บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๑๐๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
17-12-2549

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Soft Science - Hard Science
The Midnight University

ทำความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
Soft Science & Hard Science: ว่าด้วยศาสตร์อ่อนและศาสตร์แข็ง
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

หาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการชิ้นนี้เป็นการทำความเข้าใจรูปคำศัพท์
ซึ่งเป็นคำเรียกกลุ่มวิชาทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งมีความแตกต่างกัน
อันเนื่องมาจากวิธีวิทยาของทั้ง ๒ กลุ่มวิชา ซึ่งมีการใช้วิธีการค้นคว้า ทดสอบ และทดลองที่แตกต่างกัน
สำหรับบทความชิ้นนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย
๑.
ศาสตร์อ่อน (Soft science)
๒. ศาสตร์อ่อนกับข่าวแข็ง (Soft science and hard news)
๓. ศาสตร์แข็ง (Hard science)
สำหรับผู้สนใจต้นฉบับภาษาอังกฤษสามารถคลิกอ่านได้จากที่นี่
(คลิกไปยังบทความนี้ในภาษาอังกฤษ)
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๐๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐.๕ หน้ากระดาษ A4)



Soft Science & Hard Science: ว่าด้วยศาสตร์อ่อนและศาสตร์แข็ง
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ : เรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
The neutrality of this article is disputed. (ความเป็นกลางของบทความนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

1. ศาสตร์อ่อน (Soft science)
Soft Science เป็นศัพท์ที่ใช้ในภาษาพูดและออกไปในทางที่ไม่ดี ซึ่งบ่อยครั้งนำมาใช้ในลักษณะไม่ให้การยอมรับเท่าใดนักสำหรับการวิจัยในเชิงวิชาการหรือสถาบัน ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ขยายกว้างออกไป ในขณะที่การยึดถือหรือความเข้มงวดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้รับการพิจารณาว่าอ่อน(soft) และมิได้วางอยู่บนพื้นฐานข้อมูลการทดลองที่สามารถผลิตซ้ำได้ และหรือภายใต้คำอธิบายทางคณิตศาสตร์ของข้อมูลนั้น โดยปรกติแล้ว ศัพท์คำนี้ตรงข้ามกันกับ hard science มากกว่าที่จะตรงข้ามกับ non-science

ภายในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเอง (natural science - หมายถึงกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา), การวิจัยที่ขึ้นอยู่กับการคาดคะเน (บางครั้งเรียกว่าสมมุติฐาน), การวิเคราะห์เชิงคุณภาพของข้อมูล (เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ) และผลการทดลองต่างๆ อันไม่แน่นอน บางครั้งได้รับการเยาะเย้ยในฐานะที่เป็น soft science. ยกตัวอย่างเช่น จิตวิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) หรือ อุตุนิยมวิทยา(meteorology)

เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้คำว่า soft science ในการอ้างถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ปรกติแล้วมันจะถูกใช้ในลักษณะไม่ให้การยอมรับ ส่วนใหญ่เนื่องมาจากคำว่า soft science ศัพท์คำนี้มีความสัมพันธ์กับ "social science"(วิทยาศาสตร์สังคม-สังคมศาสตร์) ซึ่งมีนัยะว่าเป็นหัวข้อวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเฉพาะอันหนึ่ง ที่ได้รับการอธิบายว่าอ่อน(soft)(หรือไม่เข้มงวดในวิธีวิทยา ข้อมูล ตัวเลข) ไม่ได้เป็นขอบเขตความรู้ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแต่อย่างใด

เมื่อคำว่า soft science ถูกนำมาใช้อ้างถึง social science (สังคมศาสตร์) หรือหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ อย่างเช่น จิตวิทยา การอ้างอิงดังกล่าวปรกติแล้วจะไม่ถูกใช้ในลักษณะไม่ให้การยอมรับ เพราะมันได้รับการรับรองว่าสังคมศาสตร์(social science) ไม่ใช่ hard science เหมือนกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(natural science) อย่างเช่น ฟิสิกส์ เคมี หรือชีววิทยา

