The Midnight University
การปรับตัวของเทววิทยาในลาตินอเมริกา
คริสต์
+ มาร์กซ์ = เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความรู้
ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ต้นฉบับมาจากสารานุกรมออนไลน์ เรื่อง
Liberation theology
From Wikipedia, the free encyclopedia
(Redirected from Theology of Liberation)
(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 785
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
10.5 หน้ากระดาษ A4)
การปรับตัวของเทววิทยาในลาตินอเมริกา
คริสต์ + มาร์กซ์ = เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
Liberation theology - เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย เป็นสกุลความคิดที่สำคัญสกุลหนึ่งและยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ในทางเทววิทยาของศาสนาจักรคาธอลิค หลังจากการประชุมสภาวาติกันครั้งที่สอง หลายครั้งแนวคิดนี้ได้ถูกอ้างในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของสังคมนิยมคริสเตียน(Christian
socialism) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดนี้เป็นที่แพร่หลายและมีอิทธิพลในแถบลาตินอเมริกาท่ามกลางบรรดาเยซูอิทส์
แม้ว่าอิทธิพลของความคิดนี้จะลดน้อยถอยลง อันเนื่องมาจากหลายๆส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับคำสอนในแนวทางนี้
ได้รับการปฏิเสธจากวาติกัน
สันตะปาปาองค์ปัจจุบัน Benedict XVI, เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า พระองค์ทรงเป็นปรปักษ์กับแนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย และอันที่จริงในฐานะตำแหน่งของพระองค์(1981-2005) คือรูปแบบที่สมบูรณ์ของกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนใจหลักคำสอนเกี่ยวกับความศรัทธา(Congregation for the Doctrine of the Faith) ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการบีบบังคับและคัดค้านสันตะปาปาองค์ก่อน, สันตะปาปา John Paul II, ต่อแนวโน้มทางด้านสังคมนิยมบางอย่างในเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
Overview
- เรื่องราวโดยสังเขป
โดยสาระสำคัญ แนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ได้ทำการสำรวจตรวจตราความสัมพันธ์กันระหว่าง"เทววิทยาคริสเตียน"(Christian
theology)(ปรกติแล้วคือคาธอลิค) กับ"กิจกรรมทางการเมือง"(political
activities) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ต่างๆในด้านความยุติธรรมทางสังคม และสิทธิมนุษยชน
นวัตกรรมใหม่ทางด้านระเบียบวิธีที่สำคัญของเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเทววิทยา
กล่าวคือ พระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า จากแง่คิดหรือทัศนะของผู้คนที่ยากจนในทางเศรษฐกิจ
และภาวะที่ถูกกดขี่บีบคั้นและทุกข์ยากของผู้คนในชุมชน
- ตามความเห็นของ Jon Sobrino, S.J. ความยากจนคือช่องทางพิเศษอันหนึ่งของความสง่างามของพระผู้เป็นเจ้า
- ส่วนในแง่คิดของ Phillip Berryman เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยเป็น"การตีความเกี่ยวกับหลักศรัทธาของคริสเตียน โดยผ่านความทุกข์เข็ญของผู้คนที่ยากไร้ การต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขาและความหวัง และมันเป็นการวิพากษ์สังคม และการวิจารณ์หลักศรัทธาของคาธอลิคและคริสตจักร์ โดยผ่านสายตาต่างๆของคนที่ยากจน
เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ได้เพ่งความเอาใจใส่ลงไปที่องค์พระเยซูในฐานะผู้ปลดปล่อย โดยได้มีการเน้นลงไปในส่วนต่างๆเหล่านั้นของพระคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งพันธกิจของพระเยซูได้รับการอรรถาธิบายในเรื่องราวต่างๆของการปลดเปลื้อง และในฐานะของผู้นำมาซึ่งความยุติธรรม อันนี้ได้รับการตีความในฐานะภารกิจทางศาสนา ที่กระทำเป็นปรกติเพื่อทำให้พันธกิจเกี่ยวกับความยุติธรรมบรรลุผลสำเร็จ - ตามตัวอักษร
บรรดานักเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ได้ผนวกเอาแนวคิดของมาร์กซิสท์เข้าไปด้วย อย่างเช่น คำสอนเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างไม่ย่อท้อ. ซึ่งตามความเห็นของ Gustavo Gutierrez เสนอว่า "การปลดปล่อย"ที่แท้จริงมีอยู่ด้วยกันสามมิติ
- มิติที่หนึ่ง, เกี่ยวพันกับการปลดปล่อยทางการเมืองและทางสังคม การกำจัดมูลเหตุแห่งความยากจนและความอยุติธรรมลงไปทันที
- มิติที่สอง, การปลดปล่อยเกี่ยวพันกับการปลดเปลื้องความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ การถูกกดขี่ และการถูกบีบคั้น "จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งได้ไปจำกัดความสามารถของพวกเขาที่จะพัฒนาตัวเองได้อย่างอิสระและอย่างมีศักดิ์ศรี"
- มิติที่สาม, เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย เกี่ยวพันกับการปลดเปลื้องความเห็นแก่ตัวและบาป เป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่อันหนึ่งกับพระผู้เป็นเจ้า และกับมนุษย์คนอื่นๆ
First, it involves political and social liberation, the elimination of the immediate causes of poverty and injustice.
Second, liberation involves the emancipation of the poor, the marginalised, the downtrodden and the oppressed from all "those things that limit their capacity to develop themselves freely and in dignity".
Third, Liberation Theology involves liberation from selfishness and sin, a re-establishment of a relationship with God and with other people.
เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ตามปรกติแล้ว ไม่ได้มีการเรียนการสอนกันตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการพูดคุยกันในวงสัมนาใดๆ พวกเขามีแนวโน้มในการสัมผัสติดต่อกับคนยากจน และตีความพระคัมภีร์บางส่วน โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ต่างๆของพวกเขาในบริบทนี้
History:
from Gustavo Guti?rrez to Vatican's condemnation
ประวัติศาสตร์ : จาก Gustavo Gutierrez ถึง การประณามของวาติกัน
The CELAM หรือ"การประชุมสังฆราชในลาตินอเมริกา" (Consejo Episcopal
Latinoamericano - Latin American Episcopal Conference) ได้จัดให้มีขึ้นในปี
ค.ศ.1955 ในเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล, the CELAM ได้ผลักดันให้มีการประชุมสภาวาติกันครั้งที่สอง(1962-65)
เพื่อมุ่งสู่ท่าทีหรือทัศนคติที่ก้าวหน้ามากขึ้น
ช่วงระหว่าง 4 ปีต่อมา, CELAM ได้ตระเตรียมการประชุมที่เรียกว่า 1968 Medellin Conference, ในโคลัมเบีย ซึ่งได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับ"การชุมชนต่างๆที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนาจักร"(ecclesial base communities)(CEBs) และ เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยซึ่งได้รับการก่อตั้งโดย Gustavo Gutierrez ในบทความชิ้นหนึ่งของเขาในปี ค.ศ.1972
บทความของ Gustavo Gutierrez ชื่อว่า "A Theology of Liberation: History, Politics and Salvation" (เทววิทยาเกี่ยวกับการปลดปล่อย: ประวัติศาสตร์, การเมือง และทางรอด") ได้ทำให้คาธอลิคแนวทางเพื่อสังคม(social-catholic)อันนี้เป็นทฤษฎีขึ้นมาครั้งแรก และแพร่หลายในศาสนาจักร โดยได้รับอิทธิพลมาจากขบวนการคนงานคาธอลิค(Catholic Worker Movement) และองค์กรยุวชนคนงานคริสเตียนฝรั่งเศส(the Christian youth worker french organization). นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากผลงานเรื่อง "The Poors, Jesus and the Church" (คนยากจน, พระเยซูและศาสนจักร)(1963)ด้วย ซึ่งเป็นผลลัพธ์เกี่ยวงานต่างๆเบื้องต้นของการประชุมสภาวาติกันครั้งที่สอง
CELAM (การประชุมสังฆราชในลาตินอเมริกา)
ได้ให้การสนับสนุนต่อแนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ซึ่งถูกจ้องมองอย่างถมึงทึงจากวาติกัน
โดยสันตะปาปา Paul VI ซึ่งพระองค์พยายามที่จะทำให้ขบวนการดังกล่าวช้าลงไป หลังจากการประชุมสภาในปี
ค.ศ.1962-65. พระคาร์ดินัล Samore ได้ทำหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ระหว่าง the Roman
Curia และ the CELAM ในฐานะผู้นำของ the Pontifical Commission for Latin America
(พันธกิจทางด้านพิธีกรรมและหลักปฏิบัติสำหรับบิชอพส์หรือสังฆนายกในลาตินอเมริกา)
ซึ่งได้รับบัญชาให้มีการกำกับและกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ดังกล่าว
(Roman Curia คือ Roman Catholic Church หรือศูนย์กลางของศาสนาจักร์โรมันคาธอลิค)
โดยการเลือกตั้ง Alfonso Cardinal L?pez Trujillo ขึ้นในปี ค.ศ.1972 ในฐานะเลขาธิการทั่วไปของ CELAM, พวกอนุรักษ์นิยมทั้งหลายได้เข้าควบคุมองค์กรนี้ เช่นเดียวกับ the Roman Curia. แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 1975, สภาเทววิทยาในเม็กซิโกภายใต้แนวทางของ"การปลดปล่อยและการคุมขัง"(liberation and captivity)ได้จัดให้มีการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 700 คน.
ในปีต่อมา Leonardo Boff ได้ตีพิมพ์ "Teologia do Cativeiro e da Libertino" ในการประชุม Puebla ของ CELAM ปี ค.ศ.1979, พวกอนุรักษ์นิยมได้เข้ามากำกับและกำหนดทิศทางอีกครั้ง และต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากพวกก้าวหน้าของบรรดาบาทหลวงทั้งหลาย ซึ่งได้นิยามแนวคิดเกี่ยวกับ"ทางเลือกอันเป็นอภิสิทธิ์สำหรับคนยากจน"
Official
condemnation - การประณามอย่างเป็นทางการ
เนื่องจากธรรมชาติของความขัดแย้งเกี่ยวหัวข้อดังกล่าว ดังนั้น ที่ทางของเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยภายใต้ศาสนจักรและขอบเขตดังกล่าว
จึงทำให้ศาสนจักรที่เป็นทางการควรจะค้ำจุนมันไว้ ในฐานะที่เป็นสาระสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับการโต้เถียงเพื่อให้เกิดการประสานสอดคล้องกัน.
แม้ว่าเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย บางส่วนจะมีหลักการที่ประสานเข้ากันได้กับคำสอนคาธอลิคเชิงสังคม
ดังที่แสดงออกในถ้อยแถลงที่เป็นทางการ แต่ก็ถูกปฏิเสธจากวาติกัน เนื่องจากว่าแนวคิดดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่บนแนวทางของบรรดามาร์กซิสท์
ที่มีแนวโน้มมุ่งไปสู่ลัทธิวัตถุนิยม
แง่มุมอันนี้ของเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย เป็นเรื่องที่น่าจะได้รับการทักท้วงและคัดค้านมากที่สุด สำหรับบรรดานักวิจารณ์ในสายคาธอลิคออร์ธอด็อกส์ ซึ่งพิจารณามันในฐานะที่เป็น "การยุยงให้เกิดความเกลียดชังและความรุนแรง และการยกระดับเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นขึ้นมา" แต่อย่างไรก็ตาม พระคาร์ดินัล Ratzinger ชื่อก่อนหน้านั้น, ซึ่งปัจจุบันคือสมเด็จพระสันตะปาปา Benedict XVI, ได้ยกย่องสรรเสริญแง่มุมดังกล่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว ซึ่งปฏิเสธความรุนแรง และแทนที่ด้วย"การเน้นเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ซึ่งบรรดาคริสเตียนทั้งปวงจำเป็นที่จะต้องแบกภาระสำหรับความยากจนและการกดขี่เอาไว้
ส่วนใหญ่แล้ว สันตะปาปา John Paul II เป็นบุคคลที่ยุติการให้ความสนับสนุนอย่างเป็นทางการกับเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย ท่ามกลางลำดับชั้นสูงต่ำของศาสนจักรคาธอลิค โดยแถลงการของพระองค์ในเดือนมกราคม 1979 ขณะที่พระองค์ได้เสด็จไปเยือนประเทศเม็กซิโก นั่นคือ "แนวความคิดของพระคริสต์นี้เป็นเรื่องทางการเมือง, เป็นเรื่องของการปฏิวัติ, เป็นการบ่อนทำลาย Nazareth, ไม่สอดคล้องต้องตรงกับคำสอนทั้งหลายของศาสนจักร์แต่อย่างใด" กล่าวได้ว่า นี่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของวาติกันในการสถาปนาอำนาจของสถาบันขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางบาทหลวงที่ถูกล่อลวงดึงดูดไปโดยกิจกรรมทางสังคมและการเมือง
แต่อย่างไรก็ตาม เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยก็ยังคงรักษาความสนับสนุนในระดับสูงเอาไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท่ามกลางเหล่าฆราวาสและพระเป็นคนๆไป. และอันที่จริงสันตะปาปา John Paul พระองค์เองภายหลังจากนั้นได้ให้การยอมรับว่า ลัทธิมาร์กซ์ได้รับการบรรจุให้มีอยู่แล้ว ในฐานะ "เมล็ดในหรือแก่นของความจริงอันหนึ่ง"(a kernel of truth) เกี่ยวกับธรรมชาติของการตักตวงประโยชน์ของลัทธิทุนนิยม
สมเด็จพระสันตะปาปา John Paul II ได้มอบภารกิจให้กับพระคาร์ดินัล Ratzinger, ปัจจุบันเป็นพระสันตะปาปา Benedict XVI, ทำการคัดค้านแนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยอย่างเป็นทางการและเป็นระบบ โดยผ่านการจัดประชุมสำหรับหลักคำสอนเกี่ยวกับศรัทธา(the Congregation for the Doctrine of the Faith), นำโดย Ratzinger, วาติกันได้ประณามและกล่าวโทษเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยถึงสองครั้ง ในปี ค.ศ.1984 และ 1986 โดยตำหนิเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆในแบบมาร์กซิสท์
Leonardo Boff เป็นตัวอย่าง ซึ่งได้ถูกแขวนลอยเอาไว้ ในขณะที่คนอื่นๆได้ถูกลดทอนบทบาทลงอย่างเงียบๆ และในปี ค.ศ.1980, พระราชาคณะของ San Salvador, ?scar Romero, ซึ่งขัดแย้งกับพระสันตะปาปา John Paul II ในช่วงระหว่างที่ท่านเสด็จเยือนยุโรป ได้ถูกลอบสังหารในท่ามกลางฝูงชน. Oscar Romero ได้เคยให้เหตุผลว่า รัฐบาล El Salvador ไม่อาจได้รับการสนับสนุนใดๆ เนื่องจากว่าการกระทำของรัฐบาล ล้วนนำมาซึ่งความสยดสยองและการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ
เดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1983 พระคาร์ดินัล Ratzinger ได้ส่งเอกสารอันเกี่ยวกับข้อสังเกต 10 ประการถึงเทววิทยาของ Gustavo Gutierrez ซึ่งได้กล่าวหาเขาเกี่ยวกับการตีความพระคัมภีร์ไบเบิลไปในทางการเมือง และเกี่ยวกับการสนับสนุนลัทธิ Messianism ที่ข้องเกี่ยวกับเรื่องทางโลก. Ratzinger ยังประกาศด้วยว่า อิทธิพลของมาร์กซิสม์ ได้ถูกพิสูจน์โดยความโดดเด่นของ orthopraxis ที่เหนือกว่า orthodoxy. ในท้ายสุดของเอกสารฉบับดังกล่าวได้แถลงว่า แนวความคิดทั้งหลายเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนต่อความขัดแย้งทางชนชั้นเดียวกันไว้ภายในศาสนจักร ซึ่งในเชิงตรรกได้นำไปสู่การปฏิเสธเกี่ยวกับลำดับชั้นสูงต่ำ
ในช่วงทศวรรษที่
1980-90s, Ratzinger ยังคงตำหนิและกล่าวโทษคำสอนของ Gutierrez เกี่ยวกับเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยต่อมา
และมีการห้ามพระบางรูปไม่ให้สอนสั่งในเรื่องเหล่านี้ นอกจากนั้นยังไปไกลถึงขนาดมีการขับ
Tissa Balasuriya ในศรีลังกาออกจากศาสนาจักรเลยทีเดียว. ภายใต้อิทธิพลของ Gutierrez
สกุลความคิดการก่อรูปทางเทววิทยาได้ถูกห้ามทำการสั่งสอนตามแนวทางของเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
ในการเดินทางของพระองค์ไปยัง Managua, Nicaragua, สมเด็จพระสันตะปาปา John Paul
II ได้กล่าวโทษอย่างรุนแรงในสิ่งที่พระองค์ตั้งชื่อมันว่า"ศาสนจักรแบบป๊อปปูล่าร์"(popular
Church) (นั่นคือ "ecclasial base communities - คริสตศาสนิกบนฐานเพื่อชุมชน"
(CEBs) ที่ได้รับการสนับสนุนโดย CELAM) และทรงคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับแนวโน้มต่างๆของบรรดาบาทหลวงนิคารากัวที่ให้การสนับสนุนพวก
Sandinistas, พระองค์ทรงยืนยันถึงอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของวาติกัน
Liberation theologians - รายนามนักเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย
- Jean-Bertrand Aristide
- Paulo Evaristo Arns
- Marcella Althaus-Reid
- Carlos Felipe Ximenes Belo
- Leonardo Boff
- Helder C?mara
- James Cone
- Ernesto Cardenal
- Jose Miguez Bonino
- Ignacio Ellacur?a
- Gerard Jean-Juste
- Erwin Kr?utler
- Oscar Romero
- Gustavo Guti?rrez
- Stephen Sizer
- Jon Sobrino
- Camilo Torres Restrepo
- Paul Gauthier
- Juan Luis Segundo
- Samuel Ruiz
Pass-ages
from the Bible - ข้อความต่างๆจากพระคัมภีร์ไบเบิล
(ในส่วนของภาษาไทยต่อไปนี้ ใช้คำแปลจาก พระคริสตธรรมคัมภีร์ ของสมาคมพระคริสตธรรมไทย)
- พระองค์ทรงสำแดงฤทธิ์ด้วยพระกรของพระองค์ พระองค์ทรงทำให้ผู้มีใจเย่อหยิ่งแตกสานซ่านเซ็นไป พระองค์ทรงถอดเจ้านายจากพระที่นั่ง และพระองค์ทรงยกผู้น้อยขึ้น พระองค์ทรงโปรดให้คนอดอยากอิ่มด้วยสิ่งดี และทรงกระทำให้คนมั่งมีไปมือเปล่า (ลูกา 1:51-53)
- He has scattered the proud in the imagination of their hearts, he has put down the mighty from their thrones, and exalted those of low degree; he has filled the hungry with good things, and the rich he has sent empty away. (Luke 1:51-53)- ถ้าพี่น้องของเจ้ายากจนลงและเลี้ยงตัวเองอยู่กับเจ้าไม่ได้ เจ้าจะต้องเลี้ยงดูเขา ให้เขาอยู่กับเจ้าอย่างคนต่างด้าวและคนที่อยู่อาศัย อย่าเอาดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มอะไรจากเขา แต่จงยำเกรงพระเจ้า เพื่อว่าพี่น้องของเจ้าจะอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าได้ เจ้าอย่าให้เขายืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย หรือขายอาหารโดยเอากำไรจากเขา เพราะเราคือพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของเจ้าซึ่งจะนำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพื่อยกแผ่นดินคานาอันให้แก่เจ้า และที่จะเป็นพระเจ้าของเจ้า (เลวิติโก 25:35-38)
- And if your brother becomes poor, and cannot maintain himself with you, you shall maintain him; as a stranger and a sojourner he shall live with you. Take no interest from him or increase, but fear your God; that your brother may live beside you. You shall not lend him your money at interest, nor give him your food for profit. I am the Lord your God, who brought you forth out of the land of Egypt to give you the land of Canaan, and to be your God. (Leviticus 25:35-38)- คนทั้งปวงที่เชื่อนั้น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และไม่มีใครอ้างว่าสิ่งของที่ตนมีอยู่เป็นของตน แต่ทั้งหมดเป็นของกลาง อัครทูตจึงประกอบด้วยฤทธิ์เดชใหญ่ยิ่ง เป็นพยานว่าพระเยซูเจ้าได้ทรงคืนพระชนม์ชีพแล้ว และพระคุณอันยิ่งใหญ่ได้อยู่กับเขาทุกคน เพราะว่าในพวกศิษย์ไม่มีผู้ใดขัดสน ผู้ใดมีไร่นาบ้านเรือนก็ขายเสีย และนำเงินค่าของที่ขายได้นั้นมาวางไว้ที่เท้าอัครทูต อัครทูตจึงแจกจ่ายให้ทุกคนตามที่ต้องการ (กิจการของอัครทูต 4:32-35 ดู 2:42-47 ประกอบ)
- The community of believers were of one heart and one mind. None of them ever claimed anything as his own; rather, everything was held in common. With power the apostles bore witness to the resurrection of the Lord Jesus, and great respect was paid to them all; nor was there anyone needy among them, for all who owned property or houses sold them and lay them at the feet of the apostles to be distributed to everyone according to his need. (Acts 4:32-35; see also 2:42-47)
- พระวิญญานแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังผู้ที่ทุกข์ใจ พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาให้เล้าโลมคนที่ชอกช้ำระกำใจ และร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย และบอกให้เปิดเรือนจำออกให้แก่ผู้ที่ถูกจองจำ. เพื่อประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า และวันแห่งการแก้แค้นของพระเจ้าของเรา (อิสยาห์ 61:1-2)
- The spirit of the Lord God is upon me, because the Lord has anointed me; he has sent me to bring good news to the oppressed, to bind up the brokenhearted, to proclaim liberty to the captives, and release to the prisoners; to proclaim the year of the Lord's favor, and the day of vengeance of our God (Isaiah 61:1-2)
- นี่แน่ะท่านผู้มั่งมี จงร้องไห้โอดครวญเพราะความวิบัติซึ่งจะเกิดกับท่าน ทรัพย์สมบัติของท่านก็ผุพังไปแล้ว และตัวแมลงก็กัดกินเสื้อผ้าของท่าน ทองและเงินของท่านก็เกิดสนิม และสนิมนั้นก็จะเป็นพยานหลักฐานการกระทำของท่าน และจะเผาผลาญเลือดเนื้อท่านดุจไฟ ท่านได้สั่งสมสมบัติไว้แล้วสำหรับอวสานกาล นี่แน่ะ ค่าจ้างของคนที่ได้เกี่ยวข้าวในนาของท่าน ซึ่งท่านได้ฉ้อโกงไว้นั้นก็ร้องฟ้องขึ้น และเสียงร้องทุกข์ของคนที่เกี่ยวข้าวนั้นได้ทรงทราบถึงพระกรรณขององค์พระผู้เป็นเจ้าจอมโยธาแล้ว ท่านมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างฟุ่มเฟือยและสนุกสนาน ท่านได้บำเรอจิตใจของท่านไว้รอวันประหาร ท่านได้ตัดสินลงโทษ และได้ฆ่าคนชอบธรรม เขาก็ไม่ได้ต่อต้านท่าน (ยากอบ 5:1-6)
- Now listen, you rich people, weep and wail because of the misery that is coming upon you. Your wealth has rotted, and moths have eaten your clothes. Your gold and silver are corroded. Their corrosion will testify against you and eat your flesh like fire. You have hoarded wealth in the last days. Look! The wages you failed to pay the workmen who mowed your fields are crying out against you. The cries of the harvesters have reached the ears of the Lord Almighty. You have lived on earth in luxury and self-indulgence. You have fattened yourselves in the day of slaughter. You have condemned and murdered innocent men, who were not opposing you.. (James 5:1-6)- เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ (เอเฟซัส 6:12)
- Our struggle is not against flesh and blood, but against the authorities, against the powers, against the rulers of darkness in this world. - Ephesians 6:12
See also: สำหรับผู้สนใจ สามารถค้นหาเรื่องเกี่ยวเนื่องกับบทความนี้ได้จาก
- Dalit theology
- Black theology
- Feminist theology
- Minjung theology
- Progressive Christianity
- Christian anarchism
Bibliography
- Berryman, Phillip, Liberation Theology (1987)
- Sigmund, P.E., Liberation Theology at the Crossroads (1990).
- Hillar, Marian, "Liberation Theology: Religious Response to Social Problems. A Survey", published in Humanism and Social Issues. Anthology of Essays. M. Hillar and H.R. Leuchtag, eds., American Humanist Association, Houston, 1993, pp. 35-52.
- Guti?rrez, Gustavo, A Theology of Liberation: History, Politics and Salvation, Orbis Books, 1988
External links (ลิงค์เหล่านี้ นำมาจาก wikipedia)
- A short history of Liberation theology
- Excerpts on and Chronology of liberation theology (alt link [4])
-"Christian Revolution in Latin America: The Changing Face of Liberation Theology", Ron Rhodes
- BBC Religion & Ethics theological obituary of Pope John Paul II: his views on liberation theology
- Centre for Liberation Theologies, Faculty of Theology, Katholieke Universiteit Leuven, Belgium
- Edward A. Lynch, "The Retreat of Liberation Theology", 1994
- Why the Vatican Hates Liberation Theology
Vatican
- Sacred Congregation for the Doctrine of the Faith, August 6, 1984, Instruction on Certain Aspects of "Theology of Liberation"
- Joseph Cardinal Ratzinger, "Liberation Theology" (preliminary notes to 1984 Instruction)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมายเหตุท้ายเรื่อง
สำหรับผู้สนใจต้นฉบับงานเรียบเรียงชิ้นนี้ สามารถคลิกไปดูได้ที่
Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Liberation_theology"
- This page was last modified 01:28, 11 December 2005.
- All text is available under the terms of the GNU Free
Documentation License
บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com