R
random
บนความเข้าใจแห่งชีวิตและชีวมณฑล
release date
010546

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 263 เดือนพฤษภาคม 2546 หัวเรื่อง "บนความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต และชีวมณฑล"
น.พ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ แปล เรียบเรียงโดย นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์
เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ครั้งแรก วันที่ 1พฤษภาคม 2546
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ เฉพาะทางด้านวิชาการเท่านั้น

เมื่อเวลาที่เราเครียดฮอร์โมนมันก็จะไปทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าคือสมองใหญ่ซึ่งเป็นบริเวณสมองทีทำหน้าที่ครุ่นคิดตึกตรองด้วยสติปัญญา มันก็จะทำให้เส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองส่วนหน้ามันหดตัวลง มีเลือดมาเลี้ยงน้อยลงแล้วระดมเอาเลือดทั้งหลาย ไปเลี้ยงสมองส่วนหลังซึ่งเป็นสมองส่วนที่ไม่ได้ใช้สติปัญญาคือใช้พลังและความรวดเร็วในการตอบสนองเป็นหลัก โดยสรุปก็คือยิ่งเครียดยิ่งโง่

นักชีววิทยาแต่เดิมนั้นบอกเราว่า เราเป็นเหยื่อของยีนส์ของเราเองหมายความว่าชะตาชีวิตของเราล้วนถูกกำหนดมาล่วงหน้าแล้วในยีนส์ของเรา โดยเราไม่สามารถที่จะทำอะไรกับมันได้มากเท่าไหร่นักเพราะว่ามันกำหนดสิ่งต่างๆ ในขบวนการดำเนินชีวิตไว้หมดแล้ว แต่ทัศนะอย่างที่กล่าวมานี้คงจะไม่ถูกต้องด้วยความรู้ที่เรามีอยู่
แนวความคิดที่เกี่ยวกับเรื่องการแพทย์กับชีววิทยาของมนุษย์ที่เคยนำมาใช้อธิบายนั้น กลายเป็นทฤษฎีที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งฐานคติของวิธีคิด 3 ฐานในวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ยึดถือนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน ถูกพบว่าเป็นฐานคิดที่ผิดพลาด ได้แก่ ฐานคิดที่ 1 Biological processes employ newtonian physic . ฐานคิดที่ 2 Genome 'control' Biological expression. ฐานคิดที่ 3 Neo Darwinnian evolution process for biological diversity
N
home
หากสมาชิกและผู้สนใจทุกท่าน ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้ : เว็ปไซค์นี้ออกแบบสำหรับ Internet Explorer

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เสียงเดียวในความเงียบ
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

.... สิ่งที่น่าประหลาด ท่ามกลางสังคมไทยที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ความหลากหลายของแหล่งผลิตญัตติสาธารณะกลับลดลง แสดงว่ากำลังมีอะไรที่สำคัญน่าจับตามองเกิดขึ้นในสังคมไทย ....

มีคนยกย่อง(หรือนินทาก็ไม่ทราบ)ท่านนายกฯว่า สามารถผลิต "ไอเดีย" ใหม่ๆ ออกมาสร้างคะแนนนิยมรัฐบาลได้ตลอด พอเรื่องหนึ่งชักซาไป ก็คิดเรื่องใหม่มาสร้างความหวังได้อีกตลอดเวลา นับตั้งแต่กองทุนหมู่บ้าน มาจนถึงบ้านเอื้ออาทร รวมทั้งข่าวดีเรื่องเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว ซึ่งอัดฉีดผ่านมาเป็นระยะๆ

เพื่อความยุติธรรม เรายังไม่ทราบหรอกว่า "ไอเดีย" เหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อคะแนนนิยมหรือเพราะท่านเป็นเจ้า "ไอเดีย" ที่มันหลุดออกมาจากสมองก้อนโตอย่างชนิดที่ยับยั้งไม่อยู่ แต่ความจริงมีอยู่ว่า ประเด็นสาธารณะที่ครอบคลุมสังคมไทยอยู่ในเวลาสองปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นประเด็นที่ท่านนายกฯผลิตขึ้นทั้งนั้น

ฉะนั้นสิ่งที่น่าสนใจกว่าสำหรับผมจึงไม่ใช่ตัว "ไอเดีย" ต่างๆ เหล่านี้ เท่ากับกระบวนการที่จะเป็นผู้ผูกขาดการสร้างญัตติสาธารณะ เพราะสิ่งที่น่าประหลาดก็คือ ท่ามกลางสังคมไทยที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ความหลากหลายของแหล่งผลิตญัตติสาธารณะกลับลดลง แสดงว่ากำลังมีอะไรที่สำคัญน่าจับตามองเกิดขึ้นในสังคมไทย

ก่อนหน้าจะถึงวันนี้ แหล่งผลิตญัตติสาธารณะในสังคมไทยประกอบด้วย 5 แหล่งด้วยกัน นอกจากไม่มีแหล่งผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว ผมคิดว่ากำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงกับแหล่งผลิตเดิมเหล่านี้ด้วย แต่ผมไม่มีปัญญาอธิบายได้หมดว่าความเปลี่ยนแปลงนี้มาจากอะไร

1) ข้าราชการ เคยเป็นแหล่งผลิตญัตติสาธารณะที่ใหญ่มากในสมัยหนึ่ง โครงการใหญ่ๆ ที่จะผูกพันงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ของประเทศล้วนคิดขึ้นในวงราชการ เสนอความคิดนั้นเองโดยตรง หรือส่งผ่านนักการเมือง(ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและกระบอกปืน)ซึ่งรอกินเปอร์เซ็นต์อยู่

แต่ระบบราชการอ่อนแอลงตามลำดับ นอกจากสูญเสียคนเก่ง(ส่วนจะเป็นคนดีด้วยหรือไม่เป็นคนละเรื่อง)ไปให้แก่ภาคเอกชน ในขณะเดียวกันก็สูญเสียอิสรภาพในการปกครองตนเองลงตามลำดับ ระบบอุปถัมภ์ในราชการเองเปิดโอกาสให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงได้ง่าย เมื่อการเมืองระบบเลือกตั้งมีความมั่นคงในเมืองไทยแล้ว ราชการก็กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองไปเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ สมรรถภาพในการสร้างญัตติสาธารณะจึงลดลงไปอย่างมาก

แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนสมัยทักษิณ ราชการได้แต่ต้านทานโดยแอบส่งข้อมูลลับให้ฝ่ายค้านหรือหนังสือพิมพ์ แต่นายกฯทักษิณใช้วิธีใหม่คือแทนที่จะเสนอโครงการผ่านระบบราชการแบบนักการเมืองโบราณ กลับเสนอ "ไอเดีย" และโครงการผ่านสื่อไปยังสาธารณชนโดยตรง ไม่แต่เพียงแย่งการสร้างญัตติสาธารณะจากราชการเท่านั้น แต่รวมถึงสร้างความสนับสนุนในหมู่สาธารณชนด้วย (และต้องยอมรับความสามารถด้านนี้ของท่านนายกฯด้วยว่าทำได้สำเร็จทุกครั้งไป) และทำให้อำนาจฝ่ายราชการที่จะเข้ามาแสดงบทบาทอิสระในการถกเถียงอภิปรายญัตติสาธารณะนั้นหมดไป

เช่นตัวเลขคาดการเติบโตทางเศรษฐกิจของท่านนายกฯ ไม่ตรงกับของสภาพัฒน์ แต่น่าสังเกตว่าความไม่ลงรอยของข้อมูลตรงนี้ไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนเลย ทั้งๆ ที่น่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราวางแผนชีวิต,แผนบริษัท,แผนงานสาธารณะบนสมมติฐานของตัวเลขความเติบโต 6% หรือครึ่งหนึ่งของตัวเลขนั้นกันแน่

ฉะนั้นภายใต้รัฐบาลทักษิณ ราชการจึงมีบทบาทเพียงผู้กระตือรือร้นสนับสนุนญัตติสาธารณะที่ทางฝ่ายท่านนายกฯผลิตขึ้นเท่านั้น และเพียงเท่านี้ก็ทำให้เวทีสำหรับการสร้างญัตติสาธารณะในสังคมไทยแคบลงไปไม่น้อยแล้ว เพราะสื่อไทยมักให้น้ำหนักแก่สิ่งที่เป็น "ทางการ" มากเกินพอดีอยู่แล้ว

2) นักการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมักเป็นผู้ผลิตญัตติสาธารณะได้ค่อนข้างมาก แต่ภายใต้นายกฯทักษิณ ญัตติสาธารณะที่นักการเมืองผลิตขึ้นนอกกรอบของท่านนายกฯมักจะด้าน น่าสังเกตว่า ข้อเสนอรถบรรทุก 30 ตัน ซาลงไปในเวลาอันรวดเร็ว โครงการคลองกระตื้นเขินลงตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมือขุด ส่วนสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านพูดครองพื้นที่ในสื่อหลักน้อยมาก ทั้งไม่มีสื่อใด "ตาม" ประเด็นที่ฝ่ายค้านยกขึ้นมาด้วย ฉะนั้นจึงอยู่ในสภาพเหมือนประทัดทั้งพวง ระเบิดลูกเดียวแล้วเงียบ

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เหตุผลส่วนหนึ่งผมคิดว่าเกิดขึ้นจากการที่ท่านนายกฯ ประสบความสำเร็จในการกีดกันนักการเมือง(ส่วนใหญ่)ออกไปจากระบบราชการ แม้แต่ผู้ช่วยรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ ส.ส. เงาอำมหิตของนักการเมืองใหญ่ๆ ที่เคยทาบทับบางกระทรวงก็อ่อนลงไปถนัด

ส่วนอำนาจที่ลดลงของฝ่ายค้านในการผลิตญัตติสาธารณะนั้น ก็คงดังที่เขาวิเคราะห์กันทั่วไปว่า ฝ่ายค้านตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเสียแล้ว จึงได้แต่ตรวจสอบนโยบายได้เรื่องเดียวคือคอร์รัปชั่น ในขณะที่สังคมต้องการการตรวจสอบนโยบายในทางอื่นๆ อีกมาก เช่น จะปรับปรุงการบริหารโครงการสามสิบบาทอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะบริหารกองทุนหมู่บ้านอย่างไรจึงจะทำให้เพิ่มกำลังการผลิตของประชาชนระดับรากหญ้า หรือจะทำให้ประชาชนระดับล่างเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างไรอีกบ้างนอกจากในรูปเงินตรา ฯลฯ

3) นักวิชาการ ก็เคยเป็นผู้ผลิตญัตติสาธารณะที่มีบทบาทมากมาก่อน แต่ภายใต้นายกฯทักษิณ ญัตติที่กลายเป็นประเด็นสาธารณะได้จริง มักจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐอยู่แล้ว เช่นเปิดบ่อนเสรีเป็นต้น นักวิชาการอาจจุดประเด็นอื่นๆ ได้บ้าง แต่ประสิทธิผลของมันในแง่ที่จะแปรเปลี่ยนเป็นญัตติสาธารณะที่สำคัญดูจะมีน้อยลง เช่นความเห็นเรื่องการแปรสัญญาโทรคมนาคม ไม่ปลุกให้สังคมลุกขึ้นมาตรวจสอบนโยบายด้านนี้อย่างจริงจัง และลงเอยด้วยพระราชกำหนดอัปลักษณ์ได้หน้าตาเฉย วิทยุชุมชนก็กำลังจะประสบชะตากรรมเดียวกัน

เหตุใดนักวิชาการจึงอ่อนแอลง ผมคิดโดยปราศจากการศึกษาอย่างละเอียดพอ ว่ามาจากสาเหตุสองประการ หนึ่งก็คือจนถึงทุกวันนี้ นักวิชาการใช้พลังของตัวไม่มากนัก พลังของนักวิชาการคือวิชาการ การเสนอญัตติสาธารณะของนักวิชาการให้มีพลังได้ต้องวางอยู่บนผลการศึกษา จนถึงวันนี้ผมคิดว่าฝ่ายวิชาการยังสร้างผลงานศึกษาที่เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะไม่มากนัก เมื่อไหร่ที่นักวิชาการให้สัมภาษณ์ เขาไม่ได้ให้ข้อมูลหรือข้อสรุปที่มาจากการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่ให้สัมภาษณ์จากหลักการทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปมากกว่า

