การเปิดพื้นที่ประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมสมัยใหม่ โดยนักคิด แฟรงค์เฟริทสคูล : ข้อมูลดิบงานวิจัยบทที่ 4 ว่าด้วย"การเปิดพื้นที่และมุมมองเนื้อหาหลังสมัยใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
1
2
3
4
ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ภาพหมายเลข 1,2,4 ภาพถ่าย Portrait ของ Walter Benjamin. ภาพที่ 3 ภาพถ่าย portrait ของ Theodor Adorno
QUOTATION
release date 051245

ภาพยนตร์ไม่ต้องหลอกลวงอีกต่อ
ไปว่าเป็นศิลปะ ความจริงก็คือ พวก
มันเป็นเพียงธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้นมาใน
อุดม การณ์อันหนึ่ง เพื่อให้เหตุผลของความเป็นขยะ และความเหลวไหลที่พวกนั้นผลิตขึ้นมาอย่างรอบคอบ. พวกนั้นเรียกตัวเองว่าอุตสาหกรรม;...

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ยังทำให้ประชาธิปไตยสูญสิ้นไป ก้าวย่างจากโทรศัพท์ไปสู่วิทยุได้จำแนกความแตกต่างทางด้านบทบาทอย่างชัดเจน. อันแรกยังคงยินยอมให้คนที่เห็นด้วยได้แสดงบทบาทเกี่ยวกับตัวเขา, และมีเสรีภาพที่จะสื่อสาร. ส่วนอันหลังเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สูญสิ้นไป: นั่นคือ มันได้แปรเปลี่ยนผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดไปสู่การเป็นผู้ฟัง

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 226 เรื่อง "วิพากษ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ศิลปะหรือเพียงแค่น้ำเมา" เรียบเรียงโดย
สมเกียรติ ตั้งนโม

 

 

บทความชิ้นนี้เป็นงานวิพากษ์ภาพยนตร์และสื่อต่างๆ ของ Adorno และ Benjamin ในฐานะตัวแทนความคิดของกลุ่มแฟรงค์เฟริทสคูลรุ่นแรกที่มองบริบทวัฒนธรรม
R
relate
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

แถลงการณ์ กรณีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมชนุมเรื่องท่อก๊าสไทย-มาเลย์ ภาคใต้
สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แถลงข่าวของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนต่อกรณีปากมูล
(โดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 21 ธันวาคม 2545)

[บทความใหม่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน]
McDonaldization กับ ร่างกายคนไทย
โกสุม โอมพรนุวัฒน์

เปลือยสื่อเห็นร่างทรงโฆษณา
นิษฐา หรุ่นเกษม

โครงการแห่งความเจ็บปวด (The Suffering Project)
โกสุม โอมพรนุวัฒน์

วิพากษ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ : ศิลปะหรือเพียงเหล้าดองสมองทุน
เรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม

กระบวนทัศน์การพัฒนาของรัฐ : จากผู้ใหญ่ลีถึงหลุยส์ วิตตอง
(โดย อรศรี งามวิทยาพงศ์)

น้ำยาวิชานิติศาสตร์ไทย
(สมชาย ปรีชาศิลปกุล)
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

The Piggish Link : ตุ้ยนุ้ยตลอดกาล ว่าด้วยวาทกรรมบนเรือนร่าง
(เขียนโดย นิษฐา หรุ่นเกษม)

ไปหน้าแถลงข่าวของนักวิชาการ เกี่ยวกับ ท่อก๊าสไทย-มาเลเซีย

แถลงการณ์สมัชชาคนจน
เบื้องหลังการตัดสินใจ ทำไมต้องปิดเขื่อนปากมูล

 

 

คนจนกับความหมาย
นิธิ เอียวศรีวงศ์

ภาพข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รูปสมาชิกสมัชชาคนจนยิงธนูส่งสารเข้าทำเนียบรัฐบาล เป็นภาพที่สะเทือนใจมากอย่างยิ่งในสายตาของผม

ในยุคสมัยที่นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของบริษัทมือถือ ในสมัยที่มีกระทรวงไอซีที ในโลกที่ถูกเรียกว่ายุคข่าวสารข้อมูล แค่จะร้องเรียนความเดือดร้อนแก่ผู้ปกครอง ชาวบ้านก็ไม่สามารถส่งสารด้วยวิธีใดให้ทะลุไปถึงได้ นอกจากวิธีโบราณสมัยหิน คือเอาสารผูกลูกธนูยิงเข้าไป

ด้วยความหวังว่า ยามคงจะเก็บเสนอขึ้นไปถึงนายที่รับผิดชอบเรื่องนี้บ้าง

ผมอดนึกถึงพ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ จารึกในนามของท่านบอกว่าโปรดให้เอากระดิ่งผูกไว้หน้าประตู เผื่อใครเดือดร้อนจะได้สั่นกระดิ่งเชิญท่านมาไต่สวนทวนความแก้ปัญหาให้ได้ ผมอ่านจารึกนี้ด้วยความเชื่อตลอดมาว่า โฆษณาชวนเชื่อแหงๆ เพราะในทางปฏิบัติกระดิ่งลูกเดียวแก้ปัญหาไม่ได้แน่

แต่ได้เห็นชาวบ้านยิงธนูเข้าทำเนียบแล้วจึงเข้าใจ จะมีคนสั่นกระดิ่งจริงสักกี่คนไม่สู้สำคัญนัก แต่กระดิ่งเป็นสัญลักษณ์หรือความหมายที่พ่อขุนราม (ตามจารึก) ให้ไว้แก่การปกครองของพระองค์ นั่นคือเป็นการปกครองเปิด เจ้าเมืองมีไว้ให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้

ไม่มีใครสั่นกระดิ่งเลยก็ไม่เป็นไร แต่กระดิ่งทำให้อุ่นใจว่าถึงที่สุดแล้ว เรายังมีหูของผู้ปกครองที่พร้อมจะฟังเรา ในขณะที่การยิงธนูคือความอับจนสิ้นหนทางของคนไร้อำนาจ

ผมอยากเดาว่าสมัชชาคนจนก็รู้ความหมายนี้เหมือนกัน และที่ทำก็เพื่อสื่อความหมายอันนี้แหละแก่สังคม ส่วนสื่อแล้วจะได้ผลหรือไม่เป็นคนละเรื่อง

ทำไมคนจนคนไร้อำนาจจึงต้องใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย ?
คําตอบง่ายที่สุดก็คือ เพราะคนมีอำนาจ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงชนชั้นที่มีอำนาจทั้งหมดด้วย) ยึดกุมความหมายของการกระทำ, ของพื้นที่, ของการสื่อสารสาธารณะไว้หมด เช่น

ถ้าทำหนังสือร้องเรียนไปตามลำดับขั้น ความหมายก็คือ เมื่อผูใหญ่ระดับสูงสุดตัดสินใจอย่างไรแล้ว นั่นก็คือต้องยอมรับโดยดุษณี เพราะการทำหนังสือมีความหมายมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า วิจารณญาณของผู้ใหญ่ถือเป็นที่สุด แม้คำตัดสินนั้นไม่ประกอบด้วยเหตุผลข้อมูล แต่ลำเอียงและไม่เป็นธรรม ผู้ทำหนังสือก็ไม่มีสิทธิ์จะไปชี้แจงแย้งความแต่อย่างไร

เขาให้ความหมายของสิ่งต่างๆ ไว้ก็เพื่อให้คนยอมรับอำนาจของเขา เหตุดังนั้นจึงไม่เหลือช่องว่างในการสื่อสารสาธารณะตามปรกติ สำหรับคนไร้อำนาจใช้เพื่อต่อรองอย่างเสมอหน้ากับคนอื่นได้ คนจนคนไร้อำนาจจึงต้องสร้างความหมายใหม่ขึ้นด้วยสัญลักษณ์ โดยอาศัยเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกให้ความหมายเอาไว้ เช่นยิงธนูก็เพื่อบอกว่า

ผู้ปกครองไม่ฟังคนจน

หรือเช่นถนน พื้นที่ถนนนี่น่าสนใจนะครับ ผมได้ข่าวว่า ส.ส. กำลังจะผลักดันกฎหมายเอาผิดคนชุมนุมบนพื้นถนนให้แรง ถือว่าบ่อนทำลายความสงบสุขของสังคมอย่างร้าย (โดยเฉพาะถนนที่รถติดวินาศสันตะโรของกรุงเทพฯ) ฉะนั้น ผมจึงอยากคุยถึงพื้นที่ถนนที่คนจนคนไร้อำนาจมักใช้สำหรับสื่อสารกับสาธารณะสักหน่อย

ถนนเป็นพื้นที่ซึ่งแทบไร้ความหมายในสังคมไทยปัจจุบันเลยนะครับ มีไว้สำหรับให้เกิดการสัญจรได้สะดวก โดยแบ่งลำดับขั้นความสะดวกไว้ให้แก่คนมีเงินก่อน แล้วก็ทอนความสะดวกลงมาตามระดับของทรัพย์ในกระเป๋า คือรถยนต์ส่วนบุคคลไปก่อน รมเมล์ตามมา และคนเดินถนนท้ายสุด ถึงอย่างไรทุกคนก็ได้ไปในที่สุด ไปโดยมีความราบเรียบในสังคมเสียด้วย เพราะทุกคนอยู่ในที่ซึ่งควรจะอยู่

ฉะนั้น ในท่ามกลางความไร้ความหมายของถนน พื้นที่นี้ก็เริ่มมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของจักรกลสังคม ตราบเท่าที่ถนนยังจอแจอยู่ ก็ดูเหมือนเฟืองของจักรกลสังคมยังขับเคลื่อนหมุนไปได้ตามปรกติ (ผมควรเตือนไว้ด้วยว่า ถนนในสังคมไทยสมัยก่อนมีความหมายถึงพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ หรือไม่เป็นของใคร เราจึงพูดถึง "หมากลางถนน" ในขณะที่ฝรั่งเรียกหมาชนิดนี้ว่า "หมาออกนอกลู่นอกทาง" และพูดถึง "เด็กข้างถนน" คือไม่มีบ้าน ถ้าถนนคือพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ ใครจะใช้มันทำอะไรก็ย่อมได้)

ท่ามกลางความกำกวมของความหมายพื้นที่ถนนอย่างนี้แหละครับ ผมคิดว่าคนจนคนไร้อำนาจใช้ถนนเป็นสื่อสาธารณะสำหรับส่งสารของตัวแก่สังคม ประท้วงริมหรือกลางถนน หรือแม้แต่ปิดถนน ก็คือบอกว่าจักรกลของสังคมจะดำเนินไปตามปรกติอย่างราบเรียบไม่ได้ ถ้าปล่อยให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างที่เขาเผชิญอยู่ผ่านไปโดยไม่แก้ไข

ในขณะเดียวกัน เขาขอใช้พื้นที่สาธารณะที่ไม่เป็นของใครเพื่อบอกเล่าความทุกข์ยากของเขาแก่สังคม พื้นที่ถนนทำให้เขาคือคนสิ้นไร้ไม้ตอก ไร้อำนาจ ไร้ความเหลียวแล เหมือนอะไรที่เป็น "กลางถนน" ในความหมายเก่า

นอกจากนี้ ถนนในความหมายเก่ายังหมายถึงที่ซึ่งไร้ความเป็นส่วนตัวอย่างสิ้นเชิง ตะขอหลุดหรือซิปแตกกลางถนนเป็นเรื่องน่าอาย ฉะนั้น การที่คนจนไปกินอยู่หลับนอนอยู่กลางถนนจึงเป็นการบอกคนอื่นไปพร้อมกันว่า เขาคือคนอับจนสิ้นหนทางจนกระทั่งต้องเอาความเป็นส่วนตัวมาแฉกลางที่สาธารณะอย่างสิ้นอาย

ความเป็นคนไร้อำนาจ ไร้ทางไปอย่างสิ้นเชิงเห็นได้ชัดด้วยเพิงพักที่เปิดโล่งริมถนน ใครที่โง่พอจะจัดกำลังอันธพาลไปทำร้ายเขาจึงไร้สติปัญญาเสียจนสังคมรับไม่ได้ เพราะเป็นการรังแกคนอ่อนแอไม่มีทางสู้อย่างน่าขยะแขยง ความหมายที่คนจนคนไร้อำนาจใช้พื้นที่ถนนเป็นตัวสื่อนี้จึงมีความ "แรง" มากในวัฒนธรรมไทย

เปรียบเทียบกับในวัฒนธรรมฝรั่ง แทบไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะในถนนของฝรั่ง มีการประท้วงกันทุกวันโดยหนังสือพิมพ์แทบไม่ลงข่าวเอาเลย

แล้วสังคมไทยรับความหมายที่คนจนคนไร้อำนาจสร้างขึ้นให้แก่พื้นที่ถนนนี้ได้หรือไม่ ผมออกจะสงสัยว่ารับได้ เพราะน่าสังเกตว่า การประท้วงบนถนนซึ่งทำให้รถติด ตลอดจนการปิดถนนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว แม้ผู้ใช้ถนนจะเดือดร้อน ก็ได้แต่บ่นและแสดงความรำคาญเท่านั้น ยอมรับชะตากรรมความซวยของตัวแต่โดยดี ที่ถึงขั้นก่อม็อบลงไปลุยผู้ประท้วงนั้นไม่เคยปรากฏ

