Free Documentation
License
Copyleft : 2006,
2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document, but changing it is not allowed.
หากนักศึกษา
และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
The Midnight
University
เรื่องเกี่ยวกับปรัชญาญี่ปุ่นต้นศตวรรรษที่
๒๐
เกียวโตสคูล
: มรดกตกทอดของวัฒนธรรมข้ามพันธุ์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ข้อมูลบนหน้าเว็บเพจนี้
เรียบเรียงมาจากสารานุกรมทางปรัชญา
ฉบับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
The Kyoto School
โดยคัดย่อมาบางส่วนเพื่อการศึกษาและทำความเข้าใจสาระโดยสังเขป
เกี่ยวกับสกุลความคิดทางปรัชญาของญี่ปุ่น ต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๐
เพื่อทำความเข้าใจปรัชญาเกียวโตสคูล
ในที่นี้ขอแนะนำให้อ่านบทความตั้งแต่ลำดับที่ 959 และ 960 ก่อนหน้านี้
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 961
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
13 หน้ากระดาษ A4)
เกียวโตสคูล
: มรดกตกทอดของวัฒนธรรมข้ามพันธุ์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง /
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(ต่อจากบทความลำดับที่
660)
ระหว่าง หรือ พ้นไปจาก "ตะวันออก"กับ"ตะวันตก"
ในส่วนสรุปนี้ ขอให้เราย้อนกลับไปที่มรดกตกทอดของเกียวโตสคูล ด้วยการพิจารณาถึงปรัชญาเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้ามพันธุ์หรือวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบ
ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วมาตั้งแต่ต้น บรรดานักคิดเกียวโตสคูลคือนักวิชาการที่อุทิศตัวทั้งหมดให้กับขอบเขตความรู้ และบุคคลที่หลากหลายในวงการปรัชญาตะวันตก กระนั้นก็ตาม ในเวลาเดียวกัน พวกเขาได้เก็บเท้าข้างหนึ่งไว้อย่างมั่นคงในการสัมผัสกับขนบจารีตต่างๆ ของท้องถิ่นเอเชียตะวันออกของพวกเขาไว้ สิ่งเหล่านั้นหมายถึงพุทธศาสนามหายานโดยเฉพาะ. จุดยืนความคิดทั้งสองขาได้วางตัวของพวกเขาลงในตำแหน่งที่พิเศษอันหนึ่งระหว่าง "ตะวันออก"และ"ตะวันตก"
แต่อย่างไรก็ตาม ปรัชญาของพวกเขาก็มิได้ล่องลอยโดยปราศจากอคติบนท้องทะเลของการเปรียบเทียบทางวิชาการ และพวกเขาก็ไม่ได้มองตนเองในฐานะสื่อกลางต่างๆ มาแต่แรกเกี่ยวกับการสนทนาทางศาสนากันภายใน. ในฐานะบรรดานักปรัชญาที่มีความผูกพันโดยแก่นแท้ โดยเฉพาะส่วนใหญ่คือนักแสวงหาความจริงและเบื้องหลังความจริง พวกเขาถกเถียงกันถึงความมีเหตุมีผลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการมองดูตนเอง และโลกในวิถีทางต่างๆ
ดังที่เราเห็นกันแล้ว ขณะที่สมาชิกแต่ละคนของโตเกียวสคูลต่างมีวิสัยทัศน์ของตนเองเกี่ยวกับความจริง พวกเขาได้ปันความคิดพื้นฐานให้แก่กันและกัน อย่างเช่นทัศนะเกี่ยวกับแกนความคิดในแต่ละด้านของสุญญตาแบบสมบูรณ์(Absolute Nothingness) และความคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งการตระหนักรู้ในตัวตนอย่างแท้จริง(self-awareness)โดยความว่างจากอัตตา(emptying the ego)
อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีและเนื้อหามากมายเกี่ยวกับตำราของพวกเขา อันที่จริงได้สะท้อนถึงการสนทนากันอย่างละเอียด และการหยิบยืมปรัชญาตะวันตกมาใช้อย่างวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเราสามารถให้เหตุผลได้ว่า ข้อวินิจฉัยเบื้องต้นจำนวนมากของพวกเขา ได้สะท้อนถึงอิทธิพลของตะวันออกอย่างชัดเจน แน่นอน อันนี้ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาเพียงนำเสนอหรือมีการแสดงออกสมัยใหม่ถึงความคิดตามขนบจารีตพุทธศาสนาในแบบเอเชียตะวันออก มันไม่ใช่ไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่า ปรัชญาของพวกเขาคือพัฒนาการในเชิงสร้างสรรค์และในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับขนบจารีต
กระนั้นก็ตาม หนทางของการนำเสนอ มันจะไม่ยุติธรรมต่ออิทธิพลอย่างมากมายที่มีต่อความคิดของพวกเขาโดยปรัชญาต่างๆ ของตะวันตก ซึ่งพวกเขาค้นคว้ามาอย่างเข้มข้น. แม้ว่า Hisamatsu, Nishitani, และ Ueda ได้ทำให้เป็นปรัชญาอย่างชัดเจนจากจุดยืนของเซน และแม้ว่า Takeuchi, Hase, และคนอื่นๆ ก็กระทำเช่นนั้นจากพุทธศาสนาแบบ Shin (พุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นที่สำคัญนิกายหนึ่ง ซึ่งเน้นเรื่องการหลุดพ้นโดยความศรัทธาในการบูชาองค์อมิตาพุทธโดยเฉพาะ) มันจะเป็นการเข้าใจผิดเลยทีเดียวและปราศจากข้อแม้ใดๆ ในการสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวกับปรัชญาที่มีอยู่หลายแง่มุมของ Nishida หรือ Tanebe ในฐานะที่เป็น"ตะวันออก"หรือ"พุทธศาสนา"
