The Midnight University
ชีวประวัติของสามัญชนคนทำสื่อ
ประวัติของคนทำสื่อที่หาญท้าทายทำเนียบขาว
: ไมเคิล มัวร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้
ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติและผลงานคนทำสื่อที่วิพากษ์สังคมและการเมืองในอเมริกา
รวมทั้งการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายตรงข้าม
ในฐานะสื่อมววลชนที่ปราศจากความเที่ยงธรรม
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 895
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
18.5 หน้ากระดาษ A4)
ประวัติของคนทำสื่อที่หาญท้าทายทำเนียบขาว
: ไมเคิล มัวร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประวัติ : ไมเคิล
มัวร์ (Michael Moore)
ไมเคิล มัวร์ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Stupid White Men เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน
1954 เขาเป็นทั้งผู้กำกับภาพยนตร์อเมริกัน นักเขียน และนักวิจารณ์สังคม และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสำหรับการเป็นคนที่พูดจาโผงผาง
ตรงไปตรงมา มีทัศนะวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ และบรรษัทขนาดใหญ่ รวมไปถึงความรุนแรงเกี่ยวกับการใช้ปืน
และการบริหารงานของประธานาธิบดี George W. Bush
เนื้อหาสำคัญของบทความ
1. ช่วงชีวิตวัยเด็ก (Early life)
2. ผลงานกำกับ (Directing)2.1 ภาพยนตร์ (Films)
2.2 รายการโชว์ต่างๆ ทางโทรทัศน์ (Television shows)
2.3 มิวสิควิดีโอ (Music videos)3. งานเขียนและทัศนะต่างๆ ทางการเมือง (Writings and political views)
4. การโต้แย้งและการวิจารณ์ (Controversy and criticism)4.1 สุนทรพจน์การรับรางวัลออสการ์ (Oscar acceptance speech)
4.2 การสร้างภาพต่างๆ เกี่ยวกับไมเคิล มัวร์ (Depictions of Moore)5. ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ (His work)
5.1 รายชื่อหนังสือต่างๆ (List of books)
5.2 รายชื่อภาพยนตร์ต่างๆ (List of films)
5.3 รายชื่อรายการทางทีวี (List of TV series)
1. ช่วงชีวิตวัยเด็ก
(Early life)
ไมเคิล มัวร์ เกิดที่เมือง Flint (อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเซ็นทรัลมิชิแกน
ใกล้กับเมืองดีทรอยท์) และเติบโตขึ้นในแถบชานเมือง Davison. ในช่วงเวลานั้น
Flint เป็นเมืองที่ตั้งของโรงงานต่างๆจำนวนมากของบริษัท General Motors ที่ซึ่งมารดาของเขาทำงานเป็นเลขานุการ
และทั้งพ่อของเขาและปู่เป็นคนงานผลิตรถยนต์. ลุงของเขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานคนงานผลิตรถยนต์(the
United Automobile Workers labor union) และมีส่วนร่วมในการก่อการสไตร์คที่มีชื่อเสียง
Flint Sit-Down Strike (เป็นการสไตร์คที่คนงานทั้งหลายปฏิเสธที่จะออกจากโรงงาน
จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหา)
มัวร์ เป็นชาวอเมริกันไอริช ได้รับการอบรมจากโบสถ์โรมันคาธอลิค และเข้าเรียนที่โรงเรียนศาสนา Diocesan เมื่อตอนอายุ 14 ปี ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม Divison High School ซึ่งที่นั่นเขาเป็นคนที่ค่อนข้างกระตือรือร้น ทั้งในด้านการแสดงและการโต้วาที สำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ.1972. ในปีเดียวกันนั้น เขาวิ่งเต้นเพื่อให้ได้ที่นั่งในคณะกรรมการโรงเรียน Davison บนพื้นฐานของความต้องการที่จะไล่ผู้อำนวยการของโรงเรียนมัธยม, John B Mckenna, และรองผู้อำนวยการของโรงเรียนนี้ออกไป และในช่วงสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการโรงเรียนของเขา ทั้งคู่ได้ยื่นใบลาออก
ไมเคิล มัวร์ ยังเป็นลูกเสือที่ได้รับการประดับเหรียญนกอินทรีด้วย(Eagle Scout) อันเนื่องมาจากเป็นผู้ประกอบคุณความดีมากมาย ลูกเสือที่ได้รับเหรียญดังกล่าวถือเป็นรางวัลสูงสุดของความเป็นลูกเสือในสหรัฐอเมริกา และเขายังคงมีความภาคภูมิใจมากต่อความสำเร็จอันนั้น. สำหรับโครงการซึ่งทำให้ได้รับเหรียญนกอินทรีของเขานั้น เพราะได้ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีที่ชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยที่หลากหลายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย และประเด็นปัญหาต่างๆ ภายในชุมชนของเขาเอง
มัวร์ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย ต่อมาภายหลังลาออกจากมหาวิทยาลัย Michigan-Flint (ที่ซึ่งเขากำลังร่ำเรียนวิชาเอกในด้านวรรณคดีเกี่ยวกับอิทธิพลของนวนิยาย และเขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์นักศึกษาชื่อว่า The Michigan Times). ช่วงอายุ 22 เขาได้ก่อตั้งนิตยสารทางเลือกรายสัปดาห์ฉบับหนึ่งขึ้น ชื่อว่า The Flint Voice, ซึ่งถัดจากนั้นไม่นานนักได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Michigan Voice. ในปี ค.ศ.1986 ช่วงที่มัวร์เป็นบรรณาธิการของ Mother Jones, อันเป็นนิตยสารทางการเมืองแนวเสรีนิยมฉบับหนึ่ง เขาได้ย้ายไปยังแคลิฟอร์เนีย และทำให้ the Voice ได้ถูกปิดตัวลง
ในปี ค.ศ.2003 the Star-Ledger ได้ตีพิมพ์ความเห็นชิ้นหนึ่ง โดย Paul Mulshine ที่ซึ่งเขาได้อ้างถึง Paul Berman ซึ่งพูดว่า มัวร์ได้ถูกไล่ออก, ตามมาด้วยความขัดแย้งกันชุดหนึ่งเกี่ยวกับคนในสต๊าฟฟ์ของนิตยสารดังกล่าว อันนี้รวมถึงการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการปฏิเสธของมัวร์ที่จะตีพิมพ์บทความชิ้นหนึ่งโดย Berman ที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างจืดๆ เกี่ยวกับบันทึกรายงานสิทธิมนุษยชนของแซนดินิสต้า งานชิ้นหนึ่งของนิตยสาร ก่อนการเข้ามาทำหน้าที่ของมัวร์
ภายหลังต่อมา มัวร์ได้ฟ้องร้องสำหรับการถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม และเรียกร้องเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญ. ท้ายที่สุด เขายอมรับเงิน 58,000 เหรียญ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าต้องใช้เป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการทำคดีจากบริษัทประกันของนิตยสารดังกล่าว. บางส่วนของเงินจำนวนนี้ เป็นทุนสำหรับโครงการภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาเรื่อง Roger and Me.
มัวร์ได้สมรสกับผู้สร้างภาพยนตร์ Kathleen Glynn (เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 1958 ที่เมือง Flint) นับตั้งแต่ปี 1990, พวกเขามีลูกสาวหนึ่งคน ชื่อว่า Natalie (เกิดปี 1981) ปัจจุบัน มัวร์และครอบครัวอาศัยอยู่ที่นิวยอร์คซิตี. สำหรับอาชีพการแสดงนั้น เขายังคงแสดงอยู่แต่ไม่จริงจังมากนัก เช่นแสดงบทบาทตัวประกอบในฐานะเด็กผู้ชายที่ชอบทำอะไรนอกลู่นอกทาง และเห็นด้วยที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่ได้รับการกุขึ้นมาโดย John Travolta และ Lisa Kudrow ในภาพยนตร์เรื่อง Lucky Numbers (2000)
2. ผลงานกำกับ
(Directing)
2.1 ด้านภาพยนตร์ (Films)
ภาพยนตร์เรื่อง Roger & Me:
ทำให้มัวร์เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาเป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก่อให้เกิดการถกเถียงกันมาก
เป็นสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่เมือง Flint, Michigan,
หลังจากบริษัท General Motor ได้ปิดโรงงานต่างๆ ของตนเองลง และไปเปิดทำการใหม่ยังประเทศเม็กซิโก
ซึ่งทำให้บรรดาคนงานของบริษัทตกงาน และได้รับการจ่ายค่าชดเชยน้อยมาก นับจากนั้นเป็นต้นมา
มัวร์ก็ได้เป็นที่รู้จักในฐานะนักวิจารณ์คนหนึ่ง เกี่ยวกับทัศนะเสรีนิยมใหม่ของโลกาภิวัตน์
สำหรับชื่อ Roger นั้นคือ Roger B. Smith, ซึ่งเป็น CEO และประธานคนก่อนของบริษัท General Motors. ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เป็นงานที่ทะเยอทะยานอย่างสุดๆ สำหรับคนบางคน ซึ่งไม่เคยร่ำเรียนมาทางด้านภาพยนตร์หรือทำงานเกี่ยวกับมันเลย ให้มามีความสนใจต่อวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์. ส่วนใหญ่แล้ว มัวร์ได้ถูกสอนมาทางด้านช่างเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ โดยนักถ่ายทำภาพยนตร์ของเขา Kevin Rafferty, ซึ่งค่อนข้างดูขัดๆ อย่างไรพิกลตรงที่ เขาผู้นี้เป็นญาติสายตรงของประธานาธิบดี George W. Bush
อิทธิพลของ Rafferty ซึ่งเป็นผู้กำกับร่วมในภาพยนตร์สารคดีคลาสสิกเรื่อง The Atomic Caf?, สามารถเห็นได้ในการแสดงท่าทีในเชิงเสียดสีเกี่ยวกับภาพประกอบเหตุการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งนำมาจากภาพยนตร์เกรด B ร่วมสมัย, ภาพจากโทรทัศน์เชิงพาณิชย์, และภาพยนตร์ข่าว, ซึ่งนับจากนั้นเป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นเครื่องหมายหรือลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาพยนตร์สารคดีต่างๆ ของเขา
เรื่อง
Canadian Bacon: ในปี ค.ศ. 1995 มัวร์ได้นำเสนอภาพยนตร์ในแนวเสียดสีอีกเรื่องหนึ่ง,
Canadian Bacon, เป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของประธานิธิบดีสหรัฐฯ
ที่ได้รับการเสกสรรค์ขึ้นมา (แสดงโดย Alan Alda) ซึ่งได้วางแผนก่อสงครามปลอมๆ
กับคานาดา เพื่อที่จะยกระดับความนิยมของตัวประธานาธิบดีเอง. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สารคดีเรื่องสุดท้ายของนักแสดงเชื้อสายคานาเดียน
John Candy
เรื่อง The Big One: ในปี ค.ศ. 1997, มัวร์ได้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้
ซึ่งเสริมด้วยการออกทัวร์โฆษณาหนังสือของเขาเรื่อง Downsize This! Random Threats
from an Unarmed American, ที่เขาได้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเลิกจ้างคนงานจำนวนมาก
ทั้งๆ ที่ในบันทึกรายงานด้านบัญชีของบริษัท ได้แสดงถึงการมีผลกำไรในการประกอบการ.
ท่ามกลางเรื่องราวบริษัทต่างๆ เขายังตั้งเป้าไปยัง Nike สำหรับการว่าจ้างผลิตรองเท้าในอินโดนีเซียด้วย
เรื่อง Bowling for Columbine: เป็นภาพยนตร์ในปี
2000 ของมัวร์ ซึ่งเป็นการสืบสวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมการใช้ปืนและความรุนแรงในรัฐต่างๆ
ของสหรัฐฯ. ภาพยนตร์เรื่อง Bowling for Columbine นี้ได้รางวัลประจำปีในงานมหกรรมภาพยนตร์ที่เมือง
Cannes และรางวัล France's Cesar Award ในฐานะภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม
ในสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์เรื่องเดียวกันนี้ได้รับรางวัล Academy Award ในปี
ค.ศ.2002 สำหรับภาพยนตร์แนวสารคดี. นอกจากนี้มันยังเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง
และในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ได้กลายเป็นภาพยนตร์สารคดีกระแสหลักที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่ง
(ปัจจุบันจากการบันทึกสำหรับภาพยนตร์แนวสารคดีที่ได้ครองตำแหน่งดังกล่าวคือเรื่อง
Fahrenheit 9/11 ของมัวร์นั่นเอง)
มันได้รับการยกย่องจากคนบางคน สำหรับการให้ความสว่างและความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกมองข้ามไป โดยสื่อกระแสหลักต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถูกโจมตีจากหลายๆ คนด้วยเช่นกัน ซึ่งอ้างว่ามันไม่มีความเที่ยงธรรม และน้อมนำไปสู่ความเข้าใจผิดในการนำเสนอ และค่อนข้างชี้แนะไปสู่การตีความเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง
เรื่อง
Fahrenheit 9/11:
เป็นการสำรวจอเมริกาถึงผลที่ตามมาเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 11 กันยา 2001 ซึ่งอเมริกาได้ถูกโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของ Bush และความเชื่อมโยงตามข้อกล่าวหาระหว่างครอบครัวของ
George W. Bush กับ Osama bin Laden
เรื่อง Fahrenheit 9/11 นี้ได้รับรางวัล the Palme d'Or, ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุดในมหกรรมภาพยนตร์ที่เมือง
Cannes; จัดว่าเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าวนับจากปี
ค.ศ.1956 เป็นต้นมา. ต่อมาภายหลัง มัวร์ได้ประกาศว่า ภาพยนตร์เรื่อง Fahrenheit
9/11 จะไม่อยู่ในการพิจารณาในฐานะภาพยนตร์สารคดี(Documentary Feature)ที่ได้รับรางวัล
Academy Award อีกต่อไป แต่มันจะได้รับรางวัล Academy Award ในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยม(Best
Picture)แทน.
เขากล่าวว่า เขาต้องการให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการดูโดยผู้ชมมากกว่า 2-3 ล้านคน, และอยากให้นำเสนอบนจอโทรทัศน์ในวันเลือกตั้งด้วย. น้อยกว่า 9 เดือนหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ มันถูกทำให้ขาดคุณสมบัติสำหรับรางวัล Oscar ประเภทภาพยนตร์สารคดี. มัวร์ยังคงกล่าวว่า เขาต้องการให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สนับสนุนเพื่อนร่วมทีมในภาพยนตร์แนวสารคดี(non-fiction film) แต่อย่างไรก็ตาม เรื่อง Fahrenheit 9/11 ก็ไม่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลออสการ์ในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
สำหรับชื่อเรื่องภาพยนตร์นั้น มีนัยพาดพิงถึงหนังสือคลาสสิกเล่มหนึ่งคือ Fahrenheit 451 (ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จในอนาคต ซึ่งสั่งห้ามจำหน่าย และเผาทำลายหนังสือไปเป็นจำนวนมาก เริ่มต้นที่อุณหภูมิ 451 องศาฟาห์เรนไฮท์) และชื่อรองของภาพยนตร์ก่อนการเผยแพร่ ยืนยันการพาดพิงถึง "อุณหภูมิดังกล่าวซึ่งเสรีภาพถูกเผาทิ้ง". รายได้จากการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์เรื่อง Fahrenheit 9/11 ยังทำเงินนำหน้าภาพยนตร์สารคดีเรื่องอื่นๆ ที่เคยมีมาก่อน คือเกือบ 200 ล้านเหรียญจากทั่วโลก อันนี้รวมทั้งค่าจำหน่ายตั๋วภายในสหรัฐเอง ซึ่งทำรายได้ถึง 120 ล้านเหรียญ
เรื่อง
Sicko (กำลังถ่ายทำ) :
ปัจจุบัน มัวร์กำลังทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของอเมริกัน
จากมุมมองทางด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้โฟกัสลงไปที่ระบบการจัดการและอุตสาหกรรมทางด้านเภสัชกรรม
ภายใต้หัวข้อการทำงานว่า Sicko. สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ อย่างน้อยที่สุด ทำให้บริษัทเภสัชกรรมยักษ์ใหญ่
2 บริษัท, Pfizer และ GlaxoSmithKline, ได้สั่งพนักงงานทั้งหลายไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ
กับมัวร์
เรื่อง Fahrenheit 9/11? (pre-production) : วันที่
11 พฤศจิกายน 2004 มัวร์ได้บอกกับฮอล์ลีวูดในโฆษณาของนิตยสาร Daily Variety
ว่า เขากำลังวางแผนที่จะทำภาพยนตร์เรื่อง Fahrenheit 9/11 ภาคต่อไป. เขากล่าวว่า
"51 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันขาดเสียซึ่งข่าวสารข้อมูล(ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา)
และเราต้องให้การศึกษาและความรู้กับพวกเขา. พวกเขาจะต้องได้รับการบอกความจริง.
