นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร


The Midnight University

ภาคประชาชนร่วมกันต่อต้านโลกาภิวัตน์
ท่าทีของประชาชนไทยต่อองค์กรการค้าโลก: เราไม่เอา WTO
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ข้อมูลจากองค์กรพันธมิตรภาคประชาชนทั้งประเทศ

หมายเหตุ
จดหมายเปิดผนึก(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ส่งถึงประชาชนไทยและรัฐบาลไทยต่อการประชุมองค์กรการค้าโลกที่ฮ่องกง
ช่วงกลางเดือนธันวาคม ๒๕๔๘


(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 773
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)





ภาคประชาชนต่อต้านดับเบิลยูทีโอ.

จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย
ท่าทีของประชาชนไทยต่อองค์การการค้าโลก: เราไม่เอา WTO

องค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ เป็นองค์กรที่มีอายุถึง 10 ปีแล้ว และได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต้องตกอยู่ในความยากลำบาก นโยบายตลาดโลกเดียวก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อความหลากหลายในโลกใบนี้ ทุกๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย กำลังผ่อนคลายกฎระเบียบทั้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายขององค์การการค้าโลก

การผูกขาดทางการค้าและอำนาจการควบคุมที่อยู่ในมือบรรษัทข้ามชาติ ด้วยวิธีการแปรรูปกิจการของรัฐ การแก้กฎหมายเพื่อเข้าถึงทรัพยากรน้ำ ที่ดิน เมล็ดพันธุ์พืช ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานต่างๆ เป็นปัญหาที่คนยากคนจนในโลกนี้ได้ดำเนินการต่อสู้มาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากสภาพความเป็นอยู่ในชนบทที่ถูกทำลาย กฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายอนาคตของโลกทั้งมวล

ความมั่งคั่งและอำนาจที่กระจุกตัวอยู่กับคนเพียงกลุ่มหนึ่ง ประกอบกับการเอารัดเอาเปรียบคนจนที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก โดยยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายทุนและสินค้าโดยเสรี กฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก ยังเป็นตัวควบคุมให้เกิดการปรับรื้อโครงสร้างภาคบริการสาธารณะ และนโยบายสวัสดิการรัฐเสียใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อผู้หญิง เด็ก และคนชรา

ในท้ายที่สุด การทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรม และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยด้วยวิธีการกำหนดเรื่องของสินทรัพย์ส่วนบุคคล ว่าอยู่เหนือภูมิปัญญาและรูปแบบวิถีชีวิต โดยยอมให้สื่อตะวันตกเข้าครอบงำเพื่อขยายอำนาจและอิทธิพล และส่งผลกระทบเลวร้ายในแง่ของการบิดเบือนข้อมูล ได้ก่อให้เกิดทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์

ทุนนิยมเป็นระบอบที่ไม่มีลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย และในฐานะที่องค์การการค้าโลกเป็นหนึ่งในองค์กรขับเคลื่อนสำคัญ จึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน ความไร้ซึ่งประชาธิปไตยสามารถสะท้อนให้เห็นได้บางส่วน จากความรุนแรงที่กระทำกับกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหว กลุ่มผู้ประท้วงที่เพิ่มมากขึ้น ประชาชนขาดเสรีภาพ และในสงครามล่าอาณานิคมยุคใหม่ที่ก้าวร้าวล่วงล้ำถึงทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย"

เมื่อองค์การการค้าโลกกำหนดกติกาบนพื้นฐานของความไม่ยุติธรรม อยู่ภายใต้อำนาจของประเทศมหาอำนาจเช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป และบรรษัทข้ามชาติของประเทศเหล่านี้ ด้วยเหตุผลข้างต้น องค์การการค้าโลกจึงไม่ได้เป็นองค์กรที่มุ่งเพื่อสร้างความผาสุกและสันติสุขของประชากรโลก แต่ทำหน้าที่เพื่อเป็นกลไกปกป้องผลประโยชน์ของมหาอำนาจและกลุ่มทุนเท่านั้นเอง