นักสังคมศาสตร์บางคนอ้างถึง

hard science ว่าเป็น simple science, และ
soft science เป็น complex science

อันนี้ถูกวางอยู่บนพื้นฐานการสังเกตการณ์ที่ใน hard science ผลลัพธ์ต่างๆ ของมันมีลักษณะที่เป็นดำ-เป็นขาวอย่างค่อนข้างชัดเจนมากกว่า social science (สังคมศาสตร์), ซึ่งการวิจัยนั้นค่อนข้างจะเป็นไปในลักษณะเชิงคุณภาพ. ในความหมายที่กว้างสุดของมัน ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการวิจัยเชิงปริมาณ หรือขอบเขตความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับการทดลองของมนุษยศาสตร์ อย่างเช่น การวิจารณ์วรรณกรรม หรือการศึกษาเรื่องเพศสภาพ(Gender Studies) ซึ่งถูกอรรถาธิบายในฐานะที่เป็น soft science เมื่อหัวข้อที่กล่าวถึงได้ทำการอ้างอิงถึงเนื้อหาเชิงประจักษ์(empirical [scientific] matter) ในท่าทีทั่วไปในลักษณะกว้างๆ และครอบคลุม ซึ่งเกี่ยวโยงกับทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์

สำหรับในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เหมือนกับในยุโรป, ประวัติศาสตร์, วรรณคดี, คณิตศาสตร์ หรือกฎหมาย ไม่ได้รับการพิจารณาว่าศาสตร์เหล่านี้เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะระเบียบวิธีวิทยาของศาสตร์เหล่านี้ได้รับการพิจารณาว่ามีความแตกต่างมากพอ และแยกออกไปจากวิทยาศาสตร์ อีกทั้งขอบเขตความรู้เหล่านี้ของการศึกษา มันมีความมั่นคงดีอยู่แล้วก่อนการปรากฏตัวขึ้นมาของวิทยาศาสตร์เสียอีก

บางคนอ้างการศึกษาของพวกเขาว่าเป็นเรื่องเชิงประจักษ์(อย่างเช่นประวัติศาสตร์, มานุษยวิทยา, โบราณคดี) หรือเรื่องทางศิลปะ(วรรณคดี, ศิลปะการละคร) หรือเป็นเรื่องของการตีความ(กฎหมาย) หรือการอรรถาธิบาย(ภาษา, หลักการบัญชี) หรือเป็นเรื่องของตรรกะ (ปรัชญา, คณิตศาสตร์) หรือกระทั่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติ(ภาษา, กฎหมาย, การบัญชี) และไม่เกี่ยวกับการทดลอง

ในบางขอบเขตความรู้ อย่างเช่น ภาษาศาสตร์ หรือภูมิศาสตร์ ซึ่งมีวิธีการแบบเดียวกับสังคมศาสตร์ ได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับว่า ขอบเขตการศึกษาเหล่านี้สามารถได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่. ควรจะหมายเหตุลงไปว่า การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความแตกต่างที่เด่นชัดถูกทำใน soft science เอง แม้ว่าศัพท์คำว่า soft science จะไม่ถูกนำมาใช้ก็ตาม. ยกตัวอย่างเช่น นักเศรษฐศาสตร์อาจอ้างว่าสังคมวิทยาเป็นวรรณคดี หรือดอกเตอร์ทางการแพทย์อาจอ้างว่าแพทย์ทางจิตเวชศาสตร์มิใช่"แพทย์ที่แท้จริง" เป็นต้น

ข้อมูลเรียบเรียงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Soft_science


2. ศาสตร์อ่อนกับข่าวแข็ง (Soft science and hard news)
(หมายเหตุ : คำว่า Hard news [ข่าวแข็ง] หมายถึงรายงานข่าวที่เกี่ยวกับหัวข้อ, เรื่องราว, หรือเหตุการณ์ที่จริงจัง)

สังคมศาสตร์กับการรายงานข่าว, บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วสาธารณชนไม่ได้พิจารณาว่าศาสตร์เหล่านี้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ. คนธรรมดาและพวกนักวิชาการทั้งหลายก็คล้ายๆ กัน คือต่างคิดกันว่า ขอบเขตความรู้ต่างๆ อย่างเช่น สังคมวิทยา, จิตวิทยา, และรัฐศาสตร์เป็นเรื่อง "soft" เพราะศาสตร์เหล่านี้ได้รับการสันนิษฐานหรือทึกทักว่าสามารถเข้าใจได้ โดยไม่ต้องมีเรื่องของความเข้มงวดทางคณิตศาสตร์ และเกี่ยวโยงกันกับแนวคิดในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ในอีกด้านหนึ่งนั้น วิชาดาราศาสตร์, ฟิสิกส์, และชีววิทยา เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์มากกว่า เพราะว่าพวกมันถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องการความแน่นอนแม่นยำ และเกี่ยวพันกับการค้นพบทั้งหลายที่ไกลห่างจากประสบการณ์มนุษย์ตามปรกติ อย่างเช่น พลังงานอะตอม หรือเรื่องของ ดีเอ็นเอ. เป็นต้น

บรรดานักหนังสือพิมพ์ได้ช่วยธำรงรักษาลักษณะทวินิยมอันนี้เอาไว้ บรรดาผู้นำทางวิชาการสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าว. พวกเขากล่าวว่า มันเกิดขึ้นเพราะว่า บรรดาผู้สื่อข่าวทั้งหลายมีแนวโน้มในการให้ความวางใจในนักสังคมศาสตร์ ในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอข้อมูลสำหรับข้อคิดเห็นและคำวิจารณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน อย่างเช่น อาชญากรรม, การเมือง, หรือหายนภัยต่างๆ

บรรดาสื่อทั้งหลาย จะไม่เปลืองน้ำหมึกหรือให้เวลาการออกอากาศกับความรู้ใหม่ๆ ทางสังคมศาสตร์ ที่ผลิตขึ้นมาโดยนักวิชาการและการวิจัยทางสังคมศาสตร์เท่าใดนัก อย่างที่สื่อทั้งหลายทำกับพวกวิทยาศาสตร์หรือ hard science. จากผลลัพธ์นี้ ภาพลักษณ์สาธารณะของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ จึงค่อนข้างดูเบาๆ ยิ่งกว่าความหนักแน่น การรับรู้เช่นนี้มิได้เป็นการโจมตีไปที่ความเคารพนับถือส่วนตัวต่อบรรดานักสังคมศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม มันได้ส่งผลอย่างมีศักยภาพต่อเรื่องของการให้ทุนการวิจัยตามมา

Herbert J. Gans, แห่ง the Robert S. Lynd ศาสตราจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ชี้แจงว่า สังคมศาสตร์ไม่ได้รับการกล่าวถึงโดยตรงมากเท่าๆ กันกับวิทยาศาสตร์กายภาพต่างๆ "พวกมันไม่ปรากฏบนหน้าวิทยาศาสตร์เลย" เขากล่าว. แนวโน้มต่างๆ ทางเศรษฐกิจได้ก่อรูปก่อร่างภาคส่วนทางด้านธุรกิจ, การถกเถียงกันเชิงนโยบายสังคมได้ไปกระตุ้นบทบรรณาธิการทั้งหลาย, และสถิติอาชญากรรม บ่อยครั้ง ปรากฎอยู่บนหน้าแรกของข่าว, เขากล่าว. แต่มันไม่มีการตีข่าวสังคมวิทยาหรือสังคมศาสตร์ตรงๆ ออกมาเลย

เมื่อบรรดาผู้สื่อข่าวเข้าพบกับนักรัฐศาสตร์บางคน, Lisa Anderson กล่าว, เธอเป็นหัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, พวกเขาไม่ต้องการรู้ว่างานวิจัยอะไรที่คณะต่างๆ เหล่านี้กำลังทำอยู่ พวกเขาเพียงต้องการทัศนคติหรือมุมมองที่จะนำไปพาดหัวข่าวประจำวันได้เท่านั้น" โดยเหตุนี้ งานของนักสังคมศาสตร์ "จึงกลายเป็นการอธิบายกรอบการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวเท่านั้น", Anderson กล่าว

ทำนองเกียวกัน Katherine S. Newman จากภาควิชามานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลสื่อสารมวลชนจากสมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน(American Anthopological Association) เธอเห็นด้วยกับ Anderson เกี่ยวกับสื่อที่ว่า ชอบการตีความการค้นพบต่างๆ ทางด้านการวิจัย. มองว่าการให้สัมภาษณ์นั้นเป็นหน้าที่และความชอบธรรมของคณะที่เธอสอน และเชื่อว่า บรรดานักสังคมศาสตร์มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการให้ความรู้ และส่งเสริมความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ความรับผิดชอบดังกล่าว James W. Carey, ศาสตราจารย์ทางด้านวารสารศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, อธิบายว่า เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อค้นพบใหม่ๆ ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ บ่อยครั้ง มันระเหยกลายเป็นไอไปอย่างรวดเร็ว มันมีลักษณะเปลี่ยนแปลงง่าย และเป็นการพูดถึงนโยบายทางสังคมตรงๆ, เขากล่าวว่า ผู้สื่อข่าวทั้งหลายเมื่อต้องมาทำข่าวเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ จะสร้างภาพความขัดแย้งและการโต้เถียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะที่การพรรณาเรื่องของวิทยาศาสตร์กายภาพ พวกเขาจะทำให้มันดูเหมือนกับความลึกลับในการสำรวจ

สาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ ต่างมีส่วนอยู่บนพื้นฐานร่วมกันอันหนึ่ง ตามความคิดของ Carey, นั่นคือ มีความต้องการทุนอุดหนุนงานวิจัยจากส่วนกลางหรือรัฐ. แม้ว่าการถกเถียงกันเพื่อเงิน บ่อยทีเดียวจะอยู่นอกการรายงานข่าวของสื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ, Carey ยืนยัน ผลลัพธ์ท้ายสุดสำหรับสองสาขาความรู้นี้คือ หากทุนงานวิจัยมีค่อนข้างน้อยและต้องรัดเข้มขัด เป็นไปได้ที่ทุนวิจัยสังคมศาสตร์จะถูกตัดให้เหลือน้อยลง. Carey หมายเหตุเอาไว้ว่า, รัฐบาล บางครั้งมีการปิดป้ายโครงการสังคมศาสตร์อย่างไม่เป็นธรรมในฐานะงานวิจัยว่า"เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนรู้อยู่แล้ว" เพราะหัวข้อต่างๆ โดยธรรมชาติของศาสตร์แขนงนี้ ค่อนข้างใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันนั่นเอง

Carey และคนอื่นๆ ต่างเห็นพ้องกันว่า การรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มีอิทธิพลต่อการให้ทุนอย่างไม่ต้องสงสัย. การจัดสรรทุนของรัฐบาลให้กับงานวิจัยสังคมศาสตร์อเมริกันตั้งต้นมาจากต้นปีจนถึงปลายปีที่แล้ว และ Herbert J. Gans เตือนว่า แนวโน้มนี้จะต่อเนื่องระหว่างที่พรรค Republican มิอิทธิพลเหนือสภาคองเกรส (ซึ่งหมายความว่า การทำงบประมาณหรือการให้ทุนขึ้นอยู่กับนักการเมืองและนโยบายของพรรคการเมือง)
...
-- Pamela Frost
ข้อมูลเรียบเรียงจาก http://www.columbia.edu/cu/21stC/issue-1.1/soft.htm

3. ศาสตร์แข็ง (Hard science)
Hard science เป็นศัพท์คำหนึ่งที่ใช้อธิบายขอบเขตความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(natural science) โดยปรกติแล้ว hard science หมายถึงวิชาฟิสิกส์ เคมี และหลากหลายความรู้ทางชีววิทยา. สำหรับ hard science นั้น ให้ความวางใจหรือเชื่อมั่นในเรื่องของการทดลอง} เรื่องจำนวนหรือปริมาณ, ข้อมูล(data)หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และโฟกัสลงบนความแม่นยำเที่ยงตรงและความเป็นวัตถุวิสัย. บ่อยทีเดียว hard science จะถูกทำให้ตรงข้ามกับ soft science ซึ่งไม่ค่อยจะเข้มงวดนักในเรื่องที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การศึกษาทางด้านฟิสิกส์, วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, เคมี, ชีววิทยา และธรณีวิทยา บางครั้งถูกเรียกว่า hard science. คำว่า hard ตรงข้ามกับ soft แต่ลักษณะที่ตรงข้ามกันนี้มิได้ถูกใช้เพื่อบ่งชี้ว่า soft science เป็นขอบเขตความรู้ที่ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานเพียงพอแต่อย่างใด หากแต่มันถูกใช้ในฐานะที่มันไม่ได้ผลิต(และปรกติแล้วมิได้แสวงหาที่จะผลิต)ผลลัพธ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถคำนวนหรือวัดได้อย่างเป็นภววิสัย

