The Midnight University
นิติรัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์การเมือง
แม่อายสะอื้นถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงเปรียบเทียบ
ชำนาญ
จันทร์เรือง
อาจารย์พิเศษทางกฎหมาย สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุ
บทความ ๒ ชิ้นต่อไปนี้ ได้รับการจากผู้เขียน และเคยได้รับการตีพิมพ์แล้วบนหน้าหนังสือพิมพ์
๑. คดีแม่อาย : คดีปกครองประวัติศาสตร์
๒. ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 701
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)
๑. คดีแม่อาย : คดีปกครองประวัติศาสตร์
ทันทีที่เสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดของตุลาการศาลปกครองเชียงใหม่ในวันที่
8 ก.ย.2548 น้ำตาแห่งความปลื้มปีติของผู้คนไม่ว่าจะเป็นผู้ฟ้องคดี หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วันพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ในวันนั้นต่างก็โผกอดกันร่ำไห้ด้วยความยินดี
ที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศอำเภอแม่อายที่ให้จำหน่ายรายชื่อและรายการบุคคลรวม
1,243 คน ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศดังกล่าวกลับสู่สภาพเดิม
และที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็นในวันนั้น ก็คือ การที่ผู้คนกว่า 500 คนพากันประณมมือไหว้บริเวณหน้าที่ทำการศาลปกครองเชียงใหม่และกล่าวคำว่า "ขอบคุณศาลปกครอง" อย่างพร้อมเพรียง ซึ่งเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร
เรื่องก็มีอยู่ว่า ชาวแม่อายจำนวนหนึ่งเดิมเคยมีสัญชาติไทยและเคยมีบัตรประจำตัวประชาชน แต่ได้ย้ายไปทำกินในที่แห่งอื่น เมื่อกลับมาอยู่ภูมิลำเนาเดิม และได้มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอแม่อาย แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่อ้างว่า กรณีที่เกิดไฟไหม้เสียหาย จึงไม่มีข้อมูลจัดทำทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนได้
ประกอบกับในช่วงปี 2520 ทางราชการกวดขันเกี่ยวกับหลักฐานทะเบียนราษฎร โดยได้ออกประกาศว่าหากครอบครัวใดไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร จะต้องถูกผลักดันออกจากราชอาณาจักร ชาวแม่อายเกรงจะถูกผลักดันออกนอกราชอาณาจักร จึงต้องไปจัดทำประวัติเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ทำให้สถานะของกลุ่มชาวแม่อายเปลี่ยนไป กลายเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีรายการบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้าน สำหรับบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราวหรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (ทร.13) โดยมีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยในไทย ซึ่งกรมการปกครองได้จัดทำทะเบียนประวัติแยกเป็นกลุ่มไว้
ต่อมาในช่วงปี 2541-2544
ชาวแม่อายแต่ละรายหรือรวมกันเป็นกลุ่ม ได้ทยอยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอแม่อาย
เพื่อขอแก้ไขสัญชาติให้เป็นสัญชาติไทยและบางส่วนได้ยื่นคำร้องเพื่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
(ทร.14)
นายอำเภอแม่อายในขณะนั้นพิจารณาแล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้เพิ่มชื่อให้กลุ่มชาวแม่อายดังกล่าวในทะเบียนบ้าน
(ทร.14)
ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้รับการร้องเรียนเป็นหนังสือ ในนามชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอแม่อาย ว่ามีการกระทำร่วมกันทุจริตโดยเจ้าหน้าที่และราษฎรในอำเภอแม่อาย ทำบัตรประจำตัวประชาชนและแก้ไขสัญชาติโดยมิชอบ กรมการปกครองจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีตามข้อร้องเรียน พบว่าบางคำร้องมีรายการไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีประวัติเป็นชนกลุ่มน้อยและมิได้มีสัญชาติไทย อธิบดีกรมการปกครองจึงสั่งการให้นายอำเภอแม่อายดำเนินการจำหน่ายรายการที่ไม่ถูกต้องออกจากทะเบียนบ้าน (ทร.14) จำนวน 1,243 คน
นายอำเภอแม่อายได้ออกประกาศลงวันที่ 5 ก.พ.2545 เรื่องจำหน่าย ยกเลิกเพิกถอนรายการบุคคล กรณีการขอแก้ไขสัญชาติไทยและเพิ่มชื่อลงในทะเบียนบ้าน (ทร.14) ในอำเภอแม่อาย ชาวแม่อาย 866 คนจึงนำคดีไปฟ้องศาลปกครองเชียงใหม่ ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษาว่า ประกาศอำเภอแม่อายนั้น เป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากก่อนออกคำสั่ง ไม่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนประกาศอำเภอแม่อาย ลงวันที่ 5 ก.พ.2545 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟ้องคดีทั้ง 840 คนที่เหลือจากที่ศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วบางส่วน จากเดิม 866 คน เพราะบางส่วนได้รับการอนุมัติให้เพิ่มชื่อ กลับเข้าทะเบียนบ้าน (ทร.14) ไปแล้ว และบางส่วนก็ถอนฟ้องไปเสียก่อนที่ศาลปกครองเชียงใหม่จะมีคำพิพากษา
คู่กรณีทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยนายอำเภอแม่อายอุทธรณ์ว่า การจำหน่ายบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ตามประกาศได้ดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ฟ้องคดีก็อุทธรณ์ว่าที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาเพิกถอนเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟ้องคดีทั้ง 840 คน โดยมิได้เพิกถอนประกาศทั้งฉบับ ทำให้ที่เหลืออีก 403 คน ไม่ได้รับผลของคำพิพากษานี้
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ประกาศของนายอำเภอแม่อายเป็นการออกคำสั่งทางปกครองคำสั่งใหม่ โดยเกิดจากดุลยพินิจของนายอำเภอแม่อายเอง มิได้เกิดจากคำขอโดยเจตนาของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดแต่อย่างใด นายอำเภอแม่อายจึงควรต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้ผู้ได้รับผลกระทบทุกคนได้ทราบ ก่อนที่จะออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
เมื่อนายอำเภอแม่อายมิได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน อันถือเป็นสาระสำคัญของการออกคำสั่งทางปกครอง ประกาศของนายอำเภอแม่อายจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อประกาศของนายอำเภอแม่อายเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมีผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวรวม 1,243 คน กลับคืนสู่สถานะเช่นเดิม ตามสถานะที่นายอำเภอแม่อายได้เคยมีคำสั่งอนุมัติไว้ทั้งหมด
ที่ศาลปกครองชั้นต้นจึงได้พิพากษาให้เพิกถอนประกาศนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย แต่ไม่เห็นพ้องด้วยที่จะให้คำพิพากษามีผลเฉพาะผู้ฟ้องคดีเพียง 840 คนเท่านั้น จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนประกาศของนายอำเภอแม่อายทั้งฉบับ และให้มีผลต่อผู้ถูกกระทบจากประกาศทุกคน
การที่นำคดีแม่อายมาเล่าให้สู่กันฟังนี้
มิได้มุ่งหวังที่จะชี้ว่าใครเป็นผู้แพ้ใครเป็นผู้ชนะหรือใครเป็นผู้ร้ายใครเป็นพระเอก
แต่มุ่งหวังที่จะยกให้เห็นเป็นอุทาหรณ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จะออกคำสั่งทางปกครอง ไปกระทบสิทธิของประชาชนแล้ว จะต้องเปิดโอกาสให้เขาทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
และมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน หาไม่แล้วก็จะมีผลดังเช่นคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
ที่ได้นำมาเล่าให้ฟังนี้ ครับ
๒. ประชาธิปไตย ทุนนิยม และสังคมนิยม
ในยุคสมัยที่เรากำลังหายใจเข้าเป็นเงินหายใจออกเป็นจีดีพีกันอยู่ในปัจจุบันนี้
เราถูกทำให้เชื่อว่า เมื่อปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยแล้วระบบเศรษฐกิจต้องเป็นทุนนิยมเท่านั้น
ผู้เขียนจึง
จะยกตัวอย่างมาให้เห็นว่าเป็นเช่นว่านั้นจริงหรือ
คำว่าประชาธิปไตยมีมาแต่สมัยกรีก ประชาธิปไตยหรือ democracy มาจาก demos (people
หรือ ประชาชน) + kratein (to rule หรือ ปกครอง) ฉะนั้นเมื่อแปลโดยศัพท์แล้ว
democracy หรือ ประชาธิปไตย แปลว่าการปกครองโดยประชาชน (rule by people) หรืออาจเรียกได้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ประชาธิปไตย
คำว่าประชาธิปไตยนอกจากจะหมายถึงการปกครองแล้ว ยังหมายถึงปรัชญาของสังคมมนุษย์
หรือวิถีชีวิตที่ยึดถืออุดมคติหรือหลักการที่กำหนดพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ในสังคม
ในแง่ของการปกครองจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวม
รัฐบาลที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการช่วยให้ประชาชนได้บรรลุจุดหมายปลายทางของสังคมการเมือง
นั่นคือความผาสุกของประชาชนทั้งปวง โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ
๑) เสรีภาพ : เสรีภาพที่บุคคลอยู่อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับหลักการเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวัสดิการของส่วนรวม
๒) โอกาส : โอกาสที่บุคคลจะสามารถดำเนินงานหรือกิจการต่างๆ ตามความต้องการตน ทุกคนควรจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการที่จะพัฒนาศักยภาพต่างๆ ตามความสามารถของ
ตนเอง
และหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภาตามแบบของอังกฤษ หรือประธานาธิบดีตามแบบของอเมริกา แม้กระทั่งระบบกึ่งรัฐสภาหรือกึ่งประธานาธิบดีของฝรั่งเศสก็ตาม หัวใจที่ว่านั้นก็คือการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ โดยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจะผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ในแต่ละประเทศ
