นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

กรณีนายกพระราชทาน
จดหมายเปิดผนึกถึงปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคม

The Midnight University



คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและนักวิชาการทั่วประเทศ
"ผ่าทางตัน เว้นวรรคทักษิณ ปฎิรูปการเมือง"

วันพฤหัสที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙
แถลงที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เวลา ๑๓.๐๐ น.

หมายเหตุ : แถลงการณ์ฉบับนี้มีเนื้อหาต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาการเมืองที่กำลังคุกฝุ่นขณะนี้
ด้วยการมองไปยังปัญหาเชิงโครงสร้างของระบอบทักษิณ
และต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองโดยครอบคลุม

พร้อมข้อเสนอทางออกต่อความตีบตันทางการเมืองปัจจุบัน
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 849
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4)




แถลงการณ์ผ่าทางตัน เว้นวรรคทักษิณ
ปฏิรูปการเมือง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
และนักวิชาการทั่วประเทศ

แถลงการณ์ ไปให้พ้นจากระบอบทักษิณและอำนาจนอกระบบ
กระแสการต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางในขณะนี้ เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความสำคัญต่อการสร้างพลังและความหมายให้กับการเมืองภาคประชาชนเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักว่าการเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่ตัวนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่อาจจำกัดไว้เพียงประเด็นปัญหาเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น แน่นอนว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจมองข้ามความจริงไปด้วยว่า โครงสร้างทางการเมืองในปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดช่องให้เกิดระบอบทักษิณขึ้นมาในสังคมไทย ดังนั้น ลำพังแต่เพียงการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ จะไม่เป็นการแก้ไขปัญหาของการเมืองไทยในระดับพื้นฐานได้แต่อย่างใด

ปัญหาที่หมักหมมและเป็นรากฐานของสังคมไทยก็คือ อำนาจในทางการเมืองที่ถูกผูกขาดไว้ในมือของบุคคลเพียงบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนชั้นนำโดยปราศจากการตรวจสอบและกำกับจากสังคม ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงและเป็นเจ้าของอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง หรือกำหนดความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ แต่อย่างใด

ซึ่งการใช้อำนาจในลักษณะเช่นนี้ได้สร้างปัญหาทางสังคมและความไม่เป็นธรรมอย่างกว้างขวางในสังคม เช่น การใช้ความรุนแรงในนโยบายต่างๆ ของรัฐ, การดำเนินนโยบายที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม แต่สร้างความเดือดร้อนและหายนะแก่ประชาชนระดับรากหญ้า, การบัญญัติและใช้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์กับตนและพรรคพวก เป็นต้น

แต่ปัญหาดังที่กล่าวมา ก็มิใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท. ทักษิณและพรรคไทยรักไทย หากเป็นสิ่งที่ปรากฏและสืบเนื่องมาในระบบการเมืองของไทยโดยตลอดในทุกรัฐบาล เพียงแต่ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เห็นอย่างชัดเจนและท้าทายต่อความรู้สึกของสาธารณชนเท่าที่เกิดขึ้นในระบอบทักษิณ

ดังนั้น หากต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ในระยะยาวจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องมีการปฏิรูปการเมืองให้เกิดขึ้น แต่การปฏิรูปการเมืองต้องไม่มีความหมายแคบๆ เพียงแค่การเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของสังคมที่เกิดขึ้นบนฐานของรัฐธรรมนูญ ซึ่งรวมถึงการชุมนุมโดยสงบและเปิดเผย ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ของสังคมต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างกว้างขวาง แม้จะเป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน แต่ก็เป็นกระบวนการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม การโต้แย้ง และการตระหนักถึงอำนาจของผู้คนในสังคม อันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และแก้ไขปัญหาร่วมกันของผู้คนในสังคมประชาธิปไตย

การปฏิรูปการเมืองจึงต้องเกิดขึ้นโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้คนในสังคมต่อปัญหาที่นำมาสู่วิกฤตในครั้งนี้ การปฏิรูปการเมืองที่จะตอบสนองต่อคนทุกๆ กลุ่มไม่อาจเกิดขึ้นได้จากอำนาจนอกระบบ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดของรัฐธรรมนูญรับรองไว้ ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยทหาร หรือการเรียกร้องรัฐบาลพระราชทาน ก็ล้วนแต่จะเป็นรัฐบาลซึ่งประชาชนไม่อาจตรวจสอบและกำกับได้ จึงไม่เป็นหลักประกันใดๆ ต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็งในระยะยาว ดังที่ได้ปรากกฎมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เพราะฉะนั้น นอกจากการเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและพันธมิตรนักวิชาการ ดังมีรายชื่อข้างท้ายนี้ ขอเรียกร้องต่อสังคมไทยให้ร่วมกันยืนหยัดและผลักดันในประเด็นดังต่อไปนี้

๑. การปฏิรูปการเมืองที่จะบังเกิดขึ้นต้องไม่ใช่เพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป้าหมายหลักต้องอยู่ที่การสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในสังคมไทย ด้วยการให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้าถึงและใช้อำนาจได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการสร้างกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพโดยสังคม

๒. การปฏิรูปการเมืองต้องดำเนินไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยขอปฏิเสธอำนาจนอกระบบทุกประเภทว่า มิใช่ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

รายชื่อคณาจารย์ และนักวิชาการทั่วประเทศ
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
รศ. วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
รศ.ดร.จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
สุชาดา จักรพิสุทธิ์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ชัชวาล ปุญปัน (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ไพสิฐ พาณิชย์กุล (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
นัทมน คงเจริญ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ชาญกิจ คันฉ่อง (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
อ.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

ดร. พระมหาบุญช่วย สิรินธโร (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย)
ศ.ดร.อัมมาร์ สยามวาลา (นักวิชาการ TDRI)
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)
ศ. สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ (นักวิชาการอิสระ)
ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ศ. อานันท์ กาญจนพันธ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม (นักวิชาการอิสระ)
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ดร.วิลาสินี พิพิธกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ผศ. ถินันท์ อนวัชศิริวงศ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
รศ. วิระดา สมสวัสดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
รศ. ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
รศ. สายชล สัตยานุรักษ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อำพล วงศ์จำรัส (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ปรานี วงศ์จำรัส (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. พรพิมล ตั้งชัยสิน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. ชูศักดิ์ วิทยภักดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
สมปอง เพ็งจันทร์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
เอกมล สายจันทร์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. จิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. ธเนศวร์ เจริญเมือง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.ราม โชติคุต (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดร. วรรณภา ลีระศิริ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.มาลินี คุ้มสุภา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.ประยุทธ์ หัตถกิจจำเริญ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.กัญญณัฎฐา อิทธินิติวุฒิ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อ.ศักดิ์ชาย จินะวงศ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

รศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
ผศ.ประสาท มีแต้ม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
ผศ.ปิยะ กิจถาวร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
ดร. อุทัย ดุลยเกษม (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

ดร. เลิศชาย ศิริชัย (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ดร.โอภาส ตันติฐากูร (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ศิริพร สมบูรณ์บูรณะ (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ทิพยวัลย์ สุทิน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ฐิรวุฒิ เสนาคำ (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

สุชาดา ทวีศิลป์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
เสนาะ เจริญพร (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
ธวัช มณีผ่อง (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
พลวิเชียร ภูกองชัย (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
ธีรพล อันมัย (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

ศรัณย์ สุดใจ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
สุรสม กฤษณะจูฑะ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
จินตนา วัชระสินธุ์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
อ.พฤกษ์ เถาถวิล (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)

ผศ. เรวดี โรจน์จะนันท์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
อ.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
อ.สัญชัย สูติพันธ์วิหาร (มหาวิทยาลัยมหิดล)
อ.บุญเลิศ วิเศษปรีชา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

