The Midnight University
ตำนานการต่อสู้ด้วยสันติวิธีบนลุ่มน้ำอิระวดี
ออง
ซาน ซูจี : 60 ปีแห่งตะวันหลังก้อนเมฆ
สุภัตรา
ภูมิประภาส
คณะกรรมการจัดงานครบรอบ
๖๐ ปี ออง ซาน ซูจี
หมายเหตุ
บทความชิ้นนี้ ได้รับมาจากผู้เขียน
โดยกองบรรณาธิการได้บรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 703
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 12.5 หน้ากระดาษ A4)
บทนำ
ออง ซาน ซูจี
: 60 ปีแห่งตะวันหลังก้อนเมฆ
นามของ ออง ซาน
ซูจี ปรากฏในความรับรู้ของประชาคมโลกหลังเกิดเหตุการณ์ 8-8-88 ในประเทศพม่า
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2531 ที่นักศึกษาประชาชนพม่าหลายแสนคนลุกฮือขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตย
จากรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศพม่ามายาวนานถึง 26 ปี
อุบัติการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่าครั้งนั้น ทำให้นางออง ซาน ซูจี บุตรสาวของนายพลออง ซาน วีรบุรุษเพื่อเอกภาพและเอกราชของประเทศพม่า เลือกเดินซ้ำรอยบิดาบนถนนการเมือง เธอทิ้งอนาคตทางวิชาการและครอบครัวอบอุ่นไว้เบื้องหลัง เพื่ออุทิศตนให้กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพในแผ่นดินเกิด ยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจเผด็จการทหารและข้อกังขานานาประการของสาธารณชน ต่อบทบาทและความรับผิดชอบของเธอในฐานะภรรยาและมารดา
ออง ซาน ซูจี กลับบ้านเกิดและร่วมต่อสู้เรียกร้องสันติภาพและประชาธิปไตยเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2531
เธอไม่มีโอกาสก้าวเท้าออกจากพม่านับแต่นั้น เพราะตระหนักดีว่า เธอจะไม่มีวันได้ย่างเหยียบกลับสู่แผ่นดินพม่าอีกเลย ตราบที่กลุ่มเผด็จการทหารพม่ายังครองอำนาจไม่ชอบธรรมปกครองแผ่นดินนี้ ซูจีเลือกที่จะสละอิสรภาพของตัวเอง เพื่อกู่ก้องให้ประชาคมโลกรู้ถึงความทุกข์ยาก และชะตากรรมของเพื่อนร่วมชาติ ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารพม่า เธอเลือกใช้สันติวิธีในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ
เธอบอกอำนาจเผด็จการว่า
"ความรักและสัจจะจะโน้มน้าวใจมหาชนได้มากกว่าการบังคับ"
เธอบอกชาวพม่าว่า "ดิฉันหวังว่าชาวพม่าจำนวนมาก จะตระหนักถึงสัญชาตญานภายในที่กระตุ้นให้เราพยายามมองหาสวรรค์และเสียงอันหนักแน่น
ที่คอยพร่ำบอกแก่เราว่า เบื้องหลังก้อนเมฆที่เรียงรายสลับซับซ้อน ยังคงมีพระอาทิตย์ที่คอยเวลาอันเหมาะสม
ที่จะโผล่พ้นออกมาให้แสงสว่างคุ้มครองแก่เรา"
และเธอบอกประชาคมโลกว่า
"คุกตะรางทำร้ายได้แต่ร่างกาย แต่ไม่อาจทำลายขวัญและวิญญาณลงได้"
สิบเจ็ดปีของการต่อสู้กับเผด็จการทหาร
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 นางออง ซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้านเกิดที่ร่างกุ้ง
เพื่อมาพยาบาลดอว์ ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก เป็นช่วงเดียวกับที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่า
กดดันให้นายพลเนวินต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The
Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครองประเทศพม่ามานานถึง
26 ปี
ความไม่พอใจของประชาชนต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจนั้น สะสมต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2530 ที่มีการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 25 จั๊ด 35 จั๊ด และ 75 จั๊ด โดยไม่ยอมให้มีการแลกคืน ทำให้เงินร้อยละ 75 หายไปจากตลาดเงิน นักศึกษามหาวิทยาลัยร่างกุ้งประท้วงด้วยการทำลายร้านค้าหลายแห่ง
เหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 หลังเกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วงให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตำรวจกลับใช้ความรุนแรงตอบโต้ ด้วยการยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงเสียชีวิตจำนวนมาก และจับกุมนักศึกษานับพันคนไปจากการชุมนุม
การใช้ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่พอใจของนักศึกษาและประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆจำนวนมากจนเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวินต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวิน ในวันที่ 23 กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงร่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2531 เป็นเหตุการณ์ที่พลิกผันชีวิตของประชาชนพม่านับล้าน รวมทั้งเส้นทางชีวิตของนางออง ซาน ซูจี บุตรสาวคนเดียวของนายพล ออง ซาน ที่ชาวพม่ายกย่องให้เป็นวีรบุรุษของการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพของประเทศพม่า
แม้ภารกิจต่อมารดาสิ้นสุดลงเมื่อดอว์ ขิ่นจี สิ้นลมในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2531 แต่ภารกิจต่อแผ่นดินเกิด เรียกร้องให้ซูจีเลือกจะต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารอยู่บนแผ่นดินเหนือลุ่มน้ำอิระวดี-สาละวิน นับเนื่องยาวนานมาเป็นเวลาถึง 17 ปี จนถึงวันนี้ (19 มิถุนายน พ.ศ.2548) ที่เธอมีอายุครบ 60 ปี
ระยะเวลาสิบเจ็ดปีในการต่อสู้เรียกร้องสันติภาพและประชาธิปไตยให้แผ่นดินเกิดนั้น ซูจีแลกอิสรภาพของตัวเองกับการเรียกร้องให้ประชาคมโลกสนใจ ต่อความทุกข์ยากของประชาชนพม่าภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร การต่อสู้แบบสันติวิธีของเธอกลายเป็นหนามแหลมทิ่มแทงภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการทหารพม่า รวมทั้งรัฐบาลในโลกเสรีที่ให้ความสนับสนุนต่อรัฐบาลทหารพม่า
ซูจีกล่าวไว้ว่า "..ประชาธิปไตยที่พวกเราเรียกร้องกันอยู่คือ ภาวะที่ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเงียบสงบภายใต้ระเบียบแห่งกฎหมาย ได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิของพวกเรา เป็นสิทธิที่ช่วยให้เราธำรงศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชนเอาไว้ได้.."
