นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 

The Midnight University



บทความทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
โลกาภิวัตน์ : เกมเปลี่ยนไพ่ถูกๆของจักรวรรดินิยม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้ เรียบเรียงมาจากต้นฉบับเรื่อง
Globalisation: the end of the age of imperialism?
โลกาภิวัตน์ : จุดจบของยุคจักรวรรดินิยม
by Andrew Flood

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 907
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8.5 หน้ากระดาษ A4)




โลกาภิวัตน์ : เกมเปลี่ยนไพ่ถูกๆของจักรวรรดินิยม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

(บทความชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ 4 ภาษา คือใน, อังกฤษ, สเปน, โปริช, และภาษาไทย(เฉพาะในหน้าเว็บเพจนี้) ที่มาของบทความ http://www.struggle.ws/ws99/imperialism58.html

ความนำ
ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องของสมัยนิยมไปแล้วที่มีการใช้ศัพท์คำว่า "โลกาภิวัตน์" มาอธิบายเรื่องของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ทางการเมืองกับประเทศต่างๆ ในปัจจุบันคำว่าโลกาภิวัตน์กำลังเข้ามาแทนที่คำว่าจักรวรรดินิยม (กล่าวได้ว่าคำนี้ได้เข้ามาฮุบโลกใบนี้แทน) ขณะที่รัฐต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ได้เปิดรับและดำเนินไปในหนทางนี้กันทั้งโลก

นิตยสารของบรรดาผู้บริหาร, The Economist, ได้นำเสนอบทความสำคัญชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของระเบียบโลกใหม่ ชื่อว่า "The New Geopolitics"(ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่) เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งได้อธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านที่เชื่อกันอันนี้ว่า : "ยุคของจักรวรรดินิยมคือช่วงเวลาหนึ่งซึ่งประเทศ ก, ข, และ ค, เข้าครอบครองรัฐบาลของประเทศ จ, ฉ, และ ช. แต่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในปัจจุบันมันเปลี่ยนไป กล่าวคือมีการทำให้เกิดความเป็นไปได้สำหรับประชาชนในประเทศ จ, ฉ, และ ช, ให้ขึ้นมาปกครองตนเอง ปลดปล่อยตัวของพวกเขาให้เป็นอิสระจากคนดื้อด้านในท้องถิ่น(ชนชั้นปกครอง) ซึ่งปฏิเสธสิทธิต่างๆ อันชอบธรรมของพวกเขา"

พวกฝ่ายซ้ายเป็นจำนวนมาก รวมถึงนักอนาธิปไตยบางคน ได้ปรับแปลงคำอธิบายนี้ไปอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับระเบียบโลกใหม่ แกนกลางทางความคิดดังกล่าวคือว่า การเคลื่อนไหวของเงินตราที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นไปได้ด้วย"ยุคของข้อมูลข่าวสาร"และความเจริญเติบโตขึ้นมาของบรรษัทข้ามชาติ นั่นคือยุคของจักรวรรดินิยมนั่นเอง - เมื่อรัฐประชาชาติที่ทรงอำนาจได้ครอบครองและมีอิทธิพลต่อโลกใบนี้ - เพียงแต่ว่ามันเข้ามาแทนที่ในลักษณะที่เป็นนามธรรมมากขึ้นและมองไม่เห็นเท่านั้น แต่ถูกปกครองด้วยพลังอำนาจที่เท่าๆกันโดยทุน ซึ่งไม่ผูกมัดกับรัฐใดๆ อีกต่อไป

มองครั้งแรกคำอธิบายนั้นดูเหมือนมันมีลักษณะบีบบังคับ อันนี้เป็นสามัญสำนึกที่ว่า การค้าระหว่างประเทศได้เพิ่มพูนขึ้นและสนธิสัญญาต่างๆ อย่างสหภาพยุโรป กำลังทำลายรัฐประชาชาติเก่าๆ ลง คำถามคือว่า "โลกาภิวัตน์"ได้จัดหาคำอธิบายที่ถูกต้องดีพอให้กับเราแล้วใช่ไหม เกี่ยวกับโลกของเราว่า มันทำงานกันอย่างไร?

ตามข้อเท็จจริง บทความในนิตยสาร Economist ยอมรับว่า "…ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศร่ำรวยบางประเทศได้มีการทำการค้ากับโลกภายนอกอยู่แล้ว คล้ายกับเรื่องของสัดส่วน GDP (gross domestic product - ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ดังที่ประเทศเหล่านั้นกำลังทำอยู่ในขณะนี้ (และญี่ปุ่นได้ไปไกลมาก)". สำหรับคำว่า"คนรวย"เป็นคำศัพท์ที่สุภาพคำหนึ่งสำหรับ"นักจักรวรรดินิยม"ในที่นี้ อันที่จริงสิ่งทีเปลี่ยนแปลงไปก็คือ ปริมาณการค้าที่สูงลิ่ว(และความมั่งคั่งร่ำรวย) ตามที่ปรากฏก็คือ มีไม่กี่ประเทศเท่านั้นในปัจจุบันที่เข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องนี้

End of the nation state?
การสิ้นสุดของรัฐประชาชาติ?

แต่อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่วาระสิ้นสุดของรัฐประชาชาติ ตามความจริงนับจากปี ค.ศ.1914 เป็นต้นมา จำนวนรัฐต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นจาก 62 ประเทศเป็น 74 ประเทศในปี ค.ศ.1946 และทุกวันนี้มันยืนอยู่ที่จำนวน 193 ประเทศ. เรื่องที่น่าประหลาดใจต่อมาก็คือ รัฐประชาติที่ร่ำรวยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP (มาตรวัดอันหนึ่งเกี่ยวกับความร่ำรวยในเชิงสัมพัทธของประเทศ) จริงๆ แล้วเพิ่มขึ้นนับจากปี 1980 เป็นต้นมา

แกนกลางทางความคิดนี้ของโลกกาภิวัตน์ - คือ ทุนเริ่มที่จะอิสระเพิ่มขึ้นจากรัฐประชาชาติใดประชาชาติหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งคำถามที่จำเป็น อีกครั้งที่นิตยสาร the Economist ได้คงความซื่อสัตย์แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในที่นี้คือการตั้งคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้"อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมรัฐยังคงต้องมีอยู่ต่อไป?". คำตอบก็คือว่า "รัฐยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการจัดการด้านอาวุธยุทโธปกรณ์นั่นเอง"

สงครามต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ ชัดเจนว่าได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

- ประเภทแรก เกี่ยวพันกับการสู้รบกันระหว่างเพื่อนบ้านที่มีความเกี่ยวพันกันทางด้านภูมิศาสตร์ โดยปรกติเป็นสงครามที่เกี่ยวข้องกับเส้นเขตแดน อย่างเช่น อินเดียกับปากีสถาน
- ประเภทที่สอง คือสงครามซึ่งเกี่ยวพันกับการแทรกแซงโดยประเทศต่างๆ ที่อาจห่างไกลกันเป็นพันๆ กิโลเมตร ซึ่งปรกติแล้วโดยมากเป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานเกี่ยวกับ"การแทรกแซงทางด้านมนุษยธรรม" ดังเช่นการแทรกแซงขององค์การสหประชาติในอิรักและโซมาเรีย หรือการที่เนโต(NATO)เข้าไปแทรกแซงในโคโซโว เป็นต้น

แต่เมื่อเรามองเข้าไปในสงครามประเภทที่ 2 เหล่านี้ เกี่ยวกับการเข้าไปแทรกแซง(ด้วยข้ออ้างด้านมนุษยธรรมหรือคำอ้างใดๆ ก็ตาม) เราจะพบว่า ไกลจากประเทศที่อยู่ห่างออกไปทั้งหลาย โดยการดูจากจำนวนหรือการเลือกตามขนาด มีประเทศหนึ่งของการแทรกแซงเหล่านี้ทุกครั้ง ที่ได้รับการนำโดยประเทศหนึ่ง นั่นคือ "สหรัฐอเมริกา"

นอกจากพลังอำนาจที่สำคัญที่สุดอันนี้แล้ว พลังอำนาจอันดับที่สองและสามในการแทรกแซงดังกล่าว จะพบว่ามีการดึงมาจากประเทศเครือข่ายกลุ่มเล็กๆ อย่างเช่น อังกฤษ, ฝรั่งเศส, และอิตาลี. แน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็ในด้านการทหาร การแทรกแซงเหล่านี้ไม่ใช่กระทำไปโดยการเดาสุ่ม แต่ได้ถูกครอบงำโดยประเทศจำนวนน้อยเพียงไม่กี่ประเทศ ซึ่งเก่าแก่มากในท่ามกลางหมู่พวกเรา นั่นคืออำนาจต่างๆ ของพวกจักรวรรดินิยมนั่นเอง

