wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

Barticle.jpg (15107 bytes)

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นความร่วมมือของคณาจารย์ นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน ส่งความเรียง บทความ และข้อเขียนต่างๆ มาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานต่อสังคมไทย โดยมุ่งเสนอเนื้อหาที่จะเป็นสาระประโยชน์ และการสร้างความเข้าใจกันในสังคม โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างอดทน สร้างสรรค์ และเป็นสุข

สำหรับเดือนนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ บทความเรื่อง 

       Bhomo1.jpg (20186 bytes)

รักร่วมเพศ(homosexuality)

คำว่า”รักร่วมเพศ” ศัพท์คำนี้บ่งถึง การที่คนๆหนึ่งมีความคิดและความรู้สึกทางเพศรสต่อบุคคลซึ่งเป็นเพศเดียวกัน. ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศนี้Kinsey et al (1948)ได้ประเมินว่า 10 % ของผู้ชายมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ประมาณ 5-6%อย่างน้อยมีพฤติกรรมเช่นนี้ 3 ปี, ส่วนอีก 4% ที่เหลือนั้นในหมู่ผู้ชาย จะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศแบบถาวรไปจนตลอดชีวิต.

Kinsey et al (1953)รายงานว่า ผู้หญิงราว 4% จะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศอย่างฝังใจนับจากช่วงอายุ 20-35 ปี, ในขณะที่ Kenyon (1980) สรุปว่า ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 45 คนของจำนวนประชากรผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นพวกรักร่วมเพศ (เท่ากับ 2% กว่าเท่านั้นเมื่อเทียบกับผู้ชาย)

เราไม่สามารถที่จะแบ่งแยกเด็ดขาดลงไปได้ว่า ใครเป็นพวกรักร่วมเพศและใครเป็นพวกรักเพศตรงข้าม(heterosexual). มันมีอนุกรมอันหนึ่ง, ซึ่งได้วางบุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบรักร่วมเพศขั้วหนึ่ง, และอีกขั้วหนึ่งมีพฤติกรรมทางเพศต่อเพศตรงข้าม; ระหว่างขั้วทั้งสองนี้เป็นพวกที่มีความผูกพันในระดับที่แปรปรวน กล่าวคือ มีพฤติกรรมทางเพศได้ทั้งสองอย่าง คือ สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศได้กับเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม

พฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่ผู้ชาย

ในหมู่ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ ทั้งการใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศ[ปากดูด] (oral-genital contact), การสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน(mutual masturbation) และไม่มากนักที่มีเพศสัมพันธ์กันทางทวารหนัก(anal intercourse). ในพฤติกรรมเหล่านี้ตามปกติแล้ว คู่ขาจะเปลี่ยนแปลงบทบาทไปต่างๆตามความเหมาะสม; แต่ในบางคู่ คู่ขาบางคนมักจะมีพฤติกรรมเป็นฝ่ายรับเสมอและอีกคนเป็นฝ่ายรุกอยู่ตลอด. ความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างคนที่รักร่วมเพศในหมู่ผู้ชาย ปกติแล้วจะไม่ยืนนานเหมือนกับความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายกับหญิง หรือยาวนานเท่ากันกับคู่เลสเบี้ยน.

ผู้ชายที่รักร่วมเพศบางคนจะมีประสบการณ์อันรุนแรงต่อความรู้สึกต่างๆกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ และจะรับเอาพฤติกรรมทางสังคมที่ลงรอยสอดคล้องกันนี้มาไว้, ยกตัวอย่างให้ชัดก็คือ เขาจะแสวงหาเพื่อนหรือคู่ขาที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเหมือนกันตามคลับหรือตามบาร์ต่างๆ. ส่วนพวกที่สำส่อนที่มีอยู่ไม่มากนัก ก็จะแสวงหาคู่ขาทางเพศในสถานที่อื่นๆ, หรือบ่อยครั้งตามห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพวกรักร่วมเพศต่างๆจะถูกพบอยู่ ณ ที่นั้น.

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจำนวนไม่มากนัก จะรับเอาสไตล์หรือท่าทีแบบผู้หญิงมาไว้ในชีวิต, พวกเขาจะชื่นชอบงานและมีกิจกรรมยามว่าง ซึ่งปกติแล้ว ได้รับการทำเช่นนั้นในหมู่พวกผู้หญิง. บางคนก็รับเอาท่าทีที่ติดเป็นนิสัยแบบผู้หญิงมาไว้, และมีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิง (ซึ่งพวกเขาอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจทางเพศจากการได้สวมใส่เสื้อผ้าของผู้หญิง[transvestites]). แต่อย่างไรก็ตาม, ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศส่วนใหญ่มิได้ปฏิบัติหรือประพฤติตัวในลักษณะนี้, และบางคนเป็นคนที่ดูเป็นชายสมชายทีเดียว ในพฤติกรรมทางสังคมของพวกเขา.

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจะแปรผันในด้านบุคลิกภาพ เช่นเดียวกันกับที่ผู้ชายอื่นๆเป็น. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศได้ถูกรวมเข้ากันกับความสับสนผิดปกติเกี่ยวกับบุคลิกภาพ, เป็นไปได้ที่ลักษณะปัจเจก จะตกอยู่ภาวะที่ยุ่งยากกับคนอื่นๆหรือสับสนทางด้านกฎหมาย, และด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้มากทีเดียวที่จะถูกแนะให้ไปหาจิตแพทย์.

Scott(1957) กล่าวเอาไว้ว่า ชายที่รักร่วมเพศที่ได้รับการแนะนำให้ไปพบกับบรรดาจิตแพทย์ทั้งหลายนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรก ประกอบด้วยวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่โตเต็มที่ ซึ่งพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้อาจเป็นไปเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยพวกผู้ใหญ่ซึ่งมีบุคลิกภาพต่างๆตามปกติ ซึ่งมีการปรับตัวทางสังคมเป็นปกติ.

กลุ่มที่สาม เป็นคนกลุ่มที่ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยบุคลิกภาพที่สับสนผิดปกติ, อย่างเช่น มีท่าทางและอุปนิสัยแบบผู้หญิง(effeminate)และมีพฤติกรรมที่แสดงตัวแบบนั้น, อ่อนแอไร้ความสามารถและโดดเดี่ยวทางสังคม, มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมและขุ่นเคืองใจ (พวกหลังนี้อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและบ่อยครั้งแสวงหาประโยชน์ใส่ตัวกับผู้ที่รักร่วมเพศคนอื่นๆ)

กลุ่มที่สี่ รวมไปถึงพวกรักร่วมเพศที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้น ซึ่งพฤติกรรมทางเพศที่เปิดเผย จะปรากฎตัวขึ้นมาในภาวะที่ตึงเครียดหรือภาวะที่กดดันเท่านั้น, โดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคนหรือบั้นปลายของชีวิต.

ส่วนกลุ่มที่ห้า ประกอบด้วย พวกที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่มีบุคคลิกภาพผิดปกติหรือสับสน(severe sociopathic personality disorder) ออกไปในทางก้าวร้าวรุนแรง, สมองถูกทำลาย หรือมีบุคลิกภาพแตกแยก พวกนี้มีพฤติกรรมที่น่ากลัวและอาจทำอันตรายหรือไม่เช่นนั้นก็ทำร้ายคู่ขาของตน.

ถึงแม้ว่า การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก บ่อยครั้ง จะเป็นมูลเหตุของการไม่ยอมรับทางสังคมอย่างชัดเจน แต่มันก็ไม่ถูกนำไปสัมพันธ์กับบุคลิกภาพที่ผิดปกติโดยเฉพาะ: Saghir และ Robins (1973) รายงานว่า ชายซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ฝังแน่นส่วนใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเป็นครั้งคราวเท่านั้น

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นจำนวนมากสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขเช่นเดียวกันกับชายที่มีพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม, สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงถาวรและได้รับความพึงพอใจกับคู่ของพวกเขา. ส่วนสำหรับบางคน, การรักร่วมเพศได้นำไปสู่ความยุ่งยากต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น. ในหมู่วัยรุ่น อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับการปรับตัวทางเพศในการที่จะได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรก, และ การตัดสินใจอันหนึ่ง จะต้องกระทำลงไปเพื่อที่จะดำเนินไปตามนั้น หรือสะกดกลั้นความรู้สึกรักร่วมเพศอันนั้นเอาไว้.