จากบ้านเกิด สู่โลกกว้าง
และสร้างครอบครัวอบอุ่น
ออง ซาน ซูจีอายุสองขวบ ตอนที่บิดา คือนายพลออง ซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น
"วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า" ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 19
กรกฎาคม พ.ศ.2490
บทบาทของนายพลออง ซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2491
เมื่อออง ซาน ถูกลอบสังหาร ดอว์ ขิ่นจี ภรรยาต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง 3 คนโดยลำพัง ซูจีเป็นลูกคนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว
ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุจมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตของเธอคือ ออง ซาน อู เติบโตมากับการเลี้ยงดูของมารดาที่เข้มแข็ง และความเอื้อเอ็นดูของกัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ของบิดา
พ.ศ.2503 ดอว์ ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำอินเดีย ซูจีถูกส่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยม และ Lady Shri Ram College ที่นิว เดลลี และไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญา ที่ St.Hugh's College, Oxford University ระหว่างปี พ.ศ.2507-2510 ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ซูจีได้พบรักกับไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมธิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำอินเดีย และย้ายกลับไปพำนักที่ร่างกุ้ง ซูจีแยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ค เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการให้คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการ ของสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ขณะนั้น อูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่าดำรงตำแหน่งเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ
ระหว่างสามปีของการทำงานที่นี่ ซูจีใช้เวลาช่วงเย็นและวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นอาสาสมัครให้โรงพยาบาล ในโครงการช่วยอ่านหนังสือและดูแลปลอบใจผู้ป่วยยากจน
เดือนมกราคม 2515 ซูจีแต่งงานกับไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามีที่ราชอาณาจักรภูฐาน ซูจีได้งานเป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลภูฐาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากรมการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฐาน
พ.ศ.2516-2520 ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอนวิชาหิมาลัยและธิเบตศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปีพ.ศ.2516 และ บุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ.2520 นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดา และยังช่วยงานหิมาลัยศึกษาของไมเคิลด้วย
พ.ศ.2528-2529 ซูจีและไมเคิล ตัดสินใจแยกจากกันระยะหนึ่ง เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ ซูจีได้รับทุนทำวิจัยจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ในการทำวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของนายพล ออง ซาน ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ในภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็กไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลพาอเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาซูจีได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies จึงพาคิมมาสมทบที่ซิมลา ช่วงนี้ ซูจีต้องบินกลับไปลอนดอนเพื่อดูแลมารดาที่เดินทางมารับการผ่าตัดต้อกระจกตา
พ.ศ.2530 ซูจีและไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่อ็อกฟอร์ด และซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า ก่อนที่โชคชะตาจะพลิกผันชีวิตไปสู่เส้นทางการเมืองจนกลายเป็นตำนานก้องโลก
กลับบ้านเกิด สานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 เมื่อทราบข่าวว่าดอว์ ขิ่นจีป่วยหนัก ซูจีเดินทางมาร่างกุ้งเพื่อพยาบาลมารดา
เธอมีโครงการอยู่ในใจที่จะทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดอองซานในระหว่างที่อยู่พยาบาลมารดา
แต่วิกฤติการณ์ทางการเมืองในพม่าขณะนั้นพลิกผันทั้งโครงการและชีวิตของเธอโดยสิ้นเชิง
"ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ.2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่มทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้องประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ [นายพล ออง ซาน] ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉันต้องเข้าร่วมด้วย" [ซูจีให้สัมภาษณ์ Edward Klein นิตยสาร Vanity Fair เดือนตุลาคม พ.ศ.2538]
