The Midnight University
ข้อมูลเกี่ยวกับโลกศิลปะ
Documenta
12 อีกสองปีข้างหน้ากับโอลิมปิกศิลปะ
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความเพื่อความรู้เกี่ยวกับข่าวสารในวงการศิลปกรรมโลก
หมายเหตุ
บทความนี้เรียบเรียงมาจากเอกสารที่ผู้เรียบเรียงได้รับมาจากคุณ
Keiko Sei ผู้ประสานงานนิตยสาร Documenta 12 ประเทศไทย
โดยเว็ปไซต์ของ ม.เที่ยงคืนได้รับการทาบทาม และสอบถามในฐานะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในความสนใจ
ของโครงการนิตยสาร Documenta 12
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 711
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 9.5 หน้ากระดาษ A4)
ภูมิหลังเกี่ยวกับนิทรรศการศิลปะ Documenta
Documenta เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และศิลปกรรมร่วมสมัย ซึ่งปัจจุบันจะจัดขึ้นทุกๆ
5 ปี ที่เมือง Kassel ประเทศเยอรมันนี นิทรรศการศิลปะ Documenta ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดย
Arnold Bode ในปี ค.ศ. 1955 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ the Bundesgartenschau
ซึ่งเกิดขึ้นในเมือง Kassel ในช่วงเวลานั้น
ในการจัดงานนิทรรศการศิลปะ documenta ครั้งแรก, ซึ่งตรงข้ามกับความคาดหมาย กล่าวคือมันค่อนข้างประสบกับความสำเร็จมาก ในฐานะที่มันมีลักษณะเด่นตรงที่ ส่วนใหญ่ของศิลปินที่ได้ร่วมแสดงผลงานดังกล่าว ปัจจุบันโดยทั่วไปแล้วได้รับการพิจารณาว่า มีส่วนอย่างสำคัญและมีอิทธิพลต่อศิลปกรรมสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น Picasso และ Kandinsky
ส่วนนิทรรศการศิลปะ documenta เมื่อไม่นานมานี้รวมถึงปัจจุบัน ได้คัดสรรผลงานศิลปะจากทุกๆทวีปมาร่วมแสดง การแสดงผลงานศิลปะดังกล่าวถูกรู้จักโดยบรรดานักวิจารณ์ศิลปะส่วนใหญ่ในฐานะที่เป็นหนึ่งในนิทรรศการศิลปะซึ่งสำคัญที่สุดในโลก หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น"โอลิมปิกทางศิลปะ"เลยทีเดียว ซึ่งวงการศิลปะทั่วโลกต่างจับตาดู
เมื่อประมาณกว่าหนึ่งทศวรรษมาแล้ว ที่นิทรรศการศิลปะ Documenta เริ่มมีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ นอกจากจะเป็นการแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะแล้ว ยังได้มีการเพิ่มเติมกิจกรรมบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องเข้าไปด้วย ร่วมกับการแสดงนิทรรศการศิลปะ ดังจะเห็นได้จากนิทรรศการศิลปะ Documenta 10 ที่จัดให้มีขึ้นในปี ค.ศ. 1997 โดยเริ่มมีการให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม กาเรมือง และวัฒนธรรม ดังนี้
Documenta 10 ปี ค.ศ.
