บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๑๓๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐
23-01-2550

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Research - wikipedia
The Midnight University

การวิจัยเบื้องต้น-การวิจัยทางสังคมศาสตร์
หลักการวิจัยสังคมศาสตร์: จากสารานุกรมวิกกีพีเดีย
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักการวิจัยเบื้องต้น และหลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์นี้
เป็นส่วนหนึ่งของความเรียงสำหรับนักศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบการทำวิจัยตั้งแต่พื้นฐาน
โดยเนื้อหาได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ การทำความเข้าใจความหมายและหลักการเกี่ยวกับการวิจัย
รวมถึงระเบียบวิธีและกระบวนการวิจัยทางสังคมศาสต์ในภาพกว้าง
ส่วนสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้ สามารถค้นคว้าได้จาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Research
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๓๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)



หลักการวิจัยสังคมศาสตร์: จากสารานุกรมวิกกีพีเดีย
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง / คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ส่วนที่ ๑ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยเบื้องต้น

การวิจัยคืออะไร? (Research)
การวิจัย บ่อยครั้งได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นกระบวนการค้นคว้าเชิงรุกอย่างเป็นระบบ และด้วยความพากเพียร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบข้อเท็จจริง, ตีความข้อเท็จจริง และปรับปรุงข้อเท็จจริง. การค้นคว้าทางสติปัญญาอันนี้ ได้ก่อให้เกิดความรู้มากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ, พฤติกรรม, ทฤษฎี, และกฎเกณฑ์บางอย่าง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงปฏิบัติเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย

ศัพท์คำว่า"การวิจัย"(research) ยังได้ถูกนำมาใช้อธิบายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาเฉพาะเรื่องบางอย่าง และปรกติแล้ว มันถูกทำให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

สำหรับความเป็นมาของคำว่า"การวิจัย"(research) นี้ เดิมทีเดียวเป็นคำซึ่งสืบทอดมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า recherche, และจาก rechercher, คือค้นคว้าอย่างใกล้ชิด ซึ่ง chercher หมายถึง "ค้นหา"; ความหมายตามตัวอักษรของมันคือ"to investigate thoroughly" (สืบค้นอย่างถ้วนทั่ว)

เนื้อหาบทความในส่วนแรก เราจะมาพิจารณากันถึงหัวข้อดังต่อไปนี้

1 Basic research (การวิจัยขั้นพื้นฐาน)
2 Research methods (ระเบียบวิธีวิจัย)
3. Action Research (การวิจัยเชิงปฏิบัติการ)
4. Research Process (กระบวนการวิจัย)
5. Publishing (การตีพิมพ์ผลงาน)
6. Research funding (การให้ทุนวิจัย)

1. การวิจัยขั้นพื้นฐาน (Basic research)
การวิจัยพื้นฐาน(Basic research) (เรียกว่า การวิจัยเบื้องต้น หรือการวิจัยบริสุทธิ์ - fundamental or pure research) วัตถุประสงค์แรกคือ วิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ท่ามกลางความผันแปรไม่แน่นอน. การวิจัยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจตรวจค้น และหลายต่อหลายครั้งได้ถูกขับเคลื่อนโดยความอยากรู้อยากเห็น, ความมีประโยชน์, หรือความรู้สึกดลใจของนักวิจัย. การวิจัยขั้นพื้นฐานนี้ได้ถูกชักนำโดยปราศจากจุดจบภายใน ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่หวังผล ที่ชี้ถึงประโยชน์ที่เป็นจริงใดๆ ก็ตาม

ศัพท์คำว่า"พื้นฐาน"(basic)หรือ"เบื้องต้น"(fundamental) ชี้ว่า, โดยผ่านการสร้างทฤษฎี การวิจัยพื้นขั้นฐานจะตระเตรียมรากฐานสำหรับการวิจัยต่อไปข้างหน้า ซึ่ง(บางครั้ง)ก็คือ"การวิจัยในขั้นประยุกต์"(applied research). ดังที่มันไม่มีหลักประกันใดๆ เกี่ยวกับการบรรลุความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นในทางปฏิบัติ แต่บ่อยมากทีเดียวที่บรรดานักวิจัยทั้งหลายพบว่า มันยุ่งยากที่จะได้รับทุนสำหรับการทำวิจัยขั้นพื้นฐานดังกล่าว ทั้งนี้เพราะการวิจัยก็คือตัวเลขอันหนึ่งของการลงทุนย่อยๆ นั่นเอง

2. ระเบียบวิธีการวิจัย (Research methods)

2.1 เป้าหมายเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยคือ สร้างความรู้ใหม่ ซึ่งมีรูปแบบหลักอยู่ 3 ประการดังนี้

- Exploratory research, (การวิจัยเชิงสำรวจตรวจสอบ) เป็นการสร้างและจำแนกแยกแยะปัญหาใหม่ๆ
- Constructive research, (การวิจัยเชิงพัฒนา/สร้างสรรค์) พัฒนาทางออกต่างๆ ต่อปัญหาหนึ่ง
- Empirical research, (การวิจัยเชิงประจักษ์) ทดสอบความเป็นไปได้ของทางออกหรือการแก้ปัญหา โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

2.2 การวิจัยยังสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 แบบ

- Primary research (การวิจัยขั้นปฐมภูมิ)
- Secondary research (การวิจัยขั้นทุติยภูมิ)