กิจกรรมการเมืองครั้งแรกของซูจี เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2531 หนึ่งสัปดาห์ภายหลังที่กลุ่มเผด็จการทหารพม่า ใช้กำลังเข้าปราบปรามเข่นฆ่าผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม หรือที่ประชาคมโลกรู้จักกันในนามของ "เหตุการณ์ 8-8-88" ซูจีเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลเผด็จการทหาร เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2531 ซูจีขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนหลายแสนคนที่มาชุมนุมกันบริเวณด้านนอกของเจดีย์ชเวดากอง มีสามีและบุตรชายทั้งสองของเธอมาเป็นกำลังใจอยู่ที่นี่ด้วย
ซูจีเรียกร้องประชาธิปไตยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เท่าเทียมกันระหว่างชาติพันธุ์หลากหลายในพม่า ซึ่งเป็นอุดมการณ์และความฝันเดียวกันกับบิดาของเธอ กลุ่มเผด็จการทหารไม่ตอบสนองข้อเรียกร้อง แต่กลับจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐขึ้น เมื่อวันที่ 18 กันยายน เพื่อมาควบคุมสถานการณ์การเรียกร้องของประชาชาน
วันที่ 24 กันยายน ซูจีร่วมกับบรรดามิตรสหายเก่าของบิดา และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าพรรคเอ็นแอลดี [National League for Democracy-NLD] โดย ซูจีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรค ประกาศต่อสู้กับอำนาจเผด็จการด้วยการใช้นโยบายสันติวิธี และการดื้อแพ่ง
เปิดตำนานการต่อสู้ด้วยสันติวิธีบนลุ่มน้ำอิระวดี
วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2532 ซูจีเปิดตำนานบทแรกของใช้สันติวิธีและการดื้อแพ่งตอบโต้อำนาจเผด็จการ
บนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี เหตุเกิดในช่วงการเดินทางเพื่อหาเสียงเลือกตั้งของพรรคเอ็นแอลดี
ซึ่งถูกรัฐบาลเผด็จการทหารพยายามสกัดกั้นไม่ให้เดินทางออกนอกพื้นที่ แต่ซูจีมิได้หวาดหวั่น
ท่ามกลางสายตานับร้อยคู่ของผู้ติดตาม และประชาชน ซูจีเดินอย่างสงบก้าวเข้าไปหาแผงทหารที่ยืนเตรียมพร้อมส่องปากกระบอกปืนไรเฟิลมาที่เธอ
เพื่อสกัดไม่ให้เธอและคณะเดินทางต่อไป
ท้ายที่สุด ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหาร ณ ที่นั้น เป็นฝ่ายสั่งให้ลูกน้องยุติการเผชิญหน้า และสั่งให้มีการคุ้มกันซูจี เพื่อป้องกันการลอบสังหาร
เกียรติยศและการจองจำ
แม้รัฐบาลเผด็จการไม่กล้าใช้ความเหี้ยมโหดตอบโต้การดื้อแพ่งของซูจี แต่ได้ใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก
สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม
พ.ศ.2532 และได้จับกุมสมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง ซึ่งรู้กันว่าเป็นสถานที่ที่มีการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณต่อนักโทษ
ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วงและเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลบินด่วนจากอังกฤษมาที่ร่างกุ้งเพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2533 แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดีของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารในนามของ "สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ" ปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้ชนะ แต่ยื่นข้อเสนอให้ซูจียุติบทบาททางการเมืองด้วยการเดินทางออกนอกประเทศไปใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีและบุตร เมื่อซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มอีก 1 ปีในเวลาต่อมา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อนางออง ซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซูจีไม่มีโอกาสเดินทางไปรับรางวัลทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัลแทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดินถือภาพถ่ายของมารดาขึ้นเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้องต้อนรับ
อเล็กซานเดอร์กล่าวกับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า
"ผมรู้ว่าถ้าแม่มี
อิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้องให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ให้ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง
และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ"
ซูจีประกาศใช้เงินรางวัลจำนวน 1.3 ล้านเหรียญ เพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษาของประชาชนพม่า
ซูจีได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2538
ราคาที่ต้องจ่ายบนเส้นทางการต่อสู้
: ในฐานะภรรยาและมารดา
ซูจีเขียนไว้ในหนังสือ "จดหมายจากพม่า"ว่า "ดิฉันมิได้เป็นนักโทษการเมืองสตรีเพียงคนเดียวในประเทศพม่า
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังคงมีสตรีจำนวนมากที่ถูกจำขังเนื่องจากความเชื่อทางการเมืองของพวกเธอ