สหรัฐอเมริกาคือมหาอำนาจนำ และกับน้องๆ ของมันอย่างเนโตซึ่งเป็นหุ้นส่วน ที่ได้พิสูจน์ถึงความสามารถในการบงการประเทศทั้งหลายหรือทุกๆ ประเทศบนดาวเคราะห์ดวงนี้. อันที่จริง เนโตไม่มีคู่ปรับที่พอจะทัดเทียมได้เป็นตัวเป็นตนจริงๆ. ที่ใกล้เคียงสุดซึ่งเราอาจจินตนาการได้ก็คือ พันธมิตรของจีนและรัสเซีย. อันนี้จะเป็นการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจหนึ่งซึ่งไม่เพียงใหญ่กว่า และมีอำนาจทางการทหารที่เหนือกว่ามากเท่านั้น แต่ยังมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจเหนือกว่า 10 เท่าด้วย (GDP ของเนโตในปี ค.ศ.1997 เท่ากับ 16,255 พันล้านดอลล่าร์, ขณะที่รัสเซียเท่ากับ 447, และจีนเท่ากับ 902 พันล้านดอลล่าร์)

แต่อย่างไรก็ตาม การแผ่ขยายเกี่ยวกับความคิดในเรื่องประชาธิปไตย และความรู้เกี่ยวกับประเทศอื่นๆ ทำให้สไตล์หรือแบบแผนเก่าๆ เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมได้สูญเสียความนิยมของมันลงไป นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมลัทธิจักรวรรดินิยมในทุกวันนี้ เป็นไปได้มากที่มันจะไปแอบอยู่เบื้องหลังเรื่องของ "มนุษยธรรม"(hamanitarianism) และในขอบเขตทั้งหมดของเรือนร่างกลุ่มกลางต่างๆ ระหว่างประเทศที่สมมุติขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราจ้องมองไปที่กลุ่มกลางระหว่างประเทศต่างๆ เหล่านี้ เราก็จะพบว่า พวกมันได้รับการประกอบสร้างในหนทางนั้น ที่ซึ่งเพียงมหาอำนาจสำคัญๆ เท่านั้น ที่จะมีบทบาทอย่างแท้จริงในการตัดสินใจดำเนินการในเรื่องทั้งหลาย

The United Nations
องค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติถือเป็นความหวังอันยิ่งใหญ่สำหรับประเทศต่างๆ มากมาย ในฐานะทางเลือกที่จะนำไปสู่"สงคราม"หรือ"สันติภาพ" ซึ่งบรรดาประเทศร่ำรวยทั้งหลายสามารถทำได้ดังที่พวกเขาต้องการ. กระทั่งทุกวันนี้ ผู้คนที่มีเจตนาดีมากมาย อ้างบ่อยมากถึงองค์การสหประชาชาติ คล้ายกับว่ามันเป็นทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งซึ่งสหรัฐอเมริกา และเนโตทำการครอบงำโลกใบนี้

องค์การสหประชาชาติอาจอ้างว่ามันเป็นกลุ่มกลางของโลกซึ่งมีตัวแทนจากทุกประเทศ แต่อันที่จริง - สำหรับการแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพ - มันเพียงดำเนินการโดยกลุ่มประเทศจำนวนน้อยมากของมหาอำนาจนำต่างๆ ทางการทหารอันยิ่งใหญ่ นั่นคือ สมาชิกถาวรของสภาความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, และจีน. แต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรนี้สามารถที่จะวีโต้(หรือใช้อำนาจยับยั้ง)เรื่องอะไรก็ได้ที่แทรกเข้ามา หรือสวนทางกับผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศเหล่านี้

องค์การสหประชาชาติได้ซ่อนเร้นกลุ่มประเทศนำพวกนี้เอาไว้เบื้องหลังอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศมหาอำนาจเหล่านี้สามารถทำสงครามเมื่อใดก็ได้ ที่สถานการณ์เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา ดังที่องค์การสหประชาชาติเคยทึกทักเข้าไปในอิรัก เพื่อปกปักษ์อำนาจอธิปไตยของคูเวตในปี ค.ศ.1991 ในสงครามอ่าว. ในขณะเดียวกันแต่ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ก็สามารถที่จะหยุดยั้งองค์การสหประชาชาติในการดำเนินการใดๆ ได้ในหลายๆ กรณี ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีกลุ่มยูเอ็นกรูกันเข้าไปปกป้องอำนาจอธิปไตยของนิคารากัวภายใต้การรุกรานของสหรัฐฯ เมื่อประธานาธิบดีเรแกนส่งกำลังโจมตีท่าเรือต่างๆ ของประเทศดังกล่าวในช่วงทศวรรษที่ 1980