1997
ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้หญิงเป็นคนแรกที่เข้ามาจัดนิทรรศการศิลปะ
Documenta ครั้งที่ 10 นามว่า Catherine David, จากฝรั่งเศส. เธอได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวความคิดของตัวเธอในการจัดให้มีการแสดงว่าเป็น
"วิกฤตการเผชิญหน้าที่สำคัญกับยุคปัจจุบัน"(critical confrontation
with present) และได้เน้นถึงข้อเรียกร้องทางด้านจริยธรรมและการเมืองของเธอ:
สำหรับนิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายของศตวรรษที่
20 ซึ่งเพิ่งผ่านไปไม่นาน
เธอกล่าวว่า แทบจะไม่สามารถหลบเลี่ยงได้เลยถึงภารกิจอันละเอียดอ่อนและซับซ้อน
ในการที่เราจะต้องจ้องมองไปที่ประวัติศาสตร์และวิกฤตการณ์เกี่ยวกับช่วงเวลาในอดีตในตัวมันเอง
สำหรับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อไม่นานนี้ของช่วงยุคหลังสงคราม และทุกสิ่งทุกอย่างจากปัจจุบัน
ตรงนี้มันเป็นยุคที่กำลังจะอันตรธานไป ซึ่งมันยังคงทิ้งร่องรอยและเชื้อหมักของความเน่าบูดเอาไว้ในศิลปและวัฒนธรรมร่วมสมัย
(สำหรับผู้สนใจประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับกรอบความคิดการจัดงานนิทรรศการศิลปะ
documenta ตั้งแต่ครั้งที่ 1-11 อย่างคร่าวๆ สามารถคลิกไปอ่านได้) (Click)
Documenta 11 ปี ค.ศ.
2002
การแสดงนิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งที่ 11 นี้ ได้ผู้อำนวยการเป็นชาวไนจีเรีย
นามว่า Okwui Enwezor, ซึ่งเกิดและเติบโตขึ้นที่ประเทศดังกล่าว และถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีภัณฑารักษ์ที่ไม่ใช่ชาวยุโรปได้เข้ามารับตำแหน่งบริหารและจัดการงานนิทรรศการศิลปะ
Documenta. ภารกิจของเขาคือการเป็นแกนกลางและคนสำคัญสำหรับการจัดการงานนิทรรศการศิลปะนี้.
สำหรับ Okwui Enwezor ได้พัฒนางานร่วมกับภัณฑารักษ์คนอื่นๆโดยจัดให้มีการแสดงใน
5 เวทีร่วมกัน
Documenta ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมือง Kassel เยอรมันนี ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002, อันถือว่าเป็นเวทีสุดท้าย. ด้วยเหตุดังนั้น การสนทนากันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11 จึงเป็นจุดเริ่มต้นโดยมุ่งไปสู่การเปิดงานจริงของนิทรรศการดังกล่าว
สำหรับเวทีที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการศิลปะ Documenta 12 ประกอบด้วย 5 เวทีดังนี้:
เวทีที่ 1 ประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุผล
Platform1 : Democracy Unrealized
จัดขึ้นที่ เวียนนา, วันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2001
และเบอร์ลิน, วันที่ 9 ตุลาคม - 30 ตุลาคม 2001
เวทีที่ 2 การทดลองต่างๆเกี่ยวกับความจริง
Platform 2 : Experiments with Truth
ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อของความยุติธรรม และกระบวนการเกี่ยวกับความจริง และ การประนีประนอม จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี, วันที่ 7-21 พฤษภาคม 2001
India Habitat Centre, New Delhi
เวทีที่ 3 การทำให้เป็นครีโอล(ลูกผสมผิวขาวและผิวดำ)
Platform3 : Creolite and Creolization
จัดขึ้นที่ เซนต์. ลูเซีย, วันที่ 12 - 16 มกราคม 2002
เวทีที่ 4 ภายใต้การโอบล้อม : เมืองแอฟริกันสี่เมือง
Platform4 : Under Siege: Four African Cities, Freetown, Johannesburg, Kinshasa, Lagos
Lagos, วันที่ 15-21 มีนาคม 2002
เวทีที่ 5 นิทรรศการศิลปะ
Platform5 : Arts Exhibition
จัดขึ้นที่ แคสเซล, วันที่ 8 มิถุนายน - 15 กันยายน 2002
(ผู้สนใจรายละเอียดสำหรับเรื่องนี้ สามารถคลิกไปอ่านต่อได้ในบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 191) (Click)
ส่วนนิทรรศการศิลปะ
Documenta ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้าในปี ค.ศ.2007 ได้มีการริเริ่มให้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการรวบรวมบรรดาบรรณาธิการนิตยสารต่างๆ
จากทั่วโลกกว่า 70 ฉบับ ให้เข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนสนทนากัน ในหัวข้อสำคัญของยุคสมัย
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
(ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ Documenta 12 ได้รับมาจากคุณ Keiko Sei ซึ่งเป็นผู้ประสานงานในประเทศไทย)
The Documenta 12 Magazine
นิตยสาร Documenta ครั้งที่ 12
1. โครงการ (The project)
อีกประมาณ 2 ปีกว่า Documenta ครั้งที่ 12 จะเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนสนทนากันกับนิตยสาร,
วารสาร, และสื่อออนไลน์ต่างๆกว่า 70 ฉบับจากทั่วโลก นั่นคือเครือข่ายหนึ่งที่จะได้รับการสร้างขึ้นมา
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจและพูดคุยถึงประเด็นเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบัน
และตรงประเด็นกับกิจกรรมของนิทรรศการศิลปะ Documenta ครั้งที่ 12
การแลกเปลี่ยนสนทนานี้จะโฟกัสลงไปที่เรื่องหลักๆ 3 เรื่องด้วยกัน ประกอบด้วย
- ความเป็นสมัยใหม่ในฐานะเรื่องราวที่ล้าสมัย(modernity as antiquity)
- ความเป็นอัตวิสัย(subjectification) และ
- การศึกษา(education)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเน้นถึงการสะท้อนความสนใจต่างๆและความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับบริบทของท้องถิ่นต่างๆ (ดูรายละเอียดหัวข้อที่ 7)
ข้อถกเถียงหรือการอภิปรายเรื่องดังกล่าวจะถูกนำไปตีพิมพ์บนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้โดยตรง, ในสื่อฉบับออนไลน์นั้นเกี่ยวกับนิตยสาร Documenta ครั้งที่ 12 และในสื่อสิ่งพิมพ์ 3 เรื่องหลักดังชี้แจงข้างต้น จะได้รับการเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางในนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมือง Kassel ประเทศเยอรมันนี
ส่วนนิตยสารที่มีส่วนร่วมต่างๆจะได้รับการเชื้อเชิญเข้ามา และให้การสนับสนุนตีพิมพ์แยกออกไปเป็นอิสระ ซึ่งสามารถที่จะนำเสนอข้อคิดเห็นรวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆได้ และด้วยวิธีการนี้จึงเป็นการริเริ่มการแลกเปลี่ยนสนทนากันในหลายภาษา. วารสารของวารสารต่างๆนี้(journal of journals)ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นเป็นฟอรั่มหรือเวทีอภิปรายอันหนึ่ง เกี่ยวกับวาทกรรมสุนทรียภาพร่วมสมัย
เรื่องราวต่างๆที่ถูกยกขึ้นมาตั้งเป็นคำถามในการแลกเปลี่ยนสนทนา จะเกี่ยวข้องกับความสนใจโดยพื้นฐานในขอบเขตของศิลปกรรมร่วมสมัย: เช่น อะไรคือความหมายของการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรม ? ที่ใดคือเส้นที่แบ่งระหว่างสมมุติฐานทางทฤษฎีและปฏิบัติการทางสุนทรียภาพ ? อะไรคือสิ่งที่ภาพต่างๆต้องการได้มาและต้องการนำเสนอ ? รูปแบบวาทกรรมใดที่ดำรงอยู่ ณ ศูนย์กลาง และรูปแบบวาทกรรมใดที่ถูกผลักให้ไปอยู่ยังพื้นที่ชายขอบที่ถูกสมมุติ ? อะไรที่มาเปลี่ยนแปลงจุดเน้นของเรื่องราว และการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่เกิดขึ้น ระหว่างระเบียบวิธีทางศิลปะที่แตกต่าง ? และหากเป็นเช่นนั้น แนวคิดเกี่ยวกับงานศิลปกรรม มันต่างๆไปจากงานอื่นๆอย่างไร ? เป็นต้น
2. ภูมิหลังและบริบท
(Background and contexts)
หนึ่งในประเด็นแกนกลางต่างๆเกี่ยวกับนิทรรศการศิลปะครั้งนี้ เกิดขึ้นในท่ามกลางบริบทของโลกที่ถูกทำให้เป็นโลกาภิวัตน์คือ
คำถามที่ว่า เราจะเล่าเรื่องความรู้ท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะออกมาอย่างไร?;
และเราจะถ่ายทอดภาพต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากเรื่องดังกล่าวอย่างไร?, และยังรวมไปถึงการที่เราจะไปพ้นจากเรื่องนั้นด้วย,
ซึ่งหมายถึงขอบเขตพื้นที่ต่างๆของที่ตั้งอันมีลักษณะจำเพาะดังกล่าว
ทำอย่างไร ความรู้ท้องถิ่นข้างต้นจะถูกสะท้อนถ่ายใน Documenta ครั้งที่ 12 นี้ได้ ? มันจะแถลงถึงตัวของมันเองอย่างไร? กระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเกิดขึ้นได้อย่างไร ? นี่คือจุดเริ่มต้นสำหรับนิตยสาร Documenta ครั้งที่ 12 นี้ ซึ่งนั่นไม่ใช่เพียงแค่การโยกย้ายสื่อเท่านั้น แต่เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์กรเลยทีเดียว
ในเวลาเดียวกัน การสร้างสรรค์เกี่ยวกับนิตยสารในตัวของมันเองเป็นกระบวนการอันหนึ่งของการสื่อสาร ซึ่งไม่เพียงเปิดโอกาสให้กับแนวเรื่องต่างๆและให้สิทธิพิเศษทั้งหลายเท่านั้น แต่มันยังเปิดโอกาสให้กับผลงานต่างๆอย่างหลากหลายด้วย
3. ผู้มีส่วนร่วม (The
participants)
นิตยสารและวารสารที่ตีพิมพ์ตามกำหนดเวลาต่างๆและบรรณาธิการทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวพันกับ
Documenta ครั้งที่ 12 ในโครงการตีพิมพ์เผยแพร่นี้ จะมีบทบาทในฐานะที่เป็นจุดบรรจบหรือศูนย์กลางอันหนึ่ง
ระหว่างขอบเขตของผลผลิตทางศิลปะ, วาทกรรมทางศิลปะ, และการวิจารณ์ศิลปะ. สิ่งเหล่านี้จะแสดงถึงบทบาทเป็นสื่อกลางที่สำคัญ
แปลและถ่ายทอดแบบอ้อมๆในลักษณะต่างๆที่สามารถเข้าใจได้ และจะถูกใช้ประโยชน์โดยทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง
รวมถึงสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ที่สำคัญต่างๆ
นิตยสารทางศิลปะถือเป็นสื่อกลางอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถ่ายถึงโครงสร้างเกี่ยวกับความสัมพันธระหว่างศิลปะและทฤษฎี กับ ศิลปะและผู้ชมเท่านั้น แต่มันยังได้กำหนดคำถามต่างๆขึ้นมาด้วยเกี่ยวกับปฏิบัติการทางศิลปะและทฤษฎีทางศิลปะ. ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายจะได้รับการเลือกสรร แต่ไม่ใช่เป็นไปตามขนาดและการเข้าถึงของปัจเจกชนต่อสื่อ(สิ่งพิมพ์)นั้นๆ แต่จะเป็นไปตามพื้นฐานเกี่ยวกับวาทกรรมต่างๆที่มันถือครอง และประเด็นที่มีลักษณะเฉพาะของมันต่อคำถามที่อธิบายมาแล้วข้างต้น. ด้วยเหตุดังนั้น โครงการนี้จึงแผ่กว้างไปยังสื่อกลางชนิดต่างๆ นับจากสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็กมากที่เผยแพร่ด้วยภาษาที่คับแคบหรือมีคนรู้จักน้อย จนกระทั่งไปถึงสื่อกลางระดับโลกขนาดใหญ่ และรวมถึงสื่อกลางที่กำลังดำเนินการอยู่และมีความเป็นไปได้ทั้งหมด
4. โครงสร้างและกระบวนการพัฒนา
(Structure and development process)
ทีมงานบรรณาธิการคณะหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันกำลังทำงานกับผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นต่างๆและบรรดาผู้ทำสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย
ได้ร่างแผนงานโครงการร่วมกันขึ้นมาอันหนึ่ง นับจากฤดูร้อน 2005 เป็นต้นมา ซึ่งได้กล่าวถึงภูมิหลังทางความคิดและสติปัญญา
สู่หัวข้อต่างๆที่โดดเด่นใน 3 ประเด็นข้างต้นของงานพิมพ์ Documenta 12 ซึ่งจากนี้ไป
มันจะได้รับการวางแผนอย่างละเอียด ในการนัดพบเกี่ยวกับโครงการที่เกี่ยวพันกับบรรดาผู้พิมพ์,
นักวิจารณ์, นักทฤษฎี และศิลปินทั้งหลาย
แต่ละส่วนของสื่อต่างๆจะอาศัยประเด็นใดประเด็นหนึ่งของหัวข้อหลัก(3 เรื่องข้างต้น)เหล่านี้ เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนากัน โดยจะมีการพัฒนาและทำการสำรวจในเชิงลึกถึงหัวข้อเหล่านี้มากยิ่งขึ้น และจะอุทิศบทความส่วนหนึ่งส่วนใด หรือกระทั่งประเด็นดังกล่าวทั้งหมดให้กับหัวข้อเรื่องนั้นๆ; ความหลากหลายของรูปแบบอาจถูกนำมาใช้ในที่นี้ ตัวอย่างเช่น การสัมภาษณ์, บทความ, รายงาน, หรือเรื่องราวคำอธิบาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสนใจโดยเฉพาะของสื่อที่ไปเกี่ยวข้อง