อ.วิทยากร เชียงกูล (มหาวิทยาลัยรังสิต)
อ.วิภา ดาวมณี (มหาวิทยาลัยรังสิต)
ดร. อนุสรณ์ ศรีแก้ว (มหาวิทยาลัยรังสิต)
โคทม อารียา (นักวิชาการอิสระ)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ (นักวิชาการอิสระ)

ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล (นักวิชาการอิสระ)
อ.สังคม ทองมี (นักวิชากรอิสระ โรงเรียนศรีสงคราม)
ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี (มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่)

แนวทางปฏิบัติเพื่อผ่าทางตันทางการเมือง (สมเกียรติ ตั้งนโม-ในนามส่วนตัว)
- ให้นายกทักษิณลาออก และเว้นวรรคทางการเมือง
- ให้พรรคไทยรักไทย และพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านลงเลือกตั้ง และเลือกนายกรัฐมนตรีโดยอิสระ
- ให้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยพลัน
- ให้ยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่

สาระในการปฏิรูปการเมือง (สมเกียรติ ตั้งนโม-ในนามส่วนตัว)
- ให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีสิทธิและศักดิ์ศรีที่จะดูแล ปกป้อง และเข้าถึงทรัพยากรอย่างยั่งยืน และเป็นธรรม
- แก้ไขการแทรกแซงองค์กรอิสระ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมรัฐบาล ข้าราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนองค์กรภาคประชาชนเข้ามาคานอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ถูกรอนสิทธิ์โดยกฎหมายต่ำศักดิ์

ข้อมูลเกี่ยวเนื่องที่มีอยู่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
823. ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๑) (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวมและเรียบเรียง)
824. ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๒) (รายการวิทยุ - ทักษิณคุยกับประชาชน - ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙)
825.
ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๓) (บทวิเคราะห์ 20 ประเด็นหลัก ในดีลเทคโอเวอร์กลุ่มชินคอร์ป)
826.
ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๓) (ต่อ) (บทวิเคราะห์ 20 ประเด็นหลัก)

828. ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๔) (แก้วสรร อติโพธิ, คำสารภาพกลางเมืองของนายกฯทักษิณ)
831. ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๕) (มายาภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีการขายหุ้นชินคอร์ป)
832. Ideas are free: คำชี้แจงของทักษิณเรื่องความสุจริต (ถอดเทปโดยกอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

834. เรารักในหลวงถึงวาทกรรมถวายพระราชอำนาจคืน (ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ)
836. การชุมนุมเป็นบ่อเกิดประชาธิปไตย ความอิจฉาเป็นบ่อเกิดความเสมอภาค (เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, เกษียร เตชะพีระ)
838. ทักษิณคุยกับประชาชน : เชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศพบและเรื่องข่าวลือกับเอกสารปลอม (ถอดเทป)
839. ถังความรู้เกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป(๖) (วิพากษ์ยับกรณีศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลเจ้ารัฐบาล)
844. Law of the Few และทฤษฎีฟิสิกส์-สังคมศาสตร์ กรณีการขับไล่ทักษิณ (ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มอ.)
845.
แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรียุบสภา และคำแถลงของนายกทักษิณ (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
)

846. รายการถึงลูกถึงคน คุยกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังยุบสภาฯ (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
847. ณ วันนี้ที่ย้อนกลับไปของนายกทักษิณ (ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
848. กับปัญหาคาใจในการเมืองไทยไล่ทักษิณ (ชำนาญ จันทร์เรือง, อาจารย์พิเศษ นักวิชาการทางด้านกฎหมาย)

 

กรณีนายกพระราชทาน :
จดหมายเปิดผนึกถึงปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคม

คงไม่ช้าไปถ้าพวกเราจะครุ่นคิดอย่างหนักและลงมือเคลื่อนไหวปฏิเสธ "นายกพระราชทาน" ทุกกรณี
ผมคิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคมควรตั้งคำถามใหม่ได้แล้ว
คำถามที่ควรถาม ไม่ใช่คำถามว่า "เรา" ควรทำอะไรในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ "ขบวน" ทั้งหมด
แต่เราควรเริ่มกำหนดท่าทีจากคำถามใหม่ว่า "เรา" ควรทำอะไรในฐานะปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคม

พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยเป็นการรวมตัวที่ฉุกละหุก เกิดขึ้นในเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวพันโดยตรงกับการช่วงชิงความน่าเชื่อถือทางการเมืองในสถานการณ์เฉพาะหน้า ปราศจากแผนการต่อสู้ทางการเมืองในระยะยาวมาตั้งแต่ต้น รวมทั้งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลผลิตจากการตกลงร่วมกันของนักเคลื่อนไหวการเมืองไม่กี่ราย

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของพันธมิตรฯ เพราะมีเหตุผลทางการเมืองเยอะไปหมดที่ทำให้พันธมิตรฯ เกิดมาพร้อมกับบุคลิกลักษณะแบบนี้ แต่บุคลิกข้อนี้ก็ทำให้พันธมิตรฯ มีข้อจำกัดที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกัน

พูดแบบไม่เกรงใจก็คือไม่มีเหตุให้ปัญญาชนและนักกิจกรรมทั้งหมดต้องนิยามตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฯ นั่นหมายความว่าปัญญาชนและนักกิจกรรมไม่จำเป็นต้องขึ้นตรงต่อแนวการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ควรรักษาความเป็นอิสระของตัวเองเอาไว้ ร่วมในเรื่องที่ร่วมได้ พร้อมทั้งริเริ่มและผลักดันในเรื่องที่เป็นประเด็นเชิงหลักการของตัวเองไปพร้อมๆ กัน

การต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่การรบทัพจับศึก การมีศูนย์กลางนำจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญสูงสุดของการต่อสู้ทางการเมือง โดยเฉพาะศูนย์กลางนำที่อาจถูกครอบงำด้วยผู้นำไม่กี่คน

พันธมิตร ฯ เกิดด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่ปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคมไม่ควรคิดและกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวด้วยเหตุผลทางการเมืองแบบเดียวกัน

ในฐานะปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคม สถานการณ์แบบนี้ทำให้เราควรแยกแยะได้ว่า "การต่อต้าน" (resistance) , "การปฏิรูป" (reformation) , และ "ประชาธิปไตย" (democracy) เป็นคนละเรื่องกัน

พูดอีกอย่างคือ เราควรตระหนักว่าการต่อต้านรัฐบาลทั้งหมด "ไม่แน่เสมอไป" ว่าจะต้องนำไปสู่การปฏิรูปและประชาธิปไตย
การต่อต้านรัฐบาลที่ชอบธรรม คือ

การต่อต้านที่มีคำประกาศอย่างชัดแจ้งว่าจะปฏิรูปการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชน ไม่ใช่การต่อต้านรัฐบาลที่การปฏิรูปเป็นเพียงอาภรณ์เพื่อห่อหุ้มเป้าหมายที่ขัดแย้งกับพัฒนาการของประชาธิปไตย รวมทั้งไม่ใช่การต่อต้านที่สอดแทรกไปด้วยวิธีการปั่นความเห็นของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

ในความหมายนี้ ไม่จำเป็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การกำกับและชี้นำของพันธมิตรฯ ในทางตรงกันข้าม แต่ละกลุ่มควรมีกิจกรรมที่แสดงจุดยืนของตัวเองให้มากขึ้น เพราะนี่เป็นหลักการสำคัญของการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ในแง่ยุทธวิธี แนวทางนี้คือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงที่นักฉวยโอกาสทางการเมืองบางคนในพันธมิตร จะ hijack การต่อสู้ของประชาชน ไปเพื่อวาระซ่อนเร้นทางการเมืองของตัวเอง

