มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๔๖(ใหม่)
247. แผนการทำสงครามของสหรัฐอเมริกากับอิรัค (สัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้)(สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง)
249. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจกรณีสงครามระหว่างสหรัฐกับอิรัค (โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์)
250. การประจันหน้ากับจักรวรรดิ : นอม ชอมสกี้ (พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ และ วิภาพันธ์ ก่อเกียรติขจร)
251. การต่อต้านสงครามสหรัฐกับอิรัก (กิจกรรมเดือนมีนาคม - เมษายน 2546)
252. อิสราเอล-อิรัค-และสหรัฐอเมริกา โดย Edward Said (สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง)
253. ธิดาแห่งไอซิส ฤาผู้หญิงจะถูกกดขี่เช่นเดียวกันทั้งโลก (วารุณี ภูริสินสิทธิ์ : คณะสังคมศาสตร์ มช.)
254. การปฏิรูประบบสาธารณสุขในรูป องค์กรมหาชน(1) (โดย สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ - ถอดเทปโดย วรพจน์ พิทักษ์)
255. การปฏิรูประบบสาธารณสุขในรูป องค์กรมหาชน(2) (โดย สุรพล นิติไกรพจน์ - ถอดเทปโดย วรพจน์ พิทักษ์)
256. ระบอบทักษิณกับวัฒนธรรมการเมืองปฏิปักษ์ปฏิรูป (โดย เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธ.)(New)
257. การประจันหน้ากับจักรวรรดิ : อรุณธาติ รอย (แปลโดย ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด) (New)
258. สื่อเป็นพิษ ภายใต้การกำกับของทุน (อภิปรายนำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) (New)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 257 เดือนเมษายน 2546
หัวเรื่อง "การเผชิญหน้ากับจักรวรรดิ" ปาฐกถาโดย อรุณธาติ รอย : แปลโดย
ชนิดา จรรยาเพศ แบม ฟอร์ด, เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
วันที่ 7 เมษายน 2546
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ เฉพาะทางด้านวิชาการเท่านั้น)
เมื่อจอร์จ บุช พูดว่า "ถ้าคุณไม่อยู่ข้างเรา คุณก็อยู่ข้างผู้ก่อการร้าย" เราสามารถจะบอกว่า "ไม่ล่ะ ขอบคุณ" เราสามารถจะบอกให้เขารู้ได้ว่า ประชาชนชาวโลกไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างมิคกี้ เมาส์ผู้ประสงค์ร้าย กับปราชญ์ชาวมุสลิมที่บ้าคลั่ง
ยุทธศาสตร์ของเราไม่ควรเป็นการประจันหน้ากับจักรวรรดิ แต่ควรจะปิดล้อมมัน เราควรทำให้พวกเขาขาดอ๊อกซิเจน ให้เขาละอายใจ ควรเยาะเย้ยพวกเขา ด้วยศิลปะของเรา ดนตรีของเรา และวรรณกรรมของเรา
ไม่มีใครกังขาว่าซัดดัม ฮุสเซนเป็นเผด็จการที่หาญโหด เป็นฆาตกร (ซึ่งการกระทำที่เกินเลยที่สุดได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร) ไม่ต้องสงสัยว่าชาวอิรัคจะมีชีวิตที่ดีขึ้น หากไม่มีซัดดัม แต่ถ้าเช่นนั้น โลกทั้งโลกก็น่าจะดีขึ้น หากไม่มีคนที่ชื่อบุชอีกคนหนึ่ง ที่จริงแล้วเขาเป็นคนที่อันตรายมากกว่าซัดดัม ฮุสเซนเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเราควรจะถล่มด้วยระเบิดไล่บุชออกจากทำเนียบขาวกันดีไหม?
เป็นที่ประจักษ์ยิ่งกว่าชัดเจนอีกว่า บุชตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะทำสงครามกับอิรัค ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร (และไม่ว่าความเห็นของสาธารณชนนานาชาติจะเป็นอย่างไร) ในการระดมหาพันธมิตรเข้าข้างตน สหรัฐอเมริกาพร้อมที่จะประดิษฐ์ข้อเท็จจริงขึ้นมา การเล่นไล่จับของผู้ตรวจสอบอาวุธเป็นเกมรุกของสหรัฐฯ เป็นการยินยอมปฏิบัติตามมาตรฐานมารยาทสากลในรูปแบบที่บิดเบือน มันเหมือนกับการเปิดช่อง"ประตูสำหรับสุนัข"ไว้ให้แก่"พันธมิตร"ในวินาทีสุดท้าย หรืออาจจะให้สหประชาชาติคลานผ่านไปได้ (คลิกรายละเอียด)
ในขณะที่ลูกระเบิดทะยอยหล่นใส่หัวพวกเรา และขีปนาวุธวิ่งข้ามท้องฟ้า เรารู้ว่ากำลังมีการลงนามในสัญญากัน สิทธิบัตรกำลังมีการจดทะเบียน ท่อน้ำมันกำลังถูกวาง ทรัพยากรธรรมชาติกำลังถูกปล้นสดมภ์ น้ำกำลังถูกแปรรูปเป็นสินค้า และจอร์จ บุช กำลังวางแผนจะทำสงครามกับอิรัค ถ้าเรามองว่าความขัดแย้งครั้งนี้เป็นการประจันหน้าอย่างตรงไปตรงมา ตาต่อตา ระหว่าง"จักรวรรดิ"กับพวกเราที่ต่อต้านมัน ก็อาจดูเหมือนว่าเรากำลังจะพ่ายแพ้
แต่ยังมองได้อีกด้านหนึ่ง เราทุกคนที่มาชุมนุมที่นี่ได้เคยปิดล้อม"จักรวรรดิ"มาแล้ว