ข้อมูลและบริบทเหล่านี้จะเป็นต้นตอเนื้อหาสำหรับหัวข้อทั้ง 3 ของสื่อสิ่งพิมพ์ Documenta ครั้งที่ 12 และนิตยสารออนไลน์. นอกจากนี้แล้ว, วารสารของวารสารทั้งหลายจะบรรจุข้อมูลต่างๆที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือและวางใจได้ภายในบริบทของ Documenta ครั้งที่ 12. โดยเหตุนี้ แต่ละสิ่งพิมพ์ทั้ง 3 หัวข้อจะเสนอคำนำอันหนึ่งซึ่งเป็นแนวเรื่องแกนหลักของ Documenta ครั้งที่ 12 ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทั้งต่อบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายและคนที่สนใจทั่วไป
สำหรับลำดับแรกของนิตยสาร Documenta ครั้งที่ 12 จะได้รับการตีพิมพ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2006 ในลักษณะฉบับพิมพ์ 2 ภาษา (เยอรมัน / อังกฤษ) และฉบับออนไลน์จะสามารถเข้าไปใช้ได้ในโลกของภาษาอื่นๆ อย่างเช่น รัสเซีย, จีน, สเปน, ฝรั่งเศส หรืออาราบิก ส่วนผู้สนใจทั้งหลายที่ต้องการพิมพ์เนื้อหาเหล่านี้ออกมา ก็สามารถทำได้ตามความต้องการ ซึ่งยินยอมให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลตามความสนใจต่างๆของตนเองและตามความถนัดทางด้านภาษา
สำหรับประเด็นนี้ไม่ใช่บทบาทของวาทกรรมในปฏิบัติการทางศิลปะ แต่ค่อนข้างเป็นศิลปะในตัวของมันเอง - สื่อต่างๆ, ภาษาท้องถิ่น, และการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในบทบาทที่แตกต่างกัน, ขึ้นอยู่กับท้องที่และความเป็นจริงทั้งปวง. โครงการดังกล่าวมุ่งที่จะเปิดช่องสำหรับเครือข่ายการเผยแพร่ใหม่ๆและมีความเป็นอิสระ ซึ่งกระตุ้นและให้การสนับสนุนรูปแบบที่มีลักษณะยืดหยุ่นเกี่ยวกับการสื่อสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ความพยายามที่มีลักษณะเฉพาะใดๆ จะถูกทำขึ้นเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายในระยะยาวเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายข้อมูลต่างๆ และ databases ที่ได้รับการทำให้ยั่งยืนพ้นไปจากขอบเขตของ Documenta ครั้งที่ 12. โครงการเครือข่ายดังกล่าวยังมีเจตนาที่จะดึงเอาประสบการณ์ของผู้เขียนมาพบกันและร่วมกันนำเสนอ ทั้งบรรดานักทฤษฎีทั้งหลาย และศิลปินซึ่งกำลังทำงานอยู่ในความสนใจเกี่ยวกับวาทกรรมร่วมสมัยในระดับท้องถิ่น และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ของพวกเขากับสิ่งที่ได้รับมาจากสถานการณ์และบริบทต่างๆ. วัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้ก็คือ จะสถาปนาความสัมพันธ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ ที่จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนพ้นไปจากช่วงเวลาของโครงการนี้ที่สิ้นสุดลงไปแล้ว
5. การรวบรวมผลงาน (Collective
editing)
ตัวอย่างที่น่าประทับใจมากที่สุดของการรวบรวมผลงาน อย่างไม่ต้องสงสัยเลยคือ
สารานุกรม wikipedia (wikipedia คือ สารานุกรมออนไลน์ที่เปิดให้ผู้อ่านสามารถร่วมกันเขียนและสร้างขึ้นมาได้โดยให้บริการฟรีในหลายภาษา).
โครงการนิตยสาร Documenta 12 มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ตอันนี้ไปอีกก้าวหนึ่ง
และสร้างสรรค์เวทีใหม่สำหรับโครงการนิตยสารเครือข่าย
เครือข่ายบรรณาธิการจากนิตยสารต่างๆประมาณ 70 ฉบับจะทำงานในลักษณะที่กระจายออกไปจากศูนย์กลาง และจะได้รับการฝังตรึงเข้าไปในบริบททางวัฒนธรรมและวารสารต่างๆตามลำดับ. การใช้เวทีออนไลน์ของโครงการตีพิมพ์เผยแพร่, ซึ่งเนื้อหาที่ได้รับการยอมรับในระดับท้องถิ่นนั้น สามารถถูกนำมาสนทนากันได้โดยทีมบรรณาธิการทั้งหมด และจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในภาษาต่างๆ
นอกจากข้อมูลตัวหนังสือแล้ว เวทีนี้ยังจะตระเตรียมให้กับรูปแบบที่เป็นภาพและเป็นเสียงรวมทั้งสื่อภาพวิดีโอด้วย ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้อ่านทั้งหลายยังสามารถที่จะสร้างสรรค์นิตยสารของตัวเองขึ้นมาได้ด้วย จากเนื้อหาที่เหมาะสมและเหมาะจะนำไปใช้งานหรือใช้ประโยชน์ ด้วยการบันทึกสิ่งเหล่านี้ลงในรูปของ PDF ไฟล์โดยตรงจากระบบ
ในวิธีการนี้ โครงการตีพิมพ์เผยแพร่จะนำเสนอแผนภาพเกี่ยวกับหัวข้อที่สนทนากันรายรอบ ซึ่งเกี่ยวกับ Documenta 12 ดังกล่าว นั่นคือ เนื้อหาสามารถได้รับการแยกออกเป็นกลุ่มๆไปตามบริบททางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ, ทั้งในด้านภาษาและสื่อที่เป็นหุ้นส่วน. สิ่งที่อยู่ข้างใต้เวทีออนไลน์ดังกล่าวคือ ความคิดเห็นที่เป็นประชาธิปไตยของเทคโนโลยี และระบบอันนี้ได้ถูกวางอยู่บน Open Source software. ทางออก(การแก้ปัญหา)ในเชิงพัฒนาจะนำมาใช้ได้อย่างอิสระ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถถูกนำไปใช้ได้โดยโครงการสื่อที่เป็นอิสระอื่นๆ ด้วย
6. ระบบจัดการเนื้อหานิตยสารออนไลน์
(Online Content Mamagement System)
ระบบการจัดการเนื้อหาดังกล่าวจะวางอยู่บนระบบบรรณาธิการออนไลน์ภายในอันหนึ่ง
ซึ่งจะให้บริการในฐานะที่เป็นการต่อเชื่อมกับผู้ใช้ในหลายภาษา เพื่อว่าบรรณาธิการทั้งหลายและผู้แปลจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้,
เนื้อหาต่างๆที่ได้รับการเรียบเรียงและได้รับการรแปล จะถูกพิมพ์ในลักษณะนิตยสารออนไลน์
ซึ่งผู้อ่านสามารถเลือกเข้ามาค้นหาและเข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็มได้
การพิมพ์ตามความต้องการจะทำให้ผู้ใช้สามารถทำการคัดสรรบทความต่างๆได้เป็นการส่วนตัว โดยรวบรวมมันในลักษณะของรูปแบบ PDF (ทำนองเดียวกันกับรถเข็นช็อปปิ้ง) และพิมพ์พวกมันออกมาตามความต้องการของตนเอง
7. หัวข้อที่สำคัญ 3
เรื่อง (The three key topics)
ในส่วนของเรื่องราวที่จะนำมาสนทนาและเปลี่ยนความคิดเห็นกันทั้ง 3 เรื่องนั้น
มีรายละเอียดดังนี้
7.1 ความเป็นสมัยใหม่คือสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้วใช่ไหม? (Is modernity our antiquity)
โครงการยูโธเปียเป็นจำนวนมากของความเป็นสมัยใหม่ ได้อยู่รอดมาเพียงในฐานะส่วนเสี้ยวต่างๆ และในทุกวันนี้ ปรากฏว่ามันยังไม่จบสิ้น. จำนวนมากของโครงสร้างวัสดุต่างๆ, รูปแบบและความสัมฤทธิผลทั้งหลาย ซึ่งเราเกี่ยวข้องกับแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ ดูเหมือนกำลังหดหายไปท่ามกลางวันเวลาในปัจจุบันของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน
กระนั้นก็ตามในเวลาเดียวกัน พื้นที่จริงและพื้นที่ทางความคิดเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ - โครงสร้างทางความคิดด้านสุนทรียภาพและด้านการเมืองของมัน - ยังคงเป็นการยึดครองอยู่ก่อนที่สำคัญอันหนึ่งอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโครงการต่างๆมากมาย ซึ่งเกิดขึ้นในขอบเขตของศิลปะและนอกเหนือไปจากนั้น และมันยังได้ให้กำเนิดภาพฉายต่างๆในเชิงที่ขัดแย้งกันด้วย. คำถามมีว่า ความเป็นสมัยใหม่เป็นสิ่งที่ล้าสมัยของเราแล้วใช่หรือไม่ ?
7.2 ชีวิตเปลือยเปล่า (ความเป็นอัตวิสัย) Bare life(subjectification)
ประเด็นในที่นี้คือเรื่อง"ตัวตน"(the subject): ธรรมชาติที่เผยออกมา ความไร้อำนาจ และความไม่สามารถที่จะปกป้องอะไรได้ด้วยตนเอง ซึ่งได้เติมเชื้อไฟให้กับการถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องราวทางปรัชญาและสุนทรียภาพ.
อันนี้ได้ถูกทำให้ไปด้วยกันกับข้อพิจารณาต่างๆทางการเมือง และข้อเรียกร้องทางศิลปะ สำหรับการคืนอำนาจให้กับตัวตนหรืออัตตะใหม่อีกครั้ง. รูปแบบต่างๆของการนำเสนอเกี่ยวกับข้อพิจารณาเหล่านั้น รวมไปถึงคำถามทั้งหลาย เกี่ยวโยงกับสถานภาพของตัวตนในงานศิลปกรรมร่วมสมัย ซึ่งได้ตระเตรียมและให้เค้าโครงเรื่องราวสำหรับหัวข้อนี้ของโครงการโดยเฉพาะ
7.3 การศึกษา. สถาบันท้องถิ่น(Education. The local institution)
คำถามเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาในลักษณะที่เหมาะสมของการศึกษาและการสื่อสารนั้น ถือเป็นหนึ่งในประเด็นข้อถกเถียงกันอย่างดุเดือดมากที่สุดในสังคมทุกวันนี้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ในโลกศิลปะเท่านั้น
ปฏิบัติการซึ่งเป็นที่ยอมรับและสถาบันที่ตั้งมั่นแล้วทั้งหลายกำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันต่างๆเพิ่มขึ้น และปัจจุบันได้ค้นพบตัวของมันเองตกอยู่ในท่ามกลางวิกฤตการณ์อันหนึ่งของการนิยามความหมาย. แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันใหม่ๆที่ได้รับการก่อตั้งขึ้น บ่อยทีเดียวก็ยังคงดำเนินรอยตามตัวอย่างเกี่ยวกับแบบจำลองในลักษณะจารีตเหล่านี้อยู่
ในการพัฒนาคู่ขนาน ลำดับการอันกว้างขวางเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ขององค์กรและความเป็นส่วนตัว ผลงานศิลปะในลักษณะใหม่ๆและการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏตัวขึ้น - ที่สำคัญสุดคือในระดับท้องถิ่น. สิ่งใดเล่าที่เกี่ยวกับการริเริ่มของท้องถิ่นเหล่านี้ และพื้นที่ปฏิบัติงานเหล่านี้ มันมีสมรรถภาพพอที่จะปกป้องอนาคตเกี่ยวกับความก้าวหน้า ให้อยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้หรือไม่ และมันเปิดกว้างและทำงานอย่างเป็นอิสระของตนเองมากแค่ไหน รวมถึงพวกมันได้ตระเตรียมคำตอบต่างๆต่อคำถามเกี่ยวกับการศึกษาที่สถาบันเหล่านี้ได้นำเสนอเอาไว้อย่างไรบ้าง ? เหล่านี้คือสิ่งที่น่าเรียนรู้ร่วมกัน
8. Georg Schollhammer
ในฐานะผู้อำนวยการ Documenta 12 Megazines
Georg Schollhammer เป็นภัณฑารักษ์อิสระและบรรณาธิการนำของนิตยสาร Springerin
-Hefte fur Gegenwartskunst, ซึ่งเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1995,
เขาพำนักอาศัยและทำงานอยู่กรุงเวียนนา
ปี ค.ศ.1988 - 1994 เขาได้รับตำแหน่งบรรณาธิการให้กับ the daily Der Standard ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับงานทางด้านทัศนศิลป์. นับจากปี 1992 เป็นต้นมา เขาได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ซึ่งได้ไปทำการสอนเป็นการชั่วคราวทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปกรรมร่วมสมัย ณ มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบอุตสาหกรรม[The University for Artistic and Industrial Design], ที่ Linz. เขามีผลงานตีพิมพ์เป็นจำนวนมากเกี่ยวกับศิลปกรรมร่วมสมัย, สถาปัตยกรรม, และทฤษฎีทางศิลปะ เช่นเดียวกับงานสอนและการพูด. นอกจากนี้ยังเป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการและโครงการต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก
- - - - - - - - - -
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
English version (Click)
ผู้สนใจข้อมูลภาษาอังกฤษ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่
(Click)
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ภูมิหลังและบริบท
(Background and contexts)
หนึ่งในประเด็นแกนกลางต่างๆเกี่ยวกับนิทรรศการศิลปะครั้งนี้
เกิดขึ้นในท่ามกลางบริบทของโลกที่ถูกทำให้เป็นโลกาภิวัตน์คือ คำถามที่ว่า เราจะเล่าเรื่องความรู้ท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะออกมาอย่างไร?;
และเราจะถ่ายทอดภาพต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากเรื่องดังกล่าวอย่างไร?, และยังรวมไปถึงการที่เราจะไปพ้นจากเรื่องนั้นด้วย,
ซึ่งหมายถึงขอบเขตพื้นที่ต่างๆของที่ตั้งอันมีลักษณะจำเพาะดังกล่าว
ทำอย่างไร ความรู้ท้องถิ่นข้างต้นจะถูกสะท้อนถ่ายใน Documenta ครั้งที่ 12 นี้ได้ ? มันจะแถลงถึงตัวของมันเองอย่างไร? กระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเกิดขึ้นได้อย่างไร ? นี่คือจุดเริ่มต้นสำหรับนิตยสาร Documenta ครั้งที่ 12 นี้
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90