American Policy
The Midnight University
สำรวจนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
Machiavellian:
การเมืองและนโยบายปีศาจของสหรัฐฯ (2)
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความบนหน้าเว็บเพจนี้
เรียบเรียงมาจากงานของ
Howard Zinn, 1991 from the Zinn Reader
Machiavellian
Realism and U.S. Foreign Policy: Means and Ends
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจนโยบายต่างประเทศของสหรัฐที่ผ่านมา
ซึ่งเต็มไปด้วยวิธีการแบบแมคิอาเวลลี
โดยบรรดาที่ปรึกษาและคนวงในซึ่งใกล้ชิดกับอำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ในความเรียงชิ้นนี้จะมีการพูดถึงวิธีการและเป้าหมาย ตลอดรวมถึงตัวอย่างต่างๆ
ที่สหรัฐปฏิบัติกับประเทศเพื่อนบ้านในอเมริกากลาง,
ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในสงครามเวียดนาม
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1093
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๖ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
19 หน้ากระดาษ A4)
Machiavellian:
การเมืองและนโยบายปีศาจของสหรัฐฯ (2)
Machiavellian Realism and U.S. Foreign Policy: Means
and Ends
by Howard Zinn, 1991 from the Zinn Reader
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
วิธีการ:
สิงโตกับหมาจิ้งจอก (Means:The Lion and the Fox)
มันควรจะมีรอยทางหรือเงื่อนงำต่างๆ ที่นำไปสู่ความถูกต้องของเป้าหมายที่เราดำเนินตามได้
โดยสำรวจถึงวิธีการที่เราใช้เพื่อบรรลุผลในเป้าหมายต่างๆ เหล่านั้น ผมกำลังสันนิษฐานว่า
มักมีความเชื่อมโยงกันบางอย่างเสมอระหว่างเป้าหมายกับวิธีการ
วิธีการต่างๆ ทั้งหมดกลายเป็นเป้าหมายในความหมายที่ว่า
พวกมันมีผลที่ตามมาโดยทันที ซึ่งต่างไปจากเป้าหมายทั้งหลายที่พวกเขาวาดหวังที่จะบรรลุถึง.
และเป้าหมายทั้งหมดมันมีวิธีการของมันเองที่นำไปสู่เป้าหมายอื่นๆ. สำหรับ Machiavelli,
มันไม่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมายที่โง่เง่าเลอะเทอะของเขา - อำนาจของเจ้าชาย
- กับวิธีการอันหลากหลายที่เขาพบว่าเป็นที่ยอมรับได้ใช่ไหม?
สำหรับเวลาหนึ่งปีที่ Machiavelli ได้เป็นเอกอัครราชทูตที่ติดตาม Cesare Borgia
(ตำแหน่งผู้นำทางทหารและพระคาดินัลของอิตาเลียน แบบจำลองสำหรับเจ้าชายของ Machiavelli),
ผู้มีชัยชนะแห่งโรม
เขาได้อธิบายถึงเหตุการณ์หนึ่งเอาไว้ว่า, มันเป็นเรื่องที่มีค่าแก่การบันทึกและควรค่าแก่การเลียนแบบโดยคนอื่นๆ
กล่าวคือ เมื่อโรมกำลังเป็นไปอย่างสับสนไร้ระเบียบ และ Cesare Borgia ตัดสินใจว่าต้องทำให้ผู้คนสงบสุขและเชื่อฟังการปกครองของเขา
ด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงแต่งตั้ง Messer Remirro de Orco, คนที่มีความสามารถ หลักแหลม
และโหดเหี้ยมทารุณขึ้นมาคลี่คลายปัญหา
สำหรับบุคคลนี้ เขาได้ให้อำนาจอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะทำให้โรมกลับมามีระเบียบและมีความสามัคคีปรองดองกันอีกครั้ง. แต่ Cesare Borgia รู้ถึงนโยบายต่างๆของเขาเป็นอย่างดี ที่ได้ไปกระตุ้นความเกลียดชังให้เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการปราบปราม ดังนั้นเพื่อที่จะชำระล้างจิตใจของผู้คน และเพื่อเอาชนะใจประชาชนอย่างสมบูรณ์ เขาได้ตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นว่า ถ้าเกิดมีความโหดร้ายใดๆ เกิดขึ้น มันจะไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากคำบัญชาของเขา แต่โดยผ่านอำนาจในการจัดการที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐมนตรีของเขา. และเมื่อสบโอกาสเขาได้ตัดร่างของคนโฉดและนำมาประจานไว้ที่กลางจัตุรัส อันเป็นพื้นที่สาธารณะในเช้าวันหนึ่ง ณ Cescena กับไม้ท่อนหนึ่งและมีดที่เปื้อนเลือดข้างกายเขา
ในประวัติศาสตร์อเมริกันเมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มที่จะคุ้นเคยกลับเทคนิคของนักปกครองต่างๆ ที่ปล่อยให้พวกตัวรองๆ ทำงานสกปรกไป ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะปฏิเสธได้ในภายหลัง. ดังเช่นผลลัพธ์อันหนึ่งจากกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับคดี Watergate ในช่วงการบริหารงานของประธานาธิบดี Nixon (หนึ่งในอาชญากรรม ที่กระทำความผิดโดยผู้ใต้บังคับบัญชาในฐานะตัวแทนเขา)
คนของเขาจำนวนหนึ่ง(อดีตสายลับ CIA, บรรดาผู้ช่วยของทำเนียบขาว, และเลขาธิการด้านการยุติธรรม) ต่างถูกส่งตัวเข้าคุก. แต่ตัวของ Nixon เอง แม้ว่าเขาจะถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง และหลุดรอดจากการถูกดำเนินคดี แต่ก็ได้รับการจัดให้มีการอภัยโทษเมื่อรองประธานาธิบดีของเขา, Gerald Ford ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน. Nixon เกษียรอายุและอำลาความรุ่งเรืองในเวลาไม่กี่ปี จากนั้นได้กลายเป็นรัฐบุรุษที่อาวุโสและทรงอิทธิพลที่สุด ถือเป็น Godfather ของวงการเมือง และเป็นที่จับตาในเรื่องคำแนะนำที่เฉลียวฉลาด
บางทีนั่นคือหนทางหนึ่งของข้ออ้างต่อสาธารณชนในช่วงเวลาที่เร่าร้อน เกี่ยวกับการขจัดความเข้าใจผิดที่มีต่อรัฐบาลออกไปอันเนื่องมาจากกรณีสงครามเวียดนามและคดีวอเตอร์เกต, คณะกรรมาธิการวุฒิสภาในช่วงปี 1974-1975 ได้ทำการสืบสวนเกี่ยวกับหน่วยข่าวกรอง มีการค้นพบว่า CIA และ FBI ได้มีการละเมิดกฎหมายต่างๆ นับครั้งไม่ถ้วน (เช่นมีการเปิดจดหมายของผู้อื่น, บุกเข้าไปในบ้านและสำนักงานต่างๆ ของผู้คน ฯลฯ เป็นต้น)
จากการสืบสวน ซึ่งได้รับการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า CIA, โดยย้อนกลับไปยังช่วงที่ Kennedy บริหารบ้านเมือง ได้มีการวางแผนลอบสังหารผู้นำต่างประเทศจำนวนมาก รวมถึง Fidel Casto ของคิวบาด้วย. แต่ตัวประธานาธิบดีเอง, แน่นอน เห็นพ้องด้วยกับการกระทำดังกล่าว, แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงแต่อย่างใด ดังนั้นเขาจึงสามารถที่จะปฏิเสธการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ นี่คือตัวอย่างของคำแก้ตัวที่พอฟังได้
รายงานของคณะกรรมการ:
(As the committee reported:)
ไม่มีข้ออ้างหรือเหตุผลใดๆ สำหรับสหรัฐฯ ในปฏิบัติการแอบแฝงต่างๆ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เดิมและหลักเกี่ยวกับลัทธิคำสอนที่รู้กันแพร่หลายที่ว่า
"การบอกปัดที่เป็นไปได้"( plausible denial). หลักฐานต่อหน้าคณะกรรมการได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
แนวคิดอันนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อปกป้องสหรัฐฯ และปฏิบัติการของตนจากผลลัพธ์ที่ตามมาเกี่ยวกับการถูกเปิดเผย
และได้ถูกขยายสู่การตัดสินใจที่ซ่อนเร้นของประธานาธิบดีและบรรดาสต๊าฟฟ์อาวุโสของเขา
ในปี 1988 เรื่องราวหนึ่งในนิตยสาร Beirut ได้ให้ข้อมูลว่า การบริหารของ Ronald
Reagan ซึ่งได้มีการขายอาวุธอย่างลับๆ ให้กับอิหร่าน อันเป็นประเทศที่ได้รับการประกาศว่าเป็นศัตรูของสหรัฐฯ
และได้ใช้วิธีการต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือทางทหารเพื่อต่อต้านการปฏิวัติ (the
Contras)ในนิคารากัว ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติที่ผ่านโดยสภาคองเกรส
Reagan และรองประธานาธิบดี Bush ปฏิเสธความเกี่ยวพันกับเรื่องนี้ แม้ว่าหลักฐานได้ชี้ชัดมากถึงการมีส่วนร่วมของพวกเขา. แต่อย่างไรก็ตาม แทนที่จะกล่าวโทษพวกเขา สภาคองเกรสได้จัดให้ตัวแทนของพวกเขาอยู่ในฐานะพยาน และต่อมาภายหลัง หลายคนในหมู่พวกเขาได้ถูกดำเนินคดี. หนึ่งในกลุ่มนั้น(Robert McFarland)พยายามที่จะฆ่าตัวตาย. ส่วนอีกคนหนึ่ง พันเอก Oliver North ให้การอันเป็นเท็จต่อสภาคองเกรส จึงต้องรับโทษในฐานความผิด แต่ไม่ถูกลงโทษให้ต้องจำคุกแต่อย่างใด. Reagan ไม่ถูกบังคับให้ต้องพิสูจน์เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป. เขาเกษียรอายุตามปรกติและ Bush ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนต่อมาของสหรัฐฯ ทั้งคู่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า"การบอกปัดที่เป็นไปได้"( plausible denial). สำหรับ Machiavelli แล้ว (หากเขายังคงมีชีวิตอยู่)จะต้องชื่นชมต่อปฏิบัติการอันนี้
Machiavelli เสนอว่า, เจ้าชายจะต้องเอาอย่างหรือเลียนแบบทั้งสิงโตและหมาจิ้งจอก สำหรับสิงโตใช้กำลัง "คุณลักษณ์ของผู้คนทั้งหลายแปรปรวนและผันแปร และเป็นการง่ายที่จะชักนำพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งๆ หนึ่ง แต่เป็นการยากที่จะรักษาพวกเขาไว้อยู่กับการการเชิญชวนอันนั้น. และด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะบงการสิ่งต่างๆ เมื่อพวกเขาไม่เชื่อถืออีกแล้ว, พวกเขาสามารถจะถูกทำให้เชื่อถือต่อไปได้โดยการบังคับ . "สำหรับผู้หญิง, มันมีความจำเป็น, ถ้าหากว่าคุณปรารถนาจะเป็นนายเธอ, เอาชนะเธอด้วยกำลัง" แต่หมาจิ้งจอกใช้เล่ห์เพทุบาย
ถ้าผู้คนทั้งหมดเป็นคนดี หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่จำต้องมีคำแนะนำใดๆ ที่ดีๆ แต่เมื่อพวกเขาเป็นคนที่ไม่มีความซื่อสัตย์ และไม่อาจรักษาความศรัทธาต่อคุณได้, ในทางกลับกัน คุณก็ไม่ต้องการรักษาความศรัทธากับพวกเขา และไม่มีเจ้าชายคนใดจะอยู่ในภาวะสูญเสียเช่นนั้น สำหรับเหตุผลที่เป็นไปได้ที่จะซ่อนเร้นการขาดศรัทธา ประสบการณ์ในยุคสมัยของพวกเราแสดงให้เห็นว่า เจ้าชายเหล่านั้นได้กระทำบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ซึ่งได้รับการนับถือเพียงเล็กน้อยสำหรับศรัทธาที่ดี และมีความสามารถโดยเชาว์ปัญญา
คำแนะนำนี้สำหรับเจ้าชายได้รับการดำเนินรอยตามในยุคสมัยของพวกเรา โดยบรรดาจอมเผด็จการและจอมทัพทั้งมวล. Hitler เก็บสำเนาชุดหนึ่งเรื่อง The Prince เอาไว้ที่ข้างเตียงของเขา มีการกล่าวกันว่าเช่นนั้น. (ใครพูด? และพวกเขารู้ได้อย่างไร?). Mussolini ได้ใช้งานของ Machiavelli สำหรับเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา. Lenin และ Stalin ต่างได้รับการทึกทักด้วยว่าได้อ่านเรื่องของ Machiavelli
แน่นอน คอมมิวนิสต์อิตาเลียนอย่าง
Gramsci ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ Machiavelli ว่า Machiavelli อันที่จริง มิได้ให้คำแนะนำแก่บรรดาเจ้าชายทั้งหลาย
ซึ่งรู้เรื่องราวเหล่านี้กันหมดแล้ว แต่คำแนะของเขาให้กับคนที่ไม่รู้ต่างหาก"
เป็นการศึกษาที่คนเหล่านั้นจะต้องจดจำถึงวิธีการที่จำเป็นต่างๆ แม้กระทั่งบรรดาทรราชทั้งหลาย
ทั้งนี้เพราะพวกเขาต้องการบรรลุเป้าหมายบางอย่างนั่นเอง"
บรรดานายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีของรัฐสมัยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย,
โดยไม่คำนึงถึงข้ออ้างใดๆ, ต่างชื่นชอบและดำเนินรอยตามวิธีการของ Machiavelli.
Max Lerner, นักวิจารณ์แนวเสรีนิยมที่โดดเด่นในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่
2 ในบทนำของเขาถึงงานเขียนต่างๆ ของ Machiavelli พูดเอาไว้ว่า "ความหมายร่วมกันที่เขามีกับผู้นิยมในแนวทางประชาธิปไตยและบรรดาเผด็จการทั้งหลาย
ต่างเหมือนกันคือ, อะไรก็ตามที่เป็นเป้าหมายของคุณ คุณจะต้องมีสายตาที่กระจ่างชัด
และต้องไม่รู้สึกอ่อนไหวจนเกินไปในการดำเนินรอยตามสิ่งเหล่านี้"
Lerner ได้ค้นพบในคำบรรยายของ Machiavelli ว่า, หนึ่งในความคิดที่สำคัญของบรรดาผู้นำ ก็คือ "ความต้องการในการชี้นำ กระทั่งรัฐประชาธิปไตย สำหรับเจตจำนงในการอยู่รอด และโดยเหตุนี้ความโหดเหี้ยมไร้ความเมตตา จึงเข้ามาแทนที่ผลประโยชน์และศรัทธา ดังนั้น รัฐประชาธิปไตยจึงกระทำตัวหรือมีพฤติกรรมคล้ายกับสิงโต โดยการใช้พละกำลัง เมื่อการจูงใจทำงานไม่ได้ผล รัฐจำเป็นต้องใช้มันกับพลเมืองเมื่อพลเมืองไม่อาจได้รับการชักจูงให้เชื่อฟังกฎหมาย อันนี้รัฐยังใช้มันกับคนอื่นๆ ในการทำสงคราม ซึ่งมิได้เป็นไปเพื่อปกป้องตนเองเสมอไป แต่บ่อยครั้ง เมื่อมันไม่อาจจูงใจประชาชาติอื่นกระทำตามคำเชิญชวน(หรือคำสั่ง)ได้
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 20 แม้ว่าโคลอมเบียกำลังขายสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับคลองปานามาให้กับสหรัฐฯ ก็ตาม, กล่าวคือโคลอมเบียต้องการเงินมากขึ้นยิ่งกว่าที่สหรัฐฯ ต้องการให้, ด้วยเหตุนี้สงครามจึงถูกส่งไปบนหนทางนั้น. การปฏิวัติเล็กๆ ได้ถูกกระตุ้นยุยงในปานามา และในไม่ช้า บริเวณรายรอบเขตคลองดังกล่าว(Canal Zone)ก็ตกอยู่ในมือของสหรัฐฯ ดังที่สมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งไดอธิบายถึงปฏิบัติการนั้นว่า "พวกเราได้ชิงมันมาอย่างยุติธรรมและซื่อสัตย์"
รัฐเสรีนิยมสมัยใหม่ มีพฤติกรรมคล้ายกับหมาจิ้งจอก บ่อยทีเดียวได้ใช้วิธีการเจ้าเล่ห์เพทุบายเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งรัฐ ซึ่งไม่น้อยไปกว่าความหลอกลวงที่ใช้กับศัตรูต่างชาติเลยทีเดียว (ซึ่ง มีศรัทธาน้อยกว่าปรปักษ์เสียอีก) สำหรับพลเมืองของตน จะต้องได้รับการสอนสั่งให้วางใจ และเชื่อถือในบรรดาผู้นำของพวกเขา
หนึ่งในชีวประวัติที่สำคัญของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ที่ได้รับสมญาว่า Roosevelt: The Lion and the Fox (รูสเวลท์: ราชสีห์และสุนัขจิ้งจอก). Roosevelt ได้หลอกลวงต้มตุ๋นสาธาณชนอเมริกันในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในราวเดือนกันยายนและตุลาคม 1941, ได้มีการกล่าวเกินเลยไปจากข้อเท็จจริงใน ๒ กรณี ที่เกี่ยวกับเรือดำน้ำของเยอรมันและบรรดาเรือพิฆาตอเมริกัน (โดยอ้างว่าเรือพิฆาต Greer, ได้ถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำเยอรมัน ซึ่งเป็นภารกิจทางทหารที่ไร้เดียงสาอันหนึ่งเมื่อข้อเท็จจริงเปิดเผยว่า อันที่จริงแล้วเรือพิฆาตลำดังกล่าว กำลังตามรอยเรือดำน้ำของเยอรมันเพื่อราชนาวีอังกฤษต่างหาก)
นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อท่านและบันทึกว่า
"Franklin Roosevelt หลอกลวงผู้คนอเมริกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงเวลานั้น
ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ Pearl Harbor... ท่านก็เป็นเหมือนกับแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องโกหกคนไข้
เพื่อเป็นผลดีต่อตัวคนไข้เอง"
ถัดมาคือการโกหกต่างๆ ของประธานาธิบดี John Kennedy และรัฐมนตรีต่างประเทศ Dean
Rusk เมื่อพวกเขาได้กล่าวกับสาธาณชนว่า สหรัฐอเมริกาไม่อาจรับผิดชอบต่อการรุกรานคิวบาในปี
ค.ศ.1961 แม้ว่าตามข้อเท็จจริง การรุกรานคราวนั้นจะได้รับการทำขึ้นโดย CIA ก็ตาม
การขยายและยกระดับของสงครามเวียดนาม เริ่มต้นขึ้นด้วยคำโกหกชุดหนึ่ง - ในเดือนสิงหาคม
1964 - เกี่ยวกับเหตุการณ์เรื่องราวในอ่าวตังเกี๋ย(the Gulf of Tokin). สหรัฐฯ
ประกาศว่าเรือพิฆาตของตนได้ถูกโจมตีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าจากเรือต่างๆ ของเวียดนามเหนือ
. เกือบแน่นอนที่ว่า หนึ่งในเหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่งได้รับการเตือนแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย
โดยเรือพิฆาตสหรัฐฯ ได้เข้าใกล้ชายฝั่งระยะสิบไมล์ทะเลของเวียดนาม และโดยปฏิบัติการของ
CIA ชุดหนึ่งซึ่งเข้าจู่โจมชายฝั่งแห่งดังกล่าว
การโกหกได้เพิ่มเป็นขึ้นเป็นทวีคูณต่อจากนั้น หนึ่งคำโกหกนี้ก็คือ แถลงการณ์ของประธานาธิบดี Johnson ที่ว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทำการทิ้งระเบิดเป้าหมายต่างๆ ทางด้านการทหารเท่านั้น ส่วนการหลอกลวงอีกเรื่องหนึ่งโดยประธานาธิบดี Richard Nixon; ก็คือ เขาได้ปิดบังต่อสาธารณชนอเมริกันเกี่ยวกับเรื่องการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ในโคลอมเบีย ช่วงปี ค.ศ.1969-1970, โคลอมเบีย ประเทศซึ่งเราทึกทักและจินตนาการว่าอยู่ในภาวะสงบและสันติ
บรรดาที่ปรึกษา (The Advisers)
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ช่วยและที่ปรึกษาของประธานาธิบดี พวกเขาได้รับมอบหมายให้ใช้โวหารเพื่อเสนอคุณค่าต่างๆ
เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยม และครั้งแล้วครั้งเล่าคนเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในการกระทำเกี่ยวกับการหลอกลวงที่น่าจะได้รับการยกย่องจาก
Machiavelli. เป้าหมายของพวกเขาก็คือ รับใช้เจ้าชายและอำนาจแห่งรัฐ นั่นคือพันธกิจที่สำคัญของพวกเขา
เพราะพวกเขาคือบรรดาที่ปรึกษาของรัฐเสรีประชาธิปไตย พวกเขาทึกทักว่า อำนาจที่เพิ่มขึ้นของรัฐคือเป้าหมายทางศีลธรรม เหตุนี้จึงให้การสนับสนุนทั้งการใช้กำลังและคำโกหกไปพร้อมกัน. แต่รัฐเสรีประชาธิปไตยไม่อาจที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ไร้ศีลธรรมอย่างนั้นได้มิใช่หรือ? โดยเหตุนี้ที่ปรึกษา(จึงหลอกตัวเองตอนนี้)ต่างพิจารณาว่า ความใกล้ชิดของเขากับวงอำนาจระดับสูงสุด ทำให้เขาต้องไปอยู่ในตำแหน่งที่มีผลกระทบ แม้กระทั่งในทางกลับกันต่อนโยบายเหล่านั้น
ร่วมสมัยกันกับ Machiavelli, Thomas More ได้เตือนบรรดานักคิดปัญญาชนทั้งหลายเกี่ยวกับการกำลังเข้าไปติดกับดักในการรับใช้รัฐ และเกี่ยวกับการหลอกตัวเองซึ่งที่ปรึกษาเชื่อว่า เขาจะมีอิทธิพลในทางที่ดีในสภาสูงของรัฐบาล. ในหนังสือเรื่อง Utopia ของ More, สำหรับ Raphael ได้รับการเสนอต่อคนหนุ่มสาวทั้งหลายในทุกวันนี้ ซึ่งต้องการที่จะเป็นนักวิจารณ์สังคม หรือกระทุ้งรัฐบาลจากข้างนอก เหมือนกับ Martin Luther King หรือ Ralph Nader
มีผู้พูดกับ Raphael ว่า "ฉันยังคงคิดว่า ถ้าหากว่าคุณสามารถเอาชนะความรังเกียจ ความไม่พอใจซึ่งมีต่อสภาเจ้าชาย คุณจะสามารถกระทำในสิ่งที่ดีๆ จำนวนมากเพื่อมนุษยชาติได้ ด้วยคำแนะนำต่างๆ". Raphael ตอบว่า "ถ้าผมได้เข้าไปอยู่ในสภาของกษัตริย์ และได้เสนอกฎหมายที่เฉลียวฉลาดต่างๆ ต่อพระองค์ และพยายามที่จะทำลายเมล็ดพันธุ์แห่งความชั่วร้ายที่อันตราย คุณไม่คิดหรอกรึว่า ผมจะถูกโยนออกมาจากสภาของพระองค์ หรือถูกสบประมาทอย่างรุนแรง"
Raphael ว่าต่อ "ลองจินตนาการว่าผมเข้าไปอยู่ในสภาของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส สมมุติว่าผมกำลังนั่งอยู่ในสภาของพระองค์พร้อมกับกษัตริย์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประธานในที่ประชุม และคนที่ฉลาดที่สุดกำลังสนทนาอย่างเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการและแผนการณ์ต่างๆ ที่กษัตริย์จะทรงรักษา Milan เอาไว้ได้, นำเอา Naples ที่ต้องสูญเสียไปบ่อยๆ กลับคืนมา ต่อจากนั้นได้ทำการล้มล้างพวกทรงอิทธิพลแห่งเวนิชและเป็นตัวแทนเก็บค่าธรรมเนียมทั้งหมดในอิตาลี และผนวก Flanders, Brabant และกระทั่ง Burgandy เข้ามาอยู่ในอาณาจักรของพระองค์ นอกไปจากประเทศอื่นๆ ที่พระองค์ทรงวางแผนที่จะรุกราน. ตอนนี้ ความสับสนอลหม่านทั้งหมด กับคนผู้ฉลาดปราดเปรื่องมากมายได้วางแผนร่วมกันว่าจะดำเนินการทำสงครามอย่างไร ลองจินตนาการดูถึงคนที่สงบเสงี่ยมอย่างผมที่ต้องลุกขึ้นมา และปลุกเร้าพวกเขาให้เปลี่ยนแปลงแผนการณ์ต่างๆ ของพวกเขาทั้งหมดดูซิ"
Thomas More อาจกำลังอรรถาธิบายถึงนักประวัติศาสตร์ Arthur Schlesinger, Jr., ซึ่งเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดี Kennedy ที่คิดว่ามันเป็น"ความคิดที่น่ากลัว"ซึ่งเดินหน้าไปกับ CIA ในเรื่องเกี่ยวกับ Bay of Pigs (4) (รายงานการสืบสวนทั่วไปของ CIA ซึ่งหนากว่า 400 หน้า ในเรื่องความพยายามที่ล้มเหลวในเดือนเมษายน 1961 ต่อนโยบายระดับชาติที่จะล้มล้างระบอบ Fidel Castro ในคิวบา ด้วยปฏิบัติการทางทหารร่วมกับกองกำลังผสม)ในการรุกรานคิวบาในปี ค.ศ.1961 สองปีหลังจากเกิดการปฏิวัติขึ้นที่นั่น
แต่เขามิได้ออกเสียงคัดค้านหรือประท้วงแต่อย่างใด เพราะในฐานะที่เขาได้เข้ามาร่วมภายหลัง เขาได้รับการข่มขู่โดยคนที่น่าเคารพในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหม รวมถึงบรรดาสต๊าฟที่ปรึกษาทางด้านการทหารแก่ประธานาธิบดี (Joint Chiefs of Staff - คณะที่ปรึกษาทางทหารทุกเหล่าทัพ[รวมทั้งเรือดำน้ำ])" เขาบันทึกเอาไว้ว่า "ในช่วงหลายเดือนหลังจากรายงาน Bay of Pigs ผมได้ตำหนิตัวเองอย่างรุนแรงที่ดันเงียบฉี่ระหว่างการสนทนากันอย่างถึงพริกถึงขิงในห้องของคณะรัฐมนตรี"
Schlesinger ในฐานะที่ปรึกษาซึ่งเงียบเชียบในห้องคณะรัฐมนตรี - เขาได้เสนอบันทึกความจำ 9 แผ่นต่อประธานาธิบดี Kennedy ซึ่งเขียนขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก่อนการรุกรานคิวบา ที่เขาไม่มีความเฉียบแหลมเหมือนกับ Machiavelli ในการตลบแตลงสาธารณชนเพื่อปกปิดบทบาทของสหรัฐฯในการรุกรานดังกล่าว. อันนี้คือสิ่งสำคัญเพราะ "คนจำนวนมากจะไม่ตกอยู่ในความรู้สึกซึ่งคิดว่า มันจะนำอันตรายและการคุกคามที่ร้ายแรงมาสู่ความมั่นคงของชาติเราได้ ดังที่มีการอ้าง. ผู้คนส่วนใหญ่ของโลกจะตีความว่าเป็นความก้าวร้าวและการรุกราน ที่มีการวางแผนต่อประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่ง"
บันทึกความทรงจำดังกล่าวยังคงมีต่อว่า "บุคลิกและความมีชื่อเสียงของประธานาธิบดี Kennedy ได้เสริมสร้างทรัพยากรของชาติที่ยิ่งใหญ่สุดอันหนึ่ง มิใช่ควรจะทำเพื่อความเป็นภัยต่อทรัพย์สินที่ไม่อาจประเมินค่าได้. เมื่อคำโกหกจะต้องได้รับการบอกเล่า พวกมันก็ควรที่จะถูกบอกโดยบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับรองๆ" และยังได้เสนอต่อไปว่า "คนบางคน นอกจากประธานาธิบดี ซึ่งทำหน้าที่ตัดสินใจขั้นสุดท้ายและได้กระทำไปตามนั้นในขณะที่ท่านไม่อยู่ หัวของคนบางคนนั้นในภายหลังสามารถที่จะถูกวางไว้บนเขียงได้ ถ้าเผื่อสิ่งต่างๆ มันได้นำไปสู่ความผิดพลาดอย่างร้ายแรง" (พูดถึง Cesare Borgia อีกครั้ง, นั้นคือ เพียงปราศจากมีดที่เปื้อนเลือด)
Schlesinger ได้รวมคำถามตัวอย่างในบันทึกความจำของเขา และคำตอบลวงในกรณีที่ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับการรุกรานได้รับการตั้งคำถามเวลาให้ข่าวกับบรรดาสื่อมวลชนทั้งหลาย ดังนี้:
Q. ท่านประธานาธิบดี อยากทราบว่า CIA มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้หรือไม่?
A. ผมตอบอย่างมั่นใจได้เลยว่า สหรัฐอเมริกาไม่มีเจตจำนงที่จะใช้กำลังเพื่อล้มล้างระบอบคาสโต
ฉากต่อมา, ๔ วันก่อนการรุกรานดังกล่าว ประธานาธิบดี Kennedy ได้บอกกับบรรดานักข่าวในวันแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า "มันจะไม่มีเหตุการณ์นั้น ไม่ว่าเงื่อนไขใดๆ ก็ตาม ภายใต้การแทรกแซงในคิวบาโดยกองทัพสหรัฐฯ"
Schlesinger เป็นหนึ่งในบรรดาที่ปรึกษาประธานาธิบดีที่มีเป็นโหล ซึ่งประพฤติตนดังกับเป็น Machiavellis ตัวน้อยๆ ในช่วงปีต่างๆ เมื่อการปฏิวัติในเวียดนามและลาตินอเมริกานำมาซึ่งการตอบโต้อย่างรุนแรงจนควบคุมไม่อยู่ในซีกส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ. บรรดาคนฉลาดเหล่านี้มองไม่เห็นว่า พวกเขาจะมีบทบาทอะไรที่ดีไปกว่าเพื่อรับใช้อำนาจของสหรัฐ
Kissinger, รัฐมนตรีต่างประเทศของ Nixon ไม่รู้สึกหวั่นใจมากนักเกี่ยวกับ Schlesinger. เขายอมตนอย่างง่ายๆ ต่อเจ้าชายแห่งสงครามและการทำลายล้าง. ในการสนทนาเป็นการส่วนตัวกับเพื่อนร่วมงานเก่าๆ จากฮาร์วาร์ด ซึ่งคิดว่าสงครามเวียดนามนั้นเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เขาเสนอตัวเองในฐานะใครบางคนที่กำลังพยายามนำมันไปสู่จุดสิ้นสุด แต่ด้วยความสามารถของเขาในฐานะเจ้าหน้าที่ เขาเป็นเครื่องมือทางสติปัญญาที่มีความเต็มใจเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวพันกับการฆ่าผู้คนจำนวนมากที่เป็นพลเรือนในเวียดนาม
Kissinger เห็นด้วยกับการทิ้งระเบิดและการรุกรานในกัมพูชา ปฏิบัติการอันหนึ่งที่ค่อนข้างสร้างความแตกแยกแก่สังคมกัมพูชาอันละเอียดอ่อน ซึ่งสามารถได้รับการพิจารณาว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่งในการก่อเกิดระบอบพอลพตที่อันตรายยิ่งในประเทศนี้. หลังจากที่เขาและบรรดาตัวแทนจากเวียดนามเหนือได้มีการหารือกันเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพ เพื่อยุติสงครามในปลายปี ค.ศ.1972, เขาเห็นด้วยว่า ให้แยกการพูดคุยเรื่องการทิ้งระเบิดอย่างโหดเหี้ยมลงในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ในฮานอยออกไป โดยแผนการทิ้งระเบิดอย่างเหี้ยมโหดที่สุดของช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยเครื่องบิน B52
บรรดาผู้เขียนชีวประวัติต่างๆ ของ Kissinger ได้อธิบายถึงบทบาทของเขาว่า "ถ้าหากว่าเขาไม่เห็นด้วยกับนโยบายของ Nixon, เขาก็จะให้เหตุผลโต้แย้งต่อการโจมตีกัมพูชา แต่มันไม่มีเครื่องหมายใดๆ ที่เขาพยายามรวบรวมอิทธิพลที่มีค่อนข้างมากของเขา เพื่อจูงใจประธานาธิบดีให้ชะงักไฟสงคราม. หรือเขาเคยพิจารณาลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการประท้วง. ในทางตรงข้ามกัน Kissinger ได้ให้การสนับสนุนต่อนโยบายอันนี้
รับใช้อำนาจของประเทศชาติ
(Serving National Powers)
Machiavelli ไม่เคยตั้งคำถามถึงอำนาจรัฐ และสถานะตำแหน่งของเจ้าชายว่ามีเป้าหมายต่างๆ
ที่เหมาะสมอย่างไร: และจะต้องเป็นที่เข้าใจว่า เจ้าชาย
ไม่สามารถที่จะสังเกตสิ่งเหล่านั้นได้ทั้งหมด
ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าดีในหมู่ผู้คน, บ่อยครั้งเป็นไปโดยการบีบบังคับเพื่อที่จะธำรงรักษารัฐเอาไว้
เพื่อกระทำสิ่งที่สวนทางกับศรัทธา, สวนทางกับความเอื้ออาธร, สวนทางกับความมีมนุษยธรรม,
และสวนทางกันกับศาสนา"
เป้าหมายเพื่ออำนาจรัฐเป็นเรื่องผลประโยชน์ของเจ้าชาย และกระทั่งต่อบรรดาที่ปรึกษาของพระองค์, มันคือเรื่องของความความทะเยอทะยาน. แต่ทำไมควรจะได้รับการทึกทักว่าเป็นเป้าหมายที่ดีสำหรับพลเมืองโดยถัวเฉลี่ยเล่า? ทำไมผู้คนทั้งหลายควรผูกมัดชะตากรรมของพวกเขาและเธอต่อรัฐชาติ ซึ่งกำลังเต็มใจบูชายัญชีวิตความเป็นอยู่ และเสรีภาพของพวกเขาอย่างสมบูรณ์ต่ออำนาจ, ผลประโยชน์, และความรุ่งโรจน์ของบรรดานักการเมืองทั้งหลาย หรือผู้บริหารบริษัท และบรรดานายพลทั้งหลาย?
สำหรับเจ้าชาย, จอมเผด็จการ, หรืออำนาจทรราชแห่งชาติคือเป้าหมายหนึ่งที่ไม่มีคำถาม. แต่อย่างไรก็ตาม รัฐประชาธิปไตย, การสลับปรับเลี่ยนของประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อความเป็นเจ้าชาย, จะต้องนำเสนออำนาจรัฐในลักษณะที่มีเมตตา, รับใช้ประโยชน์แห่งเสรีภาพ, ความยุติธรรม, และความมีมนุษยธรรม. ถ้าเผื่อว่ารัฐนั้น ได้ถูกแวดล้อมด้วยวาทศิลป์หรือโวหารเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย และ, ในความจริง, มีมาตรการบางอย่างของทั้งคู่ พัวพันกับสงครามอันหนึ่งซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่ากระทำต่อศัตรูที่ชั่วร้ายจริง. หากเป็นเช่นนั้น เป้าหมายก็ดูเหมือนว่าจะเป็นที่ชัดแจ้งและกระจ่างชัดว่าวิธีการใดๆ ก็ตามที่จะเอาชนะศัตรูดังกล่าว ดูราวกับว่าเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลและอธิบายได้
รัฐนั้นก็คือสหรัฐอเมริกา และศัตรูก็คือลัทธิฟาสซิสม์ ตัวแทนฝ่ายตรงข้ามก็คือเยอรมนี, อิตาลี, และญี่ปุ่น. ด้วยเหตุนี้ เมื่อระเบิดปรมาณูเป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะที่ฉับไวกว่า มันจึงมีความลังเลใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะใช้มัน
น้อยมากในหมู่พวกเราที่สามารถจินตนาการถึงตัวเราเอง ในฐานะบรรดาที่ปรึกษาประธานาธิบดี ซึ่งต้องไปเกี่ยวข้องกับภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกทางศีลธรรมของพวกเขา (อันที่จริง ถ้าหากว่าพวกเขารักษาหลักคุณธรรมมากพอ ที่จะครุ่นคิดพิจารณาถึงภาวะวิกฤตต่างๆ ของตนเอาไว้บ้าง). ผมคิดว่า, มันเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับพลเมืองโดยทั่วไป ที่จะมองตัวของพวกเขาเองในฐานะตำแหน่งของบรรดานักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ถูกนำมารวมกันอย่างลับๆ ใน New Mexico ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูขึ้นมา
เราอาจสามารถจินตนาการถึงการค้าและวิชาชีพของเราได้ ทักษะเฉพาะตัวของพวกเรา ถูกเรียกใช้ตามนโยบายต่างๆ ของประเทศชาติ. บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายซึ่งรับใช้ฮิตเลอร์ อย่างผู้เชี่ยวชาติด้านจรวด Werner von Braun อาจเป็นคนที่น่าประทับใจเท่าๆ กันกับ Machiavelli ในการยอมตนรับใช้พวกเขา; คนเหล่านี้จะรับใช้อำนาจรัฐโดยปราศจากการตั้งคำถามใดๆ พวกเขาเป็นมืออาชีพ ทั้งหมดอยู่กับการทำงาน "งานที่ดี" และทำงานดังกล่าวให้กับใครก็ตามที่มีอำนาจ. ดังนั้น เมื่อฮิตเลอร์ประสบกับความพ่ายแพ้ และ von Braun ได้ถูกส่งตัวโดยพวกสายลับทางทหารไปยังสหรัฐฯ เขายังคงทำงานต่อไปเกี่ยวกับเรื่องจรวดอย่างมีความสุขให้กับสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับที่เขาทำงานให้กับฮิตเลอร์
เช่นเดียวกับนักแต่งเพลงเสียดสีคนหนึ่ง
บรรยาย: เมื่อจรวดพุ่งขึ้นฟ้า ใครจะไปแคร์ว่ามันจะตกลงที่ตรงไหน? นั่นมั่นไม่ใช่อพาร์ทเม้นท์ของเรา,
Werner von Braun กล่าว
บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในโครงการแมนฮัตตันดูจะไม่ใช่อย่างนั้น ไม่มีใครสามารถจินตนาการได้ว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไปอยู่กับฮิตเลอร์และทำงานให้กับเขา
ถ้าหากว่าเขาเป็นฝ่ายชนะ. บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ล้วนมีสำนึกในระดับที่หลากหลาย
ซึ่งนี่คือสงครามต่อสู้กับลัทธิฟาสซิสม์ และมันได้รับการลงทุนไปกับจุดประสงค์ทางศีลธรรมที่ทรงอำนาจ
ด้วยเหตุนี้ เพื่อสร้างอาวุธอันทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อดังกล่าว ต้องใช้วิธีการอันน่าหวาดหวั่น
แต่เพื่อเป้าหมายที่ประเสริฐ
กระนั้นก็ตาม มันมีทาสแท้อันหนึ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ต่างมีร่วมกันกับ
Werner von Braun นั่นคือ ความพึงพอใจอย่างเต็มที่ในการทำงานให้ออกมาดีเลิศ อันนี้เกี่ยวกับความสามารถในวิชาชีพ
และเกี่ยวข้องกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดเหล่านี้อาจทำให้ใครคนหนึ่งหลงลืมไปว่า
หรืออย่างน้อยที่สุดวางมันไปอยู่ฉากหลัง นั่นคือ คำถามถึง"ผลลัพธ์ของมนุษย์ที่ตามมา"(human
consequence)
ภายหลังสงคราม เมื่อการสร้างระเบิดนิวเคลียร์พลังความร้อน(thermonuclear bomb)ได้ถูกนำเสนอ มันเป็นระเบิดที่สามารถระเบิดได้เป็นพันครั้งเพื่อการทำลายล้างที่ถูกทิ้งลงยังเมืองฮิโรชิมา, J. Robert Oppenheimer, โดยส่วนตัวรู้สึกหวั่นเกรงต่อความคิดนี้ แต่ยังคงประกาศและก้าวไปสู่แผนการของ Edward Teller และ Stanislaw Ulam เพื่อสร้างมันขึ้นมาในฐานะที่เป็น"ของหวานในทางเทคนิค"
Teller, ได้ปกป้องโครงการดังกล่าวต่อบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งมองว่ามันเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, โดยกล่าวว่า "สิ่งสำคัญในวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็คือกระทำสิ่งต่างๆ ที่สามารถทำได้("The important thing in any science is to do the things that can be done.") และสิ่งที่เป็นหลักศีลธรรมจรรยาของ Enrico Fermi (เขาเป็นหนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในโครงการแมนฮัตตัน) มาโดยตลอด เขาประกาศว่าแผนการณ์สำหรับการสร้างระเบิดดังกล่าวเป็นเรื่องของ "ฟิสิกส์สุดยอด"
Robert Jungk, นักวิจัยชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งได้ทำการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระเบิดปรมาณู พยายามทำความเข้าใจกับการที่พวกเขาไม่แสดงอาการต่อต้านในการทิ้งระเบิดดังกล่าวลงที่เมืองฮิโรชิมา. "พวกเขารู้สึกว่าตัวของพวกเขาเองติดอยู่กับเครื่องจักรขนาดมหึมา และแน่นอน พวกเขาได้รับข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริงทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์" แต่พวกเขาก็ไม่ได้ขออภัยต่อความนิ่งเฉยของตนเองแต่อย่างใด. "เวลาใดก็ตาม ถ้าหากว่าพวกเขามีความเข้มแข็งทางศีลธรรมที่จะประท้วง หรือร้องคัดค้านบนพื้นฐานทางมนุษย์ธรรมต่อการทิ้งระเบิดดังกล่าว ท่าทีหรือทัศนคติของพวกเขา, ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า, จะมีแรงกดดันอย่างลึกซึ้งต่อประธานาธิบดี, คณะรัฐมนตรี, และบรรดานายพลทั้งหลายมากน้อยแค่ไหน"
การใช้ระเบิดปรมาณูในเมืองต่างๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเรื่องที่ได้รับการอธิบายด้วยเหตุผลในเทอมต่างๆ ทางศีลธรรมโดยบรรดาผู้นำทางการเมืองอเมริกัน. Henry Stimson, คณะกรรรมการชั่วคราวของเขามีภารกิจเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าจะใช้ระเบิดปรมาณูหรือไม่, คำพูดต่อมาภายหลังที่ได้รับการกล่าวออกมาคือ "เพื่อยุติสงครามด้วยชัยชนะ โดยต้นทุนที่ต่ำสุดเท่าที่เป็นไปได้ในการมีชีวิตอยู่ของผู้คนในกองทัพ" คำพูดนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า หากปราศจากระเบิดปรมาณู การรุกรานเข้าไปในญี่ปุ่นย่อมเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งนั่นจะทำให้ต้องใช้ต้นทุนของชีวิตคนอเมริกันไปเป็นจำนวนมาก
มันคือศีลธรรมอันหนึ่งที่ตีกรอบโดยลัทธิชาตินิยม บางทีกระทั่งเป็นเรื่องของเผ่าพันธุ์นิยมด้วย. การปกปักรักษาชีวิตคนอเมริกันได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญกว่าการปกป้องชีวิตของคนญี่ปุ่น. จำนวนตัวเลขได้ถูกโยนขึ้นไปในอากาศอย่างป่าเถื่อน (ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีต่างประเทศ James Byrnes ได้พูดถึงเกี่ยวกับ"คนที่บาดเจ็บล้มตายเป็นล้าน" ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการรุกราน) แต่มันไม่มีความพยายามใดๆ ที่จะประเมินผู้คนอเมริกันซึ่งบาดเจ็บล้มตายอย่างจริงจัง และชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับผลที่ตามมาของผู้คนชาวญี่ปุ่นไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าคนแก่หรือเด็ก (ความพยายามที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับความพยายามอันนั้นคือ การประเมินทางการทหารเกี่ยวกับการบุกเข้าไปในเกาะที่อยู่ทางใต้สุดของญี่ปุ่น เป็นเหตุให้คนอเมริกันต้องบาดเจ็บและล้มตายราว 3 หมื่นคน)
จากพยานหลักฐานทุกวันนี้กำลังปกคลุมไปด้วยเรื่องที่ว่า การรุกรานญี่ปุ่นนั้น ไม่จำเป็นที่จะนำสงครามไปสู่การสิ้นสุด ญี่ปุ่นได้ถูกทำให้พ่ายแพ้และอยู่ในภาวะที่ยุ่งเหยิงสับสน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงพร้อมจะยอมแพ้อยู่แล้ว. จากการสำรวจการทิ้งระเบิดในเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐ(The U.S. Strategic Bombing Survey), ที่มีการสัมภาษณ์ทหารญี่ปุ่น 700 คน และเจ้าหน้าที่ทางการเมืองภายหลังสงครามได้นำมาสู่ข้อสรุปดังนี้:
ในการสืบค้นอย่างละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมด และการสนับสนุนโดยหลักฐานพยานแวดล้อมจากผู้นำที่เหลือรอดชาวญี่ปุ่นที่มีความเกี่ยวข้อง การสำรวจดังกล่าวสะท้อนว่า แน่นอนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 1945 และเป็นไปได้ทั้งหมดก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 1945 ญี่ปุ่นจะยอมแพ้ แม้ว่าระเบิดปรมาณูจะไม่ถูกนำมาใช้, แม้ว่ารัสเซียจะไม่ได้เข้าสู่สงคราม, และแม้ว่าจะไม่มีการรุกดังกล่าวที่มีการวางแผนและไตร่ตรองก็ตาม
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการอเมริกัน Robert Butow ได้ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น, บันทึกทั้งหลายเกี่ยวกับศาลทหารระหว่างประเทศในเรื่องกิจการตะวันออกไกล (ซึ่งพยายามที่จะลากบรรดาผู้นำญี่ปุ่นมาเป็นอาชญากรสงคราม) และแฟ้มสอบสวนต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ. นอกจากนี้เขายังสัมภาษณ์คนสำคัญมากมายชาวญี่ปุ่น และได้ข้อสรุปว่า: "ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้จักรพรรดิ์คงความสง่างามหนึ่งสัปดาห์ เพื่อรับการสนับสนุนจากรัฐบาลของพระองค์เพื่อยอมตามข้อเสนอต่างๆ, สงครามอาจสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หรือไม่ก็ช่วงต้นๆ ของเดือนสิงหาคม โดยไม่มีการทิ้งระเบิดปรมาณู และโดยที่โซเวียตไม่ต้องเข้ามามีส่วนในความขัดแย้งนี้เลย
วันที่ 13 กรกฎาคม 1945 สามวันก่อนระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกสร้างขึ้นสำเร็จใน New Mexico, สหรัฐฯ ได้สกัดโทรเลขลับของ Togo รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งมีไปถึงเอกอัครราชทูต Sato ใน Moscow เพื่อขอให้ท่านทูตไกล่เกลี่ยประนีประนอมกับโซเวียต และชี้ว่าญี่ปุ่นพร้อมแล้วที่จะยุติสงคราม ตราบเท่าที่จะไม่ต้องยอมแพ้โดยปราศจากเงื่อนไข
วันที่ 2 สิงหาคม 1945 กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นได้ส่งสารถึงเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นใน Moscow ว่า "เพียงไม่กี่วันผ่านมา เพื่อที่จะทำการตระเตรียมในการยุติสงคราม เกี่ยวกับกรณีต่างๆ ที่ชัดเจน มันเป็นเจตจำนงของเราที่จะทำประกาศ the Potsdam Three-Power Declaration [ซึ่งเรียกร้องการยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข] พื้นฐานของการศึกษาให้พิจารณาถึงกรณีดังต่อไปนี้ "
Barton Bernstein, นักประวัติศาสตร์แห่งสแตนฟอร์ด ที่ได้ทำการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด เขียนว่า: สารนี้, คล้ายๆ กับสารก่อนหน้านั้น เป็นไปได้ว่าได้ถูกสกัดกั้นโดยสายลับอเมริกันและถูกถอดระหัส. มันไม่ได้มีผลแต่ประการใดต่อนโยบายอเมริกัน และไม่มีหลักฐานว่า สารดังกล่าวได้ถูกส่งไปถึง Truman และ Byrnes [รัฐมนตรีต่างประเทศ] และไม่มีหลักฐานใดๆ ว่า พวกเขาดำเนินตามสารที่สกัดได้ในช่วงระหว่างที่มีการประชุมที่ Potsdam. พวกเขาไม่เต็มใจที่จะเสี่ยงเพื่อปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น. ในรายละเอียดของเขาและประวัติศาสตร์อันคมคายเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดดังกล่าว, Richard Rhodes กล่าวว่า "ระเบิดนั้นได้ถูกทำให้มีอำนาจ ไม่ใช่เพราะญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะยอมแพ้ แต่เป็นเพราะว่าพวกเขาปฏิเสธที่จะยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขต่างหาก"
เงื่อนไขหนึ่งที่จำเป็นสำหรับญี่ปุ่นในการยุติสงครามคือ การยอมรับที่จะธำรงรักษาความสูงส่งอันเป็นที่เคารพบูชาขององค์จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ต่อชาวญี่ปุ่น. เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น Joseph Grew, บนพื้นฐานความรู้ของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น กำลังพยายามที่จะชักชวนรัฐบาลสหรัฐฯ ให้เข้าใจถึงความสำคัญในการยินยอมให้องค์พระจักรพรรดิ์ยังคงดำรงสถานะเดิมเอาไว้
Herbert Feis, ซึ่งได้เข้าถึงแฟ้มต่างๆ และบันทึกของกระทรวงต่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องโครงการแมนฮัตตัน บันทึกว่า, ในท้ายที่สุด สหรัฐฯ ได้ให้การรับรองความมั่นใจตามที่ชาวญี่ปุ่นต้องการในเรื่องพระจักรพรรดิ์. เขาเขียนว่า "ความอ้อยอิ่งนั้นอยู่เหนือเหตุผลต่างๆ ทำไมรัฐบาลอเมริกันจึงรออยู่นานก่อนที่จะให้การรับรองชาวญี่ปุ่น การรับรองอันหลากหลายเหล่านั้นซึ่งต่อมามันได้ขยายออกภายหลัง". ทำไมสหรัฐฯ จึงรีบร้อนทิ้งระเบิดปรมาณู ถ้าหากว่าเหตุผลเกี่ยวกับการรักษาชีวิต กลับกลายเป็นความว่างเปล่า, ถ้าความเป็นไปได้คือว่า ชาวญี่ปุ่นจะยอมแพ้โดยไม่มีการบุก?
Gar Alperovitz นักประวัติศาสตร์, หลังจากได้ทบทวนตรวจสอบเอกสารทางการต่างๆ ของอเมริกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับ Truman และมีอิทธิพลมากที่สุดในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย, โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกประจำวันของ Henry Stimson ได้สรุปว่า, ระเบิดปรมาณูได้ถูกทิ้งเพื่อเป็นการกดดันโซเวียต, นั่นคือปฏิบัติการครั้งแรกในการสถาปนาพลังอำนาจอเมริกันในช่วงหลังสงครามโลก. เขาชี้แจงว่าสหภาพโซเวียตได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะเข้าสู่สงครามต่อสู้กับญี่ปุ่นในวันที่ 8 สิงหาคม 1945. แต่ระเบิดปรมาณูดังกล่าวได้ถูกทิ้งไปแล้วในวันที่ 6 สิงหาคม
นักวิทยาศาสตร์ Leo Szilard ได้พบปะกับที่ปรึกษานโยบายคนสำคัญของ Truman ในเดือนพฤษภาคม 1945 และได้รายงานภายหลังว่า "Byrnes ไม่ได้ให้เหตุผลว่า มันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระเบิดดังกล่าวกับเมืองต่างๆ ของญี่ปุ่นเพื่อที่จะชนะสงคราม ทัศนะของ Mr. Byrner คือว่า การครอบครองและการสาธิตระเบิดปรมาณู จะทำให้รัสเซียอยู่ในการควบคุมมากขึ้น"
สุดท้ายของการทิ้งระเบิดดังกล่าว จากหลักฐานพยานต่างๆ ดูเหมือนว่าไม่ใช่กำลังชนะสงคราม ซึ่งได้รับการยืนยันแล้ว และไม่ใช่เป็นการปกปักรักษาชีวิตทหารอเมริกันแต่อย่างใด, เป็นไปได้มากว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยเกี่ยวกับการบุกของอเมริกัน แต่มันเป็นไปเพื่อชื่อเสียงและอำนาจมากขึ้นของประชาชาติอเมริกันในช่วงขณะนั้น และในช่วงหลังสงคราม. สำหรับเป้าหมายอันนี้ วิธีการยังคงอยู่ในท่ามกลางความหวาดหวั่นและยำเกรง โดยการเผามนุษย์เป็นๆ, ทำให้ผู้คนต้องสูญเสียอวัยวะอย่างน่ากลัว, และทิ้งให้ผู้คนเหล่านั้นเจ็บป่วยจากกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจะฆ่าพวกเขาลงอย่างช้าๆ และด้วยความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส
ผมยังจำได้ว่าตอนที่เรียนอยู่ที่ชั้นมัธยมสูง ครูสอนสังคมศาสตร์ได้บอกกับพวกเราในชั้นเรียนว่า ความแตกต่างระหว่าง"ประชาธิปไตยอย่างสหรัฐฯ" และ"รัฐเผด็จการทั้งหลาย" ก็คือ, พวกเขาเชื่อว่า ไม่ว่าวิธีการใดๆเพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายล้วนสมเหตุสมผลทั้งสิ้น แต่เราไม่. แต่อันนี้ก่อนที่จะเกิดการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
เพื่อทำให้เกิดการตัดสินอยู่บนศีลธรรมอันเหมาะสม เราจะต้องให้ดุลยภาพเกี่ยวกับหลักฐานและพยานเกี่ยวกับเหยื่อต่างๆ, ในที่นี้มีคำพูดของคนที่รอดชีวิต 3 คน ซึ่งจะต้องได้รับการคูณอีกด้วยผู้คนนับจำนวนหมื่นเพื่อให้ภาพที่ชัดเจนอย่างสมบูรณ์เต็มที่
ชายอายุราว 35 ปี: "ผู้หญิงคนหนึ่งกรามของเธอหายไป และลิ้นของเธอหลุดออกมาอยู่นอกปาก กำลังสงสัยว่ารายรอบพื้นที่นั้นของ Shinsho-machi กำลังมีฝนดำตกลงมาอย่างหนัก เธอกำลังหันหน้าไปทางเหนือเพื่อร้องให้คนช่วย"
เด็กผู้หญิงอายุ 17 คนหนึ่ง: "ฉันเดินผ่านไปทางสถานีฮิโรชิมา และเห็นคนไส้ทะลักและสมองไหลออกมา ฉันได้เห็นหญิงแก่คนหนึ่งกำลังอุ้มทารกที่ยังไม่หย่านม ฉันเห็นเด็กๆ มากมายที่แม่ตาย ฉันไม่สามารถบรรยายความรู้สึกนั้นออกมาเป็นคำพูดได้"
เด็กผู้หญิงที่อยู่ชั้น ป.5: "ทุกๆ คนซึ่งอยู่ในที่หลบภัยกำลังร้องออกมาเสียงดัง แต่เสียงโหยหวนเหล่านั้น พวกเขาไม่อาจเปล่งออกมาได้, พวกเขาต่างครวญครางซึ่งมันทิ่มแทงเข้าไปในไขกระดูกของคุณ และทำให้คุณขนหัวลุกไปตลอด ฉันไม่รู้ว่ามันกี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่ฉันขอร้องว่า พวกเขาจะต้องตัดแขนและขาฉันออก".
ในช่วงฤดูร้อนปี 1966 ผมและภรรยาได้รับเชิญไปยังเมืองฮิโรชิมา เพื่อร่วมประชุมนานาชาติอันเป็นการรำลึกถึงการทิ้งระเบิดปรมาณูดังกล่าว และเพื่ออุทิศตัวเราต่อโลกที่หลุดพ้นและเป็นอิสระจากสงคราม. ในเช้าวันดังกล่าวเดือนสิงหาคม วันที่ 6, ผู้คนนับหมื่นได้มารวมตัวกันในสวนเมืองฮิโรชิมาและทุกคนต่างยืน, จนรู้สึกเกือบจะทนไม่ได้, เงียบ, และรอคอยเวลา 8:1G ตรง ตอนเช้า, อันเป็นช่วงเวลาระเบิดดังกล่าวได้ถูกทิ้งลงมา ในวันที่ 6 สิงหาคม 1945
เมื่อช่วงเวลานั้นมาถึง ความเงียบสงัด อึดอัดใจก็สิ้นสุดด้วยเสียงอึกทึกครึกโครมในอากาศ มันน่าขนลุกและน่าตกใจจนกระทั่งเราสำนึกได้ว่า นั่นคือเสียงปีกของนกพิราบนับพันๆ ที่พร้อมกันบินขึ้นสู่อากาศ ซึ่งได้ถูกปล่อยในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อประกาศถึงจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับโลกที่สงบและสันติ
ไม่กี่วันต่อมา บางคนในหมู่พวกเราได้รับเชิญให้ไปยังบ้านหลังหนึ่งในเมืองฮิโรชิมา ที่ได้รับการสร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กลางสำหรับเหยื่อของระเบิดปรมาณู เพื่อใช้เวลากับคนอีกคนและสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ร่วมกัน. พวกเราถูกขอร้องให้พูดกับกลุ่มคนเหล่านั้นที่ได้รับความสูญเสีย และเมื่อช่วงที่ผมต้องกล่าวอะไรมาถึง ผมลุกขึ้นยืนและรู้สึกว่าจะต้องปลดเปลื้องบางสิ่งบางอย่างจากสำนึกของตนออกไป
ผมต้องการพูดว่า ผมเป็นคนหนึ่งซึ่งเป็นพลทิ้งระเบิดอยู่บนเครื่องบินรบในยุโรป ซึ่งผมได้ทิ้งระเบิดที่ฆ่าและทำลายผู้คนจนพิกลพิการ และจากวันนั้นจนกระทั่งถึงวันนี้และขณะนี้ ผมยังไม่เคยเห็นคนอันเป็นผลลัพธ์ของระเบิดเหล่านั้นเลย และผมรู้สึกละอายกับสิ่งที่ผมทำ รวมทั้งต้องการที่จะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งต่างๆ เหมือนเช่นอย่างนี้จะไม่เกิดขึ้นมาอีกเลย
ผมไม่เคยได้พูดประโยคนั้นออกมาหรอก เพราะขณะที่ผมเริ่มพูด ผมมองไปที่คนญี่ปุ่นทั้งชายและหญิงซึ่งนั่งอยู่ตรงหน้าผม พวกเขาไม่มีแขน ไม่มีขา แต่ทั้งหมดอยู่ในความนิ่งสงบรอให้ผมพูด ผมรู้สึกอึดอัดและจุกแน่นอยู่ที่หน้าอก ซึ่งไม่อาจที่จะกล่าวอะไรออกมาได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ผมต้องต่อสู้กับจิตใจภายในเพื่อจะควบคุม และในท้ายที่สุดก็พูดออกมาได้เพียงว่า "ขอบคุณทุกๆคนที่เชิญให้ผมมา" แล้วผมก็นั่งลง
สำหรับความคิดที่ว่า วิธีการใด-ซึ่งเข่นฆ่ามนุษย์จำนวนมาก, การใช้วิทยาศาสตร์ไปในทางที่ผิด, การทุจริตเกี่ยวกับวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับเพื่อบรรลุเป้าหมายเกี่ยวกับอำนาจรัฐ ตัวอย่างซึ่งเป็นที่สุดแล้วเกี่ยวกับยุคสมัยของเราคือการทิ้งระเบิดปรมารูที่ฮิโรชิมานั่นเอง
สำหรับเราในฐานะพลเมือง ประสบการณ์เกี่ยวกับฮิโรชิมาและนางาซากิเสนอแนะว่า เราจะต้องปฏิเสธ Machiavelli ซึ่งเราไม่อาจยอมรับการเป็นทาสรับใช้ความคิดเช่นนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าชายหรือประธานาธิบดี และสิ่งที่เราต้องสำรวจตรวจสอบตัวเราเองก็คือ เป้าหมายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเรา ที่พวกเขาต้องรับใช้. เราต้องตรวจสอบวิธีการที่นำไปสู่เป้าหมายเหล่านั้นเพื่อตัดสิน ถ้าเผื่อว่ามันไปด้วยกันได้กับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมสำหรับชีวิตมนุษย์ทั้งมวลบนโลกใบนี้
การต่อต้านพวก Machiavellians
(The Anti-Machiavellians)
มักจะมีผู้คนซึ่งกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อตัวของพวกเขาเองเสมอ ซึ่งเป็นการสวนทางกันกับอุดมการณ์ที่มีอยู่
และเมื่อมันมีการสั่งสมทางประวัติศาสตร์มากพอแล้ว และมีช่วงขณะที่วิเศษ สงครามจะถูกเรียกร้องเพื่อการสิ้นสุด,
ทรราชจะถูกโค่นล้ม, ผู้คนที่ตกเป็นทาสจะได้ชัยชนะในอิสรภาพ, อันเป็นชัยชนะเล็กๆน้อยๆของคนยากคนจน.
แม้กระทั่งคนที่อยู่ใกล้ชิดกับศูนย์อำนาจ ในความเลือนลางจากแรงกดดันให้ต้องปฏิบัติตามที่ครอบคลุม
จะกระตุ้นปลุกเร้าความเข้มแข็งทางศีลธรรมเพื่อต่อต้าน, คัดค้าน, เมินเฉยต่อคำแนะนำแบบ
Machiavelli และทอดทิ้งเป้าหมายที่ปราศจากคำถาม รวมถึงวิธีการที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ
ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ปรมาณูทั้งหมดจะพรวดพราดเข้าสู่ความตื่นเต้นในการสร้างระเบิดดังกล่าว เมื่อตอนที่ Oppenheimer ได้รับการเกณฑ์เข้ามาร่วมกับโครงการนี้ ดังที่เขาได้บอกกับคณะกรรมการพลังงานปรมาณูต่อมาภายหลัง อย่างที่ผู้คนส่วนใหญ่รับรู้ว่า "ความรู้สึกตื่นเต้นนี้ เกี่ยวกับการอุทิศตัวและความรักชาติในเป้าหมายดังกล่าว มันมีบรรยากาศอย่างนั้นปกคลุมไปทั่ว" แต่อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์ I. I. Rabi ซึ่งได้รับการขอร้องโดย Oppenheimer ให้มาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการของเขาที่ Los Alamos ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมงานดังกล่าว. เขาเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันอย่างสำคัญในการพัฒนาเรดาห์ ซึ่งเขาคิดว่ามีความสำคัญต่อสงคราม แต่ก็พบว่ามันถูกรังเกียจเดียดฉันท์และต่อต้าน ดังที่ Oppenheimer รายงานว่า "การบรรลุถึงจุดสุดยอดเกี่ยวกับสามศตวรรษของฟิสิกส์ ควรจะเป็นอาวุธอันหนึ่งเกี่ยวกับการทำลายล้างสูง(a weapon of mass destruction)
ก่อนระเบิดดังกล่าวจะถูกทดสอบและนำมาใช้, Rabi รู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับบทบาทของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในสงคราม ถ้าหากเราตั้งอยู่บนจุดยืนที่ว่า เป้าหมายของเราเป็นเพียงแค่ที่อยากจะเห็นสงครามในครั้งต่อไปมันใหญ่กว่าและดีกว่าเดิม พวกเราก็กำลังสูญเสียความเคารพในสาธารณชนอย่างถึงที่สุด เราจะต้องไม่ยอมเป็นข้ารับใช้ผู้สร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ และกลายเป็นเพียงแค่ช่างเทคนิค ยิ่งไปกว่าพลเมืองซึ่งมีจิตวิญญานอุทิศตนต่อสังคม ซึ่งเรารู้สึกว่าพวกเราเองเป็นอย่างนั้น
James Franck นักเคมีฟิสิกส์ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล ที่ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ในห้องทดลองเกี่ยวกับโลหะผสมในปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างระเบิดดังกล่าว ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการเกี่ยวพันกับสังคมการเมืองเกี่ยวกับอาวุธชนิดใหม่. ในเดือนมิถุนายน 1945 คณะกรรมการ the Franck Committee ได้เขียนรายงานขึ้นมาฉบับหนึ่ง ที่เสนอแนะในเชิงต่อต้านการโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูในญี่ปุ่น "ถ้าเราพิจารณาถึงข้อตกลงระหว่างประเทศในเรื่องการปกป้องสงครามนิวเคลียร์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นเป้าหมายสูงสุด การแนะนำเกี่ยวกับอาวุธปรมาณูชนิดนี้ต่อโลก อาจไปทำลายโอกาสต่างๆ ของเราลงอย่างง่ายดายเกี่ยวกับความสำเร็จ". การทิ้งระเบิดดังกล่าว "จะหมายถึงการเริ่มต้นโบยบินไปสู่การแข่งขันทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างไม่มีขีดจำกัด" รายงานฉบับนี้กล่าว
คณะกรรมการได้ไปยังวอชิงตันเพื่อยื่นรายงานฉบับนี้เป็นการส่วนตัวต่อ Henry Stimson, แต่ได้รับการบอกปัดว่า, เขาออกไปนอกเมือง. ทั้ง Stimson และคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเขา ไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่จะยอมรับข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลเกี่ยวกับรายงานของ the Franck Committee ดังกล่าว
นักวิทยาศาสตร์ Leo Szilard, ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับจดหมายจาก Albert Einstein ที่มีไปถึง Franklin Roosevelt ซึ่งได้เสนอแนะโครงการอันหนึ่งเพื่อพัฒนาระเบิดปรมาณู ได้ต่อสู้อย่างแข็งขัน แต่ก็ไร้ผลที่จะต้านทานการตัดสินใจทิ้งระเบิดลงในเมืองๆ หนึ่งของญี่ปุ่น. ในเดือนเดียวกันที่ระเบิดดังกล่าวประสบผลสำเร็จในการทดสอบอย่างสมบูรณ์ใน New Mexico, เดือนกรกฎาคม 1945, Szilard ได้มีการแพร่กระจายข้อร้องเรียนไปในท่ามกลางหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย เพื่อต่อต้านอย่างกว้างขวาง และคัดค้านพร้อมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทิ้งระเบิดดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า
"ประเทศซึ่งมีการใช้พลังอำนาจการปลดปล่อยชนิดใหม่ของธรรมชาตินี้ก่อนใครๆ เพื่อวัตถุประสงค์ของการทำลายล้าง จะต้องแบกรับความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเปิดประตูไปสู่ยุคสมัยแห่งการทำลายล้างในสัดส่วนที่ไม่อาจจินตนาการได้"
การตัดสินใจกระทำในสิ่งที่เขาอาจสามารถยุติแรงกระตุ้นในการใช้ระเบิดดังกล่าว Szilard ได้ขอร้องเพื่อนของเขา Einstein ให้เขียนจดหมายมอบให้เขาฉบับหนึ่ง เพื่อเป็นการแนะนำต่อประธานาธิบดี Roosevelt. แต่ขณะที่กำลังมีการจัดการให้มีการพบปะกันนั้น ก็มีประกาศออกมาจากวิทยุว่า ประธานาธิบดี Roosevelt ได้ถึงแก่อสัญกรรรมแล้ว
ความมีชื่อเสียงของ Einstein ได้ช่วยเบี่ยงเบนการตัดสินใจหรือไม่? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Einstein ได้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจลัทธิสังคมนิยม และเป็นผู้ที่ต่อต้านสงคราม และเขาได้ถูกกันออกไปจากโครงการแมนฮัตตัน อีกทั้งมิได้ล่วงรู้อะไรเกี่ยวกับการตัดสินใจที่มีความสำคัญ ซึ่งทำขึ้นเพื่อทิ้งระเบิดดังกล่าวลงที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ
หนึ่งในที่ปรึกษาของ Herry Truman ที่รั้งตำแหน่งสำคัญนั้นคือ ปลัดกระทรวงของราชนาวี Ralph Bard ซึ่งมีท่าทีต่อต้านการทิ้งระเบิดปรมาณูลงในญี่ปุ่น. ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการชั่วคราวของ Stimson, ช่วงแรกเขาเห็นด้วยกับการตัดสินใจ เพื่อจะใช้ระเบิดดังกล่าวกับเมืองๆ หนึ่งในประเทศญี่ปุ่น และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงความเห็นของเขาไปอย่างสิ้นเชิง
เขาได้เขียนบันทึกความทรงจำถึงคณะกรรมการชุดดังกล่าว โดยพูดถึงชื่อเสียงกิติศัพท์ของสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็น"ประชาชาติที่มีมนุษยธรรม" และเสนอแนะว่า ชาวญี่ปุ่นควรได้รับการเตือนล่วงหน้า และการให้คำรับรองบางอย่างเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อองค์จักรพรรดิ์ ซึ่งควรจะชักจูงให้ชาวญี่ปุ่นยอมแพ้เสีย. แต่มันไม่เกิดผลใดๆ ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ยังมีนายทหารระดับสูงอีกหลายคน แม้จะไม่มากนักซึ่งมีท่าทีตรงข้ามกับการตัดสินใจดังกล่าว. นายพล Dwight Eisenhower, ซึ่งเพิ่งจะนำกองทัพฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะในยุโรปได้พบกับ Stimson เพียงหลังจากการทดสอบที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับระเบิดปรมาณูที่ Los Alamos เขาได้บอกกับ Stimson ว่า, เขาไม่เห็นด้วยกับกับการใช้ระเบิดดังกล่าว เพราะว่าชาวญี่ปุ่นพร้อมที่จะยอมแพ้อยู่แล้ว. Eisenhower ต่อมาภายหลัง เขารำลึกว่า "ผมเกลียดที่จะเห็นประเทศของเราเป็นประเทศแรกที่ใช้อาวุธดังกล่าว"
ส่วนนายพล Hap Arnold, ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เชื่อว่าญี่ปุ่นพร้อมที่จะยอมแพ้อยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งระเบิดดังกล่าว. ตามข้อเท็จจริง บรรดาผู้นำทางทหารที่สำคัญๆ ไม่ต้องการใช้ระเบิดปรมาณูไปในน้ำหนักเหตุผลต่างๆ ในทางการเมือง สำหรับการทิ้งระเบิดดังกล่าวลงที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
ในปฏิบัติการต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2, มีคนที่กล้าหาญเพียงไม่กี่คนเท่านั้นซึ่งปฏิเสธที่จะยอมตนรับใช้พวก Machiavellian และบอกปัดที่จะยอมรับการดำเนินไปตามหลักปฏิบัติแบบเดิมๆ. วุฒิสมาชิก William Fulbright จาก Arkansas ได้อยู่ในสถานที่มีการพบปะกันครั้งสำคัญของบรรดาที่ปรึกษา เมื่อประธานาธิบดี Kennedy กำลังตัดสินใจดำเนินการตามแผนต่างๆ เพื่อจะบุกคิวบาหรือไม่. Arthur Schlesinger, ซึ่งอยู่ที่นั่น ภายหลังได้บันทึกว่า "Fulbright, ได้พูดเน้นในสิ่งที่เต็มไปด้วยความกังขา ซึ่งเป็นการประณามติเตียนความคิดนี้ทั้งหมด"
ในช่วงระหว่างสงครามเวียดนาม บรรดาที่ปรึกษาจากสถาบัน MIT และมหาวิทยาลัย Harvard ต่างอยู่ในท่ามกลางผู้ที่ให้การสนับสนุนอันป่าเถื่อนของการทิ้งระเบิดที่ไร้ความปรานี แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ต่อต้าน. หนึ่งในนั้นตั้งแต่แรกๆ คือ James Thomson, ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิจการตะวันออกไกลคนหนึ่งของกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง และได้เขียนบทความที่คมคายลงในนิตยสาร Atlantic Monthly เพื่อวิพากษ์วิจารณ์การดำรงอยู่ของสหรัฐฯ ในเวียดนาม
ขณะที่ Henry Kissinger
กำลังเล่นบท Machiavelli กับเจ้าชาย Nixon, อย่างน้อยที่สุด ผู้ช่วยของเขา 3
คนคัดค้านต่อการสนับสนุนของเขาสำหรับการบุกเข้าไปในกัมพูชาในปี ค.ศ.1970. William
Watts ถูกขอให้ทำงานประสานกับคำประกาศของทำเนียบขาวในการบุกเข้าไปในกัมพูชา แต่เขาปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น
และได้เขียนจดหมายลาออก. เขาต้องเผชิญหน้ากับ Kissinger ที่ช่วยนายพล Al Haig,
ซึ่งบอกกับเขาว่า "คุณมีคำบัญชาจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดหรือจอมทัพ ด้วยเหตุนี้
คุณจึงไม่อาจที่จะลาออกได้", Haig กล่าว, แต่ Watts ตอบว่า "โอ้ ไม่เลย
ผมทำได้และมีความประสงค์ที่จะทำเช่นนั้นด้วย!" Roger Morris และ Anthony
Lake ถูกขอให้เขียนสุนทรพจน์สำหรับประธานาธิบดี Nixon เพื่อให้เหตุผลการบุกครั้งนี้
แต่พวกเขาก็ปฏิเสธเช่นกัน และยืนยันที่จะเขียนหนังสือลาออกแทน
ปฏิกริยาที่น่าเร้าใจและตื่นเต้นที่สุด เกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงในช่วงระหว่างสงครามเวียดนามมาจาก
Danial Ellsberg, ด็อกเตอร์ทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทำงานรับใช้อยู่ในกองทัพเรือ,
และรั้งตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม, กระทรวงต่างประเทศ, และสถานทูตในไซง่อน.
เขาเป็นผู้ช่วยพิเศษคนหนึ่งของ Herry Kissinger และต่อมาได้ทำงานกับบริษัท Rand
ซึ่งเป็นคณะทำงานระดับมันสมองของเอกชนกับผู้คนที่ฉลาดปราดเปรื่อง ซึ่งได้ทำสัญญาทำงานวิจัยลับสุดยอดให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ.
เมื่อบริษัท Rand ถูกขอให้รวบรวมประวัติศาสตร์ของสงครามเวียดนาม โดยมีพื้นฐานอยู่บนเอกสารลับต่างๆ,
Ellsberg ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำของโครงการนี้
ตอนที่ Ellsberg เริ่มงาน เขารู้สึกเจ็บปวดเมื่อสำนึกเกี่ยวกับความทารุณโหดร้ายของสงคราม ที่กำลังกระทำโดยรัฐบาลของเขา. เขาได้ออกไปสู่สนามรบพร้อมกับพวกทหาร และสิ่งที่เขาเห็นชวนให้เขารู้สึกว่าสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม. ในช่วงที่กำลังอ่านเอกสารต่างๆ และช่วยรวบรวมประวัติศาสตร์ดังกล่าว เขาได้เห็นถึงคำโกหกมากมายที่ถูกบอกเล่ากับสาธารณชน และได้รับการหนุนเสริมจากความรู้สึกต่างๆของเขา
ด้วยการช่วยเหลือของพนักงานเก่าๆ ของ Rand เขาได้พบกับ Anthony Russo ในเวียดนาม, Ellsberg ได้ถ่ายเอกสารทั้งหมด 7 พันหน้าทางด้านประวัติศาสตร์ - เอกสารต่างๆของเพนตากอน" ดังที่มันถูกเรียกมาใช้และแพร่กระจายเอกสารเหล่านี้สู่สมาชิกสภาบางคนของสภาคองเกรส เช่นเดียวกับนิตยสาร New York Times. เมื่อนิตยสาร Time เริ่มต้นพิมพ์เอกสารลับสุดยอดนี้ และมันเป็นเรื่องเกรียวกราวไปทั่ว, Ellsberg ได้ถูกจับกุมและถูกส่งตัวเข้าคุก โดยนับโทษแล้วเขาจะต้องติดคุกนานประมาณ 130 ปี
ขณะเดียวกัน คณะลูกขุนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษากับผู้พิพากษา รวมถึงกรณีอื้อฉาว Watergate, ที่ช่างท่อประปาของ Nixon พยายามที่จะบุกเข้าไปในที่ทำงานจิตแพทย์ของ Ellsberg เพื่อค้นหาและทำลายข้อมูล และเขาประกาศว่ามันเป็นกรณีด่างพร้อย และเรียกร้องให้ยุติการสะกดรอยดังกล่าว
กรณีของ Ellsberg เป็นเพียงกรณีหนึ่งของการลาออกเป็นชุดๆ จากรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างและหลังสงครามเวียดนาม. ผู้ปฏิบัติงานหรือสายลับ CIA จำนวนมาก ได้ลาออกจากงานในช่วงปลายทศวรรษที่ 60s และช่วงต้นทศวรรษที่ 70s และเริ่มเขียนและพูดเกี่ยวกับปฏิบัติการลับต่างๆ ของหน่วยงานของตน - ยกตัวอย่างเช่น สายลับ Victor Marchetti, Philip Agee, John Stockwell, Frank Snepp, และ Ralph McGehee.
สำหรับสหรัฐอเมริกา, ในกรณีเกี่ยวกับประเทศอื่นๆ, ลัทธิ Machiavellianism ได้มีอิทธิพลครอบงำนโยบายต่างประเทศ แต่ความกล้าหาญของผู้คนจำนวนไม่มากนักที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ได้เสนอความเป็นไปได้ที่ว่า ณ วันใดวันหนึ่ง สาธารณชนส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับอีกต่อไปแล้วเกี่ยวกับลัทธิสัจนิยมประเภทดังกล่าว
ตัวของ Machiavelli เอง
อาจยิ้มอย่างยโสเกี่ยวกับคำแนะนำนี้ และพูดว่า "คุณกำลังเสียเวลาเปล่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรอก
นั่นมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์" สำหรับคำพูดประโยคนี้ มีค่าควรแก่การพิสูจน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกกลับไปอ่าน
Machiavellian: การเมืองและนโยบายปีศาจของสหรัฐฯ (1)
เชิงอรรถ
(4) Bay of Pigs. The cornerstone of this collection is a two-volume, 400-plus page document consisting of (Volume I) the CIA Inspector General's (IG) Report on the CIA's ill-fated April 1961 attempt to implement national policy by overthrowing the Fidel Castro regime in Cuba by means of a covert paramilitary operation, otherwise known as the Bay of Pigs, and (Volume II), a commentary on the IG report written by the Directorate of Plans (DP), now known as the Directorate of Operations (DO). These two volumes are a rare side-by-side compilation of high-level government self-evaluation of its own performance in an historic and controversial event. The remainder of the collection is comprised of various documents, to include finished intelligence, National Security Council (NSC) briefings and Spanish-language documents. The collection now stands at 769 documents, although more may be added in the future as additional documents are subjected to the ongoing review process.
คลิกไปที่
กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ปรมาณูทั้งหมดจะพรวดพราดเข้าสู่ความตื่นเต้นในการสร้างระเบิดดังกล่าว เมื่อตอนที่ Oppenheimer ได้รับการเกณฑ์เข้ามาร่วมกับโครงการนี้ ดังที่เขาได้บอกกับคณะกรรมการพลังงานปรมาณูต่อมาภายหลัง อย่างที่ผู้คนส่วนใหญ่รับรู้ว่า "ความรู้สึกตื่นเต้นนี้ เกี่ยวกับการอุทิศตัวและความรักชาติในเป้าหมายดังกล่าว มันมีบรรยากาศอย่างนั้นปกคลุมไปทั่ว" แต่อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์ I. I. Rabi ซึ่งได้รับการขอร้องโดย Oppenheimer ให้มาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการของเขาที่ Los Alamos ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมงานดังกล่าว. เขาเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันอย่างสำคัญในการพัฒนาเรดาห์ ซึ่งเขาคิดว่ามีความสำคัญต่อสงคราม แต่ก็พบว่ามันถูกรังเกียจเดียดฉันท์และต่อต้าน ดังที่ Oppenheimer รายงานว่า "การบรรลุถึงจุดสุดยอดเกี่ยวกับสามศตวรรษของฟิสิกส์ ควรจะเป็นอาวุธอันหนึ่งเกี่ยวกับการทำลายล้างสูง(a weapon of mass destruction)