อย่าลืมว่าการชิงประเด็นไปสู่มาตรา 7 จะเกิดได้ง่ายที่สุด ในสถานการณ์ที่พันธมิตรเป็นฝ่ายครอบงำการเคลื่อนไหวทั้งหมดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะสถานการณ์แบบนั้นคือเงื่อนไขพื้นฐานที่จะเอื้อให้ "นักฉวยโอกาสทางการเมืองบางคน" เล็งผลเลิศจากการชิงการนำในพันธมิตร และใช้ผลจากการนี้เพื่อผลักดันความเคลื่อนไหวทั้งหมด ไปสู่ทิศทางที่ตัวเองต้องการ

ไม่ควรกลัวว่าการประกาศอย่างเปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยกับมาตรา 7 หรือประเด็นพระราชทาน จะเป็นอุปสรรคต่อการขับไล่นายกรัฐมนตรีคนนี้ เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่านายกฯ คนนี้อยู่ในสภาพที่ทำการปกครองไม่ได้ แทบไม่ต่างจากศพหรือบุคคลที่ตายแล้วทางการเมือง

ในระดับภาพรวมนั้น ปัญหาเรื่องทักษิณเป็นปัญหาที่พ้นไปแล้ว เขาถูกทำลายทั้ง legitimacy และ govern mentalityเหลือแต่ legality ที่อ่อนแอในทางการเมือง

พูดให้แรงขึ้นไปอีก ต่อให้ไม่มีฐานสนับสนุนของปัญญาชนและนักกิจกรรมทางสังคม นายกรัฐมนตรีคนนี้ก็ไม่มีโอกาสจะมีอำนาจทางการเมืองเข้มแข็งขึ้นมาได้ เพียงแต่ว่าจะสิ้นสภาพอย่างเต็มที่ไปในเวลาไหนและวิถีทางใดเท่านั้นเอง
ในสถานการณ์ขณะนี้ การถอนตัวในทางปฏิบัติ (เช่นการสร้างกิจกรรมที่แสดงจุดยืนของตัวเองอย่างชัดเจน)

หรือการถอนตัวอย่างเป็นทางการ (เช่นการประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรปีกที่ต้องการนายกพระราชทาน) จึงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการต่อต้านนายกรัฐมนตรี ซ้ำยังเป็นเรื่องที่ควรทำและทำได้ ด้วยเหตุผล 2 ข้อ ในเชิงยุทธศาสตร์ นั่นคือ

ข้อแรก นี่เป็นประเด็นและจุดยืนในระดับหลักการ
ถ้าไม่กล้าประกาศจุดยืนในทางใดทางหนึ่ง ก็เท่ากับยอมรับสภาพที่พวกเราทั้งหมดล้วนมีส่วนในการทำให้เกิดรัฐบาลพระราชทาน, นายกที่มาจากการแต่งตั้ง, หรืออาจกระทั่งระบอบอำนาจนิยมของทหาร-พลเรือน

ข้อสอง การถอนตัวขณะนี้ สามารถทำไปพร้อมกับการประกาศจุดยืนไม่เอานายกทักษิณต่อไปได้
อย่าลืมว่าไม่มีใครห้ามให้คุณหยุดเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ พร้อมกับประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับนายกพระราชทาน
อย่าลืมว่าในการประเมินชัยชนะของการต่อสู้ทางการเมือง บรรทัดฐานสำคัญไม่ได้มีแค่การพิจารณาว่าเราได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ แต่คือการพิจารณาไปพร้อมๆ กันว่า อะไรบ้างที่สูญเสียไป
ปัญหาเดียวของการถอนตัวคือเหตุผลทางยุทธวิธี

แน่นอน การถอนตัวในขณะนี้มีความเสี่ยงในแง่ที่รัฐบาลอาจฉวยโอกาสโจมตีการชุมนุมและเดินขบวน แต่การโจมตีในเวลานี้จะพุ่งเป้าไปที่แกนนำของพันธมิตรไม่กี่คน โดยเฉพาะนักฉวยโอกาสทางการเมืองทั้งคู่ ไม่ใช่พันธมิตรทั้งหมด และยิ่งไม่ใช่ผู้ร่วมชุมนุมและเดินขบวนโดยส่วนรวม