กว่า 10 ปีขององค์การการค้าโลก ได้ส่งผลร้ายให้เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทย อาทิ การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อย การแย่งชิงทรัพยากรทั้ง ดิน น้ำ ป่า ทวีความรุนแรงถึงขั้นนำไปสู่การทำร้ายและสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก คนจนที่ถูกผลักให้ต้องอพยพเข้ามาในเมืองหลวง ต้องเผชิญปัญหาการถูกไล่ที่จากกลุ่มทุนและรัฐ

การแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจไปสู่ในมือเอกชน ทำให้ราคาสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ความไร้ประสิทธิภาพของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นแรงผลักให้ปัญหาแรงงานลุกลามเป็นวงกว้าง ทั้งเรื่องการจ้างงานรับเหมาช่วง ปัญหาสุขภาพความปลอดภัย การจ้างงานนอกระบบ การไม่ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำให้พอเพียงต่อการยังชีพ เป็นต้น

พวกเราองค์กรภาคประชาชน ขอเรียกร้องต่อฐบาลไทย ดังต่อไปนี้คือ

1. ในการอนุมัติทำข้อตกลงใดๆ ในเวทีการประชุมองค์กรการค้าโลก ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง รัฐบาลจะต้องดำเนินการจัดกระบวนการทำประชามติ และนำเรื่องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา

2. รัฐบาลไทยต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ของกลุ่มทุน ต้องมีการทำประชามติและเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในประเด็นเรื่องการเปิดเสรีการค้าภาคการเกษตร การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฎหมายสิทธิบัตร และการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสวัดิการและการควบคุมของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไฟฟ้า น้ำ การขนส่ง การศึกษา และการรักษาพยาบาล

3. รัฐบาลไทยต้องยุติการผลักดันร่าง พรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพยายามแก้กฎหมาย กว่า 400 ฉบับ ที่เร่งทำเพื่อตอบสนองต่อการส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว โดยที่ยังไม่ได้เปิดให้มีกระบวนการทำประชาพิจารณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชนทั่วประเทศ

สุดท้ายเครือข่ายภาคประชาชนไทยร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทั่วโลก ยืนยันจะยืนหยัดคัดค้านการเจรจาและการทำข้อตกลงการค้าที่ไม่เป็นธรรม และจะร่วมกันต่อต้านองค์การการค้าโลกจนถึงที่สุด

จึงเรียนมาเพื่อนำเสนอจุดยืนขององค์กรภาคประชาชนต่อรัฐบาลไทย

ร่วมลงนามโดย

สมัชชาคนจน, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย,
ศูนย์ประสานงานกรรมกร, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.),
เครือข่ายสลัมสี่ภาค, ITF ประเทศไทย,
สมาพันธ์ประชาธิปไตย, กลุ่มเพื่อนประชาชน,
มหาวิทยาลัยชุมชน, ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม,
ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย,
กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง, คณะทำงานโลกาภิวัตน์,
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน,
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย,
กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน, โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา,
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


Open Letter to the Thai Government
The Position of the Thai People's Movement:
We Don't Want the WTO!

For the ten years that the World Trade Organization (WTO) has existed, people have been forced to face disruptions of their everyday lives. Its single global market agenda poses a great threat to the diversity of the world. Every country, including Thailand, is now being pressured into deregulation and the amendment of its constitution and laws to comply with WTO requirements. Expansion of monopolies and control over agribusiness through privatization means that access to water, land, seeds, forests, natural resources and energy is a constant struggle. This is devastating people's lives in many ways.

WTO policies are leading directly to increasingly rapid climate change and decreasing biodiversity, which are destroying the entire planet's future. The concentration of power that is reinforced, for example, through consolidated media control is also causing the destruction of cultural diversity and indigenous cultures, particularly affecting women, children and the elderly.