ยกตัวอย่างเช่น ตรรกะเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะ(Logic of the specific)ของ Tanebe ในช่วงต้น โดยความเชื่อมโยงของมันกับวิธีการซึ่งความมีลักษณะเฉพาะในทางชาติพันธุ์ที่ไร้เหตุผล เป็นสื่อกลางระหว่างลักษณะเฉพาะของปัจเจกกับความเป็นมนุษย์ที่เป็นสากล สามารถได้รับการอ่านได้ในฐานะที่เป็นการหยิบยืมมาอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับตรรกะวิภาษวิธีของ Hegelian และปรัชญาการเมือง มากกว่าในฐานะที่เป็นการพัฒนาโดยตรงของความคิดตะวันออกหรือพุทธศาสนา และในงานเขียนช่วงหลังๆ หลายชิ้นในปรัชญาทางศาสนา Tanabe แกว่งไกวไปมาระหว่างความชื่นชอบในพุทธศาสนานิกาย Shin, คริสต์ศาสนา, และท้ายที่สุด พุทธศาสนานิกายเซน (ดู Himi 1990, 129-341)
โดยพิจารณาถึง Nishida, การผูกพันอย่างฉลาดอันหนึ่งกับคำถามทั้งหลายในทางญานวิทยา, ตรรกะ, ความเป็นอิสระของปัจเจก, การสร้างสรรค์, และความเป็นประวัติศาสตร์ของโลกที่เป็นสาระสำคัญต่อความคิดของเขาในหนทางต่างๆ ซึ่งเป็น"ตะวันตกสมัยใหม่"มากกว่า"ตะวันออกตามจารีต"; และ Nishida ในเวลานั้นได้ชี้อย่างชัดแจ้งถึงความไม่พึงพอใจของเขา ต่อสิ่งซึ่งเขามองว่าเกี่ยวพันกับความอ่อนแอต่างๆ ทางความคิดของพุทธศาสนาตามจารีต
แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจโต้ว่า แม้ว่าในเชิงระเบียบวิธี Nishida ได้ยกคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆ ของเขาขึ้นมาจากปรัชญาตะวันตก แต่คำตอบทั้งหลายของเขาต่อความแคลงใจหรือคำถามเหล่านี้ กลับสะท้อนรากเหง้าของเอเชียตะวันออก อย่างน้อยที่สุด มากเท่ากันกับการศึกษาตะวันตกของเขาเลยทีเดียว
ต่อคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการมีอยู่ตามแนวภววิทยา(ontology)ตะวันตก คำตอบของเขาคือ อภววิทยาเกี่ยวกับ"สุญญตาแบบสมบูรณ์(meontology of Absolute Nothingness). และแม้ว่าความหมายที่ชัดเจนในทางปรัชญาที่เป็นระบบของเขา เกี่ยวกับความคิดเรื่องสุญญตาแบบสมบูรณ์เองจะเป็นหนี้บุญคุณต่อตำรับตำราตะวันตกยิ่งกว่าตะวันออกทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตาม เขาเข้าใจตัวของเขาเองว่ามันมีอยู่อย่างอิสระ(นั่นคือ ในกระบวนการของการผูกพันเอาใจใส่ในการค้นคว้าทางปรัชญาที่ไร้สำนักสำหรับความจริง) ที่ได้มีการแสดงออกถึงความไร้รูป(Formless) ซึ่งนั่นได้รับการพำนักพักอยู่ในขนบจารีตต่างๆ ของตะวันออก. ในการย้อนดูงานเขียนของ Nishida เขาบันทึกเอาไว้ว่า "ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิดของตนเองในการพึ่งพาอาศัยพุทธศาสนามหายาน; กระนั้นก็ตาม มันออกจะสอดคล้องกลมกลืนกันมาก"(NKZ XIV, 408)
Nishitani อาจพูดบางสิ่งทำนองเดียวกันโดยผ่านการศึกษาปรัชญาตะวันตกและระหัสยลัทธิ
หรือmysticism อันเป็นความเชื่อที่ว่า ความรู้โดยตรงเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า,
ความจริงทางจิตวิญญาน, หรือความจริงสูงสุด, สามารถได้รับโดยผ่านประสบการณ์ส่วนตัว(subjective
experience) [ในฐานะสหัชญาน หรือการประจักษ์แจ้งโดยไม่ผ่านกระบวนการขั้นตอนของเหตุผล]
และ"กลับ"ไปสู่จุดยืนของเซน
บางทีสิ่งที่ยั่วยุอารมณ์มากที่สุด และน่าสงสัย จากจุดยืนความคิดทางการเมืองข้ามวัฒนธรรม
ก็คือข้อเสนอของ Nishida และนักคิดเกียวโตสคูลคนอื่นๆ ที่ว่า วัฒนธรรมและปรัชญาญี่ปุ่นสมัยใหม่
ในบางขอบเขตโดยเฉพาะ มีศักยภาพที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อที่จะสร้างห้องว่างอันหนึ่งขึ้นมา
สำหรับการพบปะกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก (ดู NKZ XIV, 416-17; also Nishida
1964, 365). อะไรที่เราจะต้องทำเกี่ยวกับข้ออ้างที่หาญกล้าอันนั้น? ข้อยืนยันที่มีปัญหาเหล่านี้ปรากฏว่ามันเกี่ยวพันกับ
2 เรื่องด้วยกัน
เรื่องแรก, ซึ่งมีลักษณะทั่วไปมากคือ มันไม่ใช่ช่วงเวลาที่ปรากฏเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับ การแบ่งแยกของปริมณฑลทางวัฒนธรรมออกเป็น"ตะวันออก"กับ"ตะวันตก" และ
เรื่องที่สอง, ข้ออ้างที่ว่า ความคิดอันหนึ่งเกี่ยวกับรากลึกของตะวันออก, นั่นคือเรื่องของ"สุญญตาแบบสมบูรณ์"(Absolute Nothingness) สามารถที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อที่จะตระเตรียมหรือจัดที่ทางให้กับพบปะกันในทางปรัชญาให้กับทั้ง"ตะวันออก"และ"ตะวันตก"
