The Midnight University
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยสงบในยุโรป
การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้
เรียบเรียงมาจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย ในหัวข้อเรื่อง
Velvet Revolution
From Wikipedia, the free encyclopedia
โดยมีสาระสำคัญแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของระบอบการเมืองแบบคอมมิวนิสท์
ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในประเทศเชคโกสโลวาเกีย โดยปราศจากการนองเลือด
เรียกว่าการปฏิวัติกำมะหยี่
midnightuniv(at)yahoo.com
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 885
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
14.5 หน้ากระดาษ A4)
การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ
สมเกียรติ ตั้งนโม : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Velvet Revolution
From Wikipedia, the free encyclopedia
ความนำ
การปฏิวัติกำมะหยี่(The Velvet Revolution) (Czech: sametova revoluce, Slovak:
nezna revolucia) (16 พฤศจิกายน - 29 ธันวาคม 1989) เป็นการอ้างถึงการปฏิวัติที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อในเชคโกสโลวาเกีย
ในครั้งที่มีการโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสท์ในประเทศดังกล่าว
เริ่มต้นขึ้นด้วยวันที่ 17 พฤศจิกายน 1989, มีการชุมนุมเดินขบวนของนักศึกษาที่รักสันติในกรุงปราก พวกเขาถูกทุบตีอย่างรุนแรงโดยตำรวจปราบจลาจล เหตุการณ์ในวันนั้นได้จุดประกายให้มีการเดินขบวนของประชาชนขึ้นต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายนไ ปจนกระทั่งถึงปลายเดือนธันวาคมปีเดียวกัน. โดยวันที่ 20 พฤศจิกายน บรรดาผู้ประท้วงโดยสันติจำนวนมากได้มาร่วมชุมนุมกันในกรุงปราก ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวของผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 คนต่อวัน ก่อนที่จะรวมตัวกันมากถึงประมาณครึ่งล้านคน. การสไตร์คครั้งนี้จัดให้มีขึ้นทุกวัน วันละสองชั่วโมง เหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวพันกับพลเมืองของเชคโกสโลวาเกียทุกคน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนเป็นต้นมา
โดยที่ระบอบคอมมิวนิสท์อื่นๆของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงได้พังทลายลงโดยรอบ และด้วยความงอกงามขึ้นของการประท้วงบนท้องถนน พรรคคอมมิวนิสท์เชคโกสโลวาเกียได้ประกาศในวันที่ 28 พฤศจิกายนว่า พวกเขาจะยุติอำนาจทางการเมืองแบบผูกขาด และรั่วลวดหนามได้ถูกถอนออกจากชายแดนที่กั้นระหว่างเยอรมันนีตะวันตกและออสเตรียในช่วงต้นเดือนธันวาคม
วันที่ 10 ธันวาคม ประธานาธิบดีคอมมิวนิสท์ Gustav Husak ได้แต่งตั้งรัฐบาลเชคโกสโลวาเกียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ของคณะรัฐมนจรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสท์นับจากปี ค.ศ.1948 และประกาศลาออก. Alexander Dubcek ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาแห่งสหพันธ์ในวันที่ 28 ธันวาคม และต่อมา Vaclav Havel ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของเชคโกสโลวาเกียในวันที่ 29 ธันวาคม 1989
หนึ่งในผลลัพธ์ของการปฏิวัติกำมะหยี่ ทำให้มีการเลือกตั้งในแบบประชาธิปไตยครั้งแรกนับจากปี ค.ศ.1946 ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 และทำให้เกิดรัฐบาลที่ไม่เป็นคอมมิวนิสท์อย่างสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของเชคโกสโลวาเกีย ในรอบ 40 ปี
หัวข้อสำคัญในบทความนี้ประกอบด้วย
1). Political situation prior to the revolution (สถานการณ์ทางการเมืองก่อนการปฏิวัติ)
2). Chronology of the first week (ลำดับเหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์แรก)
3). Key events of the following weeks (เหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์ต่อๆมา)
อันนี้รวมถึง ลูกๆของนายทุนหรือนักการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์เก่าๆ ซึ่งสมาชิกต่างๆในครอบครัวของพวกเขาได้ถูกเนรเทศ คนเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุน Alexander Dubcek, ในการต่อต้านการยึดครองของโซเวียต, ให้การส่งเสริมศาสนา, คว่ำบาตรการเลือกตั้งรัฐสภาลวง ซึ่งได้ร่วมกับนิตยสาร Charter 77 หรือสัมพันธ์กับคนเหล่านั้นที่ทำนิตยาสารดังกล่าว. กฎข้อบังคับต่างๆในช่วงเวลานั้น ได้บีบบังคับโรงเรียนทั้งหมด, สื่อต่างๆ และธุรกิจทั่วไปให้เป็นของรัฐ ให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐโดยตรง
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการเสนอนโยบายเปเรสทรอยก้า(การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและระบอบการเมือง ในช่วงทศวรรษ 1980s ของรัฐเซีย) ของประธานาธิบดี Mikhail Gorbachav ในปี 1985. ผู้นำคอมมิวนิสท์เชคโกสโลวาเกีย ได้ให้การสนับนโยบายเปเรสทรอยก้าด้วยปาก แต่ในทางปฏิบัติกลับกระทำการต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และการพูดถึงเรื่องของกรุงปรากฤดูใบไม้ผลิปี 1968 (the Prague Spring of 1968) ยังคงถือเป็นเรื่องต้องห้าม. ในปี 1988 (see e.g. the Candle Demonstration - การจุดเทียนชุมนุม-เดินขบวน) และ 1989 ได้เริ่มเห็นถึงการเดินขบวนและการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเดินขบวนนี้ได้ถูกปราบปรามโดยพวกตำรวจ
แรงกระตุ้นที่แท้จริงสำหรับการปฏิวัติมาจากพัฒนาการในประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย - โดยในวันที่ 16 เดือนพฤศจิกายน เพื่อนบ้านทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย นอกจากสหภาพโซเวียตแล้ว ได้ขจัดการปกครองแบบคอมมิวนิสท์ออกไป. กำแพงเบอร์ลินได้ถูกรื้อทำลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน และพลเมืองทั้งหลายของเชคโกสโลวาเกีย ได้เห็นและเป็นพยานถึงเหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมดจากจอทีวี (ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ). สหภาพโซเวียตยังให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในบรรดาพวกหัวกระทิ ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองของเชคโกสโลวาเกียด้วย แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้คาดการณ์ หรือมุ่งหวังไปถึงการโค่นล้มเกี่ยวกับระบอบคอมมิวนิสท์
2. ลำดับการณ์ของสัปดาห์แรก
(Chronology of the first week)
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 1989, ช่วงเวลาเย็นของวันนักศึกษาสากล(International
Students Day)(การฉลองครบรอบ 50 ปีเกี่ยวกับการจากไปของ Jan Opletal, นักศึกษาชาวเชคฯ
ซึ่งถูกฆาตกรรมโดยการยึดครองของนาซี ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2), นักเรียนโรงเรียนมัธยมและนักศึกษามหาวิทยาลัย
Slovak มีการชุมนุมเดินขบวนอย่างสันติ ณ ใจกลางเมือง Bratislava(เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่สุดของสโลวาเกีย)
เหตุการณ์นี้ พรรคคอมมิวนิสท์ของสโลกวาเกียคาดว่าจะก่อให้เกิดปัญหา และตามข้อเท็จจริง
การชุมนุมเดินขบวนถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งในบรรดาประเทศคอมมิวนิสท์ทั้งหลาย กองกำลังติดอาวุธจึงเตรียมพร้อมนับจากก่อนวันเริ่มมีการชุมนุมเดินขบวนเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม ในตอนจบบรรดานักเรียนนักศึกษาได้เคลื่อนผ่านตัวเมือง และท้ายที่สุดได้ส่งตัวแทนเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาของสโลวัค
เพื่อพูดคุยถึงข้อเรียกร้องของพวกเขา
- วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 1989, สหพันธ์เยาวชนสังคมนิยม(The
Socialist Union of Youth (SSM/SZM, ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสท์แห่งเชคโกสโลวาเกีย)
ได้รวมตัวกันชุมนุมเดินขบวนเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันนักศึกษาสากลเช่นกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของ
SSM โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้นำคอมมิวนิสท์ พวกเขาจึงกริ่งเกรงเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นว่าจะถูกก่อกวน
การชุมนุมเดินขบวนนี้ยอมให้นักเรียนนักศึกษาทั่วไปมีโอกาสเข้าร่วม และแสดงความคิดเห็นต่างๆโดยไม่ต้องกลัว.
ราว 16.00 น. ผู้คนประมาณ 15,000 คน ได้เข้ามาร่วมกันกับการชุมนุมเดินขบวนครั้งนี้
พวกเขาได้เดินไปยังสุสานของ Opletal (นักศึกษาที่ถูกฆาตกรรมโดยนาซี) และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการแล้ว
- ได้มีการเดินขบวนต่อไปยังย่านใจกลางเมืองกรุงปราก โดยถือเอาคำขวัญต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสท์ไปด้วย
- คำขวัญต่อต้านคอมมิวนิสท์, ณ เวลา 19.00 น. บรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนได้ถูกหยุดโดยตำรวจปราบจลาจลที่รักษาการอยู่บนถนน
Narodni พวกเขาทำการปิดกั้นเส้นทางหลบหนี และเข้าทุบตีนักเรียนและนักศึกษาอย่างโหดร้าย
อีกครั้งที่ผู้เดินขบวนทั้งหมดได้ถูกตีจนแตกกระเจิง หนึ่งในผู้ซึ่งมีส่วนร่วม
- ตำรวจลับที่เป็นตัวแทน Ludvik Zifcak - แกล้งทำเป็นตายอยู่บนถนน และหลังจากนั้นก็ลุกหนีไป.
อันนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทำไมเขาจึงทำเช่นนั้น แต่ข่าวเล่าลือเกี่ยวกับ"นักศึกษาตาย"
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีน้ำหนักต่อรูปการณ์ในลำดับต่อมาของเหตุการณ์ต่างๆมากกว่า.
และยังคงอยู่ในช่วงเย็นค่ำของวันนั้น บรรดานักเรียนนักศึกษาและนักแสดงละครเวทีตกลงกันว่าจะทำการสไตร์คกันต่อไป
- วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน :
- นักศึกษา 2 คนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec ที่บ้านส่วนตัวของท่าน
และได้อธิบายให้เห็นถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนถนน Naradni
- ในช่วงแรกๆ มีนักศึกษาจากสถาบันศิลปการละครของกรุงปราก(the Prague Academy
of Dramatic Arts) โดยบรรดานักศึกษาจากสถาบันดังกล่าวเริ่มก่อการสไตร์ค. อย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลาต่อมา
การสไตร์คครั้งนี้ได้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วทั้งเชคโกสโลวาเกียเข้าร่วม
- กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยโรงละครต่างๆในกรุงปราก ซึ่งได้เข้าร่วมในการสไตร์คครั้งนี้ด้วย.
แทนที่จะแสดงละคร บรรดานักแสดงทั้งหลายกลับอ่านคำประกาศและแถลงการณ์ของบรรดานักศึกษาและศิลปินทั้งหลายให้กับบรรดาผู้ชม.
โปสเตอร์ทั้งหลายที่จัดทำกันขึ้นมาเองจากที่บ้าน และแถลงการณ์ต่างๆ ได้ถูกติดประกาศในที่สาธารณะ
ทั้งนี้เพราะสื่อทุกชนิด(ทั้งวิทยุ, โทรทัศน์, และหนังสือพิมพ์)ได้ถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสท์อย่างเข้มงวด
ด้วยเหตุนี้จึงมีช่องทางอยู่ช่องทางเดียวที่จะเผยแพร่ข่าวสารได้ ด้วยการปิดประกาศดังกล่าวไปตามที่สาธารณะ.
ในช่วงเย็น สถานีวิทยุโรปเสรี(Radio Free Europe) ได้รายงานว่า นักศึกษาคนหนึ่ง(ชื่อว่า
Martin Smid)ได้ถูกฆ่าตายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วงระหว่างการชุมนุมเดินขบวนก่อนหน้านั้น
ข่าวดังกล่าวได้ชักชวนให้บรรดาพลเมืองที่ยังลังเลใจอยู่ ไม่นำพาต่อความเกรงกลัวใดๆอีกต่อไป
และเข้าร่วมกับบรรดาผู้ประท้วงในเวลาต่อมา
- วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน
- โรงละครต่างๆในเมือง Bratislava, Brno, Ostrava และเมืองอื่นๆได้เข้าร่วมกับการก่อการสไตร์ค
ซึ่งดำเนินรอยตามตัวอย่างบรรดาเพื่อนร่วมวิชาชีพของพวกเขาจากกรุงปราก. สมาชิกทั้งหลายของสมาคมศิลปินและวรรณคดี
เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ และสถาบันต่างๆ ในพื้นที่ทั่วไปของสังคมก็ได้มีส่วนร่วมกับการสไตร์คครั้งนี้ด้วย
- บรรดาสมาชิกบางคนได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้บอกกับพวกเขาว่า ท่านได้ถูกห้ามปรามในการลาออกจากตำแหน่งถึงสองครั้ง และถ้าหากว่าพวกเขาต้องการให้การเปลี่ยนแปลงนี้บรรลุผลสำเร็จ จะต้องมีการชุมนุมเดินขบวนโดยฝูงชนอย่างเช่นในเยอรมันนีตะวันออก (ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 250,000 คน). ท่านยังได้ขอร้องพวกเขาด้วยว่า ให้ลดจำนวนคนบาดเจ็บล้มตายลง ในช่วงระหว่างเวลาวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด
- บรรดาศิลปินสโลวัคประมาณ 500 คน, นักวิทยาศาสตร์ และคนในอาชีพอื่นๆ ได้มีการพบปะกันที่ Art Forum (สภาศิลปะ - Umelecka Beseda)ในเมือง Bratislava ตอน 17.00 น. โดยได้มีการประณามการทุบตีนักศึกษาในกรุงปรากเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้มีการก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า องค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง(the Public Agaist Violence)ขึ้น ซึ่งต่อมากลายเป็นแกนนำพลังที่สำคัญ ซึ่งอยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามในสโลวาเกีย. สมาชิกที่ก่อตั้งของกลุ่มนี้รวมถึง Milan Knazko, Jan Budaj และคนอื่นๆ
- บรรดานักแสดงและผู้ชมในโรงละครของกรุงปราก ร่วมด้วย Vaclav Havel และสมาชิกที่โดดเด่นคนอื่นๆ ของนิตยสาร Charter 77 และองค์กรซึ่งไม่เห็นด้วยต่างๆ ได้สถาปนา กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum)ขึ้น (อันนี้เป็นองค์กรเทียบเท่ากับองค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง [the Public Against Violence]สำหรับดินแดนของสาธารณรัฐเชคฯ)
