wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

wpe3.jpg (24949 bytes)

ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและข้อมูลสาธารณะ ข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและประกาศต่างๆจะได้รับการนำมาแจ้งในหน้านี้ เพื่อให้ผู้สนใจทุกท่านได้ทราบ ข่าวเกี่ยวกับกิจกรรม และสาระอันเป็นประโยชน์ในเชิงสาธารณะ ทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปะวัฒนธรรม   สำหรับผู้สนใจลงประกาศข่าวหรือให้ข้อมูลใน เรื่องต่างๆ สามารถร่วมกับหน้าข้อมูลข่าวสารนี้ได้   โดยส่งมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com 

BacademicR.jpg (17524 bytes)

(รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นนี้ได้ออกอากาศไปแล้ว และได้ถอดเทปเป็นตัวหนังสือเพื่อเผยแพร่ใน website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน / สมาชิกและผู้สนใจทุกท่านสามารถอ่านได้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายนเป็นต้นไป)

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”. นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให ้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ. ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ? เตรียมพบกับหัวข้อสนทนานี้กับ อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

Bnewdam1.jpg (14313 bytes)

ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเป็นเรื่องที่มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์มานับเป็นพันปีแล้ว แต่การควบคุมกระแสน้ำขนาดใหญ่ ที่ถึงกลับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ เพื่อประโยชน์ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมาครั้งแรกในประเทศอังกฤษ และแพร่ขยายไปในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนกันขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศโลกที่สาม รวมทั้งประเทศไทยด้วย

เขื่อนขนาดใหญ่ เป็นการดึงทรพัยากรน้ำที่จัดการโดยชุมชนไปสู่การจัดการน้ำแบบรวมศูนย์ของรัฐ ซึ่งรัฐอ้างว่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเอนกอนันต์ ตั้งแต่การผลิตกระแสไฟฟ้า การป้องกันน้ำท่วม และการชลประทานขนาดใหญ่ การทำเช่นนั้น ในด้านหนึ่งเป็นความเชื่อว่าเป็นการพัฒนา แต่เบื้องหลังของการพัฒนาดังกล่าวซึ่งไปตกกับภาคอุตสาหกรรม ประชาชนต้องถูกน้ำจำนวนมหาศาลลบพื้นที่ทำมาหากินของตนลง และลบวิถีชีวิตวัฒนธรรมของพวกเขาออกไปด้วย

ปัจจุบัน เขื่อนได้ไปเปลี่ยนพื้นที่ของชาวบ้านให้ไปเป็นพื้นที่ของรัฐ และรัฐได้นำเอาทรัพยากรของชาวบ้านเหล่านั้น ไปรับใช้คนกลุ่มหนึ่งที่มีพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านซึ่งดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียง กลายไปเป็นคนจนที่ยั่งยืน… (สาระดังกล่าวได้ถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม /12.05 น.)

index.1.jpg (10822 bytes)

นักศึกษา สมาชิก ผู้สนใจทุกท่าน ที่ต้องการทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา บรรยากาศการเรียนของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ web site ของ midnight university กรุณาคลิกที่นี่ click here

BarticleN.jpg (25858 bytes)

ความสนใจของ นศ. สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านที่ติดตามบทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นแรงผลักดันอันสำคัญยิ่งในการเขียน แปล และแสวงหาบทความใหม่มานำเสนอบน web site ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ดังนั้นในเกือบแต่ละวันของสัปดาห์ จึงมีบทความใหม่ๆ นำเสนอกระจัดกระจายอยู่ใน web site นี้ เพื่อสนองความต้องการตามที่สอบถามกันมา นอกจากนี้ หาก นศ. สมาชิก และผู้สนใจท่านใด ต้องการอ่านบทความในแนวใดเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเสริมความรู้ และเพื่อประโยชน์สังคมในวงกว้าง กรุณาแจ้งความประสงค์ของท่านมายัง [email protected] เพื่อว่าทางมหาวิทยาลัยฯ จะได้ติดต่อผู้เขียน คณาจารย์ ในสาขาความรู้นั้นมานำเสนอ

Bhealt1.jpg (22728 bytes)

รายการทีทรรศน์ท้องถิ่น ความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กับทีมงานช่อง 11 จังหวัดลำปาง ได้จัดทำรายการโทรทัศน์เพื่อสื่อสาระอันเป็นประโยชน์สู่สังคมเป็นประจำทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน สำหรับรายการวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้ ทีทรรศน์ท้องถิ่นเสนอ ตอน "คนจนป่วยไม่ได้" อันเป็นการสะท้อนถึงปัญหาสาธารณสุขที่มีราคาแพงโดยไม่จำเป็น   ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุของแนวทางสาธารณสุขเพื่อการรักษา แทนที่จะใช้แนวทางเพื่อการป้องกัน หรือปัญหายาจากบรรษัทข้ามชาติที่ผูกขาดและมีราคาแพง รวมไปถึงการบริการหย่อนประสิทธิภาพต่อคนจน ฯลฯ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ วิทยากรซึ่งประกอบด้วย ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล(นักวิชาการอิสระ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ), ชมชวน บุญระหงษ์(มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน), โปร่งนภา อัครชิโนเรส(พยาบาล ร.พ.มหาราช ชม.) และ ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (อาจารย์สาขาวิชาปรัชญา มช.) ได้มาร่วมกันหาทางออกต่อประเด็นทางด้านสาธารณสุขเหล่านี้   สนใจเทปรายการโปรดสั่งจองได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

Bteetus.jpg (13059 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยความร่วมมือกับ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จ.ลำปาง / สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 ได้ร่วมกันจัดทำรายการ"ทีทรรศน์ท้องถิ่น" เพื่อเป็นสื่อและเสียงของคนท้องถิ่นในการเผยแพร่ ความคิด ความเห็นของคนท้องถิ่นต่อปัญหาของคนท้องถิ่น และนโยบายสาธารณะ ออกสู่สังคม. สำหรับวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายนนี้ เวลา 12.05 น. รายการ"ทีทรรศน์ท้องถิ่น" ได้เสนอเรื่อง "ทีทรรศน์การศึกษาไทย" ทางช่อง 11 โดยจะถ่ายทอดสัญญานไปทั่วประเทศ สนใจเทปรายการโปรดสั่งจองได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

Bmidspec1.jpg (10047 bytes)

ขอแนะนำหน้าใหม่ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน midnight's special ซึ่งจะเสนอบทความพิเศษของนักคิดนักเขียนที่ไม่ได้สังกัดกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แต่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยฯในโอกาสต่างๆ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนพิจารณาแล้วว่า บทความของนักคิดนักเขียนท่านนั้นที่นำมาเผยแพร่ จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยในวงกว้าง

กรุณาคลิกไปที่หัวข้อ 14   หรือ midnight's special

newwebboard.jpg (15115 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิดให้มีกระดานข่าวสำหรับสาธารณชนทั่วไป เพื่อแสดงความคิดเห็น และมาตั้งประเด็นสนทนา รวมทั้งถามเรื่องข่าวคราวที่เป็นไปเกี่ยวกับโลกและท้องถิ่นในทุกๆเรื่อง โดยเปิดโอกาสให้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วม ในการให้ความรู้ แสดงความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้โดยไม่จำกัดขอบเขตทัศนะใดๆ เพื่อให้กระดานข่าวนี้เป็นของทุกๆคนที่มีส่วนร่วมกันสร้างความรู้ให้กับสังคมไทย (ไปที่หัวข้อ 12)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดอาคารเรียนหลังแรก วันที่ 23 พค. นี้

wpeD.jpg (15743 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ในซอยวัดอุโมงค์เชียงใหม่เป็นครั้งแรก เนื่องในงานเปิดอาคารมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนหลังแรก

อาคารเรียนหลังแรก ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในรูปของศาลามุงหญ้าคา เนื้อที่ใช้สอยประมาณ 80 ตารางเมตร สร้างขึ้นมาบนเนื้อที่ 1 ไร่ โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่จาก อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนท่านหนึ่ง ให้ยืมใช้สถานที่โดยไม่มีกำหนด สำหรับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนภาคปฐพีกึ่งถาวรนี้ จะทำให้มหาวิทยาลัยมีหลัก แหล่งที่ค่อนข้างมั่นคง สำหรับใช้ในการเรียน และติดต่อธุระ อีกทั้งยังเป็นสถานที่พบประสนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ซึ่งนอกเหนือไปจากการใช้เป็นอาคารเรียน

สำหรับอาคารหลังนี้ สร้างขึ้นมาด้วยทุนทรัพย์ประมาณ 5 หมื่นบาท และได้รับความช่วยเหลือจาก เพื่อนๆหลายๆฝ่าย ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้เป็นครั้งแรก วันที่ 23 พค. 2543 ด้วยการทำบุญเลี้ยงพระ และเปิดการเรียน ร่วมกัน ในยามบ่าย ในหัวข้อเรื่อง "วัฒนธรรมฮาเฮ"เป็นครั้งแรก   

poster1.jpg (11734 bytes)

23 พฤษภาคม 2543 เป็นวันทำบุญเปิดบ้าน เพื่อใช้เป็นที่ทำการและสถานที่เรียนใหม่ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทั้งนี้ที่ผ่านมา ต้องอาศัยสำนักส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม มช. เป็นที่ เรียนมาตลอด ไม่ได้มีที่ทำงาน เป็นหลักแหล่งในการติดต่อ นอกจากตู้ไปรษณีย์นำฝาก 254 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 เท่านั้น ต่อแต่นี้ไป มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะมีที่ทำงานของ ตนเองแล้ว และพร้อมจะให้บริการสำหรับทุกๆคน

openmid(s).jpg (30336 bytes)

  • แนะนำเพื่อนๆ มารู้จักกับ web site ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
  • อยากให้เพื่อนๆช่วยแสดงความคิดเห็นกับสื่อกลางอากาศนี้
  • บริการตอบคำถาม และตั้งคำถามกับเรื่องทุกๆประเด็น

กิจกรรมของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กับชาวบ้าน

information1.jpg (14556 bytes)

ชุมชนบ้านกรูด กับ โรงไฟฟ้าถ่านหิน (30 มี.ค.43)

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้พบกับผู้นำชุมชนที่บ้านกรูด เพื่อขอรับฟังปัญหาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ้านกรูด บรรดาผู้นำชุมชนทั้งหลาย ต่าง ต้องการให้ประชาชนคนไทยสนใจปัญหาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าแห่งนี้

เดิมทีเดียว ปัญหาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าเริ่มต้นขึ้นด้วยปัญหาเรื่องปากท้อง เนื่องจากโรงไฟฟ้าที่ จะสร้างขึ้นมานี้ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำมาหากินของชาวบ้าน โดยเฉพาะชาวประมง ชายฝั่งในแถบนั้น รวมทั้งมลพิษของถ่านหินที่ปล่อยออกมาอันจะมีผลกระทบกับพืชผลเกษตร กรรมและความเป็นอยู่ของผู้คนด้วย ฯลฯ

แต่ปัจจุบัน จากการพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องที่ทำกินของตนเองด้วยเรื่องใกล้ตัวที่นำมาก่อน ชุมชนบ้านกรูดได้เรียนรู้ที่จะมองปัญหาสังคมให้กว้างไกลออกไปมาก ตั้งแต่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาพลังงาน และคุณค่าของความเป็นชุมชน อันเป็นศักยภาพทางนามธรรมของความ เป็นมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันปัญหาของคนบ้านกรูดกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จึงไม่ใช่ปัญหาของชาวบ้านกรูด ที่กระจุกตัวอยู่ที่นั่นเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกป้องที่ทำมาหากินของตนเองเท่านั้นอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียนรู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่มีศักิด์ศรีเท่าเทียม และการต่อสู้กับอำนาจรัฐและบรรษัทข้ามชาติของอำนาจฝ่ายประชาชน ที่สังคมและภาคประชาชน ทั้งหลายต้องให้ความสนใจ

การตั้งมั่นของชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน กับการเผชิญหน้ากับเขื่อนปากมูน

ชาวประมงและเกษตรกรรายย่อยที่ภาคอีสานตอนใต้ ซึ่งทำมหากินอยู่กับแม่น้ำมูลมาหลายชั่วคน ต้องเผชิญกับปัญหาของการพัฒนาที่มาในรูปเขื่อน เพื่อคนที่อื่นที่อยู่ห่างไกลบ้านของตนเองไป พวกเขาถูกร่ายมนต์ให้เชื่อว่า ต้องเสียสละเพื่อให้ประเทศที่เขาอยู่ได้พัฒนา

แต่โดยที่รัฐจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม การเสียสละของชาวบ้านยากจนที่มาจากหลายแหล่งตามลำน้ำมูล ซึ่งได้มารวมตัวกันที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนนี้ พวกเขากำลังเสียสละเกินกว่าที่ชีวิตจะแบกรับไหว ทั้งนี้เพราะที่ทำกินของพวกเขาได้ถูกริบไปด้วยปริมาณน้ำที่มารวมตัวกันท่วมทับพื้นที่นา บางแห่ง ก็เต็มไปด้วยเกลือจนไม่อาจใช้อุปโภคและบริโภคได้ ปลาที่เคยขึ้นมาตามแนวเส้นทาง ของลำน้ำ มูน ก็ไม่ฉลาดพอที่จะเรียนรู้บันไดปลาโจน เพื่อจะกลับบ้านไปวางไข่ ความอุดมสมบูรณ์แบบ เกษตรพอเพียง ถึงวันนี้ไม่เหลือพอที่จะให้มีชีวิตอยู่รอดได้

วันที่ 20-21 เมษายนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับกลุามองค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs) จึงได้จัดการสัมนาเรื่องคนจนขึ้นมา โดยได้เชิญอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน นักวิชาการ อาทิเช่น ศ.เสน่ห์ จามริก, อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์, นายแพทย์ประเวศ วะสี, รวมทั้ง บรรดานักวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอื่นๆ มาร่วมสัมนา ในปัญหาของคนจนกัน ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาของความยากจน ปัญหาและทางออกของ คนจนที่จะอยู่รอดต่อไป. (รายละเอียดเรื่องนี้จะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป).

สำหรับการสัมนาเรื่องคนจนครั้งนี้ บริษัท watch dog ได้มาถ่ายทำเป็นรายการโทรทัศน์ และเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ. และทางทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้บันทึกเทปโทรทัศน์ ตลอดรายการ และได้ตัดเอาบางส่วนออกอากาศไปแล้วในเรื่อง"ดาบหน้าชาวนาไทย"

 

   ผู้สนใจในปัญหาเรื่องเขื่อนปากมูน โปรดคลิกที่ปุ่มนี้

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com   และ [email protected]

WWW.Geocities.com/midnightuniv

 

 

 

HOST@THAIIS