ขณะที่ชายซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเริ่มแก่ตัวลงไป คู่ขาทางเพศอาจกลายเป็นเรื่องยุ่งยากหรือลำบากใจมากขึ้นในการจัดการ. และเมื่อมาถึงวัยกลางคน อาจจะต้องโดดเดี่ยว แยกตัวออกไป และมีความกดดัน โดยเฉพาะถ้าเผื่อว่าชายคนนั้นมิได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างมั่นคงเอาไว้ก่อนหน้าโดยการสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นมาจากมิตรภาพ เช่นเดียวกับความดึงดูดใจทางเพศ. ชายกลางคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่มากนัก พบว่ามันยุ่งยากลำบากมากขึ้น ที่จะรับเอาคู่ขาทางเพศที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมาไว้, ดังนั้นจึงเปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับโสเภณีชายที่เป็นวัยรุ่น. หรือบางครั้ง ถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับชายเหล่านี้ ที่จะเปลี่ยนไปสู่พวกเด็กๆก่อนที่ขนจะเริ่มแตกพาน.

womendol1.jpg (25975 bytes)

  พฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่ผู้หญิง

ในหมู่ผู้หญิง พฤติกรรมทางเพศในลักษณะของการรักร่วมเพศ หมายรวมถึงการสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน, การใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศ หรือการเลีย(cunnilingus), การกอดจูบหรือประเล้าประโลม, และการกระตุ้นปลุกเร้าที่ทรวงอก. มีผู้หญิงอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก จะทำการสัมผัสไปทั่วเรือนร่างด้วยการใช้อวัยวะเพศเสียดสีหรือกดแนบไปทั่ว(tribadism – เลสเบี้ยน), หรือ มีการสอดใส่อวัยวะเพศชายเทียมที่สั่นไหวได้ด้วยพลังไฟฟ้าเข้าไปในช่องคลอด.

บทบาทที่เป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับ ปกติแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม แต่ใครคนใดคนหนึ่งอาจชื่นชอบที่จะเป็นฝ่ายรุกจนติดเป็นนิสัยก็ได้. ปฏิบัติการทางเพศอื่นๆ อย่างเช่น sadism (พฤติกรรมทางเพศที่มีความสุขด้วยการทำโทษหรือทำร้ายคู่ขาของตน) บางครั้งเกิดขึ้นกับปฏิบัติการรักร่วมเพศในหญิง. ตามธรรมดาแล้ว หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ พฤติกรรมทางสังคมของพวกเธอจะไม่เป็นที่น่าสังเกตุ, แต่ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศบางคนจะแสวงหางานและกิจกรรมยามว่างซึ่งปกติแล้ว สัมพันธ์กับผู้ชาย. มีผู้หญิงซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่แต่งตัวและประพฤติปฏิบัติในวิถีทางเช่นเดียวกันกับผู้ชาย. และหญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ มีความเป็นไปได้น้อยกว่าชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ซึ่งพวกเธอจะอยู่กันตามบาร์และที่สาธารณะเป็นประจำ.

เช่นเดียวกับผู้ชาย มีลำดับอนุกรมอันหนึ่งระหว่างพฤติกรรมทางเพศที่มีต่อเพศตรงข้ามและเพศเดียวกันโดยเฉพาะ. ผู้หญิงซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศส่วนใหญ่จะผูกพันกันกับความสัมพันธ์ต่อเพศตรงข้ามในบางครั้ง, แม้ว่าพวกเธอจะได้รับความพึงพอใจเพียงเล็กน้อยจากสิ่งเหล่านี้ และการแต่งงานเท่านั้น. เช่นเดียวกัน, พวกเธอมีลักษณะสำส่อนแบบไม่เลือกหน้าน้อยกว่าพวกผู้ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ส่วนใหญ่พวกเธอจะมีความสำพันธ์ที่ยั่งยืนยาวนานกว่าชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ, และเป็นไปได้น้อยมากเช่นกัน ที่พวกเธอจะเป็นทุกข์หรือเจ็บปวดกับการอยู่เพียงเดียวดายและต้องตกอยู่ในภาวะหดหู่ในช่วงวัยกลางคน.

บุคลิกภาพทุกๆประเภท ได้ถูกแสดงออกมาให้เห็นท่ามกลางผู้หญิงที่มีพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศ. ไม่มีกฎหมายที่เจาะจงลงไปซึ่งผูกพันเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง. ในอังกฤษและเวลส์, พฤติกรรมรักร่วมเพศที่เป็นส่วนตัว ระหว่างผู้ชายกับผู้ชายที่ต่างยินยอมกันทั้งสองฝ่ายและมีอายุมากกว่า 21 ปีขึ้นไป จะไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่หากว่าพยายามที่จะได้มาซึ่งคู่ขาในที่สาธารณะ จะถือว่าละเมิดหรือทำผิดกฎหมาย. อายุที่มีการยินยอมทางกฎหมายให้มีความสัมพันธ์ทางเพศในแบบรักร่วมเพศคือ 21 ปี, ในขณะที่คู่ที่เป็นผู้หญิง ในการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันคือ อายุ 16 ปี.

ปัจจัยหรือตัวกำหนดเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ

นานแล้วที่มีการคาดคะเนกันว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศได้ถูกกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรม. ทัศนะดังกล่าว ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนโดยเมื่อตอนที่ Kallmann (1952) ทำการศึกษาเรื่องนี้ และรายงานว่า 100 เปอร์เซนต์ ในจำนวนผู้ที่ได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน(monozygotic) จำนวน 40 คู่ มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับการรักร่วมเพศ. ขณะที่ฝาแฝดซึ่งเกิดขึ้นมาจากไข่สองฟอง(dizygotic) มีเพียง 12 เปอร์เซนต์เท่านันที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ. แม้ว่ารายงานนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้(ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกัน) จะยังไม่ได้รับการยืนยัน, แต่การสืบสวนค้นคว้าอื่นๆพบว่า ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน บ่อยครั้ง มีความคล้ายคลึงกันมากอันหนึ่งในเรื่องของพฤติกรรมรักร่วมเพศมากกว่าฝาแฝดที่เกิดจากไข่สองฟอง(ยกตัวอย่างงานวิจัยของ Heston และ Shields 1968).

รายงานต่างๆเกี่ยวกับฝาแฝดผู้หญิงที่หน้าตาเหมือนกัน กับการศึกษาทางด้านกรรมพันธุ์เกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ(homosexual proband) พบว่า มีอยู่จำนวนน้อยมาก ที่ยอมให้ข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ ว่าเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์. ไม่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งมีหลักฐานที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความผิดปกติในเซ็กซ์โครโมโซม หรือระบบประสาท.

ได้มีการทำการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางด้านรูปร่างและการก่อตัวขึ้นมา ซึ่งอาจสะท้อนถึงความแตกต่างทางด้านรากฐาน ระหว่างคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศและคนที่มีพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม, แต่ก็ไม่พบความแตกต่างที่เชื่อถือได้ใดๆ ในท่ามกลางหมู่ผู้ชาย(coppen 1959)หรือผู้หญิง(kenyon 1968; Eisinger et al. 1972). และเรื่องที่น่าสนใจก็คือ แม้แต่สัตว์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งผูกพันกันในกิจกรรมทางเพศกับสมาชิกต่างๆที่มีเพศเดียวกัน, แต่ก็ไม่ปรากฎหลักฐานอันเด่นชัดเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศโดยเฉพาะในสัตว์เหล่านั้น ซึ่งอันนี้แตกต่างไปจากมนุษย์.

ปัจจัยหรือตัวกำหนดทางจิตวิทยาและสังคม สำหรับเรื่องนี้ได้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยเช่นกัน. บรรดานักมานุษยวิทยาทางสังคมชี้ว่า การยอมรับเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศได้แปรผันไปอย่างหลากหลายในสังคมที่แตกต่างกัน. Ford และ Beach (1952)รายงานว่า ในท่ามกลางสังคม 76 สังคมที่มีการศึกษา ได้มีการอธิบายในวรรณกรรมว่า, พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ทางสังคม – อย่างน้อยที่สุดก็ในคนบางคน – ใน 49 สังคมของจำนวนนี้(64 เปอร์เซ็นต์). จากการสังเกตุการณ์และทำการสำรวจเหล่านี้ เสนอว่า อิทธิพลทางสังคมอาจมีบทบาทในการกำหนด แรงกระตุ้นผลักดันเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งแสดงออกมามากหรือน้อย.

การศึกษามากมายได้รับการทำขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องการอบรมเลี้ยงดูสำหรับชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ. Bieber(1962)เป็นคนหนึ่งในบรรดานักวิจัยเหล่านี้ ซึ่งมีข้อสรุปว่า, พื้นฐานเกี่ยวกับความทรงจำของผู้ป่วย เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในช่วงวัยเด็ก, ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศต่างมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีร่วมกันกับพ่อของพวกเขา, หรือต้องประสบกับการที่พ่อไม่อยู่บ้านเป็นเวลานานๆ. รายงานผลการวิเคราะห์ทางจิตวิทยาอื่นๆกล่าวว่า บรรดาแม่ของชายซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ต่างมีการปกป้องลูกของตนเองมากจนเกินไปหรือ มีความคุ้นเคยสนิมสนมอย่างไม่เหมาะสมกับลูก. และมีน้ำหนักไม่มากนักที่สามารถจะวางลงไปบนเรื่องราวย้อนหลังบางอย่าง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศกับพ่อแม่ของพวกเขา. ถ้าหากว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใดๆกับการเลี้ยงดู มันเป็นไปได้มากทีเดียวที่จะมีผลสะท้อนต่อการขัดขวาง หรือสกัดกั้นเกี่ยวกับพัฒนาการของพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม มากกว่าปัจจัยหรือตัวกำหนดเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ.

ในทุกๆกรณี รายงานเหล่านี้ต่างวางอยู่บนพื้นฐานคนป่วยที่แสวงหาการบำบัดรักษา. เมื่อ Siegelman(1974)เปรียบเทียบชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ กับ ชายที่มีพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม ทั้งหมดที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกันต่างได้ผลการศึกษาว่าเป็นปกติจากเรื่องโรคประสาท, (การมีพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ถือว่าเป็นอาการประสาทแต่อย่างใด) เขาพบว่าไม่มีพยานหลักฐานใดๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ผิดปกติ.

ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญิงซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ, Wolff(1971)สรุปว่า บรรดาแม่ของพวกเธอ ต่างปฏิเสธหรือไม่ให้ความสนใจใดๆ. Kenyon(1968) ค้นพบว่า ในการศึกษาเปรียบเทียบกับหญิง ซึ่งมีพฤติกรรมรักเพศตรงข้ามนั้น หญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจำนวนมาก รายงานถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับทั้งพ่อและแม่; รวมทั้งหนึ่งในสี่ของผู้ที่ได้รับการศึกษา พ่อแม่ของพวกเธอเหล่านั้นต่างมีการหย่าร้าง. การวิเคราะห์ททางจิตวิทยาบางชิ้นพบว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศของหญิง เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความล้มเหลวที่จะยับยั้งความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่ไม่เหมาะสมกับพ่อแม่ในช่วงวัยเด็ก, และยังมีผลลัพธ์อันเนื่องมาจากการเกี่ยวพันอย่างสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ชาย ซึ่งได้สร้างความตกอกตกใจขึ้นมา และผู้หญิงได้กลายเป็นวัตถุของความรักที่เป็นไปได้เพียงเท่านั้น. (ยังไม่มีทัศนะที่ยืนยันความเชื่อถือได้อันใดอันหนึ่งต่อเรื่องข้างต้นนี้)

วิธีการที่เป็นประโยชน์อันหนึ่งของการรวมรวมไอเดียที่แตกต่างกันนี้ก็คือ ต้องสันนิษฐานว่า เยาวชนทั้งหลายที่เติบโตขึ้นมานั้น ได้พัฒนาขึ้นมาโดยมีความสามารถที่จะมี พฤติกรรมรักร่วมเพศและพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้, และมีเงื่อนไขต่างๆอันหลากหลายที่จะมาเป็นตัวกำหนดให้พฤติกรรมพัฒนาไปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย. พัฒนาการที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม อาจได้รับการขัดขวางโดยทัศนคติต่างๆที่มีลักษณะของการควบคุมของครอบครัวในเรื่องทางเพศ, หรือโดยการขาดความเชื่อมั่นในตนเองทั่วๆไป. นักจิตวิทยาแนวทางแบบฟรอยด์เสนอว่า มันอาจถูกขัดขวางพัฒนาการนั้นโดยความกังวลใจที่แก้ไม่ตกเกี่ยวกับการคิดว่าตนจะถูกตอน(เช่นตัดลูกอัณฑะหรือตัดเอารังไข่ออก). ในอีกด้านหนึ่ง พัฒนาการเกี่ยวกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ อาจได้รับการสนับสนุนโดยความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่ไม่ปกติกับเพื่อนคนหนึ่งหรือเพศเดียวกัน, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อความสัมพันธ์ทางสังคมอื่นๆมิได้พัฒนาการไปด้วยดี. ไม่มีไอเดียหรือความคิดใดเหล่านี้ถูกพบในหลักฐานงานวิจัยที่เชื่อถือได้, แต่กรอบหรือโครงร่างทั่วๆไปได้ธำรงไว้ซึ่งคุณค่าในการประเมินเกี่ยวกับบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ผู้ซี่งกำลังแสวงหาการช่วยเหลือ.(หากเขาหรือเธอแน่ใจว่าตัวเองต้องการความช่วยเหลือ).

เรียบเรียงมาจาก Oxford Textbook of Psychiatry : Second Edition / Michael Gelder, Dennis Gath, Richard Mayou. ในหัวข้อเรื่อง Problems of Sexuality and Gender

28 พฤษภาคม 2543.

ฺBack to Article

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

HOST@THAIIS