เว็บไซต์ใช้เวลาพัฒนามาตลอดเวลา ๖ ปี นับจากปี ๒๕๔๓ เพื่อสร้างอุดมศึกษาทางเลือกสำหรับทุกคนที่อ่านไทย โดยการประกาศสละลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ















บทความลำดับที่ ๑๑๒๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความวิชาการบนหน้าเว็บเพจนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์
ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ ภายใต้ลิขซ้าย ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นักศึกษาและสมาชิกได้รับอนุญาตให้คัดลอกไปได้คำต่อคำ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
R
H
100150
release date
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น... midnight's
ร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้และความเสมอภาคเพื่อเตรียมตัวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาธิปไตยในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
สำหรับผู้ที่สนใจบทความวิชาการก่อนหน้า ท่านสามารถคลิกที่ภาพประกอบ เพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความที่เพิ่งผ่านมาได้จากที่นี่

นักศึกษา สมาชิก สามารถคลิกเพื่อค้นหาบทความต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จากแถบสีฟ้า
โดยใส่คำค้นที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ต้องการค้นหา
midnightuniv(at)gmail.com

Contemporary Politics and Economics
The Midnight University

เศรษฐศาสตร์การเมืองร่วมสมัย
เสรีนิยมแนวใหม่:
ยูโทเปียแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่มีสิ้นสุด

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ : แปล
อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


บทความวิชาการชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้แปล เดิมชื่อ
ยูโทเปียแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่มีสิ้นสุด: แก่นสารของเสรีนิยมแนวใหม่
เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ ซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามามีอิทธิพลในสังคมโลก
ปีแอร์ บูร์ดิเยอ ได้เขียนให้เห็นถึงพิษภัยของมัน และพยายามที่จะเสนอทางออก
ต่อปัญหาภัยคุกคามดังกล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๒๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

 

ยูโทเปียแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่มีสิ้นสุด "แก่นสารของเสรีนิยมแนวใหม่" (1)
The Essence of Neoliberalism (2) By Pierre Bourdieu (3)
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ : แปล -

"เสรีนิยมแนวใหม่คืออะไร?"
โครงการเพื่อการทำลายล้างโครงสร้างส่วนรวมซึ่งอาจจะขัดกับตรรกะของระบบตลาดที่บริสุทธิ์


ความนำ
ภายใต้วาทกรรมหลัก เศรษฐกิจมีลักษณะเป็นระเบียบที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์แบบ ระบบนี้มีตรรกะที่คาดเดาผลได้อย่างชัดเจน และสามารถควบคุมมิให้เกิดการกระทำละเมิดทั้งหลายด้วยการแทรกแซงโดยมีบทลงโทษทั้งแบบอัตโนมัติ หรือแบบที่ไม่ปกติ โดยการแก้ปัญหาผ่านองค์กรกลางที่เป็นหน่วยงานซึ่งระบบเศรษฐกิจได้สร้างกลไกไว้ควบคุม คือ IMF และ OECD รวมทั้งมีการควบคุมผ่านนโยบายที่พวกเขากำหนด เช่น การลดค่าแรงให้ต่ำลง, ให้ลดค่าใช้จ่ายสาธารณะ, และ ให้มีการยืดหยุ่นในการทำงานได้บ้าง

วาทกรรมหลักนี้เป็นธรรมหรือไม่?
ในความเป็นจริงแล้ว ระเบียบเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าเครื่องมือของสังคมอุดมคติของ "ลัทธิเสรีนิยมแนวใหม่" [Utopia of Neoliberalism] ซึ่งที่สุดแล้วมันจะไม่ย้อนกลับไปสร้างปัญหาด้านการเมืองหรือ? ทฤษฎีเศรษฐกิจซึ่งลัทธินี้กล่าวอ้างนั้น ประสบความสำเร็จในการอธิบายความจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์อย่างนั้นหรือ?

ทฤษฎีที่มีอำนาจข้างต้นนี้เป็นการเสกสรรปั้นแต่งทางคณิตศาสตร์ล้วนๆ ในแรกเริ่ม ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นนามธรรม นั่นคือการสร้างมโนทัศน์ของความเป็นเหตุเป็นผลที่มีลักษณะที่คับแคบและเข้มงวด ในฐานะที่เป็นเหตุผลเชิงปัจเจก มันรองรับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมของการกำหนดทิศทางเชิงเหตุผล และค้ำโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังกล่าวไว้

แค่เรามองที่ระบบการศึกษาก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ถูกละเลยในการวัดเรื่องนี้ การศึกษามีบทบาทในการผลิตสินค้าและให้บริการในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตโดยตัวมันเอง แต่กลับไม่เคยถูกนำมาคิดรวมเป็นมูลค่า โมเดลเศรษฐศาสตร์แบบ Walrasian (4) เรื่อง "ทฤษฎีบริสุทธิ์" [pure theory] เป็นตัวแบบของบาปบริสุทธิ์ซึ่งจะพัดพาเอากระแสของความขาดแคลน และความผิดพลาดทั้งปวงของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และจากการฝืนโชคชะตา ซึ่งมันติดกับดักตัวมันเอง สู่การเกิดเป็นขั้วตรงข้าม นั่นคือ ตรรกะแห่งเศรษฐศาสตร์ทรัพย์สิน (ซึ่งอยู่บนฐานการแข่งขันและประสิทธิภาพ) กับตรรกะแห่งสังคม (ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดกฎความยุติธรรมที่เป็นรูปธรรม) ผ่านการมีอยู่ของมัน

