นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร


The Midnight University

ภาพกว้างทำความเข้าใจการเจรจาการค้าโลกและการเจรจาทวิภาคี
ความยอกย้อนและวาระซ่อนเร้นของ WTO และ FTA
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
โครงการนโยบายฐานทรัพยากร ฯ

หมายเหตุ
บทความชิ้นนี้ จะให้ภาพความเป็นมาเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งยังไม่เป็นที่ตกลงกัน
และแสดงให้เห็นภาพของความยอกย้อนซ่อนเงื่อนของ
การเจรจาการค้าโลกและการเจรจาทวิภาคีที่จะส่งผลต่อกันในอนาคต
ต้นฉบับของบทความนี้ชื่อ
การเจรจาการค้าสินค้าเกษตร:จากเวทีองค์การการค้าโลกสู่เขตการค้าเสรี
ต้นฉบับของบทความวิชาการชิ้นนี้นำมาจาก
FTAwatch ที่ url
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_page.php?t=11&s_id=25&d_id=25


(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 780
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8.5 หน้ากระดาษ A4)




World Trade Organization
Free trade Area

การเจรจาการค้าสินค้าเกษตร:จากเวทีองค์การการค้าโลกสู่เขตการค้าเสรี
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

ความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ถือเป็นความตกลงที่สำคัญมากฉบับหนึ่งของผลการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย เป็นการนำสินค้าเกษตรกลับเข้ามาอยู่ภายใต้กรอบกติกาการค้าเสรีระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สหรัฐฯ ทำให้สินค้าเกษตรอยู่นอกระบบการค้าเสรีโดยการผลักดันในภาคเกษตรได้รับข้อยกเว้นจากข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าและศุลกากรหรือแกตต์ปี 1947 เนื่องจาก

- ต้องการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า (Import Quota) และ
- การอุดหนุนการส่งออก ( Export Subsidies) ในการคุ้มครองสินค้าเกษตรของตน

ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยนั้น การเจราเรื่องสินค้าเกษตรนับเป็นหัวข้อที่มีความขัดแย้งในการเจรจาอย่างมากหัวข้อหนึ่ง ซึ่งมีผลให้การเจรจาในรอบนี้ต้องล่าช้าไปกว่า 8 ปี ( พ.ศ. 2529 - 2537) แต่ในที่สุด กติกาเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรที่ได้จากการเจรจาในรอบนี้ มีลักษณะเป็นเพียงการกำหนดกรอบพื้นฐานสำหรับการค้าสินค้าเกษตร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและอิงกลไกตลาด ยังไม่ได้เป็นการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรอย่างแท้จริง

ความตกลงยังเต็มไปด้วยข้อยกเว้น ช่องโหว่ และเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกให้การคุ้มครองภาคเกษตรของตนต่อไปได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ต้องการประนีประนอมกันเพื่อดำรงการอุดหนุนและการคุ้มครองบางประเภทต่อภาคเกษตรไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในประเทศของตน

สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วยการเกษตร
ความตกลงว่าด้วยการเกษตรมีแกนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ การเปิดตลาด การลดอุดหนุนการผลิตภายใน และการลดอุดหนุนการส่งออก โดยมีสาระสำคัญแต่ละเรื่องดังนี้

(1.) การเปิดตลาด
ก. การลดภาษีศุลกากร ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาต้องลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงร้อยละ 10

ข. การปรับเปลี่ยนมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรให้เป็นภาษีนำเข้า เช่น การห้ามนำเข้า การกำหนดโควต้านำเข้า และการกำหนดสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตภายในประเทศ (local content requirement) ให้เป็นมาตรการภาษีศุลกากรทั้งหมดโดยกำหนดเป็นปริมาณ โควต้า และเก็บภาษีศุลกากรสินค้าในโควต้าในระดับต่ำ และหากมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณโควต้าที่กำหนด ก็จะเก็บอัตราภาษีนอกโควต้าในอัตราที่สูงมาก

(2.) การลดอุดหนุนการผลิตภายใน แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ กล่าวคือ
ก. การอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาด (Amber Box)
เช่น การประกันราคาขั้นต่ำ การแทรกแซงราคา เป็นต้น โดยสมาชิกต้องลดการอุดหนุนการผลิตภายใน ดังนี้