นั่นคือ ในขณะที่ hard science ได้โฟกัสลงบนการสร้างผลลัพธ์ที่สามารถได้รับการพิสูจน์อย่างเข้มงวด, soft science โดยพื้นฐานแล้ว ให้ความเชื่อมั่น(ในบางระดับ)บนข้อคิดเห็นที่เป็นอัตวิสัย. ด้วยเหตุนี้ ข้อสรุปต่างๆ ของ hard science จึงเป็นตัวแทนลักษณะของความเป็นจริงอันเป็นภววิสัย ซึ่งกำหนด/ตัดสินโดยผ่านการทดลองที่เป็นรูปธรรม (และบางครั้ง เป็นการทดลองต่างๆ ทางความคิด) โดยบรรดานักทดลองทั้งหลาย ด้วยการฝึกฝนอย่างเข้มงวดในระเบียบวิธีวิจัยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ

ดังตัวอย่างหนึ่งของความแตกต่าง เช่น นักฟสิกส์อาจกำหนดว่า อัตราความเร็วของวัตถุชิ้นหนึ่งตกลงมาบนโลก เนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงที่เท่ากับ g*t, ซึ่ง t ก็คือ time (เวลา)ของการตกลงสู่พื้น และ g ก็คือ gravitational constant (อัตราคงที่ของแรงโน้มถ่วง). นักฟิสิกส์คนดังกล่าวที่รายงานเรื่องนี้ รายงานของเขามิใช่ในฐานะความคิดเห็นหรือทัศนคติส่วนตัว แต่ในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของจักรวาล และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ อาจทดสอบถึงข้ออ้างอันนี้ได้

ข้ออ้างดังกล่าวจะยังคงยืนหยัดอยู่อย่างนั้น เว้นแต่หรือจนกว่ามันจะถูกหักล้างอย่างเป็นภววิสัยโดยนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งในฐานะที่มันเป็นข้ออ้างไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่สมบูรณ์บางอย่าง. แต่ถ้าหากว่าข้ออ้างดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าใครก็ตามซึ่งพยายามทดสอบเรื่องเดียวกันนี้ ก็จะพบคำตอบที่เป็นอย่างเดียวกัน

ในทางตรงข้าม นักสังคมวิทยาคนหนึ่งอาจสร้างข้ออ้างหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับสาเหตุของความยากจน ยกตัวอย่างเช่น เขาอาจสรุปว่า โดยหลักแล้ว มูลเหตุของความยากจนเนื่องมาจากการขาดเสียซึ่งกฎหมายแรงงานต่างๆ. นักสังคมวิทยาอีกคนหนึ่งอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างไป และได้ตีพิมพ์เอกสารชิ้นหนึ่งขึ้นมาซึ่งสรุปว่า ส่วนใหญ่แล้ว เหตุผลของความยากจนสืบเนื่องมาจากการขาดการศึกษา. ส่วนนักสังคมวิทยาคนที่สาม อาจอ้างเหตุผลเรื่องสาเหตุแห่งความยากจนที่แตกต่างไป นั่นคือเป็นเรื่องของความขยันหมั่นเพียรส่วนตัว

ทุกๆ ความคิดเห็นเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีเหตุผล ซึ่งแน่นอนว่าข้อสรุปบางอย่างอาจดูเหมือนว่ามีเหตุผลมากกว่าสำหรับบรรดาผู้อ่านที่หลากหลาย แต่ในกรณีส่วนใหญ่ ไม่มีใครที่สามารถอ้างว่าความคิดเห็นอันใดอันหนึ่งนั้นถูกต้อง และพิสูจน์ได้อย่างเป็นภววิสัยในหนทางอย่างเดียวกันกับทฤษฎีเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงดังที่กล่าวมาข้างต้น. บรรดาข้อสรุปต่างๆ โดยพื้นฐานแล้ว วางใจหรือเชื่อมั่นในความเห็นส่วนตัว ซึ่งสำหรับข้อสรุปทั้งหลายของ hard science ไม่เป็นอย่างนั้น

ความแตกต่างระหว่าง hard กับ soft เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันในบางวงการ แต่ไม่ใช่ในท่ามกลางนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่. แม้ว่ามันจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความคิดเรื่องของสัจนิยม(realism-ความจริง), ความแตกต่างนี้ถูกดึงมาจากสามัญสำนึกมากกว่าความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งในปรัชญาวิทยาศาสตร์. งานจำนวนมากโดยนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นด้วยผลงานของ Thomas Kuhn ได้โฟกัสลงบนวิธีการต่างๆ ซึ่ง hard science มีหน้าที่ในหนทางต่างๆ ซึ่ง "แข็ง"(hard)น้อยกว่าที่ทึกทักกัน, เขาเน้นว่า การตัดสินต่างๆ เหนือ"ความจริง/ความถูกต้อง" เกี่ยวกับทฤษฎีอันหนึ่ง เป็นหนี้บุญคุณต่ออิทธิพลของอัตวิสัยมากกว่าป้ายฉลาก "hard" ที่เน้นย้ำกัน (และเริ่มมีการตั้งคำถามว่า มันมีความแตกต่างที่แท้จริงระหว่าง"hard"และ"soft" science หรือไม่)

บางคน อย่างเช่นพวกที่อยู่ข้างเดียวกันกับโครงการที่เข้มแข็งของ the sociology of scientific knowledge (สังคมวิทยาเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์)ได้ไปไกลกว่านั้น กล่าวคือได้ยักย้ายอุปสรรคกีดขวางระหว่าง hard science และ non-science ออกไปเลยทีเดียว …

…ความแตกต่างระหว่าง hard กับ soft ซึ่งเป็นศัพท์ที่นิยมและมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางหมู่นักวิทยาศาสตร์, นักเทคนิค, และนักวิชาการทั้งหลาย เพราะเกี่ยวกับวิธีการดังกล่าว มันได้แยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบที่หลากหลายของการสืบสวน ค้นคว้า ในมหาวิทยาลัยและห้องทดลองที่เน้นการวิจัยสมัยใหม่ต่างๆ

อันที่จริงความแตกต่างที่ชัดเจนอันหนึ่ง ที่สนับสนุนการจำแนกดังกล่าว คือระดับซึ่งข้อสรุปทั้งหลายในขอบเขตความรู้ที่แตกต่าง มีการถกเถียงกันภายในขอบเขตความรู้เหล่านั้นมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ทางฟิสิกส์เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่นักฟิสิกส์มากน้อยเพียงใด, เปรียบเทียบกัน นักรัฐศาสตร์มีการถกเถียงกันในหมู่นักรัฐศาสตร์มากน้อยเพียงใด

++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาษาอังกฤษ / คำเตือน : The neutrality of this article is disputed.

(กลับไปยังบทความนี้ในภาษาไทย)

1. Soft science is a colloquial and derogatory term, often used pejoratively, for academic research or scholarship which is purportedly "scientific" while its adherence to or rigor of scientific method is considered to be soft, not based on reproducible experimental data and/or a mathematical explanation of that data. It is usually opposed to "hard science," rather than to non-science.

Within the natural sciences, research which depends upon conjecture (sometimes called hypothesis), qualitative analysis of data (compared to quantitative analysis), or uncertain experimental results is sometimes derided as soft science. Examples are evolutionary psychology or meteorology. When soft science refer to a natural science, it is usually used pejoratively, mainly due to the term's association with "social science", implying that a particular natural science topic described as "soft" does not belong to the field of natural science.

When "soft science" is used to refer to social science or related topics such as psychology, the reference are not usually used pejoratively because it is accepted that that social science isn't hard science like natural sciences such as physics or chemistry. [citation needed] The term is often employed by social scientist themselves without any projective implication though some might use it for self-deprecation. As a response, some social scientists refer to the "hard sciences" as "simple sciences", and the "soft sciences" as "complex sciences". This is based on the observation that in "hard sciences" results are more black-and-white than in the social sciences, where research is far more qualitative. In its broadest sense, even largely non-quantitative, non-experimental fields of the humanities like literary criticism or gender studies are described as soft science when the said topic make reference to empirical (scientific) matter in sweeping generalised manner which is akin to scientific theory. But in the United States, unlike Europe, history, literature, mathematics or law are not regarded as sciences as their methodology is regarded distinct enough to be separate from science and their field of study existed well before the emergence of science. Some would claim their study to be empirical (history, anthropology or archeology) or artistic (literature, dramatic art) or interpretative (law) or descriptive (language, accounting) or logical (philosophy, mathematics) or even practical (language, law, accounting) but not experimental. In some field such as linguistic or geography which has incorporated method from social science, there are debate as to whether their field of study can be described as (social) science or not. It should be noted that use of projective distinction is made within soft science itself even though the term soft science is not used. So, for example, economist may refer sociology to be "literature" or medical doctor may refer psychiatric medicine as not being a "real medicine".

Different approaches to the scientific method can be distinguished by the research they term "soft science" and what they consider "hard." The issue is important to the philosophy of science (which does not always support the possibility of drawing a distinction between "hard" and "soft") and to science studies and the sociology of science (which study scientists' implicit perceptions of research and methods).

Retrieved from http://en.wikipedia.org/wiki/Soft_science

2. Soft science and hard news
ALTHOUGH THE SOCIAL SCIENCES are integral to news reporting, experts say, the public generally doesn't consider these sciences truly scientific. Laypeople and academicians alike tend to judge fields such as sociology, psychology, and political science as "soft" because they are presumed to be understandable, devoid of mathematical rigor, and concerned with everyday concepts such as interpersonal relationships. On the other hand, astronomy, physics, and biology are more "scientific" because they are deemed difficult, demand exactitude, and concern discoveries far removed from routine human experience, such as atomic forces or DNA.

Journalists help maintain this conceptual dualism, say leading Columbia social scientists. It happens, they say, because reporters tend to rely on social scientists as sources for commentary about current events such as crime, politics, or catastrophes. The media doesn't give much ink or air time to new knowledge generated by social science research activity, as it does in the hard sciences. As a result, the public image of social science research is more fluff than tough. This perception doesn't just strike at the self-esteem of social scientists; it potentially affects research funding.

Herbert J. Gans, the Robert S. Lynd Professor of Sociology at Columbia, points out that social sciences get as much media coverage as the physical sciences without being mentioned directly. "They just don't appear on the science page," he says. Economic trends shape the business section, social policy debates spur editorial columns, and crime statistics often demand the front page, he says. There's just no sociology beat or social science coverage per se.

When reporters approach political scientists, says Lisa Anderson, chair of Columbia's political science department, they don't want to know what research these faculty are doing; they want perspective on the headline of the day. "The social scientist's job, then," says Anderson, "becomes explaining an analytical framework within which to understand a recent political or economic event."
Katherine S. Newman of Columbia's anthropology department fields similar calls from reporters. Newman, who just won an award from the American Anthropological Association for communicating science to the media, agrees with Anderson about the media's preference for interpretations over research findings. She considers such interviews a legitimate function for faculty, believing that social scientists have a responsibility to contribute to public understanding of problems.

That responsibility, explains James W. Carey, professor of journalism at Columbia, stems from the fact that new findings in social research are often volatile and speak directly to social policies. He says that reporters, when they do cover social science subjects, portray them as controversies to take sides on, while depicting the physical sciences as a mystery to explore.

The social and physical branches of science share one common ground, according to Carey, which is the need for federal research funding. Although the debate for monies often gets played out in the media, Carey asserts, the end results for the two branches are that when funding is tight, the social sciences are more likely to get the short end of the stick. Government officials, he noted, will sometimes label social science projects unfairly as research into "what everyone knows anyway" because the topics are, by their nature, closely tied to everyday life.

Carey and the other faculty agree that media coverage of science influences funding. Government allocations for social science research were on the rise through the end of last year, but Gans cautions against assuming that this upward trend will continue during the period of Republican dominance in Congress.

Considering the widespread perceptions of what sociologists, psychologists, economists, and political scientists actually do, researchers in these fields might benefit both the public and their colleagues by drawing reporters' attention to the new knowledge their work generates as well as the conclusions it supports.

-- Pamela Frost
http://www.columbia.edu/cu/21stC/issue-1.1/soft.htm

3. Hard science is a term used to describe certain fields of the natural sciences, usually physics, chemistry, and many fields of biology. The hard sciences rely on experimental, quantifiable data or the scientific method and focus on accuracy and objectivity. The hard sciences are often contrasted with 'soft sciences', which by contrast have less rigor.

Studies of Physics, computer science, chemistry, biology and geology are sometimes called "hard sciences."

The 'hard' versus 'soft' distinction is not used to indicate that 'soft' sciences are not valid fields of study, but that they do not produce (and usually do not seek to produce) results that are objectively calculable. That is, while 'hard' sciences focus on producing results that can be rigorously proven, the 'soft' sciences ultimately rely (to some degree) on a subjective viewpoint. Thus the conclusions of hard science represent objective features of reality determined through concrete experiment (and sometimes thought experiments) by experimentalists with a rigorous training in specialized research methods.

As an example of a distinction, a physicist may determine that the velocity of an object falling towards the earth due to gravity is equal to g*t, where t is time of falling and g is a gravitational constant. He reports this not as an opinion or viewpoint, but as a fact about the nature of the universe. Other scientists may examine the claim. The claim will stand unless and until objectively disproven by another person as being totally incorrect or incomplete in some way. But if the claim is correct, anyone who tries the experiment will get the same answer. By contrast, a sociologist may make a claim about the causes of poverty, for example. He may conclude that the cause is mainly a lack of labor laws. Another sociologist may have a different point of view and publish a paper that concludes the reason is mainly a lack of education. A third sociologist may claim the reason is just a difference in personal industriousness. Any of these points of view may be reasonable, and of course some may seem more reasonable than others to various readers, but in most cases no one will be able to make the claim that one of the points of view is objectively correct and provable in the way that a theory of gravity is. The conclusions ultimately rely on personal opinions in a way that the conclusions of hard sciences do not.

The 'hard' vs. 'soft' distinction is controversial in some circles, but not among most scientists. Although associated with notions of realism, this distinction is drawn more from commonsense than a deep immersion in the philosophy of science. Much work by modern historians of science, starting with the work done by Thomas Kuhn, has focused on the ways in which the "hard sciences" have functioned in ways which were less "hard" than previously assumed, emphasizing that decisions over the veracity of a given theory owed much more to "subjective" influences than the "hard" label would emphasize (and begin to question whether there are any real distinctions between "hard" and "soft" science). Some, such as those who subscribe to the "strong program" of the sociology of scientific knowledge, would go even further, and remove the barrier between "hard science" and "nonscience" completely. This take on science has, needless to say, not been taken too fondly by scientists themselves.

Despite these objections, the 'hard' vs 'soft' distinction is popular and widely used amongst scientists, technicians, and academics because of the way that it captures a distinction between different forms of investigation in the modern research universities and laboratories. Indeed, one clear difference supporting the distinction is the degree to which conclusions in different fields are controversial within those fields (e.g., how much of physics is controversial among physicists, versus how much of political science is controversial among political scientists).

Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Hard_science"


 

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

บรรดาสื่อทั้งหลาย จะไม่เปลืองน้ำหมึกหรือให้เวลาการออกอากาศกับความรู้ใหม่ๆ ทางสังคมศาสตร์ ที่ผลิตขึ้นมาโดยนักวิชาการและการวิจัยทางสังคมศาสตร์เท่าใดนัก อย่างที่สื่อทั้งหลายทำกับพวกวิทยาศาสตร์หรือ hard science. จากผลลัพธ์นี้ ภาพลักษณ์สาธารณะของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ จึงค่อนข้างดูเบาๆ ยิ่งกว่าความหนักแน่น การรับรู้เช่นนี้มิได้เป็นการโจมตีไปที่ความเคารพนับถือส่วนตัวต่อบรรดานักสังคมศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม มันได้ส่งผลอย่างมีศักยภาพต่อเรื่องของการให้ทุนการวิจัยตามมา. Herbert J. Gans, แห่ง the Robert S. Lynd ศาสตราจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ชี้แจงว่า สังคมศาสตร์ไม่ได้รับการกล่าวถึงโดยตรงมากเท่าๆ กันกับวิทยาศาสตร์กายภาพต่างๆ "พวกมันไม่ปรากฏบนหน้าวิทยาศาสตร์เลย"