บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๒๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๓๐สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙
30-08-2549

Midnight's Corporate Social Responsibility

ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสังคม
Corporate Social Responsibility (CSR)
บริษัทรับผิดชอบ

ศจินทร์ ประชาสันติ์
นักวิจัย โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส)

บทความชิ้นนี้ กองบรรณาธิการได้รับมาจากผู้เขียน
ซึ่งเป็นคำบรรยายประกอบการสัมนาเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบของบรรษัทธุรกิจต่อสังคม
ในหัวข้อ
"CSR สไตล์ไทยไทย"
ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1021
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)

 

CSR (corporate social responsibility - ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสังคม)
ศจินทร์ ประชาสันติ์ :
นักวิจัย โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส)

ความนำ
การพูดในวันนี้ จะขอมองจากมุมมองข้างนอกที่มองเข้าไปยังบริษัท จากมุมมองของผู้บริโภค ผู้ใช้แรงงาน ชุมชนที่อยู่ร่วมกับอุตสาหกรรม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประชาชนทั่วไป

จากที่ผู้จัดได้ตั้งคำถามไว้ 4 ข้อ จะขอเน้นใน 2 คำถาม ซึ่งคิดว่าน่าจะตอบได้ดีที่สุด คือ

1. CSR ช่วยธุรกิจในแง่ social marketing หรือไม่ และ
2. การทำ CSR แบบยั่งยืน หรือ การบริจาคสังคมสงเคราะห์ แบบไหนที่ดีกว่ากัน แต่ก่อนอื่นจะขอพูดถึงแนวคิด CSR อย่างคร่าวๆก่อน

การรับรู้เรื่อง CSR (corporate social responsibility) ในประเทศไทย
ในประเทศไทย ก่อนที่แนวคิด CSR จะเข้ามา ธุรกิจจำนวนหนึ่งมีกิจกรรมดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอยู่แต่เดิมแล้ว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากแนวคิดเรื่อง การทำบุญ อีกส่วน เป็นเรื่องของการทำประชาสัมพันธ์

งานวิจัยชิ้นเล็กๆที่ได้ทำเมื่อเกือบสองปีที่แล้วพบว่า แนวคิดเรื่องการทำบุญเป็นเรื่องค่อนข้างเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งมาจากผู้บริหารขององค์กร แล้วส่งถ่ายทอดมาเป็นนโยบายหรือแนวปฏิบัติ แต่ค่อนข้างแปลกแยกจากกระบวนการผลิตขององค์กร ดังจะเห็นได้จากมีหน่วยงานแยกออกมาต่างหากเพื่อทำหน้าที่นี้ เช่น แผนกประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารองค์กร หรือ อยู่ในรูปของมูลนิธิ

ตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น การสร้างโรงเรียน การบริจาคช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การปลูกป่า ให้ทุนการศึกษา กิจกรรมด้านวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมที่ธุรกิจทำเพิ่มเติมเสริมขึ้นมา โดยมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำโดยตรงน้อยมาก ยกเว้นในกรณีธุรกิจที่สร้างผลกระทบภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ธุรกิจเหมืองแร่ ที่จะมีลักษณะการสัมพันธ์กับสังคมในขอบเขตที่กว้างกว่าและมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนกว่า เช่น มีนโยบายเรื่องโควต้าการจ้างงานท้องถิ่น ทั้งนี้เกี่ยวพันกับความพยายามให้ชุมชนโดยรอบยอมรับกิจกรรมนั้นๆของบริษัท

นี่คือภาพของกิจกรรมส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น

ความเป็นมาของ CSR (corporate social responsibility)
เมื่อมาพูดถึง CSR นั้น เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980-1990 คือ เมื่อประมาณ 15-25 ปีที่แล้วโดยแนวคิดการทำ CSR นี้มาจากการผลักดันของภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนบางส่วน มีการสร้างกลไก เช่น Global Compact หรือสัญญาประชาคมขึ้น มีกลุ่มองค์กรที่สนับสนุน เช่น World Business Council for Sustainable Development ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็มีความพยายามผลักดันจากภาคประชาสังคมในการให้หน่วยธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้เรียกว่าเป็น CSR

CSR แต่เดิมพูดเพียงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมในแง่มุมที่ค่อนข้างจำกัด ต่อมา ก็มีการพูดถึงบทบาทของ CSR ในประเด็นที่กว้างขึ้น เช่น สิทธิมนุษยชน จนกระทั่งขยายไปสู่เรื่องการลดความยากจนและการพัฒนา จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการของวาทกรรมต่างๆเกี่ยวกับบทบาทของ CSR เพิ่มขึ้น และขยายขอบเขตการถกเถียงไปสู่เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น

กระแส CSR เริ่มเข้ามาในไทยระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบยุโรปเข้าสู่กระบวนการ CSR ค่อนข้างเร็วกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากความต้องการของลูกค้าในประเทศพัฒนาแล้ว ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีความพยายามผลักดันให้ CSR เชื่อมโยงกับธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ในประเทศไทยก็เริ่มมีกระแสเรื่องนี้เข้ามา เช่น มาตรฐานแรงงานของกระทรวงแรงงาน SA 8000 หรือแม้แต่ ISO ก็กำลังพัฒนา ISO 26000 ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแผน 10 ก็มีการพูดถึงเรื่องทุนทางสังคม โดยเน้นบทบาทภาคธุรกิจและความร่วมมือในการสร้างทุนทางสังคม ตลาดหลักทรัพย์เองก็พยายามร่าง CSR Charter

สิ่งที่ยากที่สุดในการเข้าใจ CSR คือ นิยามของมัน เพราะ CSR สำหรับแต่ละคนก็มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น บางคนบอกว่าการสนับสนุนทุนการศึกษาคือ CSR บางคนบอกว่าการสนับสนุนพนักงานในการทำงานอาสาสมัครคือ CSR ดังนั้น จะขอยกตัวอย่างของกิจกรรม CSR ในภาพกว้างที่สุด เป็นตัวอย่างที่ได้มาจากรายงานชื่อ Catalogue of CSR Activities: A Broad Overview ในประเทศเดนมาร์ก เขาแบ่ง CSR ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่

- CSR ที่เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ คุณค่า ความเป็นผู้นำ
- CSR ที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการตลาด
- CSR ด้านแรงงาน
- ด้านห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านกิจกรรมกับชุมชน และ
- ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น

ตัวอย่างของกิจกรรม เช่น การสร้าง code of conduct หรือจรรยาบรรณทางธุรกิจ การเสริมสร้างศักยภาพคนโดยการให้การศึกษาอบรมและพัฒนาเกี่ยวกับ CSR การกำจัดการคอรัปชั่น การหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลการตลาดที่ผิดพลาด การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง การหลีกเลี่ยงการโฆษณาที่ไม่เป็นผลดีต่อเด็ก การเลือกลูกค้าที่มีความรับผิดชอบและพฤติกรรมที่รับได้ การสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การกำหนดราคาที่เป็นธรรม การเคารพสิทธิในการรวมกลุ่มและต่อรอง การรับฟังและดึงพนักงานให้เข้ามามีส่วนร่วม การต่อต้านการละเมิดทางเพศ การไม่กีดกันในการจ้างงาน การสนับสนุนให้สถานประกอบการมีความปลอดภัย และการลดปริมาณหีบห่อสินค้าเพื่อลดขยะ เป็นต้น

ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย แต่ที่หยิบยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพื่อจะให้ภาพว่าเมื่อเราพูดถึง CSR มันจะมีความเป็นไปได้อะไรได้บ้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายมิติ และกิจกรรมแต่ละอย่างก็มีจุดเน้นและมุ่งในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป

CSR ช่วยธุรกิจในแง่ social marketing หรือไม่
คิดว่า CSR ช่วยในแง่ของ social marketing ทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดีขึ้น โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีแบรนด์เป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ อย่างเช่น ไนกี้ พยายามปรับปรุง CSR เพื่อไม่ต้องการให้ภาพลักษณ์ได้รับการกระทบกระเทือน ขณะเดียวกัน บางบริษัทอาจจะบอกว่าการทำกิจกรรมด้าน CSR มีประสิทธิผลดีกว่าการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบเดิมเสียอีก

อย่างไรก็ตาม คงเป็นการเข้าใจผิดที่จะคิดว่าเรื่องของ CSR เป็นเรื่องของภาคธุรกิจเท่านั้น เพราะไม่ใช่แต่ภาคธุรกิจที่ควรจะทำความเข้าใจ CSR แต่ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรจะต้องทำความเข้าใจกับ CSR ด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ภายใต้การโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่อง CSR นั้น กิจกรรมด้าน CSR ที่ได้รับความสนใจในการนำเสนอในหลายครั้ง เข้าไปข้องแวะเฉพาะกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่บริษัทต้องการจะให้สาธารณะสนใจและรับรู้ว่าบริษัทได้เข้าไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันส่วนของปัญหาหรือประเด็น CSR ที่ไม่ได้แตะก็มักจะเป็นปัญหาที่บริษัทไม่ต้องการจะให้สาธารณะสนใจ และดังนั้น ก็จะไม่สร้างแรงกดดันให้บริษัทต้องเข้าไปแก้ไข

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท UNOCAL ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ทำการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีนโยบายด้าน CSR แต่ในการสร้างท่อก๊าซไทย-พม่ากลับมีการสร้างพาดผ่านผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การบังคับใช้แรงงานทาสและการข่มขืนโดยทหารพม่า ทั้งๆ ที่บริษัทนั้นสามารถที่จะคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว สุดท้าย บริษัททำการชดเชยโดยสร้างกองทุนพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่มีท่อก๊าซผ่าน ซึ่งก็ถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์

กรณีของบริษัทยาก็มีให้เห็นมากมาย เช่น บริษัทยาข้ามชาติ ABBOTT ซึ่งประกาศต่อสังคมโลกว่า CSR เป็นนโยบายสำคัญของบริษัท และประกาศที่จะลดราคายาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ตัวหนึ่ง ให้เหลือเพียง 10% สำหรับประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา แต่ปรากฎว่า ยาเหล่านั้นไม่เคยถูกส่งไปหรือไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศนั้นๆ จึงไม่สามารถออกสู่ตลาดได้

หรือเข้ามาใกล้อีกนิดในบริษัทที่รู้จักกันดีอย่าง โคคา โคลา ในประเทศอินเดีย การผลิตน้ำขวดก่อให้เกิดปัญหากับชุมชนรอบข้างมาก เพราะไปดึงเอาน้ำใต้ดินไปใช้อย่างมากมาย และก่อปัญหาด้านมลภาวะด้วย ขณะที่ในเว็บไซต์ของบริษัทพูดถึงความรับผิดชอบของบริษัท ต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ให้ชุมชน

ใกล้เข้ามาอีกนิดในไทย บริษัทที่ทำการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อย ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนรอบข้าง โรงงานของบริษัทบางแห่งปล่อยสารเคมีลงแหล่งน้ำและนาข้าว สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร โดยที่บริษัทไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด อย่างนี้จะเรียกว่ามี CSR ได้หรือไม่

หรือถ้าจะให้ใกล้เข้ามาอีก คิดว่าทุกคนได้รับผลกระทบอย่างมากจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังประกาศการเพิ่มขึ้นของผลกำไรทุกปี แม้ว่าจะบอกว่าช่วยตรึงราคาน้ำมันไว้แล้ว สังคมก็คงต้องตั้งคำถามเช่นกันว่าโฆษณาของ ปตท. เมื่อไม่นานมานี้ที่ว่า กำไรของปตท. ไปที่ไหนนั้นเพียงพอที่จะเป็น CSR หรือไม่

จะเห็นได้ว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทข้างต้นสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่บริษัทหรือธุรกิจกลับไม่สนใจหรือสนใจน้อยมากที่จะเข้าไปรับผิดชอบ ยิ่งไปกว่านั้น ในหลายกรณี การชดเชยหรือแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับไม่ได้มาจากการริเริ่มของบริษัท แต่มาจากการเรียกร้องของชุมชน แต่สิ่งที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะ คือ โครงการต่างๆ นานัปการที่บอกว่าจะช่วยให้สังคมและชุมชนดีขึ้น ซึ่งการทำ CSR เพียงเพื่อเบี่ยงเบนภาระหน้าที่และความรับผิดชอบหรือเพื่อมุ่งใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ก็จะไม่มีประโยชน์ใดต่อสังคมเลย และผลสุดท้าย การทำ CSR ลักษณะนี้ก็จะย้อนกลับมาทำลายกระบวนการ CSR ทั้งหมด รวมทั้งบริษัทที่มีความจริงใจที่จะทำ CSR ด้วย

ดังนั้น หากดูตามข้อสรุปของคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ในบทนำของ CSR Journal ฉบับเดือนกรกฎาคมว่า CSR คือ การไม่ทำสิ่งที่เสียต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำสิ่งที่เป็นคุณต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม และพัฒนาตัวเองให้มีคุณธรรม คุณภาพและประสิทธิภาพอย่างที่สุดแล้วนั้น สังคมควรต้องให้ความสนใจกับ CSR ในฐานะที่กำกับและจูงใจให้บริษัทให้ไม่ทำสิ่งเสียต่อสังคมเป็นอันดับแรก ซึ่งสิ่งที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัทนั้นครอบคลุมมากมายตั้งแต่ เรื่องการตลาด การขาย การจัดซื้อ การกำจัดของเสีย การจ้างงาน การกู้ยืมเงิน ความโปร่งใส ความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสินค้า ฯลฯ ส่วนการทำสิ่งดีต่อสังคมเพิ่มเติมซึ่งอยู่นอกเหนือกระบวนการผลิตนั้น เช่น การบริจาค การจัดค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือการผลิตสินค้าที่ดีต่อสุขภาพและสังคม ควรจะเป็นพัฒนาการในลำดับขั้นที่สูงขึ้นไป

ข้อมูลและองค์ความรู้ต่อสภาพปัญหามีความสำคัญอย่างมาก บริษัทจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหาที่ตนก่อให้เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ไหน เกิดจากอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร ทั้งการวิเคราะห์ปัญหาและกระบวนการแก้ไขนั้นขาดไม่ได้ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบ ดังนั้น CSR จึงไม่ใช่ปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์หรือฝ่ายสื่อสารองค์กร แต่เป็นปัญหาร่วมกันขององค์กรในการวิเคราะห์ปัญหาและทางแก้ไข สิ่งสำคัญที่สุดในการให้ CSR ยั่งยืน นอกจากจะต้องเป็นการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารแล้ว พนักงานจะต้องตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบของตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนธุรกิจว่ามีส่วนในการสร้างต้นทุนหรือลดต้นทุนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นจึงเป็นทั้ง top-down และ bottom-up ในเวลาเดียวกัน

CSR: สังคมสงเคราะห์หรือแบบยั่งยืน
ต่อคำถามนี้ คิดว่าคำตอบบางส่วนได้ถูกตอบไปแล้วข้างต้น แต่จะขอเพิ่มเติมบางประเด็น

รูปแบบของ CSR จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของบริษัทว่าต้องการทำกิจกรรมในลักษณะใด เพื่อจุดประสงค์ใด แต่ไม่ว่าจะเป็นการสังคมสงเคราะห์ หรือ ลักษณะกิจกรรมที่ทำกับชุมชนหรือกับพนักงานในองค์กรในระยะปานกลางถึงยาว (ซึ่งมักเรียกกันว่า ยั่งยืนกว่านั้น) ก็ล้วนมีประโยชน์ หากว่าบริษัทได้ทำหน้าที่ภายใต้ขอบข่ายความรับผิดชอบของตนอย่างครบถ้วนแล้วและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้จริง

แต่เพื่อให้การทำ CSR สามารถเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนจริง ในระดับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศจะต้องมีโครงสร้างแรงจูงใจและผลตอบแทนให้กับบริษัทที่คำนึงถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในกระบวนการผลิตและดำเนินธุรกิจ ต้องสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทที่จริงใจในการสร้างทางเลือก เช่น พลังงานสะอาด ให้กับสังคม ขณะเดียวกันต้องให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ให้มีความสามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการเพื่อผลประโยชน์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น และสร้างเสริมศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา CSR นั่นหมายความรวมถึงการสนับสนุนให้มีสหภาพแรงงาน เป็นต้น

ในกรณีจำนวนไม่น้อย ความคลาดเคลื่อนระหว่างการโฆษณาและการปฏิบัติด้าน CSR มาจากความล้มเหลวของการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเพราะการปล่อยปละละเลยหรือการคอรัปชั่นก็ตาม ทำให้บริษัทสามารถโอนต้นทุนที่เกิดขึ้นให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น กรณีการทำเหมืองแร่ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดกฎหมายบังคับให้ต้องมีการทำประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ แต่ก็ยังปรากฎว่ามีการละเลยการประเมินผลกระทบในประเด็นที่สำคัญ
(ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาได้จาก "รายงานการศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการกรณีปัญหาเหมืองแร่เพื่อกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย" โดยคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและตรวจสอบกรณีปัญหาเหมืองแร่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ CSR ในธุรกิจเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน รัฐเองก็ควรได้รับการเสริมสร้างหรืออย่างน้อยที่สุดไม่ถูกทำลายความสามารถในการควบคุม กำกับ และดูแลผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากบริษัทด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรงที่จะต้องดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคมให้สมดุล การล็อบบี้ในระดับนโยบายหรือระดับปฏิบัติของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลในการเข้าถึงฝ่ายบริหาร ควรได้รับการตรวจสอบ เพราะจะไม่นำไปสู่ผลประโยชน์ของธุรกิจในวงกว้าง โดยไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลประโยชน์ของสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาพรวม

สุดท้ายนี้ อยากทำความเข้าใจว่า CSR ไม่ใช่คำตอบของทุกปัญหา เพราะ CSR นั้นมีข้อจำกัด เช่น CSR ไม่สนใจประเด็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ไม่ได้แก้ปัญหาการผูกขาดอำนาจในการกำหนดราคา ไม่แก้ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่นำไปสู่ความยากจน เป็นต้น การแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จึงอยู่ภายใต้กรอบและความสามารถเท่าที่ภาคธุรกิจจะทำได้เท่านั้น

นอกจากนี้ CSR ยังไม่มีอำนาจบังคับ เพราะเป็นแนวคิดที่เน้นให้ธุรกิจทำตามความสมัครใจ CSR ที่อิงอยู่กับ Code of Conduct อย่างเช่น Global Compact, OECD guidelines และ Global Reporting Initiatives แม้จะบอกแนวทางการปฏิบัติ แต่ล้วนไม่มีผลบังคับใช้หรือมีอำนาจในการบังคับใช้น้อย และก็ขาดซึ่งกลไกตรวจสอบติดตาม ดังนั้นจึงปรากฏว่าบริษัทจำนวนหนึ่งซึ่งลงนามใน Code of Conduct ประเภทต่างๆ ยังคงมีปัญหาการไม่รับผิดชอบในหลายทาง เช่น กรณีบริษัทยาสูบ British American Tobacco ที่ได้รับรางวัลรายงานด้านสังคมดีเด่น แต่ยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยของแรงงานอันเนื่องมาจากการทำงาน

ดังนั้น โดยสรุปแล้ว จะเห็นว่า CSR มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง และเป็นเรื่องที่ซับซ้อน อยากสนับสนุนให้ชุมชนภาคธุรกิจและคนในสังคมอื่นๆ ช่วยกันทำความเข้าใจ CSR ให้มากขึ้นในหลากหลายมิติ เพื่อให้ CSR ก่อประโยชน์ให้กับธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

Sajin Prachason <[email protected]>
(ขอขอบคุณคุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และคุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ที่ช่วยทำให้การนำเสนอประเด็น CSR ของผู้เขียนชัดเจนมากขึ้น)

-----------------------------------------------------------------

Corporate social responsibility (CSR)
From Wikipedia, the free encyclopedia

Corporate social responsibility (CSR) is an expression used to describe what some see as a company's obligation to be sensitive to the needs of all of the stakeholders in its business operations.
A company's stakeholders are all those who are influenced by, or can influence, a company's decisions and actions. These can include (but are not limited to): employees, customers, suppliers, community organizations, subsidiaries and affiliates, joint venture partners, local neighborhoods, investors, and shareholders (or a sole owner).

CSR is closely linked with the principles of "Sustainable Development" in proposing that enterprises should be obliged to make decisions based not only on the financial/economic factors but also on the social and environmental consequences of their activities.

Development and analysis
Today's heightened interest in the proper role of businesses in society has been promoted by increased sensitivity to environmental and ethical issues. Issues like environmental damage, improper treatment of workers, and faulty production leading to customers inconvenience or danger, are highlighted in the media. In some countries Government regulation regarding environmental and social issues has increased, and standards and laws are also often set at a supranational level (e.g. by the European Union). Some investors and investment fund managers have begun to take account of a corporation's CSR policy in making investment decisions. Some consumers have become increasingly sensitive to the CSR performance of the companies from which they buy their goods and services. These trends have contributed to the pressure on companies to operate in an economically, socially and environmentally sustainable way.

It is important to distinguish CSR from charitable donations and "good works" (i.e. philanthrophy, e.g. Habitat for Humanity or Ronald McDonald House). Corporations have often, in the past, spent money on community projects, the endowment of scholarships, and the establishment of Foundations. They have also often encouraged their employees to volunteer to take part in community work thereby create goodwill in the community which will directly enhance the reputation of the company and strengthen its brand. CSR goes beyond charity and requires that a responsible company will take into full account the impact on all stakeholders and on the environment when making decisions. This requires them to balance the needs of all stakeholders with their need to make a profit and reward their shareholders adequately.

A widely quoted definition by the World Business Council for Sustainable Development states that "Corporate social responsibility is the continuing commitment by business to behave ethically and contribute to economic development while improving the quality of life of the workforce and their families as well as of the local community and society at large". (CSR: Meeting Changing Expectations, 1999). This holistic approach to business regards organisations as (for example) being full partners in their communities, rather than seeing them more narrowly as being primarily in business to make profits and serve the needs of their shareholders.

Corporate social responsibility reporting
The application of the principles of Sustainable Development through the introduction of a CSR policy is often accompanied by what is called triple bottom line reporting which declares not only financial results but also the social and environmental impact of the business. Some countries (e.g. France) have made such reporting mandatory. However the measurement of social and environmental performance is difficult and new measurement techniques need to be developed.

Many large companies now produce annual reports that cover Sustainable Development and CSR issues, and these reports are often externally audited. But there is no common template for the reporting and the style and the evaluation methodology varies between companies (even within the same industry). Critics often comment that some of these reports are little more than spin and as an example note that Enron produced a glossy "Corporate Responsibility Annual Report" every year and that tobacco corporations such as BAT also produce social reports.

The Global Reporting Initiative (GRI) is an attempt to standardize sustainability reporting and the AA1000 standard is an attempt to improve their legitimacy.

The history of CSR reporting (an example in Germany) goes back to environmental and sustainability reporting.

The business case for CSR
The benefits of CSR to businesses vary depending on the nature of the enterprise, and are typically very difficult to quantify. A major meta-analysis has been conducted seeking to draw a correlation between social/environmental performance and financial performance. This is Orlizty, Schmidt, Rynes 2002which found that corporate virtue is likely to pay off in this sense. The business may not be looking at short-run financial returns when developing its CSR strategy, however.