- ประเทศพัฒนาแล้ว ลดการอุดหนุนภายในลงในอัตราร้อยละ 20 ภายใน 6 ปี หากการอุดหนุนในแต่ละสินค้ามีมูลค่าต่ำกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมาคำนวณในยอดการอุดหนุนรวม

- ประเทศกำลังพัฒนา ลดการอุดหนุนนี้ลงในอัตราร้อยละ 13 ภายใน 10 ปี ซึ่งใช้เวลาที่ยาวนานกว่า หากการอุดหนุนในแต่ละสินค้ามีมูลค่าต่ำกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมาคำนวณในยอดการอุดหนุนรวม

การอุดหนุนภายในนี้ กำหนดเป็นยอดปริมาณรวม เพื่อให้รัฐบาลบริหารเงินอุดหนุน นี้ได้ตามความจำเป็น มีความยืดหยุ่นในการใช้ โดยไม่เจาะจงสินค้า

ข. การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนตลาด (Green Box )
เนื่องจากเป็นการอุดหนุนที่ไม่มีผลต่อการผลิตและราคาสินค้า หรือหากมีก็จะน้อยมาก เช่น การอุดหนุนการผลิตเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยและการพัฒนา การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การปรับโครงสร้างการผลิต และการพัฒนาชนบท เป็นต้น สมาชิกสามารถใช้การอุดหนุนการผลิตเหล่านี้ได้โดยไม่มีขีดจำกัด

ค. การอุดหนุนที่ยกเว้นให้กับประเทศกำลังพัฒนา
การอุดหนุนที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการยกเว้นให้ใช้ได้ คือ การอุดหนุนด้านปัจจัยการผลิตและด้านการลงทุน ซึ่งได้แก่ การอุดหนุนเพื่อซื้อเมล็ดพืชและปุ๋ยในราคาถูก การอุดหนุนเพื่อซื้อเครื่องมือ และเครื่องจักร เป็นต้น

(3.) การลดอุดหนุนการส่งออก
สมาชิกต้องลดการอุดหนุนส่งออกลง ดังนี้

- ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณสินค้าเกษตรที่ได้ให้การอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ 21 และลดจำนวนเงินอุดหนุนลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี - ประเทศกำลังพัฒนา ต้องลดปริมาณที่ให้การอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ 14 และลดจำนวนเงินอุดหนุนลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี

ประเด็นสำคัญในเรื่องการอุดหนุนส่งออกคือ สมาชิกต้องไม่ให้การอุดหนุนเกินกว่าที่ผูกพันไว้ โดยใช้ยอดการอุดหนุนในปีฐาน (พ.ศ. 2529-31) เป็นจุดเริ่มต้น และผูกพันการอุดหนุนส่งออกเป็นรายสินค้า กล่าวคือ สมาชิกไม่สามารถให้การอุดหนุนส่งออกกับสินค้าเกษตรที่ไม่เคยได้รับการอุดหนุนส่งออกในปีฐานได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ประเทศกำลังพัฒนากรณีที่เป็นการอุดหนุนส่งออกเพื่อลด

(1) ต้นทุนการตลาดที่รวมถึงต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ ฯลฯ และ
(2) ต้นทุนด้านการขนส่งภายใน

โดยสรุปสาระสำคัญของความตกลงว่าด้วยการเกษตร คือ
ประการแรก มีการใช้มาตรการเปิดตลาดขั้นต่ำ (minimum access) และกำหนดอัตราภาษีศุลกากร (tariffication) แทนมาตรการจำกัดการนำเข้า และกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขั้นสูงสำหรับสินค้าเกษตรทั้งหมดด้วย

ประการที่สอง ยอมให้มีการอุดหนุนภายในได้ แต่มีเงื่อนไขให้ต้องลดการอุดหนุนลง

ประการที่สาม มีกติกาห้ามการอุดหนุนสินค้าส่งออกชนิดใหม่ ส่วนการอุดหนุนการส่งออกที่เคยทำมาแล้ว สามารถอุดหนุนต่อไปได้ แต่ต้องมีการลดงบประมาณและจำนวนสินค้าที่ได้รับการอุดหนุน
ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาสามารถปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว (special and differential treatment) เช่น เงื่อนไขเวลา ปริมาณการคุ้มครอง การลดปริมาณการอุดหนุน เป็นต้น