แม้แต่บรรดาประเทศเล็กๆ ทั้งหลายที่ไม่น่าพอใจ และบางส่วนกีดขวางปฏิบัติการทางทหารที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังตราของยูเอ็น ประเทศในกลุ่มเนโตได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาเมินเฉยต่อการเจรจาแก้ปัญหา และใช้ยูเอ็นเป็นทางออกสำหรับคำแก้ตัวในการทำสงคราม ดังเช่นการทิ้งระเบิดถล่มอิรัก เป็นต้น. บ่อยครั้งคำแก้ตัวเหล่านี้เป็นเรื่องของความเจ้าเล่ห์เพทุบายที่น่าตระหนกอย่างยิ่ง. เนโตสามารถที่จะถล่มเซอร์เบีย เพื่อทึกทักเอาเองว่า พยายามปกป้องชนเชื้อสายอัลบาเนียนที่อาศัยอยู่ในโคโซโวจากกองกำลังสำรองชาวเซอร์เบียน ขณะที่เตอร์กี(สมาชิกหนึ่งของเนโต) ได้ฆาตกรรมหมู่ชนเชื้อสายเคอร์ทในเวลาเดียวกัน

กลไกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งทรงอำนาจ ได้ควบคุมองค์การสหประชาชาติเอาไว้ และมีการใช้วิธีการแทรกแซงทางด้านการทหาร อันนี้เป็นที่รู้กันดีสำหรับพวกฝ่ายซ้าย. แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งซึ่งเราไม่ค่อยตระหนักกันกว้างขวางมากนักก็คือ กลไกในลักษณะเดียวกันที่ดำรงอยู่ - โดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยกำลังอาวุธ - อันเป็นพลังอำนาจที่สำคัญของพวกจักรวรรดินิยม, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถควบคุมเศรษฐกิจโลกได้

อีกครั้งหนึ่งซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกเปิดเผยออกมาในความคิดเกี่ยวกับ"โลกาภิวัตน์" ซึ่งกลายเป็นเกมเปลี่ยนไพ่ถูกๆ ซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเราจากการครอบงำโลก ของบรรดาจักรวรรดินิยมอันเก่าแก่ทั้งหลาย

Economic control - Debt, the World Bank and the IMF
การควบคุมทางเศรษฐกิจ - หนี้สิน, ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

แง่มุมหนึ่งของการควบคุมทางเศรษฐกิจ ได้รับความสนอกสนใจอย่างมากเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าบางทีอาจเป็นไปอย่างอ้อมๆ ก็ตาม. นั่นคือ ภาวะหนี้สินจำนวนมหาศาลที่ตกเป็นหนี้โดยประเทศโลกที่สามทั้งหลาย. การณรงค์ในคราวเฉลิมฉลองปี 2000 ได้มีการเรียกร้องให้ยกเลิกหนี้สินที่ไม่มีความสามารถจะจ่ายคืนได้ ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จในการระดมผู้คนมาเดินขบวนเป็นหมื่นๆ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้

มีผู้คนราว 800,000 คนใน ไอร์แลนด์เพียงลำพังเท่านั้น ที่ได้มีการลงนามต่อข้อเรียกร้องให้มีการยกเลิกหนี้สินดังกล่าวนี้ ส่วนหนี้สินส่วนกลางที่มีบทบาทอย่างสำคัญสำหรับมหาอำนาจต่างๆ ของตะวันตกในการบงการและกำกับเศรษฐกิจในโลกที่สามว่าควรได้รับการจัดระเบียบอย่างไร เรื่องพวกนี้กลับเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงกันมากนัก

วิกฤตการณ์เกี่ยวกับภาวะหนี้สินในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และช่วงต้นทศวรรษ 1980 ได้พิสูจน์ถึงอำนาจงัดง้างในเชิงอุดมคติอันหนึ่งต่อพลังอำนาจของตะวันตก ที่บีบคั้นการเปิด"การค้าเสรี"ต่อ"บรรดาประเทศโลกที่สาม". อันนี้เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มประเทศโลกที่สามเผชิญหน้ากับรายได้ตกต่ำ และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และไม่อาจที่จะปฏิบัติตามสัญญาการกู้ยืมของพวกเขาได้

ก่อนหน้านี้ประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมากได้ดำเนินรอยตามนโยบายอันหนึ่งเกี่ยวกับ "การทดแทนการนำเข้า" ซึ่งหมายความว่า พวกเขาพยายามที่จะผลิตสินค้าทั้งหลายขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาเคยนำเข้ามาก่อน. โดยปราศจากคำแนะนำใดๆ เกี่ยวกับนโยบายนี้ที่เสนอทางเลือกในเชิงบวกต่างๆ ดังนั้นจึงทำให้เกิดความได้เปรียบ/เสียเปรียบอย่างมากต่อพลังอำนาจของจักรวรรดินิยม ซึ่งโน้มเอียงที่จะปฏิเสธพวกเขาในด้านการเปิดตลาด และการแสวงหาวัตถุดิบในราคาถูก

สิ่งที่มหาอำนาจจักรวรรดินิยมต้องการ และสิ่งที่พวกเขามีชัยชนะและประสบความสำเร็จอย่างสำคัญก็คือระบบหนึ่ง ซึ่งโลกที่สามเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและแรงงานราคาถูกให้ และโลกที่สามก็ปฏิบัติตัวในฐานะที่เป็นตลาดบริโภคสินค้าต่างๆ ของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งมีฐานของมันอยู่ในประเทศจักรวรรดินิยมต่างๆ. แต่เหตุผลที่ชัดเจนก็คือ นี่ไม่ใช่นโยบายยอดนิยมหรือเป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้คนของประเทศเหล่านั้น เว้นแต่ว่าบางทีมีกรณียกเว้นของคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สามารถให้คำมั่นสัญญาว่าจะปันส่วนผลกำไรที่เกิดขึ้นต่างๆ ให้ ถ้าพวกเขา(คนในประเทศโลกที่สาม)จะเข้ามาบริหารระบบงานดังกล่าว

เมื่อวิกฤตการณ์ภาวะหนี้สินได้ถาโถมโจมตีในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 เริ่มต้นขึ้นด้วยการประกาศกร้าวของเม็กซิโกที่ว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะจ่ายคืนเงินที่กู้ยืมมาได้ในปี 1982 ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศก็กระโดดเข้ามาทันที. ทั้งที่ตามข้อเท็จจริง สถาบันเหล่านี้จะค่อนข้างมีคนที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก แต่มีความคิดกันน้อยเกี่ยวกับหน้าที่ที่พวกเขาควรทำ หรือพวกเขาควรจะทำอย่างไร

One dollar - one vote
หนึ่งดอลล่าร์ - หนึ่งเสียง

สรุปใจความสำคัญ ทั้งสองสถาบันนี้(หมายถึง IMF และ World Bank)ได้รับการออกแบบขึ้นมาในหนทางที่สอดคล้องกับมหาอำนาจชาติตะวันตก - พวกมันวางอยู่บนพื้นฐานที่สนับสนุนหลักการทางธุรกิจเกี่ยวกับ "หนึ่งดอลล่าร์ - หนึ่งเสียง". มากยิ่งไปกว่านั้น โครงสร้างการตัดสินใจภายในของพวกเขา ได้ทำให้สหรัฐมีสิทธิ์ที่จะวีโต้หรือสามารถที่จะขัดขวางการตัดสินใจใดๆ ก็ตามที่เป็นการสวนทางกับผลประโยชน์เศรษฐกิจของตน

ในทางเทคนิค พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของยูเอ็นหรือองค์การสหประชาชาติ แต่ในความเป็นจริง มหาอำนาจตะวันตกมีเสียงที่ค่อนข้างดังในสถาบันเหล่านี้เมื่อพวกมันสังกัดอยู่ในยูเอ็น. ในกรณีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาถือครองเสียงอยู่ราว 17% ขณะที่การมีเสียงเพียงแค่ 15% เท่านั้นก็สามารถที่จะวีโต้ได้แล้ว

ในกรณีของธนาคารโลก ได้มีการจัดการในลักษณะที่ยืนยันได้ว่า ประธานธนาคารโลกทุกคนล้วนเป็นพลเมืองอเมริกันทั้งสิ้น. ขอบคุณต่อวิกฤตการณ์เกี่ยวกับภาวะหนี้สินโดยเฉพาะ พลังอำนาจของสถาบันเหล่านี้ค่อนข้างยิ่งใหญ่มาก ซึ่งไม่มีประเทศใดสามารถที่จะท้าทายหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการบงการ และการกำกับของพวกมันโดยไม่สูญเสียความสามารถที่จะผูกมัดอยู่ในการค้าต่างประเทศ

วิกฤตการณ์เกี่ยวกับภาวะหนี้สินบีบบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ส่วนใหญ่ ส่งมอบการควบคุมของพวกเขา อย่างน้อยที่สุด เกี่ยวกับเศรษฐกิจของพวกเขาไปให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก. อันนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 เมื่อแต่ละประเทศที่เป็นลูกหนี้ตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจชำระคืนเงินกู้ของตนเองได้. ในภาวการณ์เช่นนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกจะกระโดดเข้ามา และเสนอที่จะส่งเสริมการจัดการโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับการกู้เงินต่างๆ ที่จัดหาให้กับประเทศนั้นๆ ซึ่งเกี่ยวพันกับเครื่องมือที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เข้ามาบงการ "โปรแกรมการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ"

ตัวอย่างเช่น สิ่งเหล่านี้ไปเกี่ยวพันกับการรื้อถอนอุปสรรคต่างๆ ในการนำเข้าและเคลื่อนย้ายทุนและผลผลิตต่างๆ ออกไป สิ่งที่เป็นอุปสรรคกีดขวางทั้งหลายของประเทศลูกหนี้จะต้องถูกขจัด เช่น "การปกป้องสิทธิต่างๆ ของบรรดาคนงานทั้งหลาย และการคุ้มครองค่าจ้างที่เป็นอยู่ลง" ปรกติแล้วอันนี้ถูกทำให้สัมฤทธิผลได้โดยผ่านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น, การแปรรูป(privatization) และการต่อต้านกฎหมายสหภาพต่างๆ (และอันที่จริง เป็นการควบคุมทางกายภาพ). เคียงกันไปกับมาตรการนี้คือ มีการเฉือนค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและด้านสุขภาพลง

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 คำอธิบายอย่างเป็นทางการอันหนึ่งของ the Inter-American Development Bank ได้อธิบายว่า "เป็นโอกาสที่จะสัมฤทธิผลอย่างไม่มีอะไรเสมอเหมือน ในบรรดาประเทศที่เป็นลูกหนี้ การปฏิรูปโครงสร้างต่างๆ ถูกทำให้สอดคล้องกับการบริหารงานของประธานาธิบดีเรแกน"

The payoff
ผลที่ตามมา

โดยตลอดทุกกรณี แม้ว่ามันไม่ควรได้รับการจินตนาการว่า ชนชั้นปกครองท้องถิ่นชื่นชอบต่อนโยบายเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงทุกวันนี้เศรษฐกิจลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ ได้ถูกควบคุมโดยคนที่เกิดในท้องถิ่น แต่จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์มาจากสหรัฐอเมริกา. ดังเช่นปัญญาชนลาตินอเมริกา Xavier Gorostiaga ที่มองว่า "ลัทธิเสรีนิยมใหม่"ได้ทำให้ชนชั้นหัวกะทิของซีกโลกใต้กับซีกโลกเหนือมารวมตัวกัน และสร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่สุดของเรื่องการเงิน เทคโนโลยี และพลังอำนาจทางการทหารในประวัติศาสตร์ให้มาบรรจบกัน"

ในปี 1960 รายได้ของคนรวยที่สุด 20% ของประชากรโลก รวยกว่าคนจนที่สุด 20% ประมาณ 30 เท่า. แต่ทุกวันนี้มันมากถึง 60 เท่าแล้ว แม้ว่าตัวเลขคนที่อยู่ยอดสุด 20% นี้ดูจะเป็นมาตรวัดที่ค่อนข้างหยาบก็ตาม และในรายงานของยูเอ็นระบุว่า "ทรัพย์สินของคนที่รวยสุด 200 คนรวมกันแล้ว มันมากมายมหาศาลกว่ารายได้ของผู้คน 41% ของคนบนโลกใบนี้รวมกันเลยทีเดียว

อันนี้ได้ฉายความสว่างให้เห็นว่า บางทีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามจะเป็นตัวการสำคัญต่อระบบจักรวรรดินิยม ก่อนสงครามโลกนั้นประเทศอาณานิคมอันเก่าแก่อย่างอังกฤษและฝรั่งเศสได้ควบคุมมัน พวกเขานิยมชมชอบระบบที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปกครองโดยตรงกับชนชั้นปกครองท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่ถูกส่งออกมาจากประเทศจักรวรรดินิยมเพื่อวัตถุประสงค์อันนั้น. ระบบนี้เป็นมูลเหตุแห่งความขุ่นเคืองและความไม่พอใจอย่างมากในท่ามกลางหมู่ชนชั้นกลางท้องถิ่น ซึ่งปฏิเสธความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสนับสนุนต่อบทบาทต่างๆ เหล่านี้ และบ่อยครั้งมากที่ธรรมชาติเกี่ยวกับอคติทางเชื้อชาติของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ทำให้ชนชั้นกลางท้องถิ่นต้องอดทนต่อการกดขี่ที่ต่ำทรามทุกชนิด

