wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

Bnithi.jpg (21397 bytes)

ความขัดแย้งในปัญหาทรัพยากรและหนทางแก้ไข

เรื่องของความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรในอดีต

ที่ผ่านมา ความขัดแย้งในเรื่องทรพัยากรของสังคมชาวนาหรือเกษตรกรรมไม่ได้เป็นปัญหามากนักในสังคมไทย ทั้งนี้เป็นเพราะ สังคมมีสภาพการดำรงชีวิตอยู่ที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน และมีการประกอบอาชีพในสังคมที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งคอยทำหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ยในเรื่องความขัดแย้งด้วย ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมก็คือ วัด, สถานที่พบปะและแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยผ่าน พระ ผู้ใหญ่ บุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากว่ามีความขัดแย้งขึ้นมาแล้ว ก็จะมีการนำเอากฎหมายตราสามดวงมาใช้ ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว นอกจากจะทำหน้าที่ในการพิจารณาคดีความแล้ว ยังมีลักษณะที่เป็นการป้องกันเหตุอันทำให้เกิดความขัดแย้งด้วย ตัวอย่างเช่น มีข้อห้ามที่จะไม่ให้ทำไร่ขนาบกัน(ไม่ทำไร่ข้าวเจ้าติดกับไร่ข้าวเหนียว) เป็นต้น ฯลฯ

ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรในประเทศไทยที่ปะทุขึ้นมาจนสังคมรับรู้นั้น มีเป็นพันเรื่องต่อปี และในปัญหาที่ไม่ปรากฎเป็นข่าวมีจำนวนมากยิ่งกว่านั้นเป็นหมื่นเรื่องอีก ทั้งนี้เป็นเพราะ สังคมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆด้าน ทั้งในด้านจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อาชีพที่หลากหลาย และสภาพการณ์ต่างๆทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง สังคมไทยมีความสลับซับซ้อนและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้น กลไกทางสังคมในการะงับความขัดแย้ง เช่นขนบประเพณีที่มีมาแต่เดิมใช้ไม่ได้ผล ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับทรัพยากรจึงทวีคุณขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในเชิงปริมาณและในการใช้ความรุนแรงเข้ามาแก้ปัญหา

ในส่วนของชนชั้นกลางเอง ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีอำนาจทางการเมืองในสังคมปัจจุบัน ก็ได้เข้ามามีส่วนในการบริโภคทรัพยากรอย่างมหาศาล นอกจากนี้ ยังใช้ทรัพยากรในรูปของทรัพยากรที่มองไม่เห็น และไม่รู้สึกตัวว่าตนกำลังใช้ทรัพยากรอยู่ อย่างเช่น น้ำ และไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพราะผลผลิตเหล่านี้ที่ได้นำมาอุปโภคและบริโภค มาจากต้นทุนทรัพยากรที่ต้องทำลายที่อยู่อาศัยและทำกินของชาวบ้านนับเป็นพันเป็นหมื่นครอบครัว อาทิ ไฟฟ้าที่ได้มาจากเขื่อน

Bnithitoon1.jpg (27891 bytes)

ใครเป็นผู้มีส่วนในการตัดสินการใช้ทรัพยากร

ปัจจุบัน คนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรกว้างขวางมากและมีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้น รวมไปถึงคนที่ได้รับข่าวสารเพียงด้านเดียว อย่างเช่น ชนชั้นกลางที่อยู่ใกล้กับสื่อ ซึ่งส่วนใหญ่สื่อเหล่านี้เป็นของรัฐและเอกชนที่ได้ประโยชน์จากการแย่งชิงทรัพยากร ชนชั้นกลางเหล่านี้ก็ได้เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจการใช้ทรัพยากรด้วย โดยที่ไม่เคยทราบเลยว่า ต้นทุนทรัพยากรที่กำลังบริโภคอยู่ในทุกวันนี้ เบื้องหลังของการได้มาได้ของสิ่งเหล่านี้ทำลายชีวิตผู้คนตัวเล็กๆลงไปมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ โครงการของรัฐต่างๆ ที่ได้มีการตัดสินใจดำเนินโครงการฯ (ซึ่งส่วนใหญ่ตัดสินใจไปตามความต้องการของนักลงทุน มากกว่าชาวบ้าน) ก็ได้มีส่วนในการตัดสินใจการใช้ทรัพยากรด้วย และเป็นที่มาของปัญหาความขัดแย้ง(กรณีที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้คือ กรณีเขื่อนปากมูล กับการไร้ที่ทำกินทั้งทางด้านเกษตรและประมง) รัฐจึงทำหน้าที่เสมือนเป็นคนใช้ของนายทุน

สังคมไทยจะไปไม่รอด หากไม่ระงับกรณีความขัดแย้งเรื่องทรัพยากร

จนถึงขณะนี้ ทั้งๆที่เกิดปัญหาความขัดแย้งการใช้ทรัพยากรไปทั่วประเทศ สังคมไทยก็ยังไม่ได้พัฒนากลไกอะไรใหม่ๆขึ้นมาเพื่อระงับความขัดแย้งในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อมาแทนที่ขนบประเพณีซึ่งมีมาแต่เดิม. แม้ว่าในความจริงแล้ว สังคมจะมีกลไกใหม่ๆที่สามารถนำมาใช้เพื่อระงับความขัดแย้งการใช้ทรัพยากรอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ก็ยังไม่ก่อให้เกิดผลเท่าที่ควร

กลไกระงับความขัดแย้งสมัยใหม่

  1. วิธีการประชาพิจารณ์ : ซึ่งเป็นกลไกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรได้ โดยที่แนวความคิดหลักของกลไกดังกล่าว เป็นการสร้างความรู้ที่ถูกต้องให้กับสังคม แต่ในความเป็นจริง กลไกดังกล่าวได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ของบางโครงการฯ นอกจากนี้ หากได้มีการทำประชาพิจารณ์ ก็จะใช้เวลากับเรื่องนี้น้อยมากจนไม่อาจเชื่อมั่นได้ว่า ข้อสรุปที่ได้มา จากผลของการประชาพิจารณ์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ได้รับความเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (ในประเทศอังกฤษ การทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้าปรมาณูใช้เวลาถึง 5 ปี)

  2. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) : กรณีดังกล่าว แม้จะมีการทำรายงานผลกระทบดังกล่าว แต่ก็เป็นไปในลักษณะของการหลบเลี่ยงอยู่เสมอ ทั้งนี้ EIA ได้กลายเป็นบริษัทธุรกิจไปเสียแล้วของนักวิชาการ (หากไปดูรายชื่อนักวิชาการของหลายๆบริษัทฯ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านนี้ ก็ตะพบว่า รายชื่อนักวิชาการซ้ำๆกันเป็นจำนวนมาก)

  3. การเพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการตัดสินใจ : แม้ว่าจะมีความพยายามดังกล่าวที่จะกระจายอำนาจการตัดสินใจลงมายังผู้ว่าราชการจังหวัด, นายอำเภอ, และ อบต. เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ แต่ในความเป็นจริงกลไกนี้ก็ไม่ทำงาน. นอกจากนี้ยังมีสำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมฯ ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะตัดสินใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรด้วยเช่นกัน. ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่เก่ามากๆซึ่งไม่ได้ผลอะไรเลย เท่าที่ผ่านมา ทางออกที่แท้จริงสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ต้องให้อำนาจเหล่านี้มาเป็นของชุมชนท้องถิ่น ไม่ใช่กลไกอำนาจที่ต่อสายมาจากส่วนกลาง

ทางออกกรณีระงับความขัดแย้ง

  1. ทำอย่างไรจึงจะทำให้อำนาจการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรกระจายมายังคนทุกกลุ่มในลักษณะที่ถ่วงดุลย์กันและเสมอภาคกัน ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ

  2. คำตอบก็คือ : จะต้องมีการปฏิรูประบบราชการ ให้ระบบราชการทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมกลุ่มต่างๆแทนการเป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน. นอกจากนี้ ราชการควรมีข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ. และระบบราชการต้องมีทางเลือกในลักษณะ alternative. อีกคำตอบหนึ่งต่อกรณีคำถามข้างต้น จะต้องมีองค์กรใหม่ๆที่จำเป็นในสังคมไทยเกิดขึ้น อันเป็นการผสมผสานกันระหว่าง เอกชนกับรัฐ หรือชาวบ้านกับรัฐ และการรวมตัวในลักษณะอื่นๆที่หลากหลาย เพื่อมาใช้อำนาจการตัดสินใจฯ. นอกจากนี้ รัฐและเอกชน ควรสนับสนุนให้เกิดการ debate (ถกเถียงอภิปราย)ขึ้นมาในสังคม เพื่อประกอบการตัดสินใจ

  3. การสร้างความรู้ให้เกิดทางเลือกเชิงนโยบาย : จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน องค์กรเกือบทุกองค์กรในสังคมไทยยากจนทางเลือก จนดูเหมือนว่ามีอยู่ทางเลือกเดียว แต่ในความเป็นจริงก็คือ สังคมยังไม่ค่อยได้แสวงหากัน เช่น มหาวิทยาลัยก็ไม่แสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ยังคงเดินตามทางเลือกกระแสหลัก ตามระบอบทุนนิยม เป็นต้น. ความจริงก็คือ ในโลกนี้ต้องมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งเสมอ ดังนั้น หากรัฐมนตรีท่านใดที่ต้องทำหน้าที่ตัดสินใจเชิงนโยบายใดๆก็ตาม ก็ให้ตั้งคำถามข้อหนึ่งเอาไว้เสมอว่า “ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ทำอย่างอื่นได้ไหม?” ถ้าผู้เสนอตอบว่า”ไม่ได้” ก็ไม่ต้องอนุมัติให้ดำเนินนโยบายนั้นๆ.

เก็บความจากการบรรยายเรื่อง ความขัดแย้งในปัญหาทรัพยากรและหนทางแก้ไข บรรยายโดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้กับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้าฯ ณ สวนบัวรีสอร์ท อ.หางดง จ.เชียงใหม่ / วันที่ 4 พฤษภาคม 2543 / เวลา 10.00-10.30 น.

 

  Back to Home Page

 
HOST@THAIIS