พันธะกรณีของประเทศไทยภายใต้ความตกลงว่าด้วยการเกษตร
ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการเกษตร ดังนี้

- การปรับลดภาษี : ไทยต้องลดภาษีสินค้าเกษตรทุกรายการรวม 740 รายการ โดยเฉลี่ยร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี ( ภายในปี 2547) อัตราภาษีโดยเฉลี่ยของประเทศไทยก่อนที่จะลดอยู่ในระดับร้อยละ 49

- การปรับเปลี่ยนมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรเป็นมาตรการโควต้าภาษี : ดำเนินการกับสินค้า 23 รายการ ได้แก่ น้ำนมและนมปรุงแต่ง, นมผงขาดมันเนย, มันฝรั่ง, หอมหัวใหญ่, เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่, มะพร้าว, มะพร้าวเนื้อแห้ง, น้ำมันมะพร้าว, เมล็ดกาแฟ, กาแฟสำเร็จรูป, ชา, พริกไทย, กระเทียม, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าว, ถั่วเหลือง, กากถั่วเหลือง, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม, น้ำตาล, ใบยาสูบ, เส้นไหมดิบ และลำไยแห้ง

- การลดการอุดหนุนการผลิตภายใน : ต้องลดการอุดหนุนการผลิตการเกษตรที่เป็นการบิดเบือนตลาด เช่น การประกันราคา และการแทรกแซงราคา จากจำนวนเงิน 21,816.41 ล้านบาทในปี 2538 ให้เหลือ 19,028.48 ล้านบาทในปี 2547 ซึ่งหมายความว่าไทยยังสามารถให้การอุดหนุนโดยใช้มาตรการดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะเกินกว่าเพดานที่กำหนดนี้ไม่ได้

- การอุดหนุนการส่งออก : เนื่องจากในปีฐานไทยไม่ได้ให้การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร ไทยจึงไม่สามารถให้การอุดหนุนการส่งออกได้

การเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่
เนื่องจากความตกลงว่าด้วยการเกษตรในปัจจุบันมีลักษณะเป็นกรอบพื้นฐานสำหรับการค้าสินค้าเกษตร การเจรจายังไม่จบสิ้น ประเทศภาคีจึงเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องมีการเจรจากันอีกเพื่อกำหนดกติกาการค้าในขั้นต่อไป ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรา 20 ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร ให้มีการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรครั้งต่อไป 1 ปี ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการปฏิบัติตามข้อผูกพัน (ปี 2543) ดังนั้น คณะมนตรีใหญ่ขององค์การการค้าโลกจึงประกาศให้เริ่มการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 โดยให้ดำเนินการเจรจาภายใต้การประชุมของคณะกรรมการด้านการเกษตรสมัยพิเศษ

ช่วงการเจรจาในรอบนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 23-24 มีนาคม 2543 ถึง 26-27 มีนาคม 2544 เป็นช่วงรวบรวมข้อเสนอของประเทศสมาชิกต่างๆ โดยมีการยื่นข้อเสนอมาทั้งหมด 45 ฉบับจากจำนวน 126 ประเทศ ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งมาจากประเทศกำลังพัฒนา ข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาส่วนใหญ่ในช่วงนี้เป็นเพียงข้อเสนอแบบกว้างๆ ครอบคลุมเรื่องสำคัญในการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรทุกเรื่อง ที่มีข้อเสนอที่ระบุเรื่องที่ต้องจัดระเบียบใหม่อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ข้อเสนอของกลุ่มแคร์นส์ (Crains Group) และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีเนื้อหาทั้งเรื่องการอุดหนุนการส่งออก การควบคุมการให้สินเชื่อส่งออก การอุดหนุนภายในประเทศที่บิดเบือนการค้า และเรื่องการเข้าถึงตลาด สำหรับสหภาพยุโรปได้เสนอหัวข้อใหม่ในการเจรจาสินค้าเกษตร คือ Non-trade Concerns

ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 26-27 มีนาคม 2544 ถึง 4-7 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นการประชุมในรายละเอียดของข้อเสนอต่างๆ แต่เป็นการเจรจาที่ไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปสู่กรอบเจรจาในการปรับปรุงกฎกติกาสำหรับการค้าสินค้าเกษตร

ในระหว่างการเจรจาในช่วงที่ 2 นี้ ได้มีการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ขององค์การการค้าโลกที่เมืองโดฮา ประเทศการ์ต้า ในเดือนพฤศจิกายน 2544 การประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปให้มีการเปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ (เรียกว่ารอบโดฮา) และได้ประกาศให้การเจรจาสินค้าเกษตร เป็นหัวข้อหนึ่งของการเจรจาการค้ารอบใหม่นี้ด้วย (ก่อนหน้านี้เป็นการเจรจาเรื่องสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ) ตามปฏิญญาโดฮาได้มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและกรอบกว้างๆ ของข้อตกลงสำหรับการเจรจา รวมทั้งได้กำหนดเส้นตายในการร่างกรอบการเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2546 ก่อนการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ขององค์การการค้าโลก ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2546

ช่วงที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2545 ถึง 31 มีนาคม 2546 เป็นช่วงการเจรจาการค้าสินค้าเกษตร ( Modalities Phase) ในช่วงนี้แต่ละฝ่ายได้พยายามผลักดันให้การเจรจาเสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
ประธานการประชุมสมัยพิเศษของคณะกรรมการด้านการเกษตรขององค์การการค้าโลก นายสจ็วต ฮาร์บินสัน (Stuart Harbinson) ได้ร่างกรอบการเจรจาที่รวบรวมจากข้อเสนอที่ประเทศสมาชิกต่างๆ เสนอเข้ามาในการเจรจาระยะที่ 1 และ 2 และเสนอร่างที่แก้ไขแล้วให้แก่สมาชิกเพื่อใช้ในการประชุมวันที่ 25 -31 มีนาคม 2546 ในร่างนี้หัวข้อหลักของการเจรจา มี 3 หัวข้อ คือ

1. การเข้าถึงตลาด มีประเด็นเรื่องการลดอัตราภาษีศุลกากร เรื่องโควต้าของภาษีศุลกากร และบทบัญญัติว่าด้วยการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Provision : SSG)

2. การแข่งขันการส่งออก มีประเด็นเรื่องการอุดหนุนการส่งออก เรื่องเครดิตการส่งออก

3. การอุดหนุนภายใน มีประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงมาตรการ เงื่อนไขของการลดการอุดหนุนในประเภทต่างๆ ที่อยู่ใน Green Box (มาตรการอุดหนุนที่ไม่มีผลต่อการบิดเบือนทางการค้าหรือมีผลเล็กน้อย), Amber Box และ Blue Box (มาตรการอุดหนุนที่มีผลต่อการบิดเบือนทางการค้า)

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential Treatment : S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และหัวข้อ Non-Trade Concerns เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย
กลุ่มแคร์นส์และประเทศกำลังพัฒนาส่วนมาก เห็นด้วยกับร่างกรอบการเจรจาของฮาร์บินสัน ที่เป็นกรอบกว้างๆ และเห็นด้วยกับสูตรการลดภาษีศุลกากรของร่างฉบับฮาร์บินสัน นอกจากนี้ประเทศกำลังพัฒนาก็เห็นด้วยกับมาตรการให้สิทธิประเทศกำลังพัฒนากำหนดสินค้ากลุ่มพิเศษ แต่มีข้อโต้แย้งกันในเรื่องการนำสินค้าเข้ากลุ่ม โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียนนำโดย อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน เสนอให้แต่ละประเทศเป็นผู้กำหนดเอง แต่ประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและกลุ่มแคร์นส์เห็นว่า วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างเครื่องมือกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น

ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกาเสนอว่า ข้อตกลงในกรอบการเจรจาควรมีความเข้มแข็งพอ ที่จะทำให้การลดการอุดหนุนภายในประเทศเป็นไปอย่างเสมอภาค และต้องทำให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ในขณะที่สหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้ปฏิรูปข้อตกลงสินค้าเกษตร ให้ครอบคลุมมาตรการเพื่อการควบคุมการให้สินเชื่อการส่งออก โดยเห็นว่าเป็นมาตรการที่มีผลบิดเบือนการค้า