กล่าวได้ว่าในปัจจุบัน "ทฤษฎี" ซึ่งถูกรื้อสร้างทางสังคมและประวัติศาสตร์ตั้งแต่ระดับรากเหง้านี้ มีนัยของการสร้างความจริงโดยตัวมันเองและนัยของตัวแปรเชิงประจักษ์มากกว่าที่เคยมีมา ผลกระทบที่ตามมาก็คือ วาทกรรมของเสรีนิยมแนวใหม่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่วาทกรรมหนึ่งในหลาย ๆ วาทกรรมเท่านั้น แต่ เออร์วิ่ง กัฟฟ์แมน [Erving Goffman ](5) วิเคราะห์ว่า วาทกรรมแบบเสรีนิยมแนวใหม่นี้เป็น 'วาทกรรมที่แข็งแกร่งมาก' เช่น วาทกรรมทางจิตเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลประสาท ซึ่งมันมีอำนาจมากและยากที่เราจะต่อต้าน เพราะมันมีพลังของโลกแห่งความสัมพันธ์ทั้งหมดไว้ โลกที่สร้างสิ่งต่างๆ ให้มันเป็นไป มันทำทุกอย่างด้วยการสร้างทางเลือกเศรษฐกิจให้กับกลุ่มคนที่ครอบครองปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจไว้ ทั้งนี้ มันยังสร้างสัญลักษณ์เชิงอำนาจของมันไว้ด้วย

แม้ว่าสถานะของมันจะถูกปฏิเสธเพราะเกิดขึ้นในทางลบทางเดียว แต่โดยอ้างการเป็นแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มันก็จะเปลี่ยนเป็นแผนปฏิบัติการทางการเมือง ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น แนวคิดนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างตำแหน่งทางสังคมภายใต้สิ่งที่ "ทฤษฎี" สามารถทำให้เป็นจริงและทำหน้าที่ได้ เรียกแผนนี้ว่า แผนปฏิบัติการทำลายส่วนรวมเชิงวิธีวิทยา [a programme of the methodical destruction of collectives]

การเมืองของการรื้อกฎเกณฑ์ทางการเงิน จะทำให้การเคลื่อนตัวสู่ยูโทเปียของเสรีนิยมแนวใหม่ ซึ่งมีแนวคิดเรื่องตลาดที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์แบบเป็นไปได้ และก็ต้องกล่าวว่ามันประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดปฏิบัติการทำลายมาตรวัดทางการเมืองทุกรูปแบบ (เช่น ในปัจจุบันที่ใช้ข้อตกลงพหุนิยมทางการลงทุน [Multilateral Agreement of Investment - MAI] ซึ่งทำขึ้นเพื่อที่จะคุ้มครองบรรษัทต่างชาติ และการลงทุนของบริษัทจากรัฐชาติ) โดยต้องการที่จะ ตั้งคำถาม(ตั้งแง่ )(6)กับโครงสร้างส่วนรวมทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อตรรกะตลาดบริสุทธิ์

นั่นคือ ประชาชนซึ่งมีพื้นที่ในการขับเคลื่อนน้อยลงเรื่อยๆ ได้แก่ ชนชั้นทำงาน เช่นในเรื่องการได้รับเงินเดือนและค่าวิชาชีพตามความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลจากการแยกส่วนแรงงาน, กลุ่มที่มีการรวมตัวเพื่อปกป้องสิทธิของพนักงาน เช่น สหภาพ สมาคม กลุ่มความร่วมมือ, หรือแม้กระทั่งการตั้งคำถามต่อครอบครัว ซึ่งสูญเสียสิทธิ์ในการควบคุมการบริโภค โดยผ่านการสร้างสถาบันทางการตลาดในแต่ละกลุ่มอายุ

ปฏิบัติการของลัทธิเสรีนิยมแนวใหม่
ปฏิบัติการของลัทธิเสรีนิยมแนวใหม่ จะสร้างอำนาจทางสังคมจากอำนาจทางการเมือง และเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผู้ถือหุ้น, คนที่จัดการด้านการเงิน, เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม, นักการเมืองแนวอนุรักษ์หรือแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งพวกนี้เองที่ปลดคนงานออกเป็นจำนวนมากจากนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่รู้ทิศทาง นักการเงินระดับสูงสนใจการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันการหมดตัว พวกเขาจะไม่ทำให้ความมั่งมีของเขาเกิดความเสี่ยง และยอมทำแม้กระทั่งจ่ายเงินเพื่อควบคุมผลที่จะตามมา ซึ่งไม่เหมือนกับการจัดการในบริษัททั่วไป

ในความเป็นจริงแล้ว เสรีนิยมแนวใหม่มีแนวโน้มคอยรับใช้ทุกอย่าง เพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดการล่มสลายของเศรษฐกิจจากความจริงทางสังคมและจะสร้างระบบเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับที่ได้อธิบายไว้ในเรื่องทฤษฎีบริสุทธิ์ นั่นคือรูปแบบหนึ่งของตัวจักรกลเชิงตรรกะ ซึ่งแสดงตัวตนของมันเองเสมือนแรงบีบที่ร้อยรัดเป็นโซ่ตรวนเพื่อควบคุมตัวกระทำทางเศรษฐกิจไว้

โลกาภิวัตน์ของตลาดการเงินเมื่อผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร จะรองรับการเคลื่อนย้ายของตลาดเงินทุนซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ผลที่ตามมาก็คือ มันทำให้ผู้ลงทุนคิดถึงการลงทุนที่มีผลกำไรระยะสั้น โดยเอาไปเปรียบเทียบกับผลกำไรในบริษัทขนาดใหญ่ที่สุด แต่บรรดาบริษัทเล็ก ๆ กลับจะถดถอย บริษัทที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการคุกคามอย่างถาวรนี้จะต้องปรับตัวเองอย่างรวดเร็ว และเร็วยิ่งขึ้นเพื่อให้เข้ากับภาวะเร่งด่วนในตลาด หากปรับตัวไม่ได้ก็จะ "สูญเสียความเชื่อมั่นทางการตลาด" หรือที่พวกเขาเรียกว่า การลดการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของพวกเขา

ท้ายที่สุด ความกังวลต่อการได้รับผลกำไรระยะสั้นของผู้ถือหุ้น จะยิ่งเข้าไปกดดันผู้บริหารจัดการให้ตอบสนองข้อเรียกร้องต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการเงินเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ภายใต้การดำเนินงานของผู้บริหาร และเพื่อสร้างนโยบายของพวกเขาเองโดยยึดการว่าจ้าง, งาน, และค่าจ้างเป็นหลัก

ดังนั้น อำนาจเบ็ดเสร็จในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จึงเกิดขึ้น ลูกจ้างจะได้รับสัญญาจ้างเป็นโครงการๆ หรือจ้างงานแบบต่อสัญญาเป็นระยะหรือเป็นแบบลูกจ้างชั่วคราว และก็มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในบริษัทและให้มีการแข่งขันกันเองระหว่างแผนกอิสระเช่น การแข่งขันเป็นทีม ซึ่งทำให้เกิดหน้าที่ที่หลากหลายภายในตัวบริษัทเอง ท้ายที่สุด แต่ละคนจะรู้ว่าต่างต้องแข่งขันผ่านกระบวนการทำให้เป็นปัจเจกซึ่งสัมพันธ์ตามรายได้ อันได้แก่ การสร้างเป้าหมายของงาน, การประเมินผลงานส่วนตัว, การประเมินแบบถาวร, การเพิ่มเงินเดือนหรือการให้โบนัสก็เป็นตัวที่ทำหน้าที่ในระบบแข่งขัน และในระบบการว่าจ้างตามความสามารถในการทำงานด้วย

กล่าวคือ สำหรับเส้นทางสายอาชีพอิสระนั้น แม้ว่าพนักงานจะมีเงินเดือนเล็กน้อยตามขั้นงาน แต่ยุทธศาสตร์ "การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ" ก็มีแนวโน้มที่จะรับรองให้มีการหาประโยชน์ด้วยตัวเอง เช่น พนักงานที่รับผิดชอบด้านการขาย, ดูแลผลิตภัณฑ์, บริษัทลูก, ห้าง หรืออื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ก็จะมีเงินโบนัสเป็นตัวล่อ ความกดดันนี้จะส่งผลสู่ "การควบคุมตัวเอง" ขยายสู่ "การมีส่วนร่วม" ของลูกจ้าง โดยใช้เทคนิคของ "การจัดการแบบมีส่วนร่วม" มาพิจารณาภายใต้ระดับการทำงาน

สิ่งเหล่านี้ก็คือเทคนิคของสภาพครอบงำอย่างมีเหตุผล ซึ่งทำให้เกิดวิตกจริตในการทำงานอย่างมาก (ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการจัดการเท่านั้น) และทำให้เกิดการทำงานภายใต้ความรีบเร่งหรือเงื่อนไขที่กดดันอย่างมาก ซึ่งจะนำไปสู่ความอ่อนแอในหมู่คณะ และขาดความสามัคคีปรองดอง (7)

ลักธิดาร์วินซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเส้นทางสายนี้ กล่าวว่า มันคือความขัดแย้งซึ่งเกิดจากการแข่งขันในทุกระดับขั้นตำแหน่งงาน ซึ่งจะต้องหาแรงสนับสนุนให้ทุกคนรักงานและรักองค์กรที่เต็มไปด้วยความไม่มั่นคง ความลำบากใจ และความกดดัน ไม่แปลกใจเลยว่า การสร้างโลกแห่งความขัดแย้งในทางปฏิบัตินี้ จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ หากปราศจากการมีส่วนในการรู้เห็นใน การจัดการที่มีความเสี่ยง ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคง และหากขาดการรู้เห็นที่จะทำให้มีการสำรองพนักงานที่ต้องยอมตามกระบวนการทางสังคม ที่ทำให้เขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความมั่นคงทางตำแหน่งหน้าที่การงาน ซึ่งก็เหมือนกับขู่ว่าเขาจะว่างงานแบบถาวร พนักงานเหล่านี้มีอยู่ในทุกระดับชนชั้น แม้กระทั่งในผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะพวกผู้จัดการบริษัท

หลักการพื้นฐานสุดของระเบียบทางเศรษฐกิจทั้งหมดนี้ จะวางอยู่ภายใต้สัญลักษณ์ของความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นผลกระทบจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างจากการว่างงาน, จากความไม่มั่นคงในตำแหน่งหน้าที่, และการขู่ไล่คนงานออกที่บอกเป็นนัยไว้ก่อนแล้ว เงื่อนไขของการทำหน้าที่ "ที่สอดคล้อง" ของโมเดลเศรษฐศาสตร์มหภาคของพวกลัทธิปัจเจกชนนั้น เป็นปรากฏการณ์สำคัญ นั่นคือ การมีลูกจ้างที่ว่างงานอยู่ในตลาดแรงงาน

ความรุนแรงเชิงโครงสร้างนี้มักจะตั้งอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า สัญญาจ้างงาน [Labour contract] (ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักเหตุผลอย่างชัดเจนและทำให้เกิดจินตนาการโดย "ทฤษฎีแห่งสัญญา" [Theory of Contracts]) วาทกรรมองค์กรไม่พูดถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ, ความร่วมมือ, ความซื่อสัตย์ และวัฒนธรรมองค์กรพอ ๆ กับที่ในยุคหนึ่งที่รับเอาการประพฤติตามกฎเกณฑ์องค์กรโดยยกเลิกประกันการจ้างงานชั่วคราวทั้งหมด (3 ใน 4 ของการจ้างงานเป็นการจ้างที่มีการกำหนดช่วงเวลา สัดส่วนของลูกจ้างชั่วคราวมีเพิ่มมากขึ้น การ "พอใจจะจ้าง" และการมีสิทธิ์ที่จะไล่คนงานแต่ละคนออก ต่างมีแนวโน้มที่จะทำได้โดยปราศจากข้อกฎหมายต่าง ๆ)

ยูโทเปียของกลุ่มเสรีนิยมแนวใหม่และความร้ายกาจ
เราจะเห็นว่า ยูโทเปียของกลุ่มเสรีนิยมแนวใหม่ มีแนวโน้มที่จะก่อร่างตัวมันเองในรูปของจักรกลที่ร้ายกาจได้อย่างไร ซึ่งแม้แต่คนที่เป็นเจ้าของเองก็ต้องบีบบังคับตัวเองด้วย เรื่องนี้ก็คล้าย ๆ กับลัทธิมาร์กซในยุคต้น ซึ่งเห็นได้ทั่วไป ยูโทเปียแบบนี้จะประกาศศักดาความเชื่อที่ ศรัทธาในตลาดเสรี ไม่เฉพาะแต่คนที่หารายได้จากมัน เช่น นักการเงินการธนาคาร, เจ้าของกิจการหรือผู้จัดการบริษัทขนาดใหญ่ และอื่น ๆ แต่ผู้บริหารระดับสูงของรัฐและนักการเมืองซึ่งใช้เหตุผลทางการตลาดดังกล่าวในการดำรงตำแหน่งของตนก็ใช้นโยบายตลาดเสรีอันนี้ด้วย ในการแทรกแซงอำนาจทางการตลาดโดยการอ้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจนั้น

จะมีการเรียกร้องให้ยกเลิกกำแพงทางการบริหารหรือการเมือง ที่ทำให้นายทุนขาดสภาพคล่องในการจัดการทุนเพื่อให้เกิดผลกำไรส่วนตนให้มากที่สุด ซึ่งนี่ก็ย้อนกลับไปที่ตัวแบบของความมีเหตุมีผลอีกนั่นเอง พวกเขาต้องการธนาคารกลางอิสระ และพวกเขาจะตะล่อมให้ส่วนย่อยของรัฐชาติมีความต้องการเศรษฐกิจแบบเสรีเพื่อการเป็นจ้าวเศรษฐกิจ พร้อมกับยกเลิกการควบคุมทางการตลาดทุกอย่าง เริ่มต้นด้วยตลาดแรงงาน, การออกกฎหมายเกี่ยวกับภาวะการขาดดุลและภาวะเงินเฟ้อ, จากนั้นก็จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริการสาธารณะ และจะเปลี่ยนรูปแบบค่าใช้จ่ายสาธารณะและสังคม

นักเศรษฐศาสตร์อาจจะไม่จำเป็นต้องแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้จากคนที่เชื่อมั่นในตลาดแบบนี้จริงๆ และอาจจะมีรัฐที่มีจิตวิญญาณเป็นปัจเจกเป็นจำนวนมาก ที่สนใจผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของยูโทเปียที่ถูกครอบงำด้วยเหตุผลทางคณิตศาสตร์นี้ กระนั้นก็ตาม พวกเขามีผลประโยชน์เฉพาะอย่างเพียงพอในสนามของศาสตร์เศรษฐกิจ ที่จะสร้างผลิตผลและการผลิตซ้ำตามความเชื่อในยูโทเปียของเสรีนิยมแนวใหม่ ด้วยการคงอยู่ของนักเศรษฐศาสตร์ และยิ่งไปกว่านั้นด้วยการก่อรูปทางปัญญา ซึ่งมักจะเป็นนามธรรม, ตรงตามหนังสือ, และ เป็นทฤษฎีล้วนๆ ทำให้เกิดการแบ่งแยกจากความเป็นจริงระหว่างโลกเศรษฐกิจและโลกสังคม โดยเฉพาะพวกเขาค่อนข้างที่จะสับสนในเรื่องตัวตนแห่งตรรกะ [Thing of Logic] กับตรรกะแห่งตัวตน [Logic of Things]

นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้เชื่อในตัวแบบที่ว่า พวกเขาไม่เคยมีโอกาสที่จะยื่นข้อเสนอเพื่อทดสอบความถูกต้องของทฤษฎี และพวกเขาถูกชักนำให้ดูถูกผลของวิทยาศาสตร์จากประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงความบริสุทธิ์ และความโปร่งแสงที่เกิดจากการตกผลึกของเกมตัวเลขเหล่านี้เลย พวกเขาไม่สามารถเข้าใจในความจำเป็นที่แท้จริงและความซับซ้อนอันลึกซึ้งของมันได้

พวกเขามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่น่ากลัว แม้ว่าผลที่เกิดขึ้นบางอย่างจะทำให้พวกเขารู้สึกหวาดหวั่น (พวกเขาสามารถเข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยม และก็ให้คำปรึกษาต่อตัวแทนของมันในโครงสร้างอำนาจดังกล่าว) แต่ก็ไม่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ เพราะระดับความเสี่ยงในความผิดพลาดมีเพียงเล็กน้อย การเชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า "ความหวังในผลกำไรที่ลมๆ แล้งๆ" [Speculative bubbles] ก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะทำให้เกิดยูโทเปียที่มีตรรกะรุนแรงเกิดขึ้น (ตรรกะแบบรุนแรง ก็เหมือนกับรูปแบบที่แน่นอนของความไร้สติและไร้เหตุผล) เพื่อสิ่งที่พวกเขาอุทิศให้ทั้งชีวิต

และเมื่อโลกยังเป็นของกลุ่มคนเหล่านี้ ผลกระทบที่เห็นทันตาจากการปฏิบัติการของยูโทเปียแบบเสรีนิยมแนวใหม่นี้ ก็คือ ไม่เพียงแต่สังคมที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจะมีคนยากจนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น, แต่จะมีความแตกต่างทางรายได้ที่ผิดปกติ, ความเป็นอิสระของอาณาจักรแห่งการผลิตทางวัฒนธรรม เช่น ภาพยนตร์, สิ่งพิมพ์ หรืออื่นๆ จะหายไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยผ่านการผลักให้ขายคุณค่าของสินค้าเหล่านี้ แต่ก็ยังมีแนวโน้มหลักๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่ 2 แบบด้วยกัน

ประการแรก ก็คือ ความล้มเหลวของสถาบันส่วนรวม โดยเฉพาะสถาบันที่เป็นของรัฐซึ่งเป็นเหมือนคลังเก็บคุณค่าสากลที่สัมพันธ์กับแนวคิดขอบเขตสาธารณะ[public realm] เนื่องจากถูกจักรกลตัวฉกาจนี้โจมตี

ประการที่สอง เกิดการจัดเก็บภาษีในทุกพื้นที่ ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจระดับบนและระดับรัฐที่เป็นเหมือนหัวใจของความร่วมมือทั้งหลาย สิ่งนี้มาจากแนวคิดของลัทธิดาร์วิน ที่สร้างบรรทัดฐานของการกระทำและพฤติกรรมทุกอย่างด้วยวัฒนธรรมของผู้ชนะ ทั้งการฝึกฝนคณิตศาสตร์ขั้นสูงและเรียนรู้แบบบันจี้จัมพ์, สร้างการแข่งขันจากการต่อต้านทุกรูปแบบและจากลัทธิเกลียดชังสังคมมนุษย์

ประชาชนตาดำๆ ทำอะไรได้บ้าง
จะเชื่อได้ไหมว่า สักวันหนึ่งประชาชนตาดำ ๆ จำนวนมากที่ทนทุกข์ยาก ซึ่งเป็นผลผลิตจากรูปแบบของระบอบการปกครองแบบเศรษฐศาสตร์การเมือง จะเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มเคลื่อนไหวที่สามารถหยุดการแข่งขันที่นำไปสู่ห้วงอเวจีดังกล่าว? ทั้งนี้ เราเผชิญกับสิ่งนี้ด้วยสถานการณ์ที่ยากจะอธิบายและขัดกับความรู้สึก มีอุปสรรคหลายอย่างที่ขวางอยู่บนทางที่จะทำให้เราตระหนักถึงระเบียบแห่งความโดดเดี่ยวรูปแบบใหม่ แต่อิสระชนที่มีอยู่ในปัจจุบันก็สามารถจะกล่าวได้ว่า เป็นผลจากร่องรอยและความแข็งแกร่งของระบอบดังกล่าว การแทรกแซงโดยตรงและมีสติไม่ว่าในรูปแบบใด (อย่างน้อยที่สุดเมื่อเป็นการแทรกแซงจากรัฐ) จะถูกลดความน่าเชื่อถือและถูกตำหนิว่าเป็นการทำลายตัวเอง เพราะผลกำไรจากกลไกบริสุทธิ์และไร้ผู้กระทำในตลาด ซึ่งโดยธรรมชาติจะเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์จะถูกลืม

แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ปกป้องไม่ให้ระเบียบทางสังคมที่ล้มเหลวเข้าสู่ความไร้ระเบียบ คือการดำเนินงานหรือการอยู่รอดของสถาบันและตัวแทนของระเบียบเดิมๆ ซึ่งแต่ละแห่งอยู่ในกระบวนการของการถูกรื้อถอน ถึงแม้ว่าระดับของการเติบโตของประชากรจะเพิ่มขึ้นจนอยู่ในภาวะอันตราย และการทำงานทุกอย่างของแต่ละงานในสังคม แต่ก็จะเป็นอีกตัวที่จะปกป้องระเบียบสังคม เช่นเดียวกับรูปแบบของความปรองดองทางสังคม การเป็นครอบครัวหรืออื่นๆ

