บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ประจำเดือนธันวาคม 2545 ลำดับที่ 221
หัวเรื่อง"ปัญหาของการพัฒนาตามกระแสหลัก" ชื่อเรื่อง"กระบวนทัศน์การพัฒนาของรัฐ
: จากผู้ใหญ่ลีถึงหลุยส์ วิตตอง" โดย อรศรี งามวิทยาพงศ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต้นร่างในการสัมมนา "การวิจัยและการพัฒนาประเทศในภาวะวิกฤต"(ความยาวประมาณ
15 หน้า)
จัดโดยโครงการบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ
ร่วมกับนักวิชาการทางสังคมศาสตร์จากสถาบันอื่น ๆ
กระบวนทัศน์การพัฒนาของรัฐ : จากผู้ใหญ่ลีถึงหลุยส์ วิตตอง
สาระสำคัญที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอในบทความนี้
คือการวิเคราะห์ว่า
ก.ในกระบวนทัศน์(1)
การพัฒนาของรัฐ ตั้งแต่ยุคพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภาวะทันสมัย ซึ่งเริ่มต้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์มาจนกระทั่งยุคแห่งการแข่งขันในกระแสโลกาภิวัตน์ของรัฐบาลปัจจุบัน
รัฐมีกระบวนทัศน์ต่อ"การพัฒนา"อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ( คิดใหม่ ทำใหม่จริงหรือไม่)
ข. กระบวนทัศน์และวิธีคิดในการพัฒนาของรัฐ ตั้งมั่นอยู่บนรากฐานของความเชื่อในเรื่องอะไร
อย่างไร
ค.กระบวนทัศน์การพัฒนาของรัฐเป็นปัจจัยประการหนึ่งซึ่งนำสังคมไทยมาสู่วิกฤตการณ์ในด้านต่าง
ๆ อย่างไร มีกระบวนทัศน์อื่นซึ่งเป็นทางออก-ทางรอดหรือไม่ อย่างไร (คลิกเข้าไปอ่านรายละเอียด)
อรศรี งามวิทยาพงศ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"ปัญหาของการศึกษานิติศาสตร์ในประเทศไทยในเวลานี้ก็คือว่า ทุกมหาวิทยาลัยหวังแต่ผลิตบัณฑิตของตัวให้หางานทำได้มากที่สุด
ตลาดใหญ่ที่สุดและ traditional มากที่สุดคือตลาดอัยการ, ผู้พิพากษา, ทนาย
สามวิชาชีพนี้มีอะไรคุมครับ เนติบัณฑิตยสภา สำนักฝึกอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เพราะฉะนั้นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยทั้งหลายทั้งที่เป็นรัฐและของเอกชน
จึงเลียนแบบหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ร้ายไปกว่านั้นเอาอาจารย์ชุดเดียวกันมาสอนครับทั้งที่เนติฯ, จุฬา, ธรรมศาสตร์ (บางส่วนจากบทความ)
สนใจอ่านบทความเรื่องนี้ คลิกได้ที่ชื่อเรื่องที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งก็คือ การทำให้คนอ้วนด้อยค่าถาวรในปัจจุบันยังก้าวลึกลงสู่เรื่องของ จิตใจ
มากกว่าเพียงเรื่องของภาพผิวที่ปรากฏเห็นจากภายนอก กระแสที่เปลี่ยนไปจากสังคมที่เริ่มจะรู้เท่าทันสื่อ
ทำให้สื่อมวลชนอำพรางโฉมหน้าที่แท้จริง ด้วยการเปลี่ยนมาใช้วาทกรรมในทางบวก
อย่างเช่นการเปลี่ยนวาทกรรมจาก 'before and after' มาเป็น 'fitness and healthy'
(สนใจอ่านบทความเรื่องนี้ คลิกที่ชื่อเรื่อง)-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การพัฒนาประเทศสู่ทุนนิยมอุตสาหกรรมอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตการด้านจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมไทย อันมีรากเหง้ามาจากการรวมศูนย์อำนาจในการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนคนท้องถิ่น หรือ ระหว่างกลุ่มทุนกับชุมชนถิ่น รวมทั้งนำสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืน ไม่สมดุล และไม่มีความเป็นธรรมในสังคมไทย
พวกเราในนามองค์กรต่างๆ จึงร่วมมือกัน ในการหาหนทางปกป้องคุ้มครองพื้นที่สีเขียวขึ้น อาทิ เช่น พื้นที่การก่อสร้างท่อก๊าซไทย- มาเลเซีย พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกหินกรูด พื้นที่เขื่อนปากมูล พื้นที่ป่าชุมชน และหลายพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
จากสถานการณ์น้ำท่วมกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ ในช่วงที่ผ่าน กรมชลประทานได้ออกมาปลุกกระแสเร่งรัดผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ การศึกษาของ องค์การอาหารและเกษตรกรรม FAO. ได้มีข้อสรุปออกมาแล้วว่า เขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถป้องกันน้ำท่วมได้เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
จากการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน
จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก
จากการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทย และมวลมนุษยชาติ
จากการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ทั้งที่ แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำยม มีหลายวิธีที่ไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เช่น
1. การจัดการโดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ
2. การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์ รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม (การประกาศป่าชุมชน ป่าอนุรักษ์ ปลูกป่า ฯลฯ) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุล อย่างยั่งยืน
3. การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน ฯลฯ
4. การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สามารถทำได้โดย ขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับหนองบึง การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพฯ ได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ซึ่งมากกว่าแก่งเสือเต้นเสียอีก)
5. การจัดการทางด้านความต้องการ ในปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64% การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน
6. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม สามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยแผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น
7. การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจาก การขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในเมืองใหญ่ได้อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น
ดังนั้นเราจึงแถลงถึงสังคมไทย ให้ช่วยกันปกป้องคุ้มครองพื้นที่สีเขียว โดยการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของสังคมไทย
ด้วยความเชื่อมั่น
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน , สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน , สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ , สมัชชาคนจน กลุ่มเพื่อนประชาชน , มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย โครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก , เครือข่ายแม่น้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
(แถลงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2545)หมายเหตุ : ท่านสามารถพิจารณาเหตุผล 12 ประการ ที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ที่ http://www.thai.to/yomriver หรือ http://www.thai.to/yomriver/kst12.html
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)