2.3 สำหรับระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกนำมาใช้โดยนักวิชาการทั้งหลาย มีดังต่อไปนี้
(Research methods used by scholars):

- Action research (การวิจัยเชิงปฏิบัติ)
- Cartography (การทำแผนภาพ)
- Case study (กรณีศึกษา)
- Classification (การจัดหมวดหมู่)
- Experience and intuition (ประสบการณ์ และสหัชญาน)
- Experiments (การทดลอง)
- Interviews (การสัมภาษณ์)
- Mathematical models (แบบจำลองทางคณิตศาสตร์)
- Participant observation (การสังเกตการณ์แบบมีส่วร่วม)
- Semiotics (สัญศาสตร์)
- Simulation (การลอกเลียน/เลียนแบบ)
- Statistical analysis (การวิเคราะห์เชิงสถิติ)
- Statistical surveys (การสำรวจเชิงสถิติ)
- Content or Textual Analysis (การวิเคราะห์ตัวบท, เนื้อหา)

หลายครั้งการวิจัยจะถูกชักนำไปให้ใช้แบบจำลอง"นาฬิกาทราย"(hourglass). แบบจำลองนาฬิกาทรายเริ่มต้นด้วย ขอบเขตกว้างๆ สำหรับการวิจัย และค่อยๆโฟกัสไปยังข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการโดยผ่านระเบียบวิธีของโครงการ (คล้ายคอขวดของนาฬิกาทราย) ต่อจากนั้นก็ขยายการวิจัยในรูปของการสนทนา และการแสวงหาผลลัพธ์หรือคำตอบต่างๆ

3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการวิจัยชนิดหนึ่งซึ่งเราแต่ละคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง, เรา (ในที่นี้หมายถึงทีมงาน หรือชุมชนที่ไม่เป็นทางการ) สามารถที่จะทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์การปฏิบัติการ, หรือองค์กรที่ใหญ่กว่าหรือสถาบันต่างๆ สามารถชักนำพวกเขาเอง โดยได้รับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากบรรดานักวิจัยมืออาชีพ ให้ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายคือ เพื่อพิสูจน์แผนการณ์, ยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการ, และความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในการปฏิบัติการของพวกเขา

Kurt Lewin, ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของสถาบัน MIT เป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์ศัพท์คำว่า"การวิจัยเชิงปฏิบัติการ"(action research) นี้ขึ้นมาในงานภาคเอกสารเรื่อง "Action Research and Minority Problems" ของเขาในปี 1946. ในงานภาคเอกสารชิ้นดังกล่าว เขาได้อธิบายการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในฐานะที่เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบบนเงื่อนไขและผลต่างๆ ของรูปแบบอันหลากหลายเกี่ยวกับปฏิบัติการทางสังคมและการวิจัย ที่น้อมนำสู่ปฏิบัติการในแบบจำลองซึ่งเรียกว่าเกลียวของขั้นตอนต่างๆ, แต่ละขั้นได้รับการสร้างขึ้นจากวงกลมวงหนึ่งของการวางแผน, การปฏิบัติการ, และการค้นพบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการนั้น

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ไม่ใช่แค่เพียงการวิจัยที่อธิบายว่า มนุษย์และองค์กรต่างๆ มีปฏิบัติการในโลกภายนอกอย่างไร แต่มันยังมันยังอรรถาธิบายถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้มนุษย์และองค์กรต่างๆ สะท้อนและเปลี่ยนแปลงระบบของพวกเขาเองอย่างไรด้วย(Reason & Bradbury, 2001). ภายหลัง 6 ทศวรรษของการพัฒนาการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระเบียบวิธีการต่างๆ มากมายได้วิวัฒน์ขึ้นตามลำดับ ดังต่อไปนี้:

1. จากสิ่งที่ค่อนข้างถูกขับเคลื่อนโดยการกำหนดของนักวิจัย
สู่สิ่งที่ถูกขับเคลื่อนโดยบรรดาผู้มีส่วนร่วมต่างๆ มากขึ้น

2. จากสิ่งที่เดิมที ได้รับการกระตุ้นโดยการบรรลุเป้าหมายเชิงอุปกรณ์ หรือศาสตร์
สู่สิ่งที่ถูกระตุ้นโดยเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงส่วนตัว, องค์กร, ชุมชน, และสังคม

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ สามารถเปลี่ยนแปลงความหมายทั้งหมดของสังคมศาสตร์ สามารถเปลี่ยนรูปมันจากความรู้ในลักษณะไตร่ตรองเกี่ยวกับปฏิบัติการทางสังคมในอดีต ที่ถูกสร้างเป็นสูตรขึ้นมาโดยความเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การทำให้เป็นทฤษฎีในเชิงปฏิบัติ, การรวบรวมข้อมูล, และการค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในแกนกลางความเป็นอยู่ที่ดำเนินไปของเรา

ความรู้มักจะได้มาโดยผ่านการปฏิบัติและเพื่อการปฏิบัติการ, จากจุดเริ่มต้นนี้ จึงก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงความมีเหตุผลของความรู้ทางสังคม มิใช่เพื่อจะพัฒนาศาสตร์ของการไตร่ตรองเกี่ยวกับการกระทำ แต่เพื่อพัฒนาการปฏิบัติการซึ่งมีข้อมูลที่ดีอย่างแท้จริง และเพื่อชักนำศาสตร์ต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติและเป็นจริง

