โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
บทความลำดับที่ ๑๓๙๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 31, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

เราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ และเราไม่พยายามที่จะทำเงินแต่อย่างใด. The Free Press เชื่อว่า ตราบใดที่หนังสือพิมพ์ดำเนินการโดยนักธุรกิจเพื่อผลกำไร มันก็จะมีข่าวที่ไม่ถูกรายงาน. The Free Press มีเป้าหมายที่จะนำเสนอข่าวที่ไม่รายงานพวกนี้ นอกจากนั้น เรายังพยายามที่จะเสนอข้อมูลข่าวสารที่กลุ่มชุมชนต่างๆ, คนงานตามโรงงาน, ผู้เช่าอาศัยและคนอื่นๆ ไม่เพียงพบว่ามันน่าสนใจเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ด้วย. The Free Press มิได้เป็นตัวแทนทัศนะต่างๆ ของพรรคการเมือง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
31-10-2550

Human Right Context
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

Alternative media - Radical media: นิยามและหลักทฤษฎีเบื้องต้น




 

ตัวบท และกรณีตัวอย่างของการต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
และนักวิชาการอิสระ-สถาบัน ฯลฯ


ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย
เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ
โดยสื่อหลายแขนงทำหน้าที่กล่อมเกลาให้สิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับ แทนที่จะตั้งคำถาม

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคมไทยนำไปปรับประยุกต์กับสถานการณ์

สำหรับผู้สนใจ สามารถส่งบทความเข้าร่วมกับโครงการได้ที่
midnightuniv(at)gmail.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Human rights: Radical media & Alternative media
Alternative media - Radical media: นิยามและหลักทฤษฎีเบื้องต้น
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชนฯ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Approaching Alternative Media: Theory and Methodology
ต้นฉบับงานเรียบเรียงนี้ เนื้อหาหลักนำมาจากบางส่วนของบทความข้างต้น
ในหนังสือ Alternative Media เขียนโดย Chris Atton

บทตั้งต้น (Preliminaries)
ในบทต้นนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อทางเลือก(alternative media)และสื่อมูลฐาน(radical media)(*) ซึ่งจะไม่ถูกจำกัดขอบเขตเฉพาะเรื่องของสื่อทางการเมืองและสื่อที่มีลักษณะต่อต้านเท่านั้น แต่จะอธิบายถึงสื่อในรูปแบบทางวัฒนธรรมใหม่ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น พวกนิตยสารต่างๆ ในประเภท Zines (หมายถึงนิตยสารที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำได้ด้วยตัวเอง หรือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใต้ดิน) และรูปแบบผสมผสานของการสื่อสารอีเล็กทรอนิกต่างๆ
(*) radical media - สื่อมูลฐาน, หมายถึงสื่อที่ให้การสนับสนุนการปฏิรูปทางการเมืองหรือสังคมอย่างถึงราก ในประวัติศาสตร์อังกฤษคำว่า radical เป็นของพวกสุดขั้วของ Liberal party ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 (advocating thorough political or social reform; politically extreme. ุ Brit. historical belonging to an extreme section of the Liberal party in the 19th century).

โดยหลักแล้วในบทต้นนี้ จะเสนอภาพร่างในเชิงทฤษฎีของ Downing (1984), Dickinson (1997), Duncombe (1997) และขยับขยายผลงานของพวกเขาสู่การนำเสนอแบบจำลองขึ้นมาอันหนึ่ง ที่มีข้อได้เปรียบในเชิงศักยภาพในการแปรเปลี่ยนเกี่ยวกับสื่อ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในลักษณะโต้ตอบเกี่ยวกับปฏิบัติการด้านการสื่อสารในเครือข่ายต่างๆ ของสังคม: กล่าวคือ จะเป็นการให้ความสนใจลงไปที่กระบวนการและความสัมพันธ์ของมัน

สื่อทางเลือกและสื่อมูลราก เป็นเรื่องที่แทบไม่เคยปรากฏขึ้นมาเลย ในจารีตทางทฤษฎีกระแสหลักที่ครอบงำการวิจัยทางด้านสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดช่องว่างในคำอธิบายต่างๆ ทางทฤษฎีเกี่ยวกับมัน. การวิเคราะห์ในแนวทางของมาร์กซิสต์คลาสสิกเกี่ยวกับสื่อ บรรจุอยู่ในเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ของที่ว่างอันนั้น, ในสื่อทางเลือกดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นเรื่องของความรุนแรง, ต่อต้านลัทธิทุนนิยมในเรื่องของการผลิต ซึ่งบ่อยครั้งผูกอยู่กับโครงการต่างๆ ที่รบกวนต่ออุดมการณ์ดังกล่าว และเกี่ยวโยงกับความแตกแยก

ตามความคิดของบรรดากรัมเชียนทั้งหลาย(Gramscians) เกี่ยวกับการเผชิญหน้าหรือโต้ตอบกับอำนาจนำ เป็นเรื่องที่ยังเข้าใจกันไม่ชัดเจนนัก โดยผ่านลำดับการอันหนึ่งของโครงการสื่อมูลรากต่างๆ (และไม่เพียงในพื้นที่ที่ชัดแจ้ง อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ของชนชั้นแรงงาน (Allen, 1985; Spark, 1985) และสิ่งพิมพ์สังคมนิยมแบบสุดขั้วต่างๆ เท่านั้น(Downing, 1984)). โดยความพยายามที่จะทำให้เป็นทฤษฎี และพัฒนากรอบแนวคิดในเรื่องสื่อทางเลือกและสื่อมูลราก, ซึ่งลำพังตัวมันเองนั้น, เนื้อหาประเภทนี้ยังมีอยู่ค่อนข้างน้อยมาก

ดูเหมือนว่าพวกแฟรงเฟริทสคูลจะได้ให้การสนับสนุนสิ่งพิมพ์ทางเลือกเหล่านี้ โดยผ่านการยืนยันและข้อเสนอของ Adorno ซึ่งอุตสาหกรรมวัฒนธรรม(culture industry)ได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรงสุดๆ โดยนโยบายเกี่ยวกับลัทธิล่าถอย (retreatism - การถอนตัวจากชีวิตทางสังคมโดยปฏิเสธคุณค่าและบรรทัดฐานต่างๆ โดยไม่เสนอทางเลือกใดๆ)(*)... Adorno พบว่าเครื่องทำสำเนา "เป็นเครื่องมือที่เหมาะสม… ที่ไม่ตกเป็นเป้าสายตาหรือเด่นชัดในการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบเหนือกว่าสิ่งพิมพ์อันมีมลทินของพวกชนชั้นกลางทั้งหลาย
(*) Retreatism - A form of deviance in which a person withdraws from social life by rejecting values and norms without offering alternatives.

Enzenberger (1976) ได้เสนอวิธีการปลดปล่อยทางการเมืองโดยการใช้ประโยชน์จากสื่อ ซึ่งถูกทำให้มีอัตลักษณ์ต่างๆ ดังนี้

(1) เป็นสื่อที่โต้ตอบกันได้ระหว่าง"ผู้รับสาร"กับ"ผู้ส่งสาร"
(2) เป็นการผลิตแบบรวบยอด (หมายถึงทำคนเดียวได้) และ
(3) เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจต่อชีวิตประจำวัน และความต้องการธรรมดาๆ ของผู้คน

ส่วน Denis McQuail ได้ก่อรูปสิ่งนี้ขึ้นมาในฐานะที่เป็นความสุดขั้วของ"แนวคิดพหุเสรีนิยม"(liberal pluralism) แต่ก็สงสัยในแบบจำลองดังกล่าวว่า จะสามารถทนทานต่อการสร้างแนวคิดที่สุดขั้วขึ้นมาใหม่นั้นได้หรือไม่, เขากล่าวว่า: "ขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันหนึ่ง กระนั้นก็ตาม มันเป็นอีกก้าวที่ไปไกลเกินกว่าความคิดสื่อกระแสหลักที่ครอบงำเราอยู่ ซึ่งผู้คนกำลังใช้ประโยชน์สื่อทั่วๆ ไปที่มีสเกลในขนาดเล็กลง และจะได้พบกับเนื้อหาที่ต่างออกไปจากสถาบันสื่อขนาดใหญ่ต่างๆ . (McQuail, 1987: 88)

ทิวแถว จำนวน และความหลากหลายของสื่อทางเลือกในรูปแบบทุกชนิดของพวกมัน (ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และผ่านสื่ออีเล็กทรอนิก) และมุมมองหรือทัศนียภาพ (นิตยสารที่ทำคนเดียว, หนังสือพิมพ์ของชนชั้นคนงานในสเกลขนาดใหญ่, หนังสือพิมพ์ของพวกหัวรุนแรง, นิตยสารต่างๆ เกี่ยวกับการเมืองเรื่องเพศ, สิ่งพิมพ์ใต้ดินของพวกอนาธิปไตย) ได้เสนอแนะถึงทฤษฎีเกี่ยวกับหพุเสรีนิยม ที่ผลักดันไปพ้นจากข้อจำกัดต่างๆ ของมัน. แบบจำลองอันหนึ่งของสื่อ ที่ซึ่งผู้คนได้ใช้สื่อที่มีอยู่ในสเกลขนาดเล็ก ซึ่งไม่ต้องการที่จะผลิตลัทธิอุดมการณ์ หรือถ่ายทอดการโค่นล้มสื่อขนาดใหญ่ ซึ่งพวกเราอาจค้นพบพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสื่อที่มีขนาดเล็กเหล่านี้กระจายตัวอยู่ทั่วไปแล้ว