The definition of CSR used within business can vary from the strict 'stakeholder impacts' definition used in this article and will often include charitable efforts and volunteering. CSR may be based within the human resources, business development or PR departments of a company, or may be given a separate unit reporting to the CEO or in some cases directly to the board.

The business case for CSR within a company will likely rest on one or more of these arguments:

Human Resources
Corporate Social Responsibility can be an important aid to recruitment and retention, particularly within the competitive graduate market. Potential recruits are increasingly likely to ask about a firm's CSR policy during an interview and having a comprehensive policy can give an advantage. CSR can also help to build a 'feel good' atmosphere among existing staff, particularly when they can become involved through payroll giving, fundraising activities or community volunteering.

Risk Management
Managing risk is a central part of many corporate strategies. Reputations that take decades to build up can be ruined in hours through incidents such as corruption scandals or environmental accidents. These events can also draw unwanted attention from regulators, courts, governments and media. Building a genuine culture of 'doing the right thing' within a corporation can offset these risks.

Brand Differentiation
In crowded marketplaces companies strive for 'X Factors' which can separate them from the competition in the minds of consumers. Several major brands, such as The Co-operative Group and The Body Shop are built on ethical values. Business service organisations can benefit too from building a reputation for integrity and best practice.

License to operate
Corporations are keen to avoid interference in their business through taxation or regulations. By taking substantive voluntary steps they can persuade governments and the wider public that they are taking current issues like health and safety, diversity or the environment seriously and so avoid intervention. This also applies to firms seeking to justify eye-catching profits and high levels of boardroom pay. Those operating away from their home country can make sure they stay welcome by being good corporate citizens with respect to labour standards and impacts on the environment.

Diverting Attention
Major corporations which have existing reputational problems due to their core business activities may engage in high-profile CSR programmes to draw attention away from their perceived negative impacts. Thus British American Tobacco (BAT) will take part in health initiatives and the petroleum giant BP has installed very visible wind-turbines on the roofs of some petrol stations in the UK.

Critical points of view
Some critics of CSR, such as the economist Milton Friedman, argue that a corporation's principal purpose is to maximize returns to its shareholders, while obeying the laws of the countries within which it works. Others argue that the only reason corporations put in place social projects is utilitarian; that they see a commercial benefit in raising their reputation with the public or with government. Proponents of CSR, however, would suggest a number of reasons why self-interested corporations, solely seeking to maximise profits are unable to advance the interests of society as a whole.

Key challenges to the idea of CSR include: - the rule of corporate law that a corporation's directors are prohibited from any activity that would reduce profits - other mechanisms established to manage the principal-agent problem, such as accounting oversight, stock options, performance evaluations, deferred compensation and other mechanisms to increase accountability to shareholders.

Because of this, it has become clear that a CSR activity generally can only be effective at achieving social or environmental outcomes to the extent that it maximizes profits: hence the CSR slogan - "doing well by doing good". Note that this requires that the resources applied to CSR activities must have a higher return than those resources could obtain if applied anywhere else, e.g. capital or productivity investment, lobbying for tax relief, outsourcing, offshoring, fighting against unionization, taking regulatory risks, or taking market risks - all of which are frequently-pursued strategies. This means that the possible scope of CSR activities is drastically narrowed. And corporations, with their constant incentive to maximize profits, often have identified all areas where profits could be increased, including those that have positive external social and environmental outcomes. The scope for CSR is thus narrowed to situations in which:

1. resources are available for investment
2. the CSR activity will yield higher profits than any other potential investment or activity
3. the corporation has been remiss in identifying this profit opportunity

A conflict can arise when a corporation espouses CSR and its commitment to Sustainable Development on the one hand, whilst damaging revelations about its business practices emerge on the other. For example the McDonald's Corporation has been criticised by CSR campaigners for unethical business practices, and was the subject of a decision by Justice Roger Bell in the McLibel case (which upheld some of these claims, regarding mistreatment of workers, misleading advertising, and unnecessary cruelty to animals). Similarly Shell has a much publicised CSR policy and was a pioneer in triple bottom line reporting, but was involved in 2004 in a scandal over the misreporting of its oil reserves which seriously damaged its reputation and led to charges of hypocrisy.