4. กระบวนการเกี่ยวกับการวิจัย (Research process)
โดยทั่วไปแล้ว การวิจัยถูกเข้าใจว่าดำเนินรอยตามกระบวนการเชิงโครงสร้างที่แน่นอนอันหนึ่ง แม้ว่าระเบียบขั้นตอนอาจแปรผันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระและตัวนักวิจัย แต่ปรกติแล้ว การดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ จะเป็นไปตามการวิจัยที่เป็นทางการ ทั้งในส่วนของการวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ดังนี้

- Formation of the topic (การสร้างหัวข้อ)
- Hypothesis (การตั้งสมมุติฐาน)
- Conceptual definitions (การนิยามความหมายเชิงแนวคิด)
- Operational definitions (การนิยามความหมายเชิงปฏิบัติการ)
- Gathering of data (การรวบรวมข้อมูล)
- Analysis of data (การวิเคราะห์ข้อมูล)
- Conclusion, revising of hypothesis (การสรุป, และการปรับปรุงแก้ไขสมมุติฐาน)

5. การตีพิมพ์ (Publishing)
การตีพิมพ์ทางวิชาการ ถือเป็นขั้นตอนระบบหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นต่อบรรดานักวิชาการที่จะประเมินผลงานจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ และทำให้มันเผยแพร่ไปสู่ผู้อ่านได้อย่างกว้างขวาง. ผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่จะถูกตีพิมพ์ในรูปวารสาร บทความ หรือหนังสือเป็นเล่ม. STM publishing เป็นคำย่อสำหรับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และทางการแพทย์ (science, technology, and medicine)

ขอบเขตความรู้ทางวิชาการที่มั่นคงแล้วส่วนใหญ่จะมีวารสารเฉพาะของตนเอง และช่องทางต่างๆ สำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่. วารสารทางวิชาการจำนวนมากจะมีลักษณะค่อนข้างเป็นสหวิทยาการ และมีผลงานตีพิมพ์จากสาขาความรู้ต่างๆ หรือความรู้ย่อยๆ อย่างหลากหลาย การตีพิมพ์เผยแพร่ ถูกยอมรับกันในฐานะที่เป็นงานความรู้หรือการวิจัย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผันผวนระหว่างความรู้ต่างๆ มาก

การตีพิมพ์ผลงานวิชาการปัจจุบันกำลังมีความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ อันนี้เกิดจากการเปลี่ยนผ่านจากสิ่งพิมพ์ไปสู่รูปแบบการเผยแพร่อิเล็กทรอนิก. นับจากช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา ใบอนุญาตหรือสิทธิในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วารสารต่างๆ เป็นเรื่องที่ธรรมดามาก. ปัจจุบันนี้ แนวโน้มหลัก โดยเฉพาะที่ได้รับการยอมรับนับถือกันเกี่ยวกับวารสารต่างๆ ทางวิชาการ เป็นการเปิดให้เข้าใช้ได้อย่างอิสระ(open access) สำหรับรูปแบบหลักของวารสารดังกล่าวมีอยู่ 2 แบบคือ

- open access publishing ซึ่งบทความต่างๆ หรือวารสารทั้งหลาย
สามารถเข้าใช้ได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นับจากช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่

- self-archiving ซึ่งผู้เขียนได้ทำสำเนางานของพวกเขาเอง เพื่อให้บริการฟรีบนเว็บไซต์

6. เกี่ยวกับทุนวิจัย (Research funding)
ทุนส่วนใหญ่สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาจากแหล่งทุนหลักๆ 2 แหล่ง นั่นคือ จากบริษัทต่าง(โดยผ่านหน่วยงานหรือแผนกวิจัยและการพัฒนา[research and development departments]) และแหล่งทุนที่มาจากรัฐบาล (แรกทีเดียวโดยผ่านมหาวิทยาลัย และในบางกรณีผ่านหน่วยงานของกองทัพ)

บรรดานักวิจัยอาวุโสจำนวนมาก(อย่างเช่น พวกผู้นำกลุ่มการวิจัยทั้งหลาย) ส่วนมากแล้ว พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่นเรื่องการสมัครขอรับทุนวิจัยต่างๆ ทุนเหล่านี้อันที่จริงแล้วมีความจำเป็น, ไม่เพียงเฉพาะกับบรรดานักวิจัยที่จะดำเนินงานวิจัยของพวกเขาให้สำเร็จลุล่วงเท่านั้น แต่ยังจำเป็นสำหรับความเชื่อมั่นที่มาจากแหล่งทุนด้วย. ฐานะตำแหน่งเกี่ยวกับความสามารถบางอย่างของผู้ทำวิจัย เรียกร้องต้องการรับทุนจากบางสถาบันโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น the US National Institutes of Health (NIH)

(ในต่างประเทศ) ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลบางทุน (อย่างเช่น the NIH, the National Health Service ในประเทศอังกฤษ หรือสมาคมวิจัยของยุโรป, the European research councils) โดยทั่วไปแล้วถือว่ามีสถานะค่อนข้างสูง และเป็นที่น่าเชื่อถือ

ข้อมูลเรียบเรียงจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Research


ส่วนที่ ๒ เกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

การวิจัยทางสังคมศาสตร์คืออะไร ? (Social research)
การวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นการอ้างถึงงานวิจัยที่ปฏิบัติการโดยบรรดานักสังคมศาสตร์ (เดิมทีอยู่ในขอบเขตความรู้สังคมวิทยาและจิตวิทยาสังคม) นอกจากนี้มันยังอยู่ในสาขาวิชาอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น นโยบายทางสังคม, ภูมิศาสตร์มนุษย์(human geography - the branch of geography concerned with how human activity affects or is influenced by the earth's surface.), รัฐศาสตร์, มานุษยวิทยาสังคม, และการศึกษา ฯลฯ

บรรดานักสังคมวิทยาและนักสังคมศาสตร์อื่นๆ ได้ทำการศึกษาเรื่องราวหลายหลาก: จากข้อมูลการสำรวจประชากรเป็นแสนๆ จนกระทั่งถึงการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับชีวิตของคนสำคัญคนใดคนหนึ่ง เพื่อตรวจสอบสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนท้องถนนในทุกวันนี้ - หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา

บรรดานักสังคมศาสตร์ทั้งหลายใช้วิธีการที่แตกต่างกันมากมายเพื่อที่จะอรรถาธิบาย, สำรวจ, และทำความเข้าใจชีวิตทางสังคม. วิธีการทางสังคมต่างๆ โดยทั่วไปแล้วสามารถได้รับการจำแนกออกเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ

- Quantitative methods (วิธีการเชิงปริมาณ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะแสดงจำนวนหรือปริมาณปรากฏการณ์ทางสังคม และรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข รวมถึงการโฟกัสลงบนความเชื่อมโยงกันต่างๆ

- Qualitative methods, (วิธีการเชิงคุณภาพ) เป็นการเน้นประสบการณ์ส่วนตัวต่างๆ และการตีความเหนือเรื่องจำนวนหรือปริมาณ ส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม และโฟกัสลงบนความเชื่อมโยงของคุณสมบัติต่างๆ

ขณะที่มันค่อนข้างแตกต่างกันมากในหลากหลายแง่มุม แต่ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพต่างเกี่ยวพันกับปฏิสัมพันธ์เชิงระบบอันหนึ่ง ระหว่างทฤษฎีต่างๆ และข้อมูล (theories and data)

- การวิจัยเชิงปริมาณ, เครื่องมือโดยทั่วไปของนักวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่แล้ว ใช้การสำรวจ, แบบสอบถาม, และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิทางข้อมูลสถิติ(surveys, questionnaires, and secondary analysis of statistical data) ซึ่งได้รับการรวบรวมขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ (ยกตัวอย่างเช่น การสำรวจจำนวนประชากร หรือผลลัพธ์เกี่ยวกับการสำรวจทัศนคติทางสังคมต่างๆ)

- การวิจัยเชิงคุณภาพ, เครื่องมือของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ส่วนมากจะใช้การสำรวจไปที่กลุ่มโฟกัส, การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม(focus groups, participant observation), และเทคนิคอื่นๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน

เนื้อหาเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมที่เราจะพิจารณากัน มีหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้

1 Ordinary human inquiry (การสอบถามจากคนธรรมดา)

2 Foundations of social research (รากฐานของการวิจัยทางสังคมศาสตร์)

2.1 Types of explanations
2.2 Types of inquiry

3 Quantitative / qualitative debate (การอภิปรายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

4 Paradigms (กระบวนทัศน์)

5 The ethics of social research (จริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์)

6 See also

6.1 Social research organisations
6.2 Social research techniques

1. การสอบถามจากผู้คนธรรมดา (Ordinary human inquiry)
ก่อนการมาถึงของสังคมวิทยาและการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในงานวิจัยทางสังคม, การสอบถามจากผู้คน, ส่วนใหญ่แล้วได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ส่วนตัวต่างๆ และรับความรู้สติปัญญามาในรูปแบบของขนบประเพณีและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้(ผู้ที่เชี่ยวชาญ) วิธีการดังกล่าว บ่อยครั้ง นำไปสู่ความผิดพลาด อย่างเช่น การสังเกตการณ์ที่ไม่แม่นยำเที่ยงตรง, มีลักษณะที่ทั่วไปเกินไป, การสังเกตการณ์แบบเลือกสรร, ความเป็นอัตวิสัย และขาดเสียซึ่งหลักตรรกะ

2. รากฐานต่างๆ ของการวิจัยทางสังคม (Foundations of social research)
การวิจัยทางสังคม(และสังคมศาสตร์โดยทั่วไป) วางอยู่บนพื้นฐานของตรรกะ และการสังเกตการณ์เชิงประจักษ์. Charles C. Ragin ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ Constructing Social Research ของเขาว่า "การวิจัยทางสังคมเกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่างๆ และหลักฐาน(ideas and evidence). ไอเดียหรือความคิดช่วยให้นักวิจัยทั้งหลายเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐาน และบรรดานักวิจัยได้ใช้พยานหลักฐานเพื่อขยาย, ปรับปรุง/แก้ไข และทดสอบความคิดต่างๆ"

โดยเหตุนี้ การวิจัยทางสังคมจึงพยายามสร้างทฤษฎีหรือทำให้ทฤษฎีมีความสมเหตุสมผล โดยผ่านการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และเป้าหมายของมันก็เพื่อการสำรวจ, บรรยาย, และอรรถาธิบายนั่นเอง. มันไม่ควรจะน้อมนำไปหรือถูกทำให้เกิดความผิดพลาดด้วยปรัชญาหรือความเชื่อ. การวิจัยทางสังคมมีจุดหมายที่จะค้นพบแบบแผนต่างๆ ทางสังคมเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ในชีวิตทางสังคม และปรกติแล้วเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างๆ ของสังคม (การรวมตัวกันของปัจเจกชน) ไม่ใช่แต่ละปัจเจกชนเอง. (แม้ว่าศาสนาทางด้านจิตวิทยาจะเป็นข้อยกเว้นในที่นี้)

การวิจัยยังสามารถแยกแยะออกได้เป็นการวิจัยบริสุทธิ์และการวิจัยขั้นประยุกต์(pure research and applied research). การวิจัยบริสุทธิ์ไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง ขณะที่ในทางตรงข้าม การวิจัยขั้นประยุกต์พยายามที่จะมิอิทธิพลต่อโลกของความเป็นจริง

มันไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ในสังคมศาสตร์ที่คู่ขนานไปกับกฎในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ กฎในทางสังคมศาสตร์เป็นหลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป ที่เป็นสากลอันหนึ่งเกี่ยวกับชั้นของข้อเท็จจริงต่างๆ (class of facts)

- ข้อเท็จจริง(a fact) เป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับมาจากการสังเกต และวิธีสังเกตการณ์ที่ได้รับการเฝ้ามอง, ได้ยินได้ฟัง หรือมิฉะนั้นก็เป็นประสบการณ์ของนักวิจัย

- ส่วนทฤษฎี(a theory)คือการอธิบายอย่างเป็นระบบสำหรับการสังเกตการณ์ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับแง่มุมเฉพาะเจาะจงอันหนึ่งของชีวิตทางสังคม

- แนวความคิดต่างๆ(concepts) ก็คือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของทฤษฎี และเป็นนามธรรมซึ่งเป็นตัวแทนชั้นต่างๆ ของปรากฏการณ์

- กฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไปโดยไม่ต้องพิสูจน์(Axioms) หรือฐานความจริง(postulates)คือ ข้อยืนยันพื้นฐานที่ทึกทักว่าเป็นจริง

- ข้อเสนอต่างๆ(propositions)คือข้อสรุป ที่วาดภาพหรือพรรณาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้งหลายท่ามกลางแนวคิดต่างๆ(concepts) ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการวิเคราะห์กฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันโดยไม่ต้องพิสูจน์(axioms)

- ข้อสันนิษฐาน/สมมุติฐาน(hypotheses) คือความคาดหวังที่มีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับความจริงเชิงประจักษ์(empirical reality) ซึ่งสืบทอดมาจากข้อเสนอต่างๆ(propositions). การวิจัยทางสังคมเกี่ยวพันกับการทดสอบสมมุติฐานต่างๆ เหล่านี้ เพื่อดูว่ามันเป็นจริงหรือไม่

การวิจัยทางสังคมศาสตร์เกี่ยวพันกับการสร้างสรรค์ทางทฤษฎี, การปฏิบัติการ, (มาตรวัดเกี่ยวกับตัวแปร) และการสังเกตการณ์ (การรวบรวมข้อมูลจริงเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของสมมุติฐาน). ทฤษฎีทางสังคมทั้งหลาย ได้รับการเขียนขึ้นในภาษาของตัวแปรต่างๆ(variables) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทฤษฎีต่างๆ อธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงตรรกระหว่างตัวแปรเหล่านั้น

ตัวแปร คือชุดของตรรกะเกี่ยวกับท่าทีหรือทัศนคติต่างๆ โดยผู้คนทั้งหลายเป็นตัวนำพาตัวแปรเหล่านั้น('carriers' of those variables) (ยกตัวอย่างเช่น เพศสภาพสามารถเป็นตัวแปรอันหนึ่งในสองลักษณะ คือ ชายและหญิง[male and female]). ตัวแปรต่างๆ ยังแบ่งออกได้เป็น ตัวแปรอิสระต่างๆ (ข้อมูล)ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม (independent variables (data) that influences the dependent variables) (ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามอธิบาย)

ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาอันหนึ่งเกี่ยวกับปริมาณต่างๆ ของการใช้ยาที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการโรคอย่างไร, มาตรวัดเกี่ยวกับความรุนแรงของอาการโรคเป็นตัวแปรตาม และการใช้ปริมาณยาในขนาดเฉพาะเป็นตัวแปรอิสระ. บรรดานักวิจัยทั้งหลายจะเปรียบเทียบค่าความต่างของตัวแปรตาม(ความรุนแรงของอาการโรค) และพยายามที่จะนำไปสู่ข้อสรุปต่างๆ

2.1 แบบอย่างการอธิบาย (Types of explanations)
การอรรถาธิบายในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ สามารถกระทำได้ในลักษณะส่วนตัว(idiographic - Relating to or involving the study of individuals) หรือในเชิงหลักการทั่วๆ ไป (nomothetic). วิธีการส่วนตัวในการอธิบาย เป็นหนึ่งในสิ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะขจัดความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับเงื่อนไขเฉพาะบางอย่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น โดยการพยายามที่จะจัดหาคำอธิบายที่เป็นไปได้ทั้งหมดเกี่ยวกับกรณีเฉพาะนั้นๆ