ทางฝ่ายองค์กรพัฒนาเอกชน และอินเดียที่กล่าวในนามตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนา ได้เรียกร้องให้ไม่ยอมรับร่างของฮาร์บินสัน เนื่องจากร่างดังกล่าวทำให้การทุ่มตลาดยังคงอยู่ และไม่ได้ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการอุดหนุนการส่งออก และการอุดหนุนภายในประเทศเท่าที่ควร แต่กลับให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องลดภาษีนำเข้าเป็นจำนวนมาก

ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2546 จึงมีการประกาศว่าการร่างข้อตกลงในการเจรจาสินค้าไม่เสร็จสิ้นตามกำหนด เนื่องจากประเทศสมาชิกต่างแสดงจุดยืนที่แตกต่างกัน และไม่มีฝ่ายใดจะถอยจากจุดที่เริ่มต้น อย่างไรก็ตาม แม้การประชุมจะไม่เป็นไปตามที่กำหนด สมาชิกต่างก็ยินดีที่จะเจรจาเพื่อร่างกรอบการเจราต่อไปเพื่อให้ทันการประชุมที่เมืองแคนคูน

หลังจากนั้น ยังคงมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหารือในรายละเอียดของร่างกรอบการเจรจาของฮาร์บินสัน แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมของร่างฉบับฮาร์บินสันที่จะใช้เป็นกรอบการเจรจาต่อไป จึงมีหลายประเทศที่เริ่มหากรอบการเจรจาใหม่

กลางเดือนกรกฎาคม 2546 นายคาร์ลอส เปเรส เดล คัสติโย ( Carlos Perez del Casstillo ) ประธานคณะมนตรีทั่วไปขององค์การการค้าโลก (WTO General Council) ได้เสนอร่างกรอบการเจรจาที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกับร่างฉบับฮาร์บินสันแต่อย่างใด ร่างที่เสนอเป็นการเสนออย่างหยาบๆ ไม่มีการระบุรายละเอียดด้านตัวเลข เนื่องจากคัสติโยต้องการให้มีการเจรจาภายหลังการประชุมที่แคนคูน จึงทำให้ร่างฉบับดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจเท่าไรนัก

ในเดือนสิงหาคม ทางสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปได้เสนอข้อตกลงร่วมกัน (Joint Text) เพื่อใช้เป็นกรอบในการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรที่แคนคูน เพื่อกระตุ้นการเจรจาเรื่องสินค้าเกษตรที่อยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง เนื้อหาโดยรวมของข้อตกลงร่วมนี้ เป็นไปตามความต้องการของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เช่น ให้ลดการอุดหนุนที่มีผลต่อการบิดเบือนทางการค้า แต่ไม่ให้ลดการอุดหนุนของมาตรการใน Blue Box ส่วนมาตรการที่มีผลต่อการบิดเบือนทางการค้าเพียงเล็กน้อย ให้จำกัดไว้ที่ร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์เกษตรรวม,ให้ลดการอุดหนุนส่งออก ไม่ใช่การขจัดให้หมดไป ฯลฯ

ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่างข้อเสนอร่วม เนื่องจากไม่ได้กำหนดให้มีการขจัดการอุดหนุนการส่งออกให้หมดไป ข้อเสนอเรื่องการเข้าถึงตลาดมีความคลุมเครือ และไม่มีการกำหนดการเจรจาเรื่อง S&D นอกจากนี้ยังเห็นว่า การที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเสนอร่างข้อเสนอดังกล่าว ก็เพื่อแสดงตนในฐานะผู้นำการเจรจาการค้า ถ้ายอมรับข้อเสนอนี้ จะทำให้เป็นการลดบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในการร่างข้อตกลงว่าด้วยการเกษตร