สตรีบางท่านมีลูกเล็กซึ่งต้องตกอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ ผู้ซึ่งมัวแต่ห่วงกังวลกับภรรยาของตัวเอง
และไม่คุ้นเคยกับการทำงานบ้านเอาเสียเลย เด็กส่วนมากยกเว้นผู้ที่ยังไม่โตพอจะรู้ความ
มักจะเป็นทุกข์กับความกดดันในระดับต่างๆกัน"
หลายครั้งที่ถูกถามถึงความสัมพันธ์ของเธอและครอบครัวซึ่งอยู่ห่างกันคนละซีกโลกนั้น
ซูจีพูดถึงลูกๆของเธอว่า "แน่นอน ลูกของดิฉันต้องเผชิญชีวิตโดยไม่มีแม่อยู่เคียงข้าง
แต่เพราะพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ ดิฉันจึงไม่ต้องกังวล " [ซูจีให้สัมภาษณ์
Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire- Singapore Edition เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539]
ตั้งแต่ พ.ศ.2539 เป็นต้นมา รัฐบาลเผด็จการทหารไม่อนุญาตให้สามี และบุตรชายทั้งสองของซูจี
เข้าประเทศพม่า ช่วงต้นปีพ.ศ.2542 ไมเคิลป่วยหนักและรู้ตัวว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน
เขายื่นขอวีซ่าเพื่อมาเยี่ยมภรรยาที่พม่าเป็นครั้งสุดท้าย แต่ถูกปฏิเสธ เพราะรัฐบาลเผด็จการทหารต้องการกดดันให้ซูจีออกนอกประเทศ
ซูจีปฏิเสธข้อเสนอทุกอย่างของรัฐบาลเผด็จการที่พยายามโน้มน้าวให้เธอเป็นฝ่ายเดินทางไปเยี่ยมสามีที่กรุงลอนดอน
ท่ามกลางคำวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายที่มีทัศนะด้านลบต่อบทบาทของเธอในฐานะแม่และเมีย
ไมเคิล สิ้นใจในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2542 ไปพร้อมกับความทรงจำครั้งสุดท้ายที่เขาได้พบภรรยาเมื่อช่วงคริสต์มาสของปี
พ.ศ.2538
ไมเคิลบันทึกความทรงจำแห่งช่วงวันที่เปี่ยมสุขระหว่างเขาและภรรยาไว้ในคำนำหนังสือ "อิสรภาพจากความกลัว" (Freedom From Fear) ที่ซูจีป็นผู้เขียน ว่า
"วันเวลาที่เราได้อยู่ร่วมกันตามลำพังครั้งสุดท้าย ปลีกตัวจากโลกโดยสิ้นเชิงนั้น คือความทรงจำที่เป็นสุขที่สุดของผมในระหว่างหลายปีของชีวิตแต่งงานของเรา มันเป็นช่วงเวลาที่สงบอย่างน่าอัศจรรย์ ซูตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับกิจกรรม การเรียน และเล่นเปียโนของเธอ ซึ่งผมมักจะขัดจังหวะเธออยู่เสมอ เธอกำลังศึกษาพุทธรรมต่างๆ ผมประดิษฐ์ของขวัญคริสต์มาสในแต่ละวันเพื่อนำมาแจกจ่าย เราใช้เวลาทั้งหมดในช่วงนี้สนทนากันเกี่ยวกับเรื่องต่างๆมากมาย ผมไม่ได้คาดคิดเลยว่า นี่จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้อยู่ร่วมกันสำหรับอนาคตที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้า"
ไมเคิลบอกเพื่อนๆของเขาเสมอว่า ขณะที่การต่อสู้ของซูจีเป็นที่รับรู้และชื่นชมของคนทั่วโลก เขาคือคนที่รักและเข้าใจเธอมากที่สุด เขาเขียนไว้ในคำนำหนังสือ"อิสรภาพจากความกลัว" ว่า"เมื่อไม่นานนี้ ผมกลับมาอ่านจดหมาย 187 ฉบับที่เธอส่งจากนิวเยอร์คมาถึงผมที่ภูฐานในช่วงแปดเดือนก่อนที่เราจะแต่งงานกันที่ลอนดอนในเดือนมกราคม พ.ศ.2515...
เธอเฝ้าเตือนผมว่าวันหนึ่งเธอจะต้องกลับไปพม่าซึ่งเธอต้องการการสนับสนุนของผมในเวลานั้น เธอไม่ได้ต่อรอง แต่เป็นการขอร้อง.."
ขณะที่ซูจีพูดถึงความสัมพันธ์ของเธอกับสามีว่า "เราไม่เคยก้าวล่วงความเชื่อและสิ่งที่เป็นความสำคัญของแต่ละฝ่าย ตัวอย่างเช่น สามีของดิฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตะวันออกและทิเบต ดิฉันไม่เคยพยายามหยุดยั้งเขาจากการทำในสิ่งที่เป็นความสนใจของเขา แม้ว่าบางครั้งดิฉันเหนื่อยล้าเหลือเกิน กับการติดตามเขาไปรอบๆหิมาลัย ดิฉันช่วยเขาทำในสิ่งที่สามารถทำได้ และดิฉันคิดว่าเขามีทัศนคติเช่นเดียวกับดิฉัน" [ซูจีให้สัมภาษณ์ Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire- Singapore Edition เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539]
เมื่อถูกถามถึงทางเลือกของผู้หญิง ระหว่างชีวิตที่อุทิศเพื่อสาธารณะกับชีวิตส่วนตัวกับครอบครัว ซูจีตอบว่า "ดิฉันคิดว่าประเพณีมีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้เสมอสำหรับบทบาทของหญิงชาย ที่กำหนดให้ผู้ชายมีเสรีภาพมากกว่าในการทำงานเพื่อสาธารณชน และผู้หญิงถูกคาดหวังให้ทำทั้งสองหน้าที่ ในกรณีของดิฉัน เนื่องเพราะว่าดิฉันมีชีวิตอยู่ห่างไกลจากครอบครัว ดังนั้น ดิฉันจึงไม่มีชีวิตส่วนตัว" [ซูจีให้สัมภาษณ์ Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire- Singapore Edition เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539]
ชีวิตภายใต้การจองจำ
ออง ซาน ซูจี ถูกสั่งกักบริเวณครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2532 รัฐบาลเผด็จการทหารซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า
"สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ" [The State Law & Order Restoration
Council-SLORC] ใช้กฎอัยการศึกสั่งกักบริเวณนางซูจีเป็นเวลา 3 ปี และขยายระยะเวลาเป็น
6 ปีโดยไม่มีข้อหา เธอได้รับอิสรภาพจากการกักบริเวณครั้งแรกเมื่อวันที่ 10
กรกฎาคม พ.ศ.2538