ในฐานะที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง อันนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลา 22.00 น. พวกเขาเรียกร้องให้มีการขับไล่บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุด ซึ่งรับผิดชอบต่อความรุนแรงนี้ให้พ้นจากตำแหน่ง และให้มีการสืบสวนอย่างอิสระเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังได้มีการเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยบรรดานักโทษทางการเมืองทั้งหลาย
นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมากประกาศว่าจะก่อการสไตร์ค. บนจอทีวี เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเรียกร้องให้ยุติความวุ่นวาย และคืนความสงบและสันติกลับมา พวกเขาต้องการฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาสู่สภาวะปรกติ. โทรทัศน์ได้มีการถ่ายทอดการสัมภาษณ์ Martin Smid (นักศึกษาที่มีการายงานข่าวว่า ถูกฆ่าตาย) เพื่อเป็นการบอกกับสาธารณชนว่า ไม่มีใครที่ถูกฆ่า แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ค่อยได้ผลอันเนื่องจากการบันทึกรายการดังกล่าวมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ จึงไม่แพร่หลาย. ดังนั้นข่าวลือต่างๆ จึงยังคงดำเนินต่อไป. กระนั้นก็ตาม รายการดังกล่าวได้รับการนำเสนอต่อมาอีกหลายวัน เพื่อยืนยันว่าไม่มีใครถูกฆ่าตาย แต่ ณ เวลานั้น การปฏิวัติได้ปะทุขึ้นมาอย่างรุนแรงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- วันจันทร์ที่
20 พฤศจิกายน
- นักศึกษาและโรงละครต่างๆ ได้ประกาศที่จะมีการสไตร์คอย่างยืดเยื้อ
- กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum) ได้มีการส่งตัวแทนของตนให้เข้าเจรจากันกับนายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec โดยไม่มี Vaclav Havel และการเจรจากันครั้งนี้ค่อนข้างทำกันอย่างไม่เป็นทางการ. Adamec รู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อข้อเรียกร้องต่างๆ ของนักศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม เขาเพิ่งพ่ายแพ้คะแนนเสียงในที่ประชุมที่จัดให้มีขึ้นเป็นการพิเศษของคณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน และในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของรัฐบาล กลับปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อใดๆ ต่อข้อเรียกร้องของนักศึกษา. กลุ่มลานคนเมืองจึงได้เพิ่มเติมข้อเรียกร้องอีกข้อหนึ่งเข้ามา นั่นคือ ให้มีการเลิกล้มสถานะทางการปกครองของพรรคคอมมิวนิสท์ตามรัฐธรรมนูญ
- บรรดาหนังสือพิมพ์ที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสท์ เริ่มต้นตีพิมพ์ข้อมูลข่าวสารซึ่งโต้แย้งและหักล้างข้อความของพรรคคอมมิวนิสท์
- เริ่มมีการชุมนุมเดินขบวนเป็นครั้งแรกในกรุงปราก (โดยมีผู้คนเข้าร่วมถึง 1 แสนคน) และเริ่มมีการเดินขบวนกันที่เมือง Bratislava เป็นครั้งแรกเช่นกัน
- วันอังคารที่
21 พฤศจิกายน
- มีการประชุมอย่างเป็นทางการขึ้นมาครั้งแรกระหว่างกลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum)
กับ นายกรัฐมนตรี. นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้ว ท่านให้หลักประกันว่าจะไม่มีความรุนแรงใดๆ
เกิดขึ้น และจะไม่มีการกระทำที่มุ่งร้ายใดๆ นำมาใช้กับผู้คน
- การชุมนุมเดินขบวนของฝูงชนเกิดขึ้นที่จัตุรัส Wenceslasในใจกลางกรุงปราก (และการชุมนุมเดินขบวนต่อๆ มา ได้รับการจัดขึ้นที่นั่นมาโดยตลอด) บรรดานักแสดง และนักเรียน/นักศึกษาเดินทางไปยังโรงงานต่างๆ ทั้งในและนอกกรุงปราก เพื่อขอการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน /เพื่อนร่วมอาชีพของพวกเขาในเมืองต่างๆ
- การชุมนุมเดินขบวนของฝูงชนเกิดขึ้นที่จัตุรัส
Hviezdoslav ในใจกลางเมือง Bratislava (ในวันต่อมา และได้มีการเคลื่อนย้ายไปยังจุตุรัส
Slovak National Uprising (การปฏิวัติแห่งชาติสโลวัค). นักเรียน/นักศึกษาได้เสนอข้อเรียกร้องอย่างหลากหลาย
และขอให้ผู้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนสไตร์คของสาธารณชนในวันจันทร์ที่
27 พฤศจิกายน
- มีการชุมนุมเดินขบวนที่แยกออกไปอีกขบวนหนึ่ง ซึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง
Jan Carnogursky (นายกรัฐมนตรีคนต่อมาของสโลวาเกีย) อันนี้เกิดขึ้นที่ด้านหน้าของที่ว่าการกระทรวงยุติธรรม.
Alexander Dubcek ได้มีการปราศรัยในการชุมนุมเดินขบวนครั้งนี้ - อันนี้ถือเป็นการปรากฏตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรกของเขา
ในช่วงระหว่างการปฏิวัติกำมะหยี่. จากผลของข้อเรียกร้องทำให้ Carnogursky ได้ถูกปล่อยตัวในวันที่
23 พฤษจิกายน
- มีการชุมนุมเดินขบวนในเมืองใหญ่ทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย
- Cardinal Frantsek Tomasek พระสังฆราชคาธอลิคของผืนแผ่นดินของเชคฯ ได้ประกาศให้การสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา และได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ดังกล่าวในปริมณฑลทางสังคมทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย
- สำหรับในช่วงเวลาแรกระหว่างการปฏิวัติกำมะหยี่ บรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนหัวรุนแรงเรียกร้องให้มีการล้มล้างข้อบังคับในรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้สถาปนาบทบาทนำของพรรคคอมมิวนิสท์ขึ้นมา อันนี้ได้รับการแสดงความรู้สึกออกมาโดย Lubomir Feldek ในคราวที่มีการประชุมพบปะกันครั้งหนึ่งขององค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง(Public Against Violence) ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างทันท่วงทีโดยประชาชนทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมชุมนุมเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และในท้ายที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากพรรคคอมมิวนิสท์ของสโลวาเกีย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน
- ในช่วงเย็น, Milos Jakes ประธานพรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย ได้มีการปราศรัยพิเศษขึ้น ณ สถานีโทรทัศน์สหพันธ์รัฐ. เขากล่าวว่า ระเบียบดังกล่าวจะต้องได้รับการปกปักรักษาไว้ ลัทธิสังคมนิยมนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเชคโกสโลวาเกียเท่านั้น และวิพากษ์วิจารณ์ผุ้คนกลุ่มต่างๆ ที่ยืนอยู่เบื้องหลังการพัฒนาในเชคโกสโลวาเกีย
- บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสท์ Milos Jakes ได้คงความแข็งกร้าว และรักษาสภาพการณ์ที่จะไม่มีการประนีประนอมเอาไว้ ซึ่งอันนี้ดูเหมือนว่าได้ไปช่วยเพิ่มเติมดีกรีของสิ่งที่ไม่อาจสัมผัสแตะต้องได้. ในคืนนั้น พวกเขาได้มีการเรียกระดมสมาชิกกองทัพประชาชน(People's Militia)(Lidove milice, องค์กรทหารกองหนุน ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงต่อพรรคคอมมิวนิสท์)เข้ามายังกรุงปราก เพื่อบดขยี้บรรดาผู้ประท้วงทั้งหลาย แต่ท้ายที่สุด กองทัพประชาชนดังกล่าวก็ถูกยับยั้งเอาไว้
- วันพุธที่
22 พฤศจิกายน
- กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum) ได้ประกาศให้มีการสไตร์คทั่วไปเป็นเวลา 2 ชั่วโมงสำหรับวันจันทร์ที่
27 พฤศจิกายน
- ได้มีการรายงานสดขึ้นมาเป็นครั้งแรกจากการชุมนุมเดินขบวน ณ จัตุรัส Wenceslas นี้ รายงานข่าวดังกล่าวปรากฏขึ้นบนจอทีวีสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐ และได้ถูกตัดออกอย่างรวดเร็ว, อีกครั้งที่หนึ่งในบรรดาผู้มีส่วนร่วม ได้มีการประณามกล่าวโทษรัฐบาลปัจจุบัน โดยการสนับสนุนของ Alexander Dubcek
- นักศึกษาที่ทำการสไตร์ค ได้บีบบังคับให้บรรดาผู้แทนทั้งหลายของรัฐบาลสโลวัค และผู้แทนของพรคคคอมมิวนิสท์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาตกลงกัน ซึ่งบรรดาผู้แทนที่เป็นทางการทั้งหลายต่างพากันปกป้องและบอกปัดในทันที
- บรรดาลูกจ้างของสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐในส่วนของสโลวัค ได้มีการเรียกร้องบรรดาผู้นำ/ผู้บริหารทั้งหลายของสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐ ให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงต่อเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศ มิฉะนั้นแล้วพวกเขาจะเริ่มก่อการสไตร์คกับทางสถานีฯ ด้วยเหตุนี้ การรายงานข่าวสดๆโดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากขบวนของผู้ชุมนุมในเมือง Bratislava จึงได้มีการดำเนินการต่อมา
- วันพฤหัสที่
23 พฤศจิกายน
- ข่าวช่วงเย็นได้แสดงให้เห็นว่า บรรดาคนงานของโรงงานต่างๆ แสดงความไม่พอใจ
Miroslav Stepan, เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสท์ของกรุงปราก และเป็นนักการเมืองที่ได้รับความเกลียดชังมากที่สุด.
กองทัพได้ให้ข้อมูลกับผู้นำคอมมิวนิสท์ว่า กองทัพพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติการเข้าสลายผู้ชุมนุม
แต่โชคดี ที่มันไม่ได้มีการใช้กำลังเข้าจัดการกับบรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนทั้งหลาย
- กองทัพและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำลังเตรียมการสำหรับการปฏิบัติการต่อฝ่ายตรงข้าม แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าวปราศรัยทางโทรทัศน์ว่า ทหารจะไม่ปฏิบัติการใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อประชาชนเชคโกสโลวาเกีย และเรียกร้องให้มีการยุติการชุมนุมเดินขบวนต่างๆ
- วันศุกร์ที่
24 พฤศจิการยน
- Milos Jakes ได้ถูกแทนที่โดยนักการเมืองหุ่นเชิด Karel Urbanek ในฐานะเลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย
- สถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐได้นำเสนอภาพข่าวต่างๆ นับจากเหตุการณ์วันที่ 17 พฤศจิกายนเป็นต้นมา และคำปราศรัยครั้งแรกของทางทีวีของ Vaclav Havel, ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแผนการณ์สไตร์คของสาธารณชน. ทีวีและวิทยุเชคโกสโลวาเกียประกาศว่า พวกเขาจะร่วมก่อการสไตร์คในครั้งนี้ด้วยกับผู้คนทั้งหลาย
- การสนทนากับบรรดาผู้แทนของพรรคฝ่ายค้าน ได้ถูกเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์ของสหพันธรัฐในส่วนของสโลวัค อันนี้นับเป็นครั้งแรกของการสนทนาอย่างอิสระบนจอทีวีเชคโกสโลวาเกีย นับจากการเริ่มต้นดำเนินการของสถานีฯ ผลลัพธ์ก็คือ สต๊าฟฟ์บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์สโลวัค เริ่มที่จะเข้ามาร่วมกันกับฝ่ายตรงข้าม
- วันเสาร์ที่
25 พฤศจิกายน
- ผู้นำคอมมิวนิสท์คนใหม่ได้จัดให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และในทันทีนั้นเขาก็สูญสิ้นความน่าเชื่อถือไป
ทั้งนี้โดยการที่เขาให้การปกป้องสนับสนุน Miroslav ?tep?n, และปล่อยให้ Ladislav
Adamec ออกไป โดยไม่มีการพูดถึงข้อเรียกร้องใดๆ. ต่อจากวันนั้น, Stepan ได้ลาออกจากตำแหน่งของเขาในฐานะเลขาธิการฯพรรคคอมมิวนิสท์
ของกรุงปราก
- ผู้มีส่วนร่วมจำนวนมากในการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลเป็นประจำในกรุงปราก ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 8 แสนคน. ส่วนการเดินขบวนในเมือง Bratislava ได้เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุดราว 1 แสนคน
- วันอาทิตย์ที่
26 พฤศจิกายน
- นายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec พบกับ Vaclav Havel เป็นครั้งแรก
- สต๊าฟฟ์บรรณาธิการของ Pravda ของสโลวาเกีย อันเป็นหนังสือพิมพ์ส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสท์ของสโลวาเกีย ได้เข้าร่วมกับฝ่ายค้าน
- วันจันทร์ที่
27 พฤศจิกายน
- การสไตร์คของสาธารณชนเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิดขึ้นทั่วประเทศในช่วงระหว่าง
12.00 น.จนถึง 14.00 น. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชากรราว 75%. รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมยินยอมให้สาธารณชนค้นคว้า
และหาอ่านวรรณกรรมต่อต้านคอมมิวนิสท์ในห้องสมุดต่างๆได้ ซึ่งอันนี้ถือเป็นการสิ้นสุดของการเซ็นเซอร์อย่างมีประสิทธิผล
- ชัยชนะต่างๆที่ตามมา แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการสไตร์คของนักศึกษาและนักแสดงซึ่งยืนหยัดมาจนกระทั่งวันที่ 29 ธันวาคม แต่ความสัมฤทธิผลส่วนใหญ่ บรรลุโดยผ่านการเจรจาต่อรองต่างๆระหว่างรัฐบาล กับกลุ่มลานคนเมือง และองค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรงส่วนใหญ่
3. เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ต่อๆมา
( Key events of the following weeks)
- 29 พฤศจิกายน, รัฐสภายังคงถูกครอบงำโดยพรรคคอมมิวนิสท์ มีการถอนข้อบังคับที่ให้การรับรองบทบาทของผู้นำของพรรคคอมมิวนิสท์และลัทธิมาร์กซ์
ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์รัฐที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ. วันเดียวกันนั้น ประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาสหพันธ์ลาออก
- 30 พฤศจิกายน,
- การศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์และลัทธิเลนิน และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวของคนงานนานาชาติ
ได้ถูกยกเลิกในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆอย่างเป็นทางการ
- สภาพรีซีดเดียม(Presidium)อันเป็นสภาบริหารสูงสุดของรัฐสภาสโลวัค (Slavak National Council)ได้ลาออก และถูกเข้าแทนที่โดยบรรดาสมาชิกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- รัฐบาลสหพันธ์ตัดสินใจว่า รั้วลวดหนามควรที่จะถูกถอนออกไปจากพรมแดนที่ติดกับออสเตรีย (ต่อมาภายหลัง รั้วลวดหนามที่กั้นพรมแดนเยอรมันนีตะวันตก ก็ถูกรื้อถอนออกไปด้วย), และพลเมืองเชคโกสโลวัคนั้น ก็ไม่ต้องใช้วีซ่าสำหรับการข้ามพรมแดนอีกต่อไป เมื่อประสงค์จะไปข้างนอก. รั้วลวดหนาม ณ ชายแดนดังกล่าวกับออสเตรียได้ถูกรื้อถอนนับจากวันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป
- 3 ธันวาคม,
ประธานาธิบดี Gustav Husak เสนอชื่อแต่งตั้งรัฐมนตรีสหพันธรัฐชุดใหม่ นำโดย
Ladislav Adamec. มีรัฐมนตรีที่เป็นคอมมิวนิสท์ 15 คน มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์
(ซึ่งเรียกกันว่ารัฐบาล 15:5) คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับการปฏิเสธโดยกลุ่มลานคนเมือง
และบรรดาผู้ร่วมชุมนุมทั้งหลาย
- 4 ธันวาคม, รัฐบาลประกาศให้ประชาชนมีเสรีที่จะเดินทางไปยังออสเตรีย
(ต่อมาภายหลังเพิ่มเติมว่า ทุกคนมีอิสระที่จะเดินทางไปทุกๆ ประเทศได้) จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ
อีกต่อไปที่จะทำเรื่องร้องขอ ก่อนจะเดินทางไปยังออสเตรีย. ในสัปดาห์ต่อมา ผู้คนราว
250,000 คนได้ไปเยือนประเทศดังกล่าว ซึ่งจะเห็นคิวรถยนต์เป็นประจำซึ่งมาจากในเมือง
Bratislava มุ่งสู่ชายแดนเพื่อข้ามไปยังออสเตรีย และทางฝั่งออสเตรียก็กระทำเช่นเดียวกัน
- 6 ธันวาคม, สมาชิกส่วนใหญ่ของรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย
ได้ถูกแทนที่โดยสมาชิกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์. Frantisek Pitra ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย
- 8 ธันวาคม, ประธานาธิบดี Gustav Husak ได้ออกแถลงการณ์เพื่ออภัยโทษต่ออาชญากรรมทางการเมือง
- 10 ธันวาคม
- ประธานาธิบดี Gustav Husak เสนอชื่อแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีสหพันธรัฐ นำโดย Marian
Calfa, อันนี้เป็นการแต่งตั้งบนพื้นฐานความตกลงกันระหว่างกลุ่มลานคนเมือง และพวกคอมมิวนิสท์
และเลิกลากันไป. ซึ่งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ถือว่าเป็นรัฐบาลสหพันธรัฐครั้งแรกนับจากปี
ค.ศ.1948 เป็นต้นมา ซึ่งพวกคอมมิวนิสท์ไม่ได้เป็นสมาชิกเสียงส่วนใหญ่
- การสไตร์คของโรงละครต่างๆ ได้ยุติลง แต่บรรดานักศึกษายังคงดำเนินการต่อไป. ตำรวจลับได้เผาเอกสารและสำนวนความต่างๆของพวกเขา (แฟ้มข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งไม่พอที่จะพิสูจน์หรือให้ความจริงเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด อันเป็นมูลเหตุให้เกิดความรู้สึกลำบากใจต่อผู้คนจำนวนมากในทศวรรศต่อมา)
- ผู้คนราว 1 แสนคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการชุมนุมเดินขบวนจากเมือง Bratislava, เชคโกสโลวาเกีย ไปยังเมือง Hainburg, ออสเตรีย
- 11 ธันวาคม,
รั้วลวดหนามได้รับการรื้อถอนจากพรมแดนต่างๆ
ที่ขวางกั้นระหว่างเชคโกสโลวาเกียกับเยอรมันนีตะวันตก
- 12 ธันวาคม, สโลวาเกียมีรัฐบาลใหม่ นำโดย Milan
Cic. ถือว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกของสโลวาเกียนับจากปี ค.ศ.1969 เป็นต้นมา ซึ่งสมาชิกคอมมิวนิสท์ไม่ได้เป็นสมาชิกเสียงข้างมาก
- 14 ธันวาคม, Tom?? J. Bata บุตรชายของนายทุนและผู้บริหารกิจการที่มีชื่อเสียงของชาวเชคฯ
Thomas Bata และเป็นประธานของบริษัทรองเท้า Bata Shoes (รองเท้าบาจา), ได้มาถึงเชคโกสโลวาเกีย
ด้วยการต้อนรับจากประชาชนอย่างอบอุ่น ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของจารีตทางด้านอุตสาหกรรมของเชคฯ
อันเก่าแก่และชนชั้นนายทุน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกปราบปรามโดยคอมมิวนิสท์ และมาถึงตอนนี้ได้หวนคืนกลับมา
- 21 ธันวาคม, กองกำลังประชาชน(people's militia
- ทหารกองหนุน)ได้ถูกยกเลิกไป และบรรดาอาวุธยุทโธปกรณ์ของพวกเขาได้ถูกทหารยึดเอาไป
หลังจากที่มันได้รับการสถาปนาขึ้นมา กองทัพประชาชน(ทหารกองหนุนประชาชน)นั้น
ทำหน้าที่ต่อสู้ตามกฎหมาย ตลอดช่วงคอมมิวนิสท์ครองเมือง นับจากปี ค.ศ.1948
เป็นต้นมา
- 22 ธันวาคม, กลุ่มลานคนเมือง, องค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง,
พรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย และผู้แทนของนักศึกษาทั้งหลาย รวมไปถึงกลุ่มการเมืองที่มีอยู่ต่างๆ
เห็นพ้องกันว่า Alexander Dubcek ควรจะเป็นประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาสหพันธ์
ขณะที่ Vaclav Havel ควรจะเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ
- 28 ธันวาคม, รัฐสภาสหพันธ์ยังคงประกอบด้วยบรรดาผู้แทนคอมมิวนิสท์ที่มาจากการเลือกตั้งที่กำหนดขึ้น
ซึ่งมีการรับสมัครในปี ค.ศ.1986, ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งที่ยินยอมให้มีการทำงานร่วมกับบุคคลใหม่ๆ.
ผู้ที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสท์หลายคนกลายเป็นผู้แทนด้วยกฎหมายฉบับนี้. การปฏิรูปดังกล่าวของรัฐสภา"จากภายใน"ได้รับการประสานเสียงโดยนายกรัฐมนตรี
Marian Calfa และได้ช่วยสถาปนาความชอบธรรมขึ้นมาใหม่ให้กับรัฐสภาในทันที โดยปราศจากการเรียกร้องต้องการการเลือกตั้งใดๆ
(ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 1990). Alexander Dubcek ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิติบัญญัติในวันเดียวกัน
- รัฐสภาสหพันธ์เลือก
Vaclav Havel ขึ้นเป็นประธานาธิบดี. อันนี้ดูจะแย้งกับสถานการณ์ เพราะ Havel
ซึ่งมีความเห็นขัดกับคอมมิวนิสท์ ได้เป็นประธานาธิบดีโดยการเลือกตั้งอย่างอิสระจากบรรดาตัวแทนของคอมมิวนิสท์
ซึ่งเพียงแค่วันเดียวก่อนตกลงใจให้มีการจำคุกเขาอีกครั้ง. บรรดานักศึกษาตกลงที่จะยุติการก่อการสไตร์ค
และถือกันว่าการปฏิวัติกำมะหยี่ได้สิ้นสุดลงแล้ว
สรุปเหตุการณ์ต่อมา
ในเดือนธันวาคมและเดือนต่อๆ มา พรรคคอมมิวนิสท์ได้สูญเสียสมาชิกของตนไปเป็นจำนวนมาก
(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเหล่านั้นซึ่งเข้าร่วมกับพรรคฯ เพียงเพื่อเป็นพาหนะสำหรับการส่งเสริมธุรกิจของพวกเขา
รวมไปถึงพวกที่ประสงค์ไต่เต้าทางวิชาการและอาชีพทางการเมือง). รัฐสภาสหพันธ์ได้นำเสนอกฎหมายหลักๆ
สำหรับการส่งเสริมสิทธิพลเมือง, เสรีภาพของประชาชน และเศรษฐกิจเสรี
การเลือกตั้งอย่างอิสระเป็นครั้งแรก ได้รับการกำหนดขึ้นในเดือนมิถุนายน 1990. เหตุการณ์ที่สร้างปัญหาต่างๆ รวมถึงการชะงักงันของรัฐสภาครั้งแรก มีมูลเหตุเนื่องมาจากชาวเชคฯและสโลวัคไม่อาจที่จะตกลงกันได้เกี่ยวกับชื่อของประเทศ. นอกจากนี้ยังมีการตำหนิและประณามกันอย่างฉุนเฉียวเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือกับตำรวจลับคอมมิวนิสท์ (เพราะไปเชื่อถือเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่บางแฟ้มได้ถูกเผาทำลายไปในเดือนธันวาคม 1989)
สิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นมาของอาชญากรรมต่างๆ (เนื่องมาจากการไม่ค่อยให้ความเคารพต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการอภัยโทษอย่างกว้างขวางโดย Havel ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง ได้ปล่อยอาชญากรในความผิดเล็กๆน้อยๆ จากคุกไปเป็นจำนวนมาก)
โดยทั่วไป ประชากรมีความพึงพอใจ และมองว่าปัญหาต่างๆ เหล่านั้นเป็นราคาที่ต้องจ่ายสำหรับประชาธิปไตยของพวกเขา
ที่มาของคำศัพท์
"การปฏิวัติกำมะหยี่"
ศัพท์คำว่า "การปฏิวัติกำมะหยี่" (Velvet Revolution) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ในช่วงแรกๆ
คำนี้ถูกตะครุบโดยวงการสื่อทันที และท้ายที่สุดโดยเชคโกสโลวาเกีย. สื่อ, บนเว็บ
infotainment เห็นถึงความสำเร็จอันนี้ และจารีตที่เริ่มต้นขึ้นมาของการประดิษฐ์คิดค้น
และอ้างถึงชื่อที่มีลักษณะสำเนียงเป็นกวีอันนี้กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันต่างๆ
(ดู color revolution ใน Wikipedia). แต่อย่างไรก็ตาม ในสโลวาเกีย ชื่อของการปฏิวัตินับจากเริ่มต้นของเหตุการณ์ดังกล่าวคือ
Gentle Revolution (Nezna revolucia) หรือ"การปฏิวัติละมุน / การปฏิวัติอย่างสันติ"
ค้นคว้าเพิ่มเติม
:
สำหรับผู้สนใจประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ใน
- Civic Forum and Public Against Violence (political movements that played major role in the revolution)
- Revolutions of 1989
- Velvet Divorce (peaceful dissolution of Czechoslovakia few years later)
External links
http://www.commondreams.org/views05/0117-31.htm
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 850 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ศัพท์คำว่า "การปฏิวัติกำมะหยี่" (Velvet Revolution) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ในช่วงแรกๆ คำนี้ถูกตะครุบโดยวงการสื่อทันที และท้ายที่สุดโดยเชคโกสโลวาเกีย. สื่อ, บนเว็บ infotainment เห็นถึงความสำเร็จอันนี้ และจารีตที่เริ่มต้นขึ้นมาของการประดิษฐ์คิดค้น และอ้างถึงชื่อที่มีลักษณะสำเนียงเป็นกวีอันนี้กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในสโลวาเกีย ชื่อของการปฏิวัตินับจากเริ่มต้นของเหตุการณ์ดังกล่าวคือ Gentle Revolution (Nezna revolucia) หรือ"การปฏิวัติละมุน / การปฏิวัติอย่างสันติ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90