ผลจากร่างข้อเสนอร่วมนี้ทำให้กลุ่มประเทศต่างๆ ต้องหารือกันเพื่อเสนอร่างกรอบการเจรจาของตนเองบ้าง ที่สำคัญคือ ร่างของกลุ่ม G-20 ซึ่งเป็นร่างข้อเสนอร่วมของอาร์เจนติน่า บราซิล โบลิเวีย จีน ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริก้า แอลกวาดอร์ กัวเตมาลา อินเดีย เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศไทย (ประเทศส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม G-20) ร่างนี้มีเนื้อหาแตกต่างจากร่างข้อเสนอร่วมในหลายประเด็น เช่น กำหนดให้การอุดหนุนทั่วไปที่บิดเบือนการค้าระหว่างประเทศจะต้องลดลง, จะต้องขจัดการอุดหนุนภายในที่ให้แก่สินค้าส่งออกให้หมดไป, ขจัดมาตรการใน Blue Box , ขจัดการอุดหนุนการส่งออกให้หมดไปในประเภทสินค้าที่ประเทศกำลังพัฒนามีผลประโยชน์ เป็นต้น

เมื่อถึงการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกที่เมืองแคนคูน การเจรจาในหัวข้อสินค้าเกษตรมีความขัดแย้งกันมากที่สุด เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาต่างไม่ยอมผสานความต้องการของแต่ละฝ่าย โดยประเทศพัฒนาแล้วได้พยายามผลักดันในประเทศกำลังพัฒนาเปิดโอกาสการเข้าถึงตลาดให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่ยอมลดการอุดหนุน ที่ให้แก่ภาคเกษตรกรรมของตนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่พอใจ ในที่สุดการประชุมในวันที่ 14 กันยายน 2546 จบลงโดยไม่ได้ข้อสรุปใดๆ ทั้งสิ้น มีเพียงแต่คำแถลงของการประชุมรัฐมนตรี (Ministerial Statement) อย่างสั้นๆ ระบุถึงการประชุมในขั้นต่อไปเพื่อหาทางให้การเจรจาเดินต่อไปได้

การเจรจาการค้าสินค้าเกษตร...จากพหุภาคีสู่ FTA
ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกที่แคนคูนเกิดความล้มเหลว กระแสการเจรจาการค้าได้มีแนวโน้มมุ่งสู่การเจรจาแบบทวิภาคีและภูมิภาค เพื่อจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area :FTA) มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ความไม่คืบหน้าของการเจรจาในองค์การการค้าโลกได้ถูกอ้างเป็นเหตุผลหลักในการเร่งผลักดันจัดทำเขตการค้าเสรีของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ประเด็นที่ควรตระหนัก คือ สาเหตุสำคัญที่การเจรจาใน WTO ไม่มีความคืบหน้าเป็นเพราะ ท่าทีของประเทศพัฒนาแล้วที่พยายามจะยึดกุมเนื้อหาการเจรจา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเหมือนเช่นที่ได้เคยทำในอดีต เช่น การเสนอร่างข้อเสนอร่วม (Joint Text) ในเรื่องสินค้าเกษตรของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป การที่สหภาพยุโรปผลักดันให้มีการเจรจาในหัวข้อใหม่หรือที่เรียกว่า Singapore Issuesเป็นต้น ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมีบทเรียนความเจ็บช้ำผ่านมาจากการเจรจารอบอุรุกวัย ได้รวมกลุ่มกันคัดค้านต่อต้านอย่างมาก ประเทศพัฒนาแล้วที่เห็นว่าการเจรจาแบบพหุภาคีในองค์การการค้าโลก เริ่มมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน จึงหันไปใช้ยุทธศาสตร์การเจรจาแบบทวิภาคี

กระแสการเจรจาจัดทำ FTA ที่กำลังโหมสะพัดอย่างรุนแรงในยุคนี้ จึงเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศพัฒนาแล้ว ที่พยายามจะรักษาผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศของตนเองไว้ อาศัยอำนาจต่อรองที่มีมากกว่ามาเจรจาในลักษณะทวิภาคี เพื่อรักษาความได้เปรียบในการเจรจาเอาไว้

ในกรณีของประเทศสหรัฐ ตั้งแต่หลังจบการเจรจาที่แคนคูน นายโรเบิรต์ โซลลิก ( Robert Zoelick) ผู้แทนการค้าของสหรัฐ ได้กล่าวโทษท่าทีของประเทศกำลังพัฒนาว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้การประชุมไม่ก้าวหน้า และได้เน้นย้ำว่าทางสหรัฐฯ จะใช้การทำความตกลงการค้าแบบทวิภาคีและระดับภูมิภาค เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกในระหว่างที่การเจรจาพหุภาคีไม่มีความคืบหน้า