พวกเราเป็นนักสื่อสารมวลชน และมันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเริ่มทำมันเดี๋ยวนี้"
ภาคต่อมาของภาพยนตร์ ก็คล้ายๆกับเรื่องเดิม คือได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับสงครามในอิรัก
และลัทธิการก่อการร้าย. มัวร์คาดหวังว่าเรื่อง Fahrenheit 9/11? จะเสร็จสมบูรณ์ในปี
2006 หรือ 2007
2.2 รายการโชว์ต่างๆ
ทางโทรทัศน์ (Television shows)
ในระหว่างปี ค.ศ.1994 และ 1995 เขาได้กำกับและเป็นเจ้าของรายการทางโทรทัศน์ชุด
TV Nation, ซึ่งดำเนินการตามแบบฉบับของนิตยสารข่าว แต่ครอบคลุมเรื่องราวและหัวข้อต่างๆ
ที่บรรดานิตยสารเหล่านั้นพยายามหลีกเลี่ยงการนำเสนอ. รายการโทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการออกอากาศผ่านทาง
NBC ในปี ค.ศ.1994 ซึ่งมีด้วยกัน 9 ตอน และอีกครั้งหนึ่งสำหรับ 8 ตอนทางสถานี
FOX ในปี ค.ศ.1995
ส่วนรายการทางโทรทัศน์ชุดอื่นๆของเขาคือ The Awful Truth เป็นการแสดงในเชิงเสียดสีและเยาะหยันบรรษัทขนาดใหญ่ต่างๆ และบรรดานักการเมืองระดับบิ๊ก ซึ่งได้รับการถ่ายทอดในปี ค.ศ.1999 และ 2000
รายการทางโทรทัศน์อีกชุดในปี 1999 คือ "รายการสดไมเคิล มัวร์"(Michael Moors Live)ได้รับการออกอากาศในประเทศอังกฤษที่สถานีช่อง 4 รายการดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดมาจากนิวยอร์คโดยตรง. การแสดงนี้มีแบบฉบับที่คล้ายคลึงกับ The Awful Truth แต่เชื่อมกันกับการให้ผู้ชมรายการสามารถโทรศัพท์เข้ามาได้ และค่อนข้างครึกโครมและสนทนากันสดๆ ในแต่ละสัปดาห์. การแสดงนี้เริ่มขึ้นในช่วงกลางวันตามเวลาท้องถิ่น แต่เนื่องจากเส้นแบ่งเวลาที่แตกต่างกัน มันจึงกลายไปเป็นการแสดงโชว์ในช่วงดึกของประเทศอังกฤษ
ในปี 1999 มัวร์ได้รับรางวัลศิลปะและบันเทิงที่ชื่อว่า the Hugh M. Hefner First Amendment Award in Arts and Entertainment, สำหรับผู้บริหารการผลิตและเจ้าของรายการ The Awful Truth, ซึ่งเขาได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นนักขุดคุ้ยเรื่องสกปรกต่างๆ, และในฐานะนักเขียน และนักสร้างภาพยนตร์สารคดี
2.3 มิวสิควิดีโอ
(Music videos)
มัวร์ได้กำกับมิวสิกวิดีโออีกหลายชุด รวมถึงมิวสิกวิดีโอ 2 ชุดสำหรับ Rage
Against the Machine สำหรับเพลงต่างๆจาก ""The Battle of Los Angeles":
"Sleep Now in the Fire" and "Testify". เขาได้รับการข่มขู่ว่าจะถูกจับกุมในช่วงระหว่างการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเกี่ยวกับ
""Sleep Now in the Fire", ซึ่งมีการถ่ายทำที่ Wall Street;
เทศบาลกรุงนิวยอร์คปฏิเสธไม่อนุญาตให้วงดนตรีของเขาแสดง ณ ที่นั้น แม้ว่าวงดนตรีดังกล่าวและมัวร์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกลางให้จัดการแสดงได้ก็ตาม
เขายังได้กำกับรายการมิวสิกวิดีโอสำหรับ System of a Down's "Boom!" และ "All the Way to Reno" จาก R.E.M. ด้วย
3. งานเขียนและทัศนะต่างๆ
ทางการเมือง (Writings and political views)
ไมเคิล มัวร์ ถ่ายภาพของตัวเองบนปกหนังสือ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาหนังสือที่ขายดีจำนวนมากของเขาคือ
Stupid White Men. มัวร์เป็นผู้เขียนหนังสือขายดี 3 เล่ม คือ
1. Downsize This! (1996), เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและอาชญากรรมบรรษัทในสหรัฐอเมริกา
2. Stupid White Men (2001), เป็นการวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายภายในประเทศ และต่างประเทศของอเมริกา
3. Dude, Where's My Country? (2003), เป็นการสำรวจตรวจตราความสัมพันธ์ต่างๆ ของครอบครัว Bush กับราชวงศ์
ซาอุดิอาราเบีย, ครอบครัวของ Bin Laden, และอุตสาหกรรมด้านพลังงาน, และการเรียกร้องเสรีภาพในการเลือกตั้ง 2004
หลังจากที่มัวร์แยกตัวจากนิตยสาร Mother Jones เขาได้กลายเป็นลูกจ้างคนหนึ่งของ Ralph Nader. อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งการว่าจ้างของ Nader ไปในช่วงที่เลวร้าย แต่มัวร์ได้ให้การสนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของ Nader จนเสียงแห้งสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2000
การแลกเปลี่ยนในรายการโชว์ "traveling mosh pit," Alan Keyes จาก Republican ชนะการรับรองของรายการ The Awful Truth ในปี 2000 ของมัวร์ แม้ว่ามัวร์ไม่ได้รับรองหรือให้การสนับสนุนทัศนะต่างๆของ Keyes ก็ตาม
มัวร์กลายเป็นสมาชิกตลอดชีวิตคนหนึ่งของสมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติ(the National Rifle Association) หลังจากมีการฆ่าหมู่ในโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์(the Columbine High School Massacre). เขาได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า เจตนาของเขาที่เข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคมปืนไรเฟิล ก็เพื่อจะลุ้นตำแหน่งประธานขององค์กรดังกล่าว และจะรื้อถอนมันออกเป็นชิ้นๆ หลังจากได้รับชัยชนะ
ในการเลือกตั้งปี ค.ศ.2004 มัวร์เปลี่ยนใจเกี่ยวกับตัวของ Nader และกระตุ้นเขาไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ไปตัดเสียง liberal vote และปล่อยให้ George Bush เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง. (มัวร์ได้ไปร่วมกับ Bill Maher ในรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของฝ่ายหลังนี้ โดยคุกเข่าต่อหน้า Nader เพื่อขอร้องกับเขาให้ออกจากการชิงชัย)
ถึงแม้ว่ามัวร์จะอ้างว่าเขาไม่ใช่พวก Democrat (แม้ว่าเขาจะลงทะเบียนสังกัดในฐานะที่เป็น Democrat ในปี 1992), วันที่ 14 มกราคม มัวร์ให้การรับรองนายพล Wesley Clark สำหรับการเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทน Democrat. มัวร์ได้ดึงความสนใจตอนที่เขากล่าวหากับสาธารณชนว่า Bush เป็นคนที่หนีทัพ ช่วงระหว่างที่รับใช้ในกองกำลังรักษาดินแดน(the National guard) (ผู้สนใจในประเด็นนี้สามารถหาอ่านได้ในหัวข้อ George W. Bush military service controversy)