ในช่วงปีหลังสงครามจะเห็นถึงการลุกขึ้นมาต่อต้านอาณานิคม ซึ่งชนชั้นคนงานและชาวนาภายใต้การนำของชนชั้นกลางได้รวมตัวกัน เพื่อขับไล่พวกจักรวรรดินิยมทั้งหลาย. ด้วยความงอกงามขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้ และการเจริญเติบโตทางด้านอำนาจเศรษฐกิจและการทหารของสหรัฐอเมริกา อำนาจจักรวรรดินิยมอันเก่าแก่จึงถูกทำให้แพ้พ่ายอยู่บ่อยๆ และในส่วนของชนชั้นปกครองท้องถิ่นก็ได้เข้ามาแทนที่การดำเนินการของประเทศ บ่อยครั้งโดยการช่วยเหลือของอเมริกา แต่บางครั้งก็ด้วยการช่วยเหลือของรัสเซีย

ขณะที่อิทธิพลและการครอบงำของสหรัฐอเมริกาได้บ่มเพาะระบบหลังอาณานิคมขึ้นมา ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นในที่ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อหวนกลับสู่กรณีที่ยอมรับได้เกี่ยวกับการค้าอันเป็นที่ชื่นชอบของธุรกิจอเมริกัน ชนชั้นปกครองท้องถิ่นได้รับความยินยอมให้มีอำนาจควบคุมท้องถิ่นบางส่วน. แน่นอน มีบางคนไม่มีความสุขหรือสบายใจนักเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ และในช่วงทศวรรษที่ 1980 วิกฤตการณ์เกี่ยวกับภาวะหนี้สินในด้านหนึ่ง และการล่มสลายของสหภาพโซเวียดในอีกด้านหนึ่ง ทำให้พวกเขามีทางเลือกขึ้นมาบ้าง และมาร่วมพูดคุยกัน

สหรัฐอเมริกาได้สร้าง"ระเบียบโลกใหม่"(New World Order)ขึ้นมา ซึ่งมีการใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการทหารเข้าช่วยอย่างแยบยล ด้วยการควบคุมดังกล่าว มันจึงไม่จำต้องใช้วิธีการควบคุมหรือบังคับแบบเก่าๆ อย่างลัทธิจักรวรรดินิยมอีกต่อไป. โดยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และองค์กรการค้าโลก(WTO) มันก็สามารถที่จะตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเกี่ยวกับการค้าโลกร่วมกับหุ้นส่วนอ่อนอาวุโสของมัน นั่นคือบรรดาประเทศในกลุ่ม G7 (ซึ่งเป็นประเทศต่างๆที่ค่อนข้างมีอำนาจทางเศรษฐกิจ)

เมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯไม่ได้ถดถอยจากการใช้พลังอำนาจเหล่านี้ต่อหุ้นส่วนที่อ่อนอาวุโสของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความพยายามที่จะยัดเยียดอาหาร GMO ให้กับรัฐต่างๆ ของชาวยุโรปที่ไม่ค่อยเต็มใจนัก. รัฐก่อการร้าย(rogue state - หมายถึงรัฐในโลกที่สามที่ครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง และให้การสนับสนุนการก่อการร้าย)จำนวนหนึ่ง ต่างไม่พอใจที่จะยอมรับกฎเกณฑ์ต่างๆของสหรัฐฯ และรัฐเหล่านี้ต่างถูกจำกัดวงและควบคุมทั้งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ เช่นกรณีของเกาหลีเหนือและคิวบา หรือใช้การทิ้งระเบิดถล่มเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง อย่างในกรณีของสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ต่อเนื่องในอิรัก

คนเหล่านั้นที่ต่างต้องทนทุกข์ต่อระเบียบจักรวรรดิ์ใหม่อันนี้ รวมถึงคนงานและชาวไร่ชาวนาในโลกที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ตามรายงานข้อเท็จจริงมีว่า ค่าจ้างที่แท้จริงในประเทศแอฟริกาส่วนใหญ่ได้ตกต่ำลงราว 50-60% นับจากทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา และในประเทศเม็กซิโก, คอสตาริก้า, และโบลิเวีย ค่าจ้างโดยเฉลี่ยได้ตกต่ำลง 3 เท่านับจากปี ค.ศ.1980. และบรรดาคนงานทั้งหลายในส่วนต่างๆ ของโลกที่กำลังพัฒนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการมองว่า มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่และค่าจ้างแรงงานกำลังตกต่ำลงด้วยเช่นเดียวกัน

ระเบียบเศรษฐกิจโลกได้ให้อาวุธชนิดใหม่ๆ กับบรรดาบรรษัทขนาดใหญ่ต่างๆ ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะบงการควบคุมนโยบายทางเศรษฐกิจได้เท่าๆ กับรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้ว. การข่มขู่เกี่ยวกับการถอนตัวในเรื่องการลงทุนขนาดใหญ่ โดยสาระแล้ว ได้ไปยุติการประนีประนอมของสังคมประชาธิปไตยหลังสงครามทั่วทั้งยุโรปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประทศต่างๆ อย่างเช่นอังกฤษ

รัฐประชาชาติยังคงเป็นศูนย์กลางของระเบียบโลกใหม่อันนี้. บรรษัทข้ามชาติอาจทำการค้าที่ใดในโลกก็ได้ แต่สำนักงานใหญ่ของพวกมัน, การบริหารจัดการ, และศูนย์กลางการวิจัย(research facilities) ต่างได้รับการรวมศูนย์อยู่ในชาติจักรวรรดิทั้งหลาย. สงครามการค้าเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับการค้ากล้วยหอมซึ่งเพาะปลูกที่แคริบเบียนเป็นตัวอย่าง นั่นเป็นการต่อสู้กันระหว่างสหรัฐอเมริกากับยุโรปบนพื้นฐานของการข้ามชาติ ทั้งๆ ที่ตามข้อเท็จจริงนั้น มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับนัยสำคัญของเรื่องการเพาะปลูกและปริมาณของกล้วยหอมเลย

สรุป
พื้นที่ที่จำกัดในที่นี้ เพียงยินยอมให้เราทำการสำรวจถึงกลุ่มต่างๆ พวกนี้ที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกันแอบซ่อนอยู่. สิ่งสำคัญคือ เราต่างสัมผัสและรับรู้ถึงการต่อต้านเกี่ยวกับอิทธิพลและการครอบงำดังกล่าวซึ่งมีมาในหลายรูปแบบ. กรกฎาคมนี้เราได้เห็นชาวตุรกี 250,000 คนซึ่งเป็นบรรดาคนงานทั้งหลายเดินขบวนเพื่อต่อต้าน/คัดค้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งพยายามยัดเยียดเรื่องของการปฏิรูปต่างๆ

ในเดือนมิถุนายน เป็นวัน J18 โลก; เดือนพฤศจิกายนจะได้พบเห็นปฏิบัติการที่แพร่หลายไปทั่วในการต่อต้านการประชุมขององค์กรการค้าโลก(WTO summit) ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา. แต่สิ่งที่ควรทำให้เด่นชัดก็คือ ก่อนที่เราจะสามารถตัดสินใจในรูปแบบการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อต่อต้านคัดค้านลัทธิจักรวรรดินิยม เราต้องจำแนกแยกแยะให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของมัน - ไม่ว่ามันจะสวมใส่หน้ากากใดๆ ที่มันเลือกเพื่อจะหลบซ่อนอยู่เบื้องหลังนั้นก็ตาม

บทความชิ้นนี้เขียนโดย Andrew Flood
สำหรับผู้สนใจอาจหาบทความอ่านเพิ่มเติมได้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เช่น The Fight against Imperialism

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
300449
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
เว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอพระขอบคุณในการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ฟรี เพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคมจาก www.thaiis.com
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

กลไกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งทรงอำนาจ ได้ควบคุมองค์การสหประชาชาติเอาไว้ และมีการใช้วิธีการแทรกแซงทางด้านการทหาร อันนี้เป็นที่รู้กันดีสำหรับพวกฝ่ายซ้าย แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งซึ่งเราไม่ค่อยตระหนักกันกว้างขวางมากนักก็คือ กลไกในลักษณะเดียวกันที่ดำรงอยู่ - โดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยกำลังอาวุธ - อันเป็นพลังอำนาจที่สำคัญของพวกจักรวรรดินิยม, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถควบคุมเศรษฐกิจโลกได้ อีกครั้งหนึ่งซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกเปิดเผยออกมาในความคิดเกี่ยวกับ"โลกาภิวัตน์" ซึ่งกลายเป็นเกมเปลี่ยนไพ่ถูกๆ ซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเราจากการครอบงำโลกของบรรดาจักรวรรดินิยมอันเก่าแก่ทั้งหลาย

The Midnightuniv website 2006