The Midnight University
การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ
จดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ
กรณีการเจรจาเอฟทีเอ
ประชาชน
นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอร่วมสนับสนุนบนสื่อออนไลน์
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 806
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
9 หน้ากระดาษ A4)
จดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ
กรณีการเจรจาเอฟทีเอ
โดยประชาชน นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาชน
ที่พิเศษ
๐๐๑/๒๐๐๖ (คลิกอ่านภาษาอังกฤษ)
วันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ. ๒๐๐๖
ฯพณฯประธานาธิบดี จอร์จ
ดับเบิลยู บุช
ประเทศสหรัฐอเมริกา
วอชิงตัน ดี.ซี. ๒๐๕๒๐
เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตยและองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมไทยที่มาจากสถาบันวิชาการ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกษตรกร สมัชชาคนจน สหภาพแรงงาน เครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น องค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) กลุ่มทางสังคมและกลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนไทย ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้นโยบายและการบริหารที่จะมีผลทางปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี ขอส่งจดหมายนี้เพื่อแสดงความวิตกกังวล และคัดค้านต่อสิ่งที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและคณะผู้เจรจาฝ่ายไทย กำลังดำเนินการเจรจาตกลงกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย ตามกำหนดการในวันที่ ๙-๑๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๐๖
ด้วยกิตติศัพท์อันเลื่องลือของสหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นประเทศที่ส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งนโยบายพื้นฐานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เราจึงเชื่อมั่นและมุ่งหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า หลักการทางการเมืองทั้ง ๒ ประการดังกล่าวนี้ จะได้รับการเคารพและการนำมาใช้เป็นหลักในการเจรจากับประเทศคู่สัญญาของสหรัฐอเมริกาด้วย
มีหลักฐานเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลกหลายครั้งหลายหนว่า การบังคับใช้นโยบายและการดำเนินการตามพันธะที่กำหนดในข้อตกลงการค้าเสรี ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา ในด้านความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาความยากจน สภาวะสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านชีวภาพ ด้านการศึกษา สภาพการจ้างงาน สุขอนามัย และการบั่นทอนอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ อันนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของประชาชนทั้งประเทศ ผลกระทบดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องได้รับพิจารณาใคร่ครวญอย่างจริงจัง เพราะเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายที่กำลังขยายไปสู่ความไร้เสถียรภาพของโลกในที่สุด ดังนั้นจึงเป็นทั้งภาระ หน้าที่ และจิตสำนึกของมวลประชาชาติที่จะต้องป้องกันและหยุดยั้ง ปัจจัยที่เลวร้ายต่างๆดังกล่าว เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปสู่ความรุนแรงในเชิงโครงสร้างของทั้งโลก
ในหลายโอกาสและหลายเหตุการณ์ที่เราได้เฝ้าจับตาดู ทั้งได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพต่อกระบวนการประชาธิปไตย และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ในการเจรจากำหนดข้อตกลงเขตการค้าเสรีใดๆทุกครั้ง แต่เราก็ไม่สามารถผลักดันให้ผู้มีอำนาจใส่ใจต่อปัญหาและข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ แม้ว่าหลายครั้งของการเรียกร้องจะดำเนินการโดยผ่านทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก แต่ก็ไม่มีผลใดๆเกิดขึ้น ไม่มีกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ชัดเจน ไร้ความโปร่งใส ไร้การมีส่วนร่วมของประชาชน และไม่มีเหตุผลชี้แจงที่น่าเชื่อถือ
ที่สำคัญ เมื่อได้มีการทักท้วงและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งฝ่ายค้านว่า การทำข้อตกลงการค้าเสรีขัดแย้งกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในข้อที่ว่า ไม่ได้นำเข้าขอความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อนที่จะลงนาม นี่คือความผิดของรัฐบาลไทยที่ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตลอด ดังนั้นเราจึงไม่เชื่อถือต่อบทบาทของผู้เจรจาตกลงฝ่ายรัฐบาลไทย ในการทำข้อตกลงหรือพันธะสัญญาใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ หรือที่เกี่ยวกับประชาชนไทย ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยองค์กรอิสระทั้งหลายที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ต่อไปด้วย
เพื่อให้ฯพณฯประธานาธิบดีใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในสาระสำคัญของเรื่องนี้ เราขอหยิบยกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ.๑๙๙๗) ที่ใช้เป็นหลักปกครองประเทศอยู่ในปัจจุบัน และเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่กล่าวมา ดังต่อไปนี้
"มาตรา ๒๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา"
ในส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยนั้น ได้แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการเรียกร้องของประชาชนและสมาชิกรัฐสภา ที่ขอให้นำการเจรจาการค้าเสรีทวิภาคีกับต่างประเทศไปอภิปรายถกเถียงกัน และขอความเห็นชอบในรัฐสภา เสียก่อน โดยยืนกรานว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสภานิติบัญญัติที่จะพิจารณา และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราคิดว่าฯพณฯประธานาธิบดีคงไม่ปรารถนาที่จะลงนามเป็นคู่สัญญากับผู้นำประเทศที่มีความคิดเช่นนั้นเป็นแน่
เรา,ในฐานะภาคประชาชนทั้งมวล ซึ่งได้พยายามดำเนินตามหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างยึดมั่นและด้วยความอดทนมาตลอด ปรารถนาที่จะขอให้ท่าน ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้บังเกิดขึ้นในโลก ได้โปรดพิจารณาทบทวนท่าทีและแนวทาง ก่อนที่จะตัดสินใจขับเคลื่อนการประชุมกำหนดข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย ตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
๑. ประสานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลักการร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษยชาติ โดยจะร่วมกันป้องกันสิ่งใดๆ ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบอันเลวร้ายกับประชาชนของทั้งสองประเทศ จากการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีดังกล่าว
๒.ขจัดข้อตกลงทางการค้าใดๆที่จะนำไปสู่ปัญหาความไร้เสถียรภาพของประชาชนและความมั่นคงในการดำรงชีวิต ทั้งร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นว่า การเจรจาจะไม่เริ่มต้นขึ้นจนกว่าจะได้มีการศึกษาถึงอันตรายของผลจากการทำข้อตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องร่วมกันหาทางขจัดและป้องกันอันตรายเช่นว่านั้น มิให้เกิดขึ้นเสียก่อน
๓. สาระสำคัญและท่าทีของการเจรจาจะต้องดำเนินไปอย่างโปร่งใส ผ่านกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน มีเหตุผลที่อธิบายได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญ ประชาชนจะต้องมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำข้อตกลงร่วมกัน ทุกครั้ง
๔. ฯพณฯประธานาธิบดีจะต้องไม่ยินยอมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย จนกว่ารัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขอความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อน
ในนามของเครือข่ายองค์กรประชาธิปไตยและองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทยทั้งมวล เราขอขอบพระคุณล่วงหน้า ในความกรุณาของฯพณฯประธานาธิบดี และหวังอย่างยิ่งว่า จะได้รับข่าวดีจาก ฯพณฯ ในเร็ววันนี้ เพื่อประโยชน์สุขและมิตรภาพอันงดงามของประชาชนทั้งสองประเทศ และเพื่อความสัมพันธ์อันยั่งยืน เสมอภาคของประเทศของเราทั้งสองที่มีมาอย่างยาวนานสืบต่อไป
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(Mr.Kanin Boonsuwan
,Member of The Constitution Drafting Assembly)
นาย คณิน บุญสุวรรณ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
(Ms.Rosana Tositrakul,Thai
Holistic Health Foundation)
รสนา โตสิตระกูล มูลนิธิสุขภาพไทย
(Mr.Uthai Sonluksub,
President of The Rubber Farming Industry Organization of Thailand)
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย
(Mr.Pitthaya Wongkul,
Chair Person , Campaign for Popular Democracy)
นาย พิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
(Mr.Sirichai Mai-ngam,
General Secretary, State Enterprise Worker's Relations Confederation,President
EGAT LU.)
นาย ศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(Mr.somsak Kosaisook
, Secretary General, Labor Co-ordinate Centre )
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เลขาธิการศูนย์ประสานงานกรรมกร
(Mr.Suriyasai Katasila,
Secretary General, Campaign for Popular Democracy)
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
( Ms.Kodchawan Chaiyabutr,
Secretary General, Student Federation of Thailand)
นางสาวกชวรรณ ชัยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษาแห่งประเทศไทย
นักวิชาการ/บุคคล
อ. เจริญ คัมภีรภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อ.กฤฏิฎีกา ทองเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
อ.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.กาญจนา วัธนสุนทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อ.นราธิป ศรีราม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อ.จำนงค์ แรกพินิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
อ.ปริญญา สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.วัลลภัช สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยสุรนารี นครราชสีมา
อ.มนัส ธัญญเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
อ.วิโรจน์ เอี่ยมสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
อ.สกุล วงศ์กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อ.จำนงค์ ปุผาลา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ผศ.สมหมาย ชินนาค วิทยาเขตนครราชสีมา
อ.สุเชาว์ มีหนองหว้า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อ.ดารุณี พุ่มแก้ว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผศ.ปรีชา ธรรมวินธร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
อ.สุพรรณ สาคร มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาอีสาน
อ.สวัสดิ์ บุราสิทธิ์ สถาบันส่งเสริมการพัฒนาอีสาน
อ.ดำเกิง โถทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
อ.สามารถ อาญาเมือง เครือข่ายสิทธิมนุษยชนอีสาน
อ.เชาวลิต สิมสวย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นายประสาร มฤคพิทักษ์
นายสมัคร ชาลีกุล
น.พ.บัญชา พงษ์พานิช
องค์กร มูลนิธิ สมาคม
เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม [Social Venture Networks Asia(Thailand)]
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO Coordinating Committee on Development,
NGO-COD)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน(NGO Coordinating Committee on
Rural Development in the Northeast)
มูลนิธิหมู่บ้าน (Village Foundation)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(Campaign for Popular Democracy)
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(Thai Volunteer Service)
คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา(Thai Development Support Committee)
โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ(Project for Ecological Recover)
มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย(Human Settlement Foundation)
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(Foundation for Consumers)
มูลนิธิเด็ก(Foundation for Children)
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ศูนย์ประสานงานกรรมกร
พันธมิตรองค์กรแรงงาน 15 องค์กร
นายนุกูล บวรศิรินุกุล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที จำกัด(มหาชน)
พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ประธานศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
นายสมศักดิ์ พงศ์ภัณฑารักษ์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
นายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ
สมัชชาคนจน
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อปฎิรูปการเมือง
สหพันธ์องค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยาง
กลุ่มพัฒนาภาคตะวันออก
กลุ่มพัฒนา บ่อเวฬุ ขลุง จันทบุรี
กลุ่มพัฒนาแก่งหางแมว จันทบุรี
กลุ่มพัฒนาพวา จันทบุรี
กลุ่มพัฒนาสามพี่น้อง จันทบุรี
กลุ่มพัฒนาขุนซ่อง จันทบุรี
กลุ่มพัฒนาบ้านนา ระยอง
กลุ่มพัฒนากระแสบน ระยอง
กลุ่มพัฒนาคลองปูน ระยอง
กลุ่มพัฒนากองดิน ระยอง
กลุ่มพัฒนาลาดกระทิง ระยอง
องค์กรเครือข่ายภูมิปัญญาไทย
ศูนย์สุขภาพชุมชน อ.แม่ริม
เครือข่ายงานพัฒนาเพื่อส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์และอาชีพเชียงใหม่
กลุ่มเกษตรกรพึ่งตนเอง
เครือข่ายแผนแม่บท จ.พะเยา
เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จ.พะเยา
ศูนย์รวมน้ำใจธนาคารหมู่บ้าน
กลุ่มเกษตรยั่งยืน
ประชาคมฮักนาน้อย
เครือข่ายชุมชนพัฒนา อ.เวียงสา
เครือข่ายติ๊บจ้าง
เครือข่ายมดตะนอย
เครือข่ายแสนผญา
เครือข่ายเกษตรผสมผสาน อ.ลี้
กลุ่มพัฒนาอาชีพ (ชีวภาพ) จ.แพร่
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลาดบัวหลวง
เครือข่ายครูเพื่อเด็กเพื่อชุมชน
เครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก
กลุ่มเกษตรทำนาประดู่ยืน
เครือข่ายแผนแม่บท ต.ทุ่งพง
ธนาคารสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ
เครือข่ายแผนแม่บทลพบุรี
เครือข่ายหัตถกรรมเพื่อความยั่งยืน
กลุ่มเกษตรกรทำนาแวงน่าง
อาสาสมัครฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในเขตสปก.
เครือข่ายกลุ่มฟื้นฟูเกษตรพื้นบ้าน
เครือข่ายค้ำคูณเกษตรกรไท
เครือข่ายอินแปง
ศูนย์ภูมิปัญญาอินแปง อ.วังสามหมอ
ศูนย์ภูมิปัญญาอินแปง อ.คำม่วง
ชมรมผู้ผลิตข้าวคุณภาพดี
ชมรมรักษ์ธรรมชาติ
ชมรมพัฒนาชาวบุรีรัมย์
เครือข่ายเกษตรนิเวศน์เทพนิมิตร
ชมรมส่งเสริมเกษตรออมทรัพย์โคราช
เครือข่ายออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการครบวงจร จ.กระบี่
เครือข่ายยางพารา
เครือข่ายนาลุ่มน้ำปากพนัง
ชมรมไม้ผลอำเภอลานสกา
เครือข่ายเกลอย่าน
ชมรมไม้ผลอำเภอช้างกลาง
เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน
เครือข่ายครูเพื่อเด็กเพื่อชุมชน
สมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทสงขลา
เครือข่ายกลุ่มวัดอู่ตะเภา ธนาคารชีวิต
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Our Special ref. 001/2006
January 12th, 2006
President George W.
Bush
The United States of America
Washington, D.C. 20520
Your Excellency,
We, Networks for People's and Democratic Movement and Organizations of Thailand, and the undersigned, from Thai civil society groups of academics, environmentalists, farmers, assembly of the poors, labor unions, Anti Corruption Networks, non-governmental organizations, several civic and interested groups of Thai people who will be affected from the policies and executions to be enforced in compliance with the free trade agreements, are writing to express our seriously deep concerns and to oppose to the Prime Minister Thaksin Shinawatra and his subordinates negotiating with the United States Government for the United States-Thailand Free Trade Agreement being scheduled on January 9-11th, 2006 in Thailand.
Fully recognizing the reputation of the United States as the country which promotes democracy and human rights, the foundation of the initiation of ground-work policies for social and economic development, we strongly believe and hope that those two political principles will be respected and applied in their implements by its dealing with the party countries of the United States.
As evidenced in various regions that the enforced policies obligated and implementations to Free Trade Agreement (FTA) have caused the problems as followings on human security, food security, human rights, poverty, environment, bio-safety, education, labor, health and the erosion of state sovereignty leading to people insecurity, the effects of the abovementioned problems need to be seriously considered. Those problems facing us will be eventually developed to further steps of the world insecurity at the end. It is our common concerns and commitment to prevent and terminate all any plausible factors directing to structural violence per se.
In many occasions, we have watched and appealed to the Thai Government to respect the democratic process and human rights whenever negotiation for establishing free trade agreement occurs but they have failed to attract any attentions of those in power; though, some of the appeals have also been made by MPs or Senators but getting the same results. No democratic process, no transparency, no participation of the people, and no accountability to the parliament have been reacted or committed by the Thai government in this regards. Constitutionally speaking, it is the wrongful act of the Thai government to the Thai Constitution, 1997. We do not trust the role of Thai negotiators in making any commitment on behalf of the State or of the Thai people and that wrongfulness will be investigated by several independent institutions in accordance with the Thai Constitution, 1997.
For your acknowledgement
and deliberation on this matter, we would like to bring to you the clauses
in the Constitution of The Kingdom of Thailand B.E.2540 (1997) governing
the said issue as follows:
"Section 224. The King has the prerogative power to conclude a peace
treaty, armistices and other forms of treaties with other countries or international
organizations.
Any form of treaties which provides for a change in the Thai territories
or the jurisdiction of the State or requires the enactment of an Act for
its implementation must be approved by the National Assembly"
The Prime Minister
himself has already reacted to the people's call to bring this issue to
discuss and debate in the parliament by insisting that it is the duty of
the Executive, not the Legislative to decide on the matter.
We, on behalf of all people attempting to make democracy and human rights
functioned, would like to ask for your reconsideration and your distinctive
role to boost up democracy and human rights prior to the entering into motion
of negotiation and establishment of the United States-Thailand Free Trade
Agreement as followed.
a) to go hand-in-hand with us, in our common concerns and commitments, for sustainable development and human security in order to prevent any possible inducement to negative effects from free trade agreements to both of our people.
b) to eliminate any deals which will lead to insecurity to people and their livelihood and to make sure that the negotiation will not begin until the study on its harms is traversed and prevented.
c) the following matters as its transparency, democratic process, accountability and the rights to participate in its decision making to meet with the consensus of people must be recognized.
d) to sign the United State-Thailand Free Trade Agreement only after the Thai government has gone through and strictly observed the clauses in Section 224 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540 (1997)as mentioned above.
On behalf of the Networks for the People's and Democratic Movements and Organizations of Thailand, We would like to express our deep appreciation for your kind consideration on the matter and look forward to receiving good news from your excellency for the good interests and friendships of our two Peoples, as well as for our sustainable relations and equality of our two countries which have long been flourished.
Most sincerely yours,
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 800 เรื่อง หนากว่า 11500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
มีหลักฐานเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลกหลายครั้งหลายหนว่า การบังคับใช้นโยบายและการดำเนินการตามพันธะที่กำหนดในข้อตกลงการค้าเสรี ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา ในด้านความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาความยากจน สภาวะสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านชีวภาพ ด้านการศึกษา สภาพการจ้างงาน สุขอนามัย และการบั่นทอนอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ อันนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของประชาชนทั้งประเทศ ผลกระทบดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องได้รับพิจารณาใคร่ครวญอย่างจริงจัง เพราะเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายที่กำลังขยายไปสู่ความไร้เสถียรภาพของโลกในที่สุด ดังนั้นจึงเป็นทั้งภาระ หน้าที่ และจิตสำนึกของมวลประชาชาติที่จะต้องป้องกันและหยุดยั้ง ปัจจัยที่เลวร้ายต่างๆดังกล่าว เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปสู่ความรุนแรงในเชิงโครงสร้างของทั้งโลก