มัวร์เป็นแขกพิเศษที่มีคนสนใจในการประชุมระดับชาติของพรรค Democrat ในปี 2004, ที่นั่งสำคัญของเขาถูกจัดอยู่ในบ็อกซ์เดียวกับอดีตประธานาธิบดี Jimmy Carter และภรรยา. มัวร์ยังได้เข้าร่วมการประชุมระดับชาติของพรรค Republican ในปี 2004 ด้วย ที่นั่นเขาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ (และโห่ไล่ทันทีจากผู้ร่วมชุมนุม) ในการกล่าวสุนทรพจน์ของวุฒิสมาชิก John McCain แห่งพรรค Republican ซึ่งกล่าวถึงมัวร์ในฐานะ "นักสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ตรงไปตรงมา". มัวร์ยังเขียนคอลัมน์เป็นประจำในลักษณะจดหมายแสดงความประทับใจต่างๆ ของเขาเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา
ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม
2004, มัวร์ได้เดินทางไปพูดที่วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ข้ามไปข้ามระหว่างรัฐ
ในช่วงการรณรงค์ที่เรียกว่า "Slacker Uprising Tour"(เป็นการออกทัวร์เพื่อกระตุ้นเร้าพวกที่ไม่สนใจทางการเมือง
ให้เข้ามามีส่วนร่วม)
(คำว่า Slacker [ส่วนใหญ่ในอเมริกา] หมายถึง คนหนุ่มสาวที่สังกัดอยู่กับวัฒนธรรมกระแสรอง
ซึ่งไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องอะไร และเป็นพวกที่ไร้จุดมุ่งหมาย [Concise Oxford
dictionary - Tenth Edition])
ไมเคิล มัวร์ ได้พูดที่ the Carrier Dome ณ มหาวิทยาลัย Syracuse ว่า การเดินทางเพื่อออกทัวร์ดังกล่าว จะมีการแจกบะหมี่ราเมนและเสื้อกางเกงชั้นใน ให้กับคนที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไปออกเสียงเลือกตั้ง. คำพูดนี้ได้ก่อให้เกิดการตำหนิของสาธารณชนจากพลพรรค Republican ที่ Michigan และพยายามที่จะทำให้รัฐบาลเชื่อว่า มัวร์สมควรที่จะถูกจับกุมสำหรับการซื้อเสียง แต่อย่างไรก็ตาม มัวร์ไม่เคยบอกกับบรรดาผู้คนเหล่านั้น(slacker) เกี่ยวกับว่าไปออกเสียงลงคะแนนให้ใคร บรรดาอัยการท้องจึงต่างปฏิเสธที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้
ทัวร์เสื้อกางเกงชั้นใน(The Underwear tour)ถือว่าประสบความสำเร็จและค่อนข้างป๊อปปูล่าร์ครั้งหนึ่ง เพราะทำให้บรรดาคนหนุ่มสาวจำนวนมากไปลงทะเบียนพร้อมที่จะลงคะแนนเลือกตั้ง และโดยออกเสียงด้วยเปอร์เซนต์ที่สูงให้กับ John Kerry (Kerry 54%, Bush 44%). แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วในภาพรวม ผู้ที่ไปลงคะแนนมั่นใจว่าเปอร์เซนต์ของคนหนุ่งสาวที่ไปลงคะแนนเสียง มีความแตกตางเพียงเล็กน้อยกว่าในปี 2000 แม้ว่าระดับตัวเลขจะสูงกว่าก็ตาม. John Kerry ในท้ายที่สุดได้รับชัยชนะในรัฐ Michigan อยู่ 3%
เป็นไปได้มากที่การถกเถียงส่วนใหญ่ได้ยุติลงระหว่างการออกทัวร์ดังกล่าวที่วิทยาลัย Utah Valley State College in Orem, Utah. การต่อสู้เพื่อสิทธิของเขาที่จะพูดได้รับการรับรองและยังผลให้สาธารณชนจำนวนมากโต้เถียงกัน รวมทั้งสื่อต่างๆ ได้ออกมาโจมตีอย่างตั้งตัวไม่ติด. การขู่ฆ่า, การเสนอให้สินบน, และการฟ้องร้องดำเนินคดีต่างๆ ติดตามมา. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ได้รับการบันทึกมาตามลำดับในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง This Divided State. หลังการเลือกตั้งปี 2004 ฝ่านไป มัวร์ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสงครามในอิรักต่อมา และรวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล Bush ด้วย
4. การโต้เถียงและการวิจารณ์
(Controversy and criticism)
โดยทั้งหมดของงานที่มัวร์ทำ ค่อนข้างเป็นที่ดึงดูดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และคำชมเชยจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ของเขาเรื่อง Fahrenheit
9/11 ในปี ค.ศ. 2004 ขณะที่มันได้สะสมคำวิจารณ์และข้อคิดเห็นในเชิงชื่นชมทั่วๆ
ไปจากบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์ทั้งหลาย และรางวัลที่ตามมาจำนวนมาก, ในด้านตรงข้าม
คนที่เป็นปฏิปักษ์บางคนอธิบายว่า ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเป็นการวาดภาพรัฐบาลสหรัฐฯ
ในลักษณะที่หลอกลวง ไม่เป็นความจริง และไม่เที่ยงธรรม. มัวร์ได้จัดตั้งวอร์รูม(war
room - ห้องที่ใช้ในการวางแผนตัดสินใจดำเนินการทางยุทธวิธี) เพื่อสนับสนุนเนื้อหาในภาพยนตร์
Fahrenheit 9/11 และตอบโต้ต่อการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
ข้อกล่าวหาที่คล้ายๆ กันเกี่ยวกับการตัดต่อที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ฉากต่างๆ ที่จัดขึ้นและบทภาพยนตร์ หรือการปรับเปลี่ยนเจตจำนงเดิมๆ ของผู้พูดในวิดีโอได้ถูกทำขึ้นมาเอง อันนี้คือการวิเคราะห์ของบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง Bowling for Columbine. ในเรื่อง Bowling for Columbine, บนจอภาพยนตร์ ข้อความได้ถูปปรับแก้ในการโฆษณารณรงค์หาเสียง Bush-Quayle ตามข้อกล่าวหาคือ ได้มีการนำเอาภาพประกอบ ที่ตัดต่อเข้ามาจากการโฆษณาที่ไม่ใช่เรื่องการรณรงค์หาเสียง ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้มันดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของพวกเหยียดเชื้อชาติ. มัวร์ปฏิเสธว่า อันนี้ไม่ได้ถูกทำในภาพยนตร์ แต่เขายอมรับว่าเป็นการทำให้มันถูกต้องขึ้นตามตัวบทเล็กน้อย สำหรับการเผยแพร่ในรูปของ DVD
Ray Bradbury ได้กล่าวหาเกี่ยวกับการปรับแก้ของมัวร์เกี่ยวกับชื่อเรื่อง Fahrenheit 451ของเขาว่า ทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรียกเขาว่า"ไอ้ตูด" แต่อย่างไรก็ตาม การอนุญาตดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นใดๆ ทางกฎหมาย เพราะตัวของ Bradbury เอง ก็คือนักประพันธ์หนังสือหลายเล่ม ซึ่งชื่อหนังสือต่างๆ ของเขาก็หยิบยิมมาจากงานต่างๆ โดยนักเขียนคนอื่นๆ เช่นกัน. มัวร์ตอบโต้โดยกล่าวว่า Fahrenheit 451 เป็นระดับอุณหภูมิซึ่งกระดาษจะเผาไหม้ แต่ Fahrenheit 9/11 เป็นอุณหภูมิซึ่งอิสรภาพของผู้คนถูกเผาไหม้
ด้วยความสำเร็จของมัวร์
จึงมีงานบางชิ้นวิพากษ์วิจารณ์หนังสือและภาพยนตร์ต่างๆ ของเขา อันนี้รวมทั้งภาพยนตร์อย่างเช่น
Michael Moore Hates America, Celsius 41.11, and FahrenHYPE 9/11.
สไตล์ภาพยนตร์สารคดีของมัวร์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยาก และสลับซับซ้อน
มีรูปแบบคล้ายๆ กับความเรียง มันดูเหมือนตัวของมัวร์เองและความคิดเห็นของเขา
มากเท่ากับที่พวกมันเกี่ยวข้องกับเรื่องราวในฐานะที่เป็นหัวใจของภาพยนตร์ อันนี้คือคำวิจารณ์
ซึ่งบ่งถึงความมีศักยภาพมากกว่าบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีในแนวจารีตทั้งหลาย
ที่ชื่นชอบสไตล์ของการสังเกตกาณ์มากกว่า ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ยังคงหลบซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังภาพยนตร์
สำหรับรูปแบบความเรียงของภาพยนตร์สารคดีขนาดยาว(feature-length, หมายถึงประมาณ 90 นาทีหรือมากกว่านั้น) ได้รับการบุกเบิกโดย Nick Broomfield และได้ถูกรับเอามาใช้โดยบรรดานักสร้างภาพยนตร์สารคดีทั้งหลาย อาทิเช่น Louis Theroux, ซึ่งตัวของเขาเองทำงานกับมัวร์ในเรื่อง Michael Moore's TV Nation.
สไตล์ของมัวร์ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนเหล่านั้นที่อ้างว่า เมื่อตอนสร้างภาพยนตร์ต่างๆ นั้น เขาได้ตัดต่อและเรียงลำดับเหตุการณ์ใหม่อย่างไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะบิดเบือนหรือปรับเปลี่ยนถ้อยคำทั้งหลายของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์. Dave Kopel ได้ทำการรวบรวมรายงานอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความลวงที่ถูกกล่าวหาในภาพยนตร์เรื่อง Fahrenheit 9/11, และ Christopher Hitchens แห่ง slate.com ได้รวบรวมรายงานต่างๆ ในทำนองเดียวกันนี้ด้วย
น้ำเสียงในลักษณะถากถางของการวิจารณ์เหล่านั้น ได้ชักนำให้บทความต่างๆ ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านตรงข้ามจาก OpEdNews.com พรั่งพรูออกมาอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น Deception; Desperate Right Wing Attacks on Fahrenheit 9/11 และบทความเรื่อง How Many Lies Can Christopher Hitchens Tell? เช่นเดียวกับบทความของ eFilmCritic เรื่อง Defending Truth อันเป็นงานเขียนของ Chris Hitchens แห่ง Slate ที่โจมตีอย่างรุนแรงต่อไมเคิล มัวร์ และบทบรรณาธิการ Columbus Free Press.
คริสเตียนอีแวนเจลิคอล(ซึ่งเชื่อในพระคัมภีร์ไบเบิล)สายอนุรักษ์นิยม กลุ่มที่ให้ความสนใจในด้านครอบครัว กระตุ้นให้มีการเขียนจดหมายเพื่อเป็นการรณรงค์โดยตรงไปยังไมเคิล มัวร์ และตีพิมพ์บ้านเลขที่ของเขาในจดหมายข่าวเดือนกรกฎาคม 2004
ในวันที่ 12 กันยายน 2001 หนึ่งวันหลังจากเหตุการณ์วันที่ 11 กันยา ซึ่งผู้ก่อการร้ายได้โจมตีนิวยอร์คซิตี และวอชิงตัน ดีซี, ไมเคิล มัวร์ได้โพสท์ข้อความหนึ่งลงในเว็บไซต์ของเขา ซึ่งรวมเอาย่อหน้าที่ว่า (เรียบเรียงปรับปรุงมาจากข้อความในเว็บไซต์) : "หลายต่อหลายครอบครัว ได้ถูกทำลายล้างวันนี้ อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและยุติธรรมเลย พวกเขาไม่สมควรตายหรือต้องสูญเสียใดๆ ถ้าใครก็ตาม ซึ่งเป็นผู้กระทำการอันนี้เพื่อหวังว่าเป็นการโต้ตอบกับ Bush พวกเขากำลังกระทำเช่นนั้นโดยการฆ่าคนนับเป็นพันๆ ซึ่งไม่ได้ออกเสียงให้กับ Bush." "Boston, New York, DC, และจุดหมายปลายทางของเครื่องบินที่ California - เหล่านี้คือพื้นที่ที่ลงคะแนนเสียงต่อต้าน Bush!"
ข้อความดังกล่าวถูกตีความโดยนักวิจารณ์บางคนว่า มัวร์กำลังแสดงนัยถึงการโจมตีต่อพื้นที่ต่างๆ ที่ลงคะแนนเสียงให้กับ Bush ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลกว่า. บรรดานักวิจารณ์กลุ่มเดียวกันนี้ได้ชี้ถึงว่า ณ ช่วงเวลาที่ผู้คนอเมริกัน รวมถึงพรรคการเมืองใหญ่ทั้งคู่ กำลังรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวดำเนินรอยตามการโจมตีต่างๆ อันนั้น, มัวร์ยังคงโฟกัสลงไปบนการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งของปี 2000
สำหรับเรื่องที่มีการถกเถียงกันเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งรายรอบข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นสาธารณะของไมเคิล มัวร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อจลาจลและผู้ก่อการร้ายต่างๆในอิรัก. ในบันทึกความทรงจำที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ส่วนตัวของเขา มัวร์กล่าวว่า "บรรดาชาวอิรักซึ่งลุกขึ้นมาต่อสู้กับการยึดครอง ไม่ใช่การก่อจลาจล หรือเป็นพวกผู้ก่อการร้าย หรือเป็นศัตรู. พวกเขาเป็นนักปฏิวัติ, เป็นทหารชาวบ้าน, และจำนวนของพวกเขาจะงอกเงยขึ้น - และท้ายที่สุดพวกเขาจะได้รับชัยชนะ, จงยอมรับการลงโทษนั้น, Mr.Bush?"
ในหนังสือของพวกฝ่ายตรงข้ามเรื่อง Michael Moore Is a Big Fat Stupid White Man, David T. Hardy และ Jason Clarke ได้วิจารณ์มัวร์, ดังที่พวกเขากล่าวหาว่า, เป็นคนเท็จ ไม่พูดความจริงในงานภาพยนตร์ของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาดพิงถึง Bowling for Columbine (ภาพยนตร์ที่เผยแพร่ก่อน Fahrenheit 9/11). การกล่าวหาของพวกเขาคือว่า ส่วนใหญ่แล้ว มัวร์ได้รวบรวมคำสัมภาษณ์ต่างๆ และสุนทรพจน์ที่ได้มีการตัดต่ออย่างขนานใหญ่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ในเชิงลบขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และได้วาดพร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือความจริงต่างๆ อันเป็นเท็จ
ในหนังสือเล่มหนึ่งเรื่อง Do As I Say (Not As I Do): Profiles in Liberal Hypocrisy, Schweizer ได้รวบรวมการขอคืนภาษีของมัวร์ ที่แสดงให้เห็นว่า มัวร์และภรรยาได้ตกอยู่ในการควบคุมของบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้น ท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น เช่น Halliburton. มัวร์กล่าวใน C-SPAN ว่า, "ไมเคิล มัวร์เป็นเจ้าของหุ้น Halliburton หรือ? ฟังดู นั่นมันคือคำโกหกที่น่าขบขันมาก ผมรู้ว่ามันไม่เป็นความจริง - หมายความว่า - ใครจะไปเชื่อเรื่องแบบนั้น? มีแต่คนที่สติฟั่นเฟือนที่เชื่อมัน - คนที่จิตวิปริตซึ่งปรับไปดูโทรทัศน์ Fox News Channel"
ในปี 2004, มัวร์ได้โยกย้ายโฉนดที่ดินต่างๆ ของบ้านที่นิวยอร์คซิตีของเขาไปเป็นบริษัทส่วนตัว ซึ่งได้รับการก่อรูปขึ้นเพื่อความมุ่งหมายอันนี้โดยเฉพาะ. แม้ว่าเหตุผลดังกล่าวสำหรับเขาที่กระทำการนี้ไม่เคยได้รับการชี้ชัด แต่มันเป็นวิธีการธรรมดาๆ อันหนึ่งของความพยายามลดภาษีทรัพย์สินต่างๆ. เรื่องดังกล่าวนั้น มัวร์มักจะมีการนำเสนออยู่บ่อยๆ ว่า คนรวยควรจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่า, นักวิจารณ์ทั้งหลายรวมถึงเว็บไซต์ต่างๆ อย่างเช่น MooreWatch, ได้กล่าวหาเขาเกี่ยวกับการเป็นคนปลิ้นปล้อนหลอกลวง ในการกะทำข้างต้น
บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายยังบันทึกว่า เขาบ่งบอกตัวของเขาเองว่าเป็นคนที่มาจาก Flint, และใช้ Flint เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเขา และลงชื่อในอีเมล์ต่างๆ ว่า "The Man from Flint" รวมทั้งและกล่าวถึงชื่อเมืองดังกล่าวในบทนำต่างๆ ของหนังสือที่เขาเขียน. นักวิจารณ์เหล่านี้ อย่างเช่นในหนังสือของ Hardy และ Clarke เช่นเดียวกับ Peter Schweizer ได้นำเสนอว่า Davison, เพื่อนในวัยเด็กของเขาเป็นชุมชนของชนชั้นกลาง ซึ่งมีอัตราการจ้างงานสูงกว่าและมีรายได้สูงกว่าส่วนอื่นๆในละแวกเดียวกัน ซึ่งค่อนข้างตรงข้ามกับสถานะของชนชั้นล่างส่วนใหญ่ของ Flint
แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพวกที่ปฏิเสธคำวิจารณ์นี้โต้ว่า ลักษณะที่ขัดแย้งของมัวร์ในการพูดถึงบ้านเกิด เขาพูดถึงการโตขึ้นมาใน Davison ในนิตยสาร Flint Voice ปี 1982, เช่นเดียวกับการชี้ถึงบริเวณที่ใกล้เคียงกับ Davison ดังที่ Davison เป็นชานเมืองหนึ่งในระยะ 10 ไมล์จาก Flint.
มากยิ่งไปกว่านั้น สำหรับ DVD ของเขาเกี่ยวกับเรื่อง The Awful Truth (1998), เขาได้ใส่หมวกทีมเบสบอลล์ Davison High School ซึ่งเป็นรูปซึ่งอยู่ที่ปกนอกของแผ่น DVD สำหรับชุดที่สอง. ชี้ถึงตัวอักษร D สีทองบนหมวกสีน้ำตาลแดง อันเป็นสีต่างๆของโรงเรียน Davison ซึ่งประกอบด้วยสีทองกับน้ำตาลแดง และมันคล้ายคลึงกับตัวอักษร D สีขาวบนหมวกสีน้ำเงินที่ถูกสวมใส่โดย Major League Baseball's Detroit Tigers, ซึ่งได้รับการสวมใส่โดยมัวร์ด้วย แต่บนกล่อง DVD สำหรับเรื่อง The Awful Truth ในชุดแรก ในตัวเนื้อหาของ DVD เอง, เขายังใส่หมวกดังกล่าว และใน DVD สารคดีแสดงความคิดเห็น เขากล่าวถึงมันว่าเป็นหมวกสีแดง Davison Cardinals อันเป็นสัญลักษณ์นำโชคของ Davison High School
นอกจากนี้ยังมีบันทึกด้วยว่า Davison เป็นชุมชนเมืองหอพัก(bedroom community) โดยผู้คนส่วนใหญ่ของเมืองเป็นคนทำงานชนชั้นกลางที่มาจากเมืองใกล้ๆ กันกับ Flint ที่เดินทางไปๆมาๆ (ในทางประวัติศาสตร์ มีการจ้างงานของบริษัท GM) และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานะทางเศรษฐกิจของ Flint. ทั้ง Flint และ Davison อยู่ใน Genesee County, Michigan, ซึ่ง Flint คือที่ตั้งของเขตดังกล่าว
แม้ว่าการโต้เถียงจะเกิดขึ้นล้อมรอบมัวร์และงานของเขา แต่เขาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในด้านการวิจารณ์และทางการเงินสูง ในฐานะนักสร้างภาพยนตร์และนักเขียน ภาพยนตร์หลายเรื่องของเขา เช่น Bowling for Columbine และ Fahrenheit 9/11 ออกโรงครั้งแรกในฐานะภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวที่แจ่มชัดที่สุด ไม่มีดนตรีประกอบ อย่างที่ไม่มียุคใดเคยทำมาก่อน
Bowling for Columbine ชนะรางวัลออสการ์สำหรับภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม เช่นเดียวกับการที่คณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ที่เมือง Cannes มีมติเอกฉันท์ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รางวัล Grand Jury Prize, และเรื่อง Fahrenheit 9/11 ได้รางวัล the People's Choice Award ในฐานะ Favorite Motion Picture (อันเป็นเกียรติที่ไม่มีใครเคยได้รับมาก่อนสำหรับภาพยนตร์สารคดี), เช่นเดียวกับ the Palme d'Or Best Picture ณ มหกรรมภาพยนตร์ที่เมืองคานนส์
4.1 สุนทรพจน์การรับรางวัลออสการ์
(Oscar acceptance speech)
เมื่อตอนที่มัวร์รับรางวัลออสการณ์สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Bowling for Columbine
เขาได้สร้างความตื่นเต้นขึ้น ช่วงที่ได้รับโอกาสให้มีการพูดถึงความคิดเห็นของเขา
เกี่ยวกับประธานาธิบดี George W. Bush ซึ่งได้เริ่มส่งทหารบุกเข้าไปในอิรัก
ปี 2003
"โว! ในนามของเพื่อนผู้ผลิตของเรา Kathleen Glynn และ Michael Donovan จากคานาดา ผมใคร่จะขอบคุณสำหรับรางวัลนี้แทนเพื่อนๆ และเราปรารถนาที่จะทำภาพยนตร์สารคดี - พวกเขาอยู่ ณ ที่นั่น ในความร่วมแรงร่วมใจกับผม เพราะพวกเราชอบงานที่พวกเราทำ"
"เราชอบสารคดี และพวกเราอยู่ในยุคของการเสกสรรค์ปั้นแต่ง เราอยู่ในช่วงที่มีการเลือกตั้งแบบเสกสรรค์กันขึ้น ดังนั้นจึงเลือกประธานาธิบดีที่ปั้นแต่งกันขึ้นมาคนหนึ่ง เราอยู่ในยุคซึ่งเรามีชายคนหนึ่งส่งเราไปยังสงคราม ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่คิดแต่งกันขึ้นมาเอง. ไม่ว่ามันจะเป็นการปะติดปะต่อกันของเทปกาว ที่นำชิ้นส่วนต่างๆมาประดิษฐ์ประดอยเรียงร้อยต่อๆ กัน หรือป้ายสัญญานเตือนภัยสีต่างๆให้ระมัดระวัง เราต่างต่อต้านสงครามครั้งนี้, Mr.Bush เป็นคนที่น่าอับอาย สำหรับท่านทั้งหลายนายคนนี้น่าขายหน้าเสียจริงๆ. และเมื่อไรก็ตามที่ท่านได้พบกับสันตะปาปา และเห็นกะทะทองแดงอยู่ต่อหน้า นั่นคือเวลาของท่านได้จบสิ้นลงแล้ว, ขอบคุณมากครับ"
สุนทรพจน์ได้ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ซึ่งได้นำไปตัดต่อผสมกับเสียงโห่ที่แสดงความไม่พอใจ และการปรบมือจากผู้ฟังที่แสดงความพอใจทั้งหลาย. ในการให้สัมภาษณ์หลังเวทีของมัวร์หลังจากนั้น เขากล่าวว่าส่วนใหญ่ของผู้ฟังต่างโห่ร้องด้วยความชื่นชม มัวร์ย้ำบางส่วนของสุนทรพจน์ของเขาว่ามันถูกตัดให้สั้น เนื่องจากวงออร์เคสตร้าเริ่มบรรเลงดนตรี และไมโครโฟนของเขาถูกปิดลง และได้ให้เหตุผลว่า "ผมเป็นอเมริกัน"
ในการปกป้องสุนทรพจน์ที่คัดสรรมาอย่างดีของเขา. ในการแสดงความคิดเห็นที่รวมอยู่ใน DVD สำหรับเรื่อง Columbine, มัวร์ชี้แจงว่า ส่วนใหญ่ของผู้ชมต่างรู้สึกยินดีกับเขา ส่วนเสียงโห่ฮาที่ดังออกมาในช่วงนั้น มาจากคนส่วนน้อยบางคนเท่านั้น และเสียงโห่ต่อมา อันที่จริงคือคนที่สนับสนุนมัวร์ ซึ่งโต้ตอบกับพวกที่ก่อกวนที่ได้ส่งเสียงมาจากท่ามกลางฝูงชน. บางคนเชื่อว่า เสียงโห่แสดงอาการไม่พอใจ ได้ถูกผสมเข้ามาโดยการถ่ายทอดอีกครั้งของออสการ์เอง
เมื่อเจ้าภาพ
Steve Martin, หวนกลับมายังเวที เขาพูดอย่างติดตลกว่า:
"มันเป็นหลังเวทีที่หวานชื่น เพราะคนขับรถกำลังช่วยไมเคิล มัวร์กลับขึ้นรถลีมูซีนของเขา"
4.2 การสร้างภาพต่างๆ
เกี่ยวกับไมเคิล มัวร์ (ในเชิงลบ) (Depictions of Moore)
ในปี 2004 ภาพยนตร์แนวเสียดสีเรื่อง Team America: World Police, ตัวแทนหุ่นกระบอกตัวหนึ่งของมัวร์
ซึ่งตกแต่งหน้าตาให้เป็นมือระเบิดพลีชีพ ซึ่งได้ทำการระเบิดสำนักงานใหญ่ของ
Team America ที่อยู่ภายใน Mount Rushmore (ภูเขาลูกหนึ่งใน Black hill ของ
South Dakota ซึ่งมีภาพสลักของประธานาธิบดีวอชิงตัน, เจฟเฟอร์สัน, ลินคอล์น,
และรูสเวลท์ อยุ่ที่หน้าผา). ต่อมาภายหลัง เขาได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็น"ตัววีเซิลขนาดยักษณ์ที่สนับสนุนสังคมนิยม"
ในตอนหนึ่งของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ตอน Arrested Development, 'The One Where Michael Leaves', นักสร้างภาพยนตร์สารคดีที่อ้วนจนแทบเดินไม่ไหวที่ไม่เอ่ยชื่อ (ซึ่งจะเปิดเผยในตอนต่อมา, 'Out on a Limb', นั่นคือคนที่แสร้างทำเป็นไมเคิล มัวร์ กำลังทำอะไรเล็กๆน้อยให้กับรายการสดของ Jimmy Kimmel) ที่เข้ามาใกล้ๆ Lucile แล้วถามว่า เธอจะให้ลูกชายสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพไหม? คำถามนี้ไมเคิล มัวร์ได้ซักถามกับผู้คนในทำนองเดียวกันในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Fahrenheit 9/11, เว้นแต่ว่า คำตอบที่มัวร์นำเสนอก็คือ "ไม่"
รางวัล Academy Awards ในปี 2004 เปิดให้กับหนังสั้นในแนวเสียดสีซึ่งเจ้าภาพ, Billy Crystal, ได้แสดงให้ปรากฏอีกครั้ง ถึงฉากต่างๆที่อยู่ในความทรงจำของปี 2003. มัวร์ได้ถูกสร้างภาพให้ถือกล้องถ่ายภาพอยู่ในท่ามกลางสมรภูมิรบ (เป็นการต่อสู้ในสนาม Pelennor จากภาพยนตร์เรื่อง The Lord of the Rings: The Return of the King), และกำลังตะโกนว่า, "หยุดทำสงครามกันทีเถอะ, ละอายแก่ใจบ้าง ไม่อายพวกสิงสาราสัตว์ที่อยู่ใต้ดินกันหรือ. อันนี้มันเป็นสงครามที่ปั้นแต่งกันขึ้นมา. สงครามครั้งนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นมาโดยอาณาประชาราษฎร์" ในลีลาเดียวกัน ภาพยนตร์ในเชิงล้อเลียนเรื่อง Fellowship 9/11 เป็นการสร้างขึ้นมาเลียนแบบเรื่อง Fahrenheit 9/11 โดยใช้เรื่องราวต่างๆของ the Lord of the Rings เป็นพื้นฐาน
ตัวตลก MADtv นามว่า Paul Vogt ได้รับการบันทึกว่า คือคนที่แสร้งทำตัวเป็นไมเคิล มัวร์. ในเรื่องราวทำนองเสียดสีเรื่องหนึ่งปี 2003, ชื่อว่า Bowling for Christmas, Vogt แสดงเป็นมัวร์ ซึ่งได้ต่อว่าต่อขานคนที่กำลังซื้อข้าวของคริสต์มาสอย่างโกรธเคือง เกี่ยวกับการสนับสนุนลัทธิการก่อการร้ายและซานตา คลอส ในการตักตวงเอาประโยชน์จากแรงงานเด็ก
ในแต่ละฉาก ข้อความที่จารึกบนหมวกเบสบอลล์ของมัวร์ มีข้อความในลักษณะที่เป็นคนที่สูงส่งมีคุณธรรมต่างๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่างเช่น "Hero"(คนเก่ง-วีรบุรุษ), "saint"(นักบุญ), "martyr"(ผู้ยอมรับความทรมานแทนเพื่อนมนุษย์) หรือสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ก็ถูกเลือกอย่างค่อนข้างจะน่าแหวะ และเหลวไหล เช่นสระน้ำวนของ Streisand หรือบ้านของ Mick Jagger ในอิตาลี เป็นต้น. ไปจนกระทั่งตอนจบของภาพยนตร์เสียดสี มัวร์ไล่ต้อน Barbara Bush จนกระทั่งเธอจนมุม ซึ่งแรกทีเดียวเธอคิดว่าเขาเป็นหมี และหลังจากนั้น "เจ้าหมอนั่นมาจาก Hollywood Squares"(Bruce Vilanch) และในตอนจบได้ทำร้ายร่างกายเขา
มัวร์ได้ให้ยืมเสียงเพื่อการล้อเลียนตัวเขาในเรื่อง The Simpsons; เขาได้รับการสร้างภาพให้เป็นคนที่มาทีหลัง เพื่อให้การสนับสนุนเด็กนักเรียนโรงเรียนชั้นประถม Springfield ในการก่อการประท้วง. เมื่อได้ถูกสัมภาษณ์โดย Kent Brockman, เขาได้ให้ข้อมูลสถิติ และต่อจากนั้นมีท่าทีชวนทะเลาะเมื่อ Brockman ถามเขาว่า ต้นตอสถิติต่างๆ เหล่านี้สามารถพิสูจน์ความถูกต้องแม่นยำของมันได้ไหม?
รายการโทรทัศน์อังกฤษ Dead Ringers แสดงให้เห็นตอนหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งพิเศษของสหรัฐฯ ในปี 2004 ชื่อตอนว่า "Michael Moore takes on Michael Moore," ซึ่งไมเคิล มัวร์คนหนึ่งที่เป็นตัวปลอม ได้เหน็บแนมเสียดสีสไตล์ภาพยนตร์สารคดีของมัวร์และวิธีการสื่อของเขา
ในเดือนกันยายน 2005 ภาพเคลื่อนไหวชุด Family Guy ตอนหนึ่งที่ชื่อตอนว่า The Perfect Castaway, Peter รำลึกถึงการแข่งกันตดกับไมเคิล มัวร์ ที่พัฒนาไปสู่การล้อเลียนเกี่ยวกับฉาก"Dueling Banjos"(การดวลแบนโจ) จาก Deliverance. อีกตอนหนึ่งของ American Dad ภายหลังที่สร้างภาพการเปิดตัวของภาพยนตร์ใหม่ของไมเคิล มัวร์ ซึ่งเขานอนกับ Angelina Jolie ในกล้อง และ Hailey จากไปด้วยความรู้สึกขยะแขยงเกี่ยวกับการเล่นไม่ซื่อของมัวร์
ในหนังสือ 100 People Who Are Screwing Up America (100 คนที่สร้างความปั่นป่วนให้อเมริกา) โดย Bernard Goldberg, ไมเคิล มัวร์ ได้รับการจัดลำดับเป็นรายชื่อแรกสุดของหนังสือเล่มนี้
5. ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่
5.1 รายชื่อหนังสือต่างๆ (List of books)
- Moore, Michael (1996). Downsize This! Random Threats from an Unarmed American. Perennial (Harper Edition). ISBN 0060977337.
- Moore, Michael; & Glynn, Kathleen (1998). Adventures In A TV Nation. Perennial. ISBN 0060988096.
- Moore, Michael (2002). Stupid White Men ...and Other Sorry Excuses for the State of the Nation!. Regan Books. ISBN 0060392452.
- Moore, Michael (2003). Dude, Where's My Country?. Warner Books. ISBN 0446532231.
- Moore, Michael (2004). Will They Ever Trust Us Again?. Simon & Schuster. ISBN 0743271521.
- Moore, Michael (2004). The Official Fahrenheit 9/11 Reader. Simon & Schuster. ISBN 0743272927.
5.2 รายชื่อภาพยนตร์ต่างๆ (List of films)
- Roger & Me (1989)
- Pets or Meat: The Return to Flint (1992) (TV)
- Canadian Bacon (1995)
- The Big One (1997)
- And Justice for All (1998)
- Lucky Numbers (2000)
- Bowling for Columbine (2002)
- Fahrenheit 9/11 (2004) "Palme d'Or" in Cannes
- Sicko (projected for 2006)
- Fahrenheit 9/11? (projected for 2007)
5.3 รายชื่อชุดทางทีวี (List of TV series)
- TV Nation (1994)
- The Awful Truth (1999)
บางคำพูดของไมเคิล
มัวร์ (Quotes)
Wikiquote has a collection of quotations related to:
ไมเคิล
มัวร์ : คนหนุ่มๆ
ของเราที่ไปสงคราม และผู้ที่ไปร่วมรับใช้ประเทศชาติ เราต้องการที่จะให้เกียรติกับพวกเขา
เพราะพวกเขาตั้งใจเสี่ยงชีวิตของพวกตนเพื่อพิทักษ์และปกป้องเรา ด้วยเหตุดังนั้น
เราจึงสามารถมีวิถีชีวิตเช่นนี้ได้. และข้อตกลงที่พวกเขาทำกับเราทั้งหลาย คือเราจะไม่ส่งพวกเขาไปในหนทางที่อันตราย
เว้นแต่มันจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
ผมคิดว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ ซึ่งผมเพิ่งได้เห็นโพลสำรวจล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ว่า
- 54% ของคนอเมริกันเชื่อว่า การบุกอิรักไม่ใช่เรื่องฉลาดที่สุดที่กระทำไป
- แน่นอน มันไม่ใช่เรื่องของการป้องกันตนเองแต่อย่างใด. คุณต้องไม่คุกคาม;
และผมไม่ต้องที่จะถูกคุกคามด้วย เพราะในท้ายที่สุดเมื่อถึงเวลานั้น ถ้าเขาคือลูกของคุณ
คุณจะเสียสละลูกของคุณเพื่อไปปกป้องเมืองฟาลูจาห์ให้ปลอดภัยไหม?"
(ในรายการทางโทรทัศน์ช่วงดึกกับ Conan O'Brien, June
25, 2004)
เมื่อถูกถามว่า เขาคิดอย่างไรที่ได้รับการเรียกขานว่าคนทรยศ, เขาตอบว่า, "ผมเป็นลูกเสือที่ติดยศระดับอินทรี(Eagle Scout) และผมน้ำหนักเกินพิกัด"
การอธิบายถึงคนอเมริกันให้กับวารสาร Daily Mirror, "เป็นไปได้ว่าชาวอเมริกันเป็นคนที่โง่เงียบที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ นั่นคือพวกเขามีความเป็นทาสที่ยอมจำนน, ขี้ขโมย, อิ่มอกอิ่มใจแบบโง่ๆ. เราชาวอเมริกันรู้สึกเจ็บปวดจากความเมินเฉย ไม่ใส่ใจเรื่องอะไร เราไม่รู้อะไรเลยกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนอกประเทศของเรา ความโง่เหง้าของพวกเราเป็นเรื่องที่น่ากระอักกระอ่วนอย่างยิ่ง. นิตยสาร National Geographic ได้ทำการสำรวจและพบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันอายุ 18-25 ปี ไม่รู้ว่าประเทศอังกฤษ อยู่ที่ไหนบนแผนที่. และผู้คน 92 เปอร์เซ็นต์ในหมู่พวกเรา ไม่มีพาสพอร์ตเป็นของตัวเอง"
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 850 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
การอธิบายถึงคนอเมริกันให้กับวารสาร Daily Mirror, มัวร์ กล่าวว่า"เป็นไปได้ว่าชาวอเมริกันเป็นคนที่โง่เงียบที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ นั่นคือพวกเขามีความเป็นทาสที่ยอมจำนน, ขี้ขโมย, อิ่มอกอิ่มใจแบบโง่ๆ. เราชาวอเมริกันรู้สึกเจ็บปวดจากความเมินเฉย ไม่ใส่ใจเรื่องอะไร เราไม่รู้อะไรเลยกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนอกประเทศของเรา ความโง่เหง้าของพวกเราเป็นเรื่องที่น่ากระอักกระอ่วนอย่างยิ่ง. นิตยสาร National Geographic ได้ทำการสำรวจและพบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันอายุ 18-25 ปี ไม่รู้ว่าประเทศอังกฤษ อยู่ที่ไหนบนแผนที่. และผู้คน 92 เปอร์เซ็นต์ในหมู่พวกเรา ไม่มีพาสพอร์ตเป็นของตัวเอง"