ส่วนการอธิบายในเชิงหลักการต่างๆ (Nomothetic explanations) เป็นแนวโน้มโดยทั่วไปซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายพยายามที่จะจำแนกแยกแยะปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับสาเหตุที่มีผลกระทบต่อเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ต่างๆ อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาที่ว่าผู้คนทั้งหลายเลือกงานกันอย่างไร, คำอธิบายส่วนตัว(idiographic explanation), ก็จะจดบันทึกเหตุผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดลงไปว่า ทำไมคนๆ นั้น(หรือกลุ่มคนนั้น)จึงเลือกงานดังกล่าว. ขณะที่การอธิบายในเชิงหลักการจะพยายามค้นหาปัจจัยต่างๆ ที่มากำหนดตัดสินว่า ทำไมผู้สมัครงานโดยทั่วไป จึงเลือกงานนั้นๆ

2.2 แบบอย่างของการค้นคว้า (Types of inquiry)
การวิจัยทางสังคมศาสตร์สามารถเป็นได้ทั้งวิธีการนิรนัยและอุปนัย

- deductive - นิรนัย, พิจารณาจากหลักการทั่วไปสู่เรื่องเฉพาะ
- inductive - อุปนัย, พิจารณาจากเรื่องเฉพาะไปสู่หลักการทั่วไป)

การค้นคว้าแบบอุปนัย(inductive inquiry) ถูกรู้จักในฐานะที่เป็น grounded research เป็นแบบจำลองอันหนึ่ง ซึ่งหลักการทั่วไป(ทฤษฎีต่างๆ) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการสังเกตต่างๆ ในสิ่งเฉพาะ. ส่วนการค้นคว้าในเชิงนิรนัย การคาดหมายต่างๆ ในสิ่งเฉพาะถูกพัฒนาขึ้นมาบนพื้นฐานของหลักการทั่วไปต่างๆ (เช่น บรรดานักสังคมศาสตร์เริ่มต้นจากทฤษฎีหนึ่งที่มีอยู่ และจากนั้นจึงทำการค้นหาเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน)

ยกตัวอย่างเช่น
- ในการวิจัยเชิงอุปนัย ถ้านักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งพบว่า ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาเฉพาะบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะนิยมชมชอบทัศนะทางการเมืองเฉพาะบางแนวทาง จากนั้นเขาอาจจะลากเอาประเด็นนี้ไปสู่สมมุติฐานว่า ชนกลุ่มน้อยทุกๆ ศาสนา มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติทางการเมืองอย่างเดียวกัน

- ในการวิจัยเชิงนิรนัย นักวิทยาศาสตร์จะเริ่มต้นจากสมมุติฐานอันหนึ่งว่า ความสัมพันธ์กันในเชิงศาสนา มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมือง และจากนั้นจึงเริ่มต้นสังเกตการณ์เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของเขา

3. การอภิปรายเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Quantitative / qualitative debate)
ตามปรกติแล้ว จะมีการสลับกันระหว่างกรณีตัวอย่างต่างๆ และตัวแปรจำนวนหนึ่ง ซึ่งการวิจัยทางสังคมศาสตร์สามารถศึกษาได้. การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกันกับกรณีตัวอย่างไม่มากนัก แต่เต็มไปด้วยตัวแปร ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณจะเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย แต่มีตัวแปรต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

มีการถกเถียงและอภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องของวิธีการวิจัยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพว่า สามารถที่จะเติมเต็มกันให้สมบูรณ์ได้หรือไม่ นักวิจัยบางคนให้เหตุผลว่า การรวมเอาวิธีการทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นประโยชน์และให้ผลดี นอกจากนั้นยังช่วยให้ภาพที่สมบูรณ์ขึ้นเกี่ยวกับโลกสังคมศาสตร์ด้วย. ขณะที่นักวิจัยบางคนเชื่อว่า ญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ซึ่งเป็นฐานรากของวิธีการวิจัยในแต่ละชนิด มีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่สามารถเข้ากันได้ในโครงการวิจัยเดียวกัน

วิธีการวิจัยต่างๆ ในเชิงปริมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, แบบจำลองปฏิฐานนิยมของทฤษฎีการทดสอบ, ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบจำลองของการตีความ และมีการโฟกัสไปรอบๆ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายและเรื่องราวคำอธิบายต่างๆ

- บรรดานักปฏิฐานนิยม(positivists) ปฏิบัติต่อโลกสังคม(social world) ในฐานะที่เป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งอยู่ข้างนอก(out there), มันอยู่ภายนอกนักสังคมศาสตร์และรอให้ไปพิสูจน์หรือทำวิจัย

- ส่วนบรรดานักตีความหมาย(interpretivist) ในอีกด้านหนึ่งนั้นเชื่อว่า โลกสังคมได้ถูกสร้างขึ้นโดยตัวแทนหรือองค์กรทางสังคม และด้วยเหตุนี้ การแทรกแซงใดๆ ก็ตามโดยนักวิจัย จะส่งผลกระทบต่อความจริงทางสังคม

ในกรณีนี้วางอยู่ความขัดแย้งเชิงอนุมานระหว่างวิธีการเชิงปริมาณกับวิธีการเชิงคุณภาพตามจารีต ซึ่งแสวงหาที่จะลดการแทรกแซงก้าวก่ายกันลงให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อที่จะผลิตเหตุผลและสถิติต่างๆ อันน่าเชื่อถือขึ้นมา ขณะที่ในทางตรงข้ามวิธีการเชิงคุณภาพ โดยจารีตแล้วปฏิบัติกับการแทรกแซงในฐานะที่เป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น (บ่อยครั้ง ได้ให้เหตุผลว่า การมีส่วนร่วมสามารถน้อมนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของสังคม)

แต่อย่างไรก็ตาม มันได้รับการตระหนักเพิ่มขึ้นว่า นัยสำคัญของความแตกต่างกันเหล่านี้ ไม่ควรที่จะถูกขยายหรือทำให้เกินจริงมากไป และวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสามารถที่จะมาเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์กันได้ ระเบียบวิธีทั้งสองชนิดสามารถนำมารวมกันในหนทางต่างๆ มากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

1. วิธีการเชิงคุณภาพต่างๆ สามารถถูกนำมาใช้เพื่อที่จะพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ในการวิจัยเชิงปริมาณได้ ตัวอย่างเช่น กลุ่มโฟกัส(focus groups)สามารถได้รับการนำมาใช้เพื่อสำรวจถึงประเด็นปัญหา กับกลุ่มผู้คนขนาดไม่ใหญ่นักกลุ่มหนึ่ง และการใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการอันนี้สามารถถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาแบบสอบถามในการสำรวจเชิงปริมาณ ที่สามารถได้รับการจัดการหรือดำเนินการกับผู้คนจำนวนมากขึ้น เพื่อผลลัพธ์ทั่วๆ ไป

2. วิธีการเชิงคุณภาพต่างๆ สามารถถูกนำมาใช้เพื่อสำรวจและทำให้การตีความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหลายสะดวกและง่ายดายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยอาจมีสมมุติฐานในเชิงอุปนัยว่า มันมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอันหนึ่ง ระหว่างทัศนคติเชิงบวกของทีมงานขายกับการขายสินค้าได้ในจำนวนมาก

แต่อย่างไรก็ตาม ในวิธีการเชิงปริมาณ, นิรนัย, การสังเกตเชิงโครงสร้างกับร้านค้าสะดวกซื้อจำนวน 576 ร้าน ได้เผยออกมาว่า อันนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริง. และเพื่อที่จะเข้าใจว่า ทำไมความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรทั้งหลายจึงออกมาในเชิงลบ ซึ่งไม่ตรงกับการวิจัยดังกล่าว อาจต้องดำเนินการในลักษณะการศึกษากรณีดังกล่าวในเชิงคุณภาพกับร้านค้าสะดวกซื้อ 4 แห่ง รวมถึงการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม

อันนี้อาจยืนยันว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปในเชิงลบ แต่นั่นมันไม่ใช่ทัศนคติในเชิงบวกของสต๊าฟงานขาย ที่น้อมนำไปสู่การขายที่ต่ำกว่าเป้า แต่ค่อนข้างเป็นว่า การขายที่สูงน้อมนำไปสู่ความยุ่งยาก วุ่นวายสับสน ซึ่งเป็นไปได้น้อยที่จะแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเชิงบวกออกมาในการทำงาน

วิธีการเชิงปริมาณเป็นประโยชน์สำหรับการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสเกลขนาดใหญ่, ส่วนวิธีการเชิงคุณภาพยอมให้นักสังคมศาสตร์ได้ตระเตรียมคำชี้แจง และคำอธิบายต่างๆ อย่างมากมายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม แต่ในสเกลหรือสัดส่วนที่เล็กกว่าเสมอ. โดยการใช้วิธีการทั้งสองอย่างหรือมากกว่านั้น บรรดานักวิจัยทั้งหลายอาจสามารถแบ่งการค้นพบต่างๆ ของพวกเขาเป็น ๓ ด้าน และจัดหาตัวแทนแสดงออกที่มีเหตุผลเกี่ยวกับโลกสังคม

การรวมกันวิธีการที่แตกต่าง บ่อยครั้งถูกใช้ในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ(comparative research) ซึ่งเกี่ยวกันกับการศึกษากระบวนการทางสังคมที่ข้ามรัฐชาติต่างๆ หรือข้ามแบบฉบับที่แตกต่างของสังคม

4. กระบวนทัศน์ต่างๆ (Paradigms)
บรรดานักสังคมศาสตร์ทั้งหลาย ปรกติแล้ว จะดำเนินการตามกระบวนทัศน์ทางสังคมอันหนึ่งหรือหลายหลาก

- กระบวนทัศน์ความขัดแย้ง (conflict paradigm) โฟกัสลงบนความสามารถของกลุ่มต่างๆ บางกลุ่มที่มีอิทธิพลครอบงำคนกลุ่มอื่น, หรือการต่อต้านเกี่ยวกับการครอบงำนั้น

- กระบวนทัศน์ในแบบวิธีการของคนธรรมดา (ethnomethodology paradigm - กระบวนการทางสังคมศาสตร์สาขาหนึ่งที่เกี่ยวพันกับคนธรรมดา ซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์กรของสังคม) เป็นการสำรวจว่า ผู้คนทั้งหลายเข้าใจชีวิตสังคมกันอย่างไรในกระบวนการดำรงชีวิตอยู่ ราวกับว่าแต่ละคนเป็นนักวิจัยที่ผูกพันอยู่กับการค้นคว้าดังกล่าว

- กระบวนทัศน์แบบสตรีนิยม (feminist paradigm) โฟกัสลงไปที่ ผู้ชายซึ่งมีอิทธิพลครอบงำสังคมได้ก่อรูปก่อร่างชีวิตทางสังคมขึ้นมาอย่างไร

- กระบวนทัศน์แบบดาร์วิน (darwinism paradigm) เป็นการมองถึงวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าไปของชีวิตสังคม

- กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม (positivism paradigm) เป็นวิธีการในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งปัจจุบันนี้ได้รับการถูกพิจารณาว่าล้าสมัยไปแล้ว(หมายถึงในรูปแบบอันบริสุทธิ์ของมัน) บรรดานักปฏิฐานนิยมเชื่อว่า เราสามารถค้นพบกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ควบคุมชีวิตสังคมในเชิงวิทยาศาสตร์ได้

- กระบวนทัศน์ในเชิงโครงสร้างหน้าที่(structural functionalism paradigm) ถูกรู้จักกันในนามของ กระบวนทัศน์ระบบสังคม(social systems paradigm)ด้วย ซึ่งได้กล่าวถึง แก่นหรือปัจจัยหน้าที่หลายหลากของสังคม ที่ได้ปฏิบัติการในเชิงระบบทั้งหมด

- กระบวนทัศน์ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (symbolic interactionism paradigm) สำรวจว่า ความหมายร่วมและแบบแผนทางสังคม ได้รับการพัฒนาในแนวทางของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร

เกี่ยวกับกระบวนทัศน์เหล่านี้, กระบวนทัศน์ความขัดแย้ง(conflict paradigm) ของ Karl Marx, การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์(symbolic interactionism) ของ Max Weber และ กระบวนทัศน์เชิงโครงสร้างหน้าที่(structural functionalism) ของ Emile Durkheim ต่างเป็นที่รู้จักมากที่สุด

5. จริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัยสังคมศาสตร์ (The ethics of social research)
ข้อพิจารณาหลัก ๒ ประการเกี่ยวกับจริยธรรมในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ คือ:

- การมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ มีอิสระ
- ไม่เป็นอันตรายต่อผู้รับการทดสอบ

6. องค์กรต่างๆเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์

6.1 องค์กรเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research organisations)

- Centre for Rural Social Research, Australia
- Economic and Social Research Council, United Kingdom (Research Funding Council)
- Institute for Public Policy and Social Research, USA
- Institute for Social Research, Germany
- Mass-Observation, United Kingdom
- Matrix Research & Consultancy Limited, United Kingdom
- Melbourne Institute of Applied Economic and Social Research, Australia
- National Centre for Social Research, United Kingdom
- National Opinion Research Center, USA
- New School for Social Research, New York City

6.2 เทคนิคต่างๆในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research techniques)

Quantitative methods (วิธีการเชิงปริมาณ)
- structured interviewing (การสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง)
- statistical surveys and questionnaires (การสำรวจเชิงสถิติ และแบบสอบถาม)
- structured observation (การสังเกตเชิงโครงสร้าง)
- content analysis (การวิเคราะห์เนื้อหา)
- secondary analysis (การวิเคราะห์ขั้นทุติยภูมิ)
- Quantitative marketing research (การวิจัยการตลาดเชิงปริมาณ)

Qualitative methods (วิธีการเชิงคุณภาพ)
- analytic induction (การอุปนัยเชิงวิเคราะห์)
- ethnography (ชาติพันธุ์วรรณา)
- focus groups (กลุ่มโฟกัส)
- morphological analysis (การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหลายมติ)
- participant observation (การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม)
- semi-structured interviewing (การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง)
- unstructured interviewing (การสัมภาษณ์แบบที่ไม่เป็นโครงสร้าง)
- textual analysis (การวิเคราะห์ตัวบท)
- theoretical sampling (ตัวอย่างในเชิงทฤษฎี)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

- Earl Babbie, 'The Practice of Social Research', 10th edition, Wadsworth, Thomson Learning Inc., ISBN 0-534-62029-9

- W. Lawrence Neuman, 'Social Resarch Methods: Qualitative and Quantitative Approaches, 6th edition, Allyn & Bacon, 2006, ISBN 0-205-45793-2

- Charles C. Ragin, 'Constructing Social Research: The Unity and Diversity of Method', Pine Forge Press, 1994, ISBN 0-8039-9021-9

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

มีการถกเถียงและอภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องของวิธีการวิจัยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพว่า สามารถที่จะเติมเต็มกันให้สมบูรณ์ได้หรือไม่ นักวิจัยบางคนให้เหตุผลว่า การรวมเอาวิธีการทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นประโยชน์และให้ผลดี นอกจากนั้นยังช่วยให้ภาพที่สมบูรณ์ขึ้นเกี่ยวกับโลกสังคมศาสตร์ด้วย. ขณะที่นักวิจัยบางคนเชื่อว่า ญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ซึ่งเป็นฐานรากของวิธีการวิจัยในแต่ละชนิด มีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่สามารถเข้ากันได้ในโครงการวิจัยเดียวกัน. วิธีการวิจัยต่างๆ ในเชิงปริมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, แบบจำลองปฏิฐานนิยมของทฤษฎีการทดสอบ, ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบจำลองของการตีความ และมีการโฟกัสไปรอบๆ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายและเรื่องราวคำอธิบายต่างๆ