ในฉบับพิมพ์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ของ McQuail (1987) เราได้พบแบบจำลอง"การมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย"ต่างๆ (democratic-participant model)(อีกครั้งที่มีรากฐานอยู่บนแนวคิดของ Enzenberger) ซึ่งได้ถูกพบในการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสาร กล่าวคือเป็นสื่อที่มีปฏิกริยาโต้ตอบกันได้ และสื่อสารกันในสภาพแวดล้อมขนาดเล็กของชุมชน กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน, และวัฒนธรรมย่อยต่างๆ ที่ชื่นชอบแบบแผนการโต้ตอบกันตามแนวราบ ซึ่งการมีส่วนร่วมและการมีปฏิกริยาโต้ตอบกันเป็นแนวคิดที่สำคัญ (McQuail, 1994: 132)

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ได้รับการอธิบายแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น นั่นคือ ไม่มีที่ใด (ไม่แม้แต่ในงานของ Enzenberger) ที่มันได้ถูกพัฒนาหลักการขึ้นมาอย่างสมบูรณ์เต็มที่. จากงานของ McQuail (1987) เราอาจรับเอาคำเตือนอันหนึ่งมาที่ว่า บางทีมันจะเป็นประโยชน์อยู่มากที่จะค้นหาให้ได้มาซึ่งทฤษฎีสำหรับสื่อทางเลือกและสื่อมูลราก ซึ่งมิใช่ในคำอธิบายที่มีอยู่ของสื่อกระแสหลักที่ครอบงำอยู่ แต่ในคำอธิบายเกี่ยวกับสื่อที่ตรงข้ามหรือเป็นปรปักษ์กับการครอบงำนั้น

ในที่นี้ผู้เขียนได้นำเสนอทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับสื่อทางเลือกและสื่อมูลราก ที่สร้างขึ้นจากคำชี้แจงต่างๆ เหล่านี้. ทฤษฎีดังกล่าวจะไม่ถูกจำกัดให้เป็นเฉพาะเรื่องทางการเมืองและการต่อต้านสื่อต่างๆ กล่าวคือ โดยเจตจำนงหรือความตั้งใจ ต้องการที่จะพัฒนาแบบจำลองอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ใช้สอยได้กับสื่อทางด้านศิลปะและวรรกรรม (เช่น วิดีโอ, ดนตรี, ศิลปะทางไปรษณีย์ หรือที่เรียกว่า mail art ด้วย (1) รวมถึงงานเขียนเชิงสร้างสรรค์) เช่นเดียวกับใช้ประโยชน์ได้กับรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ๆ อย่างเช่น Zine (*) และรูปแบบผสมผสานต่างๆ ของการสื่อสารอิเล็กทรอนิก(ICTs). แม้กระทั่งภายในพื้นที่อันโดดเดี่ยวของสื่อทางเลือกเอง ซึ่งมันค่อนข้างที่จะมีลักษณะหลากหลายและแตกต่างกันมาก (ทั้งทางด้านสไตล์ของการเขียน และทางด้านมุมมอง)
(1) Mail art is art which uses the postal system as a medium. The term "mail art" can refer to an individual message, the medium through which it is sent, and an art movement.

(*) A zine--an abbreviation of the word fanzine, and originating from the word magazine--is most commonly a small circulation, non-commercial publication of original or appropriated texts and images. More broadly, the term encompasses any self-published work of minority interest.


เราอาจจะพิจารณาลำดับการเหล่านี้ของการผลิต ในฐานะที่เป็นการกบฎเกี่ยวกับความรู้ที่ตกเป็นทาส(subjugate knowledge)แบบฟูโกเดียน"(Foucault, 1980: 81). ลำดับทิวแถวของสุ้มเสียงต่างๆ ซึ่งสามารถพูดออกมาตรงๆ เกี่ยวกับความรู้ที่ถูกทำให้ต่ำชั้น(subjugated knowledge)ได้เคลื่อนคล้อยเข้าไปใกล้สถานการณ์อันหนึ่ง ที่ซึ่ง"ความเป็นอื่น"สามารถนำเสนอหรือแสดงตัวของมันเองออกมาได้, ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ"บรรดานักเล่าเรื่องชาวพื้นเมือง"(native informants)ของ Spivak (*)(1988) สามารถพูดออกมาได้ ด้วยสุ้มเสียงที่หลากหลายแตกต่างของพวกเขาเองอย่างไม่ลดละ
(*) Gayatri Chakravorty Spivak (born February 24, 1942) is an Indian literary critic and theorist. She is best known for the article "Can the Subaltern Speak?", considered a founding text of postcolonialism, and for her translation of Jacques Derrida's Of Grammatology. Spivak teaches at Columbia University, where she was tenured as University Professor-Columbia's highest rank-in March 2007. A prolific scholar, she travels widely and gives lectures around the world. She is also a visiting faculty at the Centre for Studies in Social Sciences, Calcutta.

ด้วยเหตุนี้ สื่อทางเลือกและสื่อมูลราก จึงอาจได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นตัวบทที่หลากหลาย(heteroglossic text )(2) (multiple-voiced) (Buckingham และ Sefton-Green, อ้างใน Gauntlett, 1996: 91, และดึงมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างเชิงตรงข้ามที่สำคัญ และมีความหมายในเชิงตีความของ, Mikhail Bakhtin) ที่เปิดทางให้กับสุ้มเสียงอันแตกต่างแก่ความเป็นอื่นเหล่านั้น
(2) heteroglossic text - the presence of two or more voices in a text or other artistic work.

อย่างไรก็ตาม แบบจำลองดังกล่าวที่เสนอ ณ ที่นี้ ได้ไปไกลกว่าเรื่องของตัวบท(textual) ซึ่งในความแตกต่างหลากหลายที่ประสบ ผู้เขียนพบว่ามันมีการทดลองและการแปรสภาพในหลักการทั้งหลายเกี่ยวกับองค์กร, การผลิต, และความสัมพันธ์ทางสังคมภายใน ที่ตัดข้ามสื่อต่างๆ เหล่านี้ โดยการพิจารณาถึงเครื่องมือหรือวิธีการของการสื่อสาร ดังที่มันได้ถูกผลิตออกมาในเชิงเนื้อหาทางสังคม (Williams 1980)

อันนี้ได้เข้าใกล้ความคิดในช่วงต้นๆ ของ Raymond Williams ในเรื่องการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตย(democratic communication), ต้นกำเนิดต่างๆ ของ"สิ่งที่เป็นความหลากหลายอย่างแท้จริง … [ที่ซึ่ง] แหล่งต้นตอทั้งหมดได้เข้าถึงช่องทางต่างๆ ของมัน …[และที่ซึ่งคนเหล่านั้นที่มาเกี่ยวพันสามารถที่จะ]สื่อสาร, บรรลุถึง…, มีการรับรู้ในลักษณะกระตือรือร้น(active reception) และขานรับหรือโต้ตอบกันอย่างขะมักเขม้น" (Williams, 1963: 304)

ในการศึกษาของเขาเกี่ยวกับ zine ในสหรัฐอเมริกา, Duncombe (1997: 15) ได้กล่าวถึงความพยายามต่างๆ ของเขาที่จะจัดระเบียบเรื่องราวต่างๆ ที่ยังไม่เป็นระบบ". แบบจำลองเชิงทฤษฎีโดดๆ ที่อาจบรรจุเอาความหลากหลายไว้ได้อย่างดี จะเป็นหนึ่งในการทดสอบต่างๆ อันนี้ ซึ่งพร้อมด้วยการตรวจสอบเกี่ยวกับพลังคำอธิบายของมัน. โดยหลักการแล้ว ผู้เขียนได้ให้ภาพร่างเชิงทฤษฎีที่นำเสนอโดยงานศึกษาที่สำคัญ 3 เรื่อง นั่นคือ

- สื่อมูลรากทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ในช่วงทศวรรษที่ 1970s และช่วงต้น 1980s (Downing, 1984)
- การศึกษาเกี่ยวกับ"ทางเลือกต่างๆ ทางวัฒนธรรม"ของอังกฤษ (Dickinson, 1997) และ
- การศึกษาเกี่ยวกับ zine อเมริกัน ของ Duncombe (1997)

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังจะใช้ประโยชน์จากแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับทฤษฎีวัฒนธรรมด้วย (Bourdieu, 1984, 1993 และ 1997) ((หมายเหตุ: ในบทต้นนี้จะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเหล่านี้อย่างครบถ้วน)

การนิยามเรื่องเกี่ยวกับ"ทางเลือก"และ"ลักษณะมูลราก"
Defining "Alternative" and "Radical"
ลักษณะหลวมๆ ที่เด่นชัดในกรณีของการให้นิยามในขอบเขตความรู้นี้ ได้น้อมนำให้บรรดานักวิจารณ์ถกเถียงกันว่า มันไม่สามารถมีคำนิยามที่มีความหมายเกี่ยวกับศัพท์คำว่า"สื่อทางเลือก"(alternative media)ได้ (Abel, 1997). ในขณะที่คำว่า"ลักษณะมูลราก"(radical) ได้กระตุ้นนิยามอันหนึ่ง ซึ่งเดิมทีได้ถูกนำไปผูกพันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(ที่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการปฏิวัติ) (และคำว่า"สุดขั้ว-หัวรุนแรง" คืออย่างเดียวกันกับยุคสมัยที่เฉพาะอันหนึ่งของประวัติศาสตร์อังกฤษ), ส่วนคำว่า"ทางเลือก"(alternative) เป็นการประยุกต์ใช้โดยทั่วๆ ไปมากกว่า

กิจวัตร ธรรมเนียม และการปฏิบัติภายใน"สื่อทางเลือก" ในทศวรรษที่ผ่านมาปรากฏว่าได้ตั้งรกรากมั่นคงอยู่บนคำว่า"ทางเลือก" ในฐานะที่เป็นคำที่ได้รับความนิยม. โดยศัพท์คำนี้ ตามข้อเท็จจริงได้ครอบคลุมอย่างแข็งแกร่ง ล้อมรอบหรือตีวงไปไกลเกินกว่าคำว่า"มูลราก", หรืองานตีพิมพ์ในเชิงเปลี่ยนแปลงสังคม กล่าวคือ มันสามารถที่จะรวมเอานิตยสารสไตล์การใช้ชีวิตทางเลือกเข้ามาได้ด้วย, งานพิมพ์ประเภท zine เป็นทิวแถวและหลากหลายอย่างสุดๆ และสิ่งพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่โต อย่างบทกวีและผู้พิมพ์งานเขียนหรืองานประพันธ์ต่างๆ ก็ถูกรวมเข้ามาได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะจัดวางศัพท์"ทางเลือก"ลงในฐานะศัพท์เชิงวิเคราะห์ อาจจะต้องเจาะจงลงไปเล็กน้อย มากกว่าที่จะอธิบายมันว่า"ไม่ใช่กระแสหลัก"(non-mainstream) เพียงเท่านั้น. นักวิจารณ์บางคนดูเหมือนว่าจะสับสนกับศัพท์ 2 คำนี้. ผู้เขียนคิดว่ามันมีคุณค่าที่จะพิจารณาลงไปในรายละเอียดบางอย่าง ถึงคำนิยามต่างๆ เหล่านี้ที่ช่วงชิงกันเกี่ยวกับการให้ความหมาย"สื่อทางเลือก".

ข้อถกเถียงที่เด่นชัดมากสุด ได้ถูกนำเสนอขึ้นมาโดยบรรดาผู้ให้การสนับสนุนและบรรดาผู้ต่อต้านสื่อทางเลือก ซึ่งต่างก็ยังไม่ดีพอด้วยกันทั้งคู่ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ให้หรือเสนอความเข้าใจอย่างถ่องแท้เพียงพอเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว. ในที่ทางของพวกเขา ผู้เขียนได้เสนอแบบจำลองอันหนึ่งเกี่ยวกับสื่อทางเลือกที่ได้ถูกนำไปผูกพันอย่างมากกับการที่มันถูกรวบรวมหรือจัดการอย่างไร ในบริบทของสังคมวัฒนธรรม ด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ซึ่งในที่นี้ จะเริ่มต้นด้วยประเด็นของ"เนื้อหาเรื่องราว"

เนื้อหาเรื่องราวของสื่อทางเลือก
มันไม่มีความขาดแคลนเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าสื่อบางชนิด ได้เสนอตัวและเป็นตัวแทนกลุ่มสังคมเฉพาะต่างๆ ในหนทางที่ว่า กลุ่มเหล่านั้นควรได้รับการตำหนิสำหรับเงื่อนไขต่างๆ ทางเศรษฐกิจหรือสังคมอย่างไร, หรือว่าการที่พวกมันได้ยึดถือทัศนะทางการเมืองหรือวัฒนธรรมบางอย่างที่สุดขั้วเอาไว้. กลุ่มเหล่านั้นแทบจะไม่ประกอบด้วยชนชั้นสูงที่มีอำนาจและอิทธิพลใดๆ ซึ่งโดยปรกติแล้วมีโอกาสเข้าถึงสื่อต่างๆ มากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ. โดยในทางตรงข้าม กลุ่มอื่นๆ กลับถูกผลักให้ไปเป็นชายขอบและถูกทอนอำนาจลงโดยปฏิบัติการต่างๆ ที่กระทำกับพวกเขาในสื่อมวลชนกระแสหลัก การดำเนินการเหล่านี้ค่อนข้างสวนทาง และไม่ได้มีการชดเชยหรือมีการแก้ไขให้ถูกต้อง

กลุ่มสื่อของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์(The Glasgow University Media Group (1976, 1982, 1985 เป็นตัวอย่าง) ได้แสดงให้เห็นว่า สมาคมแรงงานทั้งหลาย, คนงานที่ทำการสไตร์ค, และการพรรณาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านอุตสาหกรรม มักได้รับการบรรยายส่วนใหญ่มาจากตำแหน่งของคนที่มีอำนาจ นั่นคือ บรรดานักการเมืองทั้งหลาย, เจ้าของบริษัท, และบรรดาผู้จัดการของพวกคนงาน; พวกคนงานและบรรดาตัวแทนของคนเหล่านี้ ในอีกด้านหนึ่งนั้น ได้รับการพรรณา อย่างที่เป็นไปได้มากว่า เป็นพวกที่ได้สร้างความขุ่นเคือง เลวร้าย เท่าๆ กันกับพวกบ่อนทำลายการปฏิบัติงาน โดยปราศจากการผูกพันกับตรรกะและสามัญสำนึกใดๆ

ในงานศึกษาเกี่ยวกับรายงานแผ่นดินใหญ่ของไอร์แลนด์เหนือของ David Miller (1994), การสำรวจถึงคุณสมบัติของสื่ออเมริกันเกี่ยวกับพวกซ้ายใหม่อเมริกัน ของ Todd Gitlin (1980) ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และการศึกษาเรื่องตัวแทนสื่ออเมริกันของชาวเกย์และเลสเบียน ของ Marguerite J. Moritz (1992) ทั้งหมดล้วนชี้ไปถึงการรายงานข่าวอย่างมีอคติและเลือกเฟ้นอย่างสุดขั้ว. ในที่นี้ ผู้เขียนให้ความใส่ใจค่อนข้างน้อยในการสำรวจตรวจตราถึงเหตุผลต่างๆ สำหรับการประกอบสร้างทางสังคมของข่าวสื่อมวลชน (ที่มีรากฐานอยู่บนความสลับซับซ้อนของห้องข่าวปกติและเป็นพิธีกรรม, เงื่อนไขต่างๆ ของการผลิต, ความคิดเห็นทั้งหลายเกี่ยวกับความเป็นมืออาชีพและความเป็นวัตถุวิสัย, มาตรฐานที่ถูกฝึกมาเกี่ยวกับการเขียนและการเรียบเรียง ฯลฯ)

ผู้เขียนค่อนข้างต้องการจะเน้นไปที่การโต้ตอบของสิ่งพิมพ์ทางเลือก ที่มีต่อการประกอบสร้างอันนั้น ดังที่ได้มีการสาธิตให้เห็นซึ่งไม่ใช่ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสื่อพวกนั้นอย่างง่ายๆ แต่โดยการสร้างข่าวของพวกเขาเองขึ้นมา โดยมีพื้นฐานอยู่บนคุณค่าทางเลือก และขอบข่ายโครงร่างเกี่ยวกับการรวบรวมข่าว และการเข้าถึง. พูดอย่างสั้นๆ คุณค่าเหล่านี้ดำเนินการจากแรงปรารถนาอันหนึ่งที่จะนำเสนอการตีความต่างๆ ในเชิงเรื่องราว - และเพื่อนำเสนอแก่นหรือสาระทั้งหลาย ที่ไม่ใช่การพิจารณาธรรมดาๆ ในฐานะข่าวสาร - ซึ่งท้าทายลำดับชั้นสูงต่ำทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการเข้าถึง (Glasgow University Media Group, 1976: 245)

ชนชั้นหัวกระทิ ผู้เชี่ยวชาญ และคนที่มีความรู้สูง มีแนวโน้มง่ายมากและเข้าถึงฐานความคิดต่างๆ ได้อย่างถึงแก่นมากกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย (เช่น บรรดานักประท้วง, ชนกลุ่มน้อย และกระทั่งคนธรรมดาสามัญ) นั่นคือ "กลุ่มที่มีอำนาจและปัจเจกชนทั้งหลายมีอภิสิทธิ์และเข้าถึงข่าวในตัวมันเองได้เป็นประจำ และเข้าถึงวิธีการและเครื่องมือการผลิตของมันได้ด้วย" (Glasgow University Media Group, 1976: 114). วัตถุประสงค์ของสื่อทางเลือกจะให้ความสนใจในข่าวที่ง่ายๆ ธรรมดา นั่นคือ เพื่อตระเตรียมการเข้าถึงสื่อสำหรับคนกลุ่มเหล่านี้ในกรณีต่างๆ ที่สัมพันธ์กับผลประโยชน์ของพวกเขา.

วิธีการนี้ได้พัฒนาสื่อต่างๆ เพื่อสนับสนุนและทำให้การเข้าถึงกลายเป็นเรื่องปรกติ, ที่ซึ่งคนทำงาน, ชนกลุ่มน้อยทางเพศ(sexual minorities - หมายถึงพวกรักร่วมเพศต่างๆ), สหภาพแรงงาน, กลุ่มประท้วงและต่อต้าน, - ผู้คนที่มีสถานภาพต่ำในด้านต่างๆ ของความสัมพันธ์ของพวกเขากับกลุ่มชนชั้นสูงผู้เป็นเจ้าของกิจการทั้งหลาย, บรรดาผู้จัดการ และผู้อาวุโสในวิชาชีพ - สามารถสรรค์สร้างข่าวสารของพวกเขาเองขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะโดยการปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะตัวแสดงต่างๆ ที่สำคัญ หรือโดยการสร้างข่าวสารที่สอดคล้องกับสถานการณ์และผลประโยชน์ของพวกเขา

John Fiske (1992d) ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง "สื่อกระแสหลัก" กับ "สื่อกระแสรอง"(หรือสื่อทางเลือก)ในการคัดข่าวของสื่อเหล่านี้ และในหนทางที่การคัดเลือกนั้นได้ถูกกระทำ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่สื่อทางเลือกทำให้ "การระงับเหตุการณ์ต่างๆ"(repression of events)เป็นเรื่องการเมืองขึ้นมาได้อย่างไร (แม้ว่า Fiske จะสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับความสอดคล้องของสิ่งพิมพ์ทางเลือก ต่อความเอาใจใส่ตามปรกติของผู้คนธรรมดา). อันนี้ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ลักษณะเฉพาะที่ชัดเจนเกี่ยวกับสื่อทางเลือก ที่มองดูวิธีการเข้าถึงเนื้อหาข่าวต่างๆ

กลุ่มต่อต้านเรื่องการถูกเซ็นเซอร์ในสหรัฐฯ (The US pressure group Project Censored) ได้ผลิตสิ่งพิมพ์ประจำปี ที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ"เรื่องที่ถูกเซ็นเซอร์อันดับสุดยอดต่างๆ (the US's "top censored stories") ของสหรัฐฯ เอาไว้. มี 25 ข่าวได้ถูกนำเสนอในฐานะข่าวที่ไม่เป็นข่าว(the news that didn't make the news)ในฉบับปี 1999 ของมัน, มีข่าวอยู่เพียง 4 เรื่องเท่านั้นที่ได้มีการสืบสวนโดยสื่อกระแสหลักของอเมริกัน

นับจากการก่อตัวขึ้นมาของโครงการนี้ในปี ค.ศ.1976, โครงการเกี่ยวกับการสืบสวนเรื่องการเซ็นเซอร์(Project censored) ได้พิสูจน์อย่างต่อเนื่องถึงสมมุติฐานที่ว่า สื่อทางเลือกเป็นสถานที่พักพิงหนึ่งสำหรับเรื่องราวต่างๆ ที่ ด้วยเหตุผลใดก็ตาม (จะโดยคำแนะนำของรัฐบาล, แรงกดดันทางธุรกิจจากผู้ลงโฆษณา หรือผู้เป็นเจ้าของสื่อ - ปฏิกริยาของผู้รับสาร [cross-media ownership], แนวคิดอนุรักษ์นิยมที่ฝังอยู่ในการรายงานข่าว, การลำดับความสำคัญของข่าว) ได้ทำให้มันไม่ปรากฏตัวในสื่อกระแสหลัก

ขณะที่ไม่มีโครงการอย่างเดียวกันนี้ในประเทศอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นไปได้ที่จะค้นหาตัวอย่างต่างๆ ในทำนองเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น นิตยสาร Lobster (*) ของอังกฤษที่ทำเรื่องเกี่ยวกับพหุลักษณ์ทางการเมือง เป็นนิตยสารฉบับแรกที่ได้เปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับ Colin Wallace (3) และปฏิบัติการ Clockwork Orange (4) แผนการลับของ M15 เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของรัฐบาลวิลสัน
(*) About Lobster - Lobster was first published in 1983. It investigates state espionage, government conspiracies, the abuse of governmental power, and the influence of the intelligence and security agencies on contemporary history and politics. นอกจากนี้ยังบอกแก่ผู้อ่านว่า… If you generally accept the government line, that there is a "national interest", and believe what you read in the newspapers, then Lobster is probably not for you. (สนใจอ่านเพิ่มเติม คลิกไปที่ http://www.lobster-magazine.co.uk/)

(3) ทหารจากหน่วยสงครามจิตวิทยาของอังกฤษ
(4) เป็นปฏิบัติการโครงการลับของฝ่ายความมั่นคง ที่ถูกกล่าวหาว่า พัวพันกับพวกฝ่ายขวา เพื่อทำลายชื่อเสียงบรรดานักการเมืองอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 1970s ปฏิบัติการนี้เป็นของหน่วยสืบราชการลับและสำนักพิมพ์ของทหารอังกฤษ ที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และจงใจให้ข่าวเท็จ(disinformation) และเรื่องราวต่างๆ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยเสนอบนสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในฐานะที่เป็นสงครามจิตวิทยาที่ต่อสู้กับกองทัพพลเรือนในไอร์แลนด์เหนือ

แน่นอน ก่อน The Sunday Time และ Nature ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้, นิตยสารเกี่ยวกับการสืบสวนทางเลือก ที่ไม่ได้ออกเป็นประจำชื่อ Open Eye ได้ตีพิมพ์เรื่องราว หมายเหตุความคิดเห็นของ Peter Duesberg (นักชีววิทยาโมเลกุล) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบอร์กเลย์, ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องข้อถกเถียงเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ ในเรื่องมูลเหตุของโรคเอดส์(AID/HIV), ซึ่งได้ถูกรวมอยู่ในหมายเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นที่ผิดแผกไปจากเดิมเกี่ยวกับโรคเอดส์

ข่าวเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ในอังกฤษ จะถูกพบแต่เพียงในต่างประเทศ: นิตยสารรายสามเดือน Covert Action Quarterly ของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์เรื่องราวอย่างละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย - เหยื่อที่เป็นบรรดาวัยรุ่น Republican ในไอร์แลนด์เหนือของกองทัพอังกฤษ

ในวัฒนธรรมสื่อ ปรากฏว่ามีความสนใจน้อยมากในการรายงานการสืบสวนเชิงลึก, สื่อทางเลือกได้มีการตระเตรียมและจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับการตีความในเรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ของโลก ซึ่งมิฉะนั้นแล้วเราอาจไม่เคยเห็นและได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย. ตามปรกติแล้ว เรื่องราวเชิงสืบสวนอย่างเจาะลึกจะหาอ่านไม่ได้จากสื่อกระแสหลัก. สิ่งพิมพ์ทางเลือกตั้งอยู่บนฐานความสนใจเกี่ยวกับการไหลเลื่อนทางความคิดอย่างอิสระ มากกว่าคำนึงถึงเรื่องของผลประโยชน์หรือกำไรใดๆ

งานศึกษาของชาวอเมริกัน 2 ชิ้น ซึ่งได้แสดงให้เราเห็นถึงนัยสำคัญเกี่ยวกับสื่อทางเลือก สำหรับเนื้อหาที่ค่อนข้างรุนแรง และมีลักษณะที่ไม่ธรรมดา คือ

งานชิ้นแรก, Patricia Glass Schuman(1982: 3) ได้ให้เหตุผลว่า "สิ่งพิมพ์ทางเลือก - ในรูปแบบใดก็ตาม คือนักเขียนแผ่นพับสมัยใหม่". สื่อทางเลือกใช้วิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับปรัชญานักกิจกรรมที่สรรค์สร้างข้อมูล เพื่อการเคลื่อนไหวที่ทันกาลและเป็นไปอย่างรวดเร็ว. ด้วยวิธีการดังกล่าว พวกเขาจึงสามารถที่จะเข้าไปพัวพันกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา. มันเป็นธรรมชาติของสื่ออันนั้น ที่จะเข้าถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ณ กึ่งกลางดวงใจ เนื่องจากมันเป็นธรรมชาติของกิจกรรมเพื่อที่จะตอบโต้กับประเด็นปัญหาสังคมนั่นเอง. Schuman ได้แสดงให้เห็นว่า การข่มขืนกระทำชำเราเป็นปัญหาสังคมอย่างไร ซึ่งได้ทำให้เรื่องนี้เป็นอาชญากรรมทางเพศขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยสิ่งพิมพ์ทางเลือกที่มีการตีพิมพ์ - หนึ่งปีเต็มก่อนที่ New York Time จะระบุหรือชี้ถึงเรื่องราวดังกล่าว, และสี่ปีก่อนที่ผู้พิมพ์หนังสือสำคัญเล่มหนึ่ง จะช่วงชิงเรื่องราวดังกล่าวมาครอบครอง

งานชิ้นที่สอง, Terri A. Kettering (1982) ได้สำรวจถึงประเด็นปัญญาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียด โดยการเปรียบเทียบการรายงานข่าวในสื่อทางเลือกของสหรัฐฯ กับสิ่งพิมพ์กระแสหลัก, พร้อมด้วยการศึกษาทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิวัติอิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1970s. ในทั้งสองกรณี เธอได้นำเสนอหลักฐานที่กระตุ้นความสนใจ เพื่อยืนยันถึงงานวิจัยของเธอนั้นว่า "ทั้งคู่ มันเหมาะเจาะในเรื่องเวลาและเนื้อหา สิ่งพิมพ์ทางเลือกสามารถถูกแสดงให้เห็นในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอข้อมูลที่เชื่อถือได้" (1982: 7)

ข้ออ้างและเหตุผลข้างต้นได้สนับสนุนองค์ประกอบที่สองและสามของนิยามความหมายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทางเลือก ที่นำเสนอโดย the Royal Commission on the Press (1977) ดังต่อไปนี้:

1. สิ่งพิมพ์ทางเลือกเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นต่างๆ ของชนกลุ่มน้อย
2. เป็นการเสนอท่าทีที่เป็นปรปักษ์ หรือต่อต้านความเชื่อที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวาง
3. เป็นทัศนะผูกพันเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ถูกรายงานข่าวตามปกติโดยสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่มีอยู่ตามร้านหนังสือพิมพ์

The Royal Commission on the Press ได้เน้นคุณค่าที่มีศักยภาพเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งพิมพ์ทางเลือก ซึ่งแตกต่างไปจากสื่อกระแสหลัก(established media)ที่ยังไม่มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหาเพียงพอ และเป็นความไม่เต็มใจหรือไร้ความสามารถในส่วนที่สิ่งพิมพ์กระแสหลัก ที่จะจัดหาพื้นที่สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มเล็กๆ. สื่อทางเลือกยังให้การยอมรับความเป็นชายขอบของสิ่งพิมพ์จำนวนมาก ซึ่งการพิมพ์จำนวนไม่มากนัก ได้ดำเนินการและไม่ถูกสังเกตหรือมองเห็นได้ในตลาดด้วย

ส่วนใหญ่แล้วการประเมินข้างต้นนี้เป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยประการแรกของนิยามความหมายของ The Royal Commission on the Press เป็นสิ่งซึ่งยังคงถกเถียงกันอยู่ นั่นคือ ขนาดของผู้รับสารที่เป็นชนกลุ่มน้อย เป็นเรื่องที่สามารถโต้เถียงกันได้หรือยังเป็นปัญหา สื่อทางเลือกได้ตีพิมพ์และยังคงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่บางกลุ่ม อย่างเช่น สื่อของชาวเกย์และเลสเบียนเป็นตัวอย่าง

เมื่อพิจารณาถึงคลื่นการประท้วงของมวลชน มันเป็นที่ถกเถียงกันได้ ไม่ว่าทัศนะดังกล่าวจะถูกเสนอในสื่อทางเลือกหรือไม่ก็ตาม อันที่จริงแล้ว มันไม่ได้ถูกยึดถือหรือครอบครองกันอย่างกว้างขวาง ในทำนองเดียวกันกับการยืนยันของ John Fiske (1992a: 47) ที่ว่า จำนวนมากของสื่อทางเลือก ได้แพร่กระจายและไหลเวียนอยู่ในท่ามกลางผู้คนจำนวนน้อย ของชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเท่านั้น

ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับคำอธิบายของการผลิตข่าวทางเลือกร่วมสมัย (ยกตัวอย่างเช่น Dickinson, 1997; Minority Press Group, 1980a; Whitaker, 1981) การยืนยันต่อมาของเขาที่ว่า อันนี้เป็นตัวแทนการต่อสู้อันหนึ่งระหว่างความ "จงรักภักดีที่มีต่อศูนย์กลาง" กับ "ความจงรักภักดีที่มีต่อชายขอบ" ค่อนข้างมากกว่าจะเป็นเรื่องระหว่าง"กลุ่มคนที่มีอำนาจ" กับ "ผู้คนที่ไม่น่าเชื่อถือ". อันที่จริง ดูเหมือนอันนี้จะขัดแย้งกันอย่างตรงไปตรงมา โดยคนเหล่านั้นซึ่งจุดมุ่งหมายของพวกเขาที่วางอยู่บนการตีพิมพ์ข่าวทางเลือก ก็เพื่อการทวงคืนอำนาจมาสู่ความเป็นอยู่ของพวกเขา จากการที่พวกเขาได้พิจารณาตัวเองไม่เกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีอำนาจอย่างเด่นชัด

บรรณาธิการทั้งหลายของ Alternative in Print (งานอ้างอิงบรรณานุกรมที่แพร่หลายในปัจจุบันหลักๆ ในสาขาความรู้นี้) ได้นำเสนอบรรทัดฐาน 3 ประการที่เด่นชัด ที่เป็นการตรวจสอบบรรดาสิ่งพิมพ์ที่ปรากฏบนหน้ากระดาษของพวกเขา. พวกเขาถือว่า ผู้พิมพ์ที่สามารถได้รับการคิดว่าเป็นพวกทางเลือก ถ้าหากว่ามันเข้าเกณฑ์กับอย่างน้อยที่สุด หนึ่งในสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้:

1. ผู้พิมพ์ต้องไม่ทำไปเพื่อการพาณิชย์ เป็นการแสดงให้เห็นว่า มีพื้นฐานในการเอาใจใส่เกี่ยวกับความคิดต่างๆ
ซึ่งไม่ใช่สนใจในเรื่องผลกำไร อันนี้เป็นแรงกระตุ้นเกี่ยวกับการตีพิมพ์

2. เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับงานพิมพ์ของพวกเขา ควรต้องโฟกัสลงไปบนความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ
การแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ หรือปรกติแล้วเป็นการรวมตัวกันอันหนึ่งของทั้งคู่

3. ท้ายสุด มันเป็นการเพียงพอสำหรับผู้พิมพ์ ที่จะนิยามตัวของพวกเขาเองในฐานะที่เป็นผู้พิมพ์งานทางเลือก
(Alternative in Print, 1980: vii)

บรรทัดฐานที่เรียบง่ายอย่างเด่นชัดนี้ นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ อย่างเด่นชัด เช่นข้อที่หนึ่งที่ว่า "การไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ" มันพอมีอยู่บ้าง(แม้จะไม่มาก)ในสิ่งพิมพ์กระแสหลัก และประเด็นต่อมาในข้อนี้ ไม่มีการบ่งชี้ใดๆ ที่ให้ไว้ เกี่ยวกับการให้ความเอาใจใส่ในเรื่องความคิดที่สาธิตให้เห็นว่าเป็นอย่างไร? ผู้พิมพ์ที่ไม่ได้มีการหวังผลกำไร สามารถที่จะรวมเอาเรื่องการบริจาคเข้ามาได้อย่างง่ายๆ

ส่วนข้อที่สอง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีการจัดหาตัวอย่างเกี่ยวกับ"การรับผิดชอบต่อสังคม" แต่บรรดานักเขียนปัจจุบัน กำลังเขียนจากมุมมองหรือทัศนียภาพที่เราคาดหวังถึงประเด็นปัญหา 3 ประการที่มีความโดดเด่น นั่นคือ การส่งเสริมเศรษฐศาสตร์แนวยั่งยืน, เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่น, และเกี่ยวกับประชาธิปไตยท้องถิ่น. ทั้งหมดนี้ เป็นการเผชิญหน้ากับกระแสโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มขึ้น และการเอาใจใส่เกี่ยวกับพลังอำนาจทางการพาณิชย์และการเมืองในโลกปัจจุบัน ที่กำลังเชื่อมต่อกันในลักษณะอนุกรมระหว่างรัฐบาลแห่งชาติ และผลประโยชน์ของบริษัท

โชคไม่ดี สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในบรรทัดฐานข้อที่สองนี้ที่กล่าวเกี่ยวกับ"การแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์, หรือปรกติแล้วการรวมตัวกันของทั้งคู่" ก่อนอื่นใดทั้งหมดเกี่ยวกับนิยามกว้างๆ ของสื่อทางเลือก มันได้รวมเอาแบบฉบับของการตีพิมพ์เชิงศิลปะเข้าไปด้วย ถัดจากนั้นก็คือความคับแคบของมันที่มีต่อหมวดหมู่อันหนึ่ง ซึ่งในประสบการของข้าพเจ้า มันแทบจะไม่ถูกทำให้เผชิญหน้ากับความรู้นี้เลย นั่นคือ การรวมตัวกันของ"การแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์" กับ "ความรับผิดชอบต่อสังคม"

ในการสำรวจของข้าพเจ้าเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทางเลือกของอังกฤษและอเมริกัน ข้าพเจ้าสามารถที่จะแยกแยะตัวอย่างจำนวนมากเกี่ยวกับหมวดหมู่ทั้งสองเหล่านี้ได้ ดังที่มันแยกออกจากกัน และมักไม่ค่อยรวมเข้าด้วยกัน. แม้ว่าความหลากหลายของลักษณะต่างๆ ตัวอย่างเช่น zine (สิ่งพิมพ์ใต้ดิน, สิ่งพิมพ์ราคาถูก, สิ่งพิมพ์ที่ทำด้วยตนเอง)อาจรวมทั้งคู่เข้ามาไว้ด้วยกัน อันนี้มิได้กล่าวว่า มันเป็นการเชื่อมประสานหรือการประกบเข้าด้วยกันระหว่างพวกมัน (atton, 1996a)

บรรทัดฐานข้อที่สามนั้นที่ว่า "มันเป็นการเพียงพอสำหรับผู้พิมพ์ทั้งหลายที่จะนิยามตัวของพวกเขาเองในฐานะผู้พิมพ์สื่อทางเลือก" โดยแทบไม่ต้องวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ. นับจากการก่อเกิดขึ้นมาของ Zine ในช่วงทศวรรษที่ 1980s, บรรดาผู้พิมพ์สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ (ส่วนมากหนังสือพิมพ์) ได้พยายามที่จะทำให้เกิดประโยชน์บนความดึงดูดความสนใจของพวกมันต่อผู้อ่านวัยรุ่น ซึ่งส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจกับสื่อกระแสหลัก โดยการออกหรือนำเสนอสิ่งพิมพ์เทียมของพวกเขาเองขึ้นมา(their own ersatz zine) สำหรับความหลอกลวงนั้น

สุดท้าย บรรทัดฐานทั้ง 3 ข้อข้างต้น - และเราจะต้องจำไว้ว่า พวกมันถูกมุ่งหมายให้เป็นบรรทัดฐานที่แยกๆ กันอยู่ ซึ่งเป็นการประกาศอันหนึ่งที่ต้องการเพียงให้ใครๆ ก็ได้ ถูกพิจารณาในฐานะที่เป็น"ทางเลือก" - ซึ่งในท้ายที่สุด ไม่ได้น้อมนำเราไปสู่ ณ ที่แห่งใดที่ชัดเจนเกินไปกว่าการเป็นนิยามความหมายในเชิงลบธรรมดามากๆ ที่ได้รับการสรุปได้ดีที่สุดโดย Comedia: สื่อทางเลือก มันไม่ใช่แบบแผนที่ตั้งมั่นแล้ว(established order); มันไม่ใช่ระบบทุนนิยม (capitalist system); มันไม่ใช่ทัศนะกระแสหลัก(mainstream view)…; หรือมันไม่ใช่วิถีทางตามขนบจารีต(conventional way)ในการทำบางสิ่งบางอย่าง (Comedia, 1984: 95)

ความคลุมเครืออันนั้นเกี่ยวกับธรรมชาติและความตั้งใจ ได้ทำให้ผู้สนับสนุนสื่อทางเลือกและสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเปิดไปสู่การวิจารณ์ที่ดุเดือด ซึ่งได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของพวกมัน. ถ้าหากว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะนิยามในสิ่งที่พวกเขาทำได้ ทำไมพวกเขาจึงควรได้รับการพิจารณาในฐานะกรณีพิเศษ ที่พวกเขามองตัวเองดังที่เป็นอยู่ อย่างชัดเจนมาก ? Richard Abel ถกว่า, "สิ่งที่เราถูกทิ้งให้รับผิดชอบก็คือ ศัพท์ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ไม่ตายตัว ที่ขาดเสียซึ่งการมีนัยสำคัญที่แท้จริงใดๆ" (Abel, 1997: 79). เขาอ้างว่า สื่อทางเลือกไม่ได้ให้การแสดงออกที่น่าเชื่อถือใดๆ เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะพิเศษในพื้นที่ 3 ประการ นั่นคือ

- บนพื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหา
- บนการสนับสนุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และ
- บนพื้นฐานเกี่ยวกับการมีอิสรภาพทางเศรษฐกิจ

การนิยามในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับสื่อทางเลือก สามารถเริ่มต้นด้วยการมีอยู่ของเนื้อหาที่สุดขั้ว(รุนแรง - radical content) บ่อยมากที่สุด มันเข้าข้างหรือเป็นพันธมิตรกับการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. บางคนอาจจะให้เหตุผลว่า การมีอยู่เกี่ยวกับงานเขียนทางการเมืองของ Noam Chomsky ไม่ว่าจะสาขาใดของ Waterstone (*)(เมื่อครั้งหนึ่งมันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญของสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก และวารสารของพวกอนาธิปไตย) ได้พิสูจน์ว่า เราไม่ต้องการสื่อทางเลือกเพื่อการส่งผ่านถ่ายทอดความคิดสุดขั้วต่างๆ. แต่อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีโอกาสอยู่มากสำหรับเนื้อหาที่สุดขั้วที่อยู่นอกเนื้อหากระแสหลัก นั่นคือ สื่อมวลชนอเมริกันและอังกฤษมิได้ให้ความสนใจเอาเลย ในการเมืองที่รุนแรงสุดขั้วของลัทธิอนาธิปไตย (ในการโวยวายทั้งหมดของมัน)
(*) Waterstone's is a United Kingdom-based chain of bookshops. Its first branch opened in 1982. Waterstone's has around 330 shops in the United Kingdom, Republic of Ireland (including Dublin and Cork), and continental Europe (including Amsterdam and Brussels). A substantial number of the shops are close to universities and offer a wide range of academic books as well as general books. Its flagship London store is on Piccadilly. The main academic branch is on Gower Street, between University College London and the Royal Academy of Dramatic Art.

พยานการรับรู้ที่มีลักษณะชั่วเลวเกี่ยวกับศัพท์คำว่า"อนาธิปไตย"(anarchist)ในการรายงานข่าวของสื่อกระแสหลัก มันเกี่ยวกับการประท้วงต่างๆ ในวันเมย์เดย์(วันแรงงาน 1 พฤษภาคม)ในกรุงลอนดอน หรือการรายงานข่าวของปีก่อนโน้น เกี่ยวกับการประท้วงองค์กรการค้าโลกที่ Seattle. สมการของลัทธิอนาธิปไตยที่เท่ากับลัทธิอันธพาล (หรือที่เลวร้ายที่สุด กล่าวหาว่าเป็นลัทธิก่อการร้าย) เป็นสิ่งซึ่งถูกตราไปตลอดกาล (Atton 1996b) โดยขัดแย้งหรือตรงข้ามกับสื่อต่างๆ เช่น วารสาร, นิตยสาร, จดหมาย, และเว็บไซต์ของพวกอนาธิปไตย ที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการต่อต้านของชนชั้นแรงงาน และการต่อสู้กับทุนนิยมโลกาภิวัตน์. ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งกลับเต็มไปด้วยอคติและความรู้สึกส่วนตัว ที่กล่าวหาผู้ประท้วงเหล่านี้ โดยนำเสนอออกมาภายใต้กระบองของตำรวจ(police baton). สื่ออิเล็กทรอนิกอย่าง Spunk Press (*) ได้เสนอสาระอันเป็นวาทะอันงดงามยอดนิยม ที่เป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างหายาก ซึ่งเป็นข้อมูลของนักกิจกรรมและเนื้อหาของบรรดาปัญญาชนในทางตรงข้าม
(*) http://www.spunk.org/

เราอาจไม่เลือกลงชื่อแสดงความเห็นด้วยต่อทัศนะของพวกเขา กระนั้นก็ตาม พวกมันมีอยู่ในบรรดาสิ่งพิมพ์ทางเลือกเหล่านั้น ในความไม่มีอยู่ของข้อเท็จจริงเหล่านี้ในที่อื่นๆ. และเนื้อหาก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับนิตยสารแฟนฟุตบอลส่วนใหญ่ ที่เน้นความรุนแรงในบางระดับ. แน่นอน ส่วนใหญ่มันเป็นไปในทางตรงข้าม. ณ ใจกลางอันเป็นหัวใจ มันเป็นการวิจารณ์เกี่ยวกับลัทธิกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งเต็มที่เท่าๆ กับที่เราอาจพบได้ในนิตยสารของพวกอนาธิปไตย. บทบรรณาธิการชิ้นหนึ่งใน Not the View, นิตยสารแฟนที่ให้การสนับสนุนทีมฟุตบอล Celtic ได้แสดงภาพนี้ได้ดีพอสมควร: "ปัญหาเกี่ยวกับการมีคลับหนึ่งที่ดำเนินการโดยบรรดานักลงทุนทางการเงินก็คือ เมื่อพวกเขามองไปที่ทีม Celtic พวกเขาเห็นแต่เพียงห่อของสินทรัพย์ที่มันทำเงิน เท่านั้น … ซึ่งในทางตรงข้าม พวกเราในฐานะแฟนของทีมฟุตบอลนี้ เรามองเห็นบางสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษและมันเป็นความมหัศจรรย์"

แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่เป็นอุดมคติของคำพูดหลังอาจเป็นการชดเชยคำพูดแรก ที่เรียกร้องต้องการการแสดงที่รุนแรงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. Not the View อาจไม่ได้เดินอยู่บนแผน 5 ปี แต่แน่นอน มันกำลังวิจารณ์มูลเหตุของอาการป่วยอยู่. ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจว่ารากเหง้าทั้งหลายของนิตยสารแฟนฟุตบอลจำนวนมากได้ถูกมองว่า มันวางอยู่ในนิตยสารหรือ fanzine (*) ประเภทพั๊งค์ และนิตยสารเหล่านั้นแสดงออกถึงจุดยืนในทางตรงข้ามทำนองเดียวกัน
(*) An amateur-produced magazine written for a subculture of enthusiasts devoted to a particular interest.

บรรณาธิการบางคนของนิตยสารแนวพั๊งค์ ได้ย้ายไปยังตำแหน่งบรรณาธิการของนิตยสารแฟนฟุตบอล. ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลนี้ดูจะเทียบเคียงกันได้ระหว่างสองกลุ่ม เกี่ยวกับนิตยสารที่วางอยู่บนฐานอัตลักษณ์ของพวกเขา ในฐานะตำแหน่งต่างๆ ของความขัดแย้งและการโต้เถียงทางวัฒนธรรม. Not the View ได้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมป๊อปปูลาร์สามารถที่จะถูกทำให้เป็นเรื่องการเมืองเพื่อประโยชน์และความได้เปรียบทางสังคมอย่างไร. บางที มันจะไม่เพ้อฝันจนเกินไปนักที่จะมองนิตยสารแฟนฟุตบอล ในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งของการสร้างสรรค์การเผชิญหน้ากับกลุ่มคนที่มีอำนาจนำ ซึ่ง Stuart Hall ได้เคยกล่าวถึง

Tim O'Sullivan (1994: 10) ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถึงราก ในฐานะที่เป็นวัตถุประสงค์แรกสุดของสื่อทางเลือก พวกมันปฏิเสธหรือท้าทายการเมืองเชิงสถาบันและมีความมั่นคงอย่างแข็งขัน ในความหมายที่พวกมันได้ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนทางสังคม หรืออย่างน้อยที่สุด การทบทวนประเมินคุณค่าขนบจารีตกันใหม่ในเชิงวิพากษ์. ในที่อื่นๆ สื่อทางเลือกได้รับการนิยามความหมายในบษนะผลงานที่อิสระ(independent production) [ซึ่งตัวมันเองสามารถได้รับการสร้างในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสื่อทางเลือก] เขาได้หมายเหตุถึงคุณลักษณะอีก 2 ประการ ที่ทำให้สื่อทางเลือกมีความต่างไปจากสื่อกระแสหลัก คือ

1. กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมของการผลิต
2. ความผูกมัดกับนวัตกรรมหรือการทดลองในรูปแบบและเนื้อหา
(O'Sullivan et al., 1994: 205)

สำหรับ O'Sullivan สื่อทางเลือกจะถกเถียงอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แสวงหาหนทางเกี่ยวพันกับผู้คน(โดยเฉพาะสามัญชน พลเมือง มิใช่พวกชนชั้นสูง)ในกระบวนการของพวกเขา และผูกมัดอยู่กับนวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบและเนื้อหา. ชุดของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์นี้ไม่เพียงคำนึงถึงแต่เรื่องเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับการนำเสนอและวิธีดำเนินการขององค์กรด้วย. มันเป็นการนิยามความหมายสื่อทางเลือกไปในเชิงบวกและเป็นประโยชน์มาก. ด้วยข้อพิจารณาต่างๆ เหล่านี้ในใจ เราสามารถที่จะใคร่ครวญความคิดของ Michael Traber เกี่ยวกับสื่อทางเลือกที่ว่า:

เป้าประสงค์คือต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ทั้งหมดนั้น ปัจเจกชนจะไม่ถูกลดทอนลงเหลือแค่ความเป็นวัตถุ(ของสื่อหรืออำนาจทางการเมือง) แต่จะต้องสามารถทำให้ค้นพบความสมปรารถนาในฐานะที่มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ (Traber, 1985: 3)

Traber ได้ให้เหตุผลว่า ธรรมเนียมของสื่อสารมวลชนจะทำให้บทบาทของผู้คนธรรมดาทั้งชายและหญิงไปเป็นเรื่องชายขอบ ส่วนภาพที่มาอยู่ตรงหน้ากลับมีแต่พวกคนรวย คนมีอำนาจ และคนที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจทั้งหลาย. คนธรรมดาได้ถูกนำมาเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้สังเกตการณ์ หรือผู้ให้ความเห็นที่อยู่ชายขอบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ (ดังเช่นในการสัมภาษณ์ผู้คนทั่วๆ ไป - vox pop interview); คนพวกนี้จะโดดเด่นขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อเป็นนักแสดงในสถานการณ์ที่ต้องมาเกี่ยวพันโดยค่านิยมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งหรือนำเสนออะไรที่มันแปลกประหลาด. เขาได้แบ่งแยกสื่อทางเลือกออกเป็น 2 ส่วนคือ

- สื่อที่ให้การสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า advocacy media
- สื่อในระดับรากหญ้า ที่เรียกว่า grassroot media

สื่อทางเลือกที่เน้นไปในด้านการให้การสนับสนุนเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง หรือ advocacy media จะนำเสนอข่าวที่แตกต่างในเชิงคุณค่าจากสื่อกระแสหลัก สื่อเหล่านี้จะนำเสนอนักแสดงต่างๆ ทางสังคม อย่างเช่น คนจน, คนที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ, คนชายขอบ, และอันที่จริงคือคนธรรมดาสามัญ คนใช้แรงงาน, ผู้หญิง, เด็ก, และคนแก่ ในฐานะที่เป็นเรื่องราวหัวข้อหลักของข่าวและสารคดีของพวกเขา (traber, 1985: 2)

ส่วนสื่อทางเลือกที่เน้นในเรื่องผู้คนระดับรากหญ้า หรือ grassroot media, Traber ให้เหตุผลว่า จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสื่อทางเลือกอย่างครบถ้วน พวกมันได้รับการผลิตขึ้นมาจากผู้คนในอย่างเดียวกันกับ advocacy media ซึ่งความสนใจของพวกเขาทำหน้าที่เป็นตัวแทน จากฐานะตำแหน่งหนึ่งซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมโดยตรง (ไม่ใช่เป็นเพียงพวกชายขอบ ดังที่สื่อกระแสหลักได้ผลักคนเหล่านี้ออกไป). อันนี้ไม่จำเป็นต้องผลักไสความเกี่ยวข้องกับมืออาชีพออกไป แต่คนเหล่านี้จะอยู่ในฐานะหรือบทบาทของการเป็นที่ปรึกษาที่ให้ความมั่นใจ การมีอยู่ของมืออาชีพเจตนาเพื่อทำให้คนธรรมดาสามัญได้ผลิตคิดสร้างงานของพวกเขาเองขึ้นมา เป็นอิสระจากสื่อกระแสหลักหรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบรรณาธิการมืออาชีพ

Traber ได้ให้เหตุผลจากประสบการณ์ของเขาในการเป็นนักหนังสือพิมพ์และติวเตอร์นิตยสาร หรือพี่เลี้ยงสื่อในประเทศอินเดีย, แซมเบีย, และซิมบับเว. ความสนใจเดิมทีของเขาเกี่ยวกับการผลิตข่าวสารและข้อมูลในพื้นที่ของประเทศต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งสื่อสารมวลชน(ถ้าหากว่ามันมี)ไม่ได้ทะลุทะลวงเข้าไป นอกจากนี้ยังได้จัดหาข่าวสารและข้อมูลในเชิงที่สวนทางกับสื่อที่ดำเนินการโดยรัฐด้วย ซึ่งค่อนข้างมีช่องทางที่จำกัดในขณะที่ข่าวสารมีแพร่กระจายเต็มไปหมด

การสวนทางนี้ Traber ให้เหตุผลว่า เป็นการนำเสนอได้ดีที่สุดโดยผู้คนในท้องถิ่น บ่อยครั้งทำงานกับนักข่าวมืออาชีพจำนวนไม่มากนัก. เหล่านี้มิใช่การไปจัดการเรื่องหัวข้อข่าวหรือกระทั่งไปรับรองเรื่องการปฏิบัติงานโดยเฉพาะ แต่เป็นการไปช่วยเหลือผู้คนท้องถิ่นในการพัฒนาเครือข่ายของพวกเขาเกี่ยวกับการรวบรวมข่าว(news-gathering), ให้การสนับสนุนและเสริมสร้างความมั่นใจในหมู่พวกเขาในฐานะผู้สื่อข่าว นักเขียน และบรรณาธิการ ฯลฯ

Traber ยังให้เหตุผลว่า เมื่อการผลิตสื่อตกอยู่ในมือของผู้คนธรรมดาแล้ว แบบฉบับของข่าวและสไตล์ของมันที่ถูกนำเสนอ ซึ่งจะเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้อง เป็นประโยชน์ และมีความเหมาะสมกับชุมชนต่างๆ มากขึ้น ที่ข่าวสารทั้งหลายได้ถูกผลิตขึ้นและเผยแพร่. Traber ได้นำเสนอคุณค่าของสื่อทางเลือกขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่ไม่เพียงผูกพันกับสิ่งที่ได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นข่าวเท่านั้น แต่มันยังไปเกี่ยวพันกับการรวบรวมเนื้อข่าว และเกี่ยวข้องกับใครเป็นคนเขียนข่าวนั้น และข่าวต่างๆ ควรที่จะถูกนำเสนออย่างไร เป็นต้น

แบบจำลองนี้สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารชุมชน หรือ communitiy media. ความใส่ใจทำนองเดียวกันนี้คือหัวใจของหนังสือพิมพ์ทางเลือกของชุมชนที่ปรากฏตัวขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970s ทั่วประเทศอังกฤษ. สื่อชุมชนมีแก่นแกนหรือหัวใจของมันที่แนวคิดเกี่ยวกับการเข้าถึงและการมีส่วนร่วม (the concept of access and participation):

ความมั่นใจเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารและการแสดงออก ควรได้รับการวางอยู่ในมือของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งมีความประสงค์อย่างแน่ชัดที่จะกระทำการควบคุมเหนือสภาพแวดล้อมของพวกเขาเองโดยตรงมากขึ้น. เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น กระบวนการของการสนทนากันภายในชุมชนสามารถเกิดขึ้นได้ เป็นการให้โอกาสต่างๆ สำหรับการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือกต่างๆ ได้ดีขึ้น (Nigg and Wade, 1980: 7)

ใบปลิวหนึ่งซึ่งเผยแพร่ต่อสาธารณชน ที่ปล่อยออกมาโดย Liverpool Free Press ในปี 1971
ได้ประกาศความแตกต่างของมันจากหนังสือพิมพ์กระแสหลักว่า:

เราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ และเราไม่พยายามที่จะทำเงินแต่อย่างใด. The Free Press เชื่อว่า ตราบใดที่หนังสือพิมพ์ดำเนินการโดยนักธุรกิจเพื่อผลกำไร มันก็จะมีข่าวที่ไม่ถูกรายงาน. The Free Press มีเป้าหมายที่จะนำเสนอข่าวที่ไม่รายงานพวกนี้ นอกจากนั้น เรายังพยายามที่จะเสนอข้อมูลข่าวสารที่กลุ่มชุมชนต่างๆ, คนงานตามโรงงาน, ผู้เช่าอาศัยและคนอื่นๆ ไม่เพียงพบว่ามันน่าสนใจเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ด้วย. The Free Press มิได้เป็นตัวแทนทัศนะต่างๆ ของพรรคการเมือง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง. หนังสือพิมพ์ของเราไม่มีบรรณาธิการหรือเจ้าของ - มันถูกควบคุมโดยคนที่ทำงานที่เป็นอาสาสมัครซึ่งไม่มีเงินเดือน. The Free Press เป็นหนังสือพิม์ชนิดที่ต่างออกไป. (Whitaker, 1981: 103)

แน่นอน อันนี้เป็นวิธีการที่แตกต่างจากปฏิบัติการของสื่อสารมวลชนทั่วไป แต่หนังสือพิมพ์ Liverpool Free Press ก็เป็นเพียงหนึ่งในเส้นทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของหนังสือพิมพ์ ที่แสวงหาความเป็นอิสระจากข้อพิจารณาต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ และบริการให้กับคนธรรมดาสามัญด้วยข่าวสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อพวกเขาในชีวิตประจำวัน. องค์ประกอบโดยทั่วไปสำหรับ Liverpool Free Press มีลักษณะ 3 ประการที่มีส่วนร่วมกับสื่อทางเลือกอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องผจญ นั่นคือ

(1) เป็นอิสระจากเรื่องของการค้า (ต่อต้านพาณิชย์นิยม)
(2) ความมีเสรีภาพของคนทำสื่อ ซึ่งทำให้บรรณาธิการมีอิสระจากพรรคการเมืองต่างๆ และองค์กรอื่นๆ
(3) การเพิ่มอำนาจให้กับผลประโยชน์ของชุมชน (ซึ่งในกรณีของ Liverpool Free Press และหนังสือพิมพ์ต่างๆ
ในทำนองเดียวกันคือ ชุมชนท้องถิ่น)

ผู้มีส่วนร่วมคนหนึ่งซึ่งไม่เอ่ยนามในการสัมนาที่นำโดย Noam Chomsky เสนอว่า: "โดยสื่อทางเลือก ข้าพเจ้ากำลังอ้างถึงสื่อที่คนธรรมดาสามารถควบคุมได้ ซึ่งตรงข้ามกับสื่อที่รัฐหรือบริษัทควบคุม" (อ้างใน Achbar, 1994: 197). การควบคุมนั้น ไม่เพียงมีอิสรภาพจากอิทธิพลของบริษัทเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเสรีภาพที่จะพิมพ์เรื่องราวต่างๆ โดยตรงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพลเมือง และเกี่ยวพันกับพลเมืองอย่างเดียวกับเขาเหล่านั้นด้วย

ในขณะที่เนื้อหาของสื่อดังกล่าว ชัดเจนว่าเป็นเรื่องสำคัญ ความเอาใจใส่ในที่นี้ก็คือ การสำรวจตรวจตราทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับสื่อทางเลือก ที่ให้สิทธิพเศษแก่กระบวนการทั้งหลายที่ผู้คนได้ถูกเพิ่มอำนาจ โดยผ่านความเกี่ยวพันโดยตรงของพวกเขาในการผลิตสื่อทางเลือก. Stephen Duncombe ได้กล่าวเอาไว้ว่า "วัฒนธรรมของการบริโภค สามารถทำให้สุ้มเสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกลายเป็นกลางๆ ไป ด้วยการดูดซับหรือย่อยเนื้อหาของพวกเขาลง" (1997: 127) กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันไม่ใช่เนื้อหาเรียบง่ายธรรมดาของตัวบทหนึ่ง ซึ่งมีหลักฐานธรรมชาติที่รุนแรงของมัน; Duncombe กำลังให้เหตุผลสิ่งที่ผู้พิมพ์งานสื่อทางเลือกจำนวนมากก็ให้เหตุผลเดียวกันว่า นั่นคือฐานะตำแหน่งของผลงาน ที่เคารพต่อความสัมพันธ์กับการผลิตที่ให้อำนาจมัน และทำให้มันหลีกเลี่ยงการกลับคืนสู่สภาพปกติ โดยเพียงคัดลอกไอเดียต่างๆ ของมันเท่านั้น

อันนี้มิได้ปฏิเสธความมีนัยสำคัญของเนื้อหา แต่เป็นการนำเสนอมันภายในบริบทของการผลิตที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งความรุนแรงเท่ากันกับเนื้อหาในการดำเนินรอยตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. ในที่นี้ข้าพเจ้าดำเนินตามข้ออ้างของ Duncombe ที่ว่า "สื่อกลางของ Zine ไม่เพียงเป็นแค่สารที่ถูกรับเท่านั้น แต่มันยังเป็นแบบจำลองของผลผลิตทางวัฒนธรรมที่พวกเขามีส่วนร่วม และความเป็นองค์กรที่ส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อพวกเขา"(Duncombe, 1997: 129)

ในข้ออ้างสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สื่อทางเลือกอาจไม่เพียงถูกเข้าใจในฐานะวาทกรรมที่เป็นเครื่องมือการผลิตเท่านั้น (ในทางทฤษฎี, ในการอธิบาย, ในเชิงองค์กร)เพื่อปลุกเร้าความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ดำเนินรอยตามความคิดของ Duncombe, พวกเขาสามารถกำหนดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ โดยผ่านวิธีการของพวกเขาเองเกี่ยวกับการผลิตสื่อ, ซึ่งได้วางตำแหน่งของพวกเขาเองในความสัมพันธ์กับวิธีการผลิตสื่อที่ครอบงำ. ตำแหน่งและท่าที ทั้งคู่ อาจให้เหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคมในระดับต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการมองหา ไม่ได้ต้องการเป็นไปในเชิงโครงสร้างระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ อันที่จริงมันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งระดับปัจเจกชน นั่นคือ สำหรับ Duncombe กระทั่งระดับส่วนตัวที่เป็นบรรณาธิการนิตยสารประเภท Zine สักฉบับหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงสังคม โดยไม่คำนึงถึงจำนวนพิมพ์ว่าจะมากน้อยเพียงใด หรือขายได้เท่าไหร่ (หรือจะทำมันขึ้นมาอย่างไร?) เป็นต้น. ถ้าเผื่อนิตยสารส่วนตัวนั้นอาจเป็นเรื่องการเมือง นิตยสารส่วนตัวนั้นอาจส่งผลที่ตามต่อสังคมได้

ณ ขั้นตอนนี้ มันเป็นประโยชน์ที่จะพัฒนาชุดของคุณลักษณะที่เกิดจากคำนิยามทั้งหลายข้างต้น และวินิจฉัยสิ่งเหล่านี้ (มากกว่าที่จะนำมาแข่งขันกัน) ในฐานะหัวใจของเค้าโครงเชิงทฤษฎี. นิยามความหมายต่างๆ ในทุกกรณี มีความบังเอิญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. ทางเลือก(alternative) สำหรับทางชายฝั่งตะวันตก กรณีต่างๆ เกี่ยวกับการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมได้ปลุกเร้าความคิด"การบำบัดโรคแบบทางเลือก"(alternative therapies)และความคิด"ยุคใหม่"(New Age). คำว่า"มูลราก" (radical)สำหรับบางคน สามารถไปเกี่ยวโยงกับกิจกรรมทางศิลปะแนวหน้า(avant-garde artistic activity)มากเท่าๆ กันกับเรื่องทางการเมือง

สำหรับบรรดานักเขียนนิตยสารประเภท zine, คำศัพท์ดังกล่าวอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบกันนัก กล่าวคือ DIY publishing (Do It Yourself publishing - พิมพ์ด้วยตัวคุณเอง) อาจนำมาแทนทั้งคู่. คำว่า"มูลราก"(radical) มักนำไปสู่ความตรงข้ามเสมอใช่ไหม? Downing ได้พูดถึง"สื่อมูลราก"(radical media)(1984), "ปริมณฑลทางเลือกที่เป็นสาธารณะ" (an "alternative public realm)(1988), "สื่อทางเลือก"(alternative media)(1995), และ "สื่อมูลรากทางเลือก"(radical alternative media)(2001), แต่เขายังได้อ้างถึง"การเผชิญหน้าทางข้อมูลข่าวสาร"(counter-information) และ"วัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ในทางตรงข้าม"(popular oppositional culture)ด้วย. การสนทนาของเขาเกี่ยวกับงานของ Negt และ Kluge (1972/1983) ได้ยกเอาความคิดเกี่ยวกับ"การเผชิญหน้ากับอำนาจนำ"(counter-hegemony)ของ Gramsci มาพูด, ซึ่ง Downing แสดงนัยยะ ในฐานะที่เป็นพลังขับเคลื่อนสื่อร่วมสมัยที่เขากำลังสำรวจด้วย

เราอาจพิจารณาสำดับการทั้งหมดของสื่อทางเลือกและสื่อมูลรากทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นตัวแทนการท้าทายอำนาจนำ(representing challenges to hegemony), ไม่ว่าจะบนเวทีการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง, หรือการใช้วิธีท้าทายอย่างอ้อมๆ โดยผ่านการทดลองและการแปรเปลี่ยนเกี่ยวกับบทบาทต่างๆ ที่มีอยู่, งานประจำ, สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ที่ Hebdige(1979)วางลงใจกลางของสไตล์วัฒนธรรมย่อยที่เผชิญหน้ากับอำนาจนำ

Jakubowicz(1991) พบคำว่า "ทางเลือก"นั้น มีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง กล่าวคือ มันไม่ใช่สำนักหรือนิกาย หรือเป็นความสนใจที่เฉพาะเจาะจงอะไรแคบๆ แต่มันคือขอบเขตหรืออาณาบริเวณที่มีลำดับการอย่างกว้างขวาง และมีอิทธิพลที่อาจรวมเอากริยาท่าทีของกลุ่มนักปฏิรูปและสถาบันต่างๆ เข้าไปด้วย. กระนั้นอิทธิพลของมันยังถูกทำให้เบาบางลงอย่างมีนัยสำคัญโดยการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล (เนื่องจากการตีพิมพ์ของมันค่อนข้างสะดุดตา) และนโยบายของมันเอง(ที่อยู่รอดมายาวนาน) ขัดขวางมันจากการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแพร่หลาย. ในอย่างสุดท้ายนี้ ได้ถูกอนุรักษ์ไว้ให้กับลักษณะตรงข้าม, ปริมณฑลการปฏิวัติสาธารณะ

จากแง่มุมความคิดเชิงสังคมวิทยา มันมีความไม่ลงรอยกันระหว่างนัยความหมายของ"ทางเลือก"กับ"ความตรงข้าม"(alternative and oppositional) (และสิ่งที่เราอาจพิจารณารวมไปถึงเรื่องที่คล้ายๆ กัน: การเผชิญหน้าด้านข้อมูล และการเผชิญหน้ากับอำนาจนำ [counter-information, และ counter-hegemony] ด้วย). ข้อมูลความรู้ในที่นี้ อ้างถึงการตีความของ Raymond Williams คือ เขาได้ทำการจำแนกแยกแยะที่สำคัญระหว่างปฏิบัติการแบบ"ทางเลือก" กับ"ความตรงข้าม" ว่า

- วัฒนธรรมทางเลือก(Alternative culture) เป็นการแสวงหาที่ทางการอยู่ร่วมภายในวัฒนธรรมนำที่มีอยู่
- ในขณะที่วัฒนธรรมตรงข้าม (oppositional culture) มีเป้าประสงค์ที่จะเข้าแทนที่วัฒนธรรมนำ
(Alternative culture seeks a place to coexist within existing hegemony,
whereas oppositional culture aims to replace it).

ยกตัวอย่างเช่น มันมีโลกของความแตกต่างระหว่าง "การกลับสู่ธรรมชาติ"(back-to-nature) กับ "ขบวนการนิเวศวิทยา" (ecology movement) ในระดับโลก. (McGuigan, 1992: 25)

ในเชิงวัฒนธรรมและในเชิงการเมือง สื่อต่างๆ ดังกล่าว อย่างที่ได้รับการนิยามโดย Downing ในฐานะที่เป็น"ทางเลือก"(alternative), และโดย Jakubowicz ในฐานะที่เป็น"ความตรงข้าม"(oppositional) บางที จะได้รับการใคร่ครวญดีที่สุดในฐานะความตรงข้ามในด้านเจตนาหรือความมุ่งหมาย, แต่ทั้งคู่มีเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นหัวใจของพวกเขา. อันนี้เข้ากันกับความหวังของ Raymond Williams ที่ว่า วัฒนธรรมของขบวนการสังคมใหม่ แม้ว่าจะตั้งชื่อ"วัฒนธรรมทางเลือก"(alternative culture), แต่กลับเป็น"วัฒนธรรมตรงข้าม"(oppositional culture)เสมอ (Williams, 1983: 250)



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

Website for Free Articles: power by Midnight University
คลิกที่แบนเนอร์เพื่อค้นหาหัวเรื่อง ข้อมูลหรือบทความบทความที่ต้องการ
Copyleft2007
R
31October2007
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากสถานการณ์สิทธิมนุษยชนชายขอบสู่ศูนย์กลาง โดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับนักวิชาการอิสระ
H