Capitalism is undemocratic by nature and as one of its main driving forces, the WTO is also undemocratic. It is based on undemocratic national governments from all over the world. This lack of democracy is shown in part through increasing violence against protesters and popular movements and the loss of civil liberties, which are exemplified in the so-called 'War on Terror'.

Because its rules are based on injustice under the authority of superpowers such as the United States of America, the European Union, and the transnational corporations of these countries, the WTO is not an organization that is focused on creating peace or happiness for the people of the world. On the contrary, the WTO merely serves the purpose of defending the interests of the superpowers and large-scale capital.

Experience with the WTO over the last ten years has shown clearly that Thailand is being adversely affected. For example, we have witnessed the destruction of small-scale farmers; increasingly violent struggles over land, forest and water that have resulted in the loss of large numbers of innocent lives; the plight of poor people who have been pressed into migrating to Bangkok, only to be faced with forced displacement at the hands of capital and the state; the privatization of state-owned enterprises, resulting in skyrocketing prices for essential public services; and the inadequacy of labor protection laws, which have led to widespread abuses of labor, including problems relating to labor subcontracting, workers' health and safety issues, employment in the informal sector, and the failure to adjust the minimum wage to a level sufficient to meet people's basic needs.

We, the undersigned people's organizations, demand that the Thai government comply with the following requests:

1) The government must hold a referendum before concluding an agreement on any issue at the 6th Ministerial Meeting of the WTO in Hong Kong and must submit the agreement for debate and approval by parliament.

2) The government must not cater to the interests of capitalists alone, and must hold a referendum as well as respect the will of the majority of the people on the issues of liberalization of trade in the agricultural sector, privatization of state-owned enterprises, patent laws, and the liberalization of trade in services related to welfare and state control, especially in the areas of electricity, water, transportation, education, and healthcare.

3) The government must stop pushing for the adoption of the draft law on special economic zones, and stop attempting to rush through the amendment of over 400 laws that would merely promote investment without initiating a process of public hearings into the potential impact on people all over the country.

Finally, we, the Thai people's movement, together with the global network of people's movement, reaffirm our opposition to negotiation on and the conclusion of trade agreements that are unfair. We also declare our intent to oppose the WTO to the very end.

This open letter to the Thai government reflects the position of the undersigned people's organizations:

Assembly of the Poor
Thai Labour Solidarity Working Committee
Labour Coordinating Center
State Enterprises Workers' Relation Confederation
Women Unity Group
Confederation for Democracy
ITF Thailand
Center for Aids Rights
Slum Network
Friends of the People
Community University
Thai Labour Campaign
Media for Human Rights
Rangsit Workers Area Group
Campaign for Popular Democracy
Thai Action on Globalization
NGO-COD
FTA-Watch Group
Focus on the Global South
Northern Peasants Federation
Northern Development Foundation
The Midnight University

- WTO การค้าเสรี : ใครได้ใครเสีย


 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

ทุนนิยมเป็นระบอบที่ไม่มีลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย และในฐานะที่องค์การการค้าโลกเป็นหนึ่งในองค์กรขับเคลื่อนสำคัญ จึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน ความไร้ซึ่งประชาธิปไตยสามารถสะท้อนให้เห็นได้บางส่วน จากความรุนแรงที่กระทำกับกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหว กลุ่มผู้ประท้วงที่เพิ่มมากขึ้น ประชาชนขาดเสรีภาพ...

เมื่อองค์กรการค้าโลกกำหนดกติกาบนพื้นฐานของความไม่ยุติธรรม อยู่ภายใต้อำนาจของประเทศมหาอำนาจเช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป และบรรษัทข้ามชาติของประเทศเหล่านี้ ด้วยเหตุผลข้างต้น องค์การการค้าโลกจึงไม่ได้เป็นองค์กรที่มุ่งเพื่อสร้างความผาสุกและสันติสุขของประชากรโลก แต่ทำหน้าที่เพื่อเป็นกลไกปกป้องผลประโยชน์ของมหาอำนาจและกลุ่มทุนเท่านั้น

R
related topic
141248
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้


อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง