บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๙๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
07-12-2549

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Two Myths that Keep the World Poor
The Midnight University

สองเรื่องไม่จริงที่ทำให้โลกไม่หายจน
มายาคติสองเรื่องที่อธิบายโลกแห่งความยากจน
วันทนา ศิวะ : เขียน
ชำนาญ ยานะ : แปล
นักแปลอิสระ สมาชิกโครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความแปลบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้รับมาจากผู้แปล
เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำอธิบายความยากจนที่แฝงด้วยมายาคติ ดังนั้นจึงไม่อาจแก้ปัญหาความยากจนได้
เนื่องจากประวัติศาสตร์ความยากจนตั้งต้นจากสมมุติฐานและคำอธิบายที่ผิด
การเสนอทางออกจึงกลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้หนักมากยิ่งขึ้น
วันทนา ศิวะ ได้วิเคราะห์ว่าคำอธิบายดังกล่าวว่าเป็นมายาคติและไม่จริงอย่างไร

คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ
midnightuniv(at)gmail.com


บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1094
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)



มายาคติสองเรื่องที่อธิบายโลกแห่งความยากจน : วันทนา ศิวะ
Two Myths that Keep the World Poor by Vandana Shiva

สองเรื่องไม่จริงที่ทำให้โลกไม่หายจน
ชำนาญ ยานะ : แปล (สมาชิกโครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

วันทนา ศิวะ นักรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมชาวอินเดีย ให้ความเห็นว่า ความยากจนทั่วโลกกำลังเป็นประเด็นร้อน แต่คนที่ต้องการกำจัดความยากจน ต้องเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของมันเสียก่อน

ดูเหมือนโลกนี้จะมีคนดังจำนวนไม่น้อย ที่คิดวางแผนกำจัดความจน ตั้งแต่ บ๊อบ เกลด๊อฟ นักร้องเพลงร็อค ไปจนถึง กอร์ดอน บราวน์ นักการเมืองอังกฤษ, แต่สำหรับเจฟฟรี่ แซคส์ เขาไม่ใช่แค่คนอยากทำความดีธรรมดาๆ หากแต่เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก เขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันโลก (Earth Institute) และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการดูแลงานเร่งรัดการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ฉะนั้น เมื่อเขาเขียนหนังสือเรื่อง จุดจบของความจน ใครต่อใครจึงให้ความสนใจ ถึงขั้นที่นิตยสารไทม์นำเรื่องนี้ไปขึ้นปก

แต่วิธีกำจัดความจนของแซคส์กลับเป็นปัญหา เขาไม่เข้าใจว่า แท้จริงแล้วความจนมีสาเหตุมาจากอะไร ดูเหมือนแซคส์มองความจนเป็นบาปที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เขาเขียนในหนังสือว่า "เมื่อไม่กี่ชั่วคนก่อนหน้านี้ คนเกือบทั้งหมดมีฐานะยากจน การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีคนรวยหน้าใหม่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีคนอีกมากในโลกที่ยังล้าหลัง"

ข้อเขียนของแซคส์แสดงถึงความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความจน คนจนไม่ใช่คนที่"ล้าหลัง" เรื่องความรวย แต่เป็นคนที่ถูกปล้น. ทรัพย์สินที่สะสมอยู่ในยุโรปและอเมริกาเหนือส่วนใหญ่มาจากความมั่งคั่งที่ปล้นไปจากทวีปเอเชีย, แอฟริกาและละตินอเมริกา หากไม่ทำลายอุตสาหกรรมทอผ้าที่มั่งคั่งของอินเดีย ไม่ผูกขาดควบคุมการค้าเครื่องเทศ หากไม่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดง ไม่จับคนแอฟริกันมาเป็นทาส การปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่มีวันสร้างความร่ำรวยให้กับยุโรปและอเมริกาเหนือได้อย่างทุกวันนี้เป็นแน่

การผูกขาดควบคุมทรัพยากรและการค้าในประเทศโลกที่สามด้วยความรุนแรงต่างหาก ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศซีกโลกเหนือ และสร้างความยากจนให้กับประเทศซีกโลกใต้

ในยุคนี้ มีมายาคติที่สำคัญมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 2 เรื่อง ที่ทำให้คนเราปฏิเสธความเชื่อมโยงข้างต้น รวมทั้งแพร่กระจายความคิดผิดๆ เกี่ยวกับความจน

มายาคติเรื่องแรก การทำลายธรรมชาติและความสามารถในการดูแลตัวเองถูกตำหนิหรือกล่าวโทษ ไม่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและลัทธิอาณานิคมทางเศรษฐกิจ แต่เกิดจากคนจนเอง แนวคิดนี้กล่าวว่า ความยากจนก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม. โรคร้ายจึงกลับถูกนำเสนอว่าเป็นยารักษา กล่าวคือมีความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ก็จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนและบรรเทาการทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ความเติบโตทางเศรษฐกิจต่างหากที่เป็นต้นเหตุของปัญหามาตั้งแต่แรก นี่คือหัวใจของสิ่งที่แซคส์ วิเคราะห์

มายาคติเรื่องที่สอง คือสมมุติฐานที่ว่า หากคนเราบริโภคสิ่งที่ผลิตเอง ไม่ถือว่านั่นคือการผลิตจริง ๆ อย่างน้อยก็ในแง่เศรษฐกิจ ถ้าข้าพเจ้าผลิตอาหารเองแต่ไม่นำออกขาย มันก็ไม่ทำให้ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)เพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีประโยชน์ต่อ"การเจริญเติบโต"ทางเศรษฐกิจ. คนเราถูกมองว่ายากจน ถ้ากินแต่อาหารที่ตนเองผลิต แทนที่จะซื้ออาหารขยะของบริษัทธุรกิจเกษตรระดับโลก คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าอาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างเอง ด้วยวัสดุที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม อย่างเช่นไม้ไผ่และดินเหนียว แทนที่จะเป็นอิฐเผาหรือบ้านปูนซีเมนต์ คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าใส่เสื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติทอมือแทนผ้าใยสังเคราะห์

แต่การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ที่คนรวยในโลกตะวันตกคิดว่าเป็นความยากจน ไม่ได้หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำเสมอไป ตรงกันข้ามโดยธรรมชาติแล้ว เศรษฐกิจที่มีรากฐานจากความพอเพียงให้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยิ่ง หากวัดในแง่ของการเข้าถึงน้ำและอาหารที่สะอาด โอกาสที่จะมีชีวิตอย่างยั่งยืน มีเอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย แต่เพียงเพราะคนจนเหล่านี้ไม่มีประโยชน์กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก"ล้าหลัง"

การแยกแยะที่ไม่ถูกต้องระหว่างปัจจัยที่สร้างความร่ำรวยกับปัจจัยที่สร้างความยากจน เป็นปัญหาสำคัญในการวิเคราะห์ของแซคส์ ด้วยเหตุนี้ แนวทางแก้ปัญหาที่เขาเสนอจึงมีแต่จะทำให้ปัญหาความยากจนรุนแรงและเลวร้ายลง มิใช่ยุติความยากจน. แนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งแซคส์คิดว่าเป็น "ยารักษา" ปัญหาความยากจนนั้น เพิ่งมีมาในประวัติศาสตร์มนุษย์เมื่อไม่นานนี้เอง ในขณะที่หลักการมีชีวิตอย่างพอเพียงทำให้สังคมมากมายอยู่รอดและเจริญรุ่งเรืองมาได้ตั้งหลายศตวรรษ สังคมเหล่านั้นเคารพข้อจำกัดของธรรมชาติและข้อจำกัดนี้ทำให้คนรู้จักจำกัดการบริโภค

เมื่อสังคมสัมพันธ์กับธรรมชาติบนพื้นฐานของความพอเพียง ธรรมชาติจะดำรงอยู่ในรูปของสมบัติส่วนรวม ธรรมชาติถูกนิยามใหม่ว่าเป็น "ทรัพยากร" ต่อเมื่อกำไรกลายเป็นหลักการในการจัดการสังคมและใช้อำนาจทางการเงินมากำหนดการพัฒนา และทำลายทรัพยากรเหล่านี้เพื่อค้าขายในตลาด

ไม่ว่าเราจะแกล้งลืมหรือไม่ยอมรับก็ตามที แต่ทุกคนในทุกสังคมยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ ถ้าไม่มีน้ำสะอาด, ไม่มีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์, รวมทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรม, มนุษย์เราจะอยู่รอดไม่ได้. ทุกวันนี้การพัฒนาเศรษฐกิจกำลังทำลายสมบัติที่เคยเป็นของส่วนรวมนี้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งแบบใหม่ขึ้นมา กล่าวคือ การพัฒนาอ้างว่าจะช่วยประชาชน แต่กลับพรากประชาชนไปจากผืนดินและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ผลักไสให้คนเหล่านั้นต้องเอาชีวิตรอดในโลกที่ธรรมชาติถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ

ระบบที่เรารู้จักกันในวันนี้ ซึ่งเป็นแม่แบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นความเจริญเติบโต กำลังสร้างผลกำไรมหาศาลนับหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับบรรษัท ขณะเดียวกันก็ผลักไสให้คนหลายร้อยล้านคนตกสู่ความยากจน ความยากจนไม่ใช่สภาวะขั้นต้นของพัฒนาการความก้าวหน้าที่มนุษย์ต้องหนีให้พ้นอย่างที่แซคส์เสนอ มันคือสภาวะสุดท้ายที่คนเราต้องเผชิญ เพราะการพัฒนาแบบด้านเดียวทำลายระบบสังคมและระบบนิเวศวิทยา ซึ่งทำหน้าที่พยุงชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนของคนและโลกมาแล้วนานแสนนานให้ย่อยยับ

ความจริงคือ คนเราไม่ได้ตายเพราะไม่มีรายได้ แต่ตายเพราะไม่สามารถเข้าถึงสมบัติส่วนรวมได้ต่างหาก ตรงนี้ก็เช่นกัน แซคส์เข้าใจผิดอีกที่กล่าวว่า "ในโลกที่อุดมสมบูรณ์ คนนับพันล้านคนยังยากจนข้นแค้นในระดับวิกฤต" ชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอเมซอน, คนในชุมชนเทือกเขาหิมาลัย, ชาวไร่ชาวนาทุกแห่งหนที่แผ่นดินยังไม่ถูกยื้อแย่งไป, แหล่งน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยังไม่ถูกทำลายด้วยการเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่สร้างหนี้สิน ต่างมีความมั่งคั่งด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีรายได้น้อยกว่าวันละหนึ่งดอลลาร์ก็ตาม

ในทางตรงข้าม คนจะยากจนเพราะต้องใช้เงินซื้อสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในราคาแพง ไม่ว่าจะหาเงินได้เท่าใดก็ตาม ดูกรณีของอินเดีย เนื่องจากอาหารและเส้นใยราคาถูกที่ประเทศพัฒนาแล้วนำมาทุ่มตลาด พร้อมทั้งการที่รัฐบาลอินเดียลดมาตรการคุ้มครองทางการค้า ราคาพืชผลในประเทศอินเดียจึงตกฮวบฮาบ ซึ่งหมายความว่า ชาวนาชาวไร่อินเดียต้องสูญเสียรายได้ถึงปีละ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจใหม่ ต้องทนทุกข์กับความยากจนแสนสาหัส ในแต่ละปีมีหลายพันคนต้องฆ่าตัวตาย ในที่อื่นๆของโลก น้ำถูกแปรรูปเป็นของเอกชน บรรษัทเหล่านั้นทำกำไรได้ถึงล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จากการขายทรัพยากรที่จำเป็นต่อชีวิตให้คนจน ทั้งที่เมื่อก่อน น้ำเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ

"เงินช่วยเหลือ" มูลค่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหยดมาจากซีกโลกเหนือสู่ประเทศซีกโลกใต้ เป็นเพียงแค่เศษหนึ่งส่วนสิบของเงิน 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ถูกดูดออกไปเพื่อจ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ และผ่านกลไกอันอยุติธรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจโลก ตามคำบงการของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ถ้าเราต้องการกำจัดความจนอย่างจริงใจ เราต้องจริงจังที่จะหยุดระบบต่างๆ ที่สร้างความยากจน หยุดการปล้นสมบัติส่วนรวม การดำรงชีพ และรายได้ไปจากคนจน

ก่อนที่เราจะทำให้ความยากจนเป็นเพียงประวัติศาสตร์ เราต้องทำให้ประวัติศาสตร์เรื่องความยากจนถูกต้องเสียก่อน มันไม่ใช่เรื่องที่ว่า ประเทศร่ำรวยจะบริจาคช่วยเหลือได้มากแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับว่าประเทศเหล่านั้นจะกอบโกยน้อยลงแค่ไหนต่างหาก

หมายเหตุ : ดร.วันทนา ศิวะเป็นนักฟิสิกส์และนักเคลื่อนไหวปกป้องสิ่งแวดล้อมชาวอินเดียคนสำคัญ เป็นผู้ก่อตั้งนวธัญญา (Navdanya) ซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิทธิของเกษตรกร. เธอเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนโยบายทรัพยากรธรรมชาติ. งานเขียนเมื่อเร็วๆนี้ของเธอประกอบด้วย Biopiracy: The Plunder of Nature and Knowledge and Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply.

บทความนี้นำมาและปรับปรุงจากนิตยสาร the Ecologist ฉบับเดือนกรกฏาคม/ สิงหาคม 2005 โดยได้รับอนุญาตเป็นอย่างดี
ขอขอบคุณ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ สำหรับคำแนะนำและการปรับแก้ต้นฉบับให้กับผู้แปล

+++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกกับไปอ่านภาษาไทย

Two Myths that Keep the World Poor
by Vandana Shiva

Global poverty is a hot topic right now. But anyone serious about ending it needs to understand the true causes, argues Indian environmentalist Vandana Shiva.

From rock singer Bob Geldof to UK politician Gordon Brown, the world suddenly seems to be full of high-profile people with their own plans to end poverty. Jeffrey Sachs, however, is not a simply a do-gooder but one of the world's leading economists, head of the Earth Institute and in charge of a UN panel set up to promote rapid development. So when he launched his book The End of Poverty, people everywhere took notice. Time magazine even made it into a cover story.

But, there is a problem with Sachs' how-to-end poverty prescriptions. He simply doesn't understand where poverty comes from. He seems to view it as the original sin. "A few generations ago, almost everybody was poor," he writes, then adding: "The Industrial Revolution led to new riches, but much of the world was left far behind."

This is a totally false history of poverty. The poor are not those who have been "left behind"; they are the ones who have been robbed. The wealth accumulated by Europe and North America are largely based on riches taken from Asia, Africa and Latin America. Without the destruction of India's rich textile industry, without the takeover of the spice trade, without the genocide of the native American tribes, without African slavery, the Industrial Revolution would not have resulted in new riches for Europe or North America. It was this violent takeover of Third World resources and markets that created wealth in the North and poverty in the South.

Two of the great economic myths of our time allow people to deny this intimate link, and spread misconceptions about what poverty is.

First, the destruction of nature and of people's ability to look after themselves are blamed not on industrial growth and economic colonialism, but on poor people themselves. Poverty, it is stated, causes environmental destruction. The disease is then offered as a cure: further economic growth is supposed to solve the very problems of poverty and ecological decline that it gave rise to in the first place. This is the message at the heart of Sachs' analysis.

The second myth is an assumption that if you consume what you produce, you do not really produce, at least not economically speaking. If I grow my own food, and do not sell it, then it doesn't contribute to GDP, and therefore does not contribute towards "growth". People are perceived as "poor" if they eat food they have grown rather than commercially distributed junk foods sold by global agri-business. They are seen as poor if they live in self-built housing made from ecologically well-adapted materials like bamboo and mud rather than in cinder block or cement houses. They are seen as poor if they wear garments manufactured from handmade natural fibres rather than synthetics.

Yet sustenance living, which the wealthy West perceives as poverty, does not necessarily mean a low quality of life. On the contrary, by their very nature economies based on sustenance ensure a high quality of life-when measured in terms of access to good food and water, opportunities for sustainable livelihoods, robust social and cultural identity, and a sense of meaning in people's lives. Because these poor don't share in the perceived benefits of economic growth, however, they are portrayed as those "left behind".