การที่ประเทศใดจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยหรือไม่นั้นมาตรวัดที่สำคัญที่สุดก็คือต้องมีการเลือกตั้งและต้องเป็นการเลือกตั้งที่มีอิสระเสรี มิใช่การถูกบังคับให้เลือกดังเช่นประเทศเผด็จการ
ทุนนิยม
ส่วนคำว่าทุนนิยมนั้น เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
๑) การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งหมายความรวมถึงการอนุญาตให้เอกชนสามารถถือครองทรัพย์สินได้มากเท่าที่จะหามาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
๒) การแข่งขันเสรี ลัทธิทุนนิยมสนับสนุนให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี การแข่งขันเสรีจะทำให้ผู้ขายเสนอราคาที่เหมาะสมที่สุดด้วยศักยภาพการผลิตที่ดีที่สุด คนที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตประเภทนั้นๆ จะถูกกันออกจากตลาด และเหลือแต่ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ
๓) ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งหมายถึงระบบที่อนุญาตให้เอกชนสามารถลงทุนในการผลิต หรือใช้จ่ายเงินเพื่อหาซื้อสินค้าและบริการ ได้ทุกอย่างตามความสามารถและความต้องการ โดยไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับจากรัฐบาล ซึ่งพวกทุนนิยมเชื่อว่าในที่สุดจะทำให้ราคาของสินค้าและบริการอยู่ในจุดสมดุล คือจุดที่ผู้ซื้อและผู้ผลิตมีคาวามเห็นตรงกันว่าราคาอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
๔) อิสระในการบริหาร ลัทธิทุนนิยมต้องการอิสระในการบริหารงานโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล เพราะในความคิดของพวกทุนนิยมเชื่อว่ารัฐบาลไม่มีทางเข้าใจได้หมดว่าเอกชนต้องการอะไร
สังคมนิยม
ส่วนคำว่าสังคมนิยมนั้น เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง เพื่อ
ผลประโยชน์ของชุมชนโดยส่วนรวม ลัทธินี้จึงอยู่คนละด้านกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เอกชนมีสิทธิที่จะทำอะไรก็ได้ตามต้องการ
สามารถที่จะแข่งขันกันอย่างไรก็ได้เพื่อผลกำไรอันสูงสุด ระบบสังคมนิยมเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
เพราะถือว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น นายจ้างคือผู้มีปัจจัยการผลิต อันได้แก่
ที่ดิน ทุน และการประกอบการ ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งเท่านั้น
แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมายแรงงานจึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม
นอกจากนั้นการประกอบธุรกิจของเอกชนที่มุ่งแต่กำไรสูงสุด อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคม
เช่น ปัญหาการว่างงาน อาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลัทธิสังคมนิยมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
๑) มีการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางหรือรัฐบาล โดยลัทธิสังคมนิยมเชื่อว่า หากรัฐบาลมีการวางแผนทางเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดีโดยไม่ปล่อยให้เอกชนดำเนินงานกันเองอย่างไร้ระเบียบ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาสังคม เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน ฯลฯ โดยการวางแผนเศรษฐกิจดังกล่าวถือหลักการว่า ต้องเป็นประโยชน์กับสังคมที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม
๒) รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน
กิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา และถนนหนทาง จะอยู่ภายใต้การ
ดูแลของรัฐ เนื่องจากเป็นกิจการที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้ การที่รัฐบาลเข้ามาดูแลสาธารณูปโภค
ดังกล่าวย่อมเกิดผลดีแก่สังคมเป็นส่วนรวม
หรือว่าคนจนถูกกำจัดไปจากสารบบความเป็นคนไทยไปหมดแล้ว
จึงไม่ต้องนำมานับรวมไว้ ครับ
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
เรื่องมีอยู่ว่า ชาวแม่อายจำนวนหนึ่งเดิมเคยมีสัญชาติไทยและเคยมีบัตรประจำตัวประชาชน แต่ได้ย้ายไปทำกินในที่แห่งอื่น เมื่อกลับมาอยู่ภูมิลำเนาเดิม และได้มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอแม่อาย แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่อ้างว่า กรณีที่เกิดไฟไหม้เสียหาย จึงไม่มีข้อมูลจัดทำทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนได้
ประกอบกับในช่วงปี 2520 ทางราชการกวดขันเกี่ยวกับหลักฐานทะเบียนราษฎร โดยได้ออกประกาศว่าหากครอบครัวใดไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร จะต้องถูกผลักดันออกจากราชอาณาจักร ชาวแม่อายเกรงจะถูกผลักดันออกนอกราชอาณาจักร จึงต้องไปจัดทำประวัติเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ทำให้สถานะของกลุ่มชาวแม่อายเปลี่ยนไป