Universities and business schools, many of them with keen advocates of CSR amongst their teaching staffs, have themselves come in for criticism concerning their dealings with corporations (note the different stances taken by ESADE and Wheeling Jesuit University with regard to Aramark).

Critics of the role of business in society argue that:
- Corporations care little for the welfare of workers, and given the opportunity will move production to sweatshops in less well regulated countries.

- Unchecked, companies will squander scarce resources.

- Companies do not pay the full costs of their impact. For example the costs of cleaning pollution often fall on society in general. As a result profits of corporations are enhanced at the expense of social or ecological welfare.

- Regulation is the best way to ensure that companies remain socially responsible.

Supporters of a more market based approach argue that:
- By and large, free markets and capitalism have been at the centre of economic and social development over the past two hundred years and that improvements in health, longevity or infant mortality (for example) have only been possible because economies (driven by free enterprise) have progressed.

- In order to attract quality workers, it is necessary for companies to offer better pay and conditions which leads to an overall rise in standards and to wealth creation.

- Investment in less developed countries contributes to the welfare of those societies, notwithstanding that these countries have fewer protections in place for workers. Failure to invest in these countries decreases the opportunity to increase social welfare.

- Free markets contribute to the effective management of scarce resources. The prices of many commodities have fallen in recent years. This contradicts the notion of scarcity, and may be attributed to improvements in technology leading to the more efficient use of resources.

- There are indeed occasions when externalities, such as the costs of pollution are not built into normal market prices in a free market. In these circumstances, regulatory intervention is important to redress the balance, to ensure that costs and benefits are correctly aligned.

- Whilst regulation is necessary in certain circumstances, over regulation creates barriers to entry into a market. These barriers increase the opportunities for excess profits, to the delight of the market participants, but do little to serve the interests of society as a whole.

Views Regarding CSR
Some would argue that it is self-evidently "good" that businesses should seek to minimise any negative social and environmental impact resulting from their economic activity. It can also be beneficial for a company's reputation to publicise (for example) any environmentally beneficial business activities. A company which develops new engine technology to reduce fuel consumption will be able (if it chooses) to promote its CSR credentials as well as increase profits.

Some commentators are cynical about the true level of commitment of corporations to ideas like CSR and Sustainable Development, and their actual motivations for responsible behaviour. (Corporations that create the appearance of acting responsibly just for its public relations value are said to be "greenwashing.")

Such commentators also say, citing Friedman's dictum, that the idea of an "ethical company" is an oxymoron, since the corporation is by its nature compelled to maximize its own interest, whatever the external price. Corporate executives and employees in turn have strong incentives to internalize the corporation's statutory obligations to maximize profits, sometimes to the extent that they abdicate their individual moral and ethical obligations as human beings. This tendency is, of course, encouraged by the desire to keep one's job, and by a system that judges and rewards performance strictly by bottom-line returns. The results of this tendency were clearly seen in the many corporate scandals of the late twentieth and early twenty-first centuries.

So the CSR movement may perhaps be understood as an attempt not so much to regulate the activities of corporations per se, as to remind the people who constitute these corporations that they nonetheless have other responsibilities beyond the corporate ones.


 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

H
กระแส CSR เริ่มเข้ามาในไทยระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบยุโรปเข้าสู่กระบวนการ CSR ค่อนข้างเร็วกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากความต้องการของลูกค้าในประเทศพัฒนาแล้ว ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีความพยายามผลักดันให้ CSR เชื่อมโยงกับธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ในประเทศไทยก็เริ่มมีกระแสเรื่องนี้เข้ามา เช่น มาตรฐานแรงงานของกระทรวงแรงงาน SA 8000 หรือแม้แต่ ISO ก็กำลังพัฒนา ISO 26000 ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแผน 10 ก็มีการพูดถึงเรื่องทุนทางสังคม โดยเน้นบทบาทภาคธุรกิจและความร่วมมือในการสร้างทุนทางสังคม ตลาดหลักทรัพย์เองก็พยายามร่าง CSR Charter
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R