This false distinction between the factors that create affluence and those that create poverty is at the core of Sachs' analysis. And because of this, his prescriptions will aggravate and deepen poverty instead of ending it. Modern concepts of economic development, which Sachs sees as the "cure" for poverty, have been in place for only a tiny portion of human history. For centuries, the principles of sustenance allowed societies all over the planet to survive and even thrive. Limits in nature were respected in these societies and guided the limits of human consumption.

When society's relationship with nature is based on sustenance, nature exists as a form of common wealth. It is redefined as a "resource" only when profit becomes the organising principle of society and sets off a financial imperative for the development and destruction of these resources for the market.

However much we choose to forget or deny it, all people in all societies still depend on nature. Without clean water, fertile soils and genetic diversity, human survival is not possible. Today, economic development is destroying these onetime commons, resulting in the creation of a new contradiction: development deprives the very people it professes to help of their traditional land and means of sustenance, forcing them to survive in an increasingly eroded natural world.

A system like the economic growth model we know today creates trillions of dollars of super profits for corporations while condemning billions of people to poverty. Poverty is not, as Sachs suggests, an initial state of human progress from which to escape. It is a final state people fall into when one-sided development destroys the ecological and social systems that have maintained the life, health and sustenance of people and the planet for ages.

The reality is that people do not die for lack of income. They die for lack of access to the wealth of the commons. Here, too, Sachs is wrong when he says: "In a world of plenty, 1 billion people are so poor their lives are in danger." The indigenous people in the Amazon, the mountain communities in the Himalayas, peasants anywhere whose land has not been appropriated and whose water and biodiversity have not been destroyed by debt-creating industrial agriculture are ecologically rich, even though they earn less than a dollar a day.

On the other hand, people are poor if they have to purchase their basic needs at high prices no matter how much income they make. Take the case of India. Because of cheap food and fibre being dumped by developed nations and lessened trade protections enacted by the government, farm prices in India are tumbling, which means that the country's peasants are losing $26 billion U.S. each year.

Unable to survive under these new economic conditions, many peasants are now poverty-stricken and thousands commit suicide each year. Elsewhere in the world, drinking water is privatised so that corporations can now profit to the tune of $1 trillion U.S. a year by selling an essential resource to the poor that was once free. And the $50 billion U.S. of "aid" trickling North to South is but a tenth of the $500 billion being sucked in the other direction due to interest payments and other unjust mechanisms in the global economy imposed by the World Bank and the IMF.

If we are serious about ending poverty, we have to be serious about ending the systems that create poverty by robbing the poor of their common wealth, livelihoods and incomes. Before we can make poverty history, we need to get the history of poverty right. It's not about how much wealthy nations can give, so much as how much less they can take.

+++++++++++++++++++++++++++++



NOTE: Dr. Vandana Shiva is a physicist and prominent Indian environmental activist. She founded Navdanya, a movement for biodiversity conservation and farmers' rights. She directs the Research Foundation for Science, Technology and Natural Resource Policy. Her most recent books are Biopiracy: The Plunder of Nature and Knowledge and Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply. Taken and adapted with kind permission from The Ecologist (July/August 2005), a British monthly devoted to discussion of environmental issues, international politics and globalization.


 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

มายาคติเรื่องที่สอง คือสมมุติฐานที่ว่า หากคนเราบริโภคสิ่งที่ผลิตเอง ไม่ถือว่านั่นคือการผลิตจริง ๆ อย่างน้อยก็ในแง่เศรษฐกิจ ถ้าข้าพเจ้าผลิตอาหารเองแต่ไม่นำออกขาย มันก็ไม่ทำให้ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)เพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีประโยชน์ต่อ"การเจริญเติบโต"ทางเศรษฐกิจ. คนเราถูกมองว่ายากจน ถ้ากินแต่อาหารที่ตนเองผลิต แทนที่จะซื้ออาหารขยะของบริษัทธุรกิจเกษตรระดับโลก คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าอาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างเอง ด้วยวัสดุที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม อย่างเช่นไม้ไผ่และดินเหนียว แทนที่จะเป็นอิฐเผาหรือบ้านปูนซีเมนต์ คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าใส่เสื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติทอมือแทนผ้าใยสังเคราะห์