอ 2491 ถึง 'กรือเซ' 2547" ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์
สถาอานันท์
นำเสนอและตั้งข้อสังเกตโดย อาจารย์ ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.30 - 11.00 น. พัก - รับประทานอาหารว่าง
11.00 - 11.30 น. เสนอบทความเรื่อง
"จุดอ่อนรัฐบาลทักษิณ : ทำไมปัญหาภาคใต้ถึงแก้ไม่ถูกทาง ?"
โดย นายอุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.30 - 12.00 น. อภิปราย
- ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : รองศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00 - 13.30 น. พัก
- รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
ภาคบ่าย
13.30 - 14.00 น. เสนอบทความเรื่อง "วัฒนธรรมการเมืองและความรุนแรงในภาคใต้ประเทศไทย"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุกัณศีล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
14.00 - 14.30 น. เสนอบทความเรื่อง
"วังวนแห่งความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : เรื่อง ของแนวความคิดหรือโครงสร้าง
?"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และอาจารย์ปัญญาศักดิ์ โสภณวสุ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
14.30 - 15.00 น. อภิปราย
- ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15.00 - 15.30 น. สรุปการสัมมนาวันแรก
15.30 - 16.00 น. รับประทานอาหารว่าง
พิธีกรประจำวัน นางสาวสุนทรี อาสะไวย์ สถาบันไทยคดีศึกษา
วันที่ 17 พฤศจิกายน
2548
ภาคเช้า
09.30 - 10.00 น. เสนอบทความเรื่อง "ความยากจนของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย
: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ?"
โดย รองศาสตราจารย์ศิริรัตน์ ธานีรนานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
10.00 - 10.20 น. พัก
- รับประทานอาหารว่าง
10.20 - 10.50 น. เสนอบทความเรื่อง "ความรุนแรงในภาคใต้มุมมองจากเยาวชน"
โดย อาจารย์อลิสา หะสะเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
10.50 - 12.00 น. อภิปราย
- ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : คุณพิภพ ธงไชย คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
12.00 - 13.30 น. พัก
- รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
ภาคบ่าย
13.30 - 14.00 น. เสนอบทความเรื่อง "กำเนิดและความเป็นมาของ 'ลัทธิแบ่งแยกดินแดน'
ของ มลายูมุสลิมในภาคใต้ของไทย"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.00 - 14.30 น. เสนอบทความเรื่อง
"อะไรคือยาวี ? ความหมาย ประวัติศาสตร์ ขอบข่าย และ อนาคต"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ บารู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
14.30 - 15.00 น. อภิปราย
- ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความเห็น : รองศาตราจารย์ ดร.โคทม อารียา คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15.00 - 15.30 น. สรุป - ปิดการสัมมนา
15.30 - 16.00 น. รับประทานอาหารว่าง
พิธีกรประจำวัน นางสาวอัจฉราพร กมุทพิสมัย สถาบันไทยคดีศึกษา
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
Free Documentation
License
Copyleft : 2005, 2006, 2007
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies
of this license document, but changing it is not allowed.
ลิขซ้าย 2548, 2549,
2550 : สมเกียรติ
ตั้งนโม
ผู้ที่นำข้อมูลวิชาการฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ได้รับความยินยอมจากผู้เรียบเรียง สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
โดยกรุณาระบุถึงเว็ปไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org