ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 3-50000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
นักศึกษา สมาชิกและผู้สนใจ หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

The Midnight University

คำปาฐกถาพิเศษ การเสวนาทางวิชาการ
การดำเนินกระบวนยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ :
ปัญหาและแนวทางแก้ไข

นายอานันท์ ปันยารชุน
ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 650
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)


     

 

 

 


 

 

เรียน ท่านผู้ข้าร่วมเสวนา และผู้มีเกียรติทุกท่าน

วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีอีกวาระหนึ่ง ที่หลายฝ่ายได้มาร่วมกันเพื่อระดมความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ เพื่อแก้ปัญหาอันเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มารวมกันเสนอแนวทางและข้อคิดเห็นดีๆซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

การจัดเสวนาในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมความไว้วางใจ ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแนวทาง กำหนดวิธีการในการสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความไว้วางใจ ความสงบสุขที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นคณะอนุกรรมการส่งเสริมความไว้วางใจฯ จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม ไปศึกษาเรื่องการดำเนินการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัญหาและแนวทางแก้ไข

โดยคณะทำงานก็ได้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆมาระยะหนึ่ง จึงได้สรุปผลในเบื้องต้นเพื่อเป็นกรอบให้ทุกท่านในที่นี้ได้ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรม ลดความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาคณะผู้จัดคงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประมวล วิเคราะห์ และเสนอต่อคณะอนุกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) เพื่อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แม้ว่าจะมีสาเหตุมาจากปัญหาหลายมิติ เช่น มิติด้านประวัติศาสตร์, ด้านภาษาและวัฒนธรรม, ด้านศาสนา, ด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ แต่สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่มีส่วนผลักดันให้ปัญหาใน 3 จังหวัดภาคใต้มีความรุนแรง และขยายขอบเขตมากขึ้น ก็คือ ปัญหาด้านความยุติธรรม

ความยุติธรรมหรือความชอบธรรม เป็นพื้นฐานสำคัญของบ้านเมือง ที่ใดขาดความยุติธรรมหรือความชอบธรรมแล้วก็ย่อมยากยิ่งที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข กระบวนการยุติธรรมเป็นกลไกสำคัญที่จะนำความยุติธรรมความเป็นธรรมมาสู่สังคม หากกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและดำเนินการไปสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ก็ย่อมเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สามารถจรรโลงบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขได้เป็นอย่างดี

จากการที่ กอส. ได้มีโอกาสลงไปสัมผัสกับเหตุการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายครั้ง และจากข้อมูลหลายแห่งที่ได้รับ ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

ประการที่หนึ่ง
แม้จะเกิดสภาพปัญหาความรุนแรงที่ต่อเนื่องและขยายตัวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งโดยทั่วไปย่อมมีเหตุที่จะเสริมประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยคำนึงถึงผลกระทบของสิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยลงไปกว่าปกติ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถนำหลักการทั่วไปดังกล่าวมาใช้ได้ทั้งหมด

ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวมุสลิม ที่มีเชื้อชาติมลายูและพูดภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่นมาเป็นเวลายาวนาน และมีเป็นจำนวนมากที่รู้สึกว่าไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน การเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่ทำความเข้าใจถึงมิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ จึงอาจเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้องและอาจส่งผลกระทบให้เหตุการณ์ลุกลามไปอีก

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ความพยายามในการดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมสอดคล้องกับหลักนิติธรรม จึงเป็นแนวทางที่เร่งด่วนและจำเป็นยิ่งสำหรับ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งแตกต่างจากสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่อื่นๆ

ประการที่สอง
ด้วยสภาพปัญหาที่มีลักษณะพิเศษดังที่กล่าวมา จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องยกระดับของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ แม้ว่ากระบวนยุติธรรมในพื้นที่อื่นๆ จะมีปัญหาดังกล่าวดังที่ทราบกันอยู่ เช่น การที่ผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบในการตรวจค้น จับกุม คุมขัง ขาดโอกาสในการประกันตัว ขาดการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

แต่สำหรับพื้นที่ภาคใต้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างเร่งด่วน การดำเนินการในบางเรื่องแม้ว่าอาจจะทำให้ดูเหมือนการให้สิทธิพิเศษที่แตกต่างจากที่อื่น แต่น่าจะมองว่าเป็นความพยายามที่จะยกระดับมาตรฐานการอำนวยความยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้นแบบ ก่อนที่จะขยายผลไปในจุดต่างๆทั่วประเทศ

จากเหตุผลดังกล่าว ผมจึงสนับสนุนความพยายามของกระทรวงยุติธรรม ที่มองปัญหาด้านความยุติธรรมของภาคใต้อย่างครบวงจร และเข้าไปดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยมีกองทุนยุติธรรมเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้การดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น

ประการที่สาม
ผมเห็นว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา การดำเนินการด้านการบังคับใช้กฎหมายในจังหวัดภาคใต้ยังขาดเอกภาพ และขาดการประสานงานที่ดี ผมเห็นว่าหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายในภาคใต้ เช่น ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร กระทรวงยุติธรรม อัยการ จำเป็นต้องมีการประสานงานกันอย่างมีเอกภาพทั้งในระดับชาติและในระดับหน่วยงานในพื้นที่

ในการดำเนินการดังกล่าวผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจด้านการบังคับใช้กฎหมายควบคูกับกรคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของการให้ความช่วยเหลือให้ความช่วยเหลือผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจำเลยไปพร้อมๆกัน

ประการที่สี่
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจของความสำเร็จของการบริหารงานของภาครัฐ ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็เช่นเดียวกัน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมของประชาชนในขั้นตอนต่างๆ และในระดับต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การเข้าไปสร้างความเข้มแข้งให้กับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถดำเนินการแก้ปัญหาข้อพิพาท โดยใช้วิธีทางวัฒนธรรมและทางศาสนา โดยไม่ต้องนำข้อพิพาทเข้ามาในกระบวนการยุติธรรม การสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกตามแนวทางกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การปรับปรุงระบบกระบวนการยุติธรรมให้คำนึงพื้นฐานทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมในพื้นที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องดำเนินการ

ประการที่ห้า
ในสภาพการของปัญหาการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่พฤติกรรมของความรุนแรงเป็นเรื่องของการก่อการร้าย การได้มาซึ่งพยานหลักฐานในการเอาผิดผู้กระทำผิด ย่อมไม่สามารถพึ่งพาพยานบุคคลได้ตราบใดที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความไว้วางใจรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาระบบนิติวิทยาศาสตร์ เข้ามาใช้ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานเพื่อค้นหาความจริงอย่างเร่งด่วน โดยต้องเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ และมีเอกภาพในการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม

ประการที่หก
เนื่องจากสภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่รัฐต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์และรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม โอกาสของการที่บังคับใช้กฎหมายจะกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสูงขึ้นเป็นปกติธรรมดา และอันที่จริง ก็อาจเป็นความพยายามของกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่ต้องการขยายผลหรือขยายแนวร่วมในส่วนนี้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญในกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่ไม่ถูกต้อง หรือส่งผลต่อกฎหมายเกินควร เช่น การจัดตั้งหน่วยรับข้อร้องเรียน และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ การตั้งศูนย์ตรวจสอบบุคคลสูญหายเป็นต้น

ประการสุดท้าย
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป นั่นคือการพัฒนาทัศนคติและความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย กับสถานการณ์พิเศษของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคนต้องตระหนักถึงสภาพความเป็นมาของปัญหาทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และการฝึกอบรมถึงยุทธศาสตร์สันติวิธี และการพัฒนาทัศนคติดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน

ที่กล่าวมาเป็นข้อสังเกตในภาพกว้างๆของทิศทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยว่าจะช่วยให้กระบวนการยุติธรรมสามารถนำมาซึ่งความเป็นธรรมอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

สุดท้ายนี้ ผมขอขอบพระคุณคณะอนุกรรมการส่งเสริมความไว้วางใจ ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนและคณะผู้ศึกษาวิจัยที่ได้จัดทำการศึกษา และการเสวนาทางวิชาการในวันนี้ ซึ่งทาง กอส. จะได้รวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อนำไปเสนอต่อรัฐบาลในโอกาสต่อไป

การดำเนินกระบวนการยุติธรรมใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ - ปัญหาและแนวทางแก้ไข
อานันท์ ปันยารชุน (ข้อมูลจากประชาไท 25/8/2548)


 

 


บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8400 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

R
relate topic
270848
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

เที่ยงวันคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความมืด เที่ยงคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้... โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจของความสำเร็จของการบริหารงานของภาครัฐ ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็เช่นเดียวกัน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมของประชาชนในขั้นตอนต่างๆ และในระดับต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การเข้าไปสร้างความเข้มแข้งให้กับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถดำเนินการแก้ปัญหาข้อพิพาท โดยใช้วิธีทางวัฒนธรรมและทางศาสนา โดยไม่ต้องนำข้อพิพาทเข้ามาในกระบวนการยุติธรรม การสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกตามแนวทางกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การปรับปรุงระบบกระบวนการยุติธรรมให้คำนึงพื้นฐานทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมในพื้นที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องดำเนินการ

H


คำปาฐกถาพิเศษ การเสวนาทางวิชาการ
เรื่อง การดำเนินกระบวนยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ :
ปัญหาและแนวทางแก้ไข

โดย ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (นายอานันท์ ปันยารชุน)

วันที่ 24 สิงหาคม 2548 เวลา 11.30 - 12.00 น.

ข้อมูลจากประชาไท 25/8/2548