ชีวิตภายใต้การถูกสั่งจองจำในบ้านพักของตัวเอง ซูจีปฏิเสธข้อเสนอทุกอย่างของรัฐบาลเผด็จการทหาร เธอขายทรัพย์สินในบ้านเพื่อเป็นทุนในการดำรงชีวิต เหลือเพียงเปียโนและโต๊ะอาหารเท่านั้นที่เธอยังเก็บมันไว้ ซูจีเล่าให้นักข่าวฟังถึงสภาพของเธอภายใต้วันเวลาที่ถูกกักบริเวณครั้งแรกว่า
"..ดิฉันไม่ยอมรับสิ่งใดจากทหารเลย บางครั้งดิฉันแทบไม่มีเงินพอที่จะซื้ออาหารรับประทาน ทำให้ร่างกายดิฉันอ่อนแอมาก ผมของดิฉันร่วง ดิฉันอ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว หัวใจดิฉันเต้นแรง แทบหายใจไม่ออก น้ำหนักของดิฉันลดจาก 106 ปอนด์ เหลือเพียง 90 ปอนด์ ดิฉันคิดว่าดิฉันต้องตายจากเหตุที่หัวใจล้มเหลว ไม่ใช่เพราะอดอาหาร..." [ซูจีให้สัมภาษณ์ Edward Klein นิตยสาร Vanity Fair เดือนตุลาคม พ.ศ.2538]
รัฐบาลเผด็จการทหารไม่ห้ามการสื่อสารทางจดหมายระหว่างเธอและครอบครัว แต่เปิดอ่านจดหมายทุกฉบับที่เธอ สามีและลูกเขียนถึงกัน "พวกเขาบอกว่านี่คือความกรุณาอย่างยอดยิ่งแล้วที่อนุญาตให้ดิฉันเขียนจดหมายถึงลูกๆของดิฉันได้ แต่ดิฉันบอกพวกเขาว่าดิฉันไม่ต้องการรับความกรุณาใดๆจากพวกเขา และเลือกที่จะยุติการสื่อสารนั้น สองปีครึ่งนับแต่นั้น พวกเขาได้ติดต่อขอให้สามีและลูกชายของดิฉันมาเยี่ยมดิฉัน" [ซูจีให้สัมภาษณ์ Michael Manceaux นิตยสาร Marie Claire (Singapore Edition) เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539]
อิสรภาพที่สูญเสีย บนเส้นทางต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ซูจีถูกกักบริเวณเป็นครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21กันยายน
พ.ศ.2543 และได้รับอิสรภาพจากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2545
นางออง ซาน ซูจี ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ภายใต้นาม "สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ" [The State Peace and Development Councit-SPDC] สั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2546 ภายหลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้งของรัฐบาล กับกลุ่มผู้สนับสนุนซูจีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชนในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2548 ถึงวาระครบรอบวันเกิด 60 ปีของนางออง ซาน ซูจี เธอยังคงถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพักริมทะเลสาบอินยา บนถนนมหาวิทยาลัย ที่พำนักที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวพม่านับตั้งแต่การต่อสู้เพื่อเอกราชของนายพลออง ซาน ผู้พ่อ และการต่อสู้เรียกร้อง
ประชาธิปไตยของเธอในวันนี้
ณ วันนี้ ไม่มีผู้ใดอาจทราบได้ว่าเธอใช้ชีวิตเช่นไรภายใต้อิสรภาพที่ถูกจำกัด
แต่ระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมาที่ซูจีตัดสินใจแลกอิสรภาพกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในประเทศพม่านั้น
ยืนยันถึงความเชื่อและถ้อยคำที่เธอเคยสื่อสารผ่านมาในจดหมายจากพม่าที่เธอเขียนว่า
"กำแพงคุกส่งผลสะเทือนต่อผู้ที่อยู่ภายนอกเช่นกัน"
บรรณานุกรม
1. สูจิบัตรงาน "หนึ่งทศวรรษ ออง ซาน ซูจี กับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ" จัดทำโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อร่วมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2544, แผ่นพับ
2. หนังสือ"จดหมายจากพม่า" ออง ซาน ซูจี เขียน / พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ แปล พิมพ์ครั้งแรก
กรกฎาคม พ.ศ.2540 โดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง
3. Michael Aris เขียนในบทนำของหนังสือ "อิสรภาพจากความกลัว" (Freedom From Fear by Aung San Suu Kyi) เดือนกันยายน พ.ศ.2534
4. เวบไซด์ www.dassk.org
5. เวบไซด์ http://nobelprize.org
6. Michele Manceaux, Marie Claire Magazine, May 1996, Singapore Edition
7. Edward Klein, Vanity Fair, October 1995
Aung
San Suu Kyi :
60 Years of Struggling Behind the Cloud
translated
by Pravit Rojanaphruk
(บทความนี้ยาวประมาณ
13 หน้ากระดาษ A4)
The name Aung San Suu
Kyi became known to the wider world after
the 8-8-88 incident in Burma on August 8,1988 when hundreds of thousands
Burmese students and citizens rose up to demand democracy from the military
dictatorship that has been ruling Burma for 26 years.
That political incident
propelled Aung San Suu Kyi, daughter of Burma's independence movement leader,
General Aung San, to follow a similar political path to her father. She
abandoned her academic career and lovely family behind in order to dedicate
herself to the struggle for peace and democracy of her motherland by fighting
against dictators amidst doubt expressed by the public about her other responsibility
as a wife and a mother.