การเปลี่ยนผ่านสู่ "เสรีนิยมแนวใหม่" จะเข้าแทนที่ในลักษณะที่ไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส คล้ายกับการเคลื่อนไหวของแผ่นทวีป ดังนั้น ผลกระทบของมันก็จะซ่อนเร้นอยู่ด้วย ผลที่ตามมาอย่างร้ายกาจจะเป็นผลที่ยาวนานมาก ซึ่งตอนนี้คนที่ปกป้องระเบียบเดิมกำลังชูประเด็นการต่อต้านสิ่งนี้ขึ้น ด้วยการเน้นไปที่ฐานทรัพยากรเดิม ที่มีอยู่บนความสามัคคีดั้งเดิม บนการสำรองทุนทางสังคม ซึ่งปกป้องชะตาของระเบียบสังคมในปัจจุบันจากการตกต่ำสู่ความไร้บรรทัดฐาน ทุนทางสังคมนี้ถูกโชคชะตากำหนดไว้ เพื่อทำให้ความอ่อนแอนี้หายไป ถึงแม้ว่าจะทำไม่ได้ในระยะสั้นก็ตาม ยกเว้นว่ามันไม่ได้นำกลับมาใช้และผลิตซ้ำใหม่

ในอีกมุมหนี่ง พลังของ "การอนุรักษ์" เหล่านี้ (ซึ่งก็ง่ายเกินไปที่จะบอกว่าเป็นแนวอนุรักษ์) ก็ยังเป็นพลังต่อต้านเพื่อสร้างระเบียบใหม่ และสามารถกลายมาเป็นพลังที่เป็นบ่อนทำลายทางการเมืองได้ ถ้ามันเป็นตัวที่ทำให้ยังมีความหวังบางอย่างทั้งในสถาบันของรัฐ และในการกำหนดทิศทางตัวกระทำทางสังคม (ปัจเจกชนและกลุ่มที่ยึดติดกับสถาบันเหล่านี้อย่างเด่นชัด จะมีแนวทางในการบริการประชาชนและสาธารณะตามประเพณีเดิมอยู่แล้ว) นั่นคือพลังนั้นยังคงมีอยู่ภายใต้ปรากฏการณ์ของการปกป้องระเบียบที่หายไปและปกป้อง "สิทธิพิเศษ" ที่สอดคล้องกัน (ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาจะถูกกล่าวหาได้อย่างรวดเร็ว) แล้วนั้น พลังดังกล่าวจะสามารถต่อต้านความท้าทายนี้ได้ ต่อเมื่อมีการคิดค้นและสร้างระเบียบสังคมใหม่ สิ่งหนึ่งที่จะไม่เกิดขึ้นก็คือการเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัวและความปรารถนาส่วนตัวเพื่อทำกำไร และสิ่งนี้จะทำให้เกิดกลุ่มความร่วมมือที่จะทำให้เกิดการดำเนินงานสู่จุดหมายของกลุ่ม จนถึงจุดที่ให้สัตยาบันร่วมกันอย่างมีเหตุผล

แล้วเราจะไม่สามารถสร้างพื้นที่พิเศษท่ามกลาง กลุ่ม, องค์กร, สหภาพ และพรรคการเมืองที่ร่วมมือกันเพื่อรัฐได้อย่างไร มันมีสิ่งที่เรียกว่า รัฐ-ชาติ หรือรัฐที่อยู่เหนือจากอำนาจรัฐบาล เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว เช่น รัฐของประเทศทางยุโรปที่รวมตัวกันสู่ความเป็นรัฐโลก ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมและจัดเก็บภาษีจากผลกำไรในตลาดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งไปกว่านั้นก็สามารถต่อสู้กับผลกระทบที่เป็นผลลบซึ่งมีอยู่ในตลาดแรงงานได้ด้วย

สิ่งนี้สามารถทำไปพร้อมกับการช่วยเหลือของสหภาพแรงงานได้ ด้วยการทำอย่างพิถีพิถันและป้องกันผลประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าจะคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม จากมุมมองของนักบัญชีแล้ว (ในปัจจุบันก็จะเป็นคำพูดของเหล่า "เจ้าของร้าน") ผลประโยชน์สาธารณะก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น แม้แต่ในระดับที่เกิดความผิดพลาดทางคณิตศาสตร์เพียงน้อยนิด ซึ่งมันเป็นระบบความเชื่อใหม่ที่แสดงถึงรูปแบบสูงสุดของการบรรลุเป้าหมายงานของมนุษย์

++++++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ

(1) แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ Http://mondediplo.com/1998/12/08bourdieu ต้นฉบับภาษาอังกฤษ แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย Jeremy J. Shapiro (ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ผู้เผยแพร่ Le Monde Diplomatique เรียบร้อยแล้ว) [ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส Cette Utopie, en Voie de R?alisation, D'une Exploitation Sans Limite "L'essence Du N?olib?ralisme", http://www.monde-diplomatique.fr/1998/03/BOURDIEU/10167] ผู้แปลขอขอบคุณ อ. สุรสม กฤษณะจูฑะ และ ดร. ศรัณย์ สุดใจ ที่ช่วยให้ความรู้ในการแปลครั้งนี้

(2) ปัจจุบันมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Neoliberal Empire ซึ่งควรจะนำมาพิจารณาด้วย [ผู้แปล]

(3) ชีวประวัติ Pierre Bourdieu เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสแนว post-structural บิดาของเขาเป็นบุรุษไปรษณีย์ ซึ่งครอบครัวของเขาจัดอยู่ในชนชั้นกลางกลุ่มล่าง แต่ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นพวกชนชั้นชาวนา เขาเกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1930 ที่หมู่บ้าน Denguin ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ใน Bearn ใน Department des Basse-Pyrenees ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส

ในช่วงที่เขาเป็นเด็กนั้นความรู้จำกัดอยู่แค่เพียงในหมู่บ้าน ไม่มีการโต้แย้งอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เรียกได้ว่าเป็นเขตความรู้แบบร่อแร่ กระนั้นก็ดี เด็กน้อยปิแอร์ก็ฉายแววความฉลาดออกมาตั้งแต่ยังเด็ก เขาศึกษาที่โรงเรียนมัธยมในเมือง Pau จากนั้นก็ไปศึกษาที่โรงเรียนมัธยม Louis-le-Grand ใน Paris. ปี 1948 เขาเอ็นทรานซ์เข้าศึกษาที่ Ecole normale superieure ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งในปารีส และเป็นเพื่อนร่วมห้องกับ Althusser

เขาได้ศึกษาวิชาปรัชญา และสำเร็จหลักสูตรปริญญาบัญฑิต สาขาวิชาปรัชญา (agrege de philosophie) ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เขาปฏิเสธที่จะเขียนวิทยานิพนธ์แบบเดิมๆ โดยมีคนเสนอให้เขาเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับธรรมชาติของคนเดินถนนและพวกบ้าอำนาจ ซึ่งขณะนั้นในช่วงปี 1951 ลัทธิสตาลินกำลังเฟื่องฟูอย่างมาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กดดันสำหรับเขาและคนอื่นที่เขาอยู่ด้วย เช่น Bianco, Comte, Marin, Derrida, Patiente และคนอื่น จากนั้น ระหว่างปี 1955 -1958 เขาก็ได้ไปเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนมัธยมที่ Moulins

ชีวิตการเรียนรู้ของบูร์ดิเยอเริ่มเปลี่ยนเมื่อเขาได้ไปสอนที่อัลจีเรียเป็นระยะเวลา 2 ปี ในปี 1958 เขาได้หันเหจากการเป็นนักปรัชญา สู่โลกแห่งสังคมศาสตร์อย่างเต็มตัว ได้เห็นวิถีชีวิตของคนอัลจีเรียและคนที่ตั้งรกรากที่นั่น ซึ่งเป็นประสบการณ์จากเหตุการณ์ทางการเมือง และทำให้เขาได้เริ่มเขียนหนังสือเล่มแรกในชีวิตเขา ชื่อ Sociologie de l'Algerie (The Sociology of Algeria) หลังจากที่ฝรั่งเศสคืนเอกราชให้กับอัลจีเรีย เขาก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่ University of Algiers ในปี 1958 และสอนอยู่ที่นั่นเป็นเวลาอีก 2 ปี

ปี 1960 เขากลับมาที่ฝรั่งเศสสอนอยู่ที่ University of Paris และช่วยสอนที่ University of Lille ลักษณะงานของเขานั้นคล้ายกับเป็นนักมานุษยวิทยาอย่างมาก เขาได้เข้าร่วมประชุมกับ Levi-Strauss ที่ College de France เข้าฟังการบรรยายของ Levi-Strauss ในเรื่องชาติพันธุ์ที่ Musee de l'Homme เขาได้หันกลับมาอ่านงานของ Marx และเป็นผู้ช่วยของ Raymond Aron ซึ่งนำสังคมวิทยาของเขาไปสู่การยอมรับ เขาแต่งงานกับ Marie-Claire Brisard ในปี 1962 พวกเขามีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ Jerome , Emmanuel และ Laurent

ปี 1964 เขากลับมาที่ปารีส และได้เป็น Director of Studies ที่ Ecole practique des hautes etudes และได้เป็นผู้สนับสนุนงานวิจัยหลายชิ้น โดยเฉพาะในปี 1968 มีกองทุนของ Centre de Sociologie Europeenne ซึ่งเขาเป็นผู้อำนวยการอยู่ มีการประกาศงานของสมาคม Actes de la recherche en science sociales หนังสือแนวใหม่ที่เขียนเกี่ยวกับการศึกษาแบบหลากหลาย, ภาพถ่าย, มายา ในแนวใหม่ และกระทั่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เขาได้ร่วมงานกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น Boltanski ,Darbel, de St Martin และ Passeron. ในช่วงทศวรรษ 1960 เขามุ่งประเด็นที่การวิพากษ์ระบบการศึกษาระดับสูงในฝรั่งเศส เขาตำหนิเรื่องการแบ่งชนชั้นทางสังคมอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นเบื้องหลังให้เกิดการเรียกร้องของนักเรียนในปี 1968

เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีของ College de France ในปี 1981 และได้สนับสนุนให้ Center for European Sociology มีการทำวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยอย่างเต็มที่ ในฐานะที่เขาเป็นกลุ่มชนชั้นกลางกลุ่มล่างมาก่อน