เราจะกลืนหลักการและเหตุผลทางยุทธศาสตร์ เพื่อปกป้องไว้ซึ่งชื่อเสียงและชัยชนะของนักฉวยโอกาสบางคนอย่างนั้นหรือ

อีกข้อ ต้องไม่ลืมว่าการถอนตัวขณะนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าการถอนตัวในขณะที่เกิดการเดินขบวนขึ้นจริงๆ แล้ว เหตุผลคือการถอนตัวในเวลานั้น ไม่เหมาะสม ไม่รับผิดชอบ และอันตรายต่อผู้ร่วมชุมนุมทั้งหมด เพราะการถอนตัวได้เกิดขึ้นในเวลาที่อาจมีการเผชิญหน้า, การปราบปราม, และการใช้กำลังของรัฐ ซึ่งแน่นอนว่ารัฐย่อมใช้การถอนตัวนี้เป็นข้ออ้างสำคัญในการสลายการชุมนุม

การถอนตัวแบบนี้ปรากฎในกรณีพฤษภาคม 2535 ซึ่งปริญญา เทวานฤมิตรกุล ในฐานะเลขาธิการ สนนท., นักกิจกรรมบางคน , และ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ขึ้นไปประกาศบนเวทีที่สนามหลวงว่า สนนท.และ ครป.ไม่เกี่ยวข้องกับการเดินขบวนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535
จากนั้น คณะทหารนำข่าวนี้ไปออกอากาศทั่วประเทศว่าผู้เดินขบวนไม่ใช่พลังบริสุทธิ์ จึงชอบธรรมที่พวกเขาจะทำการปราบปราม

ในกรณี 2549 การถอนตัวหรือแสดงหลักการของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และสมควรเกิดในช่วงก่อนที่การเดินขบวนและการชุมนุมจะยกระดับไปสู่จุดที่รุนแรงที่สุด นั่นก็คือถอนตัวในขณะที่มีแต่ผู้นำของพันธมิตรฯ บางคนที่อาจถูกโจมตีจากรัฐ ไม่ใช่ถอนตัวในเวลาที่การถอนตัวจะสร้างความเสี่ยงให้กับผู้ชุมนุมและประชาชนผู้ร่วมเดินขบวน

โดยความเคารพอย่างสูง
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

(เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๙)



 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 800 เรื่อง หนากว่า 11500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
020349
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ เปิดชั้นเรียนฟรีสำหรับ น.ศ. และผู้สนใจ เพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีมลายูมุสลิมอย่างรอบด้าน
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

สำหรับการเมือง ถ้าไม่สบายใจกันมีอะไรอยากจะแก้ เรามาหันหน้าเข้าหากันมาแก้ด้วยกันไม่ดีหรือ เราคนไทยด้วยกันนะ เรามีพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวกันนะ เราหันหน้าเข้าหากันซิ บรรดาอาจารย์ทั้งหลายท่านก็รู้วิชาของท่าน แต่เรื่องของประเทศมันมีหลายวิชา ท่านอยากจะทำวิจัย ท่านอยากจะมาคุยกันกับผม ท่านรวมตัวมาคุยซิ ท่านก็คือข้าราชการนะ ท่านก็รวมตัวมาคุยซิ อย่าอยู่ๆเขียนจดหมายมาประท้วงบอกให้นายกลาออก ท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในฐานะประชาชน แต่ถ้าท่านอยากจะพบผมท่านอยากจะมาคุยกับผม ผมไม่ใช่เสือที่ไหนเลยนะ ผมคือมนุษย์ธรรมดา เพราะฉะนั้นเรามาคุยกันได้ทุกฝ่าย

The Midnightuniv website 2006