Aung San Suu Kyi returned to her homeland to eventually carry out the fight
in March 1988. She would not have a chance to step out of Burma again because
of her realization that if she chose to leave Burma, the military junta
would never allow for her return again as long as they are in their illegitimate
power. Suu Kyi chose to sacrifice her personal freedom in order to remind
the world of Burma people's continued sufferings under the harsh military
rule and she does it in a non-violent manner.
She told the power
that be that: "Love and truth can move people more than coercion."
She said to the Burmese people: " I think many people in Burma will
recognize the instinct that makes us look up toward the heavens and the
confident inner voice that tells us that behind the deeply banked clouds
there is still the sun waiting to shed its light and warmth at the given
hour."
Then she conveyed this message to the world community: "Prison may
break the body but not the spirit."
Seventeen years of Struggle Against Dictatorship
In the end of March 1988, the 43-year-old Aung San Suu Kyi returned to her home in Rangoon from abroad to care for her ailing mother, Daw Khin Kyi. This coincided with the economic crisis and political turmoil in Burma which led to the resignation of General Ne Win from the chairmanship of The Burma Socialist Programme Party (BSPP) which has seized political control over Burma for the past 26 years.
The dissatisfaction
of people towards Ne Win's rule, especially his
economic policy, has been building up continuously and became more intense
by September of 1987 when the 25 kyats, 35 kyats and 75 kyats banknotes
have been discontinued without allowing people to convert it with the government.
This led to the sudden loss of about 75 per cent of the money circulated
at that time and Rangoon University students protested by ransacking many
shops.
The first major violent incident occured in March 1988 after a feud
between students at a tea house occured. Police arrested those engaged in
the brawl but students pressured the authority to release them. This demand
was met with brute force unleashed by the authority as many were shot to
deaths. Thousands were subsequently arrested and the incident led to massive
dissatisfaction among students and citizens. As protests spread nationwide,
it became one of the reason behind Ne Win's eventual resignation.
The resignation of
Gen. Ne Win on July 23 was followed by a demonstration and call for democracy
by hundreds of thousands of people and students in Rangoon. The rally spread
nationwide by August 8, 1988 and reached a turning point when millions of
Burmese people, including Suu Kyi, took to the street.
Though the duty to her mother ended with Daw Khin Kyi's death on December
27 of that year, the duty to her motherland remains. It's been 17 years
since, now that she's turning 60 this year on June 19, 2005.
Over the past 17 years of struggle, Suu Kyi traded her personal freedom
in order to remind the world of the on-going suffering of the Burmese people
under the junta's iron-fist rule. Her non-violent struggle has not only
tarnish the reputation of the junta but also foreign governments which directly
or indirectly supported the junta.
As Suu Kyi herself said: "When we ask for democracy, all we are asking
is that our people should be allowed to live in tranquility under the rule
of law, protected by institutions which will guarantee our rights, the rights
that will enable us to maintain our human dignity, to heal long festering
wounds and to allow love and courage to flourish. Is that such a very unreasonable
demand?"
From Hometown to the Wider World: Building
a Loving Family
Aung San Suu Kyi was only two when her father Gen. Aung San, the man Burmese
regarded as their "hero of independence" was assassinated in July
1947.
Gen. Aung San led the
struggle against the British and Japanese, finally gain independence for
Burma on January 4, 1948. After he was assassinated, Daw Khin Kyi, his wife,
had to shoulder the responsibility of looking after their three children
alone, Suu Kyi being the youngest and the only daughter.
Soon after her father's death, the second son died in a drowning accident
while Suu Kyi and her eldest brother, Aung San Oo, grew up under the care
of his mother and friends of his late father.
In 1960, Daw Khin Kyi was appointed Burmese Ambassador to New Delhi and
Suu Kyi was enrolled at Lady Shri Ram College in that city. Suu Kyi later
went up to Oxford to read Philosphy, Politics and Economics (PPE) at St
Hugh's College. It was at that ancient university that she met her love
and future husband Michael Aris who was reading Tibetan civilisation at
the same university.
The year when Aung
San Suu Kyi graduated was the same year that her mother completed her term
in New Delhi and return to Rangoon. Suu Kyi left for New York to work as
assistant secretary to the Advisory Committee on Administrative and Budgetary
Questions at the United Nations. During those three years, Suu Kyi devoted
her evenings and weekends as hospital volunteer reading and consoling financially-deprived
patients.
In January of 1972, Suu Kyi married Michael Aris and they both left for
Bhutan. Suu Kyi got a job as a researcher for the Bhutanese Ministry of
Foreign Affairs while Michael headed the translation Department and tutored
members of the Royal Family.
They both return to London in 1973 and stayed there for five years. Michael
got a lectureship at Oxford in Himalayan and Tibetan Studies while Suu Kyi
gave birth to her first son, Alexander, in 1973 and followed by the second
son Kim in 1977. Beside spending time looking after the two children, Suu
Kyi became involved in writing and doing research on her late father's life
as well as helping Michael with his work.
They both went their own ways between 1985 and 1986 when Suu Kyi received
a research grant from the Center for Southeast Asian Studies at Kyoto University
to work on the lives of her father while Michael received a scholarship
from the Indian Institute of Advanced Studies in Simla, Northern India.
Suu Kyi took Kim with her to Kyoto while Michael was joined by Alexander.