ม็อบที่ยกไปลุยผู้ประท้วงในถนนนั้นมีแต่มาจากการ "จัดตั้ง" หรือ "ปลุกปั่น" ของผู้มีอำนาจทุกที เผลอๆ ก็ใช้นักเลงนำหน้าแล้วเจ้าหน้าที่ลุยตามหลังจนผู้ประท้วงหัวร้างข้างแตก

เหตุที่คนไทยทั่วไปมีขันติธรรมต่อการประท้วงบนพื้นที่ถนนนั้นก็เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ประท้วงมักจะประท้วงด้วยเหตุของความจำเป็นตามธรรมชาติ เช่น สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วหายใจไม่ออก ปิดเขื่อนปากมูลแล้วไม่มีกิน ฯลฯ เป็นต้น

ผมคิดว่ามนุษย์เราไม่ว่าจะสร้างระเบียบสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้นมาแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่มนุษย์ที่ไหนๆ ก็ยอมรับให้อยู่เหนือระเบียบเหล่านั้นก็คือธรรมชาติ หิวก็ตาม ขี้จะแตกก็ตาม ลูกจะออกก็ตาม เป็นลมก็ตาม ฯลฯ ย่อมมีอำนาจละเมิดมารยาท ประเพณี กฎหมาย หรือระเบียบสังคมอื่นใดได้หมด

ตราบเท่าที่คนจนคนไร้อำนาจใช้พื้นที่ถนนในการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิตามธรรมชาติเช่นนี้ เขาก็สามารถใช้พื้นที่ถนนสื่อสารของเขาสู่สาธารณะอย่างได้ผลอยู่ตราบนั้น

การอ้างระเบียบกฎหมายอะไรก็ไม่มีความ "แรง" เทียบเท่าได้ทั้งนั้น

ในโลกที่ความหมายถูกคนอื่นยึดจองไปหมดแล้ว คนจนคนไร้อำนาจต้องหาพื้นที่ว่างสำหรับสร้างความหมายใหม่ของตนเอง หรือแม้แต่ต้องแย่งยึดเอาพื้นที่เก่าเพื่อนิยามความหมายใหม่ของตนเองลงไปบ้าง นี้เป็นธรรมดาโลก

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

วิพากษ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ :
ศิลปะหรือเพียงเหล้าดองสมองทุน

เรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ความยาวประมาณ 24 หน้ากระดาษ A4)

หมายเหตุ : บทความที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจากบทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 120 "วัฒนธรรมในยุคอุตสาหกรรม" (ตอนที่ 2 : ยุคสว่างในฐานะ ที่เป็นยุคหลอกลวงมวลชน) เขียนโดย Theodor Adorno, และบทความลำดับที่ 135 "ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก" เขียนโดย Walter Benjamin

บทนำ : ภาพยนตร์ วิทยุ และโทรทัศน์ จัดเป็นสื่อสารมวลชนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสังคมหลังสมัยใหม่ อันที่จริง สื่อต่างๆเหล่านี้เริ่มมีบทบาทดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับในยุคสมัยใหม่ นับจากช่วงที่สื่อเหล่านี้ได้ถือกำเนิดและพัฒนาขึ้นมา และพวกมันได้แทรกตัวเข้าไปในพื้นที่ทางวัฒนธรรมของสังคมจนครอบงำพื้นที่ดังกล่าวไว้ได้อย่างสมบูรณ์

งานเขียนชิ้นนี้ ได้เก็บเอาประเด็นเรื่องของภาพยนตร์ วิทยุ (รวมทั้งโทรทัศน์บ้างเล็กน้อย - ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ ในช่วงที่บทความสองเรื่องดังกล่าวได้รับการเขียนขึ้นมา พัฒนาการด้านสื่อโทรทัศน์เพียงมีบทบาทในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น)มานำเสนออย่างค่อนข้างละเอียด โดยเฉพาะได้หยิบเอาแง่มุมเกี่ยวกับงานเขียนของ Adorno และ Benjamin เกี่ยวกับเรื่องภาพยนตร์มาเป็นข้อมูลหลัก โดย Adorno และ Benjamin ได้พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างยืดยาวในความเรียงของเขาเกี่ยวกับ"อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" และ "ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก" (รายละเอียด)

next
หน้าถัดไปของ ม.เที่ยงคืน