ผมคิดว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว กล่าวคืออยากได้อะไรที่เป็นข้อมูลและข้อสรุปเชิงวิชาการมากกว่าความเห็นเฉยๆ นักวิชาการไทยจึงมีบทบาททางการเมืองคล้ายๆ ประชาธิปัตย์ คือตกเวทีครับ

เหตุผลอย่างที่สองเป็นความประทับใจที่ผมได้รับรู้มาโดยตรง และได้รับการบอกเล่าจากเพื่อนฝูงในแวดวงมหาวิทยาลัย ผมรู้สึกว่าเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยไทยหดลง มีเรื่องที่ผู้บริหารห้ามไม่ให้พูดไม่ให้ทำมากขึ้น ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นสิทธิและหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะพูดและจะทำ น่าสังเกตด้วยว่าข้ออ้างที่ห้ามไม่ให้พูดไม่ให้ทำของฝ่ายบริหารนั้น มักเป็นกฎระเบียบราชการและอำนาจราชการ

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยปัจจุบันมองตัวเองเป็นข้าราชการมากกว่านักวิชาการ ความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ส่วนหนึ่งจะยกให้เป็นความสำเร็จของนายกฯทักษิณได้ไหมว่า สามารถแยก "การเมือง" ออกจาก "ราชการ" ได้ และแยก "วิชาการ" ออกจาก "การเมือง" ได้ แม้ในมหาวิทยาลัย

4) สื่อ เคยเป็นผู้ผลิตญัตติสาธารณะที่สำคัญ สื่อใช้อำนาจอันนี้มาอย่างไม่ค่อยรับผิดชอบ เพราะผลิตตั้งแต่เรื่องสำคัญไปจนถึงเรื่องไข่พญานาค และการตั้งครรภ์ของดารา สุดแต่อันไหนจะขายได้ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันนี้ของสื่อลดลงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตญัตติสาธารณะเอง หรือรับเอาญัตติจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่รัฐมาขยายให้เป็นสาธารณะ

เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสื่อในเวลานี้ถูกทุนเข้าไปครอบงำหนาแน่นมืดมิดไปหมด เรามีกฎหมายปกป้องสื่อมิให้ถูกแทรกแซงจากรัฐ แม้กระนั้นก็ยังไม่พอ แต่ที่เราขาดยิ่งไปกว่าก็คือกฎหมายหรือมาตรการใดๆ ที่จะปกป้องสื่อจากการควบคุมผูกขาดโดยทุน ฉะนั้นเมื่อทุนคือรัฐอย่างในปัจจุบัน อำนาจเงินโฆษณา,อำนาจเงินซื้อหุ้นในสื่อ,และอำนาจรัฐที่ช่วยบิดเบี้ยวกฎหมายเพื่อประโยชน์ของทุนพันธมิตร ฯลฯ จึงทำให้สื่อเป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เรื่องนี้มีผู้พูดถึงมากแล้ว ผมไม่ขอพูดมากไปกว่านี้

ในขณะเดียวกัน ผมสงสัยในกึ๋นของสื่อด้วยว่า สื่อไม่ปรับปรุงกึ๋นของตัวให้ก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลงของการเมืองและสังคม จึงมองไม่เห็นประเด็นสำคัญบางอย่างที่จะผลักดันให้เป็นญัตติสาธารณะ ผมจะไม่อ้างคำพูดหรือการกระทำของฝ่ายค้านหรือเอ็นจีโอและสมัชชาคนจนล่ะครับ แต่จะอ้างนักวิชาการเป็นตัวอย่าง เช่น บทความเกี่ยวกับสามสิบบาทของอาจารย์อัมมาร์ สยามวาลาที่ลงในมติชนรายวันนั้น ผมคิดว่ามีความสำคัญที่น่าจะใช้เป็นข่าวหน้าหนึ่งได้ ถ้าปล่อยให้เป็นบทความอยู่อย่างนั้น ประเด็นก็ถูกผ่านไป

5) แหล่งใหม่ๆ เกิดแหล่งผลิตญัตติสาธารณะใหม่ๆ ขึ้นในสังคม ที่ผมอยากพูดถึงสองแหล่งคือความเคลื่อนไหวของประชาชนระดับรากหญ้า และองค์กรที่เกิดตามรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งสองแหล่งล้มเหลวที่จะสร้างญัตติสาธารณะได้จริง

ด้านความเคลื่อนไหวของประชาชนนั้นประสบความสำเร็จแค่เป็นข่าว แต่ไม่สามารถเสนอประเด็นที่แท้จริงของตัวแก่สาธารณชนไทยได้เลย ประเด็นของสมัชชาคนจนนั้นไม่ใช่แค่เปิด-ปิดเขื่อน แต่หมายถึงการทบทวนนโยบายพัฒนา,นโยบายพลังงาน,นโยบายสิ่งแวดล้อม และนโยบายสังคมกันใหม่อย่างกว้างขวาง แต่ประเด็นเหล่านี้ไม่เคยโผล่เข้าไปในสื่อกระแสหลักใดๆ เลย

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ผมจะไม่อธิบายเพราะยากเกินไปสำหรับผม

ส่วนองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น ความล้มเหลวมาจากโครงสร้างตามกฎหมาย และกำลังงบประมาณที่ค่อนข้างปิดกั้นการผลิตญัตติสาธารณะ(ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของรัฐบาลประชาธิปัตย์เจ้าเก่า) ในขณะเดียวกัน องค์กรเหล่านี้ก็ให้ความสนใจน้อยมากในการสร้างช่องทางสื่อสารกับสังคม จึงหมดพลังที่จะสร้างญัตติสาธารณะใดๆ

สังคมที่แหล่งผลิตญัตติสาธารณะหดแคบลงเหลือที่ตัวบุคคลคนเดียวเป็นสังคมที่อ่อนแอ อ่อนแอทั้งในด้านสติปัญญา และด้านสมรรถภาพที่จะจัดการปัญหาต่างๆ อย่างที่สังคมไทยอ่อนแออยู่ในเวลานี้

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

บทความชิ้นนี้ ได้รับความอนุเคราะห์มาจากสมาชิกส่งมาให้เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่เดือนเมษายน 46
next frontpage
250. การประจันหน้ากับจักรวรรดิ : นอม ชอมสกี้ (พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ และ วิภาพันธ์ ก่อเกียรติขจร)
251.
การต่อต้านสงครามสหรัฐกับอิรัก (กิจกรรมเดือนมีนาคม - เมษายน 2546)
252. อิสราเอล-อิรัค-และสหรัฐอเมริกา โดย Edward Said (สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง)
253. ธิดาแห่งไอซิส ฤาผู้หญิงจะถูกกดขี่เช่นเดียวกันทั้งโลก (วารุณี ภูริสินสิทธิ์ : คณะสังคมศาสตร์ มช.)
254. การปฏิรูประบบสาธารณสุขในรูป องค์กรมหาชน(1) (โดย สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ - ถอดเทปโดย วรพจน์ พิทักษ์)
255. การปฏิรูประบบสาธารณสุขในรูป องค์กรมหาชน(2) (โดย สุรพล นิติไกรพจน์ - ถอดเทปโดย วรพจน์ พิทักษ์)

256.
ระบอบทักษิณกับวัฒนธรรมการเมืองปฏิปักษ์ปฏิรูป (โดย เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธ.)(New)
257. การประจันหน้ากับจักรวรรดิ : อรุณธาติ รอย (แปลโดย ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด)
(New)
258. สื่อเป็นพิษ ภายใต้การกำกับของทุน (อภิปรายนำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) (New)
259. องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะ (เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม) (New)
260. นิติปรัชญาแนวอิตถีศาสตร์ (สมชาย ปรีชาศิลปกุล สาขานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มช.)
261. สงครามที่อาจยุติความเป็นอภิมหาอำนาจของสหรัฐฯ (เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม)
262. คีตนที : ลำนำแห่งสายน้ำ (Water song ของ Jim Nollman แปลโดย ชัชวาล ปุญปัน)
263. ชีวฟิสิกส์กระบวนทัศน์ใหม่ บนความเข้าใจแห่งชีวิตและชีวมณฑล (นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์)
264. ภาพนำทางกับพฤติกรรมการสื่อสารในปริบททางสังคมอินเดีย (โดย นิษฐา หรุ่นเกษม)
(คลิกไปหน้าสารบัญ)
บทความใหม่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2546