ในขณะที่เขาเป็นทั้งนักสังคมวิทยาหรือกระทั่งนักมานุษยวิทยา บูร์ดิเยอซึมซับแนวคิดทางปรัชญามาด้วย บางทีปรัชญาหรือสิ่งอื่น ๆ เป็นเสน่ห์ของปัญหาเบื้องลึกของสังคม เช่น จิตใจ ตัวกระทำ บุคคล ซึ่งทำให้เขาเกิดแนวคิดวาทกรรมทางด้านทฤษฎีเชิงประจักษ์ในงานอย่างเด่นชัด แทนที่จะหาคำถามที่ยิ่งใหญ่หรือหาความหมายของชีวิต เขากลับสนใจว่า "คำถามพวกนี้มีความเป็นไปได้และเป็นวิธีการซึ่งมีความหมายเชิงปฏิบัติการ ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมทางสังคมได้อย่างไร?" เขาดำเนินการภายใต้การศึกษาว่า "อำนาจคงอยู่อย่างถาวรในความสัมพันธ์ในสังคม รวมทั้งเชื่อมโยงกับความรู้ในตัวมันเองได้อย่างไร" ซึ่งนั่นเขาสามารถที่จะอธิบายด้วยวาทกรรมเชิงประจักษ์และการวิจัยอย่างมีรูปแบบ

เขาปฏิเสธลัทธิลัทธิสตาลินและลัทธิอนุรักษ์มาตั้งแต่เด็ก และไม่ชอบสงครามอัลจีเรียอย่างรุนแรง เขาได้จัดอยู่ในนักคิดแนว post-structuralism ซึ่งแนวคิดของเขาจะเป็นแนว anti-modernity และแบบซ้ายจัด เขาเรียกตัวเองว่าเป็นพวกซ้ายของซ้าย (To the left of the Left) ผลงานและแนวคิดของเขาส่วนใหญ่ พัฒนามาจากแนวคิดของโครงสร้างนิยม (Structuralism) ดังที่เขากล่าวว่า

"ความตั้งใจของผมคือ การนำตัวกระทำที่มีอยู่จริงกลับมาพิจารณาสู่ส่วนที่หายไปจากงานของ Levi-Strauss และนักทฤษฎีโครงสร้างนิยมคนอื่น โดยเฉพาะ Althusser โดยพิจารณาการดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมแห่งโครงสร้าง นั่นหมายถึง 'ตัวกระทำ' ไม่ใช่ 'บุคคล' การกระทำมิใช่การออกจากกฎโดยแท้จริง"

หนังสือของบูร์ดิเยอ ชื่อ "Distinction : A social critique of the Judgement of Taste" (1979) ได้รับยกย่องจาก The International Sociological Association ( ISA) ให้เป็น 1 ใน 10 หนังสือที่ดีที่สุดทางด้านสังคมวิทยาแห่งศตวรรษที่ 20 แนวคิดที่เด่น เช่นแนวคิดเรื่อง practice theory, reproduction, Habitus, Social and Cultural Capital, Social space & Symbolic Space เป็นต้น

ปิแอร์ บูร์ดิเยอ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาล Saint Antoine Hospital ,Paris เมื่อวันพุธที่ 23 มกราคม 2002 รวมอายุได้ 71 ปี ถึงแม้เขาจะเสียชีวิตแล้ว แต่การวิพากษ์วิจารณ์งานของเขาจากแวดวงสังคมวิทยาอย่างกว้างขวาง ถือเป็นการรับประกันได้ว่าผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับและมีคุณูปการต่องานด้านสังคมวิทยาอย่างแท้จริง เขาให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ New York Time เมื่อปี 2001 ว่า
"ผมคิดว่า ถ้าผมไม่เป็นนักสังคมวิทยา ผมต้องเป็นคนที่ต่อต้านนักคิด
และ เป็นคนที่กลัวสังคมโลกอย่างแน่นอน"
[ผู้แปล]

(4) Auguste Walras (1800-66), French economist, author of De la nature de la richesse et de l'origine de la valeur ("On the Nature of Wealth and on the Origin of Value")(1848). เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนแรกๆ ที่พยายามประยุกต์คณิตศาสตร์สู่การแสวงหาเศรษฐกิจ

(5) Erving Goffman. 1961. Asylums: Essays on the Social Situation of Mental Patients and Other Inmates. New York: Aldine de Gruyter.

(6) ผู้แปล

(7) ดูประเด็นในนิตยสาร 2 เรื่อง คือ "Nouvelles formes de domination dans le travail" ("New forms of domination in work") และ Actes de la recherche en sciences sociales, nos. 114, September 1996, and 115, December 1996, โดยเฉพาะในบทนำที่เขียนโดย Gabrielle Balazs and Michel Pialoux, "Crise du travail et crise du politique" [Work crisis and political crisis], no. 114: p.3-4.


 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์





สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ "เสรีนิยมแนวใหม่" จะเข้าแทนที่ในลักษณะที่ไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส คล้ายกับการเคลื่อนไหวของแผ่นทวีป ดังนั้น ผลกระทบของมันก็จะซ่อนเร้นอยู่ด้วย ผลที่ตามมาอย่างร้ายกาจจะเป็นผลที่ยาวนานมาก ซึ่งตอนนี้คนที่ปกป้องระเบียบเดิมกำลังชูประเด็นการต่อต้านสิ่งนี้ขึ้น ด้วยการเน้นไปที่ฐานทรัพยากรเดิม ที่มีอยู่บนความสามัคคีดั้งเดิม บนการสำรองทุนทางสังคม ซึ่งปกป้องชะตาของระเบียบสังคมในปัจจุบันจากการตกต่ำสู่ความไร้บรรทัดฐาน ทุนทางสังคมนี้ถูกโชคชะตากำหนดไว้ เพื่อทำให้ความอ่อนแอนี้หายไป ถึงแม้ว่าจะทำไม่ได้ในระยะสั้นก็ตาม ยกเว้นว่ามันไม่ได้นำกลับมาใช้และผลิตซ้ำใหม่