1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง ขอให้ยุติการคุกคามสื่อออนไลน์
การที่นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์สำนักข่าวประชาไท (www.prachatai.com)
ได้ถูกจับกุมเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม ศกนี้ ด้วยข้อกล่าวหาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (3) (5) และมาตรา 15 ซึ่งเน้นประเด็นเรื่องการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงของชาตินั้น
นับเป็นการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของสื่ออย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอคัดค้านการกระทำดังกล่าว โดยเห็นว่าในสังคมประชาธิปไตยนั้น รัฐพึงยึดมั่นในหลักการเรื่องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของสื่อ พร้อมกับส่งเสริมให้ประชาชนที่เป็นผู้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ ได้พัฒนาทัศนะวิพากษ์ให้เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่าควรจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ยอมรับหรือโต้แย้ง ในข้อมูลข่าวสารหนึ่งๆ ที่ตนได้รับ. รัฐควรจะใช้อำนาจในการจัดการกับสื่อสารมวลชนทุกประเภทให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะด้วยการส่งเสริมทัศนะวิพากษ์ หรือเสริมสร้างความสามารถของประชาชนในการใช้เหตุผลบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงแทนการใช้อำนาจรัฐเข้าจัดการเท่านั้น ที่จะทำให้สังคมไทยมีวุฒิภาวะทางสติปัญญามากขึ้น จนสามารถลดความขัดแย้งทางการเมืองและทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นในอนาคต
ทางหนึ่งที่จะเสริมสร้างทัศนะวิพากษ์ของประชาชนขึ้นมาได้ คือการปล่อยให้ประชาชนดำรงอยู่ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารจากจุดยืนหรือมุมมองที่แตกต่างอย่างหลากหลาย จนมีโอกาสเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น แทนการครอบงำทางความคิด หรือการใช้อำนาจเบียดขับความคิดที่แตกต่างจากทัศนะของผู้กุมอำนาจรัฐ จนหลุดออกไปจากพื้นที่ทางความคิดและพื้นที่ทางสังคม
ในกรณีของเว็บไซต์สำนักข่าวประชาไท มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเว็บไซต์นี้ได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น พร้อมกันนั้นผู้อำนวยการเว็บไซต์ คือนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ก็ได้ทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ดังจะเห็นได้ว่ามีการลบข้อความที่ไม่เหมาะสมจะเผยแพร่สู่สาธารณะอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของสื่อออนไลน์ทั่วไปนั้น มีการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วยิ่ง จนบางครั้งก็อาจปรากฏข้อความที่ไม่เหมาะสม ที่ผู้ดูแลสื่อออนไลน์อาจจะพลั้งเผลอไม่สามารถดูแลได้อย่างสมบูรณ์แบบตลอดเวลา ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่ควรจะใช้อำนาจอย่างเข้มงวดจนเกินไปในการจัดการ แต่ควรมีความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของสื่อออนไลน์ ตลอดจนเข้าใจในข้อจำกัดของมนุษย์ด้วย
อนึ่ง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนพิจารณาเห็นว่า
ประเด็นเรื่องความมั่นคงของชาติ รัฐควรพิจารณาด้วยวิสัยทัศน์อันลึกซึ้งกว้างขวาง
เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทยอย่างแท้จริง เช่น สร้างความมั่นคงแก่ชีวิตประชาชนในชาติทุกๆ
มิติ อาทิ ความมั่นคงด้านปัจจัยสี่ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรมที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม
เป็นต้น. รัฐไม่ควรอ้างความมั่นคงของชาติเพียงเพื่อบั่นทอนหรือลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
เพื่อให้ผู้กุมอำนาจรัฐสามารถอยู่รอด ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วมากมายในอดีต
เพราะจะทำให้สังคมไทยและชาติไทยอ่อนแอทางสติปัญญา จนไม่อาจเผชิญหน้ากับปัญหาในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีพลัง
อันจะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สนใจอ่านเรื่องเกี่ยวเนื่อง ในเว็บ ม.เที่ยงคืน
899.
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
: พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน (ตอนที่ ๑)
(ศ.ดร.คณิต ณ นคร และ ไพโรจน์ พลเพชร)
900. คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
: พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน (ตอนที่ ๒)
(พล.ต.ท. สมเกียรต พ่วงทรัพย์ และ โสภณ สุภาพงษ์ และผู้เข้าร่วมสัมนา)
901.
ทางออก : ถึงเวลาปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
(รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ, ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล, วสันต์
พานิช, ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก
I สารบัญเนื้อหา
1I สารบัญเนื้อหา
2 I สารบัญเนื้อหา
3
สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I
สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
I webboard(1)
I
webboard(2)
e-mail : midnightuniv(at)gmail.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ช่องทางด่วน
midnightuniv(at)gmail.com