การแบ่งแยกแบบกว้างๆ ของโตเกียวสคูลเกี่ยวกับปริมณฑลทางวัฒนธรรมออกเป็น "ตะวันออก" กับ "ตะวันตก" ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เป็นทั้งการเปิดเผยและการอำพรางเท่าๆกัน ยกตัวอย่างเช่น ข้ออ้างของ Heidegger ที่ว่า ขนบจารีตของตะวันตกทั้งหมดถูกสร้างขึ้นบนเทววิทยา-การมีอยู่(onto-theology - ภว-เทววิทยา) และด้วยเหตุดังนั้น การแสดงออกทางปรัชญาตะวันตก จึงเป็นเรื่องของประพจน์ซ้ำความ(tautology - หมายถึง การใช้คำสองคำที่แสดงความหมายเดียวกันโดยไม่จำเป็น)(Heidegger 1956, 6)
แม้กระทั่งบรรดาผู้อ่านที่รู้สึกเห็นอกเห็นใจในเกียวโตสคูล ยังวิพากษ์วิจารณ์บ่อยมากเกี่ยวกับแบบฉบับอันนี้ในเชิงความคิดเปรียบเทียบดังกรณีของ"ตะวันออก"กับ"ตะวันตก". แม้ว่าเขาจะยืนยันว่า "บรรดานักปรัชญาเกียวโตสคูลจะให้ตะวันตกเป็นหนทางอันหนึ่งที่เข้าถึงตะวันออกเหมือนกับไม่มีความเป็นอื่น", James Heisig กล่าวว่า "ตะวันออก"ซึ่งเกียวโตสคูลสร้างขึ้นมาในลักษณะสวนทางกับ"ตะวันตก" คือบางสิ่งบางอย่างของการประดิษฐ์คิดขึ้น "อย่างดีที่สุด มันเป็นเพียงกลุ่มดาวของมรดกอันหนึ่งที่ยาวนานและหลากหลายมาก ที่ได้รับการแสดงออกหรือเป็นตัวแทนที่สมเหตุสมผลโดยญี่ปุ่น"(Heisig 2001, 271-72)
ส่วน John Maraldo ไปไกลยิ่งกว่านั้นและอ้างว่า "ปัญหาต่างๆ ที่ Nishida เกี่ยวข้องด้วยคือ เรื่องของความเป็นลักษณะสากล และหนทางที่เขาเกี่ยวข้องกับปัญหาพวกนั้น มีความขัดแย้งกันมากกับบรรดานักปรัชญาเอเชียคนอื่นๆ มากเท่าๆ กันกับบรรดานักปรัชญาของพวกเราที่ถูกเรียกขานว่าตะวันตก"(Maraldo 1995, 196.) คำถามคือว่า มันมีความจำเป็น และเราพร้อมที่จะทำสิ่งที่ Maraldo เสนอ และวาง"ตะวันออก"กับ"ตะวันตก"ลงสักชั่วคราวได้ไหม ?
นักวิชาการบางคนได้พิจารณาถึงประเด็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนคลุมเครือนี้อย่างมาก แน่นอน ขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการกล่าวหา หรือโจมตีการแบ่งมันออกเป็นขั้วในทางการเมืองและมีลักษณะทั่วไปมากอันนี้ และพร้อมกันนั้น เราคิดว่างานเขียนต่างๆ ของเกียวโตสคูลต้องการที่จะได้รับการอ่านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ในข้อพิจารณานี้หรือไม่ ซึ่งอันนี้จะต้องระมัดระวังเท่าๆ กันเกี่ยวกับ"โลกาภิวัตน์ทางความคิด" ที่มีผลต่อการทำให้ขนบจารีตที่ไม่ใช่ตะวันตกต้องตกเป็นอาณานิคม โดยระเบียบวิธีและการจำแนกหมวดหมู่ทางความคิดของตะวันตก
นักวิชาการทั้งหลายยังเชื่อต่อไปว่า เส้นทางขนบจารีตของ the Greco-Roman, Judeo-Christian, Euro-American ได้ถูกถักทอเอาไว้อย่างแน่นหนาพอที่จะรับประกัน, เฉพาะกาลและในบางบริบท, ในการพูดถึงเกี่ยวกับ"ตะวันตก". เป็นความจริงที่ว่า "ตะวันออก" อาจเป็นขนบจารีตที่ถักทอหรือสร้างขึ้นอย่างไม่ค่อยแน่นหนานัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากทัศนียภาพของอินเดีย (แน่นอน ซึ่งไม่ได้หยิบยืมมาจากขนบจารีตของจีน) แต่อย่างไรก็ตาม ทัศนียภาพของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุมมองพุทธศาสนาของญี่ปุ่น ซึ่งได้สานทอเส้นด้าย Indo-Sino-Japanese เข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบสนิท อันที่จริงมันมีเหตุผลเข้าใจได้เป็นกาลเฉพาะและในบริบทบางอย่างที่จะกล่าวในกรณีต่างๆ ของ"ตะวันออก"
เราไม่สามารถคิดโดยไม่เป็นนามธรรม และไม่ต้องสงสัยเลยถึงสารัตถะอันหนึ่งเกี่ยวกับ"ปัญญาญานในเชิงปฏิบัติ" (practical wisdom)[phronesis] ที่จะต้องรู้ เมื่อจะสร้าง(construct) และเมื่อจะรื้อสร้าง(deconstruct)หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไปต่างๆ. ดังนั้น แม้ว่าเราจะต้องระมัดระวังในการสังเกตบริบททั้งหลาย ซึ่งอันนี้มีเหตุผลที่จะกล่าวถึงในกรณีการจัดแยกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ แต่มันไม่ใช่ข้อแนะนำที่จะทำลายล้างหรือบดขยี้การจัดแยกหมวดหมู่อย่างคลุมเครือของ "ตะวันออก" กับ "ตะวันตก" มากไปกว่าที่จะนิยามความหมายอย่างแคบๆ หรือทำให้ความเกี่ยวพันเชื่อมโยงของแต่ละอย่าง มีลักษณะเบ็ดเสร็จ(absolutize) และความแตกต่างกันและกัน
ด้วยการพิจารณาถึงการตีความเกี่ยวกับความคิดข้ามวัฒนธรรม โดยทั่วไปข้าพเจ้าเชื่อว่า เป็นความพยายามที่จะทำให้ขอบเขตหรือเส้นแบ่งมันแบนๆ ที่แยกแบ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายเท่าๆ กันกับความพยายามที่จะผนึกรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างแนบแน่น. แน่นอน อันนี้ดำเนินไปสู่ความแตกต่างทางจารีตภายใน เช่นเดียวกับความแตกต่างทางจารีตภายนอกที่มีต่อกัน. ไม่ต้องกล่าวเลยว่า นิยามความหมาย, การเปรียบเทียบ, ความขัดแย้ง, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประเมินคุณค่าโดยเทียบเคียงของขนบจารีตอันหลากหลาย ยังคงรับภาระสิ่งที่ยังคงมีปัญหากับหลุมพรางต่างๆ ในทางทฤษฎี, ทางจริยธรรม, และทางการเมือง
มรดกทางทฤษฎีและทางวัฒนธรรมของลัทธิอาณานิคม
และลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) ยังคงเกี่ยวข้องกับเราอีกนาน หลังจากจักรวรรดิต่างๆ
ทางการเมืองได้ถดถอยลงไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงยุคหลังอาณานิคม(postcolonial
time) บ่อยมากที่พวกเราทั้งหมดมองการประกอบสร้างในเชิงปฏิกริยาเกี่ยวกับเอกลักษณ์
และการยืนยันต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านความเหนือกว่า, ปฏิกริยาทั้งหลายซึ่งทำให้การแบ่งแยกในลักษณะอาณานิคมในลักษณะเดียวกันแข็งแกร่งขึ้นในเชิงตรงข้าม
และความหลงใหลเกี่ยวกับเอกลักษณ์แห่งตนที่บริสุทธิ์ ซึ่งถูกยัดเยียดโดย, หรือถูกทำให้สำคัญขึ้นมาจากความเลวร้ายของตะวันตก
ในประเทศญี่ปุ่น การสร้างเอกลักษณ์ย้อนหลัง และการยืนยันต่างๆ ในลักษณะต่อต้าน
ในเชิงปฏิกริยาเกี่ยวกับความเหนือกว่า อันนี้ได้ยึดถือรูปการณ์ของสิ่งที่เรียกว่า
nihonjin-ron หรือทฤษฎีทั้งหลายเกี่ยวกับ"ความเป็นญี่ปุ่น"หรือ"ความมีลักษณะเฉพาะพิเศษของญี่ปุ่น"(ดู
Dale 1986). ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ การยืนยันวัฒนธรรมในเชิงปฏิกริยานั้น
ได้ยึดเอารูปแบบของการปฏิเสธความเชื่อมโยงในทางขนบจารีตที่มีรากลึกของญี่ปุ่น
กับเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกของตน หรือรูปแบบของการอ้างที่ว่า ญี่ปุ่นปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างมีลักษณะเฉพาะตน
และมี"แก่นสารของตะวันออก"ที่สมบูรณ์แบบ อย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับแบบแรกของคำอ้างนี้ มีอยู่ในหลักฐานส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นหลังสงครามและญี่ปุ่นร่วมสมัย, ส่วนอย่างหลังค้นพบได้ใน ตัวอย่างเช่น คำประกาศของนักคิดสมัยเมจิ Okakura Tenshin ที่ว่า "ขณะที่เอเชียเป็นหนึ่ง, ลำพังญี่ปุ่นคือคลังความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับความไว้วางใจได้ของความคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชีย" ["Asia is one," Japan alone is "the real repository of the trust of Asiatic thought and culture" (Okakura 2000, 1 and 5)]
คำถามในที่นี้คือว่า ณ ที่แห่งหนใด ซึ่งบรรดานักคิดเกียวโตสคูลยืนหยัดขึ้นมาโดยยอมรับถึงสงครามต่างๆ ทางวัฒนธรรม? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แน่นอน การสนทนา Chuokoron บ่อยครั้งได้ยืนยันว่า ญี่ปุ่นสมัยใหม่โดยเฉพาะ มีความเหมาะสมที่จะสถาปนาและเป็นตัวแทน"การร่วมวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา" และไม่ต้องสงสัยเลยว่า นี่เป็นการสะท้อนถึงการร่วมมือกันอย่างกว้างขวางในทางการเมือง อุตสาหกรรม และพัฒนาการทางทหารของญี่ปุ่นหลังสมัยเมจิ กับความเหนือกว่าทางวัฒนธรรม
Nishida รู้สึกด้วยว่า ญี่ปุ่นสมัยใหม่ดำรงอยู่ในฐานะตำแหน่งทางการเมืองและวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะเฉพาะพิเศษค่อนข้างมาก ที่จะเป็นเจ้าภาพการแต่งงานอันอุดมผลระหว่าง"ตะวันออก"กับ"ตะวันตก" และ Tanabe ไปไกลจนกระทั่งถึงจัดสร้างประชาชาติญี่ปุ่นขึ้นมา ในฐานะที่เป็นแม่แบบสำหรับประชาชาติอื่นๆ เลยทีเดียว
ในงานเขียนทางการเมืองช่วงสงครามของเกียวโตสคูล
อันที่จริงยังคงเต็มไปด้วยการผลิตนักวิจารณ์วัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเฉพาะสำหรับคนเหล่านั้นด้วยการปิดตาต่างๆ
ในการตีความ หรือวิสัยทัศน์ในการเข้าใจเรื่องราวทั้งหลายหลังเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ตามข้อกล่าวหา.
อย่างไรก็ตาม การวิจารณ์เกี่ยวกับความโชคไม่ดีทางการเมืองของพวกเขาก็มีความจำเป็นดังที่กล่าวเช่นกัน
ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วอาจเผยให้เห็นบางสิ่งบางอย่างรอบนอก มากกว่าใจกลางทางความคิดข้ามวัฒนธรรมของเกียวโตสคูล
อย่างน้อยที่สุด มันเป็นการเปิดตากว้างเอาไว้สำหรับผู้ที่พร้อมจะวิพากษ์วิจารณ์
และสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้
เราควรหมายเหตุลงไปด้วยว่า แม้ตอนที่ Nishida แสดงความแตกต่างอย่างกว้างๆ ระหว่าง"การมีอยู่(ภว)ของตะวันตก"(Western
being) กับ "การไม่มีอยู่(สุญญตา)ของตะวันออก"(Eastern Nothingness)
ในข้อเท็จจริง เขาดำเนินการสำรวจความแตกต่างทั้งหลายต่อไปทันที ระหว่างเส้นทางของกรีก,
โรมัน,และ จูดิโอ-คริสเตียนในขนบจารีตตะวันตก, และระหว่างแนวทางของอินเดีย, จีน,
และญี่ปุ่นของขนบจารีตตะวันออก
ถ้าหากว่าการทำให้เส้นทางเหล่านี้มีแก่นสารสำคัญหรือทำให้มันมีลักษณะทั่วไปของเขา ในหลายๆ แง่มุมยังคงมีปัญหา อย่างไรก็ตามมันแทบจะไม่ใช่กรณีที่เขาและบรรดานักคิดเกียวโตสคูลไม่เคยตั้งคำถาม หรือเกิดข้อสงสัยในความเป็นเนื้อเดียวกันของทั้ง"ตะวันออก" หรือ"ตะวันตก"
ประการต่อมา แม้ว่าเขาจะถูกกล่าวหาทั้งในเรื่องเกี่ยวกับการสนับสนุน"มายาคติในเรื่องลักษณะเฉพาะพิเศษของญี่ปุ่น" และเกี่ยวกับ"การพลิกกลับลัทธิบูรพนิยม"(Faure 1995), กรณีดังกล่าวมันไกลห่างจากความเรียบง่ายนี้ ในช่วงเวลาที่เกี่ยวกับการยกย่องตนเองทางวัฒนธรรม อย่างปราศจากการวิพากษ์บรรดานักชาตินิยมสุดขั้วชาวญี่ปุ่นในเรื่องพลังอำนาจ
Nishida กระตุ้นอย่างหาญกล้าว่า "ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของวัฒนธรรม เราควรที่จะเปิดกว้างและชี้แจงอย่างซื่อสัตย์ออกมา, สำหรับเราไม่สามารถที่จะยึดครองวัฒนธรรมหนึ่งใดมา และเรียกมันว่าวัฒนธรรมได้"(Nishida 1964, 351 and 353)
การต่อสู้ของสงครามทางความคิดดำรงอยู่สองแนวพร้อมกัน นั่นคือ แนวแรกเป็นการการต่อต้านตะวันตก และแนวทางที่สองเป็นการต่อต้านเผ่าพันธ์นิยมญี่ปุ่น. Nishida เขียนเอาไว้ว่า "กระทั่งบัดนี้ ชาวตะวันตกยังคิดว่า วัฒนธรรมของพวกเขาเป็นวัฒนธรรมที่เหนือกว่าวัฒนธรรมมนุษย์ทั้งปวงเท่าที่มีอยู่ และวัฒนธรรมของมนุษย์นั้นได้พัฒนาไปในทิศทางวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ - ต่อแต่นี้ไป ชาวตะวันออกและคนอื่นๆ ซึ่งกำลังก้าวตามหลังความก้าวหน้าที่ตรงไปข้างหน้า พวกเขาจะต้องกลายเป็นอย่างเดียวกันกับชาวตะวันตกทั้งมวล" แม้แต่ชาวญี่ปุ่นบางคน, ซึ่งเขารู้สึกเสียใจว่า คนเหล่านั้นก็คิดในแบบเดียวกันนี้
แต่กระนั้นก็ตาม เขาคัดค้านว่า, "มันมีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างกันโดยรากในวัฒนธรรมของตะวันออก" ตามความเห็นของ Nishida การพัฒนาของตะวันตกจะดูดกลืนความแตกต่างอันนี้ ไม่มากไปกว่าที่ตะวันออกก็จะผนึกรวมตะวันตกเข้ามา ถึงแม้ว่าความเป็นมนุษย์จะมีส่วนในรากเหง้าร่วมกันอันหนึ่ง แต่การพัฒนาเกี่ยวกับสาขาความรู้ต่างๆ ของมัน ควรต้องถูกทิ้งไว้เป็นสารัตถะหนึ่งของความหลากหลาย(diversification), ไม่ใช่การทำให้กลายกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน(homogenization)
ดังนั้น โลกาภิวัตน์ควรจะคิดถึง, วิสัยทัศน์ของ Nishida, ในฐานะกิ่งก้านจำนวนมากของต้นไม้ต้นเดียวกันที่มาเพิ่มเติมให้แก่กันและกัน บนพื้นฐานของทั้งความมีคุณลักษณะร่วมกันซึ่งมีรากหยั่งลึกของพวกเขา และความหลากหลายที่ไม่อาจลดทอนลงไปกว่านี้ได้ของพวกเขา
แน่นอน สำหรับเรายังคงมีคำถามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เกี่ยวกับ"ที่ทาง" ซึ่งการสื่อสารของโลกนี้ระหว่างวัฒนธรรมควรเกิดขึ้น. แต่ไม่ใช่"การมองจากสถานที่ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก" เราไม่อาจเพียงพยายามที่จะริเริ่มในเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์ความคิดต่างๆ ซึ่งมีวงศ์วานต่างๆ และพัฒนามันไปสู่สิ่งที่เป็นรูปแบบที่พัฒนาได้อย่างเป็นสากล. ในเวลาเดียวกัน ประชาธิปไตย, การตีความ, และอันที่จริงปรัชญาในตัวมันเอง มีสายสกุลทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ดังความคิดเกี่ยวกับ"สุญญตา", mu, และตัวตนที่แท้ในฐานะ"สภาวะที่ไร้อัตตา"(non-ego) ซึ่งเปิดตัวของมันเองสู่การเผชิญหน้ากับคนอื่นๆ โดยความว่างในตัวมันอย่างถึงราก
แต่อย่างไรก็ตาม ความคิดทั้งหมดเหล่านี้อาจช่วยส่งเสริมบางสิ่งได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่างวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวพันกับสถานที่อันแท้จริง ซึ่งการเผชิญหน้ากันระหว่างวัฒนธรรมและปัจเจกชนสามารถจะเกิดขึ้นมาได้ และควรที่จะเกิดขึ้น
ปรัชญาญี่ปุ่นในสังคมโลก
ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องของศูนย์กลางเผ่าพันธุ์ที่จำเป็นสำหรับบรรดานักคิดญี่ปุ่น
ในการเสนอถึงประสิทธิภาพอย่างมีศักยภาพของญี่ปุ่น และความคิดริเริ่มต่างๆ ของตะวันออกในการสนทนากันของโลกเกี่ยวกับปรัชญา.
"ปรัชญาญี่ปุ่น"ของเกียวโตสคูล ถูกทำความเข้าใจได้ดีที่สุด ในฐานะที่เป็นการสนับสนุนต่อการสนทนากันของโลก
ไม่ใช่ในฐานะความตรงข้ามในเชิงปฏิกริยาอันหนึ่งต่อศูนย์กลางยุโรปในเชิงปรัชญา.
ด้วยเหตุนี้ เราจึงจะต้องระมัดระวังว่า เราเข้าใจคำนาม"ปรัชญา"และคำขยาย"ญี่ปุ่น"อย่างไร
เมื่อเราพูดถึง"ปรัชญาญี่ปุ่น"
เกียวโตสคูลไม่เคยสงสัยว่า"ปรัชญา" ในความหมายแคบ คือผลิตผลทางวัฒนธรรมอันหนึ่งของตะวันตก แต่พวกเขายังตระหนักว่า มันคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของตะวันตก ซึ่งมีนัยะหรือความเกี่ยวพันต่างๆ กับลักษณะที่เป็นสากล. อันนี้ไม่ได้หมายความถึงว่า พวกเขาคิดว่าปรัชญาตะวันตกเป็นอิสระจากอคติต่างๆ ทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับและข้อจำกัดต่างๆ หรือที่ว่าความคิดในขนบจารีตตะวันออกไม่มีแก่นสารใดๆ มากพอที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางปรัชญาแก่โลกหลังยุคศูนย์กลางยุโรป. พวกเขาสำนึกและเข้าใจความแตกต่างระหว่างการมีศักยภาพ และความจริงเกี่ยวกับปรัชญา และงานเขียนต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่นของพวกเขา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ปรัชญามีความเป็นเรื่องทางโลกมากขึ้น
การศึกษาที่ให้ความกระจ่างชัดอันหนึ่ง เกี่ยวกับการถกเถียงกันรายรอบแนวคิดทางปรัชญาในญี่ปุ่น นับจากยุคเมจิเป็นต้นมา (1868-1912) John Maraldo ได้แยกความนึกคิดเกี่ยวกับ"ปรัชญาญี่ปุ่น"ที่ถูกใช้ออกเป็น 4 ความหมายและความเข้าใจ คือ
1. ปรัชญาตะวันตก มันเกิดขึ้นมาและถูกนำมาปฏิบัติโดยบรรดานักวิชาการตะวันตก
2. ความคิดตามขนบจารีตของญี่ปุ่น (ขงจื้อ, ความเชื่อพื้นเมือง, พุทธศาสนา ฯลฯ) ดังที่มันได้ถูกทำเป็นหลักการขึ้น ก่อนมีการนำเสนอปรัชญาตะวันตก
3. รูปแบบหนึ่งของการสืบค้นซึ่งมีระเบียบวิธีต่างๆและแนวทางที่เป็นของตะวันตกมาแต่ต้น อย่างไรก็ตาม มันสามารถที่จะได้รับการประยุกต์ใช้กับความคิดก่อนสมัยใหม่, ก่อนการทำให้เป็นตะวันตก และความคิดของญี่ปุ่น
4. ชนิดหนึ่งของการพลิกผันลัทธิบูรพนิยม ซึ่งยืนยันถึงความเหนือกว่าของวิธีคิดของญี่ปุ่น
โดยเฉพาะ Maraldo ให้เหตุผลสำหรับความงอกงามที่เหนือกว่าของความหมายประการที่ 3 ของแนวคิดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันได้ให้ความสนใจในเชิงตีความโดยตรง ต่อต้นกำเนิดต่างๆ ของกรีกเกี่ยวกับระเบียบวิธี และแนวทางปรัชญา ซึ่งโดยสาระแล้ว มักจะเป็น"เรื่องการสร้าง"เสมอ และผลิตผลของ"ปรัชญาญี่ปุ่น"จะต้อง"โจมตีดุลยภาพอันหนึ่งระหว่าง การอ่าน(ก่อน-นิยาม)ปรัชญา ใน[ขนบจารีตของญี่ปุ่น]ตำรับตำราต่างๆ กับ การอ่านในลักษณะทางเลือกที่หลุดพ้นไปจากมัน, ความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้นมาต่อ[ก่อน-นิยาม]ปรัชญานั้น[ของตะวันตก]" (Maraldo 2004, 238-44)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกียวโตสคูลสามารถถูกทำความเข้าใจว่า เริ่มต้นท้าทายปรัชญาที่หยิบยืมมาในเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์ เพื่อที่จะเป็นอิสระในการตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ ของตะวันตกก่อน - นิยามความหมาย
ใจความหนึ่งที่เขียนโดย Ueda ต่อปรัชญาของ Nishitani ได้เสนออย่างชัดแจ้งถึงคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณศัพท์"ญี่ปุ่น"(Japanese) ดังนี้: "ถ้าเราจะใช้คุณลักษณ์"ญี่ปุ่น", อันนี้ไม่เพียงบ่งถึงการมีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มันยังจะต้องถูกทำความเข้าใจในความหมายที่ว่า นั่นคือพื้นที่หนึ่งของความเป็นไปได้ในความเป็นสากลของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิม ซึ่งได้รับการตระหนักในเชิงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในญี่ปุ่น
เพราะฉะนั้น, "ยูโรเปียน"(European) จึงไม่ได้หมายถึงตรงๆว่า"โลก"(global) แต่ค่อนข้างจะเป็นพื้นที่หนึ่งของความเป็นไปได้ในความเป็นสากลของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิม ซึ่งถูกตระหนักและเข้าใจในเชิงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในยุโรป. ถ้าเผื่อว่าเราเข้าใจตัวของเราเองในฐานะการมีลักษณะเฉพาะของความเป็นสากลบางอย่าง(something universal) ฉะนั้น ในการสื่อสารกันระหว่างสิ่งเฉพาะกับสิ่งเฉพาะ(particular and particular) สามารถทำให้ความเป็นสากลบางอย่างได้รับการตระหนักและเข้าใจได้(Ueda 1996, 309)
ในข้อความย่อหน้านี้ ซึ่งรำลึกถึงวิสัยทัศน์ของ Nishida เกี่ยวกับการสื่อสารกันระหว่าง สาขาต่างๆ ที่ถูกกำหนดในลักษณะหลากหลายของ"บุพกาล-วัฒนธรรม"(ur-culture)ที่มีรากร่วมกันแบบคลุมเครือ(ไม่กำหนดแน่ชัด-ไม่เป็นสิ่งเฉพาะ), Ueda ได้ให้รอยทางแก่เราอันหนึ่งเกี่ยวกับว่า เราจะทำความเข้าใจการสนับสนุนการข้ามวัฒนธรรมของเกียวโตสคูลได้ดีที่สุดอย่างไร
พวกเขาคือนักปรัชญาที่พยายามอย่างหนัก ในการแสดงออกถึงความเป็นสากลบางอย่าง จากจุดยืนที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาพยายามที่จะลดทอนความเป็นสากลลงสู่การมีลักษณะเฉพาะของพวกเขา สำหรับอย่างหลังในทางกลับกันถูกทำความเข้าใจในฐานะการแสดงออกในสิ่งเฉพาะอันหนึ่งของบุพกาล-วัฒนธรรมของภาวะไร้รูป(formless ur-culture), ต้นตอที่คลุมเครือไม่กำหนดแน่ชัดของความเป็นไปได้ต่างๆ สำหรับปัจเจกและการกำหนดแน่ชัดทางวัฒนธรรม(cultural determination) กล่าวคือ ความไม่มีอยู่แต่ดั้งเดิม(originary Nothingness)[สุญญตาเดิม] ที่เราทั้งมวลต่างมีส่วนร่วม
ดังนั้น เกียวโตสคูลจึงนำเสนอเราด้วยชุดความรู้เฉพาะอันหนึ่ง
เกี่ยวกับความพยายามต่างๆ ที่จะทำให้รูปแบบทางปรัชญาไปสู่ต้นน้ำของภาวะไร้รูป
ของทั้ง"ความมีคุณลักษณะร่วมกัน"และ"ความมีลักษณะเฉพาะ"(commonality
and uniqueness)
(คำอธิบายนี้ นัยหนึ่งคือหลักการและความเข้าใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากเพลโต - Universal/Form,
Worldly/Particular)
ระดับที่บรรดานักคิดเกียวโตสคูลประสบความสำเร็จในการสืบค้นแบบปฏิทรรศน์ (ลักษณะที่ขัดแย้งกับความรู้สึกทั่วไป) อย่างกว้างๆ ทำให้รูปแบบทางปรัชญาไปสู่ภาวะไร้รูป(Formless) เป็นเรื่องที่สามารถถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันได้ มันไม่ง่ายเท่าใดนักที่จะปฏิเสธความจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับการค้นคว้าในตัวมันเอง. ถ้าหากว่าปรัชญาทุกวันนี้สุกงอม หรืองอกงามพ้นไปจากความหนุ่มแน่นของศูนย์กลางยุโรปของมัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้การค้นหานั้นลึกลงไปเกี่ยวกับความเป็นสากล โดยการเปิดกว้างมันอย่างถึงแก่นสู่ความหลากหลายของทัศนียภาพทางวัฒนธรรม
ถ้าเผื่อว่าความเป็นพหุนิยมทางวัฒนธรรม,
สำหรับส่วนหนึ่งของมัน, จะต้องหลีกเลี่ยงการตกลงไปสู่ทัศนียวิทยานิยมเชิงสัมพัทธ์(relativistic
perspectivism)[หมายถึง ข้อจำกัดในการมองจากปัจเจกเพียงลำพัง) มันจะต้องเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสมบูรณ์
มากกว่าการทอดทิ้งการค้นคว้าทางปรัชญาสำหรับความเป็นสากล. ในทุกๆกรณี เราควรจะเข้าใจความคิดของเกียวโตสคูล
ไม่ใช่ในฐานะเรื่องราวทางปรัชญาของญี่ปุ่น แต่ในฐานะการสนับสนุนส่งเสริมของญี่ปุ่นมากกว่า
สู่เนื้อหาเกี่ยวกับ - และอันที่จริงต่อการก่อตัวขึ้นมาอย่างแท้จริงของการชุมนุมแสดงความคิดเกี่ยวกับ
- การสนทนากันของโลกปรัชญา
++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกกลับไปอ่านเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง บทความลำดับที่ 959
บทคัดย่อนี้ เรียบเรียงมาจากงานของ
Bret W. Davis : Loyola College in Maryland
สำหรับผู้สนใจต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถคลิกไปอ่านได้ที่
http://plato.stanford.edu/entries/kyoto-school/
Bibliography
Works Cited
Abbreviations Used in this Article
- NKC Nishitani Keiji chosakushu [Collected Works of Nishitani Keiji], Tokyo: S?bunsha, 1986-95. (Volume numbers are given in Roman numerals.)
- NKZ Nishida Kitaro zenshu [Complete Works of Nishida Kitar?], Tokyo: Iwanami, 1987-89. (Volume numbers are given in Roman numerals.)
- THZ Tanabe Hajime zenshu [Complete Works of Tanabe Hajime], Tokyo: Chikuma Shob?, 1964. (Volume numbers are given in Roman numerals.)
- USS Ueda Shizuteru shu [Collected Writings of Ueda Shizuteru], Tokyo: Iwanami, 2002. (Volume numbers are given in Roman numerals.)
Other Kyoto School Works
- Abe, Masao, 1985, Zen
and Western Thought, William R. LaFleur (ed.), London: Macmillan Press (published
in North America by University of Hawaii Press).
- -----, 1990, "Kenotic
God and Dynamic Sunyata," in The Emptying God: A Buddhist-Jewish-Christian
Conversation with Masao Abe on God, Kenosis, and Sunyata, John B. Cobb, Jr.
and Christopher Ives (eds.), Maryknoll, New York: Orbis Books.
- -----, 1997, Zen and
Comparative Studies, Steven Heine (ed.), London: Macmillan Press (published
in North America by University of Hawaii Press).
- -----, 2003, Zen and
the Modern World, Steven Heine (ed.), Honolulu: University of Hawaii Press.
(Includes Abe's articles on Nishida.)
- Hisamatsu, Shin'ichi,
1960, "The Characteristics of Oriental Nothingness," Richard DeMartino
(trans.), Philosophical Studies of Japan 2: 65-97.
- -----, 2002, Critical
Sermons of the Zen Tradition, Christopher Ives and Tokiwa Gishin (ed. and
trans.), New York: Palgrave.
- Kuki, Sh?z?, 2004,
A Philosopher's Poetry and Poetics, Michael F. Marra (trans. and ed.), Honolulu:
University of Hawaii Press.
- -----, 2004, The Stucture
of Iki, in The Structure of Detachment: The Aesthetic Vision of Kuki Shuzo,
Hiroshi Nara (ed.), Honolulu: University of Hawaii Press.
- Nishida, Kitar?, 1958,
Intelligibility and the Philosophy of Nothingness, Robert Schinzinger (trans.),
Honolulu: East-West Center Press. (Contains translations of three important
essays.)
- -----, 1964, "The
Problem of Japanese Culture," Masao Abe (trans.), in Sources of Japanese
Tradition, Vol. 2, Ryusaku Tsunoda et al. (eds.), New York: Columbia University
Press.
- -----, 1970, Fundamental
Problems of Philosophy, David A. Dilworth (trans.), Tokyo: Sophia University
Press.
- -----, 1986, "The
Logic of Topos and the Religious Worldview," Michiko Yusa (trans.), The
Eastern Buddhist 19/2: 1-29 & 20/1: 81-119.