Suu Kyi later received a scholarship from Indian Institute of Advanced Studies
and went to join the family in Simla. It was around this time when Suu Kyi
has to fly back to London to care for her mother who was under going an
eye surgery.
By 1987, both Suu Kyi and her family returned to Oxfordshire. Suu Kyi enrolled
at London University's School of Oriental and African Studies and was working
on her doctoral dissertation on Burmese Literature when fate would thrust
her into politics and world-wide fame.
Returning Home to Fight
for Her Father's Unfulfilled Mission
Towards the end of March 1988, Suu Kyi learnt of her mother's severe illness.
She left for Rangoon at once to be near her mother. In her mind was also
a plan to set up a chain of libraries but things would soon take a drastic
turn.
"When I returned to Burma in 1988 to nurse my sick mother, I was planning
on starting a chain of libraries in my father's name. A life of politics
held no attraction to me. But the people of my country were demanding for
democracy, and as my father's daughter, I felt I had a duty to get involved,"
Suu Kyi told Edward Klein on Vanity Fair (Oct, 1995).
Her first foray into political activism began on August 15, 1988. It was a week after the Burmese military junta resorted to the use of force to crackdown and kill scores of demonstrators who were calling for democracy on August 8. The incident, which became known internationally as "the 8-8-88 incident" led Suu Kyi to write an open letter to the military junta, calling for the setting up of an independent commission to carry out a general election.
Suu Kyi gave her first political speech on August 26 in front of hundred of thousands who gathered outside the sacred Shwedagong Pagoda with both her sons and her husband at her side providing moral supports.
During that speech, Suu Kyi called for the restoration of democracy and peaceful coexistence among various ethnic groups in Burma which was her father's unfulfilled dream when it was denied by the military and later with the setting up of the State Law and Order Restoration Council (SLORC) on September 18, 1988.
On Sept 24 of that year, Suu Kyi and her late father's friends along with a group of young students with similar ideology retaliated by forming the National League for Democracy (NLD) in which Suu Kyi was elected as the secretary general of the Party. The NLD then declared the commence of their struggle against dictatorship through peaceful resistance.
The
Birth of a Legend of Non-Violent Struggle
The legend began on April 5, 1989 when Suu Kyi, facing with harassment by
the ruling military junta during NLD political campaign decided to confront
the might of the guns.
Amidst hundreds of watchful eyes, Suu Kyi walked calmly but steadily towards the military barricade with rifles pointing at her in order to prevent her from continuing her journey.
In the end, the military
commander on the spot relented and ordered his troops to put the guns down
and instead of confronting Suu Kyi, provide her with protection from possible
assassination attempt.
Honour and House Arrest
Although the dictatorial regime did not dare using outright violence against
Suu Kyi, it resorted to invoking martial law to place her under house arrest
for three years beginning July 20, 1989.
Many key party members were also arrested and sent to Insein Prison, notorious for torture of its inmates. Suu Kyi started a hunger strike and demanded that she be sent to the prison to join others as well. Alexander and Kim was with Suu Kyi at that time and Michael flew in from London. Suu Kyi ended her hunger strike only when the junta promised to humanely treat jailed NDL party members.
On May, 1990, despite Suu Kyi being still under house arrest, the NLD Party won a landslide victory in the general election. However, the junta refused to hand over power and demanded that Suu Kyi ended her political career and leave for abroad at once. When Suu Kyi refused, her house arrest order was extended to five and eventually six years.
On October 14, 1991, Suu Kyi was awarded the Nobel Peace Prize. Being under house arrest, her two sons instead flew to Oslo to receive the award on her behalf. The two children carried their mother's photograph to the ceremony amidst thunderous rounds of applause.
Alexander told the
Nobel Committee and guests that: "I know that if she is free today
my mother would, in thanking you, also ask you to pray that the oppressors
and the oppressed should throw down their weapons and join together to build
a nation founded on humanity in the spirit of peace."
Suu Kyi soon announced that the monetary prize of 1.3 US million dollars
would go to the setting up of a fund towards health and education for Burmese
people.
By July 10, 1995, Suu Kyi tasted freedom from house arrest for the first time.
Mother and Wife, and
The Price to be Paid
Suu Kyi wrote in her book "Letters from Burma" that: "I was
not the only woman detainee in Burma: there have been - and their still
remain - a number of other women imprisoned for their political beliefs.
Some of these women had young children who suddenly found themselves in
the care of fathers worried sick for their wives and totally unused to running
a household. Most of the children, except for those who were too young to
understand what was going on, suffered from varying degrees of stress."
On many occasions she was asked about her relationship with her family which
lives half a world apart and she would say this of her children: "Of
course, there were my own children who had to cope without a mother, but
they lived in England, so I was not worries for them." (from an interview
with Michele Manceaux, Marie Claire - Singapore edition, May 1996)
From 1996 onward, the junta refuses to allow her husband and children to visit Burma and by the beginning of 1999, Michael became terminally ill and realised that his time was running out. He applied for a visa to visit his wife but the request was turned down by the junta.
The junta wanted to
pressure Suu Kyi into exile but she refused the offer to let her leave for
London to visit her ailing husband. This came amidst criticism by others
that Suu Kyi is failing in her duty as a wife and a mother. Michael eventually
passed away on March 27, 1999 at Oxford. The couple's last reunion was during
Christmas of 1995.
