The Midnight University
เกี่ยวเนื่องกับการคัดค้านเอฟทีเอไทยกับสหรัฐที่เชียงใหม่
หยุดเอฟทีเอ
หยุดแปรรูประเทศ สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
เจริญ
คัมภีรภาพ และ กลุ่มศึกษาปัญหาการค้าเสรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมรณรงค์สนับสุนนผ่านสื่อออนไลน์
เอกสารต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากนักวิชาการและองค์กรพันธมิตร
ซึ่งกำลังจับตาเรื่องการเจรจาเขตการค้าเสรี(ทวิภาคี)ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจาการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯที่เชียงใหม่
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ประกอบด้วยเอกสาร ๓ ชิ้นคือ
๑. ร่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ
สัมปทานประเทศไทย
๒. หยุดเอฟทีเอ
หยุดแปรรูปประเทศ สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
๓. เครือข่ายประชาชน ๑๐ เครือข่ายนับหมื่นคนบุกเชียงใหม่ ๙ มกราคม ๔๙
๔. ชีพจรรายวันคัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ ที่เชียงใหม่
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 799
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
30 หน้ากระดาษ A4)
หยุดเอฟทีเอ หยุดแปรรูประเทศ
สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมรณรงค์สนับสุนนผ่านสื่อออนไลน์
๑. ร่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สัมปทานประเทศไทย
ข้อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.
... จับตา...การสัมปทานประเทศไทย
เจริญ คัมภีรภาพ (รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา
และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร)
เอกสารประกอบการชี้แจ้งในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ ๓๐๙ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒
รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้นำประเทศไทยเข้าสู่ระบบเสรีนิยมใหม่
และเดินตามแนวทางฉันทามติแห่งวอชิงตัน (Washington consensus) อย่างออกนอกหน้าและอย่างไม่มีอนาคต
โดยละทิ้งยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน และ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไป
โดยผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและกฎหมายโดย การนำประเทศเข้าสู่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีนิยม
(bilateralism) การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เพื่อเอื้ออำนวยแก่นักลงทุนจากต่างชาติ
เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ซึ่งได้ยื่นหมูยื่นแมวในการเจรจาจัดตั้งข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง
ๆ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเปลี่ยนสถานะ ทางทรัพย์สิน และ บริการสาธารณะจากของรัฐมาเป็นของเอกชน
และพยายามเข้าควบคุมบริการสาธารณะโดยเฉพาะด้านพลังงานผ่านกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ในความเคลื่อนไหวทางนโยบายและกฎหมาย ได้มีการจัดทำร่างกฎหมายหลายฉบับเพื่อจะได้ตอบสนองต่อการใช้อำนาจรัฐเข้าควบคุมบังเหียน การใช้อำนาจรัฐเพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมตัดสินใจผูกขาดอำนาจในทางการเมือง เศรษฐกิจ และทิศทางรูปแบบการพัฒนา ต่อไปในอนาคตอย่างยาวนาน โดยเฉพาะร่างระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... การปกครองพิเศษ หรือ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการนครท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. .... ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่มีเป้าหมายตอบสนองต่อการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงในตัว "อำนาจ" ผู้กระทำการตามกฎหมาย เพื่อเตรียมการเข้าไป สัมปทานประเทศไทย สมควรที่ประชาชน สื่อมวลชนที่มีวิญญาณเสรีจะได้จับตาตรวจสอบติดตามความเคลื่อนไหวนี้อย่างใกล้ชิด จากแผนบันได 3 ขั้นกล่าวคือ
๑. การนำประเทศเข้าสู่กับดักทางนโยบาย โดยการนำประเทศไทยเข้าไปผูกมัดกับข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ FTA (Free Trade Agreement) ทั้งนี้เนื่องจากแก่นสารสาระสำคัญอันหนึ่งที่ไม่เคยเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมากับประชาชน ต่อการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีก็คือ ภาวะจำยอมของประเทศไทยที่จะต้องสยบยอมกับข้อผูกมัดระหว่างประเทศ (International obligations) ตลอดไปตามที่ได้ตกลงไว้ ซึ่งครอบคลุมอำนาจการตัดสินใจของประเทศ คนไทยในอนาคต ต่อองค์กรทางการเมืองทุกองค์กร รวมถึงพระราชอำนาจ
ซึ่งในจำนวนข้อตกลงทั้งหมดนี้นั้น
ล้วนแล้วแต่เป็นการคัดลอกหลักการที่เปรียบเสมือนเครื่องมือ การเข้าไปแสวงประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของบรรษัทข้ามชาติ
(Trans-national companies) ที่สร้างความย่อยยับต่อประเทศต่าง ๆ มาแล้ว ใต้ร่มเงาตามแนวทางลัทธิเสรีนิยมใหม่
(Neo-liberalism) ประกอบกับฉันทามติแห่งวอชิงตัน โดยประเทศไทยจะต้องยอมให้มีการเปิดเสรีด้านบริการทุก
ๆ ด้าน การเปิดให้ยอมรับในเงื่อนไขการลงทุนอย่างเข้มงวด การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเหนือกว่ากรอบข้อตกลงขององค์การการค้าโลก
หรือ ทริปผนวก (TRIPs Plus) ครอบคลุมวิถีชีวิตคนตั้งแต่เกิดจนตาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
การถูกบังคับในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การลดข้ออุปสรรคทางการค้าในการเข้าสู่ตลาดสินค้าทุกชนิด
รวมถึง
จีเอ็มโอ (GMOs) ฯลฯ
การทำข้อตกลง FTA นอกจากจะได้ประโยชน์กับคนกลุ่มน้อยแวดล้อมผู้มีอำนาจแล้ว ผลพลอยได้ที่ตามมา จะเป็นเหตุให้รัฐบาลสามารถกล่าวอ้างต่อประชาขนต่อมา ถึงเหตุผล ความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในที่สุดรัฐบาลก็จะกล่าวอ้างว่า ไม่ใช่ความต้องการของรัฐบาลหรือคนภายในรัฐบาลบางกลุ่ม หากแต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องทำตามพันธะสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศ การทำ FTA จะเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลนี้ใช้เป็นข้ออ้างที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายต่อไป ซึ่งจะสวนทางกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชนไทย
อีกนัยหนึ่งของยุทธวิธีการทำ FTA อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง "เหตุ" แห่งการเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน เพื่อจะได้อาศัยเหตุที่ว่านี้มาสู่การริเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายที่อาจจะเอื้อประโยชน์ และนำไปสู่การสัมปทานประเทศไทยตามมาได้ ดังกรณีร่าง พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... ที่พิจารณากัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... คือตัวอย่างร่างกฎหมายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากหลักการเหตุผลความจำเป็น เพื่อเป็นกรอบในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมไทยและการกินดีอยู่ดีของประชาชนไทย หากแต่กฎหมายนี้ได้ที่สะท้อนถึงการจัดทำกฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อคนเฉพาะกลุ่ม และเป็นการสร้างเครื่องมือในทางกฎหมาย เพื่อเตรียมการเข้ายึดสัมปทานประเทศไทยต่อไปอย่างครบวงจรและบูรณาการ
ในประการสำคัญ ร่างกฎหมายนี้มุ่งกระทำต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการใช้อำนาจรัฐใหม่ เพื่อสร้างบันได ปูทาง และเอื้อประโยชน์ในการบริหาร การเลือกรูปแบบกิจกรรม โครงการ และทิศทางการพัฒนาในพื้นที่ ที่ได้จัดตั้งขึ้น โดยจะเกิดอภิมหาโปรเจ็ค (mega projects) ในโครงสร้างพื้นฐาน การค้าขายเก็งกำไรที่ดิน อีกทั้งกระบวนการรองรับกับโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงกับการบริการในรูปของดิจิตอล (digital) อย่างสมบูรณ์แบบ มิพักต้องมาตั้งคำถามว่า ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... นี้จะนำไปสู่การกระจายรายได้ สร้างและเพิ่มโอกาสให้ประชาชนในทางเศรษฐกิจอย่างไร จะสร้าง หรืออุดช่องว่างการพัฒนาที่ไม่สมดุลระหว่างชนบทและเมืองอย่างไร จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร จะแก้ปัญหาความยากจน ความเสื่อมโทรม ทางด้านฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของประเทศ ตลอดจนจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพัฒนาได้หรือไม่ ในทางตรงกันข้ามร่างกฎหมายนี้กลับยิ่งทำให้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมายิ่งเลวร้ายลงอย่างคาดการณ์ได้ไม่ยาก
๓. ผลของร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... ในแผนการขั้นสุดท้ายที่ ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ..นี้จะตอบสนองคือ การรองรับกลุ่มผลประโยชน์ ที่จะเข้ามาบริหารจัดการดูแลคุมบังเหียนใช้อำนาจในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ผ่านโครงการ รูปแบบกิจกรรมที่ดึงดูดงบประมาณเงินภาษีอากรของประชาชนมาใช้ในโครงการต่าง ๆ โดยร่างกฎหมายนี้จะสร้างความชอบธรรมในทางกฎหมายเพื่อการใช้อำนาจและการตัดสินใจที่ว่านี้ โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่นและระบบการบริหารการปกครองท้องถิ่น รวมถึงการกระจายอำนาจ ไม่อาจทำงานได้ต่อไป การสัมปทานประเทศไทย ผ่านร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... จึงเกิดขึ้นได้จริงตามแผนบันได 3 ขั้นดังที่กล่าวมา
ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายคนหนึ่ง รู้สึกอับอายขายหน้ามากที่เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... นี้จะเป็นตัวอย่างของการใช้กฎหมายที่เดินสวนทางกับปรัชญาพื้นฐานทางนิติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด ร่างกฎหมายนี้นอกจากจะเป็นอันตรายต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาวต่อไปแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายและภาพลักษณ์ที่ตกต่ำของนักกฎหมายและกระบวนการร่างกฎหมายไทยอย่างสุดที่จะอธิบายได้
การบริหารจัดการประเทศบนฐานความรู้ (knowledge management) ยังห่างไกลอีกมาก และนี่คือ ตัวแทนของระบบคอรัปชั่นสายพันธุ์ใหม่ และเกิดจากผลพวงอันอันตรายจากการใช้อำนาจรัฐที่เสียดุล สังคมไทยต้องปฏิรูปการเมืองใหม่อีกครั้ง...มิฉะนั้นประเทศไทยจะไม่เหลืออะไรอีกเลย....
๒. หยุดเอฟทีเอ หยุดแปรรูปประเทศ
สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
กลุ่มศึกษาปัญหาการค้าเสรี
ในวันที่ 9-13 มกราคม 2549 นี้ เครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กรได้เตรียมชุมนุมคัดค้านการค้าเสรี ที่จะมีการตกลงกันระหว่างรับบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่จังหวัดเชียงใหม่
กล่าวได้ว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้วกับหลายประเทศ
เช่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอยู่ระหว่างการเจรจากับอีกหลายประเทศ ที่สำคัญ
ๆ คือ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอ้างว่าการเปิดเสรีการค้าจะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล แต่จากการติดตามข้อมูลของกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
(FTA-Watch Group) พบว่าเอฟทีเอจะทำให้
1 เกษตรกรล้มละลาย เกษตรกรรมของชาติล่มสลาย
การเปิดเสรีสินค้า หมายถึงการลดกำแพงภาษีศุลกากรหรือภาษีนำเข้าให้มากที่สุด
จนถึง 0 % คือไม่เก็บภาษีศุลกากรเลย การเปิดเสรีสินค้าเกษตรกับประเทศจีน ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ทำให้สินค้าเกษตรจำพวกผักผลไม้เมืองหนาว หอม กระเทียม
ข้าวโพด ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์เนื้อ นม ซึ่งมีราคาถูกกว่าต้นทุนการผลิตในบ้านเรามากทะลักเข้ามา
ส่งผลให้ราคาผักผลไม้โดยทั่วไป (ทั้งที่เป็นชนิดเดียวและคนละชนิดกับที่นำเข้า)
ลดต่ำลงเฉลี่ย 35-70% ทำให้เกษตรกรรายย่อยนับล้าน ๆ คน ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในไม่ช้า
ดูเหมือนว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์เพราะได้ซื้อสินค้าราคาถูกลง แต่ในไม่ช้าเมื่อเกษตรกรรายย่อยพากันเลิกอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เราก็จะสูญเสียความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร ต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ หรือพึ่งพาอาหารจากระบบผลิตแบบอุตสาหกรรม ประสบการณ์จากประเทศเม็กซิโกพบว่า แม้ราคาข้าวโพดจากอเมริกาถูกกว่าข้าวโพดของชาวไร่เม็กซิกันครึ่งต่อครึ่ง แต่ราคา "ทอร์ทิลญ่า" หรือแป้งข้าวโพดซึ่งเป็นอาหารหลักของพวกเขากลับมีราคาแพงขึ้นถึง 300 % ในช่วง 10 ปีของการลงนามเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา
2 บรรษัทข้ามชาติผูกขาดพันธุกรรม
ในการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ ข้อเรียกร้องของสหรัฐข้อหนึ่งคือ การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต
ซึ่งจะทำให้บรรษัทข้ามชาติจากสหรัฐสามารถใช้ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยี
นำข้าวหอมมะลิ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนพืชสมุนไพร ทรัพยากรชีวภาพ
และพันธุกรรมประเภทต่าง ๆ ไปวิจัยต่อยอดหรือตัดแต่งเพียงเล็กน้อย แล้วจดสิทธิบัตรได้ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย
ส่งผลให้เกษตรกรที่ซื้อพันธุ์พืชซึ่งจดสิทธิบัตรแล้ว จะต้องจ่ายเงินซื้อพันธุ์ไปตลอด
ไม่สามารถเก็บรักษาพันธุ์ไปปลูกต่อ เกษตรกรไม่สามารถแจกจ่ายหรือแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ระหว่างกัน
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสำคัญในการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
3 คนป่วยไข้กินยาแพง
ขาดแคลนหมอรักษา
ถ้ามีการตกลงทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา จะส่งผลให้การผูกขาดสิทธิบัตรยาขยายจาก
20 ปี เป็น 25 ปี
และส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ ซึ่งจะไม่สามารถผลิตยาชื่อสามัญขึ้นมาแข่งขันได้
ทำให้ยามีราคาแพงขึ้น โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้ใช้ยาชื่อสามัญซึ่งมีราคาถูกกว่ายาต้นตำรับก็น้อยลง
ในกรณีผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์ ที่จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตลอดชีวิตนั้น พบว่ายาต้านไวรัสหลายตัวติดสิทธิบัตร หากมีการขยายอายุสิทธิบัตร ก็จะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อหมดโอกาสได้รับยา เนื่องจากราคายาจะแพงขึ้นมาก ยารักษาโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น มะเร็ง ไต ฯลฯ ก็จะมีราคาแพงขึ้นด้วย และหมดโอกาสที่จะเข้าไปอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub) เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทันตกรรม สปา และนวดแผนไทย อีกทั้งยังมีนโยบายทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่รวมถึงการเปิดเสรีบริการด้านสุขภาพ จากการศึกษาของกระทรวงพาณิชย์พบว่าในปี 2544 มีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการจากโรงพยาบาลเอกชน 7 แห่ง มากถึง 470,000 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ถึงร้อยละ 38 ขณะที่ในปี 2545 มีจำนวนผู้ป่วยต่างชาติ 630,000 ราย จากโรงพยาบาลเอกชน 33 แห่ง ขณะนี้ประเทศไทยมีแพทย์ 27,000 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก (แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 2,400 คน) ถ้าเอาชาวต่างชาติเข้ามารักษามากขึ้นในขณะที่แพทย์ไทยมีน้อยอยู่แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อแพทย์และพยาบาลพากันลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น ใครจะดูแลผู้ป่วย 30 บาท ?
แน่นอนว่าผู้ได้รับประโยชน์คือกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ ซึ่งทำการกว้านซื้อหุ้นไว้แล้วจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ นายวิชัย ทองแตง ซึ่งเป็นทนายว่าความคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ใครได้ใครเสียจากการเจรจาเอฟทีเอ
(เอฟทีเอ กลุ่มได้ กลุ่มเสีย)
ไทย-ออสเตรเลีย
- ไทยลดภาษีเนื้อและผลิตภัณฑ์นม
- ไทยลดภาษีแร่
- ออสเตรเลียเปิดรับการลงทุนด้านโทรคมนาคม
-ออสเตรเลียลดภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ - กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก
- ธุรกิจนำเข้าสินแร่ เช่น ทองคำ และทองแดง
- บริษัทที่นำเข้านม และผลิตภัณฑ์
- ธุรกิจดาวเทียม และบริษัทโทรคมนาคมอื่น ๆ
- สิ่งทอ - เกษตรกรโคนม
- เกษตรกรโคเนื้อ
ไทย-นิวซีแลนด์
- ไทยลดภาษีเนื้อและผลิตภัณฑ์นม
- นิวซีแลนด์เปิดรับการลงทุนด้านโทรคมนาคม
- นิวซีแลนด์ลดภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ -กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก
- บริษัทที่นำเข้านม และผลิตภัณฑ์
- ธุรกิจดาวเทียม และบริษัทโทรคมนาคมอื่น ๆ
- สิ่งทอ
- ธุรกิจอาหาร และบริการบางสาขา - เกษตรกรโคนม
- เกษตรกรโคเนื้อ
ไทย-จีน
- ลดภาษีผักและผลไม้เหลือ 0 %
- เกษตรกรปลูกหอมกระเทียม
- เกษตรกรที่ปลูกผักเมืองหนาว
- เกษตรกรทั่วไป
ไทย-สหรัฐฯ
- ไทยลดภาษีข้าวโพด ถั่วเหลือง
- ไทยยอมรับระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ
- ไทยเปิดเสรีการลงทุนและบริการ - บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อุตสาหกรรมการส่งออกไก่
กุ้ง และธุรกิจอาหารสัตว์
- ธุรกิจสิ่งทอ
- ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์
- กลุ่มทุนขนาดใหญ่ร่วมทุนกับต่างประเทศ - เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง
- เกษตรกรทั่วไปที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ต่างประเทศ
- ผู้ป่วยซื้อยาแพง
- ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่ต้องแข่งขันกับบริษัทสหรัฐ
- กลุ่มทุนธนาคาร ?
หยุดแปรรูปประเทศ
ด้านสาธารณูปโภค
รัฐบาลเร่งดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภคที่เคยเป็นบริการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างจริงจัง
ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม การพลังงาน การประปา การศึกษา
และสาธารณสุข บทเรียนจากการแปรรูปกิจการ ปตท. พบว่าเมื่อเปิดขายในตลาดหุ้น
ขายหมดภายใน 1.7 นาที และมีเพียงกลุ่มทุนใหญ่ในรัฐบาล และใกล้ชิดรัฐบาลที่ได้ครอบครองหุ้นจำนวนมาก
ขายสมบัติของชาติไปในราคา 35
บาทต่อหุ้น ปัจจุบันหุ้นมีราคาเกินกว่า 200 บาท สร้างกำไรมหาศาลแก่กลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง
การแปรรูปกิจการการไฟฟ้าเข้าตลาดหุ้นก็คงมีสภาพไม่ต่างกัน คือเป็นการยักยอกทรัพย์สินส่วนรวมของคนในชาติไปเป็นสมบัติส่วนตัวของคนไม่กี่กลุ่มอย่างไม่มีความละอาย
ด้านการศึกษา
กิจการที่เป็นบริการทางสังคมที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือบริการด้านการศึกษา เราคงเคยได้ยินคำว่า
"มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ" แปลไทยเป็นไทยคือ ออกนอกระบบรัฐไปเป็นของเอกชน
รัฐยกเลิกการอุดหนุน
เปลี่ยนเป็นจัดการบริหารแบบเอกชน ขณะนี้มหาวิทยาลัยของรัฐกำลังทยอยกันออกนอกระบบ
ในอนาคตมหาวิทยาลัยเหล่านี้ต้องดิ้นรนหาเงินเลี้ยงตัวเอง หลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาสติปัญญาของชาติแต่ไม่ทำเงินก็อาจถูกตัดออก
ต้องลดบริการที่เป็นบริการสังคม บริการสาธารณะ และที่สำคัญต้องขึ้นค่าเล่าเรียน
ลูกศิษย์จะกลายเป็นลูกค้า ลูกหลานชาวไร่ชาวนา ลูกคนมีรายได้น้อยต้องกู้เงินเรียนมหาวิทยาลัย
เมื่อจบออกมาต้องหางานทำใช้หนี้
ด้านอภิมหาโครงการ
ยิ่งไปกว่านั้น เมกะโปรเจกนับแสนแสนล้านบาทถือเป็นเค้กก้อนใหญ่ยักษ์ ล่าสุดรัฐบาลประกาศเปิดให้ทูตประเทศต่าง
ๆ มาเสนอประมูลโครงการ โดยอ้างว่าประเทศไทยขาดแคลนทั้งทุนทางปัญญาและทุนทรัพย์
ต้องเปิดประเทศ เปิดโครงการให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยพัฒนา กลุ่มทุนนักการเมืองรัฐบาลเหล่านี้ต่างพากันทำตัวเป็นนายหน้าค้าประเทศ
เปิดทางให้บรรษัทต่างชาติเข้ามากอบโกยกำไรในนามของการพัฒนากันอย่างโจ๋งครึ่ม
สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
เห็นได้ชัดเจนว่าแนวทางการพัฒนาประเทศดังที่กล่าวมา ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ
กลุ่มทุนต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดรัฐบาล ในขณะที่เกษตรกรนับล้านต้องสูญเสียอาชีพ คนไทยต้องซื้อยา
และจ่ายค่าบริการสาธารณสุขในราคาแพง คนไทยต้องจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เช่น น้ำและไฟฟ้าในราคาที่ให้กำไรแก่เจ้าของหุ้น โอกาสที่ลูกหลานคนจน คนมีรายได้ไม่มากนักจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยน้อยลงไปทุกที
ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องมาช่วยกันหยุดยั้งแนวทางการพัฒนาที่อ้างว่าจะมอบความมั่งคั่งร่ำรวย แต่ในความเป็นจริงกลับสร้างหนี้สินล้นพ้นตัว แนวทางการพัฒนาที่มุ่งแข่งขันผลิตเพื่อส่งออก แต่กลายเป็นว่าคนไทยต้องไปซื้อของแพงมากินมาใช้ ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะหันมาพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อที่จะสามารถยืนอยู่บนขาที่แข็งแรงของตนเอง ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประชาชนคนไทยต้องออกมาแสดงตัว แสดงพลัง ลุกขึ้นทวงคืนประเทศไทย
๓. เครือข่ายประชาชน
10 เครือข่ายนับหมื่นคนบุกเชียงใหม่ 9 มกราคม 49
ต้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ - สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย,
5 มกราคม 2549
ที่สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 11.00 น. เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทั่วประเทศ 10 เครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, เครือข่ายสลัมสี่ภาค, สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์, สมัชชาคนจน และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch) ได้ร่วมกันแถลงข่าวการระดมพลนับหมื่นคนบุกเชียงใหม่เพื่อต่อต้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ แกนนำกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch) กล่าวว่า การระดมพลเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่สุดเพื่อต่อต้านการทำเอฟทีเอไทย-สหรัฐ ทั้งนี้จะมีการระดมพลมากกว่าหนึ่งหมื่นคน จากเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเอฟทีเอจำนวน 10 เครือข่ายเข้าร่วมคัดค้าน โดยจะเริ่มต้นการชุมนุมตั้งแต่เช้าตรู่วันที่ 9 มกราคม เป็นต้นไป
ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาของกลุ่มสอดคล้องกับการศึกษาของนักวิชาการ และสถาบันวิจัยต่างๆที่พบว่า การทำเอฟทีเอจะเกิดผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่จะต้องใช้ยาแพง สร้างผลกระทบต่อเกษตรกร เปิดโอกาสให้บรรษัทข้ามชาติเข้ายึดครองทรัพยากรของประเทศ เปิดให้มีการลงทุนอย่างกว้างขวางรวมทั้งมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของต่างชาติ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบแทบทุกกลุ่ม มีกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเท่านั้นที่ประโยชน์
เท่าที่ผ่านมาได้มีการเสนอความเห็นจากนักวิชาการแต่รัฐบาลไม่ยอมรับฟังแม้แต่น้อย ยังคงเดินหน้าการทำเอฟทีเอต่อไปทั้งๆที่ผลจากการการทำเอฟทีที่ผ่านมาพบว่าทำให้ประเทศไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นล้าน เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการชุมนุมใหญ่ภายใต้คำขวัญ "หยุดเอฟทีเอ หยุดแปรรูประเทศ สร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม" อันเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นภายใต้รัฐธรรมนูญ
ด้านนายกมล อุปแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะมีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศส่งตัวแทนเข้าร่วมคัดค้านกว่า 2,000 คน "ขณะนี้ยาที่ใช้ในการรักษาก็มีราคาแพงมากอยู่แล้ว ผู้ติดเชื้อแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายด้านยาเดือนละนับหมื่นบาท การทำเอฟทีเอจะทำให้ยาที่เรากินมีราคาแพงขึ้นไปอีก "
โดยนอกจากผู้ติดเชื้อที่จะได้รับผลกระทบแล้วผู้ป่วยเรื้อรังและคนไทยทุกคนที่ต้องซื้อยาทุกคน จะต้องซื้อยาในราคาที่แพงขึ้นเหมือนๆกัน เพราะผลจากการขยายอายุสิทธิบัตรออกไปทำให้มีการผูกขาดยามากขึ้น
จากการศึกษาของนักวิชาการทั้งในออสเตรเลียและในประเทศไทยพบว่า ราคายาจะแพงขึ้นมากตั้งแต่ 30% จนถึง 500% จะมีการซื้อยาในราคาแพงเพิ่มขึ้นนับแสนล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้ามีการลงนามเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา
ส่วนนายอุบล อยู่หว้า จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกแถลงว่า การทำเอฟทีกับสหรัฐจะเป็นการทำลายเศรษฐกิจแบบพอเพียง เกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลือง ข้าวโพด และเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกพืชชนิดเดียวกับสหรัฐ จะได้รับผลกระทบหมด การทำเอฟทีกับสหรัฐนั้นจะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรกรรมของไทย เพราะนอกจากประเทศไทยจะต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้อเมริกาแล้ว ยังจะต้องเปิดเสรีพืชจีเอ็มโอ และมีการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาด้วย
หลังวันที่ 4 ธันวาคม 2549 นายกรัฐมนตรีชอบพูดว่ารัฐบาลจะเดินตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง แต่ในทางปฏิบัติกลับทำในสิ่งตรงข้าม มีเฉพาะบริษัทเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทที่ส่งออกกุ้งและไก่ รวมทั้งบริษัทรถยนต์ บริษัทส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากการทำเอฟทีเอครั้งนี้ ชาวนาที่ปลูกข้าวไม่รับผลประโยชน์ใดๆ เพราะว่าฝ่ายสหรัฐจะไม่มีการลดการอุดหนุนลงภายใต้การเจรจาเอฟทีเอ ในทางตรงกันข้ามบริษัทสหรัฐจะสามารถเข้ามาจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ พันธุ์พืชสมุนไพรของไทย เพราะฝ่ายสหรัฐเรียกร้องให้ไทยแก้กฎหมายรับรองการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต
ด้านนางกิมอัง พงษ์นารายณ์ จากสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนกล่าวว่า ผลจากการทำเอฟทีเอกับจีนนั้น ส่งผลให้เห็นแล้วอย่างชัดเจน ขณะนี้เกษตรกรที่ปลูกหอม กระเทียมต้องลดพื้นที่ปลูกไปแล้วเกือบครึ่งหนึ่ง ราคาหอมกระเทียมไทยราคาตกลงอย่างมาก พ่อค้าจีนเข้ามาเต็มไปหมด สิ่งที่รัฐบาลบอกว่าจะมีโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเลย
"ดังนั้นจึงขอฝากเตือนบอกกับพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลือง ข้าวโพด องุ่น มันฝรั่งนับล้านๆคนว่า ต่อไปจะเป็นรอบของท่านที่จะได้รับผลกระทบ หลังจากพวกที่ปลูกผัก และผลไม้เมืองหนาวได้รับผลกระทบมาแล้วจากเอฟทีเอไทย-จีน หากรัฐบาลเดินหน้าทำเอฟทีเอต่อไป เกษตรกรที่ยากจนและเต็มไปด้วยหนี้สินจะไม่มีที่ให้ยืนในประเทศนี้อีกแล้ว"
ด้านนายศิริชัย ไม้งาม เลขาธิการสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า สสร.ขอผนึกกำลังร่วมเคลื่อนไหวครั้งนี้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชนอีก 9 เครือข่ายด้วย การทำเอฟทีเอกับสหรัฐไม่ใช่เป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่เป็นการเปิดการแปรรูปประเทศไทยทั้งหมด
สหรัฐเรียกร้องให้ฝ่ายไทยเปิดการลงทุนทุกเรื่อง รวมทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และรัฐวิสาหกิจทุกอย่าง ความต้องการของต่างชาติจึงตรงกับความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถไว้วางใจได้อีกต่อไป ประชาชนไทยต้องเรียนรู้ประสบการณ์ของประชาชนในลาตินอเมริกา ที่พบว่าหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟแพง จนต้องออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อล้มล้างการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีแห่งอเมริกา หรือ FTAAs (Free Trade Ares of the Americas) ซึ่งมีการชุมนุมนับแสนคนๆ เมื่อปลายปีที่แล้ว จนขณะนี้แผนการทำข้อตกลง FTAAs ได้หยุดชะงักลง
ด้านนางประทิน เวคะวากยานนท์จากเครือข่ายสลัมสี่ภาค และนางคุณสมบุญ สีคำดอกแค จากสมัชชาคนจนแถลงเพิ่มเติมว่า การชุมนุมประท้วงครั้งนี้จะแหลมคมยิ่งกว่าการชุมนุมต่อต้านเอฟทีเอไทยสหรัฐรอบ 3 ที่พัทยา ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลก็มิได้รับฟังข้อเรียกร้องแต่ประการใด
การชุมนุมครั้งนี้เราจะยื่นข้อเสนอเป็นทางการต่อรัฐบาลให้สัญญาว่า จะไม่การแปรรูปน้ำไฟและรัฐวิสาหกิจที่สร้างผลกระทบต่อคนจน ไม่ยอมตามเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเปิดตลาดสินค้าเกษตร เป็นต้น โดยเราจะชุมนุมกดดันไม่ยอมถอยจนกว่ารัฐบาลจะให้สัญญากับเรา
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม จากสหพันธ์องค์ผู้บริโภคยังได้เรียกร้องให้ประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทำเอฟทีเอไทย-สหรัฐ เช่น กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมและท่องเที่ยวขนาดเล็ก ผู้ประกอบการร้านเสริมสวย พนักงานบริษัททางการเงิน ผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ ผู้บริโภค ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่หวงแหนอธิปไตยของประเทศเข้าร่วมชุมนุม และสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้
"ท่านคงเห็นได้ว่าตลอดเวลาของรัฐบาลชุดนี้
องค์กรอิสระต่างถูกแทรกแซง แม้แต่รัฐสภาก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ มีแต่การลุกขึ้นสู้ร่วมกันของประชาชนเท่านั้นที่จะหยุดเอฟทีเอ
หยุดการแปรรูปประเทศ และสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรมได้ เราขอเชิญชวนให้ทุกท่านเข้าร่วมการชุมนุม
และให้การสนับสนุนเครือข่ายองค์กรประชาชน 10 เครือข่ายในการเคลื่อนไหวครั้งนี้"
โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากเว็บไซท์ www.ftawatch.org
หรือติดต่อศูนย์ประสานงานการเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้ที่ 09-770-1872 (กรรณิการ์)
, 09-927-1268 (สายรุ้ง)
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
801/ 8 ถ.งามวงศ์วาน ซ.งามวงศ์วาน 27 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร.02-952-7953 โทรสาร 02-591-5076
รายงานล่าสุดวันต่อวันเกี่ยวกับการคัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ
ที่จังหวัดเชียงใหม่
4.1
เอฟทีเอว็อทช์ประกาศขอรับบริจาคสนับสนุนการเคลื่อนไหว
เพื่อปกป้องพี่น้องเกษตรกรนับล้านครอบครัวไม่ให้ล่มสลาย เพื่อรักษาชีวิตคนไทยนับล้านๆไม่ให้เสียชีวิตและเป็นทาสของบรรษัทยาข้ามชาติ
เพื่อปกป้องทรัพยากรชีวภาพและธรรมชาติไม่ให้ถูกยึดครอง และเพื่อป้องกันกิจการน้ำ
ไฟฟ้า และยาไม่ให้ถูกแปรรูปไปอยู่ในมือต่างชาติ
ท่านสามารถสนับสนุนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 10 องค์กร โดยการบริจาคเงิน อาหาร และอื่นๆ โดยสามารถสนับสนุนได้โดยตรง ณ พื้นที่ชุมนุมหน้าโรงแรมเชอราตัน หรือประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม 2549 หรือโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้
1. บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
สาขารัชดาภิเษก2 ชื่อบัญชีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนาจำกัด บัญชีออมทรัพย์
หมายเลข 075-2-13028-2
2. บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขารัชดาห้วยขวาง ชื่อบัญชีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนาจำกัด
บัญชีสะสมทรัพย์ 055-0-02655-3
3. บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขารัชดาห้วยขวาง ชื่อบัญชีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนาจำกัด
บัญชีออมทรัพย์ 089-2-43480-8
4. บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขารัชดาภิเษก ชื่อบัญชีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนาจำกัด
บัญชีออมทรัพย์ 151-1-18655-8
หลังจากโอนเงินแล้วโปรดแจ้งที่ 02-691 1217 และ 06-5716661 เงินบริจาคทั้งหมดจะถูกโอนให้กับกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์สำหรับใช้ประโยชน์ในการเคลื่อนไหวคัดค้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ (ผู้อำนวยการ องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย)
หมายเลข 09-4497330 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง (เลขาธิการ มูลนิธิผู้บริโภค) หมายเลข
01-6685840 หรือ นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ (ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก)
หมายเลข 06-3004342
เอฟทีเอว็อทช์ขอบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้
และจะนำเงินและการสนับสนุนจากทุกท่านไปใช้สำหรับการรณรงค์คัดค้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ
อย่างโปร่งใส และเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้ตรวจสอบการใช้เงินได้อย่างเปิดเผย
4.2 จดหมายเปิดผนึกจากตัวแทนแรงงานไทยถึงประธานาธิบดีสหรัฐ
กรณีให้ยุติการเจรจาเอฟทีเอ
หน้าสถานฑูตสหรัฐอเมริกา ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
10 มกราคม 2549
เรื่อง ขอให้ยุติการเจรจาทำข้อตกลง
FTA กับผู้แทนเจรจาประเทศไทย
เรียน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ยอร์ช ดับเบิลยู บุช จูเนียร์
ตามที่ผู้แทนเจรจา FTA ไทยกับสหรัฐอเมริกา ของประเทศสหรัฐอเมริกา และของประเทศไทย ได้จัดให้มีเวทีเจรจาการค้า FTA ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9 -15 มกราคม 2549 นั้น เราในฐานะองค์กรผู้แทนภาคประชาชนในส่วนของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย ซึ่งเคยได้รับเกียรติจากผู้แทนเจรจาฝ่ายแรงงานของสหรัฐอเมริกา เชิญเข้าไปปรึกษาหารือนอกรอบมาหลายครั้ง
ซึ่งจากการเข้าพบกับตัวแทนรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ผู้แทนผู้ใช้แรงงานประเทศไทยได้รับการยืนยันจากตัวแทนรัฐบาลอเมริกาว่า เงื่อนไขที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาคือรัฐบาลไทยต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่อการคุ้มครองสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานตาม 4 กลุ่มอนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประกอบด้วยกลุ่มสิทธิในการสมาคมและเจรจาต่อรอง(ฉบับที่ 87และ 98) กลุ่มการยกเลิกการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ (ฉบับที่ 29 และ 105) กลุ่มว่าด้วยค่าจ้างที่เท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ (ฉบับที่ 100 และ 110) กลุ่มว่าด้วยอายุขั้นต่ำและการยุติการใช้แรงงานเด็ก(ฉบับที่ 138 และ 182)
ในความเป็นจริงการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ และมีการละเมิดสิทธิแรงงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งพวกเราได้ชี้แจงต่อตัวแทนเจรจาฝ่ายแรงงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไปแล้ว และยังได้ชี้แจงแล้วว่า พวกเราได้เสนอร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับอนุสัญญาหลักของ ILO แต่รัฐบาลไทยก็มิได้ดำเนินการตามข้อเสนอของพวกเรา และในทางกลับกันยังได้แก้ไขกฎหมายที่ส่งผลให้ละเมิดสิทธิแรงงานมากขึ้น รวมทั้งกฎหมายจัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ก็มิได้ดำเนินไปตามที่ขบวนการแรงงานเรียกร้อง ซึ่งเรียกร้องมานับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2536 ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 12 ปีที่แล้ว
ในทางปฏิบัติยังมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ฉบับ พ.ศ. 2518 ที่ลงโทษลูกจ้างทั้งจำทั้งปรับ กรณีที่ทำผิดขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นข้อเรียกร้อง แต่เมื่อนายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตาม เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน เจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่สามารถบังใช้กฎหมายกับนายจ้างได้ ดังกรณีของสหภาพแรงงานไก่สดเซนทาโก ถูกเลิกจ้างขณะอยู่ในขั้นตอนของข้อพิพาทแรงงาน และตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กำหนดให้ลงโทษลูกจ้าง ทั้งจำคุก ทั้งปรับหากมีการนัดหยุดงาน
กรณีนี้ผู้เชี่ยวชาญ ILO ได้รายงานในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 93 เมื่อปี 2548 ปรากฏบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือของคณะกรรมการ (Report of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations) ณ กรุงเจนีวา ไว้แล้วว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญา ILO ขั้นพื้นฐานฉบับที่ 105 และเมื่อปี 2544 คนงานสถานีโทรทัศน์ ITV ที่ใช้สิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานก็ถูกนายจ้างเลิกจ้าง
ข้อปรากฎที่ชัดเจนคือจำนวนสหภาพแรงงานในภาคเอกชนของไทยมีเพียงประมาณ 3%ของจำนวนคนงานทั้งหมด และแรงงานไทยยังถูกกีดกั้นการรวมตัวในระดับสหพันธ์แรงงาน และในระดับชาติ กล่าวคือ คนงานรัฐวิสาหกิจและคนงานภาคเอกชน ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ตามกฎหมาย ในการจัดตั้งเป็นสหพันธ์ของคนงานในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน และยังไม่สามารถรวมตัวจัดตั้งเป็นองค์กรเดียวกัน(national center)ได้ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขึ้นพื้นฐานของแรงงานอย่างชัดเจน สิทธิเหล่านี้ พวกเราเคยได้รับมาก่อนเผด็จการ รสช. ยึดอำนาจในปี 2534 จนบัดนี้ สิทธิดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับกลับคืนมา
ในฐานะองค์กรผู้แทนแรงงานไทย จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านยุติการเจรจา FTA ไว้ก่อน เพราะผู้แทนแรงงานไม่ได้มีส่วนร่วมรับรู้ขบวนการนี้ ทั้งนี้รัฐบาลไทยไม่เคยชี้แจงเหตุผลต่างๆ ให้ชัดเจน ซึ่งผลการเจรจา FTA ประเทศไทยจะเป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มพ่อค้านายทุนเท่านั้น ส่วนผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และคนส่วนใหญ่ของประเทศ จะไม่ได้รับประโยชน์ และยังจะทำให้ชีวิตไม่มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือผู้ใช้แรงงานไทยยังถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อย่างรุนแรง ต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ จึงเรียนมาเพื่อทราบ และให้ให้พิจารณาระงับการเจรจา FTA โดยด่วนด้วย จักขอบพระคุณมาก
ขอแสดงความนับถือ
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ศูนย์ประสานงานกรรมกร
พันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน พรรคแนวร่วมภาคประชาชน
สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย กลุ่มคนงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
กลุ่มคนงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ กลุ่มคนงานภาคตะวันออก
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
และ เครือข่ายประชาชนต้านการแปรรูปและเปิดการค้าเสรี
4.3 Eleven People's Alliances and Ten of Thousands Activists
Demand a Stoppage of Negotiation on Life-Critical Issues
(แปลไทยคลิก)
As the
Thai Prime Minister, Mr. Thaksin Shinawatra told the press today "Our
trade representatives do not view the agreement to our disadvantage. It
is a trade-off thing. Discussion means both sides have to trade off their
benefits. We may have to lose some, but the government is overseeing it.
Any clauses that may affect us have to be taken care of. We have to make
some judgment, and what is good for us should be pursued."
The 11 people's alliances comprising the Thai People's Network Against Free Trade Area and Privatization, consisting of the Thai Network of People Living with HIV/AIDS, the Alternative Agriculture Network, the Federation of Consumers (Lampang), the Federation for Northern Farmers, the 4 Regions Slum Network, the Council of People Organizations of Thailand, the Assembly of the Poor, the Student Federation of Thailand, the Southern Community Forest Network, the Southern Land Reform for the Poor, Confederation of State Enterprise Labour Union and the FTA Watch, differ with the Thai PM. We deem that the government is trading off life critical issues and the survival of its people. In doing so, all concerned information should be disclosed as to who will benefit and why the liberalization of telecommunication sector has been excluded from negotiation, even though the issue is not at all critical to life.
The 11 people's alliances
demand the halt of the negotiation on FTA with the US, particularly, on
the following issues;
1. Intellectual Property
1.1. Particularly pertaining drug patenting that the Thai government has agreed to extend protection duration of the patented products and to shrewd measures aimed to protect consumers, the actions of which are not warranted for in WTO's binding agreements, or even under the US's laws itself.
1.2. Life patenting that affects biodiversity and local wisdom
2. Liberalization of agricultural market to pave the ways for the dumping of over-subsidized maize and soybean from US into Thai market and threatens the lives of thousands of small scale farmers
3. Liberalization of investment that guarantees National Treatment rights for US investors particularly on public utilities enterprises including electricity, water and agricultural investment which may affect the nation's food security.
The Thai government must provide credible assurances to public that none of the above life-critical issues will be included in this round of FTA negotiation; otherwise, the 11 alliances will do whatsoever means possible to halt the negotiation.
For more information,
please contact
Kannikar Kittiwetsakul 09-770-1872, Sajin Prachasan 06-771-0313, Nantha
Benjasilalak 01-568-5670
4.4
เครือข่ายประชาชน 11 เครือข่ายนับหมื่นคน
เรียกร้องให้หยุดการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชน
ตามที่นายกรัฐมนตรี
ได้ให้สัมภาษณ์ ว่า "คงไม่มีคณะกรรมการชุดใดที่มองภาพรวมแล้วเราจะเสียเปรียบ
มันเป็นการแลก เพราะเรื่องของการเจรจาเป็นเรื่องของการแลกผลประโยชน์อาจจะเสียตรงนี้ได้ตรงนั้น
ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ดูในภาพรวม จุดไหนที่อาจจะได้รับผลกระทบเราก็ต้องหาทางบรรเทา
ก็ต้องคำนวณ ชั่งน้ำหนักแล้วอะไรดีก็ต้องทำ" พ.ต.ท.ทักษิณระบุ
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทั่วประเทศ 11 เครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, เครือข่ายสลัมสี่ภาค, สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์, สมัชชาคนจน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ(สนนท.) และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)
ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของนายกรัฐมนตรี เพราะสิ่งที่รัฐบาลนำไปแลกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นความตาย ความเป็นอยู่ของประชาชน หากรัฐบาลจะทำแบบนั้นต้องเปิดเผยข้อมูลให้ทราบว่า ใครได้ประโยชน์บ้าง และทำไมไม่เปิดเสรีบริการโทรคมนาคมทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายหรือชีวิตของประชาชนแต่ประการใด
เครือข่ายประชาชนทั้ง 11 เครือข่ายขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะประเด็นต่อไปนี้
1. ทรัพย์สินทางปัญญา
1.1. โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ที่รัฐบาลไทยจะยอมขยายอายุสิทธิบัตรและยกเลิกมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เกินเลยข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ(WTO) และแม้แต่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง1.2. สิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตที่กระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. การเปิดเสรีสินค้าเกษตร ที่จะเปิดให้สินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ที่ได้รับการอุดหนุนจนทำให้ต้นทุนมีราคาถูกเกินจริง จากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาท่วมตลาดไทย ส่งผลต่อเกษตรกรรายย่อยนับแสนครอบครัว
3. การเปิดเสรีการลงทุนที่จะให้สิทธินักลงทุนสหรัฐเยี่ยงคนชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้า ประปา และการลงทุนด้านการเกษตรซึ่งเป็นความมั่นคงด้านอาหารของชาติ
โดยรัฐบาลจะต้องให้หลักประกันต่อสาธารณชน ว่า จะไม่มีการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาทั้งสามประเด็นข้างต้น ไม่เช่นนั้นเครือข่ายประชาชน 11 เครือข่าย ขอยืนยันว่าจะทำทุกวิถีทางที่จะทำให้การเจรจายุติ
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล 09-770-1872, ศจินต์ ประชาสันต์ 06-771-0313,
นันทา เบญจศิลารักษ์ 01-568-5670
4.5
International NGO Solidarity Statement : (แปลไทยคลิก)
US-Thai Free Trade Negotiations Threaten Access to
Medicines;
Activists Demand Suspension of Negotiations and End to TRIPS-plus IP Provisions
Jan. 9, 2006. Thai
AIDS activists and their international allies are seeking suspension of
scheduled trade talks that threaten to undermine Thailand?s lawful ability
to produce, import/export, and market low-cost generic versions of
life-saving medicines. Today, in Chiang Mai, the United States and Thailand
are scheduled to start the Sixth Round of negotiations on a proposed Free
Trade Agreement and for the first time are holding discussions on a U.S.
proposal to dramatically increase intellectual property protections for
pharmaceutical products. Simultaneously, ten thousand
Thai activists, half of them living with HIV, are protesting the scheduled
talks and trying to shut them down, promising to sleep overnight outside
the meeting venue for three nights and to block entry to the negotiations.
The U.S. government
has consistently refused to release the draft text of its FTA proposals
and simultaneously extracts promises of secrecy from its negotiating partners.
This shroud of secrecy limits democratic review and civil society participation
in the negotiation process. In particular, it denies voice to the tens of
thousands of Thais living with
HIV/AIDS who need increased access to affordable second-generation antiretroviral
and opportunistic infection medicines that are currently patent-protected
and cost prohibitive.
Instead of allowing
Thailand to use all existing flexibilities for accessing cheaper medicines
under
international law as confirmed by the 2001 WTO Doha Declaration on the TRIPS
Agreement and Public Health
and by the UN Commission on Human Rights, the U.S., based on past practice,
will be seeking to heighten
patent and data protection in the following ways:
Extending patent terms beyond 20 years to compensate for administrative delays and easing standards of patentability on new formulations and uses, thereby extending the period of monopoly pricing;
Restricting rights to parallel import cheaper medicines by codifying patent-holders? rights to contractually limit export/import of previously sold products;
Potentially restricting the grounds for issuing compulsory licenses;
Linking marketing approval to the absence of claimed patent rights and imposing 5-10 year data-exclusivity provisions (preventing reliance on proprietors clinical trial data to grant marketing approval for generic products), thereby potentially restricting compulsory licensing rights;
Imposing criminal penalties on companies that intentionally or inadvertently violate patents.
The U.S. attempts to down-play the significance of these hard-text treaty terms with an ambiguous and under-inclusive side-letter reaffirming trade partners rights to prioritize access to medicines. Such side-letters make no binding commitments, and the USTR has expressly declined to confirm the obligatory effect of the letters when asked to do so in response to Congressional inquiries.
Consistent with human
rights norms requiring access to essential medicines and in response to
Thai activist
demands, Thailand has initiated a program of universal access to government-subsidized
antiretroviral drugs
that now reaches 70,000 of 170,000 Thai people living with HIV/AIDS. However,
the future costs of expanded
treatment with newer patented medicines will be prohibitive if the U.S.
succeeds in its objectives to ratchet-up intellectual property protections.
Therefore, we join
our Thai colleagues at Chiang Mai and throughout Thailand demanding that
the U.S. suspend negotiations on intellectual property rights and that it
drop all intellectual property provisions affecting access to
pharmaceutical products, specifically all TRIPS-plus terms, in the Thai
FTA and in other FTAs as well. In addition, we demand that the U.S. publish
its proposed text for the entire FTA and that the Thai people have had a
chance to hold public consultations on the proposed agreement.
- Canadian HIV/AIDS
Legal Network
- Center for Policy Analysis on Trade and Health (CPATH)
- Consumer Project on Technology (CPTech)
- Essential Action
- Health GAP (Global Access Project)
- Human Rights Watch
- Student Global AIDS Campaign (SGAC)
4.6 แถลงการณ์องค์การพัฒนาเอกชนนานาชาติเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทย-สหรัฐฯ
:
การเจรจาการค้าเสรีทำให้เข้าถึงยายากขึ้น
นักกิจกรรมทั่วโลกเรียกร้องให้ชะลอการเจรจาออกไปและไม่เจรจาเนื้อหาข้อตกลงที่เกินไปกว่าข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญา
หรือ TRIPs+
9 มกราคม 2549: นักกิจกรรมชาวไทยและพันธมิตรสากลเรียกร้องให้ชะลอการเจรจาการค้า ซึ่งจะจำกัดสิทธิตามกฎหมายของประเทศไทยในการผลิต นำเข้า/ส่งออกและวางตลาดยาสามัญที่จำเป็นต่อชีวิต ที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันนี้ คณะผู้แทนจากสหรัฐฯ และไทยมีกำหนดการเจรจาเป็นรอบที่ 6 เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี และนับเป็นครั้งแรกที่จะมีการเจรจาเกี่ยวกับข้อเสนอของสหรัฐฯ เพื่อให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น
ในเวลาเดียวกัน นักกิจกรรมเรือนหมื่นคน ซึ่งมีอยู่ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีกำลังประท้วง และเรียกร้องให้ล้มเลิกการเจรจา โดยจะมีการชุมนุมค้างคืนหน้าที่ประชุมเป็นเวลา 3 วัน เพื่อขัดขวางการเจรจา
ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะเปิดเผยเนื้อหาข้อเสนอฉบับร่างเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี และมีการเจรจาอย่างลับ ๆ กับคู่เจรจาเพื่อให้ยอมตกลงตามข้อเสนอ การเจรจาในทางลับเช่นนี้เป็นการปิดกั้นการตรวจสอบตามหลักประชาธิปไตย รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการเจรจา ทั้งยังเป็นการปฏิเสธเสียงของผู้ติดเชื้อชาวไทยอีกนับแสนคน ซึ่งจำเป็นต้องเข้าถึงยาต้านไวรัสที่ผลิตได้เองในราคาถูก และยาเพื่อรักษาโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันติดสิทธิบัตร และมีราคาสูง แทนที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถใช้ข้อยืดหยุ่นทางกฎหมาย เพื่อให้คนเข้าถึงยาได้มากขึ้นภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายนานาชาติ ตามที่สนับสนุนโดยแถลงการณ์รัฐมนตรีที่การประชุมองค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮา ว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุข และตามความเห็นของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ
ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ กลับพยายามกำหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิบัตรและผูกขาดข้อมูลอย่างเข้มงวด โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตรไปมากกว่า 20 ปี เพื่อชดเชยกับความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร และเพื่อเปิดทางให้มีการจดสิทธิบัตรต่อสูตรยาและวิธีใช้ยาใหม่มากขึ้น เท่ากับทำให้สหรัฐฯ ผูกขาดการกำหนดราคายาได้มากขึ้น
การจำกัดสิทธิในการนำเข้ายาราคาถูก ด้วยการเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ทรงสิทธิสามารถจำกัดการนำเข้า/ส่งออกเวชภัณฑ์ที่เคยซื้อหาได้ ทำให้โอกาสที่จะใช้เงื่อนไขการบังคับใช้สิทธิมีน้อยลง การปฏิเสธไม่ให้นำเข้าสินค้ามาในตลาดของตน โดยอ้างว่าประเทศผู้ส่งออกต้องให้ความคุ้มครองผูกขาดข้อมูลอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 5-10 ปี (ทำให้ไม่สามารถใช้เงื่อนไขเกี่ยวกับการทดลองยาเพื่อพิจารณาการอนุญาตให้นำเข้ายาสามัญมาในตลาด) เป็นการจำกัดโอกาสที่จะใช้เงื่อนไขการบังคับใช้สิทธิ เท่ากับเป็นการดำเนินการกับบริษัทที่จงใจละเมิดสิทธิบัตร หรือละเมิดโดยทางอ้อม เป็นเหมือนกับอาชญากร
สหรัฐฯ พยายามทำให้คนมองข้ามความสำคัญเนื้อหาข้อตกลงที่ย้ำว่า ประเทศภาคีมีสิทธิที่จะกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงยาเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนได้ โดยไปซ่อนไว้ในเอกสารท้ายสัญญาซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้อย่างชัดเจน และทางคณะผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า ไม่รับรองว่าเอกสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ หากมีการขอให้ทำเช่นนั้น ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยข้อมูลระหว่างการไต่สวนของรัฐสภาสหรัฐฯ
รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งส่งเสริมการเข้าถึงยา และเพื่อตอบสนองกับข้อเรียกร้องของนักกิจกรรมไทย และได้จัดให้มีการบริการยาต้านไวรัสตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อไทย 70,000 จาก 170,000 คนได้รับยาต้านไวรัส อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการรักษาในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการบีบให้มีการบังคับใช้สิทธิบัตรอย่างเข้มงวดมากขึ้น
ด้วยเหตุดังกล่าว เราจึงส่งกำลังใจไปยังเพื่อพันธมิตรชาวไทยในเชียงใหม่และทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ ชะลอการเจรจาว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในครั้งนี้ และยกเลิกการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาทุกด้านที่จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะข้อตกลงที่เกินไปกว่าข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในองค์การการค้าโลก หรือ ทริปส์ผนวก (TRIPs+) ในข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยและข้อตกลงการค้าเสรีฉบับอื่น
นอกจากนั้น เราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ
ตีพิมพ์เผยแพร่เนื้อหาของข้อตกลงการค้าเสรีทั้งหมด และให้ประชาชนชาวไทยสามารถจัดการประชุมปรึกษาหารือต่อสาธารณะเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้
ลงนามโดย
- เครือข่ายกฎหมายด้านเอ็ชไอวี/เอดส์แคนาดา (Canadian HIV/AIDS Legal Network)
- ศูนย์วิเคราะห์นโยบายด้านการค้าและสุขภาพ (Center for Policy Analysis on
Trade and Health (CPATH))
- โครงการด้านเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค (Consumer Project on Technology (CPTech))
- Essential Action - Health GAP (Global Access Project)
- Human Rights Watch
- Student Global AIDS Campaign (SGAC)
4.7 คำประกาศเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน
11 เครือข่าย
เราขออธิบายกับสื่อมวลชนว่า
พวกเราเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทั้ง 11 องค์กรไม่มีทางเลือกอื่นใดอีกแล้ว
ที่จะหยุดยั้งการเจรจาที่จะสร้างข้อตกลงที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย เกษตรกร
คนยากคนจน ประชาชนทั่วไป และแม้แต่แย่งยึดทรัพยากร และอธิปไตยของชาติ ปล้นเอาสิ่งนี้ไปจากพวกเราประชาชนไทยทั้งปวง
พวกเราประชาชนนับหมื่นคนที่ออกมาเดินบนท้องถนนในครั้งนี้ เป็นตัวแทนของประชาชนจำนวนนับล้านคนที่รู้สึกเช่นเดียวกับเรา แต่เขาไม่สามารถแสดงออกใด ๆ ได้ เนื่องจากการผูกขาดและรวมศูนย์อำนาจของรัฐ เนื่องจาก พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า ท่านจะไม่รับฟังแม้แต่รัฐสภา และรัฐสภานั้นก็ไม่มีผู้รู้เพียงพอที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้ เราแปลกใจ และรู้สึกยากที่จะรับได้ว่า แม้แต่สมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติ ซึ่งพรรครัฐบาลได้คัดเลือกให้มาลงสมัครรับเลือกให้เป็นผู้แทนของปวงชนไปนั่งในสภา หาได้มีความสามารถในการตรวจสอบ และกำหนดนโยบายของรัฐ
เราทราบแม้กระทั่งว่า คณะเจรจา ฯ ซึ่งท่านอ้างว่า เป็นผู้รอบรู้และได้ตัดสินใจในการเจรจาแทนคนส่วนใหญ่ในแผ่นดินได้นั้น คณะเจรจาอย่างน้อย 2 กลุ่ม ยืนยันชัดเจนในจุดยืนของเขาเช่นเดียวกับพวกเราที่เดินบนท้องถนน แต่นโยบายข้างบนได้บีบบังคับคนเหล่านี้ เกลี้ยกล่อมคนเหล่านี้ให้ยอมตามข้อเสนอของอเมริกา แทนที่คณะเจรจาจะเจรจากับผู้เจรจาของฝ่ายสหรัฐ กลับมาเจรจากับพวกเดียวกันเอง แล้วพวกเราจะหวังอะไรได้เล่าในการเจรจาข้อตกลงที่มีผลต่ออนาคตของชาติและพวกเราเช่นนี้
เราเคลื่อนไหวด้วยความสงบด้วยสันติวิธี ก่อนที่เราจะเดินทางมาถึงที่โรงแรมอันหรูหราอันเป็นสถานที่เจรจาแห่งนี้ เราเดินมา 5 ก้าว แล้วก้มกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก้มกราบพระธาตุดอยสุเทพ ก้มกราบครูบาศรีวิชัย ก้มกราบบรรพกษัตริย์และบรรพบุรุษของเรา เราก้มกราบผีปู่ย่าตายาย ซึ่งรักษาแผ่นดินจนหลงเหลือมาให้เราอยู่อย่างสุขสงบ ก้มกรบบภูเขา แม่น้ำซึ่งหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิตอย่างพอเพียง และอย่างสุขสงบ เราก้มกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อขอขวัญ และพลังในการยืนหยัดต่อสู้รักษาผืนแผ่นดิน ทรัพยากร ทรัพย์สมบัติของชาติให้อยู่ถึงลูกถึงหลาน เหมือนดังที่บรรพบุรุษได้รักษามาไว้ให้พวกเรา
เราก้าวเข้ามาในสถานที่แห่งนี้ เพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นใด เราต้องการที่จะก้าวเข้ามาบอกคณะผู้เจรจาฝ่ายไทย และคณะผู้เจรจาฝ่ายสหรัฐ นี่เป็นช่องทางเดียวที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้บัญญัติไว้ว่า ประชาชนย่อมมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะเสนอความคิดเห็นทางการเมือง และการพัฒนาประเทศ เราจึงเข้ามาด้วยความสงบ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์มิได้มุ่งร้ายต่อผู้ใดทั้งสิ้น เราเพียงแต่อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความหวังว่าผู้บริหารที่หลงผิดไปนั้น จะเห็นชอบแทนผิด และมุ่งสู่หนทางที่ถูกต้องต่อไป
เราเข้ามาในห้องนี้เพื่อประกาศต่อรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหรัฐว่า ประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทุกภาค ประชาชนเกือบทุกสาขาอาชีพ ไม่อาจยอมรับการเจรจาครั้งนี้ได้ เราขอประกาศในนามของประชาชนทั้งประเทศให้ "หยุดการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ โดยสิ้นเชิง"
พี่น้องสื่อมวลชน และประชาชนทั่วประเทศที่เคารพ การหยุดการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ในการหยุดการทำเอฟทีเอที่มีผลต่อชีวิตของเรา หากแม้นผู้หนึ่งผู้ใดจะผลักดันให้มีการเจรจาต่อไปขอประกาศให้รู้ว่าบุคคลและคณะเหล่านั้นไม่ใช่ตัวแทนอันชอบธรรมของประชาชนทั้งหมด ประชาชนทั้งประเทศที่มากกว่านี้ อีกร้อยเท่า พันเท่า จะออกมารวมพลังกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าประชาชนทั้งประเทศต้องการแผ่นดินของเราคืนมา ต้องการทวงอำนาจอธิปไตย แสดงจุดยืน และความประสงค์ของพวกเรา
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่านับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป พี่น้องประชาชนทั่วประเทศที่ไม่ได้มาร่วมการชุมนุมในครั้งนี้ จะช่วยกันจับตาดู และจะหลั่งไหลมาร่วมกับพวกเรา และหากผู้บริหารประเทศผู้ยังเต็มไปได้โลภจริต โมหจริต ยังไม่นำพาต่อเสียงของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประชาชนทั้งแผ่นดินจะออกมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง
แล้วเมื่อถึงวันนั้น เราจำเป็นที่จะต้องบอกว่า อย่าว่าแต่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเลยที่ไม่อาจมีได้ แม้กระทั่งรัฐบาลชุดนี้ก็ไม่อาจอยู่บริหารประเทศได้เช่นเดียวกัน
ประกาศมา ณ วันที่ 10
มกราคม 2549
ณ โรงแรมเชอราตัน จ.เชียงใหม่
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
แห่งประเทศไทย,
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค จ.ลำปาง,
เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, เครือข่ายสลัมสี่ภาค,
สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์,
สมัชชาคนจน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ(สนนท.)
และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)
4.8 เอฟทีเอไทย-มะกันเดือด
ประชาชนปะทะตำรวจหลังการเจรจาไม่ยุติ
เชียงใหม่ / เครือข่ายภาคประชาชนลุยสถานที่เจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐหลังการเจรจาไม่ยุติปะทะตำรวจ
เผยเครือข่ายบาดเจ็บหลายสิบจากกระบองตำรวจ ด้านนิตย์ พิบูลย์สงครามยันต้องเจรจาต่อ
แจงทำเพื่อรักษา เพิ่มพูนประโยชน์ชาติ เผยการยุติเป็นอำนาจของรัฐบาล
วันนี้(10 ม.ค.49) เครือข่ายองค์กรประชาชนต้านการเปิดเขตการค้าเสรีและแปรรูปประเทศไทยจาก 11 เครือข่ายจากทั่วประเทศจำนวนกว่า 1 หมื่นคนได้เคลื่อนขบวนรณรงค์คัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐเป็นวันที่สอง การเดินรณรงค์เริ่มจากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ จ.เชียงใหม่ไปยังบริเวณหน้าโรงแรมเชอราตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ใช้เจรจาในครั้งนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อขบวนรณรงค์คัดค้านการเจรจาครั้งนี้เคลื่อนขบวนมาถึงบริเวณหน้าโรงแรมเชอราตัน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มกันอย่างแน่นหนา เพื่อกันมิให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในบริเวณโรงแรม ทางขบวนรณรงค์ได้เรียกร้องให้ผู้แทนคณะเจรจาทั้งฝ่ายไทยและสหรัฐยุติการเจรจาโดยชี้แจงผลกระทบในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับประเทศและเรียกร้องให้นายนิตย์ พิบูลย์สงคราม ลงมาเจรจากับกลุ่มชาวบ้าน ทว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่มีการตอบรับจากฝ่ายคณะตัวแทนการเจรจาจึงเป็นผลให้ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 100 คนฝ่าแผงกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปภายในบริเวณโรงแรมจนเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้ตัวแทนผู้ชุมนุมประมาณ 20 คนบาดเจ็บจากการถูกทุบตีด้วยกระบอง
ขณะที่อีกด้านของโรงแรมฝั่งติดแม่น้ำปิง ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 30 คนได้ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำปิงเพื่อเข้าไปภายในตัวโรงแรมจนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนทำให้ทั้ง 30 คนได้รับบาดการทุบตีด้วยกระบองของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งหนึ่งในผู้ชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบองตีศีรษะจนแตก แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวไว้ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรึงพื้นที่ไว้ได้แต่ก็เกิดการปะทะอยู่เป็นระยะ พร้อมกันนี้ทางขบวนรณรงค์ยังคงเรียกร้องข้อเสนอเดิมคือให้ยุติการเจรจาในครั้งนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้นายนิตย์ พิบูลย์สงครามลงมาเจรจา จนในที่สุดนายนิตย์ยอมลงมาเจรจากับกลุ่มขบวนผู้รณรงค์คัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐโดยกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของขบวนรณรงค์ที่เสนอให้ยุติการเจรจาครั้งนี้ตนไม่สามารถทำได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ ซึ่งภาระกิจที่ตนและคณะเจรจาฝ่ายไทยกำลังดำเนินอยู่นี้คือการพิทักษ์และเพิ่มพูนผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งนี่คือเป้าในการเจรจาครั้งนี้ อีกทั้งการเจรจาก็มีหน่วยงานราชการเข้าร่วมถึง 35 หน่วยครอบคลุมประเด็นการเจรจาทั้ง 22 หัวข้อ ดังนั้นตนจำเป็นต้องทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด ส่วนการยุติการเจรจาเป็นเรื่องของรัฐบาล
นายนิตย์ กล่าวต่อว่า ความคืบหน้าการเจรจาในประเด็นต่างๆโดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตรที่ประชาชนเป็นห่วงนั้นตนขอชี้แจงว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับการเสนอจากทางสหรัฐ ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วงเพราะตนจะรับข้อเสนอเฉพาะประเด็นที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยเท่านั้น
"อย่างเรื่องยา หากเจรจาแล้วพบว่าประชาชนเข้าถึงยาก ผมก็จะไม่รับ เรื่องใดทำให้เราสูญเสียผลประโยชน์เราไม่ยอมแน่ แต่หากการเจรจาเป็นไปเพื่อความร่วมมือกันในระยะยาวและเป็นประโยชน์กับประเทศสิ่งนั้นเราก็รับได้ หลักๆก็มีอยู่แค่นี้เอง ต้องกรุณาให้การสนับสนุนและเอาใจช่วยเราด้วย สิ่งใดที่คิดว่าอาจพลาดพลั้งก็ให้บอกมาเราก็พร้อมรับฟัง เราตระหนักในความโปร่งใส แต่หากจะให้ยุติการเจรจาผมทำไม่ได้ เพราะอำนาจนี้อยู่ที่รัฐบาล อีกทั้งเรื่องนี้เราก็ใช้เวลาดำเนินการมากว่า 2 ปี ลงทุนไปเยอะ ดังนั้นสมควรไหมที่จะยกเลิก" นายนิตย์ กล่าว
ในตอนท้าย นายนิตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นเนื้อหาการเจรจาถือเป็นความลับนั้น ประชาชนต้องเข้าใจว่าการเจรจาระหว่างประเทศทั้งโดยประเพณีและโดยกฎหมายต่างฝ่ายต่างมีขีดความลับเปิดเผยไม่ได้ ส่วนประเด็นการเจรจาของไทยไม่ผ่านสภาอย่างของสหรัฐนั้น เป็นเพราะระบบของไทยไม่เหมือนสหรัฐ
นายนิมิตร เทียนอุดม ผู้ประสานงานมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า คำตอบที่ได้จากนายนิตย์สร้างความผิดหวังแก่ขบวนรณรงค์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐนั้น ที่ผ่านมาทางเครือข่ายองค์กรประชาชนหลายเครือข่ายต่างๆออกมาคัดค้านตั้งแต่ต้น แต่ได้รับคำตอบว่าประเทศไทยมีแต่ได้ รัฐบาลจึงดึงดันเจรจามาจนถึงวันนี้ ขณะที่คำถาม ข้อสังเกต รวมทั้งผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเอฟทีเอครั้งนี้ รัฐบาลยังไม่มีคำอธิบายใดๆ ไม่มีหลักประกันให้ว่าผู้ป่วยจะเข้าถึงยาได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม นายนิมิตร กล่าวต่อว่า แม้ว่าครั้งนี้นายนิตย์ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยยืนยันเจรจาต่อไป แต่ทางขบวนรณรงค์คัดค้านก็ต้องทำหน้าที่คัดค้านต่อไป รวมทั้งต้องเผยแพร่ผลกระทบจากการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐให้สาธารณะรับรู้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นพลังหนุนเสริมกันต่อไป
สำนักข่าวประชาธรรม
77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่50200
โทร 0-5381-0779, 0-9759-9705
4.9 เตือนจับตาเปิดเสรีการลงทุนหวั่นSMEsเจ๊งระนาว
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา เผยว่า ความพยายามเจรจาต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในการเปิดเสรีทั้ง
22 หมวด อาจไร้ความหมาย หากฝ่ายไทยยอมรับข้อตกลงในหมวดของการลงทุน ซึ่งสหรัฐให้ความสำคัญกับการเจรจาเรื่องนี้มาเป็นอันดับแรก
ทั้งนี้ได้มีข้อความที่ระบุในหนังสือเจรจา โดยเรียกร้องให้ไทยจัดวางสถานะของข้อตกลงด้านลงทุน
มีอำนาจสูงกว่าข้อตกลงในหมวดอื่นๆ นั่นหมายความว่าสามารถยกเลิกเงื่อนไข หรือสามารถละเว้นการปฏิบัติตามกฎกติกาที่ไทยกำหนดไว้
"หากสหรัฐได้เรื่องการลงทุนก็หมายความว่าได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบริการ สิ่งแวดล้อม แรงงานฯลฯ อีกทั้งยังสามารถยกเว้นข้อกำหนดเรื่องการใช้บุคลากรภายในประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งเงินกลับ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ได้อะไร นอกจากสูญเสียโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรม และการพัฒนาศักยภาพทางการผลิตของเราไป" นายบัณฑูร กล่าว
นายบัณฑูร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไทยต้องศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดีย หลังจากเปิดเสรีการลงทุนให้แก่สหรัฐ ปรากฏว่าบริษัทมอนซานโต้ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และผู้นำเรื่องการพัฒนาจีเอ็มโอ สามารถเข้าไปจัดการระบบการเพาะปลูกได้อย่างเบ็ดเสร็จ อีกทั้งยังสามารถเข้าไปพัฒนาระบบการจัดส่งน้ำให้แก่เกษตรกรอีก จึงทำให้สูญเสียการพึ่งพาตนเองไป
ด้าน รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ อาจารย์ประจำสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า หากไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ ในเรื่องการลงทุนภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ ย่อมหมายถึงไทยยอมเปิดเสรีการลงทุนแก่สหรัฐโดยไม่มีเงื่อนไข โดยยอมลดทอนอำนาจอธิปไตยในการกำกับการลงทุนในทุกสาขา รวมทั้งกิจการที่เป็นบริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ กล่าวต่อไปว่า การทำข้อตกลงเอฟทีเอแบบเบ็ดเสร็จกับสหรัฐ จะก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย ซึ่งอาจหมายถึงไทยต้องเปิดเสรีด้านการลงทุนให้กับทุกประเทศ ภายใต้ข้อตกลงพหุภาคีที่จะถูกจัดทำขึ้นในอนาคต เมื่อถึงวันนั้นไทยจะไม่มีสิทธิกำกับควบคุมการลงทุนของต่างชาติ ไม่สามารถให้สิทธิพิเศษหรือการกำหนดมาตรการช่วยเหลือบริษัทหรือผู้ผลิตภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงเกษตรกรหรือวิสาหกิจรายเล็กรายน้อยต้องล้มหายไป หรือถูกกลืนควบรวมกิจการโดยต่างชาติในที่สุด
"รัฐบาลไทยต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน และควรดำเนินการเปิดเสรีด้านการลงทุนโดยผ่านข้อตกลงระหว่างประเทศแบบพหุพาคีเท่านั้น ไทยไม่ควรลดหย่อนให้กับสหรัฐในด้านการลงทุน หรือยอมรับกติกาหรือกฎเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน" รศ.ดร.จักรกฤษณ์ กล่าว
เมื่อสอบถามไปยังสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) กระทรวงอุตสาหกรรม ถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับผลกระทบการเปิดเสรีการลงทุน การค้า การบริการ แหล่งข่าวภายในสพว. กล่าวว่า ในขณะนี้ยังทางสำนักงานยังไม่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิจัยรับมือผลกระทบของการเปิดเสรีโดยตรง แต่การทำงานในปัจจุบันในส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การลงทุน การผลิต ฯลฯ ของ SMEs ก็เป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ในทางอ้อม แต่สถานการณ์ในขณะนี้ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะรายย่อยยังไม่มีความพร้อมรับมือ และปรับตัวช้าไปถึง 5 ปี
แหล่งข่าวภายในสพว. กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันไทยมีผู้ประกอบการขนาดเล็กที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการจำนวน 500,000 ราย และคาดการณ์มีผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะได้รับผลกระทบแน่ๆ เพราะตัวธุรกิจมีลักษณะดำเนินการโดยครอบครัว มีข้อจำกัดสูงมาก และไม่มีเวลาศึกษาถึงรายละเอียดของผลกระทบ ส่วนทางแก้ไขก็คือการรวมกลุ่มกัน และให้ใช้มืออาชีพ หรือที่ปรึกษาเข้าไปช่วยเสริม
"อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจสิ่งทอ จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบเก่า ที่เน้นการใช้แรงงาน และการผลิตที่ไม่ใช้เทคโนโลยีได้ ต้องปรับตัวไปทำสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาในระดับต่อไปก็คือการทำแบรนด์ และสร้างตลาด การค้าเสรีเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาและหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจที่มีศักยภาพทางการแข่งขันต่ำ" แหล่งข่าวคนเดียวกันให้ความเห็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันไทยและสหรัฐมีความร่วมมือในการลงทุนตามสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ (Treaty of Amity and Economic Relations) ซึ่งเริ่มใช้ตั้ง 29 พ.ค. 2511 โดยให้สิทธิแก่พลเมืองสหรัฐเข้ามาทำธุรกิจในประเทศ และต้องปฏิบัติกับนักลงทุนต่างชาติเยี่ยงคนในชาติ กล่าวคือ มีสิทธิในการจัดตั้งบริษัท สามารถเช่าอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ
ทั้งนี้ได้ยกเว้น 6 สาขา คือ การสื่อสาร การขนส่ง การดูแลทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่น การธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากเงิน การค้าภายในที่เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเชื่อว่าภายใต้ข้อตกลงด้านการลงทุนของเอฟทีเอ จะขยายมาครอบคลุมข้อยกเว้นดังกล่าวทั้งหมด
สำนักข่าวประชาธรรม
4.11
แถลงประกาศชัยชนะเบื้องต้นขององค์กรภาคประชาชน 11 เครือข่าย
ต้านข้อตกลงเขตการค้าเสรีและการแปรรูปประเทศ
สมาชิกเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนสิบเอ็ดเครือข่าย มากกว่าหนึ่งหมื่นคนที่ชุมนุมอยู่
ณ ที่นี้ และสมาชิกอีกนับแสนๆคนซึ่งรอฟังผลการประชุมอยู่ที่บ้าน ประชาชนไทยที่เคารพ
และเพื่อนสื่อมวลชนที่รักทุกท่าน
เครือข่ายสิบเอ็ดองค์กรภาคประชาชนขอประกาศว่า วัตถุประสงค์ในการชุมนุมของพวกเราได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้วในขั้นต้นแล้ว และเป็นชัยชนะครั้งแรกของสังคมไทยทำให้ประเด็นการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ได้กลายเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะที่สังคมไทยทั้งหมดได้เฝ้าจับตา และการให้คำมั่นสัญญาของรัฐบาลเกี่ยวกับการลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน จะเป็นการตัดสินใจอนาคตทางการเมืองของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในท้ายที่สุด
ชัยชนะข้อแรก
นี่เป็นครั้งแรกที่ข้อกังวลของผู้ป่วยและผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องยาแพง เพราะการผูกขาดยาโดยการขยายอายุสิทธิบัตรมากกว่าข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก
ผลกระทบเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมที่จะทำให้เกษตรกรล่มสลายและทรัพยากรธรรมชาติถูกยึดครอง
ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นการเปิดพื้นที่ข่าว
ขยายพื้นที่การรับรู้เพื่อให้สังคมไทยทั้งหมดให้ได้มาพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกัน
ในสถานการณ์ที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ ปราศจากเสรีภาพที่จะขุดคุ้ยเอาประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนและความเสียหายของประเทศที่เกิดจากเอฟทีเออกมาตีแผ่
ก่อนหน้านี้กระบวนการเจรจาเอฟทีเอเป็นเรื่องการตัดสินใจของรัฐบาลและอุตสาหกรรมอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์และโทรคมนาคม ซึ่งใกล้ชิดแนบแน่นกับรัฐบาลแต่เพียงกลุ่มเดียว กระบวนการของรัฐสภาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการตรวจสอบการทำเอฟทีเอ ทั้งๆที่สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งได้ทำงาน อย่างหนักในการคัดค้านการทำเอฟทีเอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐอมริกา ทั้งนี้โดยไม่ต้องกล่าวถึงสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมากกว่าสองในสามเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรให้สัมภาษณ์ดูแคลนว่าไม่มีความรู้เพียงพอที่จะพิจารณาเรื่องอันสำคัญนี้
ชัยชนะประการที่สอง
หลังการชุมนุมของเครือข่ายสิบเอ็ดองค์กรภาคประชาชนเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การทำเอฟทีเอของประเทศ
ได้ให้แถลงว่า "เรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้น ยืนยันว่าสิ่งใดที่ทำให้ไทยลำบากจะไม่ทำแน่นอน
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีเองพูดชัดว่า ในเรื่องสิทธิบัตรยาต้องดูให้ดีเป็นพิเศษ
ถ้าเสียผลประโยชน์ต้องตั้งป้อมสู้" (มติชน 10 มกราคม 2549)
ในขณะที่นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า " พ.ต.ท.ทักษิณ กำชับให้มีการเจรจาโดยการคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ หากสินค้าใดที่ไทยเสียเปรียบจะไม่มีการตกลงอย่างแน่นอน และขอให้นำข้อท้วงติงของผู้คัดค้านมาเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาด้วย" (มติชน 11 มกราคม 2549)
เราถือว่านี่คือการให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยานว่ารัฐบาลจะไม่ยอมตกลงเอฟที ทำให้มีการผูกขาดยาและยามีราคาแพง และไม่ยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่เกษตรกรเป็นจำนวนมากต้องได้รับผลกระทบ นี่คือชัยชนะขั้นต้นของพี่น้องประชาชนทั้งสิบเอ็ดเครือข่ายและเป็นชัยชนะขั้นต้นของคนไทยทั้งประเทศด้วย
เพื่อนผู้ร่วมชุมนุม และพี่น้องประชาชนไทยที่เคารพทุกท่าน เราขอประกาศว่าเราจะผนึกกำลังกันติดตามข้อตกลงเอฟทีเอต่อไป เพราะขณะนี้ข้อตกลงดังกล่าวกำลังดำเนินไปใกล้แล้วเสร็จ และจะมีการสรุปผลการเจรจาภายในเมษายน 2549 นี้
เราขอประกาศบนแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยสุเทพอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อสิ่งศักดิ์ของทุกศาสนาว่า เราจะติดตามตรวจสอบในทุกบรรทัด ทุกประโยค และทุกถ้อยคำในข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยจะมิยินยอมให้มีข้อความใดที่ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียอธิปไตย ผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากยาแพง และเกษตรกรคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องล่มสลาย
เมื่อใดก็ตามข้อตกลงเอฟทีเอทำให้เกิดความเสียหายดังกล่าว แสดงว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรตระบัดสัตย์และไม่เคารพต่อสัญญาที่ให้ไว้กับมหาชน พวกเราเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนสิบเอ็ดองค์กร จะกลับมาระดมพลพร้อมเพรียงกันอีกครั้งหนึ่งที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเมื่อวันนั้นมาถึง จำนวนเครือข่ายขององค์กรภาคประชาชนและผู้เข้าร่วมชุมนุมจะมากกว่านี้นับสิบเท่าร้อยเท่า
เราจะเรียกร้องและดำเนินการทุกวิถีทางภายใต้รัฐธรรมนูญและโดยสันติวิธีเพื่อให้คำเรียกร้องทั้งหมดบรรลุผล
ขอขอบพระคุณพี่น้องชาวเชียงใหม่เป็นจำนวนมากที่โบกธงสนับสนุนเมื่อพวกเราเคลื่อนขบวนผ่าน ขอขอบคุณน้ำเย็นบรรจุขวดที่ท่านมอบให้สมาชิกของเรา และขอบคุณที่บางท่านเปิดบ้านเชื้อเชิญให้พวกเราเข้าไปดื่มน้ำ รับประทานอาหารถึงในตัวบ้านเพื่อแสดงความสนับสนุน และอีกเป็นจำนวนมาก
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, เครือข่ายสลัมสี่ภาค, สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์, สมัชชาคนจน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ(สนนท.) และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
4.12 เครือข่ายประชาชนต้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐสลายตัว
พร้อมประกาศชัยชนะจากการคัดค้าน
เชียงใหม่ /
เครือข่ายประชาชนต้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐสลายตัวแล้ว เผยแม้การเจรจายังดำเนินต่อ
แต่ได้รับชัยชนะเบื้องต้นที่ผลักดันปัญหาเป็นประเด็นสาธารณะได้ แจงเฝ้าจับตาผลการแถลงการเจรจา
13 ม.ค.นี้หากผลเจรจารับไม่ได้ชุมนุมใหญ่อีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชุมนุมรณรงค์คัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐของเครือข่ายองค์กรประชาชนต้านการเปิดเขตการค้าเสรีและแปรรูปประเทศไทยจาก 11 เครือข่ายจากทั่วประเทศจำนวนกว่า 1 หมื่นคน ณ จ.เชียงใหม่ที่ได้ชุมนุมคัดค้านการเจรจามาตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ยอมสลายการชุมนุมลงแล้วในวันนี้(11 ม.ค.) ซึ่งแม้ว่าทางนายนิตย์ พิบูลย์สงคราม หัวหน้าคณะเจรจายืนยันว่าไม่สามารถยุติการเจรจาได้ เพราะไม่มีอำนาจ แต่ขบวนรณรงค์คัดค้านแจงว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ทำให้สาธารณะชนรับรู้ปัญหาจากการเปิดเอฟทีเอไทย-สหรัฐมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพลังในการรณรงค์ร่วมกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก่อนสลายการชุมนุมทางกลุ่มขบวนรณรงค์ได้ทำพิธีสาบแช่งและเผาโลงศพซึ่งเขียนชื่อคนตายข้างโลงว่านายนิตย์ พิบูลย์สงคราม พร้อมกับร่วมกันปลดนายนิตย์ พิบูลย์สงครามออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย/สหรัฐ หลังจากนั้นได้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญสมาชิกขบวนรณรงค์คัดค้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐที่มาร่วมชุมนุมทุกคน พร้อมกันนี้ได้แถลงประกาศชัยชนะเบื้องต้นของเครือข่ายองค์กรประชาชนต้านการเปิดเขตการค้าเสรีและแปรรูปประเทศไทยจาก 11 เครือข่าย โดยระบุว่า การชุมนุมได้บรรลุวัตถุประสงค์ในขั้นต้นแล้ว
โดยชัยชนะข้อแรกคือ ถือเป็นครั้งแรกที่ข้อกังวลของผู้ป่วยและผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องยาแพง เพราะการผูกขาดยาโดยการขยายอายุสิทธิบัตรมากกว่าข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก ผลกระทบเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมที่จะล่มสลาย และทรัพยากรธรรมชาติถูกยึดครองได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่สื่อมวลชนได้ขยายพื้นที่การรับรู้ให้สังคมได้พิจารณาร่วมกัน
ส่วนชัยชนะประการที่สองคือ จากการชุมนุมของเราเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่าเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้นยืนยันว่าสิ่งใดที่ทำให้ไทยลำบากจะไม่ทำแน่นอน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังพูดว่าเรื่องสิทธิบัตรยาต้องดูให้ดีเป็นพิเศษ ถ้าเสียประโยชน์ต้องตั้งป้อมสู้
นอกจากนี้ที่ผ่านมานายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่าพ.ต.ท.ทักษิณกำชับให้มีการเจรจาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ หากสินค้าใดที่ไทยเสียเปรียบจะไม่มีการตกลงอย่างแน่นอนและให้นำข้อท้วงติงของผู้คัดค้านมาเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาด้วย ดังนั้นเราถือว่านี่คือการให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนไทยทั้งประเทศโดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยานว่ารัฐบาลจะไม่ยอมตกลงทำเอฟทีเอที่ทำให้ยามีราคาแพงและไม่ยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่เกษตรกรจำนวนมากต้องได้รับผลกระทบ เหล่านี้คือชัยชนะเบื้องต้นของคนไทยทั้งประเทศซึ่งเราจะต้องติดตามตรวจสอบต่อไปอย่างใกล้ชิด
นายนิมิตร เทียนอุดม ผู้ประสานงานมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ชัยชนะที่ขบวนรณรงค์คัดค้านได้รับครั้งนี้เป็นแค่เบื้องต้น ถือเป็นการสะสมชัยชนะ ความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็มีบทเรียนให้เราได้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเองที่ผ่านมาไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องที่เข้มข้นและมีพลังเท่าครั้งนี้ ซึ่งตนหวังอย่างยิ่งว่ากิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้จะมีส่วนช่วยสร้างให้ทุกเครือข่ายได้เติบโตมากยิ่งขึ้น
"การส่งเสียงของพี่น้องทั้ง 11 เครือข่ายครั้งนี้ ทำให้การเจรจาเอฟทีเอเป็นที่จับตามองของสาธารณชนมากยิ่งขึ้น สื่อมวลชนก็ช่วยเสนอผลกระทบจากเอฟทีเอให้เป็นที่รับรู้กันมากขึ้นด้วย นั่นจะทำให้คณะการเจรจาต้องคิดให้รอบคอบ ต้องอธิบายให้ได้ถึงข้อสงสัยของพี่น้องประชาชน เพราะหากไม่สามารถอธิบายได้และยังไม่ยุติการเจรจาเอฟทีเอ รัฐบาลก็ไม่มีความชอบธรรมใดๆ อีกแล้ว" นายนิมิตร กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า กล่าวได้ว่าการรณรงค์คัดค้านเอฟทีเอไทย-สหรัฐครั้งนี้ สิ่งที่เราได้รับชัยชนะคือ ประการแรก, ผลจากการรณรงค์คัดค้านในเรื่องนี้ทำให้สาธารณะชนให้ความสนใจและวิตกในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ขณะที่สื่อเองก็ให้ความสนใจมีการนำเสนอผลกระทบจากเอฟทีเอไทย-สหรัฐออกสู่สาธารณชนมากขึ้น ทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจด้วย พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต่อไปสาธารณะชนเหล่านั้นจะได้มาร่วมผลักดันและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังภาคประชาชนต่อไป
ส่วนประการที่สอง น.ส.สารี กล่าวว่า วานนี้(10 ม.ค.)ขบวนรณรงค์คัดค้านสามารถหยุดไม่ให้เกิดการเจรจาได้ ทำให้คณะผู้เจรจาทั้งไทยและสหรัฐต้องหนีออกจากโรงแรมเชอราตัน จ.เชียงใหม่ ไปประชุมต่อที่นอร์ทเทิร์น เฮริเทก รีสอร์ท จ.ลำพูน นั่นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยกระเหี้ยนกระหืนจะเจรจาเป็นอย่างมากทั้งๆ ที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆเหลืออยู่แล้ว
"ตอนนี้ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ขณะที่ประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการเปิดเอฟทีเอไทย-จีน ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏชัดเจนว่า มีคนมากมายได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ฉะนั้นแม้ว่าพวกเราไม่สามารถล้มการเจรจาได้ แต่เชื่อว่าคนอื่นๆก็จะร่วมกันทำให้มันล้มได้อย่างแน่นอน" น.ส.สารี กล่าว
ในตอนท้าย เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า ตราบใดที่รัฐบาลไม่สามารถให้คำตอบกับข้อเรียกร้องของขบวนรณรงค์คัดค้านได้ หรือไม่ยอมหยุดการเจรจาที่ปราศจากหลักประกันใดๆ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญว่าด้วยเรื่องการขยายอายุสิทธิบัตรยา ทรัยพ์สินทางปัญญาและสิ่งมีชีวิตตลอดจนการเปิดเสรีทางการเกษตรขบวนรณรงค์คัดค้านขอยืนยืนว่าจะใช้ทุกวิถีทางที่จะยับยั้งการประชุมอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า แม้ว่าเครือข่ายองค์กรประชาชนต้านการเปิดเขตการค้าเสรีและแปรรูปประเทศไทย 11 เครือข่ายจะสลายการชุมนุมในครั้งนี้ แต่ก็ยืนยันว่าจะจับตาดูผลการเจรจาจากการแถลงข่าวที่จะมีขึ้นในวันที่ 13 ม.ค.นี้ที่กรุงเทพฯ หากการแถลงผลการเจรจาพบว่าสร้างผลกระทบต่อประชาชน และทางเครือข่ายฯไม่สามารถยอมรับได้ก็จะมีการรณรงค์คัดค้านผลการเจรจาอีกครั้งที่กรุงเทพฯอย่างแน่นอน
ขณะที่การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนเป็นผลให้สมาชิกเครือข่ายฯจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
โดยทุกกรณีจะมีการแจ้งความดำเนินคดี และจะร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป
สำนักข่าวประชาธรรม
- คณาจารย์และนักวิชาการทุกสาขา
ร่วมต้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯที่เชียงใหม่
- การเจรจา
FTA มหันตภัยสึนามิทางเศรษฐกิจ
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ:
ปัญหาว่าด้วย"ทริปส์ผนวก"
-
ข้อเสนอการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯรอบที่
๕
-
ความยอกย้อนและวาระซ่อนเร้นของ
WTO และ FTA
- นักวิชาการเสนอคว่ำเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(ปกป้องนายทุนยึดสมบัติชาติ)
- ไม่ควรนำเรื่องยาเข้าเจรจา
เอฟทีเอ. ไทย-สหรัฐ
- โรงพยาบาลไทย
หัวใจบริการ(ต่างชาติ)
- หนังสือร้องเรียนกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
- WTO
การค้าเสรี : ใครได้ใครเสีย
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com