- -----, 1987, Intuition
and Reflection in Self-Consciousness, Valdo Viglielmo et al. (trans.), New
York, SUNY.
- -----, 1987, Last Writings:
Nothingness and the Religious Worldview, David A. Dilworth (trans.), Honolulu:
University of Hawaii Press. (Also contains introductory and critical essays
by the translator.)
- -----, 1990, An Inquiry
into the Good, Masao Abe and Christopher Ives (trans.), New Haven: Yale University
Press.
- -----, 1990, La culture
japonaise en question, Pierre Lavelle (trans.), Paris: Publications Orientalistes
de France.
- -----, 1999, Logik
des Ortes. Der Anfang der modernen Philosophie in Japan, Rolf Elberfeld (trans.),
Darmstadt: Wissenschaftliche Buchgesellschaft. (Contains translations of Nishida's
prefaces to his books and of three of his key essays.)
- -----, 1999, Logique
du lieu et vision religieuse de monde, Sugimura Yasuhiko and Sylvain Cardonnel
(trans.), Paris: Editions Osiris.
- -----, 2005, "General
Summary" from The System of Self-Consciousness of the Universal, in Robert
J. J., Wargo, The Logic of Nothingness: A Study of Nishida Kitaro, Honolulu:
University of Hawaii Press, pp. 186-216.
- Nishitani, Keiji, 1982,
Religion and Nothingness, Jan Van Bragt (trans.), Berkeley: University of
California Press.
- -----, 1984, "The
Standpoint of Zen," John C. Maraldo (trans.), The Eastern Buddhist 18/1:
1-26.
- -----, 1986, Was is
Religion?, Dora Fischer-Barnicol (trans.), Frankfurt: Insel Verlag.
- -----, 1990, The Self-Overcoming
of Nihilism, Graham Parkes with Setsuko Aihara (trans.), Albany: SUNY.
- -----, 1991, Nishida
Kitaro, Yamamoto Seisaku and James W. Heisig (trans.), Berkeley: University
of California Press.
- -----, 1999, "Emptiness
and Sameness," in Modern Japanese Aesthetics, Michele Marra (ed.), Honolulu:
University of Hawaii Press.
- -----, 1999, La religion
y la nada, Raquel Bouso Garc?a (trans.), Madrid: Ediciones Siruela.
- Takeuchi, Yoshinori,
1983, The Heart of Buddhism, James W. Heisig (ed. and trans.), New York: Crossroad.
- Tanabe, Hajime, 1959,
"Todesdialektik," in Martin Heidegger zum siebzigsten Geburtstag:
Festschrift, G?nther Neske (ed.), Pfullingen: Neske.
- -----, 1969, "The
Logic of Species as Dialectics," David Dilworth and Sat? Taira (trans.),
Monumenta Nipponica 24/3: 273-88.
- -----, 1986, Philosophy
as Metanoetics, Takeuchi Yoshinori (trans.), Berkeley: University of California
Press.
ท Ueda, Shizuteru, 1965, Die Gottesgeburt in der Seele und der Durchbruch
zu Gott. Die mystische Anthropologie Meister Eckharts und ihre Konfrontation
mit der Mystik des Zen Buddhismus. G?tersloh: G?tersloher Verlagshaus Gerd
Mohn.
- -----, 1989, "Eckhart
und Zen am Problem 'Freiheit und Sprache'," in Beihefte der Zeitschrift
fur Religions- und Geistesgeschichte 31, K?ln: E. J. Brill.
- -----, 1993, "Pure
Experience, Self-Awareness, 'Basho'," Etudes Phenomenologiques 18: 63-86.
- -----, 1995, "Nishida's
Thought," Jan Van Bragt (trans.), The Eastern Buddhist 28/1: 29-47.
- -----, 2004, Zen y
la filosofia, Raquel Bouso (ed.), Barcelona: Editorial Herder.
- Watsuji, Tetsur?, 1988,
Climate and Culture: A Philosophical Study, Geoffrey Bownas (trans.), New
York: Greenwood Press.
- -----, 1996, Watsuji Tetsuro's Rinrigaku: Ethics in Japan, Yamamoto Seisaku and Robert Carter (trans.), Albany: SUNY Press.
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 950 เรื่อง หนากว่า 15000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ข้อความบางส่วนจากบทความ
หนึ่งในนักวิชาการของเกียวโตสคูล
Minamoto ได้บันทึกเอาไว้ว่า "สิ่งสำคัญของเกียวโตสคูลก็คือ บรรดาผู้คนทั้งหลายที่ได้ทำการศึกษาขนบจารีตของตะวันออก
ทั้งๆ ที่พวกเขาทั้งหมดได้เรียนรู้มาจากตะวันตก ซึ่งนั่นเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ต่างๆ
ที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมแบบจารีตสู่การเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมตะวันตก"
แต่อย่างไรก็ตาม มันจะนำไปผิดทางหากว่าเราคิดว่า
เกียวโตสคูลเป็นเพียงการสวมหน้ากากเหตุผลของตะวันตกลงไปบนปัญญาญานในแบบสหัชญานของตะวันออก"เท่านั้น
( putting a Western rational mask over Eastern intuitive wisdom.)(สหัชญาน
: เป็นความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับเหตุผล หรือไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบขั้นตอน)
และจะไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วยหากจะคิดว่า พวกเขาเพียงใช้สำนวนต่างๆ ของปรัชญาตะวันตกและวิธีการทางความคิดดังกล่าว
เพื่อทำให้ความคิดพุทธศาสนาของเอเชียตะวันออก เป็นการแสดงออกสมัยใหม่
ภาพประกอบ : Nishida Kitaro
สำหรับชื่อ"เกียวโตสคูล" ตามข้อเท็จจริง กำเนิดจากภายนอก หรือกล่าวให้ชัดลงไป
มันมีกำเนิดจากชายขอบต่างๆ ของสกุลความคิดดังกล่าว. Tosaka Jun (1900-1945),
นักศึกษาคนหนึ่งของ Nishida และ Tanabe ได้คิดประดิษฐ์การแสดงออกทางความคิดดังกล่าวในปี
ค.ศ.1932 โดยการอ้างอิงถึง Nishida, Tanabe และ Miki Kiyoshi (1897-1945) ในฐานะที่เป็นตัวแทนโดยตั้งใจเกี่ยวกับใจความสรุปของ"ปรัชญาชนชั้นกลางในญี่ปุ่น"(bourgeois
philosophy in Japan)