เป็นที่น่าสังเกตว่า สหรัฐฯ ได้เตรียมช่องทางการเจรจาเชิงรุกแบบทวิภาคีไว้เป็นอย่างดี มีการจัดทำร่างกฎหมายการเจรจาการค้า (Trade Promotion Authority Bill) ซึ่งเริ่มจัดทำตั้งแต่ก่อนปี 2544 ( ก่อนการประกาศเจรจาการค้ารอบใหม่ที่โดฮาปลายปี 2544) และมาผ่านสภาครองเกรสสหรัฐในปี 2545 กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจการทำสนธิสัญญาการค้าแบบ "Fast -Track" แก่ฝ่ายบริหาร เพื่อเร่งกระบวนการเจรจาการค้าแบบทวิภาคี

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า การประชุมเจรจาในหัวข้อต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลกภายหลังการประชุมที่แคนคูน ก็ถูกสหรัฐฯ คัดค้านอย่างหนัก เช่น กรณีการเจรจาในเรื่องการทบทวนข้อยกเว้นการให้สิทธิบัตรในความตกลงทริปส์ ฯลฯ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าเมื่อถึงเดือนมกราคม 2548 จะไม่สามารถสรุปผลการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาตามกำหนดที่มีอยู่ได้ ซึ่งจะเป็นเหตุผลที่สร้างความชอบธรรมมากยิ่งขึ้นต่อประเทศสหรัฐฯ ในการเร่งผลักดันการเจรจาแบบทวิภาคีต่อไป ซึ่งจะมีผลต่อการสลายจุดยืนและการรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาอีกทางหนึ่งด้วย

และในที่สุดเป็นที่คาดการณ์ว่า ภายหลังจากที่สหรัฐฯ สามารถเจรจาทำ FTA กับประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ได้มากเพียงพอ โดยมีเนื้อหาข้อตกลงตามที่สหรัฐต้องการแล้ว สหรัฐฯ จะหันกลับไปผลักดันการเจรจาในองค์การการค้าโลกอีกครั้ง เพื่อสร้างมาตรฐานของระเบียบการค้าโลกในรูปแบบพหุภาคีตามเนื้อหาที่สหรัฐฯ ต้องการจากฐานเนื้อหาข้อตกลงที่ได้ไปทำ FTA กับประเทศต่างๆ ไว้แล้ว

โลกยุคหลังการประชุมที่แคนคูน จึงเป็นกระแสของผลักดันกระตุ้นให้เกิดการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี แบบทวิภาคีและภูมิภาคในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยมีจุดก่อเกิดจากแรงผลักดันของประเทศพัฒนาแล้วที่ต้องการจะยึดกุมการจัดทำระเบียบการค้าโลกเอาไว้ มูลเหตุและวาระซ่อนเร้นในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาพึงตระหนักเอาไว้

 

 

 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

คาดการณ์ได้ว่าเมื่อถึงเดือนมกราคม 2548 จะไม่สามารถสรุปผลการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาตามกำหนดที่มีอยู่ได้ ซึ่งจะเป็นเหตุผลที่สร้างความชอบธรรมมากยิ่งขึ้นต่อประเทศสหรัฐฯ ในการเร่งผลักดันการเจรจาแบบทวิภาคีต่อไป ซึ่งจะมีผลต่อการสลายจุดยืนและการรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาอีกทางหนึ่งด้วย

และในที่สุดเป็นที่คาดการณ์ว่า ภายหลังจากที่สหรัฐฯ สามารถเจรจาทำ FTA กับประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ได้มากเพียงพอ โดยมีเนื้อหาข้อตกลงตามที่สหรัฐต้องการแล้ว สหรัฐฯ จะหันกลับไปผลักดันการเจรจาในองค์การการค้าโลกอีกครั้ง เพื่อสร้างมาตรฐานของระเบียบการค้าโลกในรูปแบบพหุภาคีตามเนื้อหาที่สหรัฐฯ ต้องการจากฐานเนื้อหาข้อตกลงที่ได้ไปทำ FTA กับประเทศต่างๆ ไว้แล้ว

R
related topic
191248
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้


อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง