wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

Bnature.jpg (18463 bytes)

เพื่อเผชิญกับการท้าทายของศตวรรษที่ 21 เราจะต้องสร้างการศึกษาขึ้นมาบนรากฐานของการอ่านภาษานิเวศวิทยาให้ออก

ขณะที่ศตวรรษใหม่กำลังใกล้เข้ามามาก, สิ่งท้าทายเราอันยิ่งใหญ่ก็คือ การสร้างสรรค์ชุมชนที่ยั่งยืนขึ้นมา – รวมทั้งสังคม, วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งเราสามารถมีความพึงพอใจตามความต้องการและความปรารถนาของเราได้ โดยไม่ต้องลดทอนความสมบูรณ์มั่นคงเกี่ยวกับโลกธรรมชาติและโอกาสต่างๆเกี่ยวกับอนาคตของลูกหลานรุ่นต่อไปของเราลงไป.

ในความพยายามมุ่งมั่นของพวกเรา เพื่อที่จะสร้างและทะนุถนอมชุมชนที่ยั่งยืนต่างๆนั้น เราสามารถที่จะเรียนรู้บทเรียนต่างๆอันทรงคุณค่าจากระบบนิเวศวิทยาได้, ซึ่งมันเป็นชุมชนที่มีความมั่นคงยั่งยืนของพืช, สัตว์ และอินทรียต่างๆขนาดเล็ก. เพื่อที่จะทำความเข้าใจระบบต่างๆทางนิเวศวิทยา, เราต้องการเรียนรู้ถึงหลัการพื้นฐานทั้งหลายเกี่ยวกับนิเวศวิทยา – ภาษาของธรรมชาติ. เราต้องเป็นคนที่สามารถอ่านภาษาในเชิงนิเวศวิทยาได้, หรือ รู้ภาษานิเวศวิทยา(eco-literacy).

ปัจจุบัน, เพื่อที่จะเข้าใจหลักการต่างๆเกี่ยวกับนิเวศวิทยา, เราต้องการวิธีการใหม่อันหนึ่งของการมองดูโลกใบนี้. เราต้องการที่จะคิดถึงเทอมต่างๆของความสัมพันธ์นานาประการ, ความเชื่อมโยงกัน, และบริบทของมัน. ในทางด้านวิทยาศาสตร์, หนทางใหม่ของการใช้ความคิด ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นความคิดในเชิงระบบ. มันปรากฏตัวขึ้นมาในช่วงระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษนี้ในหลายๆสาขาวิชาด้วยกัน, ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ทำการสำรวจตรวจสอบการดำรงอยู่ของระบบสิ่งมีชีวิตต่างๆ, ระบบนิเวศวิทยา(ecosystems – การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งที่มีต่อกัน และสภาพแวดล้อม) และระบบต่างๆทางสังคม, และตระหนักว่าระบบต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดมันรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนทั้งหมด ซึ่งคุณสมบัติต่างๆของมันไม่สามารถที่จะถูกลดทอนแยกย่อยลงไปสู่ส่วนต่างๆที่เล็กกว่าเหล่านั้นได้.

การคิดที่เป็นระบบ(sysytems thinking)ได้รับการชูขึ้นมาสู่ระดับใหม่อันหนึ่งในช่วงระหว่าง 20 ปีที่ผ่านมานี้ โดยการพัฒนาของวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับความสลับซับซ้อน. มันเกี่ยวข้องกับภาษาคณิตศาสตร์ใหม่ทั้งหมดอันหนึ่ง และชุดของแนวความคิดต่างๆชุดหนึ่ง เพื่ออธิบายถึงความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับระบบต่างๆของการดำรงชีวิต.

การปรากฏตัวขึ้นมาของทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับระบบสิ่งมีชีวิตคือรากฐานในทางทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านภาษานิเวศวิทยา(ecological literacy). แทนที่จะมองดูจักรวาลในฐานะที่เป็นเครื่องจักรเครื่องหนึ่งที่ประกอบตัวขึ้นมาด้วยบล็อคของสิ่งก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ, บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ค้นพบว่า โลกในทางวัตถุ, ในระดับพื้นฐานที่สุด, มันคือเครือข่ายการทำงานอันหนึ่งของแบบแผนความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้; ดาวเคราะห์ดวงนี้มันคือทั้งหมดที่เป็นสิ่งมีชีวิตๆหนึ่ง, มันมีระบบควบคุมและปรับตัวของมันเอง(self-regulating system). ทัศนะที่มองว่าร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง และจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่แยกออกไปโดยเด็ดขาด กำลังได้รับการแทนที่ด้วยแนวคิดหนึ่งซึ่งจะไม่มองเพียงเรื่องของสมองเท่านั้น, แต่ยังมองถึงระบบภูมิคุ้มกันด้วย, มองเนื้อเยื่อทางกายภาพ, และกระทั่งเซลล์แต่ละเซลล์, ในฐานะสิ่งที่มีชีวิตอันหนึ่ง, ซึ่งเป็นระบบกระบวนการรับรู้. วิวัฒนาการไม่ได้ถูกมองในฐานะที่เป็นเรื่องของการต่อสู้ดิ้นรนในลักษณะของการแข่งขันเพื่อการอยู่รอด, แต่ได้รับการมองว่าเป็นการร่ายรำในลักษณะที่ร่วมกันสรรค์สร้าง ซึ่งการสร้างสรรค์และการปรากฏตัวขึ้นมาที่มั่นคงของความแปลกใหม่คือพลังของการขับเคลื่อนต่างๆ.

Pnature.jpg (19112 bytes)

วิสัยทัศน์ใหม่นี้เกี่ยวกับความเป็นจริง, ได้ถูกให้ข้อมูลโดยการอ่านภาษานิเวศวิทยา, ซึ่งจะสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี่ในอนาคตขึ้นมา, ก่อรูประบบเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมต่างๆ. มันเป็นที่ชัดแจ้งว่า อันนี้มีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งทางด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 20. มันต้องการศิลปะหรือวิธีการสอนอันหนึ่งที่นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต ณ ที่แก่นใจกลางที่แท้จริงของมัน. อันนี้จะเป็นประสบการณ์อันหนึ่งของการเรียนรู้ซึ่งเอาชนะความแปลกแยกหรือความห่างเหินของเราจากโลกธรรมชาติ และจุดประกายความเร่าร้อนทางความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับสถานที่. เราต้องการหลักสูตรๆหนึ่ง ที่จะสอนเด็กๆหรือลูกหลานของพวกเราถึงข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับชีวิตว่า – ความสูญเสียหรือปฏิกูลของพืชหรือสัตว์สายพันธุ์หนึ่ง จะเป็นอาหารของพืชหรือสัตว์อีกสายพันธุ์หนึ่ง; วงจรหรือวัฏจักร์ของวัตถุสสารยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านเครือข่ายของชีวิต; ซึ่งพลังงานที่ขับเคลื่อนวงจรหรือวัฏจักร์ทางนิเวศวิทยามันไหลเลื่อนมาจากดวงอาทิตย์; ความหลากหลายอันนั้นทำให้มีความสามารถในการฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้; ชีวิตนั้น, นับจากการเริ่มต้นขึ้นมาของมันมากว่าสามพันล้านปีแล้ว, มิได้ยึดครองหรือเป็นเจ้าของโลกหรือดาวเคราะห์นี้ด้วยกำลังหรือการต่อสู้ แต่โดยการทำงานในรูปเครือข่าย. การสอนความรู้ใหม่อันนี้, ซึ่งมันเป็นปัญญาญานของยุคโบราณ, จะเป็นสิ่งซึ่งสำคัญที่สุดของการศึกษาในศตวรรษต่อไป.

เนื่องจากการฝึกฝนในขั้นพื้นฐานทางด้านสติปัญญาเกี่ยวกับความคิดเชิงระบบ, การอ่านภาษานิเวศวิทยา(eco-literacy) ได้ให้โครงร่างอันมีพลังสำหรับวิธีการที่เป็นระบบต่อการปฏิรูปโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันได้รับการนำมาสนทนากันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางบรรดานักการศึกษาในหลายๆประเทศด้วยกัน. โดยสาระแล้ว การปฏิรูปโรงเรียนอย่างเป็นระบบได้รับการวางรากฐานอยู่บนความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 2 ประการคือ: ประการแรก เป็นความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับขบวนการของการเรียนรู้ และประการที่สองคือ ความเข้าใจใหม่อันหนึ่งของความเป็นผู้นำ.

การศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ในด้านวิทยาศาสตร์ทางสมองและพัฒนาการเกี่ยวกับการรับรู้มีผลต่อความเข้าใจใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับกระบวนการของการเรียนรู้, ซึ่งมีรากฐานอยู่บนทัศนะเกี่ยวกับสมองที่ว่า มันเป็นระบบซึ่งมีความสลับซับซ้อน, มีการปรับตัวได้สูง, และระบบจัดการตัวเอง. ความเข้าใจใหม่ยอมรับในการสร้างความรู้ในเชิงก้าวหน้า, ซึ่งความรู้ดังกล่าวตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า ข้อมูลใหม่ทั้งหมดได้ถูกเชื่อมสัมพันธ์กันกับประสบการณ์ในอดีตในการค้นคว้าและแสวงหาอย่างต่อเนื่องสำหรับแบบแผนและความหมาย; ความสำคัญของการเรียนรู้จากประสบการณ์; เกี่ยวกับสไตล์การเรียนรู้อันหลากหลายซึ่งพัวพันกับสติปัญญาความเฉลียวฉลาดนานาชนิด; และเกี่ยวกับบริบททางด้านอารมณ์ความรู้สึกและสังคมซึ่งการเรียนรู้นั้นๆก่อกำเนิดขึ้นมา.

ความเข้าใจอันนี้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ได้นำเสนอยุทธศาสตร์หรือแผนการณ์สอนที่สอดคล้องลงรอยกันต่างๆ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, มันได้เสนอการออกแบบหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการณ์หรือรวมกลุ่มประสานกัน, มีการเน้นความรู้ที่เป็นบริบท, ซึ่งในขอบเขตความรู้วิชาต่างๆอันหลากหลายได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นทรัพยากรในการให้ความช่วยเหลือต่อแกนกลางที่มีการโฟกัส. วิธีการที่เป็นอุดมคติซึ่งจะทำให้บรรลุถึงการรวมกลุ่มกันอันนั้น เป็นวิธีการซึ่งเรียกว่า”project-base learning”(การเรียนรู้โครงสร้างพื้นฐาน), ซึ่งประกอบอยู่ในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ ซึ่งผูกมัดนักศึกษากับโครงการที่ความสลับซับซ้อน, และเป็นโลกจริงๆ – ยกตัวอย่างเช่น school garden หรือโรงเรียนสวน, หรือการปฏิสังขรณ์ลำธาร – โดยการให้บรรดานักศึกษาพัฒนาและใช้ทักษะและความรู้.

หลักสูตรการรวมกลุ่มประสานกันอันนั้น ผ่านโครงการที่มีการปรับตัวในเชิงนิเวศวิทยา ซึ่งจะเป็นไปได้ก็เพียง ถ้าหากว่าโรงเรียนนั้นกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง, ซึ่งบรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลาย, นักศึกษา, ผู้บริหาร และพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่างเชื่อมโยงกันและกันในรูปของเครือข่ายของความสัมพันธ์, ทำงานร่วมกันเพื่อการเรียนรู้อันเรียบง่ายเป็นธรรมชาติและให้ความสะดวก. ในชุมชนการเรียนรู้นั้น, การสอนจะไม่ไหลหลั่งจากบนลงล่าง(top down), แต่จะเป็นการแลกเปลี่ยนกันเป็นวงเกี่ยวกับข้อมูล(cyclical exchange of information). การโฟกัสจะอยู่บนการเรียนรู้ และทุกๆคนในระบบจะเป็นทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนไปพร้อมกัน. วงจรย้อนกลับ คือธรรมชาติภายในของมันในกระ- บวนการเรียนรู้, และการย้อนกลับกลายเป็นวัตถุประสงค์หลักหรือกุญแจสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพ. ความคิดในเชิงระบบ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของชุมชนการเรียนรู้ต่างๆ. อันที่จริง, หลักการทั้งหลายของของนิเวศวิทยา สามารถที่จะถูกนำมาตีความหรือแปลความหมายเป็นหลักการต่างๆของชุมชนได้.

ในท้ายที่สุด, ทัศนะที่เป็นระบบของการเรียนรู้, การสอน, หลักสูตรที่ออกแบบขึ้นมา, และการประเมินโครงการ สามารถที่จะบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติการร่วมกันอย่างสอดคล้องของความเป็นผู้นำ. ความเป็นผู้นำในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้นำในลักษณะใหม่ ซึ่งได้รับแรงดลใจจากการค้นพบเกี่ยวกับคุณสมบัติที่สำคัญมากๆอันหนึ่งของระบบสิ่งมีชีวิตต่างๆ, ซึ่งได้รับการจำแนกพิสูจน์เมื่อเร็วๆนี้. บางโอกาส ระบบสิ่งมีชีวิตทุกๆชนิดต้องเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคง, ซึ่ง ณ จุดนั้นโครงสร้างต่างๆของมันบางอย่างจะพังทลายลง และโครงสร้างใหม่ได้ปรากฏตัวขึ้นมา. การเกิดขึ้นมาโดยตัวของมันเองเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ – เกี่ยวกับโครงสร้างใหม่และรูปแบบใหม่ต่างๆของพฤติกรรม- เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นหรือคุณภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต. ในอีกด้านหนึ่ง, การสร้างสรรค์ – การกำเนิดของรูปลักษณ์ต่างๆที่เป็นรูปใหม่ที่มั่นคง – เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งของระบบสิ่งมีชีวิตทั้งหมด.

ด้วยเหตุนี้, ความเป็นผู้นำจึงประกอบไปด้วยขอบเขตที่ใหญ่โตอันหนึ่งในการให้ความสะดวกอย่างต่อเนื่องของการปรากฏตัวขึ้นมาของโครงสร้างใหม่และการรวมตัวกันของสิ่งที่ดีที่สุดของมันสู่การออกแบบขององค์ระบบ. แบบฉบับอันนี้ของความเป็นผู้นำที่เป็นระบบ มิได้มีข้อจำกัดสู่ลักษณะที่เป็นปัจเจกโดดเดี่ยว แต่สามารถที่จะได้รับการแพร่ขยายออกไปได้, และมีความรับผิชอบซึ่งได้กลายมาเป็นความสามารถหรือสมรรถภาพอันหนึ่งของทั้งหมด.

ในเชิงสรุป, การอ่านออกภาษานิเวศวิทยา(eco-literacy)รวมถึงองค์ประกอบ 3 ประการ: นั่นคือ (1) ความเข้าใจในหลักการต่างๆของนิเวศวิทยา, (2) การคิดเชิงระบบ, และ(3) การใช้หลักการต่างๆทางนิเวศวิทยาและความคิดเชิงระบบในฐานะที่เป็นบริบทและภาษาสำหรับการปฏิรูปโรงเรียนหรือความคิด.

ขณะที่พวกเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่ศักราชพันปีใหม่, การอยู่รอดของมนุษยชาติจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเราที่จะทำความเข้าใจหลักการต่างๆของนิเวศวิทยาและการดำรงอยู่ในลักษณะที่เป็นไปอย่างสอดคล้อง. อันนี้คือโครงการอันหนึ่งที่จะอยู่เหนือความแตกต่างของพวกเราทั้งหมดทางด้านเผ่าพันธุ์, วัฒนธรรม หรือชนชั้น. โลกคือบ้านที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน, และช่วยกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อลูกหลานของเราในอนาคตและเพื่อคนรุ่นต่อไป อันนี้คือภารกิจร่วมกันของพวกเรา. ความรับผิดชอบอันนี้สามารถที่จะบรรลุผลได้ถ้าเพียงเราและลูกหลานของเราสามารถที่จะเรียนรู้เพื่อจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ไปทำลายระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบาง.

Fritjof Capra เป็นผู้เขียนหนังสือหลายเล่ม

ซึ่งในจำนวนนี้รวมทั้งเรื่อง The Tao of Physic และ The Web of Life

 

Back to Home   Back to Article  Next to Member

 
HOST@THAIIS