The Midnight University
จดหมายเปิดผนึก
กรณีการชุมนุมปกป้องอธิปไตยจากการทำข้อตกลง FTA
คณาจารย์และนักวิชาการทุกสาขา
สนับสนุนการคัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ
เครื่อข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - นักวิชาการ
และประชาชนทั่วประเทศ
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 800
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
5 หน้ากระดาษ A4)
1. จดหมายเปิดผนึก
กรณีการชุมนุมปกป้องอธิปไตยจากการทำข้อตกลง FTA
๑๐ มกราคม ๒๕๔๙
กราบเรียน พ่อแม่พี่น้องประชาชนผู้รักชาติและอธิปไตย
เครื่อข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เป็นการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการสื่อสารมวลชน วุฒิสมาชิก ทนายความ ผู้พิพากษา นักกฎหมาย ผู้ปฏิบัติงานเพื่อสังคมในองค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนผู้สนใจปัญหาการเมืองโดยทั่วไป เพื่อรณรงค์ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ ในรูปของเครือข่าย
พวกเรารับทราบเจตจำนงและความปรารถนาที่ดีของเพื่อน
ๆ และพี่น้องประชาชนที่มารวมตัวกันจากทั่วทุกสารทิศในประเทศ ทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร
เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการเป็นเจ้าของ และหวงแหนในอำนาจอธิปไตยของประเทศ
ซึ่งกำลังถูกคุกคามและอาจถูกหยิบยื่นจากคนหยิบมือเดียวที่บริหารประเทศ
ไม่เป็นที่สงสัยเลยจากพวกเราและสังคมโดยรวมเชื่อมั่นในจิตใจที่กล้าต่อสู้ เสียสละ
บากบั่น ไม่ย่อท้อของท่านต่อการประกอบกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในครั้งนี้ โดยเฉพาะการปลุกเพื่อนไทยให้ตื่นขึ้นมาร่วมทวงสิทธิ
และปกป้องประเทศไทยให้รอดพ้นจากการไล่กวดทางเศรษฐกิจจากการสบคบกับคนไทยบางคน
ที่ใช้โอกาสนี้ฉ้อฉลเข้ามาสวมสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากอานิสงค์ของพันธกรณีที่ถูกสร้างขึ้นจากการเจรจาทำข้อตกลงเอฟทีเอ
อันจะนำไปสู่การแปรรูปประเทศไทยและนำคนไทยให้ตกเป็นเชลยศึกทางเศรษฐกิจในปลายทาง
เราขอประนามแผนการอันชั่วร้ายของบุคคลที่สมคบคิดคดกับต่างชาติในครั้งนี้
และจะเข้าร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับพี่น้องประชาชนผู้รักชาติทุกท่าน
เพื่อนำอธิปไตยกลับคืนสู่อ้อมอกคนไทยและลูกหลานไทยในทุกวิถีทาง
พวกเราขอประกาศว่าจะทำและเข้าร่วมกับทุกฝ่ายโดยสันติวิธี เพื่อทำลายการร่วมกินโต๊ะประเทศไทยของบุคคล
คณะ หรือกลุ่มใด ๆ ก็ตาม ด้วยหนทางที่จะนำหลักประกันสูงสุดในระยะยาวมาถึงเราและลูกหลานของเรา
โดยการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ ให้ได้ ในโอกาสนี้พวกเราขอสนับสนุนการชุมนุมของพ่อแม่พี่น้องที่เชียงใหม่
กรุงเทพ ฯ หรือในที่อื่น ๆ และขอสนับสนุนข้อเรียกร้องในทุกข้อของท่าน โดยเฉพาะความจำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉินที่ต้องหยุดยั้งการเจรจาและลงนามในข้อตกลงเอฟทีเอไทย-สหรัฐ
ที่นำความเสียเปรียบมาสู่ประเทศไทยอย่างกว้างขวางยาวนาน
ขอให้การต่อสู้ของท่านได้รับการต้อนรับและแรงใจจากประชาชนไทยทุกคนตลอดจนบรรลุผลสำเร็จตามที่ปรารถนาจงทุกประการ
ขอแสดงความนับถือ
- เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
อ. เจริญ คัมภีรภาพ, ดร.บรรเจิด สิงคเนติ, ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, อ. คมสัน
โพธิคง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : คณาจารย์และนักวิชาการ
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล, รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม, รศ.ดร.อรรถจักร
สัตยานุรักษ์, อ.ชัชวาล ปุญปัน, อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล, อ.สุชาดา จักรพิสุทธิ์(แม่นยำ),
อ. วัลลภ แม่นยำ, ผศ. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวานิช, รศ.สายชล สัตยานุรักษ์,
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ, รศ. วารุณี ภูริสินสิทธิ์. ดร. นงเยาว์ เนาวรัตน์,
อ. อำพล วงศ์จำรัส, อ. ปรานี วงศ์จำรัส อ. ชาญกิจ คันฉ่อง, อ.นัทมน คงเจริญ,
อ.พิกุล อิทธิหิรัญพงศ์, อรณิชา ตั้งนโม, คมเนตร เชษฐพัฒนวานิช, พิภพ อุดมอิทธิพงศ์,
ภัควดี วีระภาสพงษ์, อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี, คมลักษณ์ ไชยยะ, อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,
ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี, สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์,
กัลยาณี พรพิเนตพงศ์, คุณงามศุกร์, ปริชัย ดาวอุดม, ภก. กิตติกล ชาติชาคร,
ดร.ไชยยันต์ ไชยยะ, โดม ไกรปกรณ์, สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, กนกวรรณ อุโฆษกิจ,
จารุวิตต์ บุนนาค, จิรภักดิ์ จอมวิญญาณ์, อ.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,
ณัฐกฤตา สุวรรณภักดี,
C/O
ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กทม. 10200
โทร. 02-2256827 แฟ็ก 02-2248106
สำหรับนักวิชาการ ประชาชน ผู้สนใจร่วมลงชื่อคัดค้าน
(คลิกเพื่อลงชื่อเพิ่มเติม)
2. US-Thailand Free
Trade Agreement: (ภาษาไทยคลิก)
MSF Calls on Thailand to Protect Access to Medicines in the Face of US Pressure
Bangkok, 12 January 2006 - As talks take place
in Chiang Mai, Thailand, this week on the intellectual property provisions
of a proposed US-Thailand Free Trade Agreement, the international medical
organization Medecins Sans Frontieres (MSF) warns that acceptance of the
US proposal could restrict access to essential medicines in Thailand and
endanger the country's national HIV/AIDS treatment program.
MSF fears that the US, as it has succeeded in doing in other regional agreements, will push for provisions, such as data exclusivity, that could extend patent terms and limit Thailand's ability to protect the health of its people by producing low-cost generic versions of patented drugs.
Although the US proposal remains secret, based on US negotiating positions during other regional agreements, most recently with the Central American Free Trade Area (CAFTA), it is believed that the US will again seek provisions for the protection of intellectual property that far exceed international norms set out by the World Trade Organization (WTO) in the Doha Declaration on the Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS) Agreement and Public Health. The Doha Declaration unambiguously prioritized public health over the protection of intellectual property.
"We fear that if the Thai government accepts the US proposal, doctors in Thailand will face substantial obstacles in providing treatment to their patients living with HIV/AIDS, especially for those that require newer antiretroviral (ARV) medicines to survive," said Paul Cawthorne, MSF Head of Mission in Thailand. "This week, we have seen thousands of Thais demand that their government protect access to medicines and defend the national HIV/AIDS treatment program. For the sake of the thousands of Thais who depend on the low-cost of medicines, we hope they succeed."
Using locally produced medicines, the Thai government has initiated a programme of universal access to subsidized treatment that currently reaches over 80,000 Thai people living with HIV/AIDS. MSF has been providing ARV treatment in Thailand for the past five years, and is now providing support to the Thai national programme. If the US provisions are accepted, thereby ruling out the generic competition that could drive down prices for newer patented drugs, the Thai government will not be able to continue to expand access to treatment and provide effective second-line drug combinations. The current cost of one second-line drug currently costs over $3,500 per patient per year - nearly ten times the cost of the most commonly-used first-line triple combination.
"The US must stop
pressuring developing countries into accepting provisions that undermine
the international consensus expressed in the Doha Declaration," stated
Ellen t'Hoen, Director of Policy Advocacy for MSF's Campaign for Access
to Essential Medicines. "If the Thai government accepts the US proposal,
it will undermine the important steps taken to provide universal access
to HIV/AIDS treatment and force people living with HIV/AIDS and other illnesses
to pay the price."
Contact in Thailand: Paul Cawthorne +6619873206
MSF has provided prevention and care for HIV/AIDS in Thailand since 1995
and began antiretroviral therapy in 2000. MSF and local partners currently
provide treatment education, counselling and support services to more than
16,000 Thais receiving antiretroviral treatment through the government programme.
(2). ข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-ไทย:
องค์การหมอไร้พรมแดนเรียกร้องประเทศไทยปกป้องการเข้าถึงยา
ภายใต้แรงกดดันของสหรัฐอเมริกา
กรุงเทพ 12 มกราคม 2549 ขณะที่การเจรจามีขึ้นที่เชียงใหม่
ประเทศไทย สัปดาห์นี้เกี่ยวกับบทว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐอเมริกาและไทยที่มีการเสนอขึ้น
องค์การหมอไร้พรมแดนซึ่งเป็นองค์กรหมอระหว่างประเทศ (MSF) เตือนว่า การยอมรับข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาสามารถจำกัดการเข้าถึงยาที่จำเป็นในประเทศไทย
และเป็นภัยคุกคามโครงการรักษาเอชไอวี/เอดส์ระดับชาติของประเทศ
องค์การหมอไร้พรมแดนกลัวว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการทำข้อตกลงระดับภูมิภาคอื่นๆ จะผลักดันบท เช่น การผูกขาดข้อมูล ซึ่งสามารถขยายอายุสิทธิบัตร และจำกัดความสามารถของประเทศไทยในการปกป้องสุขภาพของประชาชนของตน โดยการผลิตยาที่มีสิทธิบัตรในรูปแบบยาสามัญราคาต่ำ
แม้ว่าข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นความลับ
ตามท่าทีในการเจรจาของสหรัฐอเมริกาในข้อตกลงภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ในเขตการค้าเสรีอเมริกากลาง
(คาฟต้า) น่าเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาจะพยายามอีกครั้งเพื่อให้ได้บทว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ซึ่งไปไกลเกินกว่าบรรทัดฐานซึ่งกำหนดโดยองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ในคำประกาศโดฮาว่าด้วยบทข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการค้า
ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและสาธารณสุข. (ทริปส์) คำประกาศโดฮาจัดลำดับความสำคัญของสาธารณสุขอย่างชัดเจน
เหนือกว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
"เรากลัวว่าถ้ารัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐอเมริกา หมอในประเทศไทยจะเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการให้การรักษาคนไข้ของพวกเขาที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการยาต้านไว้รัส (เออาร์วี) ขนานใหม่เพื่อจะมีชีวิตอยู่"
นายพอล คอธอน ผู้อำนวยการองค์การหมอไร้พรมแดนในประเทศไทยกล่าว "สัปดาห์นี้
เราได้เห็นคนไทยหลายพัน เรียกร้องให้รัฐบาลของพวกเขา ปกป้องการเข้าถึงยาและรักษาโครงการรักษาเอชไอวี/เอดส์ระดับชาติ
เพื่อประโยชน์ของคนไทยนับพันซึ่งพึ่งพายาราคาต่ำ เราหวังว่าพวกเขาจะสำเร็จ"
โดยการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการการเข้าถึงยาถ้วนหน้าในการอุดหนุนการให้การรักษา ซึ่งปัจจุบันเข้าถึงประชาชนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์กว่า 80,000 ราย องค์การหมอไร้พรมแดนได้ให้การรักษาโดยเออาร์วีในประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และขณะนี้ได้ให้การสนับสนุนโครงการระดับชาติของไทย ถ้าบทข้อตกลงของสหรัฐถูกยอมรับ ซึ่งจะขจัดการแข่งขันที่สามารถกดราคายาที่มีสิทธิบัตรชิ้นใหม่ให้มีราคาต่ำลง รัฐบาลไทยจะไม่สามารถขยายการเข้าถึงการรักษา และให้ยาสูตรสำรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราคาปัจจุบันของยาสูตรสำรองสูตรหนึ่งในขณะนี้มีราคากว่า 3,500 ดอลลาร์ ต่อคนไข้ต่อปี ซึ่งเกือบ 10 เท่าของราคายาสูตรพื้นฐานซึ่งมีตัวยา 3 ชนิดใน 1 เม็ดที่เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด
"สหรัฐอเมริกาต้องหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนา ให้ยอมรับบทข้อตกลงที่ทำลายข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งระบุอยู่ในคำประกาศโดฮา" เอเลน โฮเอ็น ผู้อำนวยการของฝ่ายสนับสนุนนโยบายในการรณรงค์เพื่อการเข้าถึงยาที่จำเป็นขององค์กรหมอไร้พรมแดนกล่าว "ถ้ารัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐอเมริกา มันจะทำลายก้าวอันสำคัญในการเข้าถึงการรักษาเอชไอวี/เอดส์อย่างถ้วนหน้า และบังคับให้ประชาชนที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และโรคเจ็บไข้อื่นๆต้องแบกรับความสูญเสีย"
ติดต่อในประเทศไทย: นายพอล คอธอน (Paul Cawthorne) 019873206
องค์กรหมอไร้พรมแดนได้ให้การป้องกันและการรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2538 และเริ่มการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสในปี 2543 องค์การหมอไร้พรมแดนและพันธมิตรท้องถิ่นในขณะนี้ได้ให้การศึกษาด้านการรักษา การปรึกษาและบริการสนับสนุนให้กับคนไทยกว่า 16,000 คน ซึ่งได้รับการรักษาโดยยาต้านไวรัสผ่านโครงการของรัฐบาล
- การเจรจา
FTA มหันตภัยสึนามิทางเศรษฐกิจ
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ:
ปัญหาว่าด้วย"ทริปส์ผนวก"
-
ข้อเสนอการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯรอบที่
๕
-
ความยอกย้อนและวาระซ่อนเร้นของ
WTO และ FTA
- นักวิชาการเสนอคว่ำเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(ปกป้องนายทุนยึดสมบัติชาติ)
- ไม่ควรนำเรื่องยาเข้าเจรจา
เอฟทีเอ. ไทย-สหรัฐ
- โรงพยาบาลไทย
หัวใจบริการ(ต่างชาติ)
- หนังสือร้องเรียนกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
- WTO
การค้าเสรี : ใครได้ใครเสีย
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 800 เรื่อง หนากว่า 11500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com