Michael recorded the happy time they shared in the preface of Suu Kyi's
book "Freedom from Fear" that: "The days I spent alone with
her that last time, completely isolated from the world, are among my happiest
memories of our many years of marriage. It was wonderfully peaceful. Suu
had established a strict regime of exercise, study and piano which I managed
to disrupt. She was memorizing a number of Buddhist sutras. I produced Christmas
presents I had brought one by one to spread them out over several days.
We had all the time in the world to talk about many things. I did not suspect
this would be the last time we would be together for the foreseeable future."
Michael often told his friends that while Suu Kyi's struggle is known to the world he remains the person who love and understand her most, as Michael wrote in that same preface. "Recently I read again the 187 letters she sent to me in Bhutan from New York in the eight months before we married in London on January 1972 She constantly reminded me that one day she would have to return to Burma, that she counted on my support at that time, not as her due, but as a favour."
As for Suu Kyi, she
talked about her relationship with Michael that:
"We don't interfere with each other's beliefs and priorities. For example,
my husband is an orientalist and a Tibetologist. I have never tried to stop
him from pursuing his interest, although sometimes it was quite exhausting
following him around the Himalayas. I did what I could to help him and I
think he adopts the same attitude." (from the same interview on Marie
Claire Magazine).
When asked about the choice she made as a woman dedicated to the public cause instead or her family, Suu Kyi said: " I think tradition has always dictated that men are more free to do public work. Women are expected to do both but it's not so in my case because I live apart from my family, so in a sense, I don't have a private life." (ibid).
Life Under Detention
Aung San Suu Kyi was first placed under house arrest on July 20, 1989 by
the State Law and Order Restoration Council (SLORC) which eventually confined
her without charge for six years.
Her first taste of
freedom came in July 1995.
Life under house arrest in her own home saw Suu Kyi refusing to accept all
kinds of deals offered by the junta. She has to sell her household belongings
and valuable to survive, leaving only a piano and a dining table. She told
a journalist how she passes her days in confinement.
"I refused to accept anything from the military Sometimes I didn't even have enough money to eat. I became so weak from malnourishment that my hair fell out, and I couldn't get out of bed. I was afraid that I had damaged my heart. Every time I moved, my heart went thump-thump-thump, and it was hard to breath. I fell to nearly 90 pounds from my normal 106. I thought to myself that I'd die of heart failure, not starvation at all." (ibid).
The military junta did not prevented her from corresponding with her family through letters but they read all the letters trafficking in and fro. "They also emphasized that they were doing me a great favour by allowing me to write to my children. But I said I would not accept any favours from them and stopped writing. Then, two-and-a-half years later, they asked my husbands and sons to visit me." (ibid).
Lost Freedom and Road
to Democracy
Suu Kyi was placed under house arrest for second time on September 21, 2000
for 18 months and gained a brief period of freedom of mobility in 2002.
Aung San Suu Kyi was
put under house arrest for the third time by the same junta which by then
have changed its name to The State Peace and Development Council (SPDC)
from June 2003 after a clash between Suu Kyi supporters and government's
mob on May 30 while Suu Kyi was visiting local people at Depayin City in
northern Burma.
June 19, 2005 marked the 60th birth anniversary of Aung San Suu Kyi who
remains under house arrest at her home along Inya Lake, University Avenue,
an address that has become symbolic since her father Aung San fought for
independence and now her daughter for democracy.
Today, no one knows how she leads her life in confinement but over the past
17 years, Suu Kyi sacrificed her personal freedom and happiness for peace
and democracy in Burma. This commitment was reiterated in her very own writings
in the book "Letters from Burma" that: "Prison walls affect
those on the outside, too"
---------------------------------
Compiled by "The Organising Committee for the
60th Birthday of Aung San Suu Kyi",
translated by Pravit Rojanaphruk
Footnote:
1.Brochure from "One Decade of Aung San Suu Kyi
and the Nobel Peace Prize" organised by the Thai Action Committee for
Democracy in Burma (TACDB) on the occasion of the 100th anniversary of the
Nobel Peace Prize, December 8, 2001.
2."Letters from Burma" written by Aung San Suu Kyi
3. Aris, Michael in preface of Aung San Suu Kyi's book, 'Freedom from Fear'
4. www.dassk.org
5.http://nobelprize.org
6. Manceaux, Michele, Marie Claire Magazine, May 1996, Singapore Edition.
7. Klein, Edward, Vanity
Fair, October 1995.
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ออง ซาน ซูจี เลือกที่จะสละอิสรภาพของตัวเอง
เพื่อ
กู่ก้องให้ประชาคมโลกรู้ถึงความทุกข์ยาก และชะตากรรมของเพื่อนร่วมชาติ ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารพม่า
เธอเลือกใช้สันติวิธีในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ
เธอบอกอำนาจเผด็จการว่า "ความรักและสัจจะจะโน้มน้าวใจมหาชนได้มากกว่าการบังคับ"
เธอบอกชาวพม่าว่า "ดิฉันหวังว่าชาวพม่าจำนวนมาก จะตระหนักถึงสัญชาตญานภายในที่กระตุ้นให้เราพยายามมองหาสวรรค์และเสียงอันหนักแน่น
ที่คอยพร่ำบอกแก่เราว่า เบื้องหลังก้อนเมฆที่เรียงรายสลับซับซ้อน ยังคงมีพระอาทิตย์ที่คอยเวลาอันเหมาะสม
ที่จะโผล่พ้นออกมาให้แสงสว่างคุ้มครองแก่เรา"