มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์ ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ
ในเวลาเดียวกันนั้น
นักวิชาการส่วนหนึ่ง
ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว
ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง
โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ
นักวิชาการเครื่องซักผ้า. สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35
|
|
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากท่านต้องการติดต่อมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาส่งจดหมายของท่านมายังที่อยู่ข้างต้น หรือตามที่อยู่ใหม่นี้ [email protected] ที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ซึ่งท่านสะดวกต่อการจำ ขอขอบคุณค่ะ เรียนท่านอาจารย์นิธิและชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ดิฉันได้ทราบข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากหนังสือพิมพ์ และเพิ่งทราบว่ามีwebsite ดิฉันได้เข้าไปดูและสมัครเป็นสมาชิก รวมทั้งส่งข้อความมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยบ้างแล้ว เป็นwebsiteที่น่าดู เป็นมิตร และชวนให้ติดตามมากค่ะ ดิฉันรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในวงการศึกษาและการเรียนรู้ของสังคมไทย ดิฉันเชื่อว่ามันจะเติบโต แข็งแรง และขยายเครือข่ายออกไปได้อีกมากมาย หวังว่าชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนคงจะไม่รังเกียจคนที่สังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยเที่ยงวันอย่างดิฉัน และwebsiteนี้จะเป็นวิถีทางที่จะทำให้เราได้เรียนรู้จากกันและกันได้สะดวกขึ้นค่ะ ด้วยความนับถืออย่างสูง ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล หลังจากผ่านตา web site
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนแล้ว
หากมีคำถาม หรือข้อสงสัย
รวมทั้งต้องการแสดงความคิดเห็นมายังทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง E-mail ของท่านมายัง หรือหากต้องการแสดงความคิดเห็นกว้างๆ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ กรุณาใช้ webboard ในหัวข้อที่ 12 ทางด้านซ้ายมือ ซึ่งใช้เป็นกระดานข่าวสำหรับส่งข้อความ หรือตั้งประเด็นปัญหาให้ผู้สนใจทุกท่านที่เข้าไปดูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
วันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ได้รับ e-mail ฉบับหนึ่งแสดงความคิดเห็นมาเกี่ยวกับ home page ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนว่า ทำได้สวยงาม และชมภาพผลงานศิลปะประจำสัปดาห์ว่า เป็นผลงานที่น่าประทับใจ อยากให้เก็บเอาไว้นานๆ เพื่อเผื่อแผ่ให้คนมาทีหลังได้รับชมกัน นอกจากนี้ ยังรู้สึกว่า ภาษาอังกฤษที่ใช้ยังอ่านดูทะแม่งๆ ซึ่งก็จะรับนำไปแก้ไขต่อไป มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. (ภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงได้รับการแก้ไขแล้ว) ข้อมูลบางส่วนซึ่งเป็นคำถาม ถามมาผ่าน webboard หรือ e-mail ของ midnight university ได้รับการตอบโดยชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยหวังว่าคำถามและคำตอบเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง
ข้อความ
กำลังเก็บข้อมูลในหัวข้อประวัติศาสตร์มุขปาฐะ
โดยการสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ในจังหวัดลำปาง
กำหนด ประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ
แต่พอไปสัมภาษณ์แล้วเกิดปัญหาคือ
คนแก่จะจำอะไรไม่ค่อยได้
จะต้องนำคำสัมภาษณ์นั้นมาถอดเทป
ซึ่งทำไปแล้วรู้สึกว่าตันค่ะ
ไม่รู้จะถามอย่างไรให้ได้ข้อมูลมา
และหากจะนำเสนอโดยการถอดเทปก็รู้สึกว่าคนอ่านคงอ่านยาก
เนื่องจากไม่ได้แยกประเด็น
และหากต้องนำมาแยกประเด็นเองก็ได้อย่างละนิดละหน่อย
ข้อความ เนื่องด้วยตอนนี้ผมกำลังทำโปรเจคเพื่อจบการศึกษา เป็นรายการโทรทัศน์ ผมเลือกที่จะทำสารคดีเกี่ยวกับ"หมอลำผีฟ้า"ครับ ข้อมูลที่ผมหามาได้มักจะมาจากการวิจัยของ นักศึกษาปริญญาโทกับรายงานทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลส่วนหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเกือบทั้งหมดก็ได้สรุปตามแบบคนเมืองมองชนบทว่า"นี่คือผลจากความล้าหลังทางสังคม ทำให้คนเหล่านั้นยังต้องพึ่งวิธีการดังกล่าวในการรักษาตัว" ผมรู้สึกว่าข้อมูลดูจะขาดความเป็นกลางและมองในทางลบมากเกินไป เลยอยากขอความเห็นจากอาจารย์ด้วยครับว่า อาจารย์มีความเห็นกับการรักษาด้วยหมอลำผีฟ้าอย่างไร และอาจารย์มองความต่างของ"ศรัทธาที่นำไปความสงบสุขทางสังคม"กับ"ความงมงาย ที่นำไปสู่ความเสื่อม"ต่างกันตรงไหน อย่างไรครับผม ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะครับ โดย : Ace striker [ 31 พ.ค. 2543 , 15:39:50 น. ] ข้อความ (นิธิ) ผมคิดว่า การรำผีฟ้าเป็นการรักษาความเจ็บไข้ในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ถ้าไม่เริ่มต้นตรงนี้ให้ชัด เราก็จะพยายามเอาบรรทัดฐานของการรักษาความเจ็บไข้ของอีกวัฒนธรรมหนึ่งไปอธิบายและประเมินการรำผีฟ้า ซึ่งทำให้ไม่เข้าใจอะไรเลย เช่นเอาการรักษาของวัฒนธรรมการแพทย์แผนฝรั่งไปอธิบายเป็นต้น ผมคิดว่าจำเป็นต้องเริ่มที่คำถามพื้นฐานเลยว่า อะไรคือความเจ็บไข้ในวัฒนธรรมเดิมของอีสาน? ในวัฒนธรรมการแพทย์แผนฝรั่ง ความเจ็บไข้ทั้งหลายคือการผิดปรกติของปัจจัยทาง bio-medicine แต่ของอีสานไม่ใช่ ความเจ็บไข้คือความไม่สบาย ทั้งทางร่างกาย, จิตใจ และสังคม สมุฏฐานของความเจ็บไข้ก็กว้างกว่า bio-medicine มีตั้งแต่ฤดูกาลไปจนถึงชะตา การเปลี่ยนผ่านของช่วงชีวิต การผิดผี ฯลฯ และโรค เป็นต้น กระบวนการรักษาก็ไม่จำกัดเฉพาะแพทย์และคนไข้ แต่รวมไปถึงการปรับความสัมพันธ์, อาหาร, พฤติกรรมทั้งของคนไข้และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโยงไยถึงคนไข้ด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่เอามาตรฐานของวัฒนธรรมหนึ่งไปตัดสินมาตรฐานของอีกวัฒนธรรมหนึ่งว่า งมงายหรือไร้การศึกษาหรือไร้เหตุผล ฯลฯ เพราะไม่ช่วยให้เข้าใจอะไรมากขึ้นสักอย่าง โดย : นิธิ [1 มิ.ย. 2543 , 21:30:12 น.] ข้อความ (Anthro apologia) ด้วยสติปัญญาอันต่ำต้อยของผม แนวคิดแบบของอ.นิธิ โดยส่วนตัวแล้วเคยเห็นด้วย แต่ตอนนี้ผมชักไม่ค่อยแน่ใจแล้วว่า การมองวัฒนธรรมแบบนี้ ออกจะเหมือนกับนักมนุษยวิทยาคนหนึ่งของฝรั่ง คือ ฟรานซ์ โบแอส เจ้าของสำนัก สัมพัทธ์นิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งประเด็นอยู่ที่ว่า ในปัจจุบันนี้ โลกมีความซับซ้อนอย่างมาก การดำรงค์อยู่ในโลกใบนี้ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับผู้คน แนวคิด ทรรศนะคติ แบบใหม่มากมาย ผมคิดว่า ที่อาจารย์บอกว่า ไม่มีประโยชน์ที่เอามาตรฐานของวัฒนธรรมหนึ่งไปตัดสินวัฒนธรรมอื่น อย่างที่บอกโดยส่วนตัวผมเห็นด้วย แต่เอาเข้าจริงแล้ว เหตุการณ์แบบนี้ การกระทำแบบนี้ ดำรงอยู่และมีมากมายจนเราไม่สามารถปฏิเสธมันได้ ประเด็นของผมคือ เมื่อมันเป็นแบบนี้ เราจะเอายังไง ยกตัวอย่างเช่น การกลับมาของดอนปู่ตา ก้เกิดมาจากการการฟื้นโดย นักวิชาการ ไม่ใช่ชาวบ้านเอง หรือจะเป็นการฟื้นคืนของ ยาพื้นบ้าน ภายใต้การประทับตรา approve จากวิทยาศาสตร์แล้วในรูปของสามารถอธิบายสรรพคุณและมีความสอดคล้องเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ ที่ผมต้องการจะพูดคือ เราจะทำอย่างไรกับพลังที่มีอยู่จริงนี้ พลังของการตัดสินทำตัวเป็นมาตรวัดของวัฒนธรรมหนึ่งที่มีต่อวัฒนธรรมอื่นๆ สุดท้ายแล้วมันเป็นเรื่องการเมือง ในการแย่งชิงพื้นที่เพื่อการครอบงำรึเปล่า ผมอาจจะมองโลกในแง่ร้ายเกินไป โดย : Anthro apologia - [7 มิ.ย. 2543 , 23:55:02 น.] ข้อความ (ปริตตา) สำหรับท่านที่ถามเรื่องผีฟ้า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ทำวีดีโอ เรื่อง พิธีลงข่วงผีฟ้า ไว้ ไม่ทราบว่าได้ดูหรือยัง วีดิโอชุดนี้ทำโดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ และอาจารย์ปรานี วงษ์เทศ ถ่ายทำจากพิธีที่ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ วีดิโอเรื่องนี้เสนอทัศนะที่แตกต่างจากการมองแบบยัฒนธรรมล้าหลังอย่างแน่นอน คือเสนอว่าพิธีกรรมเป็นการจินตนาการสภาพสังคมที่มีความรื่นรมย์สมบูรณ์ ผิดกับความเป็นจริงที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำเค็ญ สำหรับประเด็นสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมนั้น ดิฉันคิดว่าคุณประโยชน์ของความคิดนี้ คือการเตือนไม่ให้ทึกทักเอาง่ายๆ ตามที่เราคิดว่า "เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป" เพราะสิ่งที่เราคิดว่ารู้หรือเชื่อว่าจริงนั้น เป็นสิ่งที่สมุมติกันภายในสังคมหรือกลุ่มคนหนึ่งๆ การคิดแบบนี้ จะเท่ากับกลายเป็นการนิ่งดูดาย ให้ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า กดขี่รังแกผู้ที่อ่อนกำลังกว่าตลอดไปหรือ ดิฉันคิดว่าไม่จำเป็น ดิฉันเชื่อในพลังของคนตัวเล็กๆค่ะ และคิดว่าคุณAnthro apologiaก็คงเชื่อเช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นเราคงไม่มาเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนใช่ไหมคะ? โดย : ปริตตา [13 มิ.ย. 2543 , 14:44:32 น.]
ขอขอบคุณในความสนใจของท่านที่ติดต่อหรือส่งข้อความมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. ข้อคิดเห็น คำถาม หรือความรู้ใดๆ ที่ท่านส่งมา จะได้รับการพิจารณาและเอาใจใส่อย่างดียิ่ง / มหาวิทยาลัย. เที่ยงคืน (ขอแนะนำ e-mail ใหม่ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน [email protected] เนื่องจาก inbox ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเดิมใกล้จะเต็ม จึงใคร่เรียนสมาชิกส่ง mail ของท่านมายังที่อยู่ใหม่นี้ด้วยค่ะ (กรณีจดหมายที่ต้องการติดต่อโดยตรง)
ท่านผู้สนใจแสดงความคิดเห็น หรือส่งข้อความใดๆ ด่วน! ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โปรดใช้ช่อง Post a Message on My Message Board ข้างล่างนี้ / วิธีการคือ คลิกที่คำว่า click here จากนั้น ช่องที่จะใช้ส่งข้อความจะปรากฎขึ้น ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ เมื่อเห็นข้อความนี้แล้ว ให้คลิกตรงที่ Post ภาพข้างล่างนี้จะปรากฎขึ้นมาให้เราเขียนข้อความแล้วส่ง ให้ใส่ชื่อ และ e-mail address (ถ้ามี) รวมทั้งหัวข้อเรื่อง(message subject) จากนั้นให้พิมพ์ข้อความที่จะส่ง ลงในช่องว่างที่กำหนด. สุดท้ายให้คลิกตรงที่ Post Message ข้อความก็จะส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทันที |